ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีเหตุผลมากมายที่ทำให้การเคี้ยวอาหารเป็นเรื่องยาก อาจเนื่องจากการทำฟัน (เช่น การรักษารากฟันหรือการถอนฟัน) กรามหรือกระดูกใบหน้าหักจนต้องดามด้วยเหล็ก และอาการเจ็บหลังติดเครื่องมือจัดฟัน นอกจากนี้ การรักษาโรคมะเร็งหรือการรับการผ่าตัดที่บริเวณศีรษะและคอก็อาจเป็นอุปสรรคในการเคี้ยวของคุณได้เช่นกัน แม้ว่าการเคี้ยวจะไม่ใช่สิ่งสำคัญต่อการรักษาสุขภาพหรือการทานอาหารอย่างสมส่วน แต่ก็สามารถส่งผลให้ทำได้ยากยิ่งขึ้นจนคุณรู้สึกไม่อยากทำตาม อย่างไรก็ตาม ด้วยการวางแผนและการเตรียมอาหารเพียงเล็กน้อย คุณก็จะสามารถทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้เช่นเดิม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เตรียมพร้อมสำหรับการจำกัดอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์ของคุณสามารถให้คำแนะนำโดยเฉพาะเกี่ยวกับอาหารที่คุณควรหลีกเลี่ยงและเนื้อสัมผัสของอาหารที่คุณควรทาน (แบบนิ่มและเละหรือแบบเหลวข้น) แพทย์ของคุณยังสามารถช่วยกำหนดระยะเวลาที่คุณจะต้องปรับเปลี่ยนอาหารได้อีกด้วย
    • สอบถามแพทย์อย่างละเอียดเกี่ยวกับอาหารที่คุณทานได้และทานไม่ได้ ควรถามให้ชัดเจนและรวบรวมข้อมูลให้มาก ดีกว่าเผลอไปทานอะไรที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและทำให้อาการบาดเจ็บแย่ลง
    • และควรสอบถามแพทย์ว่าคุณมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารหรือไม่ หรือมีอาหารประเภทใดหรือหมู่ใดที่คุณควรทานทุกๆ วันหรือหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด
    • คุณอาจขอคำปรึกษาจากนักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเหล่านี้จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้เหมาะกับปัญหาของคุณ และยกตัวอย่างหมู่อาหารหรือกำหนดรายการอาหารแต่ละมื้อที่เหมาะสมกับคุณ ปรึกษาแพทย์ของคุณให้แนะนำนักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการให้
  2. รายการอาหารในแต่ละมื้อมีประโยชน์เป็นอย่างมากในขณะที่คุณอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนหรือจำกัดอาหาร เพราะจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดรายการอาหารแต่ละมื้อได้คร่าวๆ และมีแผนการทานอาหารที่เหมาะสม
    • เขียนรายการอาหารและขนมทั้งหมดของ 1 สัปดาห์ที่เหมาะสมกับอาการของคุณ คุณอาจจำเป็นต้องพยายามคิดหาสูตรอาหารใหม่ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องปรับเปลี่ยนอาหารเป็นเวลานาน
    • ตัวอย่างของมื้ออาหารสำหรับอาหารที่นิ่ม เช่น ข้าวโอ๊ตสำหรับมื้อเช้า สตูว์เนื้อสำหรับมื้อกลางวัน และมีตโลฟราดซอสเกรวี่และบรอคโคลี่นึ่งสุกสำหรับมื้อเย็น
    • ตัวอย่างของมื้ออาหารสำหรับอาหารบดหรืออาหารเหลว เช่น โยเกิร์ตพร้อมพีชบดสำหรับมื้อเช้า สมูทตี้ผัก (พร้อมนม ผลไม้แช่แข็ง ผักโขม และผงโปรตีน) สำหรับมื้อกลางวัน และซุปถั่วดำสำหรับมื้อเย็น
    • แพทย์ของคุณอาจมีตัวอย่างรายการอาหารแต่ละมื้ออยู่ในมือ ลองถามแพทย์ดูว่าคุณสามารถขอถ่ายเอกสารกลับบ้านเพื่อนำไปเป็นตัวอย่างหรือทำตามในช่วงวันแรกๆ ได้หรือไม่
  3. หลังจากที่คุณเขียนรายการอาหารแต่ละมื้อและพูดคุยกับแพทย์เรียบร้อยแล้ว ให้ไปซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อหาซื้ออาหารที่เหมาะสมสำหรับแผนการทานอาหารของคุณ การมีอาหารที่เหมาะสมพร้อมอยู่เสมอจะช่วยให้การปรับเปลี่ยนอาหารเป็นเรื่องง่ายขึ้น
    • คุณสามารถใช้เทคนิคการทำอาหารหลายรูปแบบเพื่อทำให้อาหารที่แข็งมีเนื้อสัมผัสที่คุณสามารถทานได้อย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น คุณสามารถนำแอปเปิ้ลมาทำเป็นแอปเปิ้ลซอสหรือแอปเปิ้ลบดได้ ซึ่งง่ายต่อการเคี้ยวและกลืน
    • หรืออาจหาซื้ออาหารที่อยู่ในรูปแบบที่คุณต้องการและไม่ต้องนำปรุงอาหารเพิ่มเติมหรือนำไปปรุงเพิ่มอีกเล็กน้อย หากคุณสามารถทานได้เพียงอาหารอาหารบดและอาหารเหลว อาจหาซื้อซุปที่มีโซเดียมต่ำอย่างซุปมะเขือเทศ ซุปฟักบัตเตอร์นัท หรือซุปถั่วดำ ที่มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม [1] แต่หากคุณสามารถทานอาหารได้เกือบทุกชนิด แต่จำเป็นต้องทำให้นิ่มและเละก่อน อาจหาซื้อผลไม้หรือผักแช่แข็ง (เมื่อผ่านการปรุงอาหารและอุ่นร้อนแล้ว ผลไม้และผักก็จะนิ่มขึ้น) หรือซุปและสตูว์จากบาร์อาหารสดปรุงสำเร็จ
  4. การซื้ออุปกรณ์ครัวที่เหมาะสมจะช่วยให้การปรับเปลี่ยนหรือจำกัดอาหารเป็นเรื่องง่ายขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น อุปกรณ์ครัวเหล่านี้จะช่วยให้คุณดัดแปลงอาหารได้ง่ายกว่าเดิม จึงทำให้คุณสามารถทำอาหารที่บ้านได้หลากหลายยิ่งขึ้น
    • เครื่องเตรียมอาหารเป็นอุปกรณ์ยอดเยี่ยมชิ้นหนึ่งที่สามารถตัดอาหารที่แข็งให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดจนเหนียวข้นได้ คุณสามารถใช้เครื่องเตรียมอาหารบดผลไม้และผักจนเป็นเนื้อเนียน หรือหั่นอาหารโปรตีนสูง (เช่น อาหารทะเล เนื้อไก่ หรือเนื้อแดง) จนละเอียด อุปกรณ์ชิ้นนี้เหมาะกับผู้ที่สามารถทานอาหารชิ้นเล็กๆ และไม่จำเป็นต้องนำอาหารทุกชนิดมาบดให้ละเอียด
    • การใช้เครื่องปั่นเป็นความคิดที่ดีหากคุณจำเป็นต้องทานอาหารบดหรืออาหารเหลว คุณสามารถใส่อาหารหลากหลายชนิดลงไปในเครื่องปั่นเพื่อทำเป็นอาหารเหลวได้ และเครื่องปั่นนี้ยังเป็นอุปกรณ์ยอดเยี่ยมอีกชิ้นหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถนำอาหารที่ดิบหรือแข็งมากมายหลายชนิดใส่ลงไปในเครื่องดื่มเชคและสมูทตี้ได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใส่ผักโขมดิบลงไปในสมูทตี้และเครื่องปั่นนี้จะปั่นจนกระทั่งส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว
    • หม้อตุ๋นเป็นอุปกรณ์ยอดเยี่ยมอีกชิ้นหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทำอาหารที่นิ่ม เละ หรือนุ่มเป็นพิเศษ อุปกรณ์ชิ้นนี้จะตุ๋นอาหารอย่างช้าๆ ด้วยไฟเบาตลอดวัน เพื่อให้อาหารเคี้ยวง่ายขึ้นหรือแทบไม่จำเป็นต้องเคี้ยว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

วางแผนและทำอาหารที่เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่ควรพบในอาหารของคุณ การปล่อยให้ร่างกายขาดโปรตีนแม้เพียงไม่กี่วันจะส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงหรือสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้ [2] อย่างไรก็ตาม การทานโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอจากอาหารเหลวหรืออาหารนิ่มอาจเป็นเรื่องยากและทำให้คุณรู้สึกไม่อยากอาหารได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการจำกัดหรือปรับเปลี่ยนอาหารของคุณ
    • หากคุณจำเป็นต้องทานอาหารเหลวหรืออาหารบด ให้ลองนำอาหารโปรตีนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ถั่วบดในน้ำซุป (เช่น ซุปถั่วดำ) เต้าหู้บดในน้ำซุป ฮัมมัส หรือซุปหรือสตูว์กระป๋องที่มีเนื้อสัมผัสเหลวข้น [3]
    • คุณสามารถนำเนื้อสัตว์ (เนื้อสัตว์บด เนื้อไก่ หรืออาหารทะเล) มาทำให้นุ่มขึ้นได้เช่นกัน การเติมน้ำซุปหรือซอสลงไปในเนื้อสัตว์เล็กน้อยจะทำให้เนื้อสัตว์เหล่านี้มีเนื้อสัมผัสที่เหลวขึ้น [4]
    • หากคุณสามารถทานอาหารที่นิ่มหรือนุ่มได้ และไม่จำเป็นต้องทานอาหารที่เหลวหรือบด ให้ลองทานมีตโลฟหรือมีตบอลบดในซอสหรือน้ำเกรวี่ ปลาอบเนื้อนุ่ม (เช่น ปลานิลหรือปลาแซลมอน) สลัดทูน่าหรือไข่ เต้าหู้บด ไข่คน ถั่วบด สตูว์หรือซุป และเนื้อสัตว์ต่างๆ อย่างเนื้ออกนำมาเคี่ยวหรืออบหรือเนื้อตุ๋น ที่ทั้งเปื่อยและนุ่ม [5]
  2. ทานผลิตภัณฑ์นมที่เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของแหล่งโปรตีน. ผลิตภัณฑ์นมหลายชนิดเหมาะสมกับการจำกัดหรือการปรับเปลี่ยนอาหาร ผลิตภัณฑ์นมเหล่านี้อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม และวิตามินดี และยังช่วยให้คุณรักษาการทานอาหารอย่างสมดุลได้ง่ายยิ่งขึ้น
    • ทานโยเกิร์ตแบบธรรมดาหรือกรีกโยเกิร์ตเพิ่มเติมในแต่ละวัน โยเกิร์ตมีเนื้อที่เนียนนุ่ม เหมาะกับผู้ที่กำลังทานอาหารบดหรืออาหารที่นิ่ม/เละ โยเกิร์ตแบบธรรมดาอาจเคี้ยวและกลืนได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่ข้นน้อยกว่ากรีกโยเกิร์ต ควรเลือกทานโยเกิร์ตชนิดที่เหมาะกับคุณที่สุด
    • คอทเทจชีสเป็นผลิตภัณฑ์นมอีกชนิดหนึ่งที่มีโปรตีนสูง เหมาะกับผู้ที่กำลังทานอาหารเหลวหรืออาหารที่นิ่ม แต่หากคุณจำเป็นต้องทานอาหารบด ให้ใส่คอทเทจชีสลงไปปั่นในเครื่องปั่นหรือเครื่องเตรียมอาหารเพื่อให้มีเนื้อสัมผัสที่ข้นขึ้น
    • การดื่มนมหรือเติมนมลงไปในอาหารชนิดอื่น (ซุป สตูว์ หรือสมูทตี้) เป็นอีกหนึ่งแหล่งโปรตีนที่สามารถกลืนได้ง่าย
    • หากคุณมีอาการแพ้น้ำตาลแล็กโทสหรืออาการแพ้นม ลองทานผลิตภัณฑ์นมทางเลือกอย่างนม โยเกิร์ต และชีส ที่ทำจากถั่วเหลืองหรืออัลมอนด์
  3. ผลไม้และผักหลายชนิด โดยเฉพาะที่ยังดิบหรือผ่านการนึ่งเพียงเล็กน้อย จะแข็งเกินไปจนทำให้เคี้ยวหรือกลืนได้ยาก ผลไม้และผักเหล่านี้จึงจำเป็นต้องผ่านการปรุงเพื่อให้มีเนื้อสัมผัสที่ทานง่ายขึ้น
    • ลองใช้ผลไม้หรือผักแช่แข็ง เมื่อผ่านการละลายน้ำแข็งหรือปรุง/ทำให้ร้อน ผลไม้และผักเหล่านี้ก็จะนิ่มและเละขึ้น ตัวอย่างเช่น บรอกโคลี่แช่แข็ง กะหล่ำดอกแช่แข็ง กะหล่ำดาวแช่แข็ง หรือเบอร์รี่แช่แข็ง
    • นึ่งผักไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณสามารถบดโดยใช้ด้านหลังของส้อมหรือบดให้มีเนื้อสัมผัสที่ทานง่ายได้ง่ายขึ้น การนึ่งผัก (เช่น บรอกโคลี่) ทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้ผักมีเนื้อสัมผัสที่นิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น มันฝรั่งหรือฟักบด แครอทหรือถั่วนึ่ง หรือผักที่นึ่งทิ้งไว้เป็นเวลานาน
  4. อาหารที่มีส่วนประกอบของธัญพืชอย่างขนมปัง ข้าว หรือพาสต้า อาจไม่เหมาะกับการทานอาหารที่นิ่มหรืออาหารบดเสมอไป อาหารเหล่านี้มีเนื้อสัมผัสที่เหนียวและชื้นเล็กน้อย ทำให้ต้องใช้เวลาเคี้ยวมากกว่าอาหารชนิดอื่น ควรเลือกทานอาหารที่มีธัญพืชเป็นส่วนประกอบอย่างเหมาะสม
    • โอ๊ตมีล แป้งฟารินา หรือซีเรียลชงร้อนอื่นๆ เป็นตัวเลือกที่ดีทั้งสำหรับผู้ที่ทานอาหารที่นิ่มและอาหารเหลว คุณอาจจำเป็นต้องนำผลิตภัณฑ์บางชนิดมาบดให้ดีก่อน เพื่อให้กลืนได้ง่ายขึ้นและมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มขึ้น
    • คุณยังสามารถนำธัญพืชบางชนิด (เช่น ข้าวโอ๊ต) มาปั่นเป็นสมูทตี้ได้อีกด้วย
  5. การทำซุปหรือสมูทตี้ทานเองที่บ้านเป็นความคิดที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการทานอาหารบดหรืออาหารที่นิ่ม คุณสามารถปรับเปลี่ยนสูตรเพื่อเพิ่มความหลากหลายของอาหารและสารอาหารได้
    • เมื่อทำซุปหรือสมูทตี้ ให้ลองใส่ผลไม้หรือผักหลากหลายชนิด การนำผลไม้และผักเหล่านี้ผสมเข้าด้วยกันจะช่วยเพิ่มวัตถุดิบที่แข็งที่อุดมไปด้วยสารอาหารเหล่านี้ลงไปในอาหารของคุณ
    • ซุปเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยลีนโปรตีนและผัก ปรุงวัตถุดิบทั้งหมดให้นิ่มและเหลวหากจำเป็น
    • สมูทตี้สามารถทำได้จากวัตถุดิบหลายชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์นม ผลไม้ ผัก หรือแม้แต่เนยถั่ว ผสมให้เข้ากันจนกระทั่งมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและเหลว
    • คุณอาจลองผสมผงโปรตีนแบบไม่มีรสชาติลงไปในซุปหรือสมูทตี้เพื่อเพิ่มปริมาณของโปรตีน
  6. หากคุณมักเร่งรีบหรือต้องการอาหารที่ใช้เวลาทำน้อย ลองหาซื้อเชคสำหรับทดแทนอาหารมาลองทานดู อาหารเสริมโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยโปรตีน แคลอรี่ และวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม
    • เชคสำหรับทดแทนอาหารมีมากมายหลายประเภท ควรมองหาเชคที่เหมาะกับปริมาณแคลอรี่และโปรตีนที่คุณต้องการ
    • ผลิตภัณฑ์ทดแทนอาหารมีทั้งแบบพร้อมทานและในรูปแบบผง คุณสามารถเติมผลิตภัณฑ์ทดแทนอาหารแบบผงนี้ลงไปในสมูทตี้เพื่อเพิ่มปริมาณสารอาหารได้
    • ควรระวังในการดื่มเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยน้ำตาลในปริมาณมากและมีแคลอรี่สูง เพราะจะส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้หากดื่มอย่างไม่ระวัง
  7. คุณอาจจำเป็นต้องทานอาหารเสริมวิตามินรวมในรูปแบบน้ำ โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่คุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือจำกัดอาหาร การทานอาหารเสริมวิตามินนี้จะช่วยให้คุณได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการเมื่อคุณต้องปรับเปลี่ยนหรือจำกัดอาหารในระยะยาว [6]
    • มองหาอาหารเสริมแบบน้ำที่เป็นวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม 100% เพื่อที่คุณจะได้ทานอาหารเสริมที่มีสารอาหารครบถ้วนที่สุด
    • คุณสามารถเติมวิตามินลงไปในอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือจะทานเลยโดยไม่ผสมอะไรก็ได้
    • ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนเริ่มใช้อาหารเสริม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนเริ่มการปรับเปลี่ยนหรือจำกัดอาหาร และรวบรวมข้อมูลจากแพทย์ให้มากที่สุดเกี่ยวกับข้อจำกัดในการทานอาหารของคุณ
  • อาหารเหลวอาจทำให้การทานอาหารให้สมดุลเป็นเรื่องยากหากไม่ได้วางแผนอย่างเหมาะสม ลองใช้เวลาสังเกตอาหารในแต่ละมื้อเพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม
  • ลองเมนูอาหารที่หลากหลาย หรือค้นหาเมนูและเคล็ดลับใหม่ๆ จากอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับอาหารเหลวหรืออาหารนิ่ม
โฆษณา

คำเตือน

  • อาหารเหลวอาจไม่เหมาะสม ปลอดภัย หรือดีต่อสุขภาพ หากคุณทานติดต่อกันเป็นเวลานาน สอบถามแพทย์หรือทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอว่าคุณสามารถทานอาหารแข็งได้เมื่อไหร่ หรืออาหารเหลวปลอดภัยต่อการทานเป็นระยะเวลานานหรือไม่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,669 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา