ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยรู้สึกหน่วงๆ ลึกๆ ในใจบ้างไหมว่าคุณกำลังไม่ซื่อสัตย์กับตัวเองอยู่ บางทีคุณอาจจะหลอกให้ตัวเองเชื่อว่าอาชีพหรือความสัมพันธ์ของคุณมันเจ๋งสุดๆ ทั้งที่จริงๆ มันไม่ใช่ หรือคุณอาจจะกดดันตัวเองเรื่องเงินมากเกินไปทั้งๆ ที่จริงๆ คุณก็หาเงินได้มากโข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหนก็แล้วแต่ การซื่อสัตย์กับตัวเองเป็นโอกาสอันยอดเยี่ยมที่คุณจะได้สร้างทักษะชีวิต ไปให้ไกลเกินสิ่งท้าทาย เรียนรู้ที่จะยอมรับตัวเอง และเพิ่มความจริงแท้ให้กับชีวิต

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เตรียมตัวประเมินตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิดใจให้กับการประเมินตนเอง ซึ่งอาจกลายเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาที่มีประโยชน์ คุณควรเข้าหาประเมินตนเองอย่างไม่รู้สึกเคอะเขินหรือลำบากใจ [1] คุณไม่จำเป็นต้องซื่อสัตย์กับตัวเองอย่างโหดร้าย [2] แต่ให้อ่อนโยนและมีเมตตาขณะที่ยังคงความซื่อสัตย์ไว้ได้จะดีกว่า
    • คิดว่าตัวเองเป็นเพื่อนที่กำลังให้คำแนะนำตัวเองอยู่ วิธีนี่จะทำให้คุณไม่กดดันตัวเองมากจนเกินไป
  2. คุณไม่จำเป็นต้องประเมินทุกด้านของชีวิตเพื่อที่จะเริ่มซื่อสัตย์กับตัวเอง การคิดถึงสิ่งต่างๆ มีแต่จะทำให้คุณรู้สึกอึดอัดและมันก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ [3] ส่วนที่คุณต้องการประเมินตนเองอาจจะเป็นเป้าหมาย อาชีพ เงิน ครอบครัว จิตวิญญาณ และความรัก
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถตรวจสอบการใช้เวลาของตัวเองได้ด้วย เช่น คุณใช้เวลากับใคร อะไรคือคุณภาพของเวลาที่คุณใช้กับผู้อื่น
    • คุณอาจจะดูสิ่งที่คุณเลือกให้กับตัวเอง เช่น เป้าหมายของคุณคืออะไร นิสัยการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การดื่ม หรือการทำงานของคุณเป็นอย่างไร
    • คุณอาจจะดูประสิทธิภาพของบทบาทที่คุณได้รับ เช่น ในฐานะคนทำงาน พ่อแม่ ลูก คนรัก เป็นต้น ประเมินเป้าหมายของคุณและไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
  3. จุดเริ่มต้นที่ดีคือควรเริ่มจากประเด็นที่คุณสบายใจที่จะเข้าหาก่อน จากนั้นค่อยพยายามไปสู่ประเด็นที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ ขณะที่คุณเริ่มมั่นใจในความสามารถที่จะซื่อสัตย์ต่อตัวเองได้แล้ว ให้ท้าทายตัวเองต่อไปด้วยการเข้าหาประเด็นที่คุณรู้สึกสบายใจที่จะนึกถึงน้อยกว่าเดิม [4]
    • ระวังอย่าเลือกประเมินจากความสบายใจที่มีต่อประเด็นต่างๆ ถ้าคุณเลี่ยงที่จะไม่นึกถึงสิ่งที่ทำให้คุณไม่สบายใจ คุณก็อาจจะกำลังเลี่ยงประเด็นที่สำคัญที่สุดอยู่ก็ได้
  4. ตื่นก่อนหรือหลังคนในครอบครัว หรือหาที่เงียบๆ ที่คุณสามารถนั่งคิดอะไรต่อมิอะไรได้ บางคนคิดได้ดีกว่าเวลาที่ทำงานง่ายๆ ไปด้วย (เช่น รีดผ้า) หรือตอนกำลังเดิน หาวิธีที่คุณใช้แล้วได้ผล
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ทำการประเมินตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเขียนสิ่งต่างๆ เป็นคำพูดจะช่วยให้คุณเจาะจงประเด็นได้ คุณจะเขียนแบบไหนก็ได้ตามที่คุณสบายใจ จะเขียนเป็นรายการ โน้ต การ์ตูน ภาพวาด หรือแผนที่ก็ได้ ถ้าคุณไม่ใช่คนชอบเขียน ให้ลองพูดใส่ที่อัดเสียงหรือบันทึกความคิดของคุณไว้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
  2. แทนที่จะประเมินแบบคลุมเครือและกว้างๆ ให้เจาะจงจุดแข็งและส่วนที่ต้องปรับปรุง วิธีนี้จะมีประโยชน์เมื่อถึงเวลาลงมือทำ อย่าเน้นแค่ส่วนที่ต้องปรับปรุงอย่างเดียว แต่ให้เน้นไปที่จุดแข็งและทักษะต่างๆ ด้วย [5]
    • เช่น แทนที่จะเขียนว่า “ขี้อายเกินไป” คุณอาจจะพูดว่า “ฉันอยากจะกล้าแสดงความคิดเห็นมากกว่านี้ เพื่อให้ประเด็นของฉันเข้าตาที่ประชุมที่ทำงานเวลาที่ฉันรู้สึกมั่นใจอะไรสักอย่างมากๆ”
  3. คุณเก่งด้านไหน คุณมีแรงปรารถนาที่จะทำอะไร อะไรที่คนอื่นชมคุณหรือบอกว่าคุณทำได้ดี เมื่อคุณเขียนรายการเหล่านี้ลงไปแล้ว ลองคิดว่าคุณจะเก่งกว่าเดิมได้อย่างไรหรือจะใช้มันให้เป็นประโยชน์กับคุณได้อย่างไร
    • ใช้เวลา 10 นาทีในการเติมประโยค หนึ่งในจุดแข็งของฉันคือ... ให้ได้มากที่สุด [6]
  4. อะไรที่คุณไม่ชอบ อะไรที่คุณทำแล้วมันไม่สำเร็จ การเน้นไปที่ส่วนที่ต้องปรับปรุงเป็นการสร้างมุมมองใหม่ให้กับสิ่งต่างๆ เมื่อคุณเขียนรายการส่วนที่ต้องปรับปรุงขึ้นมาแล้ว คุณก็สามารถเลือกได้ว่าคุณจะพยายามปรับปรุงในส่วนเหล่านี้หรือปล่อยมันไป
    • ใช้เวลาอีก 10 นาทีเติมประโยค อะไรๆ ก็ไม่ค่อยดีเมื่อ... ให้ได้มากที่สุด [7]
  5. อาจจะเขียนจากวิธีที่คุณใช้จุดแข็งหรือปรับปรุงตัวเอง ในระดับส่วนตัว โอกาสนั้นไม่ได้หมายถึงโอกาสในการทำเงิน แต่หมายถึงโอกาสที่คุณจะได้ตอบสนองความต้องการของตัวเองหรือช่วยให้คุณได้พัฒนาตัวเองมากกว่า
    • เช่น การเรียนดนตรีอาจจะไม่ได้สร้างโอกาสทางการเงินให้กับคุณ แต่ความพึงพอใจที่ได้จากการเล่นเครื่องดนตรีก็ถือเป็นโอกาสมากพอแล้ว
  6. เขียนรายการปัจจัยที่ทำให้คุณไปไม่ถึงฝั่งฝัน. อะไรที่อาจทำลายโอกาสเหล่านั้น ทำให้ความหวังหยุดชะงัก หรือทำให้คุณไขว้เขวจากความสำเร็จ การระบุปัจจัยเหล่านี้จะทำให้คุณคอยระวังมากขึ้นและทำให้มันคุกคามคุณได้น้อยลง
    • ความเสี่ยงบางอย่างอาจอยู่เหนือการควบคุม แต่ความเสี่ยงหลายอย่างสามารถบรรเทาหรือคาดการณ์ได้
  7. วางเก้าอี้ว่างไว้ตรงข้ามกับคุณและจินตนาการว่าตัวเองนั่งอยู่บนเก้าอี้ตัวนั้น พูดทุกสิ่งที่คุณปิดบังตัวเองออกมาดังๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นเรื่องดีๆ เกี่ยวกับตัวคุณก็ได้ [8]
    • ถ้าคุณสบายใจที่จะคุยกับคนอื่นมากกว่า ให้จินตนาการว่าพวกเขากำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ คุณอาจจะติดต่อคนๆ นั้นและเล่าสิ่งที่คุณพูดให้พวกเขาฟังจริงๆ ก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทบทวนและทำตามผลการประเมินตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทบทวนรายการจุดแข็ง โอกาส และส่วนที่ต้องปรับปรุง. ขีดฆ่าสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลหรือดูไม่น่าจะจริงสักเท่าไหร่หลังจากที่คุณคิดทบทวนดูแล้ว แทนที่รายการที่ขีดฆ่าด้วยสิ่งที่คุณสังเกตว่ามันหายไป นอกจากนี้ให้เขียนดอกจันหลังรายการที่คุณคิดว่าจริงมากๆ หรือติดใจคุณมากๆ ด้วย [9]
  2. ต่อสู้กับความรู้สึกสิ้นหวังและหมดกำลังใจขณะที่คุณระบุส่วนที่ตัวเองต้องปรับปรุง วิธีที่จะต่อสู้กับความรู้สึกเชิงลบวิธีหนึ่งก็คือ ให้รางวัลเล็กๆ กับตัวเองเวลาที่คุณระบุส่วนที่ตัวเองต้องปรับปรุงและลงมือแก้ไขมัน นอกจากนี้เวลาที่ความรู้สึกสิ้นหวังหรือหมดกำลังใจโผล่ขึ้นมา ให้สนใจที่ “สิ่งที่ได้มาง่ายๆ” และประเมินบางสิ่งที่คุณรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าและสามารถแก้ไขได้ง่าย [10]
    • จำไว้ว่า คุณไม่ได้กำลังให้คะแนนคุณค่าตัวเองในฐานะมนุษย์ แต่แค่พยายามระบุความแตกต่างระหว่างตัวตนของคุณจริงๆ กับตัวตนในอุดมคติ
  3. ถามเพื่อนที่คุณไว้ใจว่าพวกเขามองคุณอย่างไร. การจะมองตัวเองอย่างเป็นกลางนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป และการประเมินอย่างซื่อสัตย์จากคนภายนอกก็ช่วยให้คุณตัดสินได้ว่า การประเมินตนเองของคุณสมเหตุสมผลหรือไม่
    • ปรับมุมมองใหม่ จริงอยู่ที่ว่าคุณยังไม่ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่คนส่วนใหญ่ที่เหลือก็ยังไม่เคยได้เหมือนกัน คุณก็เป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง และไม่มีใครที่ควรจะคาดหวังความสมบูรณ์แบบจากตัวเอง รวมทั้งตัวคุณด้วย
  4. นึกถึงส่วนที่ต้องปรับปรุงและวางแผนที่จะไปให้ถึงจุดหมาย สำหรับเป้าหมายที่ดูจะใหญ่โตเกินไป ให้ลองแบ่งย่อยเป็นเป้าหมายเล็กๆ คุณต้องระบุความสำเร็จในลักษณะที่ว่า คุณสามารถระบุได้ว่าเมื่อไหร่ที่เรียกว่าคุณประสบความสำเร็จแล้ว และเมื่อไหร่คือน่าจะประสบความสำเร็จ [11] [12]
    • เช่น ถ้าคุณคิดว่าคุณมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว คุณอาจจะตั้งเป้า “ลดน้ำหนัก 50 กิโลกรัม” และแบ่งเป้าหมายออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย คิดถึงการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างที่คุณสามารถทำควบคู่ไปได้เพื่อให้ตัวเองไปถึงเป้าหมายใหญ่ๆ ที่ตั้งเอาไว้ได้เร็วขึ้นให้ได้มากที่สุด เช่นสัปดาห์แรกงดน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทุกชนิด สัปดาห์ที่ 2 งดขนมอบพร้อมรับประทานทั้งหลายแหล่ เช่น คุกกี้และโดนัต และให้แทนที่ด้วยขนมอบที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าแทน เพิ่มการเปลี่ยนแปลงด้านการรับประทานอาหารเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเสียเป็นส่วนใหญ่ได้เกือบตลอดเวลา
  5. เก็บรายการเพื่อเตือนใจคุณถึงจุดแข็งและเป้าหมายใหม่ของคุณ เมื่อคุณลงมือทำอะไรได้สำเร็จหรือไปถึงเป้าหมายแล้ว ให้ขีดฆ่าและเขียนรายการใหม่ลงไป ถ้าคุณเจอปัญหา ให้ระบุอุปสรรคของความก้าวหน้าและคิดว่าจะเอาชนะมันได้อย่างไร
    • เช่น ถ้าคุณไม่สามารถเลิกติดการพนันได้ ลองคิดว่าคุณเริ่มปฏิบัติการเลิกพนันอย่างไรและเมื่อไหร่ที่คุณไม่ประสบความสำเร็จ บางทีคุณอาจจะพบว่าคุณกลับไปเล่นพนันในช่วงสุดสัปดาห์ตอนที่คุณไม่มีอย่างอื่นทำ จากนั้นคุณก็จะสามารถเริ่มวางแผนกิจกรรมให้มากขึ้นเพื่อให้คุณไม่มีเวลาว่างในช่วงสุดสัปดาห์
  6. ขณะที่ทำตามขั้นตอนต่างๆ มานี้ อย่าลืมแยกพฤติกรรมของคุณออกจากตัวตนของคุณในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง คุณไม่ใช่การกระทำของคุณ และการกระทำของคุณก็ไม่ใช่สิ่งที่มากำหนดคุณค่าในตัวเองของคุณ ขณะที่คุณสนใจไปที่ส่วนที่ต้องปรับปรุง มันอาจจะดูเหมือนว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณทำล้วนแต่เป็นการ “ปรับปรุง” ตัวเอง เพราะฉะนั้นอย่าลืมใส่ใจส่วนที่คุณไม่ต้องปรับปรุงแล้วด้วย [13]
    • เช่น ถ้าคุณตั้งเป้าจะออกกำลังกายมากกว่าเดิม และคุณก็ทำตามเป้าหมายเรื่องการออกกำลังกายได้หมดแล้วเมื่อเดือนที่ผ่านมา คุณจะหยุดสักวันเพื่อไปดูหนังแทนที่จะออกไปวิ่งก็ได้ คุณแค่ต้องระวังไม่ให้ตัวเองถอยหลังกลับไปมีพฤติกรรมแบบเดิมและทำให้สิ่งดีๆ ทั้งหมดที่คุณทำมากลายเป็นศูนย์ก็พอ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำไว้ว่าการเขียนสิ่งต่างๆ ลงไปนั้นไม่ได้เป็นอันตราย คุณเลือกที่จะไม่ให้ใครดูได้ ทำลายมัน แก้ไขมัน หรือแค่เก็บมันไว้เป็นความลับก็ได้
  • ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน ให้ลองทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ (ดูลิงค์เพิ่มเติม) แบบทดสอบไม่สามารถค้นพบตัวตนของคุณได้ แต่มันอาจช่วยให้คุณเห็นธรรมชาติบางอย่างของตัวเองมากขึ้นเพื่อช่วยให้คุณรู้ว่าคุณควรเริ่มจากตรงไหน
  • คุณสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญได้ทุกเมื่อไม่ว่าคุณจะก้าวหน้าไปถึงไหนแล้วก็ตาม การซื่อสัตย์กับตัวเองไม่ได้หมายความว่าคุณต้องพยายามอยู่คนเดียว


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,498 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา