ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Carpet burns หรือ Rug burns นั้น คืออาการผิวหนังถลอกเพราะไปเสียดสีกับพื้นผิวขรุขระ เช่น พรม หรือผ้า เป็นต้น อาการผิวหนังไหม้แบบ Carpet burns นั้นมีระดับความรุนแรงตั้งแต่แผลถลอกแดงไปจนถึงผิวหนังหลุดเป็นแผลลึกจนเห็นเนื้อแดงๆ ปกติแล้วผิวไหม้แบบนี้คุณรักษาได้เองที่บ้าน แต่ถ้ามีอาการติดเชื้อร่วมด้วย หรือแผลมีขนาดใหญ่ลุกลาม ก็ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ทำแผลทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผิวหนังจะลอกถลอก ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้าหนังเปิดเลือดออกจนแบคทีเรียเข้าไปได้ แต่ถ้าเกิดอาการติดเชื้อขึ้นแล้ว ก็ต้องรีบหาหมอโดยด่วน
  2. ล้างแผลแบบเบามือด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นหมาดๆ และสบู่ฆ่าเชื้อ ถ้าเห็นเศษหรือสิ่งสกปรกต้องเอาออกให้หมด จะได้ไม่ติดเชื้อ [1]
  3. ต้องรีบใส่ยาฆ่าเชื้อที่แผล จะได้ป้องกันการติดเชื้อ ให้ใส่ทิงเจอร์ไอโอดีน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือยาฆ่าเชื้อในกรณีที่มีสิ่งสกปรกในแผล หรือแผลลึกมีเลือดออก เอาสำลีชุบทิงเจอร์ไอโอดีน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือยาฆ่าเชื้อแล้วทาเบาๆ ที่แผล อาจจะมีแสบบ้างตอนทา
    • แอลกอฮอล์จะทำให้เจ็บแสบหรืออันตรายได้ ไม่ต้องใช้จะดีกว่า
  4. ทายาอย่าง Neosporin หรือครีมอื่นๆ ตรงที่เป็นแผลแบบ carpet burn
    • ดูให้ดีว่าแผลนั้นลึกหรือเปล่า เช่น เป็นแผลเปิดมีเลือดออก หรือเป็นแผลฉีกขาด ถ้ารุนแรงมากก็ต้องกินยาหรือหาหมอ
  5. พันแผลไว้หลวมๆ ด้วยผ้ากอซหรือพลาสเตอร์ยา จากนั้นเช็คอาการของแผลภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าแผลเริ่มตกสะเก็ดหรือขอบแผลเริ่มแข็ง แปลว่าเดี๋ยวแผลก็หาย ให้เอาผ้าพันแผลออกให้แผลได้โดนอากาศ แต่ถ้าแผลยังแดงสดไม่ยอมตกสะเก็ด ให้พันผ้าพันแผล (ใหม่) ต่ออีก 24 ชั่วโมง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดูแลรักษาแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแสบร้อนที่แผลจนทนไม่ไหว ให้เปิดน้ำเย็นราดแผล ประมาณ 5-10 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง [2]
    • ห้ามเอาน้ำแข็งถูหรือเอาเนยทาแผลเด็ดขาด [3]
  2. เพราะเสื้อผ้าจะไปถูโดนแผลจนระคายเคืองได้ ถ้าต้องใส่เสื้อผ้าตรงที่เป็นแผลจริงๆ ให้เอาผ้ากอซพันหรือติดพลาสเตอร์ยาก่อน [4]
  3. อย่าให้แผลเปียกชื้น ความชื้นจะทำให้แบคทีเรียเติบโต ให้คอยใช้สำลีซับแผลถ้าแผลเปียก [5]
    • ถ้าแผลฉ่ำ ห้ามเช็ดถูหรือทำให้ระคายเคืองไปกว่านั้น แต่ให้ถอดผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ยาออก จะได้โดนอากาศจนแห้ง [6]
    • ถ้าแผลช้ำเลือดช้ำหนอง ให้รีบไปหาหมอโดยด่วน
  4. ใช้ว่านหางจระเข้รักษาแผลแล้วแผลจะหายเร็วขึ้น คุณสามารถใช้ว่านหางจระเข้ได้หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น สเปรย์ เจล น้ำ โลชั่น และครีม หรือจะใช้เมือกของว่านหางจระเข้โดยตรงเลยก็ได้ แถมจะยิ่งเห็นผลเร็วที่สุด แค่ตัดว่านหางจระเข้มาชิ้นเล็กๆ แล้วบีบเมือกออกมาทาแผล
  5. ทาแผลด้วยน้ำผึ้งแล้วจะทำให้หายคัน ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น [7]
  6. รักษาแผลด้วยดอกดาวเรือง (Marigold) ผสมกับใบผักชี (Parsley). ตำดอกดาวเรืองผสมกับใบผักชีให้เข้ากันจนเหนียวข้น แล้วเอาไปทาสมานแผลได้ [8]
  7. เขาวิจัยกันมาแล้วว่าขมิ้นช่วยกระตุ้นการสร้างผิวหนังและทำความสะอาดแผล ให้ผสมผงขมิ้น 1/4 ช้อนชา (1 มล.) กับโกโก้บัตเตอร์ 1 ช้อนชา (5 มล.) จนเหนียวข้น แล้วเอาไปทาแผล 3 ครั้งต่อวัน
  8. น้ำมันหอมระเหยชนิดต่างๆ ช่วยสมานแผลได้ ลาเวนเดอร์ขึ้นชื่อเรื่องรักษาแผลเพราะมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อ กระตุ้นการเกิดใหม่ของผิว แถมยังบรรเทาอาการเจ็บปวด ส่วนไธม์ก็ช่วยฆ่าเชื้อและกระตุ้นการเกิดใหม่ของผิวเช่นกัน
    • ให้หยดน้ำมันหอมระเหยที่ผ้าพันแผล 2 - 3 หยด แล้วเอาไปพันแนบที่แผล อย่าลืมเปลี่ยนผ้าพันแผล 2 - 3 ครั้งต่อวัน
    • หรือจะเจือจางน้ำมันหอมระเหย 5 - 6 หยดในน้ำ 1 ถ้วยตวง แล้วเอาไปล้างแผลก็ได้
  9. เพราะบางผลิตภัณฑ์อาจทำแผลระคายเคืองหรือลุกลามไปกว่าเดิม ที่ต้องหลีกเลี่ยงก็คือโลชั่น แป้ง น้ำมัน ครีมกันแดด และแอลกอฮอล์ [9]
  10. การเสริมวิตามินช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ถ้าคุณเพิ่มวิตามินซีจะช่วยเรื่องสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและปกป้องคุณจากแบคทีเรีย ลองหาผลไม้รสเปรี้ยว สตรอเบอร์รี่ บร็อคโคลี่ และมะเขือเทศมากินดู ไม่ก็กินวิตามินซีเสริมเข้าไปแทน
    • กินอาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น นม ไข่ ธัญพืชโฮลเกรน ผักโขม และแอสพารากัส เพราะวิตามินอีอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว [10]
  11. ถ้าเห็นอะไรผิดปกติที่แผล ว่าอาจจะเกิดการติดเชื้อ หรือแผลไม่ยอมหายสักที ให้รีบไปหาหมอโดยด่วน สัญญาณอันตรายก็เช่น แผลนิ่มหรือแดงมากขึ้น มีหนองไหลออกมา มีผื่นแดงลุกลามออกจากแผล ชื้นแฉะที่ใต้วงแขนและตรงขาหนีบ หรือมีไข้
    โฆษณา

คำเตือน

  • พอแผลตกสะเก็ด กำลังหาย มักจะคันคะเยอ อย่าไปคุ้ยแคะแกะเกาเด็ดขาด ไม่งั้นแผลจะหายช้า หรืออาจติดเชื้อได้
  • ห้ามรักษาแผลแบบ rug burn ด้วยน้ำแข็ง เบบี้ออยล์ เนย โลชั่น หรือแป้งเด็ดขาด
  • ถ้าคุณเป็นเบาหวานต้องดูแลเฝ้าระวังแผลมากกว่าคนอื่น เพราะอาจส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของคุณ และแผลอาจหายช้ากว่าเดิม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,025 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา