ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปลากัดหรือที่เรียกว่าปลากัดสยามเป็นสัตว์น้ำที่สวยและสง่างามซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึงหกปี ปลากัดตัวเมียมักจะมีอายุยืนกว่าตัวผู้ พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงที่แข็งแรง แต่อาจมีปัญหาด้านสุขภาพซึ่งมักเกิดจากตู้ปลาที่ไม่สะอาด สภาพน้ำ และการให้อาหารมากเกินไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

การเตรียมรับมือกับโรค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ร้านขายสัตว์เลี้ยงมักจะไม่ขายยารักษาปลากัดแปลว่าคุณจะต้องสั่งซื้อทางออนไลน์ ถ้าคุณทำสิ่งนี้หลังจากที่ปลากัดป่วย มันก็อาจสายเกินไป
    • ชุดปฐมพยาบาลที่ครบถ้วนมีจำหน่ายทางออนไลน์ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถประหยัดเงินได้ด้วยการสั่งซื้อของใช้ที่จำเป็นแยกกัน ยาพื้นฐาน ได้แก่ Bettazing หรือ Bettamax Kanamycin Tetracycline Amplicillin Jungle Fungus Eliminator Maracin 1 และ Maracyn 2 [1]
  2. การเจ็บป่วยของปลากัดส่วนใหญ่เกิดจากการให้อาหารและการทำความสะอาดที่ไม่เหมาะสม เราจลงรายละเอียดสิ่งเหล่านี้ในภายหลัง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรคำนึงถึงอยู่เสมอ ได้แก่:
    • ทำความสะอาดตู้ปลาเป็นประจำ อย่าให้ปลาอยู่ด้วยกันหลายตัวเกินไป ใส่เกลือตู้ปลาลงในน้ำ และฆ่าเชื้อตู้ปลาเพื่อรักษาความสะอาด
    • เพื่อจำกัดการแพร่กระจายของโรคจากปลาตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งก็ให้นำปลาที่ตายออกทันที กักกันปลาใหม่เป็นเวลาสองสัปดาห์ก่อนที่จะใส่ในตู้ปลา และล้างมือให้สะอาดหลังจากที่จับปลา [2]
    • อย่าให้อาหารปลามากเกินไปหรือปล่อยให้อาหารเน่าในตู้ปลา
  3. วิธีที่ชัดเจนที่สุดในการดูว่าปลากัดป่วยหรือเปล่าคือสังเกตว่ามันอยากกินอาหารหรือไม่ ถ้ามันไม่กินอาหารหรือไม่รู้สึกตื่นเต้นเมื่อเห็นอาหารก็อาจแปลว่ามันป่วย อาการเจ็บป่วยอื่นๆ ได้แก่ สีซีดลงหรือมีสีแปลกๆ [3]
    • อาการอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าปลากัดป่วย ได้แก่ เอาตัวถูกับสิ่งของในตู้ปลาราวกับจะข่วนตัวเอง ตาบวมยื่นออกมา เกล็ดเปิดยื่นออกมาหาคุณ เฉื่อยชา และครีบจับกันเป็นก้อนแทนที่จะแผ่ออก [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

การรักษาโรคเฉพาะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเจ็บป่วยของปลาส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้โดยการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อตู้ปลาอย่างทั่วถึง ลองใช้แนวทางนี้ก่อน จากนั้นจึงหายาถ้าคุณเห็นว่าอาการไม่ดีขึ้น
    • ติดตามอาการเผื่อว่าคุณต้องปรึกษาสัตวแพทย์สัตว์น้ำเพื่อรักษาปลาของคุณ
    • นำปลาที่ป่วยออกจากตู้ปลาทันที
  2. ปลาที่มีเชื้อราจะมีสีซีดกว่าปกติ ไม่เคลื่อนไหว และจะมีครีบจับกันเป็นก้อน สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือรอยสีขาวคล้ายฝ้ายบนลำตัว
    • กำจัดเชื้อราโดยการทำความสะอาดตู้ปลาและบำบัดน้ำจืดด้วยเครื่องกำจัดเชื้อรา ทำซ้ำทุกสามวันจนกว่าสัญญาณของเชื้อราจะหายไป บำบัดน้ำด้วย BettaZing หรือ Bettamax เพื่อละลายเศษที่เหลือของเชื้อรา
    • การติดเชื้อรามักเป็นผลมาจากตู้ปลาที่ไม่ได้ทำความสะอาดอย่างเหมาะสมด้วยเกลือและ Aquarisol
    • เชื้อราติดต่อได้ง่าย ฉะนั้นควรรีบรักษาอาการนี้ กักกันปลาที่ติดเชื้อ [5]
  3. ในกรณีนี้ ครีบและ/หรือหางของปลากัดจะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีแดงตามขอบ ครีบดูเหมือนจะละลายและสั้นลง คุณอาจเห็นรูหรือรอยขาดที่ครีบ [6]
    • ทำความสะอาดตู้ปลาทุกๆ สามวัน เติม Ampicillin หรือ Tetracycline ลงในน้ำเพื่อบำบัดน้ำ ทำซ้ำจนกว่าครีบปลาจะหยุดสูญเสียเนื้อเยื่อ ใส่สารกำจัดเชื้อราลงในน้ำเพื่อให้ฟื้นฟูได้ง่าย #*หางปลาจะซ่อมแซมตัวเองเมื่อเวลาผ่านไป แต่อาจไม่ได้ความมันวาวแบบเดิม T [7]
    • ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการนี้อาจลุกลามไปถึงจุดที่เชื้อเริ่มกัดกินร่างกายของปลา ท้ายที่สุดมันก็จะตาย
  4. ถ้าท้องของปลาขยายใหญ่ขึ้นแสดงว่าปลาอาจมีการอุดตันบางอย่างที่ต้องได้รับการรักษา คุณอาจสังเกตเห็นว่าไม่มีสิ่งปฏิกูลในตู้ปลา ปลาอาจมีปัญหาในการว่ายน้ำตัวตรงๆ โดยว่ายน้ำตะแคงหรือคว่ำแทน
    • นี่เป็นสัญญาณของการให้อาหารมากเกินไป อาการนี้สามารถรักษาได้อย่างง่ายดายโดยการลดปริมาณการให้อาหารปลากัด
  5. ปลาของคุณจะมีจุดสีขาวทั่วตัวและจะไม่อยากอาหาร มันยังจะพยายามขีดข่วนตัวเองกับสิ่งของในตู้ปลา โรคนี้ติดต่อได้ง่ายและเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาเสียชีวิตมากที่สุด [8]
    • ในการรักษาโรคจุดขาว คุณต้องเพิ่มอุณหภูมิในตู้ปลาให้อยู่ระหว่าง 25-26 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เติมฟอร์มาลินหรือมาลาไคต์กรีนลงในน้ำ [9]
  6. ปลาที่เป็นโรคสนิมจะยึดครีบกับลำตัว สีหาย ไม่ยอมกินอาหาร และข่วนตัวเองกับกรวดของตู้ปลา โรคนี้สามารถรักษาได้ แต่ยากที่จะสังเกตเห็น ส่องไฟฉายแล้วดูว่าปลามีฟิล์มสีทองหรือสนิมที่ผิวหนังเพื่อดูว่าปลาเป็นโรคสนิมหรือไม่
    • รักษาโรคสนิมด้วยการทำความสะอาดตู้ปลาและบำบัดน้ำใหม่ด้วย BettaZing
    • โรคสนิมจะไม่เกิดขึ้นถ้าคุณทำความสะอาดตู้ปลาอย่างเหมาะสมด้วยเกลือและผลิตภัณฑ์ปรับสภาพน้ำ ถ้าปลาเป็นโรคสนิมก็ควรพิจารณาวิธีที่คุณทำความสะอาดตู้ปลา
  7. ถ้าตาของปลาข้างใดข้างหนึ่งโป่งออกมาแสดงว่ามันเป็นโรคตาโปน โชคไม่ดีที่โรคตาโปนไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดียว บางครั้งก็สามารถรักษาได้ แต่บางครั้งก็รักษาไม่ได้
    • ถ้าปลาหลายตัวแสดงอาการตาโปนก็แสดงว่าสภาพน้ำอาจผิดปกติ ทดสอบน้ำและเปลี่ยนน้ำ 30% ทุกวันเป็นเวลา 4 ถึง 5 วัน
    • ถ้าปลาตัวใดตัวหนึ่งมีอาการตาโปนก็อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย นำปลาไปไว้ในตู้ปลาที่แยกต่างหากและรักษาด้วย Maracyn หรือ Maracyn II จนกว่าจะมีอาการดีขึ้น
    • บางครั้งโรคตาโปนเป็นผลมาจากสภาพของร่างกายที่ร้ายแรงและไม่สามารถรักษาได้ ถ้าปลาของคุณไม่ตอบสนองต่อการรักษา คุณก็อาจทำอะไรไม่ได้
  8. ท้องปลาจะเริ่มบวมถ้ามันเป็นโรคท้องมาน เมื่อมันพองตัวก็จะทำให้เกล็ดยื่นออกมาเหมือนลูกสน มันไม่ใช่อาการเจ็บป่วยที่เฉพาะเจาะจง แต่เป็นสัญญาณว่าปลาของคุณไม่สามารถควบคุมของเหลวได้อีกต่อไป มันจะตาย [10]
    • ถ้าตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ อาการท้องมานสามารถรักษาให้หายได้ด้วยเกลือตู้ปลาและยา อย่างไรก็ตาม มันยากที่จะดูว่าต้องใช้ยาชนิดใด (ยาที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้แย่ลงได้) จึงเป็นเรื่องยาก สัตวแพทย์สามารถช่วยได้ ถ้าปลากัดป่วยมาก การการุณยฆาตก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
    • โรคท้องมานไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าพารามิเตอร์น้ำปิดอยู่ ตรวจสอบและลองเปลี่ยนน้ำ [11]
  9. สัตวแพทย์สัตว์น้ำเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาปลา พวกเขาไม่ใช่สัตว์แพทย์ที่รักษาแมว สุนัข และสัตว์เลี้ยงในบ้านอื่นๆ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของตู้ปลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แนะนำให้ใช้ตู้ปลาขนาด 9.5 ลิตรเป็นอย่างต่ำสำหรับปลากัดตัวเดียว ถ้าคุณมีปลามากกว่าหนึ่งตัว คุณควรมีตู้ปลาที่ใหญ่กว่าเพื่อใส่ปลาทั้งหมด [12]
    • ถ้าคุณมีตู้ปลาขนาดใหญ่ คุณอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ สารพิษจะก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความเข้มข้นสูงขึ้นในตู้ปลาขนาดเล็ก
  2. การมีค่า pH ที่สมดุลจะช่วยจำกัดระดับของแอมโมเนีย ไนไตรต์ และไนเตรตซึ่งจะช่วยให้ปลากัดของคุณมีสุขภาพที่ดี pH ที่เหมาะสมคือ 7 [13]
    • บำบัดน้ำด้วยที่ขจัดคลอรีนในน้ำ ทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อใส่สิ่งนี้ลงในน้ำ
    • ทดสอบน้ำเพื่อหาแอมโมเนียโดยใช้ชุดทดสอบ คุณจะใช้ชุดทดสอบแบบจุ่มหรือเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อทดสอบ ระดับแอมโมเนียควรเป็น 0 เพราะคุณเพิ่งใช้ที่ขจัดคลอรีนในน้ำ วัดระดับแอมโมเนียวันละครั้งจนกว่าคุณจะเริ่มเห็นระดับแอมโมเนีย ข้อมูลนี้จะบอกคุณว่คุณควรเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาเมื่อไหร่ [14]
  3. คุณควรเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาสัปดาห์ละสองครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีแอมโมเนีย ไนเตรต และไนไตรท์สะสมอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย คุณสามารถใช้น้ำกลั่นบรรจุขวดหรือน้ำประปาได้ แต่น้ำแต่ละชนิดจะต้องได้รับการบำบัดก่อนที่จะใส่ลงในตู้ปลาเพื่อคืนความสมดุลของสารอาหารในน้ำ
    • เปลี่ยนน้ำในตู้ปลา 25%-50% สัปดาห์ละสองครั้ง ซึ่งหมายความว่าคุณจะเติมน้ำใหม่ 25% และเก็บน้ำเก่าไว้ 75% (หรือน้ำใหม่ 50% และน้ำเก่า 50%)
    • ใช้เครื่องปรับสภาพน้ำที่ขายในร้านขายของสัตว์เลี้ยงราคา 150-300 บาทเพื่อปรับระดับ pH ในน้ำ ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
    • เติมเกลือสำหรับตู้ปลา 1 ช้อนโต๊ะและสารป้องกันเชื้อรา เช่น Aquarisol 1 หยดต่อน้ำ 3.7 ลิตร อย่าใช้เกลือแกงแทนเกลือสำหรับตู้ปลา เกลือแกงอาจมีสารปรุงแต่ง เช่น ไอโอดีนและแคลเซียมซิลิเกตซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลาได้
  4. การสร้างวงจรตู้ปลาคือการสร้างแบคทีเรียที่ดีในตู้ปลาเพื่อให้ปลาเจริญเติบโต แบคทีเรียนี้จะช่วยรักษาระดับแอมโมเนียให้ต่ำโดยการย่อยของเสียจากปลาให้กลายเป็นไนไตรท์แล้วเปลี่ยนเป็นไนเตรต เริ่มด้วยตู้ปลาใหม่ที่ไม่มีปลาอยู่ในตู้ปลาเพื่อสร้างวงจรตู้ปลา [15]
    • เพิ่มแหล่งแอมโมเนียเพื่อเริ่มกระบวนการสร้างแบคทีเรียที่ดีในไนเตรต คุณสามารถเพิ่มอาหารปลาหรือสารละลายแอมโมเนียลงในตู้ปลาได้ ใช้ชุดทดสอบเพื่อทดสอบน้ำเพื่อหาระดับแอมโมเนีย ไนไตรท์ และไนเตรต ระดับแอมโมเนียในขั้นต้นจะเป็น 0
    • ทดสอบน้ำทุกวันและระดับแอมโมเนียจะเริ่มแสดงปริมาณ จากนั้นระดับแอมโมเนียจะลดลงเมื่อระดับไนไตรต์เริ่มแสดงขึ้น จากนั้นระดับไนไตรต์จะลดลงและระดับไนเตรตจะสูงขึ้น
    • เพิ่มอาหารปลาสองสามชิ้นทุกวันเพื่อรักษาระดับแอมโมเนียที่สร้างขึ้นซึ่งจะสร้างระดับไนไตรต์และไนเตรตในทางกลับกัน
    • ใจเย็นๆ การสร้างวงจรตู้ปลาที่เหมาะสมอาจใช้เวลา 4-6 สัปดาห์เพื่อให้ได้ระดับที่เหมาะสมในตู้ปลา คุณภาพน้ำที่ดีขึ้นจะทำให้ปลาของคุณมีสุขภาพดีและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น
  5. อุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาควรอยู่ระหว่าง 23-26 องศาเซลเซียส ใช้ฮีตเตอร์ 25 วัตต์เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ ฮีตเตอร์นี้มีจำหน่ายที่ร้านขายของสัตว์เลี้ยงหรือทางออนไลน์ในราคา 300-450 บาท [16]
    • เก็บเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในตู้ปลาและตรวจสอบเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าอุณหภูมิคงที่
    • วางตู้ปลาในบริเวณที่อบอุ่นของห้อง ตู้ปลาควรมีอุณหภูมิที่คงที่ การวางตู้ปลาไว้ข้างหน้าต่างอาจเสี่ยงต่ออุณหภูมิที่หนาวเย็นซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลากัดได้
  6. วางเครื่องกรองในตู้ปลาเพื่อช่วยล้างสิ่งสกปรกออก เครื่องกรองไม่ควรทำให้น้ำเชี่ยวมากเกินไปเพราะปลากัดไม่ชอบน้ำที่ไหลเชี่ยว เครื่องกรองมีจำหน่ายที่ร้านขายของสัตว์เลี้ยงในราคา 900-4,500 บาทโดยขึ้นอยู่กับขนาดของตู้ปลา
    • ลองใช้หัวทรายที่เชื่อมต่อกับปั๊มขนาดเล็กถ้าคุณไม่ต้องการซื้อเครื่องกรอง หัวทรายมีจำหน่ายที่ร้านขายสัตว์เลี้ยงของคุณในราคา 150-300 บาท
    • ซื้อเครื่องกรองที่มีขนาดเหมาะสมกับตู้ปลา
  7. เกลือสำหรับตู้ปลาได้มาจากน้ำทะเลที่ระเหยและสามารถใช้ในตู้ปลาเพื่อลดไนไตรท์ในน้ำและส่งเสริมการทำงานของเหงือกที่ดี มันยังสามารถช่วยเพิ่มอิเล็กโทรไลต์ซึ่งจะช่วยให้สุขภาพโดยรวมของปลาดีขึ้น [17]
    • ใส่เกลือสำหรับตู้ปลา 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 19 ลิตร
    • ใส่เกลือสำหรับตู้ปลาในตู้ปลาใหม่ เมื่อคุณกำลังเปลี่ยนน้ำ และเมื่อคุณกำลังหาปัญหาทางสุขภาพของปลา
    • อย่าใช้เกลือแกงแทนเกลือสำหรับตู้ปลา เกลือแกงอาจมีสารปรุงแต่ง เช่น ไอโอดีนและแคลเซียมซิลิเกตซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลาได้
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

การฆ่าเชื้อตู้ปลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณต้องแยกปลาออกจากกัน คุณจะต้องฆ่าเชื้อตู้ปลาเพื่อป้องกันการแพร่ปัญหาทางสุขภาพไปสู่ปลาตัวอื่น คุณยังต้องฆ่าเชื้อตู้ปลาก่อนใส่ปลากลับลงไปในตู้ [18] เทน้ำและสิ่งของทุกอย่างออกจากตู้ปลา
  2. คุณไม่สามารถฆ่าเชื้อสิ่งเหล่านี้ได้ ฉะนั้นคุณควรหาพืชใหม่ถ้าคุณใช้พืชที่มีชีวิตหรือใช้พืชปลอมจากร้าน
  3. ถ้าคุณมีกรวดธรรมชาติที่ก้นตู้ปลาก็ให้นำออก อบบนกระดาษอบคุกกี้ด้วยความร้อน 232 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ปล่อยให้กรวดเย็นตัว อย่าอบกรวดถ้าเคลือบด้วยวัสดุอื่นเพราะจะทำให้ละลาย ในกรณีนี้ คุณอาจต้องทิ้งกรวดและใช้ของใหม่ทั้งหมด [19]
  4. ใช้สารฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำประปา 9 ส่วนแล้วใส่ในขวดสเปรย์ที่สะอาด ใช้น้ำยาฟอกขาวในครัวเรือนปกติโดยไม่ต้องเติมผงซักฟอก ระวังอย่าเติมสารฟอกขาวเมื่อปลาอยู่ในตู้เพราะจะทำให้ปลาตาย
    • ฉีดสเปรย์ด้วยน้ำยาฟอกขาวในตู้ปลา ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 นาที
  5. คุณต้องล้างสารฟอกขาวทั้งหมดออกจากตู้ปลาเพื่อไม่ให้ปนเปื้อนกับน้ำหลังจากที่คุณใส่ปลากลับเข้าไป ล้างหลายๆ ครั้งแล้วล้างอีกครั้งเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ดี ใช้กระดาษทิชชู่เช็ดตู้ปลาให้แห้ง
  6. แช่สิ่งของอื่นๆ จากในตู้ปลา (เครื่องกรอง พืชพลาสติก ฯลฯ) ลงในน้ำยาฟอกขาวในถังหรือชาม. ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างหลายๆ ครั้งก่อนใส่กลับไปในตู้ปลา
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

การเปลี่ยนแปลงการให้อาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซื้ออาหารเม็ดที่ทำจากปลาป่นหรือกุ้งป่น เสริมด้วยถั่วลวกสัปดาห์ละครั้งหรือแมลงมีปีกที่ตอมผลไม้ [20] [21]
  2. ท้องของปลากัดมีขนาดเท่ากับลูกตาของมัน ฉะนั้นให้อาหารมันปริมาณเท่านั้น 2 ครั้งต่อวัน สิ่งนี้หมายถึงอาหารเม็ด 2-3 เม็ดต่อการให้ 1 ครั้ง
    • แช่อาหารเม็ดในน้ำ 10 นาทีก่อนให้ วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้อาหารบวมในท้องของปลา [22]
    • ถ้าปลาท้องกลมก็แปลว่าคุณให้อาหารมากเกินไป ถ้าท้องของมันยุบเข้าไปก็แปลว่าคุณให้อาหารไม่เพียงพอ [23]
  3. อาหารที่ตกค้างจะกลายเป็นสารพิษในน้ำที่ทำให้เกิดแบคทีเรียและเพิ่มระดับแอมโมเนีย แบคทีเรียในตู้ปลาจะโจมตีปลา
  4. ถ้าปลาดูมีปัญหากับการย่อยอาหารหรือดูท้องผูก คุณก็ควรให้ปลาอดอาหารสัปดาห์ละครั้ง วิธีนี้จะไม่ทำร้ายปลาและจะช่วยให้ปลาย่อยอาหารที่อยู่ในระบบลำไส้ของมันแล้ว [24]
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

การรักษาปลากัดด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าปลาของคุณเป็นโรคติดต่อ คุณก็ต้องนำมันออกจากตู้ปลาเพื่อไม่ให้มันแพร่เชื้อปลาตัวอื่น เตรียมตู้ปลาสำรองด้วยการเติมน้ำใหม่ที่ปรับสภาพลงในตู้ปลา นำปลาออกจากตู้ปลาเดิมและใส่ลงในตู้ปลาใหม่
    • ถ้าปลาเครียดเพราะมีปลาตัวใหม่หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในตู้ปลา คุณอาจพบว่ามันรู้สึกดีขึ้นเมื่อคุณนำมันออกจากตู้ปลาเดิม
  2. โรคส่วนใหญ่ที่ปลาเป็นนั้นติดต่อกันได้ง่าย ทุกอย่างที่สัมผัสปลาหรือน้ำ รวมไปถึงมือของคุณ กระชอน ช้อน และอื่นๆ จะต้องถูกฆ่าเชื้อก่อนที่จะสัมผัสปลาตัวอื่น ใช้สบู่ฆ่าเชื้อเพื่อล้างมือของคุณ
    • ฆ่าเชื้อสิ่งของทุกชิ้นที่สัมผัสปลาหรือน้ำในตู้ปลาโดยใช้น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนและน้ำ 9 ส่วน แช่สิ่งของนั้น 10 นาทีในน้ำยาฟอกขาวและล้างให้สะอาด ล้างอีกครั้งเพื่อมาตรฐานที่ดี ห้ามเติมน้ำยาฟอกขาวลงในตู้ปลาเมื่อปลาอยู่ในตู้เพราะจะทำให้ปลาตาย
  3. เมื่อคุณสามารถระบุโรคของปลาได้แล้วก็สามารถใช้ยาได้ [25] ใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต
    • คุณต้องให้ยาตามปริมาณที่แนะนำโดยผู้ผลิตยา
    • ใช้การตัดสินใจที่ดีเมื่อใช้ยากับปลา อย่าใช้ยาหลายตัวเพื่อเดาว่ายาตัวไหนที่เหมาะสม ถ้าคุณไม่แน่ใจก็ควรปรึกษาสัตวแพทย์สัตว์น้ำ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,832 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา