ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทำให้ปลาที่เลี้ยงไว้มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงด้วยการล้างตู้ปลาพร้อมเติมน้ำใหม่สัปดาห์ละครั้ง การล้างตู้ปลานั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย โดยเฉพาะเมื่อคุณทำตามตารางเวลาเพื่อที่ตะไคร่และเศษของเสียอื่นๆ ไม่มีเวลาได้ก่อตัว บทความนี้จะอธิบายวิธีการล้างทำความสะอาดทั้งตู้ปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ตู้ปลาน้ำจืด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไล่ไปตามลิสต์รายชื่อและให้แน่ใจว่าคุณเตรียมอุปกรณ์กับพื้นที่ทำงานไว้พร้อม
    • เตรียมน้ำในปริมาณที่คุณต้องการจะถ่ายใส่ใหม่
    • ฝอยขัดตะไคร่น้ำสำหรับทำความสะอาดกระจกด้านในของตู้ปลา
    • ถังขนาดใหญ่ (5 แกลลอนหรือ 10 ลิตรขึ้นไป) สำหรับการนี้โดยเฉพาะ
    • ท่อดูดทำความสะอาดสุญญากาศแบบกาลักน้ำ (ไม่ใช้แบบที่ใช้ถ่านไฟฉาย)
    • ตัวกรอง (ตลับ, แผ่นฟองน้ำ, ถุงคาร์บอน หรือแบบอื่นๆ) ถ้าคราวนี้คุณต้องเปลี่ยนตัวกรอง
    • น้ำยาทำความสะอาดกระจกชนิดปลอดภัยต่อตู้ปลาหรือน้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู
    • น้ำยาฟอกขาว 10% ในกล่องที่แยกต่างหาก (ไม่จำเป็น)
    • ใบมีดโกนโลหะหรือพลาสติก (ไม่จำเป็น ระมัดระวังด้วยถ้าใช้กับตู้อะครีลิกเพราะมันเป็นรอยขีดข่วนได้ง่ายกว่า)
    • อีกทั้งให้แน่ใจว่าถ้าปลาที่เลี้ยงเป็นพวกปลาที่ช่างเลือกกิน คุณต้องใส่ที่กรองน้ำลงไปพร้อมกับการถ่ายน้ำ ทำกาลักน้ำครึ่งตู้หนึ่งสัปดาห์ แล้วทำที่เหลืออีก 2-3 สัปดาห์ให้หลัง นี่จะช่วยปลาให้รู้จักปรับสภาพกับน้ำที่สะอาดขึ้น
  2. ทำความสะอาดด้านข้างของตู้ปลาด้วยฝอยขัดตะไคร่. เช็ดไปตามแนวกระจก ถูถ้าจำเป็น เพื่อกำจัดคราบตะไคร่ที่ติดอยู่ตามตู้ปลา หากไปเจอคราบที่หนาถูออกยากให้ใช้มีดโกนแบบโลหะหรือพลาสติกขูดมันออกจากกระจกตู้
    • คุณอาจรู้สึกอยากใช้ถุงมือยางตอนทำความสะอาด ให้แน่ใจว่ามันไม่ได้ผ่านการแช่น้ำยาอะไรมา
    • อย่าใช้แค่ฟองน้ำหรือที่ล้างจานจากในครัวหรืออะไรที่อาจหลงเหลือคราบน้ำยาล้างจานหรือสารเคมีทำความสะอาดอย่างอื่น ฝอยขัดตะไคร่สะอาดที่ใช้เฉพาะกับตู้ปลาอย่างเดียวจะป้องกันสารเคมีร้ายแรงและสารซักฟอกไม่ให้เข้ามาปนเปื้อนในตู้ปลา
    • ขั้นตอนนี้สามารถทำเสร็จหลังจากคุณถ่ายน้ำออกไปราว 10-20 %
  3. ถ้าคุณทำความสะอาดตู้ปลาอยู่เป็นประจำ และถ้าปลาก็แข็งแรงดี การถ่ายน้ำ 10-20 % สัปดาห์ละครั้งก็น่าจะเกินพอแล้ว แต่ถ้าปลาของคุณมีอาการป่วย คุณต้องถ่ายน้ำมากกว่านั้น อย่างน้อย 25 ถึง 50 %
  4. เริ่มทำกาลักน้ำและเอาน้ำเก่าไปใส่ในถังที่มีขนาดสักห้าแกลลอน (หรือใหญ่กว่านั้นถ้าจำเป็น) ทางที่ดีควรซื้อถังใหม่และเอาไว้ใช้เฉพาะตอนล้างตู้ปลา เศษคราบสบู่หรือผงซักฟอกนั้นเป็นอันตรายต่อปลาได้ นั่นก็หมายความว่าอย่าเอาถังที่ใช้ถูพื้นหรือถังที่ใช้ซักผ้ามาใช้
    • สามารถหาซื้อท่อกาลักน้ำสำหรับตู้ปลาที่ต่อกับท่อระบายน้ำ ถ้าคุณมีอยู่แล้ว ให้อ่านคำแนะนำวิธีใช้ ท่อกาลักน้ำแบบนี้ยังป้องกันไม่ให้น้ำกระเด็นออกจากถัง คุณสามารถเลือกแรงดูดของน้ำกับอุณหภูมิเวลาเติมน้ำในตู้โดยการใช้ก๊อก
  5. ดันท่อดูดสุญญากาศลงไปในพื้นกรวด ขี้ปลา เศษอาหารเหลือ และเศษสกปรกอื่นๆ จะถูกดูดเข้าไปในท่อ ถ้าคุณมีปลาที่ตัวเล็กมาก บอบบางมาก หรือกำลังป่วยอยู่ คุณสามารถเอาถุงน่องที่ยังไม่ใช้มามัดปิดตรงปลายของท่อกาลักน้ำ (แต่ต้องแน่ใจว่ารูถุงน่องใหญ่พอที่จะกรองสิ่งสกปรกได้)
    • หากคุณใช้ทรายเทียม อย่าใช้ท่อขุดลงไปเหมือนเสียม ใช้แค่ส่วนที่เป็นท่อกาลักน้ำ ไม่ใช่ท่อพลาสติก แล้วถือมันเหนือพื้นประมาณหนึ่งนิ้วเพื่อดูเศษขยะโดยไม่ไปรบกวนทราย คุณสามารถใช้นิ้วควานไปในทราย (ถ้าแน่ใจว่าไม่ไปรบกวนสัตว์ที่อาจฝังตัวหลบอยู่ในนั้น) เพื่อช่วยให้ขยะที่อาจติดอยู่ในกองทรายได้ลอยขึ้นมา
  6. อุปกรณ์ตกแต่งตู้ปลาก็จำเป็นต้องได้รับการทำความสะอาดเช่นกัน! เศษตะไคร่นั้นเกิดจากสารอาหารส่วนเกินที่เหลืออยู่ในน้ำ คุณสามารถใช้ฝอยขัดตะไคร่หรือแปรงสีฟันขนนุ่มที่ยังไม่ผ่านการใช้มาถูอุปกรณ์เหล่านี้ในตู้ปลาที่คุณกำลังถ่ายน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ เพราะอาจเป็นอันตรายกับปลาได้!
    • หากคุณพบปัญหาในการทำความสะอาดอุปกรณ์ตกแต่งตู้ปลา ให้เอามันออกมาจากตู้แล้วแช่ในสารละลายฟอกขาว 10% ราว 15 นาที แล้วราดน้ำร้อนลงไป ปล่อยไว้ให้แห้งก่อนจะใส่กลับในตู้ ระวังว่าต้องล้างน้ำยาฟอกขาวออกให้เกลี้ยง ปลาจะได้ไม่ตาย
    • ถ้าอุปกรณ์มีคราบตะไคร่ปกคลุม คุณอาจต้องให้อาหารปลาน้อยลงหรือไม่ก็เปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้น
    • การเลี้ยงปลาซัคเกอร์สักตัวในตู้ปลาขนาดใหญ่จะช่วยป้องกันคราบตะไคร่ไม่ให้เติบโตมากเกินไป
  7. ถ่ายน้ำจืดที่ผ่านการปรับตามอุณหภูมิของตู้ปลาแล้ว เทอร์โมมิเตอร์เป็นตัววัดอุณหภูมิ การปรับน้ำให้อยู่ภายในอุณหภูมิที่กำหนดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ปลามีสุขภาพแข็งแรง [1] จำไว้ว่า น้ำอุ่นนั้นถือว่าร้อนเกินไปสำหรับปลาส่วนใหญ่
    • หากคุณใช้น้ำก๊อก จำเป็นจะต้องปรับสภาพน้ำเพื่อกำจัดโลหะหนักกับสารพิษอื่นๆ ที่ปลาไม่สามารถย่อยได้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการวางแผนล่วงหน้า ขวดนมเก่าเหมาะจะนำมาใช้ที่สุด เติมน้ำลงไปให้เต็มแล้วตั้งทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝาอย่างน้อยหนึ่งวัน เพื่อให้คลอรีนได้ระเหยไปและน้ำอยู่ในอุณหภูมิห้อง ถ้าคุณรีบเร่ง หยอด Decleor สักหยดก็น่าจะใช้ได้ แต่ต้องแน่ใจว่าอุณหภูมิน้ำไม่เปลี่ยนแปลง เพราะถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนไปมากอาจทำให้ปลาตายได้
    • ถ้ามีไนเตรทอยู่สูงเกินไป คุณสามารถเปลี่ยนน้ำโดยผสมน้ำกลั่นลงไปในอัตราส่วน 50% ถึง75% (ไม่แนะนำยามปกติเพราะมันปราศจากสารอาหารให้ปลาได้ดูดเข้าไป) หรืออาจใช้น้ำแร่ชนิดบรรจุขวดสำหรับการถ่ายน้ำ (โดยไม่ต้องปรับสภาพ) เพราะน้ำแบบนี้มีแต่แร่ธาตุดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อปลา
  8. พิจารณาการเติมเกลือตู้ปลาลงในน้ำที่ถ่ายใหม่. ปลาหลายชนิด (เช่น ปลาสอด หรือปลาหางนกยูง) จะแข็งแรงขึ้นและอายุยืนขึ้น เกลือใส่ตู้ปลาน้ำจืดยังช่วยป้องกันโรคอย่างโรคจุดขาว (Ichthyophthirius multifiliis)
  9. รอสักสองสามชั่วโมงจนกว่าตะกอนขุ่นจะค่อยๆ สลายไป จนเหลือแต่น้ำใสแจ๋ว ถึงแม่จะมีสารละลายที่ทำให้น้ำใสวางขาย ก็อย่าไปลองซื้อมาใช้ ถ้าน้ำยังคงขุ่นไม่เลิก มันเป็นเพราะยังมีปัญหาอยู่และสารเหล่านั้นมีแต่จะกลบ (ไม่ใช่แก้) ปัญหาเหล่านั้น อย่าลืมว่าปลาต้องการพื้นที่ระหว่างน้ำกับข้างบนตู้ เพื่อที่มันจะมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์เพียงพอต่อการหายใจ และทำให้มันสามารถยืดครีบบนของลำตัวได้อย่างสะดวกสบาย
  10. เช็ดด้านนอก ทั้งกระจก ท่อ ไฟ และฝาครอบ ละอองแอมโมเนียจากน้ำยาทำความสะอาดทั่วไปเป็นอันตรายต่อปลา ดังนั้นให้ใช้เฉพาะสารละลายที่ออกแบบสำหรับใช้กับตู้ปลาได้อย่างปลอดภัยเท่านั้น ถ้าคุณเลือกจะผสมมันเอง สามารถใช้สารละลายจาก น้ำส้มสายชู
  11. คาร์บอนที่อยู่ภายในแผ่นกรองสามารถเป็นอันตรายต่อปลาถ้าไม่เปลี่ยนมัน ภายในแผ่นกรองไม่ค่อยมีแบคทีเรียดีอาศัยอยู่สักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะอยู่ตามกรวดมากกว่า ดังนั้นเปลี่ยนมันก็ไม่ไปกระทบกับการกรองทางชีวภาพเลย แผ่นกรองสามารถนำมาล้างทุกสัปดาห์ตอนถ่ายน้ำถ้ามันดูสกปรกไปหน่อย แต่คุณคงไม่อยากทำให้การกรองทางชีวภาพของแบคทีเรียภายในแผ่นกรองต้องถูกทำลายไปหมด แต่การล้างแผ่นกรองก็ไม่อาจแทนที่การเปลี่ยนมันได้ คุณเลยยังต้องเปลี่ยนมันใหม่ทุกเดือน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ตู้ปลาน้ำเค็ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตู้ปลาน้ำเค็มต้องการอุปกรณ์พิเศษนอกเหนือจากอุปกรณ์ที่คุณใช้กับตู้ปลาน้ำจืด ให้รวบรวมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้:
    • น้ำที่ผ่านการจัดเตรียมมาอย่างถูกต้องในปริมาณที่คุณคิดจะถ่ายแทนที่
    • ฝอยขัดตะไคร่สำหรับขัดกระจกด้านในตู้
    • ถังขนาดใหญ่ (5 แกลลอนหรือ 10 ลิตรขึ้นไป) ที่ไว้ใช้สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ
    • ท่อดูดทำความสะอาดสุญญากาศแบบกาลักน้ำ (ไม่ใช้แบบที่ใช้ถ่านไฟฉาย)
    • ตัวกรอง (ตลับ, แผ่นฟองน้ำ, ถุงคาร์บอน หรือแบบอื่นๆ) ถ้าคราวนี้คุณต้องเปลี่ยนตัวกรอง
    • น้ำยาทำความสะอาดกระจกชนิดปลอดภัยต่อตู้ปลาหรือน้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู
    • เกลือผสม
    • แถบวัดค่า pH
    • เครื่องวัดความเข้มข้นของเกลือ เครื่องวัดความชื้น และโพรบวัดความเค็ม
    • เทอร์โมมิเตอร์
    • น้ำยาฟอกขาว 10% ในกล่องที่แยกต่างหาก (ไม่จำเป็น)
  2. ใช้ฝอยขัดตะไคร่มากำจัดคราบตะไคร่จากภายในตู้ ใช้ใบมีดโกนขูดคราบที่ฝังตัวแน่นเอาออกยาก
  3. สำหรับตู้ปลาน้ำเค็ม ให้เปลี่ยนน้ำ 10 % ทุกๆ 2 สัปดาห์ เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอที่จะกำจัดไนเตรทออกไปจากน้ำ เปิดกาลักน้ำปล่อยน้ำลงถัง [2]
  4. ดันท่อดูดสุญญากาศลงไปในพื้นกรวด ขี้ปลา เศษอาหารเหลือ และเศษสกปรกอื่นๆ จะถูกดูดเข้าไปในท่อ ถ้าคุณมีปลาที่ตัวเล็กมาก บอบบางมาก หรือกำลังป่วยอยู่ คุณสามารถเอาถุงน่องที่ยังไม่ใช้มามัดปิดตรงปลายของท่อกาลักน้ำ (แต่ต้องแน่ใจว่ารูถุงน่องใหญ่พอที่จะกรองสิ่งสกปรกได้) สำหรับทรายเทียม ใช้แค่ส่วนที่เป็นท่อกาลักน้ำ ไม่ใช่ท่อพลาสติก แล้วถือมันเหนือพื้นประมาณหนึ่งนิ้วเพื่อดูเศษขยะโดยไม่ไปรบกวนทราย
  5. คุณสามารถใช้ฝอยขัดตะไคร่หรือแปรงสีฟันขนนุ่มที่ยังไม่ผ่านการใช้มาถูอุปกรณ์เหล่านี้ในตู้ปลาที่คุณกำลังถ่ายน้ำ หรือจะเอามันออกมาจากตู้แล้วแช่ในสารละลายฟอกขาว 10% ราว 15 นาที แล้วราดน้ำร้อนลงไป ปล่อยไว้ให้แห้งก่อนจะใส่กลับในตู้
  6. เวลาที่น้ำเค็มระเหยไปทางด้านบนของตู้ปลา มันจะทิ้งคราบเหนอะที่เรียกว่าขี้เกลือ ใช้ฟองน้ำขัดตะไคร่ขัดออกแล้วเติมน้ำที่หายไปลงไป
  7. การเติมน้ำลงไปในตู้ปลาน้ำเค็มจะต้องใส่ใจมากกว่าในน้ำจืด คุณจำต้องแน่ใจว่าอุณหภูมิ ค่าความเข้มข้นของเกลือ และค่า pH ของน้ำนั้นอยู่ในช่วงที่พอเหมาะสำหรับปลาที่เลี้ยง ให้เริ่มจัดเตรียมในคืนก่อนหน้าที่คุณจะทำความสะอาดตู้ปลา
    • ซื้อน้ำกลั่นหรือน้ำแบบรีเวิร์สออสโมซิส หาซื้อได้ตามร้านทั่วไป เทน้ำลงในถังพลาสติกสะอาดสำหรับเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
    • อุ่นน้ำด้วยฮีตเตอร์พิเศษ หาซื้อได้จากร้านขายสัตว์เลี้ยง
    • เติมส่วนผสมเกลือ ส่วนผสมเกลือในขั้นตอนเดียวมีขายตามร้ายขายสัตว์เลี้ยง ทำตามคำแนะนำว่าต้องเติมเท่าไหร่ตามปริมาณน้ำที่คุณใช้ หลักทั่วไปคือส่วนผสมเกลือ ½ ถ้วยตวงต่อน้ำหนึ่งแกลลอน
    • ให้น้ำได้ผึ่งลมข้ามคืน ในตอนเช้าตรวจดูความเข้มข้นของเกลือด้วยเครื่องวัดความเข้มข้นของเกลือหรือโพรบวัดความเค็ม ค่าที่ควรจะเป็นคืออยู่ระหว่าง 1.021 กับ 1.025 แล้ววัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมมิเตอร์ สำหรับปลาน้ำเค็มนั้นจะอยู่ที่อุณหภูมิระหว่าง 23 กับ28 องศาเซลเซียส
  8. ปลาน้ำเค็มมีชีวิตอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ค่อนข้างแคบ เพื่อความแน่ใจว่ามันแข็งแรงดีจึงควรตรวจวัดอุณหภูมิตู้ปลาทุกวัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้แน่ใจว่าไม่ใช้สบู่ใดๆ มันอาจทำให้ปลาตายได้
  • ปล่อยให้น้ำใหม่ได้ผึ่งลมสักสองสามชั่วโมงจะทำให้ค่าคลอรีนเป็นกลาง แต่ไม่ใช่คลอราไมน์ซึ่งเป็นอันตราย จึงควรช่วยปลาโดยใช้น้ำยาปรับสภาพน้ำ (วิธีสังเกตว่าคลอรีนยังสูงคือถ้าเหงือกของปลาเป็นสีแดงสด นั่นคือสารเคมีกำลังกัดเหงือกปลาอยู่)
  • สวมเสื้อแขนกุดหรือเสื้อกล้ามเพื่อที่น้ำจะไม่เปียกแขนเสื้อ
  • ยิ่งตู้ปลามีขนาดใหญ่ ยิ่งต้องดูแลน้อยลง และมีข้อผิดพลาดน้อยลง แต่เวลาจะเปลี่ยนก็ใช้เวลานานกว่า
  • ไม่จำเป็นต้องช้อนปลาขึ้นมาจากตู้ระหว่างการทำความสะอาด
  • อย่าใช้น้ำก๊อกในการล้างแผ่นกรอง เพราะคลอรีนกับคลอราไมน์เป็นอันตรายต่อปลา
  • ถ้าคุณใช้แผ่นกรองที่ติดมอเตอร์ จะต้องแยกมันออกมาทำความสะอาดบ้าง โดยกำจัดเศษสกปรกตามส่วนที่เคลื่อนไหวกับกลไก แต่ไม่ต้องทำความสะอาดกังหันชีวภาพ
  • ใช้ท่อดูดสุญญากาศที่มีขนาดเหมาะกับกรวด ถ้าใช้อันเล็กไปก็จะเสียเวลาทั้งวัน แต่ถ้ามันใหญ่ไป คุณอาจดูดน้ำออกมามากเกินไปก่อนที่จะดูดเสร็จ
  • ทำความสะอาดท่อดูดสุญญากาศด้วยน้ำร้อน (เดือด) ทุกครั้งหลังใช้งาน นี่จะช่วยให้คุณมั่นใจว่าคุณได้ทำลายแบคทีเรียหรือเชื้อโรคอื่นๆ ที่อาจก่อตัวอยู่ในตู้ปลาเวลานั้น อีกทั้งยังให้คุณรู้สึกมั่นใจกว่าเวลาเริ่มทำความสะอาดครั้งหน้า
  • แบคทีเรียดีอาศัยอยู่ในแผ่นกรองจำนวนไม่น้อยทีเดียว อย่าไปหลงเชื่อบริษัทขายแผ่นกรองที่แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ทุกเดือน (เปลือง) คุณจะไปกำจัดแบคทีเรียดีเสียเปล่า ให้ทิ้งเฉพาะฟองน้ำเมื่อมันเกิดฉีกขาดและถนอมรักษามันโดยการล้างมันแต่ในน้ำของตู้ปลาเท่านั้นโดยแยกภาชนะออกมาต่างหากก่อนจะใส่กลับลงไปในตู้
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณไม่ได้ถ่ายน้ำมาเป็นเวลานาน ให้เริ่มช้าๆ ทยอยเปลี่ยนน้ำทีละน้อยทุกสัปดาห์ การเปลี่ยนน้ำปริมาณมากในทันใดส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบเคมีภายในตู้ปลาจนมีสิทธิทำให้ปลาเกิดอาการช็อคน้ำได้
  • ล้างมือให้สะอาดหมดจดเสมอก่อนและหลังเอามือจุ่มลงในตู้ปลาหรือไปสัมผัสของตกแต่งในนั้น แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
  • ไม่ควรช้อนปลาโดยไม่จำเป็นเพราะมันทำให้ปลาเครียดและกระทบต่อเมือกหุ้มตัวปลา หากจำเป็นต้องทำไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใด ให้เติมน้ำยาคลายเครียด Stress Coat® หรือผลิตภัณฑ์แนวนั้นลงไปในน้ำหลังจากนั้น
  • ถ้าคุณมีคาร์บอนอยู่ในแผ่นกรอง ให้เปลี่ยนทุกสองสัปดาห์ ถ้าเนิ่นนานกว่านั้น คาร์บอนจะปล่อยสารพิษกลับเข้าสู่ตู้ ในการเปลี่ยนคาร์บอนก็แค่เอามันออกมาแผงแล้วเติมชิ้นใหม่ลงไป ไม่ต้องโยนทั้งแผงทิ้ง!
  • อย่าปล่อยให้อะไรก็ตามที่อาจหลงเหลือคราบสบู่กลับลงไปในตู้ปลา นั่นรวมไปถึง มือ ท่อ และกระชอน
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำที่จัดเตรียมมาแล้วในปริมาณที่คุณต้องการจะเปลี่ยน
  • ฝอยขัดตะไคร่สำหรับทำความสะอาดกระจกด้านใน
  • ถังขนาดใหญ่ (5 แกลลอนหรือ 10 ลิตรขึ้นไป) ที่ไว้ใช้สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ
  • ท่อดูดทำความสะอาดสุญญากาศแบบกาลักน้ำ (ไม่ใช้แบบที่ใช้ถ่านไฟฉาย)
  • ตัวกรอง (ตลับ, แผ่นฟองน้ำ, ถุงคาร์บอน หรือแบบอื่นๆ) ถ้าคราวนี้คุณต้องเปลี่ยนตัวกรอง
  • น้ำยาทำความสะอาดกระจกชนิดปลอดภัยต่อตู้ปลาหรือน้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู
  • เกลือสำหรับปลาน้ำจืด (แนะนำสำหรับตู้ปลาน้ำจืด)
  • เกลือผสม (สำหรับน้ำเค็ม)
  • แถบวัดค่า pH (สำหรับน้ำเค็ม)
  • เครื่องวัดความเข้มข้นของเกลือ เครื่องวัดความชื้น และโพรบวัดความเค็ม (สำหรับน้ำเค็ม)
  • เทอร์โมมิเตอร์ (จำเป็นทั้งกับน้ำจืดและน้ำเค็ม)
  • น้ำยาฟอกขาว 10% ในกล่องที่แยกต่างหาก (ไม่จำเป็น)
  • ใบมีดโกนโลหะหรือพลาสติก (ไม่จำเป็น)
  • แผ่นกรองแบบมีแบคทีเรียดียี่ห้อ SafeStart
  • กระชอน (เผื่อไว้)
  • ผ้าเช็ดตัวเผื่อคุณหรือผนังเปียก
  • น้ำยาปรับสภาพน้ำ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 29,141 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา