ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยสักครั้งในชีวิต ที่เผลอกัดลิ้นตัวเองจนเป็นแผลเจ็บน่าดู บอกเลยว่าไม่มีวิธีไหนป้องกันไม่ให้คุณเผลอกัดลิ้นตัวเองได้ แต่บทความวิกิฮาวนี้จะมาแนะนำ 2 - 3 วิธีการดูแลแผลกัดลิ้นให้หายเป็นปลิดทิ้งแทน

สิ่งที่คุณควรรู้

  • กดลิ้นห้ามเลือด และลดอาการบวมด้วยการใช้น้ำแข็งประคบที่ลิ้น
  • กลั้วปากด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยฆ่าเชื้อและเร่งการฟื้นตัว
  • ทาเจลชาบริเวณแผลเพื่อบรรเทาอาการปวด และรับประทานยาแก้ปวดถ้าจำเป็น
วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ปฐมพยาบาลทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะแตะต้องอะไรในช่องปาก ให้เสียเวลาไม่เกิน 1 นาทีไปล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่กับน้ำอุ่น แต่ถ้าไม่สะดวก ก็ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือแทน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคถ่ายเทจากมือไปสู่ปากแผลที่ลิ้น จนแผลติดเชื้อได้ [1]
  2. กัดลิ้นเมื่อไหร่ เลือดจะเริ่มไหลทะลักออกมาจากปากแผล เพราะแถวนั้นมีหลอดเลือดเยอะ ให้กดห้ามเลือดบริเวณนั้น เพื่อชะลอการไหลของเลือด ให้เลือดได้มีเวลาแข็งตัว จุดสำคัญคือต้องห้ามเลือดทันทีหลังกัดลิ้น [2]
    • ถ้าแผลอยู่บริเวณที่เข้าถึงง่าย ให้ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบที่แผลโดยตรง หรือจะอมน้ำแข็ง ดันไว้กับเพดานปาก แล้วใช้ลิ้นดุนก็ได้ ถ้าไม่เจ็บมากนัก ประคบไปมา ถ้าเย็นก็เอาลิ้นออกห่างบ้างแล้วค่อยดุนต่อ จนกระทั่งน้ำแข็งละลาย หรือจะห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซกดห้ามเลือดก็ได้ [3]
  3. อ้าปากกว้างๆ แล้วส่องกระจกดูแผลที่ลิ้น ถ้าเลือดหยุดแล้ว และแผลดูไม่ลึกมาก ก็ดูแลตัวเองต่อไปได้เลย แต่ถ้าเลือดไม่ยอมหยุดไหล ไหลเพิ่ม หรือแผลดูลึก แนะนำให้ไปหาหมอฟัน เผื่อต้องเย็บแผลขึ้นมา [4]
    • ถ้าเลือดทะลักจนน่ากลัวก็ต้องไปแผนกฉุกเฉิน โดยไปเอง ให้ใครพาไป หรือเรียกรถฉุกเฉิน/รถพยาบาล
  4. บางคนก็กัดลิ้นเพราะอุบัติเหตุตอนเล่นกีฬาหรือล้มกระแทก ให้ลองสำรวจทั่วปาก ว่ามีแผลที่อื่น มีฟันโยก หรือเหงือกเลือดไหลเพราะเศษฟันที่แตกไหม ลองอ้าปากขยับขากรรไกรขึ้นลงดูว่าปวดตรงไหนหรือเปล่า ถ้าตรงตามข้อใดข้อหนึ่งที่ว่ามา ให้ไปหาหมอหรือหมอฟัน [5]
  5. กัดลิ้นแล้วอาการที่มักตามมาคือลิ้นบวม ทำให้เผลอกัดซ้ำได้ง่ายๆ ให้หาอะไรเย็นๆ เช่น ผ้าสะอาดห่อน้ำแข็ง มาประคบที่แผล โดยประคบค้างไว้ 1 นาที จนลิ้นเริ่มชาก็เอาออกได้ พอหายชาก็ทำซ้ำ อาจจะต้องทำซ้ำหลายครั้งภายใน 2 - 3 วันต่อมา [6]
    • ถ้าเด็กกัดลิ้น ลองให้เด็กกินไอศครีมผลไม้แบบหวานเย็นแทนก็ได้
  6. เลือกยาแก้ปวดแก้อักเสบที่ไม่แรงเกินไป เช่น Advil โดยกินให้เร็วที่สุดตามปริมาณที่แนะนำ จะช่วยลดบวมได้ เพื่อไม่ให้แผลทันปวด เพราะบอกเลยว่ากัดลิ้นแล้วแผลปวดบวมเร็วมาก [7]
  7. ถ้ามีน้ำยาบ้วนปากติดบ้าน ก็ให้รีบใช้ทันที เพื่อช่วยทำความสะอาดแผล ป้องกันการติดเชื้อ สำคัญมากโดยเฉพาะถ้าเผลอกัดลิ้นตอนกินอาหารอยู่ พอบ้วนแล้วถ้ามีเลือดออกมาด้วย ให้กลั้วซ้ำอีกครั้ง [8]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

บ้วนปากเพื่อทำความสะอาดและรักษาแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผสมน้ำอุ่น 1 ถ้วยตวง (250 มล.) กับเกลือ 1 ช้อนชา (5 กรัม) แล้วใช้ช้อนคนให้เข้ากัน ใช้กลั้วประมาณ 15 - 20 วินาทีแล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำตามนี้ได้มากถึง 3 ครั้งต่อวันจนแผลหายดี ถ้าบ้วนปากหลังอาหารทันทียิ่งเห็นผลดี [10]
    • เกลือจะช่วยฆ่าแบคทีเรียร้ายในปาก ทำให้แผลสะอาดขึ้น เสี่ยงติดเชื้อน้อยลง แถมยังมีสรรพคุณช่วยสมานแผล ทำให้แผลที่ลิ้นหายเร็วขึ้น
  2. ให้ผสม diphenhydramine เช่น ยาน้ำแก้แพ้ Benadryl 1 ส่วน กับยาลดกรด (antacid) เช่น milk of magnesia 1 ส่วนจนเข้ากัน แล้วใช้กลั้วในปาก 1 นาทีจากนั้นบ้วนทิ้ง ให้บ้วนปากแบบนี้ 1 - 2 ครั้งต่อวัน [11]
    • ยาลดกรดก็ตามชื่อ คือจะไปควบคุมปริมาณของกรดในปาก ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ส่วนยาแก้แพ้จะช่วยลดการอักเสบ พอรวม 2 อย่างเข้าด้วยกัน เลยเกิดเป็น “miracle mouthwash” หรือน้ำยาบ้วนปากมหัศจรรย์ อย่างที่หลายคนเรียกกัน
    • ถ้าไม่ค่อยถูกโรคกับน้ำยาบ้วนปากสูตรนี้เท่าไหร่ จะเพิ่มความข้นหน่อยก็ได้ แล้วแต้มเป็น paste แทน
  3. เทไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% (hydrogen peroxide 3%) กับน้ำในสัดส่วนที่เท่ากันลงในแก้วแล้วคนผสม จากนั้นกลั้ว 15 - 20 วินาทีแล้วบ้วนทิ้ง ระวังอย่าเผลอกลืนลงไป ทำซ้ำตามนี้ได้มากถึง 4 ครั้งต่อวัน [12] Repeat this process up to 4 times daily.
    • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์นั้นเป็นยาฆ่าเชื้อที่ค่อนข้างแรง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่แผล และช่วยทำความสะอาด ขจัดเศษสิ่งสกปรกจากแผล เพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เซลล์ และช่วยห้ามเลือด
    • อย่างไรก็ตาม ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มีผลให้เกิดการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นเวลานาน [13] ให้ใช้แบบอ่อน และกลั้วปากเพียงแป๊บเดียว
    • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ยังช่วยทำให้ฟันขาว แต่อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้
  4. Benzydamine hydrochloride, chlorhexidine gluconate 0.12% หรือน้ำยาบ้วนปากทั่วไปก็ใช้ได้หมด โดยบ้วนปากตามปริมาณที่แนะนำข้างขวด กลั้วประมาณ 15 - 30 วินาทีแล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำตามนี้ทุกครั้งหลังอาหาร เศษอาหารจะได้ไม่ตกค้างที่แผล ทำให้แผลหายเร็ว ป้องกันการติดเชื้อ [14]
    • น้ำยาบ้วนปากทั่วไปใช้รักษาอาการบวม ระบมของลิ้นจากการบาดเจ็บได้ดี
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

บรรเทาและแก้อาการเจ็บปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เอาน้ำแข็ง 2 - 3 ก้อนใส่ถุงซิปล็อค แล้วใช้ประคบแผลที่ลิ้นจนหายปวด หรือจะเอาผ้าเช็ดหน้าห่อถุงอีกทีก็ได้ ถ้าเย็นจัดเกินไป อีกวิธีคือดูดไอศครีมหวานเย็นหรือดื่มน้ำเย็นแทน แต่ต้องเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีฤทธิ์เป็นกรด [15]
    • ถ้าแผลเปิดหรือเลือดออกซ้ำ วิธีนี้จะช่วยห้ามเลือดได้ แถมบรรเทาอาการปวดระหว่างรอแผลหาย
    • อดทนไว้ กว่าลิ้นจะหายดีอาจกินเวลาตั้งแต่สองสามวันไปจนถึงสองสามสัปดาห์หรือกว่านั้น ขึ้นกับว่าแผลร้ายแรงแค่ไหน ระหว่างนั้นควรเลี่ยงอาการรสจัด ร้อนหรือเย็นเกินไป และอาหารที่กรอบ ซึ่งอาจทำให้แผลระคายเคือง
  2. คุณหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือบ้านใครปลูกก็ตัดใบมากรีดเก็บวุ้นว่านหางจระเข้ข้างในซะก่อน แล้วใช้ทาแผลไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน แต่จะเห็นผลดีสุดถ้าทาหลังบ้วนปากแล้ว และก่อนนอน [16]
    • ใช้ว่านหางจระเข้ถือเป็นการรักษาด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และต้านแบคทีเรียร้ายบางชนิด แต่ระวังอย่าเผลอกลืนวุ้นว่านหางจระเข้
    • หรือป้ายวุ้นว่านหางจระเข้ที่ผ้าก๊อซที่ฆ่าเชื้อแล้ว แล้วใช้ปิดแผลก็ได้ จะออกฤทธิ์นานกว่า เพราะป้องกันไม่ให้น้ำลายเจือจางวุ้น
  3. หาซื้อเจลฆ่าเชื้อที่ช่วยให้ชาได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่าง Orajel ก็เป็นหลอดเล็กๆ ใช้สะดวก แค่บีบเจลใส่คอตตอนบัดสะอาดๆ ประมาณเท่าเม็ดลูกปัด แล้วใช้แต้มที่แผลได้เลย ทาซ้ำได้ 2 - 4 ครั้งต่อวันจนหายดี [17]
    • หรือลองใช้ oral adhesive paste
  4. ผสมเบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชากับน้ำจนเนียนเข้ากัน เอาคอตตอนบัดจุ่มในส่วนผสม แล้วทาบริเวณที่กัดลิ้น เบคกิ้งโซดาจะช่วยลดกรดและแบคทีเรีย แถมช่วยลดบวมและบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบ [18]
  5. ตักน้ำผึ้งมา 1 ช้อนชา แล้วเลียจากช้อนหรือเอาไปหยดใส่แผลก็ได้ ทำซ้ำ 2 ครั้งต่อวัน น้ำผึ้งจะไปเคลือบทั่วปาก ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียร้ายสะสม [19] แต่ถ้าจะให้ดีไปกว่านั้น ให้ผสมโรยขมิ้นผสมไปหน่อย เพราะขมิ้นมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ทำให้แผลหายเร็วขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับน้ำผึ้งหรือยางผึ้ง (bee propolis) [20]
  6. เอาคอตตอนบัดจุ่ม milk of magnesia ในขวด แล้วเอาไปทาแผล ทำซ้ำ 3 - 4 ครั้งต่อวัน ถ้าใช้หลังบ้วนปากจะยิ่งเห็นผล milk of magnesia เป็นยาลดกรด ใช้แล้วช่องปากจะเหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดี [21]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

กันไว้ดีกว่าแก้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [22] เพื่อตรวจเช็คสุขภาพฟันอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดกัดลิ้นขึ้นมาแล้วดูแลเองไม่ได้ ก็ต้องนัดพบหมอฟันเพิ่มเติม บางคนก็เป็นแผลในปากบ่อยกว่าคนอื่น เช่น คนที่ฟันคมเป็นพิเศษ หรือคนที่ฟันผุเยอะ จนฟันอาจแตกแล้วเกิดขอบคม เพราะงั้นถ้าหาหมอฟัน คุณหมอจะช่วยรักษาได้ถูกวิธี
    • เช่น ถ้าฟันเก ไม่เรียงตัวตามปกติ ก็อาจจะเผลอกัดลิ้นเป็นประจำ คุณหมอก็จะแนะนำวิธีการรักษาป้องกันตามแนวทางที่เหมาะสม
  2. ใครใช้ฟันปลอมต้องแน่ใจว่าแนบสนิทไปกับเหงือก ไม่หลวมเกินไปหรือขยับได้ง่าย ที่สำคัญคือฟันปลอมต้องไม่มีขอบคม ถ้าไปหาหมอฟันก็จะตรวจเช็คให้แน่ใจว่าฟันปลอมแน่นดี ไม่ทำให้เผลอกัดลิ้นบ่อยๆ [23]
  3. ถ้าคุณใส่เหล็กดัดฟัน ก็ต้องแน่นหนา พอดีกับปาก ไม่ขยับไปมา คุณหมอจะแนะนำเองว่าหลังจัดฟันแล้วจะขยับได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ถนัดจะได้ปรับแก้ ไม่หลวมจนเสี่ยงกัดลิ้น และจะมีขี้ผึ้งกลมๆ ไว้ป้องกันไม่ให้เหล็กดัดฟันแหลมๆ ทิ่มลิ้นได้ [24]
  4. ถ้าเล่นกีฬาเสี่ยงกระแทกปากและฟัน ก็ต้องใส่ฟันยางและ/หรือหมวกกันน็อค จะช่วยล็อคและป้องกันขากรรไกรจากแรงกระแทก เสี่ยงกัดลิ้นหรือเกิดการบาดเจ็บอื่นๆ น้อยลง [25]
  5. ถ้ารู้ตัวว่าเป็นโรคลมชัก (epilepsy) ก็ต้องฝึกให้คนใกล้ชิดรู้วิธีรับมือเมื่อคุณเกิดอาการ ถ้าชักแล้วเอาอะไรงัดปาก จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี อาจทำให้กัดลิ้นกัดปากได้ แนะนำให้โทรเรียกรถพยาบาล แล้วพลิกตัวคุณนอนตะแคงจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง [26]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าปวดไม่ยอมหาย หรือแผลไม่ดีขึ้นทั้งๆ ที่ผ่านไปเป็นอาทิตย์ ถ้าแผลเริ่มส่งกลิ่น หรือคุณมีไข้ แนะนำให้หาหมอ/หมอฟันทันที [27]
  • รักษาสุขอนามัยในช่องปากให้ดีๆ แปรงฟัน 3 ครั้งต่อวันด้วยแปรงขนนุ่ม ระวังอย่าไปโดนจนระคายแผลได้
โฆษณา

คำเตือน

  • เคี้ยวอาหารช้าๆ อย่าดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ (ทั้งยาสูบ ยาเส้น) เพราะจะทำให้แผลยิ่งระคายเคือง หายช้าขึ้น
  • อย่าเพิ่งกินอาหารร้อนจัดและ/หรืออาหารเผ็ด/เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพราะจะทำให้แผลระคายเคืองหรือเจ็บกว่าเดิม [28]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 105,645 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา