ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ต้องขอบคุณกระแสสมัยนี้ที่นิยมทานอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำเลย คนส่วนใหญ่เชื่อว่าคาร์โบไฮเดรตนั้นไม่ดีต่อสุขภาพและเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ลดน้ำหนัก ความจริงก็คือมีคาร์โบไฮเดรตอยู่หลายประเภท และแต่ละชนิดก็มีส่งผลต่างกันกับร่างกาย ค่าดัชนีน้ำตาลนั้นสร้างขึ้นเพื่อวัดผลกระทบเหล่านี้ ในการทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ คุณจำเป็นต้องเน้นที่การทานอาหารทั้งส่วนและไม่ผ่านการแปรรูป เช่น ผลไม้และผักที่ไม่มีแป้ง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับดัชนีน้ำตาล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดัชนีน้ำตาลนั้นคือค่าที่วัดระดับอาหารว่ามันจะทำให้ระดับกลูโคสในเลือดสูงขึ้นมากเท่าไหร่ ปกติแล้วดัชนีนี้จะใช้เทียบกับอาหารประเภทอื่น เช่น กลูโคสบริสุทธิ์ [1]
    • คาร์โบไฮเดรตนั้นก็นำมาวัดตามที่มันส่งผลกระทบกับระดับกลูโคสในเลือดของแต่ละคน ยิ่งอาหารมีดัชนีน้ำตาลสูงมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดและระดับของอินซูลิน เมื่อคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในอาหารนั้นทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น มันก็ถือว่าเป็นอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจะไม่ส่งผลอย่างเห็นได้ชัดในน้ำตาลในเลือด และอาหารที่อยู่ในระดับกลางๆ ก็ถือเป็นอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลในระดับกลาง [2]
    • ปกติแล้วค่าดัชนีน้ำตาลจะวัดจากการให้ผู้ใหญ่สุขภาพดี 10 คนทานอาหาร (คนที่อดอาหารมา) และตรวจดูระดับน้ำตาลเป็นระยะๆ ค่าดัชนีน้ำตาลนั้นยึดจากค่าเฉลี่ย [3]
  2. ดัชนีนี้ก็จะช่วยผู้ที่เป็นโรคอย่างเบาหวานเป็นหลัก การใช้ดัชนีน้ำตาลนั้นเป็นประโยชน์กับผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่มีถุงน้ำจำนวนมากเพราะผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคนี้ปกติแล้วจะมีภาวะต้านอินซูลิน นี่จะทำให้ร่างกายต้านผลของอินซูลินทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนานขึ้นและสุดท้ายอาจจะเป็นเบาหวานได้ การทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำก็จะลดน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นในแต่ละบุคคล มันยังมีประโยชน์สำหรับผู้ที่อยากจะลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับหรือผู้ที่ต้องการจะลดน้ำหนัก [4]
  3. ทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำเพื่อให้รู้สึกอิ่ม. เพราะว่าอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำนั้นจะถูกดูดซึมได้ช้ากว่า มันจะช่วยทำให้คุณอิ่มได้นานกว่า ดังนั้นมันก็จะช่วยควบคุมความอยากอาหารของคุณด้วย [5]
  4. มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีน้ำตาลของอาหาร ตัวอย่างเช่น การนำไปแปรรูปนั้นก็จะเพิ่มดัชนีน้ำตาลของอาหาร เช่น องุ่น ที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ แต่เมื่อนำไปเทียบกับน้ำองุ่น มันก็มีดัชนีน้ำตาลสูงกว่า [6]
    • ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีน้ำตาลก็คือระยะเวลาที่คุณปรุงอาหาร (พาสต้าที่ใช้เวลาทำนานกว่าก็จะมีดัชนีน้ำตาลสูงกว่า) ประเภทของอาหาร (ข้าวบางประเภทนั้นก็มีดัชนีน้ำตาลสูงกว่าแบบอื่น) และระดับความสุกของผลไม้ [7]
  5. รู้ว่ามีประเภทอาหารใดบ้างที่ใช้ดัชนีน้ำตาล. ค่าดัชนีน้ำตาลนั้นจะใช้กับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเท่านั้น ดังนั้น อาหารอย่างน้ำมันหรือเนื้อสัตว์ก็จะไม่มีค่าดัชนีน้ำตาล [8]
  6. เรียนรู้ส่วนประกอบของอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ. ปกติแล้ว อาหารที่อยู่ในค่า 55 หรือน้อยกว่านั้นถือเป็นอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ ขณะที่อาหารระดับกลางจะมีค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ที่ 56-69 อาหารใดที่มีค่าสูงกว่านี้ถือว่ามีดัชนีน้ำตาลสูง [9]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หาอาหารที่เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจดูที่ดัชนีน้ำตาลเพื่อหาอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ. วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำก็คือการตรวจดัชนีน้ำตาล ซึ่งก็มีอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำอยู่หลายอย่าง [10]
  2. โฮลเกรนนั้นอยู่ในหมวดหมู่ "คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน" แล้วเกือบทั้งหมดแล้วมันก็มีดัชนีน้ำตาลในระดับน้อยกว่าอาหารที่แปรรูป โฮลวีตในรูปแบบของขนมปังและพาสต้า ข้าวโอ๊ต มูสลี่ บาร์เลย์ ถั่วเมล็ดแบน ล้วนมีดัชนีน้ำตาลในระดับต่ำ [11]
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Claudia Carberry, RD, MS

    นักกำหนดอาหารที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
    คลอเดีย คาร์เบอร์รีเป็นนักกำหนดอาหารที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เชี่ยวชาญในด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วยปลูกถ่ายไตและการให้คำปรึกษาเรื่องการลดน้ำหนักแก่ผู้ป่วยที่มหาวิทยาลัยอาร์คันซอเพื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ เธอเป็นสมาชิกของสถาบันโภชนาการและการกำหนดอาหารอาร์คันซอ คลอเดียได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี วิทยาเขตน็อกซ์วิลล์ ในปี 2010
    Claudia Carberry, RD, MS
    นักกำหนดอาหารที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

    ผสมคาร์บเชิงซ้อนกับโปรตีน ตามคำแนะนำของคลาวเดีย คาร์เบอร์รี่ นักโภชนาการที่มีใบอนุญาตนั้น “คาร์บจากโฮลเกรนนั้นเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อคุณต้องการอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ให้แน่ใจว่าได้เลือกคาร์บที่มีไฟเบอร์สูงและรับประทานร่วมกับโปรตีน”

  3. แม้ว่าจะมีผลไม้บางอย่างที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง การทานผลไม้และผักที่ไม่มีแป้งปกติแล้วเป็นอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำและปลอดภัย [13]
  4. ยึดทานอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยเป็นหลัก. ยิ่งอาหารของคุณแปรรูปมากเท่าไหร่ ก็มีแนวโน้มมากขึ้นว่ามันจะมีค่าดัชนีน้ำตาลมากเท่านั้น [16]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เพิ่มอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำในการทานอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณอยากได้ซีเรียลธรรมดาหรือซีเรียลเติมนมเป็นอาหารเช้า ให้เลือกซีเรียลที่เป็นโฮลเกรนหรือมีส่วนผสมของโฮลเกรน เช่น ข้าวโอ๊ต คุณสามารถหาซีเรียลที่มีโฮลเกรนเป็นส่วนประกอบได้มากมาย ลองเลือกท้อปปิ้งเป็นผลไม้สดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น พีช [18]
  2. อาหารเหล่านี้อย่างข้าวสำเร็จรูปมักจะมีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ให้ทานอาหารที่คุณทำเองเป็นหลักจะดีกว่า [19]
  3. ตัวอย่างเช่น เลือกขนมปังโฮลวีตแทนขนมปังขาว ลองทานพาสต้าโฮลวีตแทนพาสต้าธรรมดา ตัวเลือกอาหารเช่นนี้จะช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาลในอาหารที่คุณทาน [21] คุณสามารถใช้อาหารแบบเดียวกับที่คุณเคยนำมาทำอาหารในปริมาณกลางๆ ก็ได้
  4. หลีกเลี่ยงอาหารในบรรจุภัณฑ์อย่างขนมขบเคี้ยว. ตัวอย่างเช่น แทนที่จะทานมันฝรั่ง 1 ห่อ ลองทานถั่ว 1 กำมือแทน หรือแทนที่จะเป็นคุ้กกี้ก็ให้เลือกทานเป็นผลไม้สักชิ้นเป็นขนม [22]
    • ฮัมมัสนั้นมีค่าดัชนีน้ำตาลน้อยมากและมีโปรตีนเต็มเปี่ยม ลองทานกับผักที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น คื่นช่ายหรือพริกหยวก [23]
  5. อาหารที่มีไฟเบอร์มากกว่าก็จะมีค่าดัชนีน้ำตาลน้อย อ่านที่ฉลากเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจว่าอาหารที่คุณจะทานมีไฟเบอร์เพียงพอหรือไม่ คุณจำเป็นต้องได้รับไฟเบอร์ 25-30 กรัมต่อวัน [24] ปกติแล้วโฮลเกรนนั้นมีไฟเบอร์สูง ดังนั้นจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ยิ่งมีปริมาณไฟเบอร์ในอาหารมากเท่าไหร่ ผลกระทบที่มีต่อน้ำตาลในเลือดก็จะน้อยลง
  6. แม้ว่าเมื่อทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ คุณก็ควรจะทานอาหารเหล่านี้ควบคู่กับโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา การทานควบคู่กันเช่นนี้จะช่วยให้คุณอิ่มนานขึ้นและลดค่าดัชนีน้ำตาลของอาหารทั้งมื้อ [25]
  7. อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะอยู่ที่ 70 หรือมากกว่านั้น
    • เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ (0-55) และแทนที่อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงในอาหารโปรดของคุณ เช่น ใช้บะหมี่ซูกินี (Zucchini) แทนบะหมี่แบบธรรมดา ในการแทนที่ด้วยอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า คุณก็จะพบว่าคุณสามารถมีความสุขกับการทานอาหารจานโปรดโดยที่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น
    • สำหรับอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลในระดับกลาง ให้งดอะไรก็ตามที่อยู่ในช่วง 56-69 ที่คุณอยู่ได้โดยไม่ต้องทาน ให้ทานแค่อาหารที่คุณต้องทานจริงๆ และทานในระดับพอดีๆ แต่ก็มีความสุขในการทานอาหารจานโปรดโดยการเลือกแบบที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ทานพีชสด 1 ถ้วยแทนลูกพีชกระป๋อง
  8. เพิ่มผลไม้และผักที่ไม่มีแป้งในอาหารทุกมื้อ. ผักและผลไม้นั้นมีไฟเบอร์สูงและดังนั้นมันจึงส่งผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า เน้นไปที่ผลไม้ที่มีเปลือกและเมล็ด เช่น เบอร์รี่ มันมีไฟเบอร์อยู่สูงสุดและเต็มเปี่ยมด้วยคุณค่าทางสารอาหารอันยอดเยี่ยม ผักนั้นก็มีไฟเบอร์สูงเช่นกัน โดยเฉพาะผักในตระกูลกะหล่ำปลีนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่ง ในช่วงเวลารับประทานอาหารขอให้แน่ใจว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของอาหารนั้นคือผลไม้และผักที่ไม่มีแป้ง ลองทานผักใบเขียวสดๆ ด้วยท้อปปิ้งผักอย่าง พริกหยวก แตงกวา และมะเขือเทศ หรือทานลูกพีช ลูกแพร์ แอปเปิ้ลสดๆ ผสมด้วยนิดหน่อย [26]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ปรึกษากับแพทย์หรือนักโภชนาการหากคุณต้องการให้ช่วยตัดสินใจในเรื่องปริมาณดัชนีน้ำตาลที่ดีที่สุดที่ควรได้รับ
  • ถึงแม้ว่าการทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำนั้นเป็นเรื่องสำคัญในการทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้น แต่ขอให้ระลึกไว้ว่าการทานอาหารในบางครั้งที่มีดัชนีน้ำตาลสูงก็สามารถทำได้ แค่ต้องชดเชยในมื้อถัดไปโดยการลดค่าดัชนีน้ำตาลทั้งหมดของวันนั้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ดัชนีน้ำตาลนั้นไม่ได้สมบูรณ์แบบ ในความเป็นจริงแล้ว อาหารที่คุณทานเมื่อรวมผสมกันก็สามารถเปลี่ยนค่าดัชนีน้ำตาลในอาหารได้ [27] นี่เป็นเรื่องจริงมากๆ เมื่อทานโปรตีนและไขมัน มันจะช่วยลดผลกระทบของอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงกับน้ำตาลในเส้นเลือด ตัวอย่างเช่นทานเนยอัลมอนด์ธรรมชาติกับกล้วยจะช่วยสร้างความสมดุลกับผลกระทบของกล้วยที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเพราะว่าโปรตีนและไขมันที่อยู่ในเนยอัลมอนด์
โฆษณา
  1. http://www.glycemicindex.com/about.php
  2. http://www.diabetes.org/food-and-fitness/food/what-can-i-eat/understanding-carbohydrates/glycemic-index-and-diabetes.html
  3. http://www.health.harvard.edu/healthy-eating/glycemic_index_and_glycemic_load_for_100_foods
  4. http://www.eatingwell.com/nutrition_health/weight_loss_diet_plans/diet_exercise_tips/how_to_eat_lower_on_the_glycemic_index
  5. http://www.health.harvard.edu/healthy-eating/glycemic_index_and_glycemic_load_for_100_foods
  6. http://www.health.harvard.edu/healthy-eating/glycemic_index_and_glycemic_load_for_100_foods
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/diabetes-diet/art-20044295
  8. http://www.health.harvard.edu/healthy-eating/glycemic_index_and_glycemic_load_for_100_foods
  9. http://www.health.harvard.edu/healthy-eating/glycemic_index_and_glycemic_load_for_100_foods
  10. http://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/spotlight-low-gi
  11. http://www.diabetes.org/food-and-fitness/food/what-can-i-eat/understanding-carbohydrates/glycemic-index-and-diabetes.html
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/diabetes-diet/art-20044295
  13. http://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/spotlight-low-gi
  14. http://www.glycemicindex.com/foodSearch.php?num=1921&ak=detail
  15. http://www.eatingwell.com/nutrition_health/weight_loss_diet_plans/diet_exercise_tips/how_to_eat_lower_on_the_glycemic_index?page=3
  16. http://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/spotlight-low-gi
  17. http://www.diabetes.org/food-and-fitness/food/what-can-i-eat/understanding-carbohydrates/glycemic-index-and-diabetes.html
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/expert-answers/diabetes/faq-20058466

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,327 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา