ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไวโอลินถือว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าและความสง่างามมากที่สุด และการเรียนไวโอลินนั้นต้องใช้ระยะเวลานานพอควร แต่ถ้าคุณมีความอดทน มีระเบียบวินัยและความกระตือรือร้นในการฝึก วิธีการต่างๆ ด้านล่างนี้จะช่วยคุณเริ่มต้นเส้นทางการเล่นไวโอลินให้ไปได้สวยได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รวบรวมอุปกรณ์ต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณเพิ่งเริ่มต้นเล่นไวโอลิน มันไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องใช้เงินจำนวนมากกับไวโอลินตัวใหม่ แต่ก็เช่นเดียวกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ คุณภาพของไวโอลินนั้นจะขึ้นอยู่กับราคาของมัน ซึ่งจริงๆ ไวโอลินตัวละประมาน 4-5 พันก็ใช้ได้แล้วสำหรับมือใหม่
    • ซื้อไวโอลินขนาด 4/4 (full size) หากคุณไม่ใช่เด็กแล้ว ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็ก แต่ว่าก็ยังมีไวโอลินขนาดเล็กแบบพิเศษที่ผลิตมาสำหรับเด็กเล็กด้วย ดังนั้น ต้องดูให้ดีว่าไวโอลินที่จะซื้อมานั้นเป็นแบบฟูลไซส์หรือเปล่า ยกเว้นว่าถ้าคุณตัวเล็กจริงๆ คุณอาจจะขอคำแนะนำจากทางร้านหากคุณไม่แน่ใจ
    • คุณสามารถขอให้ทางร้านวัดความยาวของแขนคุณเพื่อที่จะได้รู้ว่าไวโอลินไซส์ไหนเหมาะกับคุณ เวลาถือไวโอลินในท่าเตรียมเล่นนั้น ให้ยืดแขนซ้ายและปลายนิ้วควรจะอยู่ใกล้กับด้านบนของหัวไวโอลิน ถ้าแขนเลยด้านบนแล้ว แสดงว่าไวโอลินตัวนั้นเล็กเกินไป
    • ซื้อจากร้านที่มีชื่อ เพราะร้านขายเครื่องดนตรีหลายๆ ร้านนั้นจะมีชื่อเสียงมาจากการที่พวกเขาขายเครื่องดนตรีที่ไม่มีรอยตำหนิและความเสียหาย ซึ่งถ้าคุณเป็นเพียงแค่มือใหม่ คุณไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าไวโอลินที่คุณซื้อมานั้นมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า กว่าจะรู้ก็สายเกินไปที่จะร้องเรียนกับทางร้านแล้ว ดังนั้น ซื้อจากร้านที่น่าเชื่อถือหรือบุคคลที่คุณไว้ใจได้จะดีกว่า
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Dalia Miguel

    ครูสอนไวโอลินมากประสบการณ์
    ดาเลีย มิเกลเป็นนักไวโอลินและครูสอนไวโอลินในย่านเบย์แอเรียของซานฟรานซิสโก เธอเรียนครุศาสตร์การดนตรีและการเล่นไวโอลินจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานโฮเซ่ และเล่นไวโอลินมานานกว่า 15 ปี ดาเลียสอนนักเรียนทุกช่วงวัยและได้ร่วมแสดงกับวงซิมโฟนี่ออร์เคสตรามากมายในย่านเบย์แอเรีย
    Dalia Miguel
    ครูสอนไวโอลินมากประสบการณ์

    ลองเช่าไวโอลินถ้าเป็นเด็กเล็ก ดาเลีย มิกูเอล ครูสอนไวโอลินแนะนำ: "ดิฉันมักแนะนำพ่อแม่ให้เช่าไวโอลินจนกว่าลูกจะเติบโตเต็มที่ ถ้าคุณซื้อไวโอลินสำหรับเด็กที่ยังเล็ก คุณจะต้องเปลี่ยนมันทุกปีหรือ 2 ปีตามการเติบโตของลูกคุณ"

  2. การที่คุณซื้อไวโอลินมาสักตัวหนึ่ง ไวโอลินของคุณควรจะมาพร้อมกับสายไวโอลินทั้ง 4 สาย โบว์ (คันชัก) เคสใส่ไวโอลิน ที่รองคาง และยางสน ซึ่งในกรณีของสายไวโอลิน คนขายไวโอลินแทบทุกคนยินดีที่จะใส่สายให้คุณอยู่แล้ว และอาจจะเพิ่มออปชั่นพิเศษให้คุณ โดยการเช็คลูกบิดตั้งสายให้คุณว่ามันพอดีกับหัวไวโอลินหรือไม่ ส่วนฮาร์ดเคสนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อไวโอลิน เพราะไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่บอบบาง
    • สายไวโอลินนั้นมี 3 ประเภท แบบแรกคือ สายเอ็น (gut) ซึ่งจะมีราคาสูงและดูแลยาก แต่ว่าจะให้เสียงที่ลุ่มลึก แบบต่อมาก็คือ สายโลหะ (steel) ซึ่งจะให้เสียงพุ่งและดังกังวาน แต่บางทีก็อาจจะฟังแล้วไม่ลื่นหู และแบบสุดท้ายก็คือ สายสังเคราะห์ (synthetic) ซึ่งให้เสียงที่สมูท เคลียร์ และให้เสียงที่สม่ำเสมอกว่าสายเอ็น ซึ่งชื่อของแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับแกนสาย (core) ว่าทำมาจากวัสดุอะไร สำหรับมือใหม่ทุกคน ควรจะใช้สายสังเคราะห์ ที่มีแกนสายเป็นไนลอน
    • โบว์ที่ใช้ควรจะเป็นของใหม่ หรือไม่ก็เปลี่ยนหางม้าใหม่ คุณสามารถเช็คสภาพได้จากหางม้าของโบว์ (ส่วนที่เป็นเส้นใยสีขาว) โดยให้ดูว่าสีของหางม้านั้นสม่ำเสมอเท่ากันทั้งเส้นหรือเปล่า และหางม้าที่ดีควรจะมีความกว้างที่สม่ำเสมอตั้งแต่ต้นถึงปลาย
      • โบว์จะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ดังนั้น คุณสามารถเอาโบว์ไปเปลี่ยนหางม้าใหม่ได้ที่ร้านขายเครื่องดนตรี ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงด้วย
  3. นักไวโอลินแทบทุกคนจะใช้ที่รองคาง ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาไม่สูง ทำจากพลาสติกสีดำหนีบอยู่กับตัวไวโอลิน ซึ่งจริงๆ แล้วชิ้นส่วนนี้จะติดมาพร้อมกับตัวไวโอลินอยู่แล้ว นอกจากนี้คุณจะต้องมี ยางสนสำหรับโบว์ รวมถึงสแตนด์โน้ต และหนังสือเรียนไวโอลินหรือหนังสือเพลงสำหรับผู้เริ่มต้น และจะดีมากถ้าหนังสือเล่มนั้นเปิดกางดูได้ง่าย
    • นักไวโอลินบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมือใหม่ มักจะซื้อที่รองบ่า (shoulder rest) ซึ่งเป็นแผ่นที่ติดด้านล่างของตัวไวโอลินไว้สำหรับวางบนบ่า เพื่อที่จะได้ประคองไวโอลินได้ง่ายขึ้น หลายคนมักจะเริ่มต้นด้วยการใช้ที่รองบ่าก่อน แล้วจึงเอาออกหลังจากที่เล่นไปสักปีสองปีแล้ว ถ้าดูเหมือนว่าไวโอลินที่คุณเล่นนั้นทำให้คุณเจ็บบ่า เราแนะนำให้คุณติดที่รองบ่านี้
    • นักเล่นฟิดเดิลหลายคน เวลาที่พวกเขาร้องเพลงในขณะที่ทำการแสดงอยู่ พวกเขามักจะถือไวโอลินไว้กับข้อพับแขน แล้ววางก้นไวโอลินไว้ที่หัวไหล่ในขณะที่เล่นอยู่ ซึ่งจุดนี้ ที่รองคางและที่รองบ่าก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป
    • จูนเนอร์เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้หนีบกับหัวไวโอลิน มีประโยชน์กับนักเล่นมือใหม่ถ้าฝึกเล่นเอง เพราะมันใช้บอกว่าคุณเล่นถูกโน้ตหรือไม่ แต่เมื่อคุณเล่นได้ตามโน้ตแล้ว มันก็ไม่มีประโยชน์เท่าไหร่เว้นแต่ตอนตั้งสาย อย่าลืมเอามันออกก่อนเล่นโชว์ด้วย เพราะมันจะดูไม่เป็นมืออาชีพ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เทคนิคพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    เมื่อคุณวางโน้ตเพลงบนสแตนด์โน้ตเรียบร้อยแล้ว เปิดเคสแล้วนำโบว์ออกมา หางม้าของโบว์ในขณะนั้นควรจะหย่อนอยู่ จากนั้นให้คุณหมุนสกรูตรงโคนโบว์ตามเข็มนาฬิกาจนกว่าช่องว่างระหว่างหางม้าและแท่งไม้ของโบว์กว้างพอที่จะให้ดินสอแท่งหนึ่งเลื่อนผ่านไปมาได้ตั้งแต่ต้นจรดปลาย
    • หางม้าไม่ควรจะหย่อนเกินหรือตึงเกินไป และก็ไม่ควรที่จะขนานกับส่วนที่เป็นแท่งไม้ของโบว์ เพราะส่วนที่เป็นไม้ควรจะโค้งงอเข้าหาหางม้าเล็กน้อย
    • อย่าใช้นิ้วก้อยวัดช่องว่างแทนดินสอ เพราะว่าน้ำมันจากผิวหนังของคุณจะมีผลต่อหางม้า ดังนั้น อย่าให้หางม้าได้รับความมัน เพื่อที่จะได้เสียงที่ดีจากสายไวโอลิน
  2. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    ยางสนนั้นมี 2 ประเภท คือ แบบเข้มและแบบอ่อน ซึ่งใช้งานได้เหมือนกันทั้งสองประเภท และไม่มีอันไหนที่แพงเลย แต่ในเขตที่มีสภาพอากาศร้อน ควรจะใช้แบบอ่อน แบบเข้มนั้นแนะนำสำหรับเขตหนาว และถ้าหากคุณอยู่ในพื้นที่ๆ ไม่สามารถคาดเดาสภาพอากาศได้ เราแนะนำให้คุณใช้ทั้งสองแบบเลย โดยยางสนทั่วไปนั้นจะเป็นวัสดุโปร่งแสงและแข็ง และมาในรูปแบบของสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในแม่พิมพ์ที่ทำจากกระดาษแข็งที่เปิดสองด้าน ซึ่งเวลาคุณจะถูยางสน คุณก็ต้องจับตรงแม่พิมพ์แล้วถูหางม้ากับยางสนตั้งแต่ต้นจรดปลาย 3-4 รอบ เพื่อที่จะให้หางม้าติดผงจากยางสน และมีความหนืดขึ้น จำไว้ว่าคุณต้องถูยางสนทุกครั้งก่อนที่คุณจะเริ่มฝึก
    • หากคุณคิดว่าไม่มีผงยางสนติดออกมาเลย ให้คุณใช้กุญแจ กระดาษทราย เหรียญ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มีความคม แล้วค่อยๆ ถูไปบนพื้นผิวของยางสน เมื่อถูจนกระทั่งมีลายเป็นเส้นๆ ขึ้นมา แสดงว่าเป็นอันใช้ได้
    • การถูกับยางสนเยอะเกินไปจะทำให้โบว์ฝืด จนทำให้เสียงไม่ลื่นไหล แต่จริงๆ แล้วมันก็ไม่เป็นหรอกหากคุณเผลอถูยางสนเยอะเกินไป แค่คุณเล่นไปเรื่อยๆ สักสองชั่วโมง ระดับยางสนก็จะเข้าที่เอง
    • หากใช้โบว์ที่เพิ่งเปลี่ยนหางม้าใหม่ คุณอาจจะต้องถูยางสนให้มากกว่าปกติ โดยหลังจากที่ถูกับยางสนมาประมาน 3-4 ครั้งแล้ว ให้คุณลองสีกับสายไวโอลิน เพื่อที่จะดูว่าเสียงเคลียร์หรือยัง หากว่ายัง ลองถูอีกสัก 2-3 รอบ
  3. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    นำโบว์และไวโอลินออกจากเคส ส่วนสายไวโอลินนั้นให้เรียงจากสายที่มีเสียงต่ำไปสายที่มีเสียงสูง คือ G D A และ E โดยคุณสามารถตั้งสายโดยใช้อิเล็คทริคจูนเนอร์ได้ ซึ่งจะมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณสามร้อยกว่าบาท (ขึ้นอยู่กับคุณภาพและแบรนด์) และในการตั้งสายครั้งแรกนั้นคุณอาจจะตั้งโดยใช้ลูกบิดที่หัวไวโอลินตั้งสายก่อน แต่ถ้าหากเสียงของสายเพี้ยนเพียงแค่เล็กน้อย ให้คุณปรับเสียงโดยใช้ตัวปรับเสียง (Fine Tuners) ที่อยู่ตรงหางปลา (Tailpiece) เมื่อคุณปรับเสียงจนพอใจแล้ว ให้คุณวางไวโอลินไว้ในเคสที่เปิดไว้สักพักหนึ่ง ซึ่งในครั้งแรกของการตั้งสายไวโอลินคุณอาจจะต้องให้มืออาชีพทำให้คุณก่อน
    วิธีจำลำดับการจูนเสียงจากต่ำสุดไปสูงสุด:
    G ood D ogs A lways E at
    • ใช้เสียงของโน้ตต้นแบบเพื่อหาโน้ตที่ถูกต้องเพื่อจูนสาย หรือไม่ก็หาไฟล์เสียงในอินเทอร์เน็ต
    • ไม่ใช่ว่าไวโอลินทุกตัวจะมีตัวจะมีตัวปรับเสียงมาให้เลย แต่คุณสามารถให้ทางร้านติดให้ได้ ซึ่งไวโอลินบางตัวอาจจะมีแค่ตัวปรับเสียงเพียงหนึ่งตัวที่สาย 1 เพราะนักไวโอลินบางคนนั้นสามารถตั้งสายได้โดยใช้ตัวปรับเสียงเพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น ในขณะที่คนอื่นอาจจะต้องใช้ตัวปรับเสียง 3 ตัวที่เหลือด้วย
  4. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    หาจุดสมดุลเพื่อที่จะได้จับโบว์ได้แบบไม่เกร็ง การจับโบว์อย่างมืออาชีพนั้นเริ่มจากค่อยๆ วางตรงกลางของนิ้วชี้ที่ไปด้ามจับ (ห่างจากสกรูหมุนหางม้าไม่กี่นิ้ว) แล้ววางปลายนิ้วก้อยลงบนด้านแบนของไม้ โดยให้นิ้วก้อยมีความโค้งเล็กน้อย ต่อมาส่วนกลางของนิ้วนางและนิ้วกลางไปวางให้อยู่ระดับเดียวกับนิ้วก้อยและวางปลายนิ้วทั้งสองไปที่โคนคันชัก (frog) ซึ่งโคนคันชักก็คือ ชิ้นส่วนสีดำที่เป็นตัวใช้ขึงหางม้า จากนั้นให้คุณวางนิ้วโป้งที่ใต้ด้ามจับ ที่อยู่ตรงด้านหน้าของ frog บริเวณใกล้ๆ หางม้า หรือจะวางบนหางม้าเลยก็ได้
    • ในตอนแรกที่จับ คุณอาจจะรู้สึกว่ามันไม่ถนัด แต่พอนานไปเรื่อยๆ คุณก็จะชินเอง
    • มือของคุณควรผ่อนคลายและไม่เกร็ง และควรจะอยู่ในลักษณะที่เหมือนกับว่าคุณกำลังกำลูกบอลเล็กๆ อยู่ลูกหนึ่ง และระวังอย่าให้ฝ่ามือของคุณอยู่ติดกับโบว์ เพราะมันจะทำให้คุณสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวของโบว์ ซึ่งการจับโบว์ให้ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาทักษะต่อไป
  5. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    ยืนหรือนั่งแบบหลังตรง จากนั้นหยิบไวโอลินขึ้นมาโดยจับคอไวโอลินด้วยมือซ้ายแล้วให้ก้นไวโอลินมาอยู่ที่คอของคุณ โดยวางด้านหลังไวโอลินไว้ที่กระดูกไหปลาร้าและประคองตัวไวโอลินไว้ด้วยขากรรไกร แล้วเวลาที่คุณเรียนโน้ตบนคอไวโอลินนั้น คุณควรจะจับไวโอลินเหมือนกับจับกีตาร์และซื้อหนังสือเรียนโน้ตมาฝึก
    • ขากรรไกร ที่อยู่ใต้ติ่งหู (ไม่ใช่คาง) ควรจะวางอยู่บนที่รองคาง เพราะนี่จะทำให้ไวโอลินลื่นไหลออกจากบ่าได้ยาก (นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมพวกนักไวโอลินในทีวีชอบมองลงพื้นตลอดเวลา)
  6. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    วางมือที่ส่วนบนของคอไวโอลินและประคองตัวไวโอลินไว้ โดยให้หัวไวโอลินชี้ออกไปจากลำตัวของคุณ และถือไวโอลินให้มั่นคงโดยการวางนิ้วโป้งไปที่คอ แล้วโก่งนิ้วมือเข้าหาฟิงเกอร์บอร์ด (ส่วนที่มีแผ่นไม้สีดำแปะอยู่บนคอ)
    • ระวังอย่าให้ข้อมือข้างซ้ายโดนฟิงเกอร์บอร์ด หากคุณไม่รีบแก้ไขคุณอาจอาจเคยชินกับวิธีที่ผิดๆ แบบนี้ไปตลอด
    • ในฐานะที่คุณเป็นมือใหม่ ฝ่ามือของคุณควรจะอยู่ให้ห่างจากคอไวโอลินให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในขณะที่วางนิ้วชี้ของคุณลงไปบนฟิงเกอร์บอร์ด เพราะสุดท้ายแล้ว คุณก็จะเรียนรู้การสไลด์มือขึ้นลงบนคอไวโอลินให้เป็นไปอย่างธรรมชาติได้เอง
  7. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    วางด้านแบนของหางม้าให้อยู่ตรงกลางระหว่างหย่อง (ไม้แผ่นบางๆ ตั้งสูงขึ้นมา 3/4 นิ้ว สำหรับใช้วางสายไวโอลิน) และฟิงเกอร์บอร์ด ดังนั้นโบว์ที่คุณจับอยู่ก็จะอยู่บริเวณด้านบนของไม้แผ่นหน้าของไวโอลิน จากนั้นใช้โบว์สีสายขึ้นหรือลงโดยให้โบว์ตรงที่สุดและขนานกับหย่องมากที่สุดที่จะทำได้ แล้วใส่น้ำหนักไปที่โบว์สักนิด ส่วนเสียงที่ได้ควรจะออกมาจากตัวไวโอลินโดยตรง และที่สำคัญเวลาสีไวโอลินให้คุณเอียงหางม้าเข้าหาหย่องให้เป็นมุม 45 องศาด้วย
    • แรงกดสายที่มากขึ้นยิ่งทำให้เสียงดังขึ้น แต่ถ้าหากกดแรงเกินไปก็อาจจะทำให้ซาวด์ไม่ลื่นไหลได้ แรงกดสายที่พอดีจะทำให้โทนเสียงสม่ำเสมอเวลาสีขึ้นหรือลง ถ้าหากว่ามีช่วงไหนของโบว์ทำให้เสียงขาดตอน คุณต้องถูยางสนเพิ่ม
    • การเล่นในตำแหน่งที่ใกล้หย่องเกินไป อาจจะทำให้เสียงไม่ลื่นไหลได้เช่นกัน
    • เอียงโบว์ไปทางหัวไวโอลินสักหน่อย เสียงไวโอลินจะได้ชัดเจนและได้เสียงที่เหมือนมืออาชีพมากกว่าเดิม
  8. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    ฝึกเล่นกับสายเปิด (เรียงจากสาย 4 ไปสาย 1 คือ G D A และ E). การเล่นสายเปิด คือ การเล่นโดยไม่ต้องใช้นิ้วกดลงไปบนสาย โดยขั้นแรกให้คุณวางคอไวโอลินลงตรงพื้นที่ระว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ จากนั้นถือโบว์โดยใช้ทั้งข้อมือ ข้อศอก และไหล่เป็นจุดร่วมกันเพื่อกำหนดทิศทางของโบว์ให้เป็นระนาบเดียวกันเวลาสีขึ้นลง จากนั้นลองเปลี่ยนไปเล่นสายอื่นๆ โดยการยกหรือลดระดับข้อศอกเพื่อที่จะได้ไม่สีไปโดนสายอื่น โดยให้คุณลองสีเป็น short strokes หรือจังหวะสั้นๆ ก่อน (15.2 ซม. ของหางม้า) หรือไม่ก็ถึงแค่ตรงกลางของโบว์ก็พอสำหรับจังหวะแรก จากนั้นลองสีเป็น half strokes ขึ้นมาจาก frog ถึงตรงกลางของโบว์และสีกลับไปอีกรอบหนึ่ง จากนั้นลองสีแบบ full-length strokes (ความยาวทั้งหมดของหางม้า)
    • การสีแบบจังหวะสั้นและยาว เป็นเทคนิคที่สำคัญสำหรับการเล่นไวโอลิน ดังนั้น อย่ารู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้เสียเวลา
    • ฝึกต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะสามารถสีสายเดียวโดยที่หางม้าไม่ไปถูกสายอื่นได้ เพราะการพัฒนาการควบคุมโบว์นั้นสำคัญมาก ดังนั้นคุณต้องเล่นโน้ตให้เคลียร์และไม่ให้หางม้าไปโดนสายเส้นอื่นๆ ให้ได้ก่อน
  9. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    การควบคุมแรงกดสาย ตำแหน่งการวางนิ้ว เพื่อให้ได้เสียงที่เคลียร์นั้นจะต้องใช้เวลาในการฝึกอย่างมาก โดยให้คุณเริ่มต้นจากนิ้วที่แข็งแรงที่สุด อย่างนิ้วชี้ และให้ใช้แค่ตรงปลายนิ้วกดลงไปที่สาย 1 (สาย E) คุณไม่จำเป็นต้องใช้แรงกดเยอะเท่ากับการเล่นกีตาร์ ให้คุณกดโดยใช้แรงอย่างพอดี จากนั้นใช้โบว์สีสาย 1 ซึ่งคุณก็จะได้เสียงจากตัวโน้ตที่สูงกว่า E และหากคุณถือไวโอลินอย่างถูกต้องแล้ว นิ้วของคุณควรจะอยู่ในตำแหน่งถัดจาก nut โดยอัตโนมัติ (ส่วนบนสุดของฟิงเกอร์บอร์ด) ประมานครึ่งนิ้ว ซึ่งในตำแหน่งนี้ โน้ตที่ได้ก็คือ F
    • เพิ่มโน้ตตัวต่อไป เมื่อคุณสามารถเล่นโน้ตสักตัวหนึ่งให้เคลียร์ได้แล้ว โดยให้คุณใช้ปลายนิ้วกลางวางถัดจากนิ้วชี้บนฟิงเกอร์บอร์ด และก็นิ้วนางต่อจากนิ้วกลางตามลำดับ แล้วไล่แต่ละโน้ตไปเรื่อยๆ ส่วนนิ้วก้อย ถ้าคุณอยากจะลองใช้ก็ใช้ได้ แต่สำหรับการควบคุมนิ้วนี้คุณต้องฝึกเยอะกว่านิ้วอื่นๆ เพราะเป็นนิ้วที่มีแรงน้อยที่สุด ฉะนั้น ในตอนนี้ ขอให้คุณโฟกัสไปที่สามนิ้วแรกก่อนจะดีกว่า
    • ลองเล่นสายอื่นๆ ด้วย โดยให้เล่นโน้ต 4 ตัว (สายเปิด นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) บนสายทั้ง 4 สาย และให้ความสำคัญกับการใช้แรงกดสายแบบพอดีๆ เพื่อเสียงที่เคลียร์ของแต่ละตัวโน้ต
  10. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    สเกล คือ แพทเทิร์นของตัวโน้ตที่ใช้ไล่ขึ้น-ลง (5-8 ครั้ง) โดยเริ่มต้นจากโน้ตตัวหนึ่งแล้วไปจบที่โน้ตตัวเดิมใน octave ที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าเดิม ซึ่งสเกลที่ง่าย (และมีประโยชน์) สำหรับมือใหม่ก็คือสเกล D Major โดยเริ่มต้นเล่นสายเปิดของสาย 3 (สาย D) แล้ววางนิ้วมือเรียงตามลำดับ (แบบที่บอกไว้ด้านบน) แล้วเล่นทีละโน้ต คือ D (สายเปิด) E F ชาร์ป และ G (เล่นด้วยนิ้วนาง) และเพื่อการเล่นสเกลให้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ให้คุณเล่นสาย 2 (สาย A) แบบสายเปิด แล้วเล่นแพทเทิร์นเดิมบนสายนั้นซึ่งก็คือ A B C ชาร์ป และ D (เล่นด้วยนิ้วนาง) ตามลำดับ
    • เมื่อรู้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว สเกล D Major (และทุกๆ สเกล major) ควรจะตรงกับเสียงสเกลร้อง “ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด” หากคุณไม่รู้ว่ามันคืออะไร ให้คุณลองดูหนังมิวสิคัลบนอินเทอร์เน็ต เรื่อง “The Sound of Music” ซึ่งเรื่องนี้มีเพลงประกอบหนังที่ชื่อว่า “Do Re Mi” ที่สามารถอธิบายได้อย่างดี
    • หากโน้ตที่คุณเล่นออกมายังเพี้ยนอยู่ ให้คุณจำไว้ว่า คุณต้องวางนิ้วชี้ให้อยู่ห่างจาก nut และนิ้วกลางก็ต้องให้มีระยะห่างจากนิ้วชี้ ส่วนนิ้วนางก็ต้องอยู่ห่างออกไปอีกสองตำแหน่ง หากคุณไม่มั่นใจตำแหน่งการวางนิ้ว คุณจะขอครูผู้สอนหรือทางร้านให้ช่วยติดเทปบอกตำแหน่งของนิ้วให้ก็ได้ คุณจะได้เล่นได้อย่างมั่นใจขึ้น
    • ลองสเกลอื่นๆ บ้าง เช่น minor harmonic หรือ pentatonic (5 ตัวโน้ต) ซึ่งในขั้นเริ่มต้นสเกลพวกนี้อาจจะยังไม่ต้องใช้ เพราะสามารถศึกษาและฝึกภายหลังได้.
  11. Watermark wikiHow to เล่นไวโอลิน
    เริ่มต้นครั้งแรกสัก 15-20 นาที และเพิ่มระยะเวลาขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ วัน จนกว่าจะครบ 1 ชั่วโมง หรือจนกว่าคุณไม่สามารถที่จะฝึกนานกว่านี้ได้แล้ว ซึ่งนักไวโอลินที่จริงจังมักจะฝึกกันประมาณวันละ 3 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น รวมถึงพวกนักไวโอลินอาชีพด้วย ดังนั้น ซ้อมให้ได้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ และรักษาระดับไว้ เพราะเพลงง่ายๆ บางเพลง บางทีก็ต้องฝึกกันเป็นเดือนๆ ถ้าคุณฝึกเยอะ ทุกอย่างก็จะเข้าที่เข้าทางเอง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผ่อนหางม้าทุกครั้งที่เล่นเสร็จ
  • ฝึกเล่นแบบช้าๆ ก่อนแล้วค่อยเพิ่มสปีด เพราะในที่สุดแล้วนิ้วของคุณจะเคลื่อนไหวไปอย่างธรรมชาติเอง
  • เช็ดคราบยางสนออกจากไวโอลินทุกครั้งที่เล่นเสร็จ โดยให้ใช้ผ้าแห้ง นุ่มๆ เช็ดที่สาย และด้านบน-ล่างของฟิงเกอร์บอร์ด รวมถึงรอบๆ บริเวณหย่องด้วย ยกเว้นที่หนึ่งที่คุณไม่ควรเช็ดก็คือหางม้า
  • ดูให้ดีเวลาจะซื้อไวโอลินทางออนไลน์ เพราะส่วนมากของที่ได้จะไม่ค่อยมีคุณภาพ และอาจจะต้องเสียเงินไปกับการซ่อมชนิดที่ว่าคุณสามารถซื้อตัวใหม่ได้เลย
  • การเล่นไวโอลินให้คล่องนั้นต้องใช้เวลาเป็นปีๆ เพราะฉะนั้น คุณต้องมีความอดทน
  • คุณสามารถซื้อสติ๊กเกอร์บอกตำแหน่งนิ้วมาติดที่ฟิงเกอร์บอร์ดได้ เพราะมันจะทำให้คุณเล่นง่ายขึ้น
  • ใช้เมโทรนอมในการฝึก หากคุณมีปัญหาในเรื่องของการจับจังหวะ
  • หากคุณไม่มีเงินซื้อไวโอลิน การเช่าไวโอลินเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ซึ่งไวโอลินเช่าควรจะมาพร้อมกับโบว์ เคส และสายทั้ง 4 สาย
  • ศึกษาบทเรียนอย่างน้อยสัก 1 อาทิตย์ เพราะการเรียนแค่ไม่กี่อาทิตย์นั้นก็มีผลต่อการเล่นเหมือนกัน
  • อย่าใส่ไวโอลินไว้ในเคส ทั้งๆ ที่ยังติดที่รองบ่าอยู่
  • ก่อนที่คุณจะชื้อไวโอลิน คุณต้องแน่ใจว่าคุณสนใจและอยากจะสละเวลาเพื่อที่จะเรียนไวโอลินจริงๆ เพราะหากคุณไม่มีใจมันอาจจะทำให้คุณเสียเวลาและเสียเงินไปเปล่าๆ จำไว้ว่า ไวโอลินทั่วไปที่มีคุณภาพดีนั้น ราคาจะอยู่ที่ประมาน 17,000 บาทเลยนะ
โฆษณา

คำเตือน

  • ดูแลเครื่องดนตรีของคุณให้ดี อย่าปล่อยเครื่องดนตรีของคุณทิ้งไว้ในที่ๆ มีอากาศร้อนและชื้น โบว์ก็เช่นกัน
  • หากคุณไม่มั่นใจในการใช้ลูกบิดปรับเสียง ขอร้องใครสักคนที่มีประสบการณ์ (เช่น ครู คนขาย หรือไม่ก็เพื่อนทีเป็นนักไวโอลิน) มาปรับเสียงให้คุณจะดีกว่า เพราะสายไวโอลินจะมีโอกาสขาดง่ายๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายโลหะ) หากใช้ลูกบิดที่หัวหมุนเยอะจนเกินไป เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการแก้ไข
  • แม้ว่าราคาของไวโอลินนั้นเป็นตัวชี้วัดคุณภาพเสียงของไวโอลิน แต่จริงๆ ก็ไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป อย่าใช้เงินเยอะเกินจำเป็นไปกับไวโอลินเพียงตัวเดียว เพียงเพราะต้องการเสียงที่ดีที่สุด เพราะไวโอลินสวยๆ เสียงดีหลายตัว ก็ใช่ว่าจะแพงเสมอไป


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 106,116 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา