ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ส่วนใหญ่ของผู้ที่ใส่คอนแทค เลนส์จะมีบางช่วงที่มีปัญหาถอดออกได้ยาก ปัญหานี้จะเกิดขึ้นเป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่ได้สวมใส่เลนส์เป็นเวลานานมาก คอนแทค เลนส์ยังอาจจะติดแน่นเพราะแห้ง หลังจากใช้งานนานหลายชั่วโมงมากเกินไป หรือเป็นเพราะคอนแทค เลนส์เลื่อนหลุดจากตำแหน่ง ไม่ว่าคุณจะใช้เลนส์ชนิดนิ่มหรือเลนส์ชนิดแข็ง คำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถถอดเลนส์ที่ดื้อดึงออกไปให้พ้นดวงตาของคุณได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ถอดคอนแทค เลนส์ชนิดนิ่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มือสมควรจะสะอาดอยู่เสมอ เมื่อไรก็ตามที่กำลังจะใส่ หรือถอดคอนแทค เลนส์ [1] มือเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรียหลายพันชนิด จากสิ่งต่างๆ ที่คุณสัมผัสอยู่ทุกวัน รวมทั้งแบคทีเรียจากอุจจาระ จงล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่น ก่อนจะใช้สัมผัสดวงตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ [2]
    • สำหรับคอนแทค เลนส์ที่ติดนั้น การล้างมือของคุณยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะคุณน่าจะต้องใช้มือสัมผัสดวงตานานมากขึ้น ยิ่งนิ้วสัมผัสกับดวงตานานมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่คุณจะแพร่เชื้อให้กับดวงตา
    • อย่าเช็ดฝ่ามือหรือปลายนิ้วมือข้างที่กำลังจะใช้แตะดวงตาของคุณ ไม่อย่างนั้น คุณอาจมีเส้นใยจากผ้าขนหนูหรือผงธุลีในดวงตาของคุณ
  2. การตื่นตระหนกหรือกระวนกระวายใจมากเกินไปต่อสถานการณ์ จะทำให้ถอดเลนส์ออกได้ยากขึ้น หากกระวนกระวายใจ จงหายใจลึกๆ สี่ห้าครั้งก่อนจะทำต่อ [3]
    • อย่าวิตก! คอนแทค เลนส์ของคุณไม่อาจจะไปติดอยู่ที่ด้านหลังของลูกตาได้ เพราะเยื่อบุตา ซึ่งเป็นผังผืดที่ผลิตน้ำเมือก และอยู่ตรงข้างหน้าดวงตาของคุณ กับกล้ามเนื้อรอบๆ ดวงตา ซึ่งเรียกว่ากล้ามเนื้อเรคทัส ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่เลนส์จะเข้าไปติดอยู่ [4]
    • การมีคอนแทค เลนส์ชนิดนิ่มติดค้างอยู่ในดวงตา ไม่ถือเป็นความเสี่ยงร้ายแรงด้านสุขภาพ นอกเสียจากว่าคุณจะทิ้งไว้เป็นเวลานาน แม้อาจจะระคายเคือง แต่ก็ไม่น่าจะสร้างความเสียหายให้กับดวงตา [5] อย่างไรก็ตาม เลนส์ชนิดแข็งสามารถทำให้กระจกตาถลอกได้ หากเลนส์ฉีกขาด และอาจนำไปสู่การติดเชื้อ
    • หากคุณได้พยายามหลายครั้งแล้วที่จะถอดเลนส์แต่ทำไม่สำเร็จ ให้หยุดพักบ้าง จงนั่งลงสักพักและผ่อนคลาย
  3. มีหลายๆ กรณีที่คอนแทค เลนส์ติดอยู่ในตา เพราะเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งที่เหมาะสม คือบริเวณเหนือกระจกตา หากกรณีของคุณเป็นเพราะสาเหตุนี้ คุณจำเป็นต้องหาเลนส์ให้พบ จึงจะถอดเลนส์ออกได้ จงหลับตาลง และผ่อนคลายบริเวณเปลือกตา คุณน่าจะรู้สึกได้ว่าเลนส์หลบอยู่ที่ตรงไหน หากไม่รู้สึกถึงเลนส์ที่ใต้เปลือกตา ให้ใช้นิ้วมือแตะเบาๆ ที่เปลือกตา และดูว่าคุณจะระบุที่อยู่ของเลนส์ได้หรือไม่ [6]
    • หากเลนส์หลบไปอยู่ที่มุมตา คุณอาจหาพบได้โดยเพียงแค่ส่องดูในกระจกเงา [7]
    • ลองมองไปในทิศทางตรงกันข้ามกับเลนส์ ตัวอย่างเช่น หากรู้สึกเหมือนกับว่าเลนส์อยู่ที่มุมขวาของดวงตา ให้มองไปทางซ้าย หรือหากรู้สึกว่าเลนส์ติดอยู่ที่ล่างสุดใต้ดวงตา ให้เงยหน้าขึ้น อาจช่วยให้มองเห็นเลนส์ได้ [8]
    • หากคุณไม่อาจรู้สึกได้หรือมองไม่เห็นเลนส์ มีความเป็นไปได้ที่เลนส์อาจจะหลุดออกจากดวงตาไปแล้ว [9]
    • วางนิ้วที่เหนือเปลือกตา (ใกล้กับคิ้ว) แล้วดึงขึ้นเพื่อให้เปลือกตาเปิดอยู่ การทำแบบนี้อาจช่วยให้มองเห็นเลนส์ได้ดีขึ้น จงจำใส่ใจด้วยว่าหากคุณมองต่ำ ขณะที่ยังรั้งเปลือกตาขึ้นแบบนี้ จะทำให้กล้ามเนื้อออบิคิวลาริส ออกคูไล หรือ กล้ามเนื้อหลับตา เป็นอัมพาต และคุณจะไม่อาจปิดเปลือกตาลงได้ นอกจากจะแหงนมองอีกครั้งหนึ่ง
  4. เลนส์อาจติดอยู่ในดวงตาเพราะแห้ง จงใช้น้ำเกลือทำให้เลนส์ชุ่มชื้น หากเป็นไปได้ ให้หยดน้ำเกลือลงไปในเลนส์โดยตรง รอสี่ห้านาทีเพื่อให้เลนส์ดูดซับน้ำและอ่อนนุ่มขึ้น [10]
    • หากเลนส์ติดอยู่ใต้เปลือกตาหรือมุมตาของคุณ การเติมความชื้นอาจช่วยให้เลนส์ลอยขึ้นมายังตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งจะถอดเลนส์ออกได้ง่าย [11]
    • มีบ่อยครั้งที่การให้ความชุ่มชื้นแก่เลนส์ จะช่วยให้คุณถอดเลนส์ออกได้ด้วยวิธีปกติ จงกระพริบตาหลายครั้งหรือหลับตาแค่ไม่กี่วินาที จากนั้นลองพยายามถอดเลนส์ออกอีกครั้งหนึ่ง [12]
  5. หากเลนส์ยังคงติดหรือค้างอยู่ใต้เปลือกตา ให้หลับตาลงแล้วใช้ปลายนิ้วนวดเปลือกตาเบาๆ [13]
    • หากเลนส์ยังไม่เข้าที่เข้าทาง ให้พยายามดันให้ขึ้นมาอยู่เหนือกระจกตา
    • หากเลนส์ติดอยู่ใต้เปลือกตา อาจช่วยได้หากคุณจะมองลงต่ำระหว่างนวดเปลือกตา [14]
  6. หากเลนส์อยูในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว แต่ยังถอดไม่ออก ให้พยายามเปลี่ยนวิธีถอด คนส่วนใหญ่ใช้วิธีหยิบเลนส์ออก ส่วนคุณอาจลองใช้วิธีเอาเลนส์ออก โดยใช้นิ้วหนึ่งนิ้ววางบนเปลือกตาแต่ละข้างและกดเบาๆ ขณะกระพริบตา [15]
    • คุณสามารถใช้นิ้วชี้ หรือนิ้วกลางของมือแต่ละข้าง หากวางนิ้วบนเปลือกตาบน ให้กดลงไปตรงๆ หากวางนิ้วบนเปลือกตาล่าง ให้กดขึ้นตรงๆ
    • เลนส์สมควรจะหลุดออกจากตา และถอดออกได้ง่าย
  7. หากเลนส์ยังคงติดอยู่ และคุณคิดว่าอาจจะอยู่ใต้เปลือกตา ให้ลองยกเปลือกตาขึ้นจากดวงตาของคุณอย่างอ่อนโยน แล้วปลิ้นเปลือกตาออกมาดู [16]
    • เพื่อทำเช่นนี้ ให้ใช้ปลายสำลีกดตรงกลางเปลือกตา ขณะดึงเปลือกตาไปด้านหน้าให้ออกห่างจากดวงตา
    • เอียงหัวไปด้านหลัง คุณน่าจะสามารถมองเห็นได้หากเลนส์ติดอยู่ใต้เปลือกตา ดึงเลนส์ออกจากใต้เปลือกตาอย่างระมัดระวัง
    • ในการทำเช่นนี้ คุณอาจต้องการความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว [17]
  8. หากทำทุกอย่างแล้วยังถอดเลนส์ไม่ได้ หรือหากดวงตาของคุณแดงมากหรือระคายเคือง ให้ไปพบแพทย์ใกล้บ้านคุณ หรือนักทัศนมาตรศาสตร์ (ผู้ชำนาญวิชาวัดสายตา) หรือไปโรงพยาบาล พวกเขาสามารถถอดเลนส์ให้คุณได้โดยไม่สร้างความเสียหายเพิ่มเติมให้กับดวงตาของคุณ [18]
    • หากคุณเชื่อว่าได้ทำให้ดวงตามีแผลถลอก หรือได้เกิดความเสียหายอื่นใดขณะพยายามถอดเลนส์ ให้รีบติดต่อจักษุแพทย์ในทันที คุณสมควรไปพบแพทย์เพราะอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ ไม่ว่าคุณจะถอดเลนส์ได้สำเร็จหรือไม่ก็ตาม [19]
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ถอดเลนส์ชนิดแข็ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความสะอาดมือให้ทั่วด้วยสบู่กับน้ำ ไม่ต้องเช็ดนิ้วที่กำลังจะใช้สัมผัสกับดวงตาของคุณให้แห้ง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีผงธุลีเข้าไปในดวงตา มือของคุณสมควรจะสะอาดอยู่เสมอตอนใส่หรือถอดเลนส์ [20]
    • การล้างให้หมดจดสำคัญมากหากว่าคุณกำลังจะใช้เวลาแตะต้องดวงตานานมากขึ้น เช่น เมื่อกำลังพยายามถอดเลนส์ที่ติด
  2. ปัญหาเลนส์ติดไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน กระวนกระวายใจไปก็รังแต่จะทำให้ระบุที่อยู่ และถอดเลนส์ออกได้ยากขึ้นเท่านั้น [21]
    • คอนแทค เลนส์ของคุณไม่อาจจะไปติดอยู่ที่ด้านหลังของลูกตาได้ เพราะเยื่อบุตาซึ่งเป็นผังผืดที่ผลิตน้ำเมือก และอยู่ตรงข้างหน้าดวงตาของคุณ กับกล้ามเนื้อรอบดวงตาของคุณชื่อกล้ามเนื้อเรคทัส ทำให้เป็นไปไม่ได้ [22]
    • การมีคอนแทค เลนส์ ติดค้างอยู่ในดวงตา ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านสุขภาพชนิดร้ายแรง นอกเสียจากว่าคุณจะทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้ระคายเคือง แต่ไม่น่าที่จะทำให้ดวงตาของคุณเสียหาย และหากคอนแทค เลนส์ของคุณฉีกขาด อาจทำให้เจ็บปวดได้ [23]
  3. ระบุที่อยู่ของเลนส์.ในกรณีส่วนใหญ่ คอนแทค เลนส์ชนิดแข็งจะติดอยู่ในตา เพราะเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งที่เหมาะสม คือบริเวณเหนือกระจกตา หากกรณีของคุณเป็นเพราะสาเหตุนี้ คุณจำเป็นต้องหาเลนส์ให้พบว่าเลี่ื่อนไปอยู่ตรงไหน จึงจะถอดเลนส์ออกได้
    • หลับตาลง และผ่อนคลายเปลือกตาของคุณ คุณน่าจะรู้สึกได้ถึงเลนส์ในดวงตา หากไม่รู้สึกว่าเลนส์อยู่ใต้เปลือกตา ให้ใช้นิ้วแตะเปลือกตาอย่างอ่อนโยน และดูว่าคุณสามารถระบุที่อยู่ของเลนส์ได้หรือไม่ [24]
    • หากเลนส์เลื่อนไปอยู่ที่มุมตา คุณอาจระบุที่อยู่ของเลนส์ได้โดยเพียงแค่ส่องกระจก [25]
    • ลองมองไปในทิศทางตรงกันข้ามกับเลนส์ ตัวอย่างเช่น หากรู้สึกเหมือนกับว่าเลนส์อยู่ที่มุมขวาของดวงตา ให้มองไปทางซ้าย หรือหากรู้สึกว่าเลนส์ติดอยู่ที่ล่างสุดใต้ดวงตา ให้เงยหน้าขึ้น อาจช่วยให้มองเห็นเลนส์ได้ [26]
    • หากคุณมองไม่เห็น หรือไม่รู้สึกว่าเลนส์หายไปไหน เป็นไปได้ว่าเลนส์ได้ร่วงหลุดออกจากดวงตาของคุณไปแล้ว [27]
  4. หากเลนส์เลื่อนมาอยู่ตรงตาขาว คุณมักจะถอดเลนส์ออกได้ โดยตัดแรงดูดระหว่างเลนส์กับลูกตา เพื่อที่จะทำเช่นนั้น ให้ใช้ปลายนิ้วกดเบาๆ บนดวงตาของคุณ เพียงตรงด้านนอกขอบเลนส์ [28]
    • ห้าม นวดลูกตาแบบที่คุณจะทำขณะสวมเลนส์ชนิดนิ่ม การทำเช่นนี้อาจทำให้ขอบเลนส์ชนิดแข็งครูดผิวดวงตาของคุณได้ขณะที่เลนส์เคลื่อนที่ [29]
  5. หากเลนส์ยังติดอยู่ คุณสามารถซื้อยางดูดสูญญากาศอันเล็ก จากแผนกสายตาของร้านขายยา จะช่วยให้คุณถอดเลนส์ออกได้ [30] จะดีที่สุด หากนักทัศนมาตรศาสตร์จะสอนเทคนิคนี้ให้กับคุณ ก่อนที่จะให้คุณซื้อเลนส์
    • ล้างยางดูดสุูญญากาศด้วยน้ำยาล้างคอนแทค เลนส์เป็นอย่างแรก แล้วทำให้ชุ่มชื้นโดยใช้น้ำเกลือ [31]
    • ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ยกเปลือกตาออกจากกัน
    • นำยางดูดสูญญากาศมาไว้ตรงกลางเลนส์ แล้วดึงออก ระมัดระวังไม่ให้ยางดูดสัมผัสดวงตาของคุณ
    • คุณสามารถถอดเลนส์ออกจากยางดูดสุูญญากาศ โดยเลื่อนไปด้านข้างเบาๆ [32]
    • จงพิจารณาเรื่องไปพบมืออาชีพทางการแพทย์ ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ เพราะการใช้ยางดูดสูญญากาศเพื่อถอดคอนแทค เลนส์ชนิดแข็งด้วยตัวคุณเอง อาจทำให้ดวงตาของคุณบาดเจ็บ [33]
  6. หากถอดเลนส์ไม่ได้ ให้ไปพบแพทย์ใกล้บ้านคุณ หรือนักทัศนมาตรศาสตร์ (ผู้ชำนาญวิชาวัดสายตา) หรือไปโรงพยาบาล เพื่อให้พวกเขาถอดเลนส์ให้คุณ และสมควรขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ หากดวงตาของคุณแดงมากหรือระคายเคือง [34]
    • หากคุณเชื่อว่าได้ทำให้ดวงตามีแผลถลอก หรือได้เกิดความเสียหายอื่นใดขณะพยายามถอดเลนส์ ให้รีบติดต่อจักษุแพทย์ในทันที คุณสมควรจะไปพบแพทย์เพราะความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าคุณจะถอดเลนส์ได้สำเร็จแล้วหรือไม่ก็ตาม [35]
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ฝึกสุขอนามัยที่ดีในการใช้คอนแทค เลนส์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาของคุณหากไม่ได้ล้างมือเสียก่อน. มือเป็นพาหะนำเชื้อโรคหลายพันชนิด จากวัตถุต่างๆ ที่คุณสัมผัสอยู่ทุกวัน จงล้างมือให้เกลี้ยงด้วยสบู่กับน้ำอุ่น ก่อนที่จะสัมผัสกับดวงตา [36]
    • หากคุณใช้มือกับนิ้วที่สกปรกสัมผัสดวงตาของคุณ อาจทำให้ดวงตาติดเชื้อหรือมีแผลถลอก
  2. ใช้ยาหยอดตาหรือน้ำยาหล่อลื่นสำหรับคอนแทค เลนส์เพื่อช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้นตลอดทั้งวัน การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เลนส์ติด [37]
    • หากคุณเป็นผู้ที่เมื่อใช้น้ำตาหยอดตาแล้ว จะมีอาการคันหรือตาแดง ให้พยายามหาผลิตภัณฑ์ที่ติดเครื่องหมายว่า "ปลอดสารกันบูด"
  3. ทำความสะอาดตลับใส่เลนส์ทุกวัน หลังจากคุณใส่คอนแทค เลนส์แล้ว ให้ล้างตลับด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำร้อน (จะดีกว่าหากใช้น้ำกลั่น) กับสบู่ อย่าใส่น้ำประปาแช่ทิ้งไว้เต็มตลับใส่เลนส์ เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียและเชื้อรา ตากตลับให้แห้ง [38]
    • เปลี่ยนตลับใส่คอนแทค เลนส์ใหม่ทุกๆ สามเดือน แม้จะทำความสะอาดทุกวัน แต่แบคทีเรียกับสิ่งสกปรกอื่นๆ จะเข้าไปในตลับใส่เลนส์ของคุณได้ในที่สุด
  4. หลังจากคุณได้ทำความสะอาดตลับและตากให้แห้งแล้ว ใส่เทน้ำยาแช่เลนส์ที่สะอาดและใหม่ใส่ตลับ เพราะน้ำยาจะเสื่อมคุณภาพหลังจากช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้น การคอยดูแลให้น้ำยาใหม่อยู่ทุกวัน จะช่วยให้เลนส์ของคุณปลอดเชื้อและสะอาด [39]
  5. ปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อเลนส์ตามชนิดที่คุณใช้อยู่. เลนส์ต่างชนิดกันต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลที่แตกต่างกัน จงใช้น้ำยาที่ถูกต้องสำหรับชนิดเลนส์ของคุณ ปฏิบัติตามคำแนะนำของมืออาชีพด้านดูแลรักษาดวงตา ในเรื่องการล้างและฆ่าเชื้อเลนส์ของคุณ [40]
    • ใช้เฉพาะน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาหยอดตา และน้ำยาต่างๆ ที่ผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อลดความเสี่ยงที่คุณจะติดเชื้อ
  6. ใส่เลนส์เฉพาะตามคำแนะนำของมืออาชีพด้านดูแลรักษาดวงตา. มืออาชีพคนนี้สมควรบอกกับคุณด้วยว่า สมควรใส่เลนส์วันละกี่ชั่วโมงจึงจะปลอดภัย จงใช้เลนส์ของคุณให้สอดคล้องกับคำแนะนำแบบมืออาชีพเหล่านี้ด้วย
    • อย่านอนหลับทั้งที่สวมเลนส์อยู่ เว้นเสียแต่คุณใช้ “เลนส์ชนิดที่ใส่ค้างคืนได้หลายๆ วัน” ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่แนะนำให้นอนหลับทั้งที่ใส่เลนส์อยู่ เพราะอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ดวงตาของคุณจะติดเชื้อ [41]
  7. หากคุณกำลังจะว่ายน้ำ อาบน้ำ อาบน้ำฝักบัว หรือนอนแช่ในอ่างน้ำร้อน ให้ถอดเลนส์ออกเสียก่อน จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อให้น้อยลง [42]
  8. เลนส์อาจติดอยู่ในดวงตาของคุณหากเลนส์แห้ง วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คือดื่มน้ำจำนวนมากตลอดทั้งวัน การดื่มของเหลวปริมาณมากพอจะช่วยให้ดวงตายังชุ่มชื้นอยู่
    • ปริมาณการดื่มน้ำที่แนะนำสำหรับผู้ชายคือ อย่างน้อย 13 ถ้วย (3 ลิตร) /วัน ส่วนปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้หญิงคือ อย่างน้อย 9 ถ้วย (2.2 ลิตร) /วัน [43]
    • หากคุณมีปัญหาตาแห้งบ่อยๆ ให้ลองอยู่ห่างจากแอลกอฮอล์ และการบริโภคคาเฟอีนเกินขนาดเมื่อทำได้ สารเหล่านี้จะทำให้ร่างกายของคุณขาดน้ำ น้ำคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณ แต่ก็มีตัวเลือกที่ดีอื่นๆ รวมทั้ง พวกน้ำผลไม้ นม และชาปลอดคาเฟอีนที่ไม่หวาน เช่น ชารอยบอส์ และชาสมุนไพรจำนวนมาก
  9. ผลศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่ทำให้ปัญหาตาแห้งเลวร้ายลง “ตาแห้ง” อาจส่งผลให้คอนแทค เลนส์ ติดได้ [44] ผู้สูบบุหรี่ที่ใส่คอนแทค เลนส์ จะมีปัญหากับเลนส์มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  10. คุณอาจช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับดวงตาได้โดย กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย นอนหลับให้เพียงพอ และลดความเครียดของดวงตา [46]
    • การกินผักใบเขียว เช่น ใบปวยเล้ง ผักคอลลาร์ด คะน้าใบหยิก และผักใบเขียวอื่นๆ นั้น ดีเยี่ยมสำหรับสุขภาพตา ส่วนเนื้อปลาแซลมอน ปลาทูน่า และปลาชนิดอื่นที่มีกรดไขมันโอเมกา 3 ก็ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับตาได้
    • ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะมีสุขภาพตาโดยรวมดีกว่า และพวกเขามีความน่าจะเป็นน้อยกว่าด้วย ที่จะเป็นโรคร้ายแรงเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อหิน [47]
    • หากคุณนอนไม่พอ อาจส่งผลกระทบต่อสายตา ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดคือตาแห้ง คุณอาจมีปัญหาตาเขม่น หรือตากระตุกได้ด้วย [48]
    • พยายามลดความเครียดของตาเมื่อทำได้ คุณทำได้ด้วยการลดแสงจ้าจากอุปกรณ์ไฟฟ้า จัดตั้งสถานีงานที่ถูกต้องตามระบบการยศาสตร์ (ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพในการทำงานเพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความปวดเมื่อย และความเสี่ยงต่อโรคที่จะเกิดจากการทำงาน) และหยุดพักบ่อยๆ จากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับดวงตา
  11. การไปพบมืออาชีพด้านการดูแลดวงตาเป็นประจำ สามารถช่วยป้องกันคุณจากโรคต่างๆ และการตรวจโดยมืออาชีพเป็นประจำ อาจช่วยให้ตรวจพบโรคทางสายตา เช่น ต้อหิน [49]
    • หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาอยู่ หรือมีอายุช่วงสามสิบปลายๆ สมควรไปพบจักษุแพทย์ปีละครั้ง ผู้ใหญ่วัยระหว่าง 20-30 ปี สมควรตรวจดวงตาอย่างน้อยทุกๆ 2 ปี/ครั้ง [50]
  12. หากคอนแทค เลนส์ของคุณยังติดอยู่ในดวงตา ให้ไปพบจักษุแพทย์ คุณอาจมีปัญหาที่ร้ายแรงกว่านั้น และคุณอาจถามแพทย์เรื่องวิธีป้องกันด้วย [51]
    • จงไปพบแพทย์ "ในทันที" หากมีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้:
      • จู่ๆ ก็สูญเสียการมองเห็น
      • มองเห็นอย่างพร่าเลือน
      • มองเห็นแสงแปลบ ๆ หรือเป็น "รัศมี" ( แถบสว่างรอบวัตถุ)
      • ตาเจ็บ ระคายเคือง ตาบวม หรือตาแดง

เคล็ดลับ

  • เป็นเรื่องดีเสมอหากจะทำให้ดวงตาของคุณชุ่มชื้นด้วยน้ำเกลือ ก่อนที่จะพยายามถอดเลนส์ชนิดนิ่มออก หลังจากหยอดดวงตาให้ชุ่มชื้นแล้ว ให้พยายามทำให้นิ้วแห้งโดยใช้ลมเป่า แล้วจึงถอดเลนส์ออก การทำเช่นนี้อาจทำให้เกิดแรงเสียดทานจนคุณจับเลนส์ได้
  • ในเมืองใหญ่หลายแห่งมีสมุดรายชื่อออนไลน์เรียงลำดับรายชื่อจักษุแพทย์ ตัวอย่างเช่น หากคุณอยู่ที่เมืองดีทรอยต์ และจำเป็นต้องพบจักษุแพทย์ สมควรมองหาในหน้า "ค้นหาแพทย์" ของระบบสาธารณสุขเฮนรี ฟอร์ด [52] ส่วน VSP ก็มีหน้าบริการค้นหาเช่นกัน [53] สำหรับกรุงเทพฯ ไม่มีเช่นนั้น
  • แต่งหน้าหลังจากใส่คอนแทค เลนส์แล้ว และถอดเลนส์ออกก่อนล้างเครื่องสำอาง จะช่วยให้เครื่องสำอางไม่เข้าไปติดในเลนส์ [54]
  • ปิดเปลือกตาให้แน่นมาก ๆ (หากจำเป็นให้ใช้นิ้วปิดเบาๆ บนเปลือกตา) และขยับรูม่านตาของคุณ(มองไปรอบๆ)ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกานานสามนาที หลังจากนั้น คอนแทค เลนส์จะเริ่มหลุดออกจากตรงที่ติดอยู่ และคุณจะดึงออกได้ง่ายๆ

คำเตือน

  • จงทำให้แน่ใจเสมอว่ามือของคุณ ตลับใส่เลนส์ ผ้าเช็ดตัว และสิ่งใดก็ตามที่สัมผัสกับดวงตา หรือคอนแทค เลนส์ ของคุณนั้นสะอาด ไม่อย่างนั้น ดวงตาของคุณอาจจะติดเชื้อได้
  • ห้ามใช้น้ำลายเป็นสารหล่อลื่นคอนแทค เลนส์ น้ำลายมนุษย์เต็มไปด้วยเชื้อโรค หากคุณใช้น้ำลายกับเลนส์ เท่ากับย้ายเชื้อโรคทั้งหมดมาใส่ไว้ในดวงตาของคุณ
  • ตรวจสอบข้อแนะนำเรื่องการใช้งานน้ำยาคอนแทค เลนส์ของคุณ ก่อนจะใช้กับดวงตาของคุณ น้ำเกลือพื้นฐานปลอดภัยที่จะใช้หล่อลื่นเลนส์ แต่น้ำยาบางชนิดมีส่วนผสมเป็นสารทำความสะอาด ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนหากใช้กับดวงตาโดยตรง
  • ห้ามใส่คอนแทค เลนส์ "ประดับ" หรือเลนส์อื่นๆ ที่ซื้อหามาโดยไม่ได้ใช้ใบสั่งแพทย์ เลนส์เหล่านี้อาจทำให้เกิดรอยข่วน แผลเปื่อย การติดเชื้อ และถึงขั้นตาบอดอย่างถาวร
  • หากหลังจากถอดเลนส์ออกไปแล้ว ดวงตาของคุณยังคงแดงและเคือง จงติดต่อกับจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าคุณได้ทำให้กระจกตาถลอก [55]
  1. http://emedicine.medscape.com/article/1413506-overview#a15
  2. http://www.contactlensowl.com.au/stuck-contact-lens
  3. http://mybestcontacts.com/what-to-do-when-your-contact-lens-is-stuck/
  4. http://www.allaboutvision.com/contacts/faq/stuck-in-eye.htm
  5. http://www.geteyesmart.org/eyesmart/ask/questions/stuck-contact-lens.cfm
  6. http://www.kerasoftic.com/en/consumer/consumer_lens_removal/
  7. http://www.visiondirect.co.uk/eye-care-centre/can-a-contact-lens-get-lost-or-trapped-in-the-eye
  8. http://www.visiondirect.co.uk/eye-care-centre/can-a-contact-lens-get-lost-or-trapped-in-the-eye
  9. http://www.geteyesmart.org/eyesmart/ask/questions/stuck-contact-lens.cfm
  10. http://www.allaboutvision.com/contacts/faq/stuck-in-eye.htm
  11. http://www.oregoneyes.net/blog/faqs-about-contact-lenses/
  12. http://www.aclens.com/Contact-Lenses-Stuck-In-Eye-Facts-and-Myths-c205.html
  13. http://www.ophthobook.com/chapters/anatomy
  14. http://www.aclens.com/Contact-Lenses-Stuck-In-Eye-Facts-and-Myths-c205.html
  15. http://www.geteyesmart.org/eyesmart/ask/questions/stuck-contact-lens.cfm
  16. http://www.geteyesmart.org/eyesmart/ask/questions/stuck-contact-lens.cfm
  17. http://mybestcontacts.com/what-to-do-when-your-contact-lens-is-stuck/
  18. http://www.geteyesmart.org/eyesmart/ask/questions/stuck-contact-lens.cfm
  19. http://www.allaboutvision.com/contacts/faq/stuck-in-eye.htm
  20. http://www.allaboutvision.com/contacts/faq/stuck-in-eye.htm
  21. http://www.allaboutvision.com/contacts/faq/stuck-in-eye.htm
  22. http://www.allaboutvision.com/contacts/faq/stuck-in-eye.htm
  23. http://emedicine.medscape.com/article/1413506-overview#a15
  24. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9474457
  25. http://www.geteyesmart.org/eyesmart/ask/questions/stuck-contact-lens.cfm
  26. http://www.allaboutvision.com/contacts/faq/stuck-in-eye.htm
  27. http://health.usnews.com/health-news/health-wellness/articles/2013/10/18/7-sins-of-contact-lens-wearers
  28. http://www.allaboutvision.com/contacts/caresoftlens.htm
  29. http://www.webmd.com/eye-health/caring-contact-lens
  30. http://health.usnews.com/health-news/health-wellness/articles/2013/10/18/7-sins-of-contact-lens-wearers
  31. http://www.webmd.com/eye-health/caring-contact-lens
  32. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/adult-health/in-depth/contact-lenses/art-20046293
  33. http://www.geteyesmart.org/eyesmart/glasses-contacts-lasik/contact-lens-care.cfm
  34. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256
  35. http://www.geteyesmart.org/eyesmart/living/smokers.cfm
  36. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20351603
  37. http://www.webmd.com/eye-health/good-eyesight
  38. http://www.geteyesmart.org/eyesmart/living/exercise-for-eyes-and-vision.cfm
  39. http://www.eastwesteye.com/lack-sleep-affects-eyesight/
  40. http://www.webmd.com/eye-health/good-eyesight
  41. http://healthcare.utah.edu/moran/patient_care/optometry/eyes_checked.php
  42. http://www.webmd.com/eye-health/caring-contact-lens?page=2
  43. http://www.henryford.com/body.cfm?id=38441
  44. https://www.vsp.com/find-eye-doctors.html
  45. http://www.webmd.com/eye-health/caring-contact-lens
  46. http://www.allaboutvision.com/contacts/faq/stuck-in-eye.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 29,829 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม