ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เต่าเป็นสัตว์ที่แสนจะมหัศจรรย์ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่ดีอีกด้วย มันอาจช้าตอนอยู่บนบก แต่มันทั้งน่ารักและมีเสน่ห์นะ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเต่าสักตัว สิ่งสำคัญก็คือควรรู้เกี่ยวกับการดูแลเต่าตั้งแต่เล็กจนโตให้มากที่สุด พอๆ กับต้องมีความพร้อมในการรับภาระในฐานะเจ้าของเต่าด้วย การเลี้ยงเต่าถือว่าเป็นสายสัมพันธุ์อันยาวนาน และการคิดถึงเรื่องอนาคตก็จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ถูกต้อง การดูแลเต่านั้นต้องดูในเรื่องของที่อยู่ อาหาร สุขภาพ และความสะอาดด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 8:

เต่าคืออะไร?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เต่าทะเล เต่าบก และเต่าน้ำจืดคืออะไร? ชื่อมันก็ขึ้นอยู่กับบริเวณที่มันอยู่นั่นแหละ!
    • เต่าทะเล: ในอเมริกา เต่าตนุก็จัดอยู่ในจำพวกเต่าทะเลาด้วย ไม่ว่าจะมาจากบกหรือน้ำก็ตาม ส่วนในอังกฤษและออสเตรเลีย เต่าทะเลก็คือพวกเต่าที่อยู่ในน้ำทะเลเท่านั้น สำหรับในประเทศไทย เต่าตนุก็จัดเป็นเต่าทะเลเช่นกัน
    • เต่าบก: ในอเมริกาและอังกฤษ หมายถึงเต่าที่มักจะอยู่บนบกเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ในออสเตรเลีย (ที่ไม่มีเต่าอยู่บนบก) จะหมายถึงเต่าน้ำจืด สำหรับในประเทศไทยนั้นหมายถึงเต่าที่อยู่บนบก
    • เต่าน้ำจืด: ในอังกฤษ หมายถึงเต่าที่อยู่กับน้ำจืดเหมือนประเทศไทย ขณะที่ในอเมริกา หมายถึงเต่าน้ำหลังเพชร ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Malaclemys terrapin นั่นเอง
    • บทความนี้นิยามตามสมาคมเต่าแห่งอเมริกา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 8:

การเลือกเต่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ร้านขายสัตว์เลี้ยงคุณภาพดีๆ มักจะมีเต่าขายอยู่แล้ว แต่บางทีอาจไม่ได้มีสายพันธุ์ที่คุณสนใจ ฉะนั้นให้โทรไปสอบถามก่อนที่จะไปดูที่ร้าน ผู้ที่ผสมพันธุ์เต่าอาจอยู่ในช่องทางออนไลน์หรือตามกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานในท้องถิ่น
  2. เต่าไม่ได้มีราคาถูกและต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกจำนวนมาก ลองคำนวณดูว่าจะต้องใช้เงินเท่าไรในการซื้อเต่า และ สิ่งของจำเป็นในชีวิตของมัน (ที่อยู่ อาหาร เป็นต้น)
  3. บางประเทศและรัฐก็ต้องมีใบอนุญาตในการเลี้ยงเต่าทะเลและเต่าบกด้วยนะ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 8:

จัดบ้านให้เต่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัวอย่างเช่น
    • เต่าบกพันธุ์อึด : ต้องให้พื้นดินและน้ำอีกเล็กน้อย เต่าชนิดนี้มีแนวโน้มว่าจะชอบความร้อนชื้นระดับปานปลาง เต่าหลายตัวสามารถเลี้ยงไว้ข้างนอกที่มีรั้วกั้นได้ ขอเพียงมีที่พักให้เพียงพอ แผ่นหญ้าและวัชพืชถือว่ามีประโยชน์ในการใส่ลงไปใน"คอก"ของมัน เนื่องจากว่าเต่าชนิดนี้ขุดรูได้ ที่ล้อมคอกจึงควรขยายลงไปใต้ดินอีกสักหน่อย และต้องมีพื้นที่ให้มันอาบน้ำ เพราะเป็นสิ่งสำคัญในสภาพแวดล้อมที่อุ่นและมีอากาศที่ร้อน
    • เต่าบกเขตร้อน : ต้องการสภาพแวดล้อมที่อุ่น สามารถเลี้ยงไว้นอกบ้านได้ถ้าอากาศอุ่น แต่ทั้งปีหนึ่งก็ควรนำมาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นส่วนใหญ่ ต้องพิจารณาวิธีการเพิ่มความร้อนเพื่อให้ความชื้นกับเต่าบกชนิดนี้อย่างเหมาะสม (ติดเครื่องให้ความร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนไฟฟ้า) การจัดสวนในภาชนะที่เลี้ยงเต่าก็เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับเต่าบกเช่นกัน
    • เต่าทะเล : ต้องการน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ส่วนปริมาณพื้นดินนั้นแล้วแต่สายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ใต้น้ำในตู้ปลาได้เลย เว้นแต่ว่าคุณจะอยากผสมพันธุ์มัน ในกรณีนี้ก็ต้องให้พื้นดินมันไว้ด้วย
    • ให้วัดตู้อย่างน้อย 10 แกลลอน (37.9 ลิตร) ต่อขนาดเต่า 1 นิ้ว ตัวอย่างคือ ถ้าเต่ามีขนาด 5 นิ้ว นั่นหมายความว่าตู้ต้องมีขนาด 50 แกลลอน (189.3 ลิตร) นั่นเอง
  2. เลือกอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้กับบ้านเต่าให้ถูกต้อง. รายละเอียดที่แม่นยำของสิ่งที่เต่าแต่ละสายพันธุ์ต้องการนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนตัวของมัน การสังเกตอาจช่วยพิสูจน์ถึงประโยชน์ของมันได้
    • เต่าเลี้ยงในบ้าน: ถ้าคุณตั้งใจจะเลี้ยงเต่าในบ้าน ก็ต้องมีตู้ แหล่งที่ให้แสงสว่าง (ปกติจะใช้หลอดไฟ โดยให้ถามร้านขายสัตว์ว่าควรต้องใช้กี่หลอดวัตต์) กองหินหรือที่ที่ใช้อาบแดดให้ตัวแห้งได้ (ถ้าเต่าที่คุณจะเลี้ยงมีน้ำหนักมากกว่าที่กำหนด ก็ไม่แนะนำให้ใช้“เกาะ”แบบที่ลอยอยู่บนน้ำ) และมีน้ำให้ว่ายหากจำเป็น (ในมุมใดมุมหนึ่ง เพื่อให้มีส่วนที่ลึกและตื้น) และคุณยังต้องมีกรวดหรือหินเล็กๆ ปูฐานตู้เอาไว้ด้วย นอกนั้นก็ให้ถามที่ร้านขายสัตว์ได้เลยว่าต้องมีอะไรนอกเหนือจากนี้อีก
    • เต่าเลี้ยงนอกบ้าน: บ้านของเต่าที่อยู่นอกบ้านควรเป็นที่ทีแดดส่องถึงและเต็มไปด้วยเหล่าพืชพันธุ์ที่ไม่เป็นอันตราย ต้องมีบ่อน้ำ (ไม่จำเป็นต้องเป็นบ่อใหญ่) หรืออ่างน้ำให้ เพราะบางครั้งมันก็ชอบที่จะลงไปว่ายน้ำสักหน่อย ถึงปกติแล้วมันจะไม่ลงน้ำก็เถอะ ใส่ต้นไม้เล็กๆ น้อยๆ และหินสวยๆ ลงไปในบ่อน้ำด้วยนะ และสำหรับเต่าที่เลี้ยงนอกบ้าน ก็ต้องมีบ้านเล็กๆ ให้มันใช้นอนตอนกลางคืนเช่นกัน แนะนำให้ปลูกพืชเขียวๆ เอาไว้แถวๆ ที่อยู่ของเต่า คุณต้องล้อมรั้วที่อยู่มันให้หมด เนื่องจากว่าเต่าเป็นสัตว์ที่หนีเก่งมาก และต้องมีรั้วปักลงใต้ดินอีกสักครึ่งเมตร เพื่อที่เต่าจะได้ไม่ขุดหลุมหนีไปได้
  3. เต่ามีหลากหลายประเภทมาก บางชนิดก็ดื้อแถมชอบกัด บางชนิดก็ออกจะขี้อายหน่อยๆ แนะนำให้ลองพิจารณาที่จะเลี้ยงเต่ารัสเซียดู เต่าพันธุ์นี้เลี้ยงง่ายสำหรับเด็กที่อยากเลี้ยงเต่าแต่กลัวสัตว์เลื้อยคลาน เพราะพันธุ์นี้จะไม่ค่อยดุร้าย
  4. ซื้อ ติดตั้ง และตกแต่งที่อยู่อาศัยของมันให้สวยงาม. เต่าบางตัวก็เป็นพวกชอบอาบแดด ฉะนั้นมันจึงชอบอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ เต่ารัสเซียก็เป็นหนึ่งในพวกที่ชอบอยู่ในน้ำที่มีแสงแดดส่องลงมา เพราะเต่าเป็นสัตว์เลือดเย็น มันจึงชอบหาพื้นที่อุ่นๆ อยู่ด้วยนะ
    • พิจารณาที่จะซื้อตู้ปลาขนาดใหญ่ โดยควรที่จะต้องใหญ่และมีพื้นที่เยอะๆ เพราะเต่านั้นตัวโตไวกว่าที่คุณคิดนัก
    • บ้านของเต่าจะต้องมีสิ่งสำคัญหลักๆ อยู่สองอย่าง คือส่วนพื้นดินให้เต่าอาบแดด อยู่ใต้แสงไฟเพื่อทำให้ตัวมันอุ่นและแห้ง และส่วนของน้ำที่จะทำให้เต่าเย็นลงและมีความสุข เต่าส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ชอบอาบแดด ฉะนั้นจึงแนะนำให้จัดตู้แบบมีสองส่วนแบบนี้
    • มีถ้ำเล็กๆ หรือที่มืดๆ ที่เต่าต้องการใช้หลบภัยเมื่อรู้สึกไม่สบายใจจากสิ่งรอบข้างหลังจากที่เพิ่งถูกย้ายบ้านมาที่ใหม่ก็ดีนะ (ไม่จำเป็น).
  5. ห้ามวางไว้บริเวณที่อากาศหนาว ไม่งั้นเต่าอาจแข็งตายได้ และต้องไม่ใช่ที่ที่ร้อนเกินไป เพราะมันจะทำให้เต่ารู้สึกหงุดหงิด และเต่าที่หงุดหงิดก็จะดื้อด้านและชอบกัดด้วย!
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 8:

ให้อาหารเต่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณคงเคยได้ยินมาว่าเต่าชอบกินอะไรหลายๆ อย่างมาก วิธีที่ดีที่สุดคือลองให้มันกินทั้งหมดนั่นแหละ เอาเป็นอาหารที่คุณรู้ว่ามันไม่เป็นอันตรายต่อเต่าด้วยนะ เต่าจะค่อนข้างจุกจิกในเรื่องการเลือกอาหาร
    • เต่าเลี้ยงนอกบ้าน: เต่าบกส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินพืช และชอบกินพืชผักใบเขียวที่กินได้ปลอดภัย มันชอบหญ้าและพวกวัชพืชมากๆ รวมถึงกะหล่ำปลีฝอย/ผักกาดโรเมน (ผักกาดแก้วจะไม่ค่อยมีไนตรัส) บร็อคโคลี่ มะเขือเทศด้วย ผลไม้ที่เต่าชอบก็จะมีสตรอเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ ดอกแดนดิไลออน ลูกแพร์ แอปเปิล และลูกท้อ *โดยให้ผลไม้มันเพียง 1-2 ครั้งต่อเดือนเท่านั้นนะ เพราะผลไม้มันมีน้ำตาลอยู่มาก
    • เต่าเลี้ยงในบ้าน: เต่าทะเลและเต่าครึ่งบกครึ่งน้ำมักจะเป็นสัตว์กินเนื้อมากกว่าสัตว์กินพืชที่อยู่นอกบ้าน และมันชอบกุ้งฝอย กุ้งน้ำจืด ตั๊กแตน ตัวทาก หอยทาก เป็นต้น อย่าให้เนื้อที่ผ่านการทอดหรือมีไขมันเยอะกับมัน (อย่างเช่นเนื้อแฮมเบอร์เกอร์) ไส้เดือนและหนอนนกก็เป็นอาหารได้ พอๆ กับแมลงอย่างตัวกะปิและจิ้งหรีด ควรให้พืชผักผลไม้เป็นอาหารไว้ด้วย เพื่อให้โภชนาการที่เพียงพอต่อเต่านั่นเอง (ห้ามให้ผักโขม กล้วย หรือผักกาดแก้วนะ!)
    • หั่นอาหารให้ได้ขนาดพอดีคำ เต่ามักจะฉีกอาหารออกมาและต้องการอาหารชิ้นเล็กๆ ให้เข้าปากได้สะดวก ถ้าจะเอาเนื้อที่เหลือจากอาหารของสุนัข/แมวมาให้เต่า ก็ต้องแบ่งชิ้นให้พอดีคำด้วย และให้เนื่องในโอกาสพิเศษนานๆ ทีเท่านั้นนะ
    • บางกรณี เต่าของคุณอาจชอบอาหารปลาแช่แข็ง โดยให้สัก 1 ถึง 2 ก้อนต่อครั้ง และถามผู้เชี่ยวชาญด้านเต่าเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยล่ะ
    • รู้ไว้ว่าอาหารที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของเต่า ให้อ่านดูก่อน เพราะมันมีความหลากหลายมากและขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ รวมถึงสิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าอะไรที่ ไม่ ควรให้เต่ากิน และบอกให้คนที่บ้านกับแขกที่มาบ้านรู้ไว้ เพื่อสวัสดิภาพของเจ้าเต่า
  2. ให้อาหารเต่าวันเว้นวันก็พอ ยกเว้นว่าจะได้คำแนะนำมาในกรณีของเต่าสายพันธุ์พิเศษ
  3. ถ้าเผลอโดนกัดก็เจ็บไม่ใช่น้อยเลยล่ะ
  4. ส่วนใหญ่ อาหารเม็ด ที่ซื้อมาให้เต่าก็ไม่เพียงพอหรอก. สำหรับสัตว์ตัวเล็กอย่างเต่า ก็ถือว่ามีความอยากอาหารค่อนข้างสูงอยู่นะ เต่ามีแนวโน้มว่าจะกินเยอะกว่าที่เราคิด และการที่ไม่ให้อาหารมันทั้งวันจะทำให้มันเครียดและไม่มีความสุขได้ ฉะนั้นควรให้อาหารมันอย่างน้อยสองครั้งหรือหนึ่งครั้งต่อวัน ขึ้นอยู่กับว่ามันกินเยอะแค่ไหน แต่ก็อย่าให้เยอะไปล่ะ
  5. เต่ามักจะบดอาหารเม็ดก่อนกิน เพราะมันไม่มีฟัน มันจึงจำเป็นต้องขยี้อาหารเสียก่อน และนั่นก็ทำให้มันยากที่จะได้กินข้าวอย่างมีความสุข และยังมีสิทธิ์ที่อาหารจะเข้าไปติดในปากได้ ฉะนั้นก่อนจะให้อาหารเม็ดกับเต่า ก็ควรทำให้ชุ่มน้ำแล้วบดให้ได้ขนาดพอดีคำเสียก่อน ซึ่งจะทำให้เต่ากินได้ง่ายขึ้น และยังช่วยเรื่องระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้นด้วย
  6. เต่าบางตัวก็ทิ้งให้อาหารเม็ดลอยอยู่บนผิวน้ำ นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำส่งกลิ่นเน่าเหม็นมาก ขึ้นอยู่กับอาหารเต่านั่นเอง ฉะนั้นให้ตักอาหารเม็ดที่ลอยเหลืออยู่โดยเลี่ยงไม่ทำให้น้ำขุ่นและเปื้อนเสีย
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 8:

ดูแลรักษาความสะอาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปลาในวงศ์ปลาหมอสี ปลาทอง ปลาหางนกยูง และหอยทาก ถือเป็นตัวเลือกที่เป็นมิตร และมันไม่ได้กินอาหารของเต่าด้วย
  2. อย่าเอาน้ำออกหมด เพราะมันอาจเป็นการกำจัดแบคทีเรียดีที่จำเป็นต่อตู้ที่ดีออกด้วย และอย่าลืมใช้ water agar (สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อ) เพื่อกำจัดคลอรีน คลอราไมน์ และฟลูออไรด์จากน้ำก๊อก และเพิ่มแบคทีเรียดีที่มีคุณภาพดีให้กับน้ำด้วย (เช่น ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Biostarter).
    • คอยดูแลรักษาฟิลเตอร์กรองด้วยล่ะ! ห้ามเปลี่ยนฟิลเตอร์กรองทั้งหมดภายในครั้งเดียว เพราะมันถือเป็นแหล่งที่อยู่ของแบคทีเรียที่ดีเลย ให้ทำเพียงล้างฟิลเตอร์เพื่อล้างน้ำก๊อกเก่าออกก็พอ
  3. เปลี่ยนภาชนะบรรจุน้ำดื่มเป็นประจำเพื่อให้น้ำที่สะอาดกับเต่าในแต่ละวัน
  4. เอาอาหารที่ถูกทิ้งออกหลังจากที่ให้ไปแล้ว 2 วัน. ไม่อย่างนั้นมันจะเน่าและกลายเป็นแหล่งติดเชื้อแบคทีเรียได้ และกลิ่นก็ไม่พึงประสงค์สุดๆ ไปเลย
  5. ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับส่วนของตู้หรือกรงที่แห้งเลยล่ะ โดยให้ทำตักดินบริเวณจุดนั้นออกไปให้หมดเลย
  6. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสเต่า. สัตว์ทุกชนิดสามารถส่งต่อเชื้อ โรค และปรสิตได้ และควรฝึกล้างมือทุกครั้งหลังจับตัวมัน และในทางกลับกัน คุณก็สามารถแพร่เชื้อให้สัตว์ได้เช่นกัน ฉะนั้นก็ต้องล้างมือ ก่อน สัมผัสสัตว์ด้วยนะ
    โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 8:

ให้เวลากับเต่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อได้เต่ามาในครั้งแรก พยายามอย่าเพิ่งอุ้มมันอย่างน้อย 3 สัปดาห์ เต่าเป็นสัตว์ที่ขี้กลัวและต้องการเวลาเพื่อปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ แต่ด้วยเวลาที่ผ่านไป เต่าก็จะเรียนรู้ที่จะเชื่อใจคุณและมันก็ถือเป็นสายสัมพันธ์ที่งดงาม ให้ปรึกษากับร้านขายสัตว์เลี้ยงว่าเต่าที่คุณเลี้ยงปกติมีนิสัยชอบกัดหรือไม่ ถ้าหากว่าเป็นอย่างนั้น ก็ให้เอามือออกห่างจากแถวๆ ปากของมันด้วย
    • ถ้าเต่ากัดคุณ ให้ปล่อยมันไว้ตัวเดียวสักประมาณสัปดาห์หนึ่ง ทำความสะอาดผิวด้วยโลชั่นฆ่าเชื้อ และถ้ามันกัดจนเลือดออก ก็ให้ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อดูและรักษาหากมีแบคทีเรียแพร่เข้าสู่ร่างกายคุณซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
  2. เต่ามีอายุเทียบเท่ากับมนุษย์ (หรือบางทีก็อายุยืนกว่าด้วยซ้ำ!) ฉะนั้นคุณต้องให้การดูแลเอาใจใส่และความรักกับเต่าทั้งชีวิตของคุณ ถ้าคุณไม่ได้เตรียมใจจะอยู่แบบนี้ หรือไม่สามารถจัดการอะไรเหล่านี้ได้ เต่าก็ไม่เหมาะที่จะเป็นสัตว์เลี้ยงของคุณแล้วล่ะ
    โฆษณา
ส่วน 7
ส่วน 7 ของ 8:

หาเพื่อนให้เต่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปลาถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะเพิ่มเข้ามาในตู้เต่า แต่คุณต้องมั่นใจก่อนว่าได้เลือกปลามาถูกชนิดแล้ว ปลาดุก ไม่ใช่ เพื่อนร่วมตู้ที่ดีสำหรับเต่าเลย ถ้าเต่าพยายามจะกินปลาดุกล่ะก็ เงี่ยงมันอาจไปติดคอและทำให้เต่าตายได้ แถมปลาดุกบางตัวก็มีพิษที่เงี่ยงอีกด้วย
  2. ปลาหางนกยูงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเต่าทุกชนิดเลย เต่าสามารถกินปลาหางนกยูงได้ และมันก็ค่อนข้างเพลินตาเวลาได้ดูมันกินด้วยนะ
  3. อย่าซื้อปลาราคาแพงมาใส่ในตู้ เพราะเต่าอาจกินมันเข้าไป. ให้ซื้อปลาราคาถูกๆ อย่างปลาหางนกยูงและปลาทองดีกว่า
    โฆษณา
ส่วน 8
ส่วน 8 ของ 8:

การดูแลเต่าแบบเจาะจงสายพันธุ์

ดาวน์โหลดบทความ

ข้อมูลที่ให้ไปในข้างต้นเป็นธรรมชาติทั่วไปของเต่า สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเต่าสายพันธุ์เฉพาะเจาะจงนั้น ให้ลองดูได้ในบทความดังต่อไปนี้:

เคล็ดลับ

  • ให้อาหารออร์แกนิคกับเต่าหากเป็นไปได้ อาหารที่ไม่ติดยาฆ่าแมลงย่อมดีต่อสุขภาพและปลอดภัยมากกว่า
  • ถ้าเต่าของคุณจำศีล คุณก็ต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม สำหรับเต่าที่เลี้ยงนอกบ้าน ให้ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งเป็นเสบียงตุน และให้ที่จำศีลที่เพียงพอกับเต่าที่เลี้ยงในบ้านอย่างกล่องไม้หรือสิ่งที่คล้ายกัน
  • พาไปหาสัตวแพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องเต่า ถ้าเต่าป่วย แพทย์จะได้ช่วยได้อย่างรวดเร็ว
  • ถ้าไม่มั่นใจอะไรก็ให้ตามร้านขายสัตว์เสมอ ดีกว่ามานั่งค้นหาทางออนไลน์ เพราะเขาจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสามารถมาช่วยคุณได้จริงๆ
  • อ่านโรคและอาการป่วยแต่ละประเภทของเต่าให้มากที่สุด มันจะช่วยให้คุณรู้ถึงอาการของโรคได้อย่างรวดเร็วเมื่อมันไม่สบาย และยังช่วยให้รักษาโรคได้ไวอีกด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ล้างมือทุกครั้งหลังจากที่สัมผัสเต่าหรือทำความสะอาดตู้
  • คอยให้น้ำสะอาดอยู่เสมอ เต่าอาจป่วยได้ถ้าน้ำสกปรก
  • เต่าไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่ดีสำหรับเด็กเล็ก ยกเว้นว่าจะอยู่ในการดูแลของผู้ใหญ่ทั้งหมด
  • ให้แน่ใจว่าเต่าที่เลี้ยงนอกบ้านมีรั้วกั้นอย่างแน่นหนามากๆ ถ้ามันหลุดหนีไปได้คงจะเศร้ามากแน่ๆ และใช่ มันอาจพยายามที่จะหนีออกไปก็ได้
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. John Coborn, The Proper Care of Turtles , (1995), ISBN 0-86622-534-X – research source

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,894 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา