ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คอร์ด คือ สิ่งที่ช่วยทำให้ดนตรีมีความน่าสนใจและมีลักษณะเฉพาะของตัวมันเอง และคอร์ดก็เปรียบเสมือนพื้นฐานและสิ่งที่สำคัญที่สุดที่นักเปียโนทุกคนควรจะต้องรู้เอาไว้ แต่คุณรู้ไหมว่าการเล่นคอร์ดนั้นไม่ใช่เรื่องยากที่จะเรียนรู้เลยนะ! เราจะโชว์ให้คุณเห็นเองว่ามีกฎอะไรในการสร้างคอร์ดบ้าง และเมื่อคุณเข้าใจแล้ว คุณก็สามารถนำไปฝึกฝนต่อได้เลย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

พื้นฐานเรื่องคอร์ด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คอร์ด คือ สิ่งที่ประกอบด้วยตัวโน้ต 3 ตัว หรือมากกว่านั้น คอร์ดที่ซับซ้อนก็อาจจะมีโน้ตหลายตัวหน่อย แต่อย่างต่ำแล้ว คอร์ดหนึ่งคอร์ดจะต้องมีถึง 3 ตัวโน้ต
    • คอร์ดที่เราจะพูดถึงในที่นี้ จะเป็นคอร์ดที่ประกอบด้วยตัวโน้ต 3 ตัว คือ ตัว root (โน้ตตัวที่ 1) ตัว third (โน้ตตัวที่ 3) และ fifth (โน้ตตัวที่ 5) [1]
  2. คอร์ด Major ทุกคอร์ดนั้นถูกสร้างขึ้นมาจากโน้ตตัวหนึ่งที่เรียกว่า tonic หรือ root ของคอร์ด ซึ่งคอร์ดแต่ละคอร์ดจะถูกตั้งชื่อตามโน้ตตัวนี้ และโน้ตตัวนี้ก็จะเป็นโน้ตที่ต่ำที่สุดในคอร์ดด้วย
    • ตัวอย่างเช่น ในคอร์ด C Major ตัวโน้ต C ก็คือตัว tonic หรือตัวที่ 1 ของคอร์ด และจะเป็นโน้ตที่เป็นฐานของคอร์ดนี้ด้วย
    • เวลาจะเล่นโน้ต tonic ถ้าเล่นด้วยมือขวา ให้คุณเล่นด้วยนิ้วโป้ง แต่ถ้าเล่นด้วยมือซ้าย ให้คุณใช้นิ้วก้อยกด
  3. โน้ตตัวที่ 2 ของคอร์ด Major นั้นเรียกว่า Major third ซึ่งโน้ตตัวนี้จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงโทนหรืออารมณ์ของคอร์ดนั้นๆ และจะอยู่สูงขึ้นไปจากตัว root จำนวน 4 ครึ่งเสียง/ครึ่งขั้น และที่เราเรียกกันว่าตัว third นั้นก็เป็นเพราะว่าเวลาที่คุณเล่นไล่ตามสเกลในคีย์นั้นๆ มันจะกลายเป็นโน้ตตัวที่ 3 ที่คุณกดลงไปนั่นเอง
    • ตัวอย่างเช่น ในคอร์ด C Major ตัวโน้ต E ก็คือตัว third หรือตัวที่ 3 และจะอยู่เหนือขึ้นไปจากตัวโน้ต C จำนวน 4 ครึ่งเสียง คุณจะลองนับไล่ดูที่แป้นเปียโนของคุณก็ได้ (C#, D, D#, E)
    • คุณจะต้องเล่นโน้ต third นี้ด้วยนิ้วกลางเสมอ ไม่ว่าคุณจะใช้มือไหนเล่นก็ตาม
    • ให้คุณลองเล่นตัว root และตัว third พร้อมกัน เพื่อที่คุณจะได้เข้าใจว่าขั้นคู่เสียง (interval) นั้นให้เสียงแบบไหน
  4. โน้ตที่อยู่ในตำแหน่งสูงสุดของคอร์ด Major นั้นเรียกว่า fifth เพราะว่าถ้าคุณลองไล่ตามสเกลดู คุณก็จะเห็นว่ามันคือโน้ตตัวที่ 5 ที่คุณกดในสเกลนั่นเอง ซึ่งโน้ตตัวนี้จะเป็นโน้ตจบที่ทำให้เกิดเป็นคอร์ดที่สมบูรณ์ขึ้นมา และจะอยู่เหนือขึ้นไปจากตัว root จำนวน 7 ครึ่งเสียง [2]
    • เช่น ในคอร์ด C Major โน้ต G ก็คือ fifth หรือตัวที่ 5 นั่นเอง คุณจะลองไล่เสียงบนเปียโนจากตัว root ขึ้นไปอีก 7 ครึ่งเสียงดูก็ได้ (C#, D, D#, E, F, F#, G)
    • สำหรับโน้ต fifth หรือโน้ตตัวที่ 5 นี้ ที่มือขวา คุณต้องใช้นิ้วก้อยเล่น ส่วนมือซ้าย ให้คุณเล่นด้วยนิ้วโป้ง
  5. จำไว้ว่าเราสามารถเรียกชื่อคอร์ดหนึ่งคอร์ดได้อย่างน้อย 2 แบบ. ตัวโน้ตทุกตัวสามารถเขียนได้อย่างน้อย 2 แบบ เช่น Eb และ D# ที่เป็นโน้ตตัวเดียวกัน ฉะนั้น คอร์ด Eb Major ก็ต้องมีเสียงที่เหมือนกับคอร์ด D# Major
    • โน้ต Eb โน้ต G และโน้ต Bb คือโน้ต 3 ตัวที่สร้างคอร์ด Eb ขึ้นมา ส่วนโน้ต D# โน้ต F## (## = ดับเบิลชาร์ป) และโน้ต A# ก็คือ 3 ตัวโน้ตที่สร้างคอร์ด D# ขึ้นมา ซึ่งคอร์ดนี้เป็นคอร์ดที่มีเสียงเหมือนกับคอร์ด Eb ทุกประการเลย
    • สองคอร์ดข้างบนนี้มีชื่อเรียกว่า enharmonic equivalents (โน้ตหรือคอร์ดที่มีชื่อเรียกต่างกัน แต่มีเสียงเดียวกันทุกประการ) เพราะว่าสองคอร์ดนี้มีเสียงเหมือนกันทุกอย่าง แต่เขียนออกมาคนละแบบเท่านั้นเอง [3]
    • โน้ตหรือคอร์ดแบบ enharmonic equivalents ที่ใช้กันบ่อยๆ จะมีให้เห็นในเนื้อหาด้านล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะแสดงเฉพาะอันที่ใช้บ่อยที่สุดในคอร์ด Major เท่านั้น
  6. การที่จะบรรเลงเปียโนสักเพลงให้ดีได้นั้น คุณจะต้องใช้ตำแหน่งการวางมือที่ถูกต้องเสมอ แม้แต่ในการฝึกจับคอร์ด คุณก็ต้องทำให้ถูกต้องอยู่เสมอ
    • ให้คุณตั้งนิ้วให้สูงและโค้ง ให้เหมือนกับว่านิ้วเหล่านั้นกำลังกระโจนลงไปที่ปุ่มคีย์ด้านล่าง โดยให้คุณทำนิ้วให้โค้งตามสรีระธรรมชาติของนิ้วคุณ
    • ให้ใช้น้ำหนักจากแขนมากกว่าที่จะใช้กำลังจากนิ้วในการกดปุ่มคีย์ [4]
    • ให้เล่นด้วยปลายนิ้ว และถ้าเป็นไปได้ นิ้วก้อยและนิ้วโป้งที่มักจะเผลอแนบลงกับปุ่มคีย์มากกว่านิ้วอื่นๆ ก็ให้คุณพยายามเล่นด้วยปลายนิ้วกับสองนิ้วนั้นให้ได้ด้วย
    • คอยตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ คุณจะได้ใช้ปลายนิ้วเล่นได้แบบไม่มีปัญหา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเล่นคอร์ดต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    ใช้นิ้ว 3 นิ้วเล่นคอร์ด. จำไว้ว่าเราจะใช้แค่นิ้วที่ 1 นิ้วที่ 3 และนิ้วที่ 5 (โป้ง กลาง ก้อย) ในการเล่นโน้ตในแต่ละคอร์ดเท่านั้น โดยที่นิ้วชี้และนิ้วนางอาจจะวางไว้บนปุ่มคีย์อยู่ แต่ว่าไม่ได้กดลงไปก็เท่านั้นเอง
    • สังเกตว่านิ้วของคุณจะขยับขึ้นไปบนแป้นคีย์ทีละครึ่งขั้น (1 ปุ่มคีย์) ทุกครั้งที่คุณเปลี่ยนคอร์ด
  2. 2
    เล่นคอร์ด C Major. โน้ต 3 ตัวในคอร์ดนี้ก็จะมี C E G โดยให้จำไว้ว่า C = tonic (ให้นับเป็น 0) ส่วน E = Major third (นับจากตัว tonic ขึ้นไป 4 ครึ่งเสียง) และ G = fifth (นับขึ้นไป 7 ครึ่งเสียง)
  3. 3
    เล่น Db Major. โน้ต 3 ตัวของคอร์ดนี้ก็จะมี Db F Ab โดยให้จำว่า Db = tonic (0) และ F = Major third (4 ครึ่งเสียง) และ Ab = fifth (7 ครึ่งเสียง) ซึ่งคอร์ดอื่นที่มีเสียงเดียวกัน แต่เขียนชื่อคอร์ดคนละแบบ (enharmonic equivalent) ก็คือคอร์ด C# Major นั่นเอง ฉะนั้น จำไว้ว่าจริงๆ แล้ว Db ก็คือโน้ตตัวเดียวกับ C# และในทางเทคนิคดนตรี โน้ต F ก็สามารถเขียนเป็น E# ได้ และ Ab ก็เขียนเป็น G# ได้เหมือนกัน ซึ่งโน้ตตัวต่างๆ ที่คุณเล่นออกมาก็จะเป็นโน้ตเดิมอยู่ดี ไม่ว่าจะเขียนออกมาเป็น Db Major หรือ C# Major ก็ตามแต่
  4. 4
    เล่น D Major. โน้ต 3 ตัวในคอร์ดนี้จะมี D F# A โดยให้จำว่า D = tonic (0) และ F# = Major third (4 ครึ่งเสียง) ส่วน A = fifth (7 ครึ่งเสียง)
  5. 5
    เล่น Eb Major. โน้ต 3 ตัวในคอร์ดนี้ก็จะมี Eb G Bb และให้จำว่า Eb = tonic (0) ส่วน G = Major third (4 ครึ่งเสียง) และ Bb = fifth (7 ครึ่งเสียง)
  6. 6
    เล่น E Major. โน้ต 3 ตัวในคอร์ดนี้มี E G# B โดยให้จำว่า E = tonic (0) ส่วน G# = Major third (4 ครึ่งเสียง) และ B = fifth (7 ครึ่งเสียง)
  7. 7
    เล่น F Major. โน้ต 3 ตัวของคอร์ดนี้ก็จะมี F A C โดยให้คุณจำว่า F = tonic (0) ส่วน A = Major third (4 ครึ่งเสียง) และ C = fifth (7 ครึ่งเสียง)
  8. 8
    เล่น F# Major. โน้ต 3 ตัวของคอร์ดนี้ คือ F# A# C# โดยให้จำว่า F# = tonic ส่วน A# = Major third (4 ครึ่งเสียง) และ C# = fifth (7 ครึ่งเสียง) ซึ่งคอร์ดนี้ก็มีคอร์ดอื่นที่มีเสียงเดียวกัน แต่เขียนชื่อคอร์ดคนละแบบ และนั่นก็คือคอร์ด Gb Major ที่เวลาเขียนออกมาจะกลายเป็นโน้ต Gb Bb Db ฉะนั้น จำไว้ว่า F# นั้นสามารถเขียนเป็น Gb แทนได้ เหมือนกับที่ A# สามารถเขียนแทนด้วย Bb และ C# ที่เขียนแทนด้วย Db นั่นเอง ดังนั้น โน้ตตัวต่างๆ ที่คุณเล่นเพื่อสร้างคอร์ด F# Major ขึ้นมาก็เหมือนกับโน้ตที่อยู่ในคอร์ด Gb Major ทุกประการ
  9. 9
    เล่น G Major. โน้ต 3 ตัวในคอร์ดนี้มี G B D และให้จำว่า G = tonic (0) ส่วน B = Major (4 ครึ่งเสียง) และ D = fifth (7 ครึ่งเสียง)
  10. 10
    เล่น Ab Major. โน้ต 3 ตัวของคอร์ดนี้จะมี Ab C Eb โดยให้จำว่า Ab = tonic (0) ส่วน C = Major third (4 ครึ่งเสียง) และ Eb = fifth (7 ครึ่งเสียง) ในคอร์ดนี้มีคอร์ดอื่นที่มีเสียงเดียวกัน แต่เขียนชื่อคอร์ดคนละแบบ ซึ่งก็คือคอร์ด G# Major นั่นเอง โดยที่เวลาเขียนออกมาก็จะเขียนด้วยโน้ต G# B# D# ฉะนั้น จำไว้เสมอว่า Ab สามารถเขียนแทนด้วย G# ได้ เหมือนกับ C ที่สามารถเขียนแทนด้วย B# และ Eb ที่สามารถเขียนแทนด้วย D# ฉะนั้น โน้ตต่างๆ ที่คุณนำมาสร้างคอร์ด Ab Major ก็จะเหมือนกับโน้ตของคอร์ด G# Major ทุกประการ แม้ว่าจะเขียนออกมาคนละแบบก็ตาม
  11. 11
    เล่น A Major. โน้ต 3 ตัวในคอร์ดนี้ คือ A C# E และให้จำว่า A = tonic (0) และ C# = Major third (4 ครึ่งเสียง) ส่วน E = fifth (7 ครึ่งเสียง)
  12. 12
    เล่น Bb Major. โน้ต 3 ตัวในคอร์ดนี้มี Bb D F และให้จำว่า Bb = tonic (0) ส่วน D = Major third (4 ครึ่งเสียง) และ F = fifth (7 ครึ่งเสียง)
  13. 13
    เล่น B Major. โน้ต 3 ตัวของคอร์ดนี้ คือ B D# F# โดยให้จำว่า B = tonic (0) ส่วน D# = Major third (4 ครึ่งเสียง) และ F# = fifth (7 ครึ่งเสียง)
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การฝึกซ้อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณเริ่มที่จะเล่นคอร์ดเดี่ยวๆ แต่ละคอร์ดได้คล่องแล้ว ให้คุณลองฝึกเล่นไล่คอร์ด Major ไปตามสเกลทีละคอร์ดดู โดยให้เริ่มต้นจากคอร์ด C Major จากนั้นก็เล่นคอร์ด Db Major แล้วก็คอร์ด D Major และก็คอร์ดต่อๆ ไปจนครบสเกล
    • ให้เริ่มต้นฝึกแบบฝึกหัดนี้ด้วยมือทีละข้างก่อน พอคุณรู้สึกว่าตัวเองเริ่มที่จะเล่นได้อย่างมั่นใจแล้ว ให้คุณลองเล่นสองมือพร้อมกันเลย
    • ให้คอยฟังโน้ตที่ตัวเองเล่นผิดไว้ด้วย และจำไว้ว่าสัดส่วนระหว่างตัวโน้ตจะต้องเท่ากันเสมอ ฉะนั้น ถ้ามีคอร์ดใดคอร์ดหนึ่งฟังดูแปลกๆ ให้คุณเช็คดูอีกทีว่าตัวเองกดถูกโน้ตอยู่หรือเปล่า
  2. Arpeggio หมายถึง การเล่นกระจายโน้ตไปตามลำดับ จากโน้ตต่ำไปยังโน้ตสูง อย่างเช่น เวลาที่จะเล่น Arpeggio กับคอร์ด C Major ด้วยมือขวา คุณก็จะต้องกดนิ้วโป้งที่ C แล้วก็ยกนิ้วออก จากนั้นก็กดนิ้วกลางที่ E แล้วก็ปล่อยนิ้ว สุดท้ายก็กดนิ้วก้อยที่ G แล้วก็ปล่อยนิ้วออก
    • เมื่อคุณสามารถควบคุมมือตัวเองให้เล่นเทคนิคนี้จนคล่องได้แล้ว ให้คุณพยายามเล่นมันออกมาให้ลื่นไหล อย่าเร่งจนไม่เป็นจังหวะ นอกจากนี้ ให้พยายามกดและปล่อยแต่ละโน้ตให้ได้แบบรวดเร็ว เพื่อที่จะได้มีช่องว่างระหว่างตัวโน้ตน้อยที่สุด
  3. ฝึกเล่นคอร์ด Major ในรูปแบบของคอร์ดพลิกกลับ (inversion). คอร์ดพลิกกลับนั้นใช้โน้ตตัวเดิม แต่ว่าจะเริ่มต้นจากโน้ตที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในคอร์ด C Major จะเรียงโน้ตเป็น C E G แต่ตำแหน่งของการพลิกกลับครั้งที่หนึ่ง (first inversion) ของคอร์ด C Major ก็คือ E G C และการพลิกกลับครั้งที่สอง (second inversion) ของคอร์ดนี้ก็จะกลายเป็น G C E
    • ให้ลองท้าทายความสามารถตัวเองด้วยการสร้างคอร์ด Major ขึ้นมาด้วยตัวโน้ตทุกตัวบนสเกล และเล่นแบบพลิกกลับคอร์ดในทุกตำแหน่งดู
  4. เมื่อคุณคุ้นเคยกับวิธีการสร้างคอร์ดและเล่นคอร์ดแล้ว ให้ลองหาโน้ตเพลงที่มีคอร์ดต่างๆ เขียนอยู่ในนั้นมา แล้วลองดูว่าตัวคุณเองจะสามารถจดจำคอร์ด Major ที่ตัวเองฝึกมาแล้วได้หรือเปล่า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ในช่วงแรกๆ ที่ฝึก คุณอาจจะยังเล่นแบบผิดๆ ถูกๆ อยู่ แต่มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ เอง ฉะนั้น อย่าเพิ่งท้อใจไปล่ะ!
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 62,272 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา