ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถึงแม้ว่าอูคูเลเล่จะเป็นเครื่องดนตรีที่มีแค่ 4 สาย ซึ่งน้อยกว่ากีตาร์ที่มีทั้งแบบ 6 สายและ 12 สาย แต่การตั้งสายอูคูเลเล่ก็อาจจะเป็นเรื่องยากอยู่ดี หากคุณยังใหม่กับเครื่องดนตรีแบบเครื่องสายอยู่ โชคดีหน่อยที่ว่าการตั้งสายอูคูเลเล่นั้นสามารถทำได้หลายวิธี และบทความของวิกิฮาวนี้ ก็จะนำพาคุณไปสู่ขั้นตอนของการตั้งสายอูคูเลเล่ ไล่ไปตั้งแต่การทำความรู้จักกับโครงสร้างของอูคูเลเล่ เพื่อที่จะเอาไว้ใช้ในการหาระดับเสียงต่างๆ ที่ต้องการ ไปจนถึงการตั้งสายแต่ละสายเลย และด้วยวิธีการเหล่านี้ คุณก็จะได้อูคูเลเล่ที่มีเสียงไพเราะน่าฟังภายในระยะเวลาที่ไม่นานเลยล่ะ!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำความเข้าใจกับโครงสร้าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อูคูเลเล่แบบที่คนส่วนใหญ่ใช้กันนั้นจะเป็นแบบโซปราโนและเทเนอร์ที่มี 4 สาย และตั้งสายแต่ละสายเรียงเป็นโน้ต GCEA ซึ่งโน้ต G จะมีเสียงต่ำกว่า C กลาง (G ต่ำ) และถัดมาก็จะเป็นโน้ต C กลาง แล้วก็ E ถัดจากนั้นก็ A โดยเราสามารถขึงและหย่อนสายแต่ละสายได้ด้วยการหมุนลูกบิดที่อยู่ขึ้นไปทางด้านบนของเฟรตบอร์ด
  2. การที่คุณจะรู้ได้ว่าลูกบิดตัวไหนคู่กับสายไหนนั้น คุณจะต้องถือตัวอูคูเลเล่ให้เฟรตบอร์ดชี้ขึ้นด้านบน จากนั้นก็ให้ดูที่ลูกบิดตัวล่างฝั่งซ้ายมือ ลูกบิดตัวนั้นคือลูกบิดที่ไว้จูนสาย G ส่วนลูกบิดที่อยู่ด้านบนก็จะไว้จูนสาย C และต่อมาลูกบิดตัวบนทางฝั่งขวา ก็คือลูกบิดที่ไว้จูนสาย E ส่วนลูกบิดตัวล่างก็จะไว้จูนสาย A นั่นเอง
    • ลูกบิด คือ สิ่งที่ไว้ใช้หมุนเพื่อปรับระดับเสียงของสายแต่ละสาย ซึ่งจะหมุนไปทิศทางไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับเครื่องดนตรีเครื่องนั้นๆ ด้วย ฉะนั้น คุณต้องลองเอง แต่ก็จำไว้อย่างหนึ่งว่า ลูกบิดที่อยู่ฝั่งเดียวกันนั้นจะหมุนไปในทิศทางเดียวกันเสมอ
    • หมุนสายให้ตึงขึ้นเพื่อเพิ่มระดับเสียง และผ่อนสายเพื่อลดระดับเสียง
    • อย่าขึงสายให้ตึงจนเกินไป เพราะนั่นอาจจะทำให้อูคูเลเล่ของคุณเสียหาย และสายที่ขึงอยู่ก็อาจจะขาดได้ด้วย
  3. ถ้าคุณเล่นอูคูเลเล่มือขวา การเรียงลำดับของแต่ละสายนั้นจะเรียงจากสายที่อยู่ไกลจากตัวคุณมากที่สุดไล่มาจนถึงสายที่อยู่ใกล้ตัวคุณที่สุด ซึ่งสาย A นั้นเรียกว่าสาย 1 ถัดมาสาย E เรียกว่าสาย 2 จากนั้นสาย C ก็เรียกว่าสาย 3 และสาย G ก็คือสาย 4 นั่นเอง
  4. เราจะเริ่มนับเฟรตตั้งแต่เฟรตที่อยู่ถัดจากลูกบิด ไล่ไปจนถึงตัวซาวด์บอร์ดของตัวอูคูเลเล่ ซึ่งเฟรตที่อยู่ใกล้กับแผงลูกบิดมากที่สุดจะเรียกว่าเฟรต 1 และการที่เรากดสายลงไปบนเฟรตใดเฟรตหนึ่งพร้อมดีดสายนั้น ก็คือการที่เราเพิ่มระดับเสียงของสายนั้นขึ้นไปนั่นเอง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วิธีการหาระดับเสียงต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ง่ายที่สุดในการตั้งสายอูคูเลเล่ก็คือ ให้จูนสายแต่ละสายให้มีระดับเสียงที่ตรงกับระดับเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ซึ่งจริงๆ ก็มีหลายตัวเลือกไม่ว่าจะเป็น เปียโน ออนไลน์จูนเนอร์ อิเล็กทรอนิกส์จูนเนอร์ หรือไม่ก็ไปป์จูนเนอร์ (เทียบเสียงด้วยการเป่าลมที่หลอดเสียงของจูนเนอร์) โดยคุณอาจจะจูนแค่สายเดียว (แล้วจูนสายที่เหลือด้วยการเทียบเอาจากสายนั้น) หรือไม่ก็จูนทุกสายด้วยการใช้เครื่องดนตรีอื่นๆ หรือเครื่องจูนเสียงก็ได้
  2. ให้คุณกดปุ่มคีย์บนคีย์บอร์ดแล้วดีดสายอูคูเลเล่ที่ตรงกับปุ่มคีย์นั้น และหมุนลูกบิดปรับเสียงไปจนกว่าระดับเสียงของสายนั้นจะตรงกับคีย์ที่กดกับคีย์บอร์ด
  3. คุณสามารถใช้ไปป์จูนเนอร์ที่เป็นแบบ chromatic (สามารถจับเสียงได้ทุกโน้ต) หรือว่าจะใช้ไปป์จูนเนอร์ที่ทำมาเพื่อตั้งสายอูคูเลเล่โดยเฉพาะเลยก็ได้ ซึ่งวิธีการใช้จูนเนอร์ชนิดนี้ก็คือ ให้เป่าลมไปที่หลอดเสียงบนตัวจูนเนอร์ที่เป็นโน้ตตัวเดียวกับสายอูคูเลเล่ที่จะจูน จากนั้นก็ดีดสายนั้น แล้วหมุนลูกบิดเพื่อปรับเสียงจนกว่าเสียงของสายนั้นจะตรงกับหลอดเสียงที่คุณเป่าไป
  4. หากคุณมีส้อมเสียงครบสำหรับสายแต่ละสาย ให้คุณเคาะส้อมแต่ละอันแล้วฟังเสียงที่ออกมา จากนั้นก็จูนสายให้มีระดับเสียงที่ตรงกับระดับเสียงของส้อมเสียงนั้น แต่ถ้าหากคุณมีส้อมเสียงแค่เพียงอันเดียว ให้คุณใช้ส้อมเสียงนั้นจูนสายไปก่อน 1 สาย จากนั้นก็ค่อยจูนสายที่เหลือด้วยการเทียบจากสายนั้นก็ได้
  5. อิเล็กทรอนิกส์จูนเนอร์นั้นมี 2 ประเภท แบบแรกจะเป็นจูนเนอร์ที่เล่นเสียงที่คุณจะตั้งสายออกมาเพื่อให้คุณได้เทียบเสียง ส่วนอีกแบบจะเป็นจูนเนอร์ที่วิเคราะห์เสียงจากสายที่คุณดีด และจะบอกให้คุณรู้ว่าสายนั้นติดชาร์ป (เสียงสูงไป) หรือว่าติดแฟรต (เสียงต่ำไป) หรือเปล่า ซึ่งวิธีนี้น่าจะเป็นวิธีตั้งสายที่ง่ายที่สุดสำหรับมือใหม่ เพราะว่าคนที่เพิ่งเริ่มเล่นบางคนอาจจะยังไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างระดับเสียงต่างๆ ได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ตั้งสายแต่ละสาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปรับสาย G (สายที่อยู่ใกล้กับตัวคุณมากที่สุด) ไปเรื่อยๆ จนกว่าเสียงจะตรง
  2. ให้กดนิ้วไปที่เฟรต 2 (ช่องที่สองจากหัวอูคูเลเล่) บนสาย G ที่คุณได้ตั้งเสียงไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งโน้ตตัวที่คุณกดนี้แหละ คือโน้ต A และก็จะมีระดับเสียงเดียวกับสายที่อยู่ไกลจากตัวคุณมากที่สุด (สาย A)
  3. ให้คุณจูนสาย A ให้ตรงกับเสียงของโน้ตที่คุณเล่นบนสาย G ตามข้อที่แล้ว
  4. ให้กดนิ้วไปที่เฟรต 3 สาย E ซึ่งโน้ตตัวนี้จะเป็นโน้ต G และก็จะมีระดับเสียงเดียวกับสาย G ด้วย ฉะนั้น หากเสียงที่ออกมาไม่ตรงกัน แสดงว่าสาย E ของคุณอาจจะเพี้ยนก็ได้
  5. ให้คุณจูนสาย E ต่อไปจนกว่าจะได้เสียงที่ตรงกับสาย G
  6. ให้กดนิ้วที่เฟรต 4 สาย C ซึ่งโน้ตที่ได้ก็จะเป็นโน้ต E
  7. จูนสาย C ต่อจนกว่าเสียงจะตรงกับสาย E
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิห้องอาจจะมีผลกระทบต่อตัวอูคูเลเล่ได้ ฉะนั้น ไม่ต้องตกใจไปถ้าเกิดว่าอูคูเลเล่ของคุณเสียงเพี้ยนหลังจากที่คุณเอาออกมาเล่นข้างนอก
  • ลองใช้เครื่องทำความชื้น (humidifier) ดูก็ได้ อุคูเลเล่ของคุณจะได้เสียงไม่เพี้ยนอีกหลังจากที่ตั้งสายไปแล้ว
  • เวลาที่จะตั้งสาย แทนที่จะหมุนให้หย่อนลง ให้คุณหมุนสายให้ตึงขึ้นเท่าที่จะทำได้
  • เวลาที่คุณกำลังเล่นร่วมกับมืออูคูเลเล่คนอื่นๆ ให้คุณดูด้วยว่าอูคูเลเล่ของคนไหนคือ “ตัวหลักหรือเสียงตรงที่สุด” แล้วจูนสายอูคูเลเล่ตัวอื่นๆ ให้เข้ากับตัวนั้นซะ เพื่อที่เสียงของอูคูเลเล่ทุกตัวจะได้ประสานกันได้อย่างกลมกลืน
  • อูคูเลเล่บางตัวนั้นมีปัญหาเรื่องเสียงที่เพี้ยนอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น หากอูคูเลเล่ของคุณเสียงเพี้ยนอยู่เรื่อยๆ ให้คุณลองเอาไปให้ร้านปรับดู
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าขึงสายให้ตึงเกินไป เพราะนั่นอาจจะทำให้เครื่องดนตรีเสียหายได้
  • บางครั้งหลังจากตั้งสายครบหมดทุกสายแล้ว คุณอาจจะรู้สึกว่าสาย 1 นั้นเพี้ยนอยู่หน่อยๆ จนคุณต้องจูนเสียงให้ตรงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนั่นเป็นเพราะว่า เวลาที่คุณหมุนปรับสายอื่นๆ ตัวอูคูเลเล่ของคุณก็จะโค้งเล็กน้อยไปตามแรงตึงของสาย จนทำให้สาย 1 ยืดตัวและมีเสียงเพี้ยนไปจากที่ตั้งไว้ตอนแรก
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 109,978 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา