ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เปียโนนั้นเป็นเครื่องดนตรีที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจมาก และยังเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นแล้วสนุกอีกด้วย และถึงแม้คุณจะคิดว่าตัวเองคงจะไม่มีทางเป็นมือเปียโนที่เก่งได้ ถ้าหากไม่ได้ลงเรียนคอร์สเรียนเปียโนแพงๆ ให้ได้หลายปีซะก่อน แต่จำไว้ว่าจริงๆ แล้วนี่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสักเท่าไรเลย เพราะแค่เพียงคุณมีความรู้พื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับตัวโน้ต คีย์ และคอร์ด และอาศัยการฝึกฝนให้มากๆ คุณก็สามารถเรียนเปียโนด้วยตัวเองได้แล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เล่นด้วยหู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณไม่มีเปียโนหรือคีย์บอร์ดเป็นของตัวเองที่บ้าน คุณอาจจะยืมจากเพื่อนของคุณก็ได้ ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากการฝึกเล่นกับเปียโนจริงก็คือเสียงที่สมจริงกว่า เพราะว่าเสียงของเปียโนนั้นมาจากสายโลหะที่อยู่ในตัวเปียโน และนอกจากนี้ยังมีคีย์ถึง 88 คีย์อีกด้วย ส่วนคีย์บอร์ดจะไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้เลย ดังนั้น ให้คุณจำสิ่งนี้ไว้เสมอเวลาที่จะต้องตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
    • เปียโนนั้นมีราคาแพงกว่าคีย์บอร์ดมาก แต่ว่าร้านขายเปียโนบางร้านก็มีเปียโนให้เช่าอยู่เหมือนกัน
    • คุณต้องจูนเปียโนด้วยถ้าเกิดคุณใช้เปียโนโบราณหรือเปียโนวินเทจ เพื่อที่คุณจะได้ฝึกหูตัวเองให้ได้ยินโน้ตที่ถูกต้องได้ เปียโนเก่ามักจะมีเสียงเพี้ยนหากเราไม่ได้เล่นมันบ่อยๆ ดังนั้น หากเปียโนของคุณไม่ได้ถูกเล่นมานานแล้ว คุณอาจจะต้องให้มืออาชีพมาจูนให้ก่อนที่คุณจะเริ่มเล่น
    • หากคุณไม่สามารถหาเปียโนได้ คีย์บอร์ดก็เป็นตัวเลือกที่ดีตัวเลือกหนึ่ง เพราะราคาไม่สูงมากนัก และเสียงก็ไม่มีวันไม่เพี้ยน แถมยังมีเสียงและคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างอยู่ในตัวที่จะช่วยเสริมดนตรีของคุณให้มีสีสันได้ นอกจากนี้ คีย์บอร์ดยังง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและไม่กินพื้นที่อีกด้วย คีย์บอร์ดจึงถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้น ดังนั้น คุณอาจจะเริ่มต้นจากคีย์บอร์ดก่อนก็ได้ แล้วค่อยอัพเกรดเป็นเปียโนทีหลัง
    • ให้ลองเริ่มต้นเรียนจากคีย์บอร์ด เพราะเครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีการเล่นเพลงต่างๆ ให้ได้เร็วขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว คีย์บอร์ดนั้นมักจะมาพร้อมกับหนังสือและวิดีโอที่จะช่วยสอนให้คุณเรียนรู้โน้ตดนตรีได้
  2. นั่งลงที่เปียโนหรือคีย์บอร์ดและทำความคุ้นเคยกับมัน. ให้คุณลองเล่นและดูว่าเสียงกลาง (ตรงกลางของเปียโน) เสียงแฟรต (คีย์สีดำถอยไปทางซ้ายมือ) เสียงชาร์ป (คีย์สีดำขึ้นไปทางขวา) เสียงเบส (เสียงต่ำ) และเสียงสูงเป็นยังไง แล้วฟังแต่ละเสียงให้ดีๆ และจดจำไว้ว่าแต่ละเสียงนั้นแตกต่างกันยังไง ฝึกฝนไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะสามารถบอกความแตกต่างระหว่างเสียงเหล่านั้นได้
  3. คุณต้องเรียนรู้คีย์เมเจอร์ด้วยหากคุณอยากจะแยกเสียงที่ตัวเองได้ยินออก บางคนเรียนรู้ด้วยการทำความเข้าใจกับคีย์ที่เป็นเมเจอร์ แล้วจากนั้นก็กำหนดตัวเลขให้กับตัวโน้ตในคีย์เมเจอร์ ตัวอย่างเช่น 1 แทน C, 2 แทน D, 3 แทน E, 4 แทน F, 5 แทน G, 6 แทน A, 7 แทน B, 8 แทน C จะเห็นว่าทั้ง 8 และ 1 นั้นแทนโน้ตตัวเดียวกันซึ่งก็คือ C แต่แตกต่างตรงที่ว่าตัวเลขลำดับนั้นบ่งบอกถึง C ต่ำ และ C สูง ซึ่งเลข 1 ก็จะแทน C กลางหรือที่เรียกว่า middle C นั่นเอง
    • เมื่อคุณรู้แล้วว่าต้องทำยังไงบ้าง คุณก็สามารถแทนตัวโน้ตในเพลงด้วยตัวเลขได้ ตัวอย่างเช่นในเพลง Mary Had A Little Lamb ที่มีโน้ต E - D - C - D - E - E – E คุณก็แทนโน้ตเหล่านี้ด้วยเลข 3 - 2 - 1 - 2 - 3 - 3 - 3
    • หากคุณไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านดนตรีเลย คุณก็ต้องลองเรียนรู้มันไปและลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข้าใจ
  4. เพลงแทบทุกเพลงมักจะประกอบไปด้วยคอร์ดหลายๆ คอร์ด ซึ่งคุณจะได้ยินคอร์ดพวกนั้นในคีย์ที่ต่างกัน แต่ว่าจริงๆ คอร์ดต่างๆ ก็ประกอบไปด้วยโน้ตแบบเดียวกัน ซึ่งถ้าคุณกำลังพยายามที่จะแกะเพลงด้วยหู การที่คุณจะแยกโน้ตตัวหนึ่งออกได้นั้นคือเรื่องจำเป็นมาก ดังนั้น ให้คุณเรียนรู้วิธีการเล่นคอร์ดพื้นฐานด้วย และดูว่าต้องวางคอร์ดพวกนั้นตรงส่วนไหนของแป้นเปียโน จากนั้นก็เล่นคอร์ดต่างๆ เพื่อทำให้ตัวเองคุ้นเคยกับเสียงของคอร์ดพวกนั้น เพื่อที่คุณจะได้จำเสียงของคอร์ดต่างๆ ได้ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะไม่รู้ชื่อคอร์ด คุณก็ควรรู้ว่าคอร์ดพวกนั้นให้เสียงแบบไหน นอกจากนี้ คุณก็ควรต้องรู้ด้วยว่าคอร์ดที่ได้ยินนั้นเป็นโทนเสียงต่ำหรือโทนเสียงสูง ซึ่งตรงจุดนี้จะทำให้คุณรู้ว่าคอร์ดต่างๆ อยู่ตรงตำแหน่งไหนของแป้นคีย์ [1]
    • ตัวอย่างเช่น C E G นั้นเป็นคอร์ดธรรมดาๆ ที่คุณควรจะจำเอาไว้ว่านี่คือคอร์ดแรกของคีย์ C เมเจอร์ ซึ่งคอร์ดนี้จะเล่นที่คีย์เสียงต่ำหรือคีย์เสียงสูงก็ได้ [2]
  5. เพลงทุกเพลงนั้นประกอบไปด้วยแพทเทิร์นทางดนตรีหลายๆ แบบ คอร์ดต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ถูกเล่นซ้ำไปซ้ำมาในจังหวะหรือริทึ่มที่คงที่ หากคุณสามารถแยกแพทเทิร์นที่คุณได้ยินออกได้ การที่คุณจะเล่นเพลงที่ตัวเองได้ยินก็จะยิ่งทำได้ง่ายขึ้น และคุณก็จะสามารถเรียนรู้ได้ว่าคอร์ดอะไรต้องเล่นร่วมกับคอร์ดอะไร ซึ่งนี่จะช่วยทำให้คุณเข้าใจวิธีการที่เมโลดี้และไลน์เบสถูกสร้างขึ้นมาด้วยกัน และความเข้าใจนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คุณสามารถแต่งทำนองเพลงในแบบของตัวเองได้
  6. การฮัมเสียงนั้นช่วยทำให้คุณจดจำและแต่งเป็นเพลงออกมาได้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คุณสามารถเล่นทำนองเพลงนั้นซ้ำบนเปียโนได้ดียิ่งขึ้น พูดอีกแบบก็คือ ให้คุณฮัมทำนองเพลงออกมา จากนั้นก็นั่งลงที่เปียโนและลองเล่นทำนองเพลงที่คุณเพิ่งฮัมไป เมื่อคุณรู้แล้วว่าจะต้องใช้คอร์ดและโน้ตตัวไหน นั่นก็แสดงว่าคุณสามารถเล่นเลียนแบบเสียงเหล่านั้นออกมาด้วยหูตัวเองได้แล้ว
  7. เพื่อที่จะเล่นให้ได้จริงๆ คุณก็ควรต้องรู้ว่านิ้วไหนควรจะเล่นกับปุ่มคีย์ไหน โดยวิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การทำความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานของการวางนิ้ว ซึ่งจะมีสอนอยู่ในหนังสือสอนเปียโนสำหรับผู้เริ่มต้น โดยปกติแล้ว นิ้วต่างๆ จะถูกแทนด้วยตัวเลข ตัวอย่างเช่น เลข 1 แทนนิ้วโป้ง และเลข 5 แทนนิ้วก้อย โดยในหนังสือก็จะสอนให้คุณรู้ว่าในแต่ละโน้ตคุณต้องใช้นิ้วไหนเล่นบ้าง
  8. ฟังเพลงเยอะๆ และก็ฝึกฮัมเพลงเหล่านั้นออกมา ดูว่าตัวเองจะสามารถเล่นเพลงเหล่านั้นกับเปียโนหรือคีย์บอร์ดได้หรือเปล่า หรือไม่ก็เลือกเพลงที่คุณชอบมาสักหนึ่งเพลง แล้วใช้เทคนิคที่คุณได้เรียนรู้มาแล้ว มาพยายามเล่นทำนองเหล่านั้นให้ได้ด้วยหู จำไว้ว่า การที่จะเป็นนักเปียโนที่ดีได้นั้นต้องอาศัยการฝึกฝนเยอะๆ โดยคุณต้องฝึกให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง [3]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เรียนรู้เรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเปียโน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนรู้เรื่องความรู้พื้นฐานบางอย่างที่เกี่ยวกับเปียโน. บนแป้นคีย์เปียโนจะมีทั้งหมด 88 คีย์ คีย์ที่เป็นสีขาวเรียกว่าเนเจอรัล เพราะว่าเมื่อเรากดคีย์สีขาวลงไปโน้ตที่ได้ออกมาจะเป็นโน้ตแบบธรรมดา ส่วนคีย์สีดำนั้นเรียกว่าแอคซิเดนทัล เพราะว่าเมื่อกดลงไปเสียงที่ได้ออกมาจะเป็นโน้ตที่ติดชาร์ปหรือไม่ก็แฟลต [4]
    • บนแป้นคีย์จะประกอบไปด้วยโน้ตเนเจอรัล 7 ตัว คือ C-D-E-F-G-A-B
    • ในแต่ละอ็อกเทฟจะมีโน้ตแอคซิเดนทัล 5 ตัว และโน้ตพวกนี้จะเป็นโน้ตชาร์ปหรือแฟลตก็ได้
    • ให้ทำความเข้าใจเรื่องชื่อของกุญแจประจำหลักสำหรับใช้กับมือซ้ายและมือขวาด้วย ซึ่งที่ใช้กับมือซ้ายจะเรียกว่ากุญแจฟา ส่วนที่ใช้กับมือขวาเรียกว่ากุญแจซอล
  2. เนื่องจากว่าคุณไม่มีครูสอน คุณจึงต้องใช้หนังสือแนะนำการเล่นเพื่อเป็นแนวทางให้ตัวเอง ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีหนังสือสอนดนตรีหลายแบบที่ขายตามร้านขายเครื่องดนตรีและร้านขายหนังสือทั่วไปอยู่ ซึ่งหนังสือเหล่านี้จะช่วยสอนคุณไปทีละสเต็ป ตั้งแต่ในเรื่องการอ่านโน้ต การเล่นสเกลพื้นฐาน คอร์ดโปรเกรสชัน รวมไปจนถึงการเล่นเพลงง่ายๆ ด้วย [5]
    • ให้คุณใช้มัลติมีเดียอย่างเช่น DVD หรือว่าวิดีโอใน YouTube ก็ได้ เพราะวิดีโอในนี้จะเป็นแหล่งความรู้ชั้นดีให้กับคุณได้ และถ้าหากคุณชอบเรียนรู้จากการดู การเรียนด้วยวิธีนี้น่าจะเหมาะกับคุณ เพราะคุณสามารถมองเห็นวิธีการเล่นที่ถูกต้องได้ด้วยตาของตัวเอง
  3. คุณต้องรู้ว่าโน้ตแต่ละโน้ตนั้นอยู่ตรงตำแหน่งไหนของแป้นเปียโนบ้าง เสียงของโน้ตเหล่านั้นเป็นแบบไหน และจะเขียนโน้ตแต่ละตัวบนบรรทัด 5 เส้นยังไง และเพื่อที่จะทำแบบนี้ได้ คุณอาจจะทำแฟลชการ์ดขึ้นมา เพื่อช่วยให้คุณแยกแยะโน้ตที่อยู่บนบรรทัด 5 เส้นได้ [6] หรือไม่คุณก็อาจจะซื้อสติกเกอร์มาติดที่แป้นคีย์เปียโนเพื่อช่วยคุณในการจดจำตำแหน่งของโน้ตตัวต่างๆ นอกจากนี้ คุณอาจจะซื้อหนังสือสอนอ่านโน้ตสำหรับผู้เริ่มต้นมาอ่านก็ได้
    • ทำตัวเองให้คุ้นเคยกับคอร์ดพื้นฐานต่างๆ โดยให้เริ่มต้นจากคอร์ดเมเจอร์ จากนั้นก็ตามด้วยคอร์ดไมเนอร์ [7]
  4. ให้คุณใช้หนังสือแนะนำการเล่นมาเรียนรู้วิธีการเล่นโน้ตแต่ละตัว ซึ่งการเล่นโน้ตแต่ละตัวด้วยนิ้วที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญพอๆ กับการเรียนรู้ว่าโน้ตแต่ละตัววางอยู่ตรงไหนของแป้นคีย์เปียโน หากคุณไม่ฝึกให้ถูกตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นจะทำให้คุณมีปัญหาเวลาที่คุณต้องเล่นไล่สเกลขึ้นและลง [8]
  5. การไล่สเกลจะช่วยทำให้คุณคุ้ยเคยกับตัวโน้ตและเสียงของมันได้ หากคุณกำลังเรียนรู้วิธีการอ่านโน้ตแบบ sight reading หรือที่เรียกว่าการอ่านโน้ตแบบฉับพลันอยู่ การเล่นเพลงออกมาในขณะที่อ่านโน้ตอยู่นั้น จะช่วยทำให้คุณรู้ว่าโน้ตแต่ละตัวอยู่ตรงไหนและมีลักษณะยังไงเมื่ออยู่บนบรรทัด 5 เส้น ดังนั้น ให้คุณฝึกไล่สเกลด้วยมือทีละข้างก่อน จากนั้นค่อยฝึกเล่นไปพร้อมกันสองข้าง
  6. ให้คุณทำตามหนังสือสอนไปทีละบท เพราะหนังสือเหล่านี้จะช่วยสอนให้เล่นเพลงง่ายๆ รวมไปถึงการวางตำแหน่งนิ้วที่ถูกต้องด้วย ซึ่งการฝึกด้วยเพลงง่ายๆ ยังช่วยทำให้คุณจำได้ด้วยว่าโน้ตแต่ละตัวอยู่ตรงตำแหน่งไหน และนี่จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตแบบ sight reading ให้กับคุณ ดังนั้น ให้คุณเริ่มต้นด้วย C เมเจอร์ก่อน จากนั้นก็ไปต่อกับคีย์ที่เป็นไมเนอร์ เพื่อที่คุณจะได้คุ้นเคยกับคีย์เหล่านี้ได้
    • เมื่อคุณกำลังฝึกเล่นเพลงๆ หนึ่งอยู่ ให้คุณลองเล่นเมโลดี้และเบสไลน์แบบทีละข้างแยกกันก่อน เมื่อคุณเล่นได้คล่องทั้งสองข้างแล้ว คุณก็ค่อยเล่นไปพร้อมกันสองมือ
  7. การเรียนเปียโนนั้นต้องอาศัยการฝึกฝนให้มากๆ ดังนั้น ให้คุณฝึกเล่นกับโน้ตเพลงเพื่อที่คุณจะได้อ่านโน้ตแบบ sight reading และวางนิ้ว รวมไปถึงเล่นเพลงออกมาให้ดีขึ้นได้ โดยให้วางแผนการฝึกเอาไว้ประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ฝึกครั้งละประมาณครึ่งชั่วโมง และอย่าเพิ่งไปบทต่อไปจนกว่าคุณจะทำบทก่อนหน้านี้ได้อย่างเชี่ยวชาญแล้ว [9]
    โฆษณา


วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

จ้างครูสอนเปียโน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี่คือวิธีที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุด แต่ก็เป็นวิธีการเรียนดนตรีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเช่นกัน ครูที่ดีไม่เพียงแต่จะมีประวัติยืนยันว่าเขาสามารถช่วยสอนผู้เริ่มต้นได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เขายังสามารถสอนพื้นฐานที่ถูกต้องให้กับผู้เรียนได้อีกด้วย การใช้ครูสอนจึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงอุปนิสัยผิดๆ ในการเล่นได้ ซึ่งอุปนิสัยผิดๆ แบบนั้นอาจจะต้องใช้เวลานานในการแก้ไข
    • ให้คุณทบทวนการอ่านโน้ตแบบ sight reading การวางนิ้ว และการเล่นกับครูที่สอนคุณ
    • ขอให้ครูสอนโชว์ให้ดูว่าโน้ตแต่ละตัวต้องอยู่ตรงไหนบนบรรทัด 5 เส้น และอยู่ตรงไหนของแป้นคีย์เปียโน
  2. ตัดสินใจดูว่าตัวเองควรจะไปหาผู้ฝึกสอนบ่อยแค่ไหน. เพราะเป้าหมายจริงๆ ของคุณคือการเรียนเปียโนด้วยตัวเอง นั่นก็แสดงว่าคุณไม่จำเป็นต้องไปหาผู้ฝึกสอนให้บ่อยอะไรมากมาย ดังนั้น ให้คุณไปหาผู้ฝึกสอนแค่เดือนละครั้งก็พอ เพื่อเช็คพัฒนาการของตัวเอง หรือไม่ก็ถามเกี่ยวกับอะไรก็ได้ที่คุณยังไม่เข้าใจ ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะสงสัยว่าตัวเองกำลังเล่นเพลงๆ หนึ่งด้วยความเร็วที่ถูกต้องหรือเปล่า
  3. ขอย้ำอีกครั้งว่าคุณต้องฝึกฝนให้มากๆ เพื่อที่คุณจะได้รู้วิธีการเล่นเปียโน จะเห็นว่าหลายคนที่เรียนกับครูสอนเปียโนนั้นในสัปดาห์หนึ่งพวกเขาจะฝึกหลายครั้ง ดังนั้น ให้คุณฝึกให้ได้สัก 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือจะฝึกทุกวันก็ได้ถ้าคุณต้องการ โดยให้วางแผนฝึกไว้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และอย่าลืมจัดเวลานอกให้ตัวเองทบทวนโน้ตและทักษะการอ่านโน้ตแบบ sight reading ด้วย ซึ่งการทบทวนแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีคีย์บอร์ดหรือเปียโนเพื่อฝึกฝนแต่อย่างใด [10] .
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แม้ว่าบางทีการเหยียบ sustain pedal (กระเดื่องลากเสียงยาว) จะเป็นสิ่งที่ล่อใจคุณ แต่ให้คุณพยายามเล่นโดยที่ไม่ต้องเหยียบ sustain pedal เพราะถ้าคุณไม่เหยียบ เสียงที่ออกมาก็จะชัดเจนขึ้น และจะทำให้คุณได้ยินความผิดพลาดของตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งนี่จะช่วยพัฒนาการเล่นของคุณได้เยอะ
  • หากคุณเล่นเครื่องดนตรีประเภทอื่นที่ตั้งเสียงกันคนละแบบ (เช่น Bb, Eb, หรือ F) คุณอาจจะต้องเรียนรู้วิธีการทรานสโพสโน้ต (transpose) เพื่อที่คุณจะได้เล่นเพลงที่คุณเล่นบนเครื่องดนตรีชนิดนั้นกับเปียโน และเล่นด้วยเสียงที่ถูกต้องและตรงกันได้ ซึ่ง Bb (B แฟรต) นั้นน่าจะทรานสโพสง่ายสุด เพราะโน้ตต่างๆ ในคีย์นี้ไม่ต้องเปลี่ยนหรือทรานสโพสไปไกลมากนัก แค่เปลี่ยนถอยไปทางซ้ายแค่ 1 โน้ตเท่านั้น ยกเว้นแค่โน้ต C และ F ที่จะไปจบลงที่ตัว Bb (B แฟรต) และ Eb (E แฟรต) ตามลำดับ ซึ่งคุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการทรานสโพสบนอินเทอร์เน็ตได้ และถ้าคุณทรานสโพสเป็น คุณก็จะสามารถสร้างความเป็นไปได้หลายๆ อย่างขึ้นมาได้ เพราะคุณจะเล่นเพลงอะไรก็ได้บนเครื่องดนตรีประเภทไหนก็ได้
  • ให้เล่นเมโลดี้ด้วยมือขวาอย่างเดียว และพยายามฝืนไม่เล่นเมโลดี้พร้อมกันทั้งสองมือ จริงอยู่ที่การเริ่มเล่นแบบนี้จะดูง่ายกว่า แต่คุณจะเสียใจทีหลังถ้าหากว่ามันกลายเป็นความคุ้นเคยของคุณ เพราะว่านี่คือนิสัยผิดๆ ที่ยังไงแล้วคุณก็ต้องแก้ไขมันอยู่ดี
  • ให้คุณใช้ประโยชน์จากหนังสือหรือวิดิโอสอนการเล่นเปียโน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 103,720 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา