ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การทำสมุนไพรตากแห้งเป็นวิธีที่ง่ายและมีประโยชน์ในการเก็บรักษาสมุนไพรเพื่อใช้ทำอาหารและประดิษฐ์สิ่งของ สมุนไพรบางชนิดนำมาทำแห้งได้ง่ายมาก และในบางกรณี คุณสามารถนำทั้งใบ ดอก และก้านของสมุนไพรมาตากแห้งได้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้เมื่อสมุนไพรแห้งแล้วยังคงรสชาติเอาไว้ก็คือต้องรู้ว่าสมุนไพรชนิดใดเหมาะกับการตากแห้ง เลือกเก็บในเวลาที่เหมาะสม และเก็บรักษามันอย่างถูกวิธี

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 9:

เลือกสมุนไพรสำหรับนำมาตากแห้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมุนไพรบางชนิดสามารถนำมาทำแห้งได้ง่ายเพราะมีใบที่แข็งแรงและน้ำมันเข้มข้นกว่าสมุนไพรอื่น อย่างไรก็ตาม สมุนไพรแทบทุกชนิดสามารถนำมาตากแห้งได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง วิธีการหาคำตอบว่าสมุนไพรชนิดใดที่ใช้ตากแห้งได้ดีที่สุดสำหรับคุณก็คือการทดลองด้วยตนเอง เตรียมใจไว้นะว่าสมุนไพรบางชนิดจะเหี่ยวแห้งและกลายเป็นกองเละ ๆ สีน้ำตาลหลังจากแห้งแล้ว ในขณะที่บางชนิดก็จะคงสีและสัมผัสเดิมเอาไว้
  2. บนต้นสมุนไพรจะมีดอกตูมมากมาย เป็นสัญญาณว่าดอกใกล้จะบานแล้ว สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะจะเก็บสมุนไพร โดยทั่วไปแล้วเวลาที่ดีคือหลังจากน้ำค้างระเหยแล้ว แต่ก่อนที่แสงอาทิตย์จะมีโอกาสทำให้น้ำมันภายในสมุนไพรระเหยไปด้วย ซึ่งมักจะเป็นช่วงเช้าตรู่ ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของคุณ
    • ถึงแม้ว่าคำแนะนำทั่วไปคือให้เก็บสมุนไพรก่อนดอกจะบาน บางทีทดลองทำแบบอื่นดูก็อาจจะดีก็ได้ บางครั้งการเก็บสมุนไพรหลังดอกบานแล้วอาจจะดีกว่า ขึ้นอยู่กับว่าสมุนไพรในรูปแบบไหนที่จะรักษารูปทรงและรสชาติได้ดีที่สุด และหากคุณต้องการใช้ดอก ก็ควรต้องรอหลังจากดอกบานก่อนนั่นแหละถูกแล้ว
  3. สมุนไพรจะตากแห้งได้ดีที่สุดหากนำมาใช้ทันที ถ้าปล่อยให้เหี่ยวหรือทิ้งไว้นานๆ และเริ่มชื้นหรือมีฝุ่น รสชาติ สี และหน้าตาของสมุนไพรจะแย่ลง
  4. สมุนไพรบางประเภทอาจจะต้องนำมาล้างน้ำก่อน และนำมาตรวจให้ดีเพื่อเอาสิ่งสกปรกเช่นหญ้าแห้งหรือวัชพืชออกไป สมุนไพรสามารถนำมาล้างอย่างเบามือในน้ำเย็น จากนั้นเขย่าเบาๆ เพื่อกำจัดน้ำที่เกาะอยู่ออกไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 9:

ทำแห้งเร็ว ๆ เพื่อนำมาปรุงอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ

วิธีนี้แค่เป็นการทำให้สมุนไพรที่สดแห้ง (และสะอาด) แต่ไม่ถึงขั้นตากแห้ง! เหมาะจะทำอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนจะนำสมุนไพรมาประกอบอาหาร เพื่อที่จะได้มีเวลาแห้งมากพอ

  1. นำผ้าเช็ดจานมาวางปูบนพื้นผิวที่จะใช้ บริเวณที่เหมาะมากได้แก่ม้านั่งในครัวหรืออ่างล้างจาน.
  2. ให้ใช้น้ำปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้สมุนไพรบี้หรือช้ำ จะเรียงสมุนไพรในกระชอนแล้วเปิดน้ำผ่าน หรือถือสมุนไพรไว้ในมือให้น้ำไหลผ่านก็ได้ เสร็จแล้วให้เขย่าสมุนไพรเบาๆ เหนืออ่างเพื่อกำจัดน้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3. ให้วางพาดทั่วผ้าเลยหากคุณมีสมุนไพรมากกว่า 1 ต้น พยายามอย่าให้สมุนไพรซ้อนกัน
  4. เอามือแตะสมุนไพรดูว่าแห้งหรือยัง เมื่อแห้งพอแล้วก็ให้ใช้ทำอาหารตามสูตร
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 9:

ตากแดดหรือตากนอกบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ

นี่เป็นวิธีตากแห้งที่ไม่น่าเลือกใช้ที่สุด เพราะสมุนไพรมักจะถูกแดดกัดสีและสูญเสียรสชาติไป แต่ก็มีประโยชน์ถ้าจะนำมาใช้ประดิษฐ์ของนะ

  1. ให้ใบและดอกหัวทิ่มลง
  2. นำไปแขวนไว้ที่ระเบียงหรือแขวนกับไม้แขวนเสื้อในจุดที่จะได้รับแสงอาทิตย์เต็มที่. ปล่อยไว้หลายๆ วันให้แห้ง และคอยมาเช็คบ้างว่าแห้งแค่ไหนแล้ว
  3. หลังจากมัดสมุนไพรเป็นช่อแล้ว ให้มัดถุงกระดาษครอบช่อเอาไว้แล้วนำถุงทั้งถุงไปแขวนไว้นอกบ้าน ถุงจะช่วยป้องกันแสงแดดได้ อีกทั้งยังจะเก็บรักษาเมล็ดสมุนไพรที่แห้งด้วยหากคุณต้องการเก็บเอาไว้
  4. สมุนไพรถือว่าตากแห้งเสร็จเมื่อมันกรอบและคุณไม่รู้สึกว่ามีความชื้นหลงเหลืออยู่แล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 9:

ตากอากาศในบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ

การตากแห้งในบ้านถือเป็นวิธีที่น่าใช้กว่า เพราะสมุนไพรจะยังคงรสชาติ สี และคุณลักษณะอื่นๆ ไว้ได้ดีกว่าถ้านำไปตากนอกบ้าน วิธีนี้เหมาะจะใช้กับสมุนไพรใบนิ่ม และยังเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายอีกด้วย เพราะเมื่อเตรียมสมุนไพรพร้อมแล้ว คุณก็ปล่อยมันแห้งได้เลยโดยที่ไม่ต้องทำอะไรอีก

  1. ใช้หนังยางรัดรอบก้านสมุนไพร ดอกของสมุนไพรควรจะหัวทิ่มลง
  2. ถุงกระดาษจะช่วยทำให้กระบวนการตากแห้งเสร็จเร็วขึ้น และคอยเก็บเมล็ด ใบ หรือส่วนอื่นๆ ของสมุนไพรที่ตกลงมาด้วย แต่ในทางกลับกัน ถ้าไม่ใช้ถุงกระดาษก็หมายความว่าคุณจะมีช่อสมุนไพรสวยๆ ประดับบ้านของคุณ
  3. คุณสามารถแขวนสมุนไพรกับสิ่งของได้หลายอย่างเลย เช่น บันได คาน ไม้แขวนเสื้อ ตะปู ฯลฯ
  4. ควรจะตากสมุนไพรไม่ให้โดนแสงอาทิตย์โดยตรง และห่างจากความชื้น ไม่อย่างนั้นสมุนไพรจะเสีย เวลาตากแห้งอาจเป็นได้ตั้งแต่ 5 วันถึงหลายอาทิตย์ ขึ้นอยู่กับประเภทของสมุนไพรที่นำมาทำแห้ง
  5. สมุนไพรถือว่าตากเสร็จเมื่อมันกรอบและไม่มีความชื้นหลงเหลืออยู่
  6. ใช้ทำอาหาร ทำยา ตั้งโชว์ หรือใช้ในงานประดิษฐ์. สมุนไพรตากแห้งบางชนิดจะป่นได้ง่ายมาก ทำให้นำไปทำสมุนไพรผสมได้ง่าย สมุนไพรแห้งยังนำมาทำบุหงาได้เยี่ยมด้วยนะ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 9:

ตากแห้งในเตาอบ

ดาวน์โหลดบทความ

สมุนไพรสามารถนำมาทำแห้งในเตาอบและนำไปใช้ประกอบอาหารหรือทำยาได้

  1. เปิดเตาอบให้อุณหภูมิต่ำมากๆ ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้. เปิดฝาเตาเอาไว้
  2. ปล่อยให้แห้ง แต่ต้องคอยกลับสมุนไพรบ่อยๆ พอมันเริ่มดูกรอบแล้ว ให้เอาออกจากเตา
  3. สำหรับคนที่มีเตาฟืน ให้วางราวมุ้งพาดด้านบนเตา. เรียงสมุนไพรบนราวแล้วปล่อยให้แห้งเอง
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 9:

ตากแห้งด้วยไมโครเวฟ

ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณจำเป็นต้องรีบใช้สมุนไพรตากแห้งสำหรับงานประดิษฐ์ วิธีนี้ก็เหมาะมากเลยล่ะ! อย่างไรก็ตาม เนื่องจากซิลิก้าเจลนั้นเป็นพิษต่อร่างกาย วิธีนี้จึง ไม่ สามารถใช้สำหรับการทำสมุนไพรตากแห้งเพื่อนำมากินหรือทำยาได้ เตรียมตัวทดลองให้ดีนะ เพราะเวลาที่ใช้ตากแห้งนั้นแปรผันได้มาก ขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร และการใช้ไมโครเวฟทำสมุนไพรแห้งก็อาจเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าโมโหมากก็ได้!

  1. โรยซิลิก้าเจลเป็นชั้นบางๆ ในภาชนะที่ใช้ใส่ไมโครเวฟได้.
  2. แผ่สมุนไพรให้ทั่ว และพยายามอย่าให้ใบหรือดอกสมุนไพรแต่ละชิ้นสัมผัสกัน
  3. ตั้งค่าไฟให้ต่ำ อย่างเช่นใช้พลังงานแค่ครึ่งเดียว หรือตั้งค่าละลายอาหารแช่แข็ง ใส่สมุนไพรเข้าไป 2 นาที จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วตรวจดูว่าแห้งแค่ไหน ถ้าแห้งพอแล้วก็ให้นำสมุนไพรมาใช้ตามต้องการ ถ้ายังแห้งไม่พอ ให้นำไปใส่ไมโครเวฟอีกประมาณ 1 นาที
    • ถ้าลองอบสมุนไพร 2 นาทีแล้วปรากฏว่านานเกินไปและสมุนไพรแห้งเกินไป ให้อบสมุนไพรชุดใหม่และลดเวลาไป 30 วินาที คอยทดลองไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบเวลาที่เหมาะสม
    • สมุนไพรที่ตากอากาศและแห้งได้ดี ไม่ค่อยหด (อย่างเช่นไธม์) จะต้องใช้เวลาอบในไมโครเวฟน้อยกว่าสมุนไพรที่ตากอากาศไม่ค่อยได้ผล (เช่น กะเพรา)
  4. ใช้สมุนไพรสำหรับงานประดิษฐ์หรือเพื่อตั้งโชว์เท่านั้น. อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าการใช้ซิลิก้าเจลจะทำให้สมุนไพรไม่สามารถนำมาบริโภคได้อีกต่อไป
    โฆษณา
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 9:

ตากแห้งโดยใช้สารดูดความชื้น

ดาวน์โหลดบทความ

ให้นำสมุนไพรที่ตากแห้งด้วยวิธีนี้ไปใช้ในงานประดิษฐ์หรือเพื่อตั้งโชว์ ห้าม ใช้วิธีนี้สำหรับสมุนไพรที่จะนำมาทำอาหารหรือทำยาเด็ดขาด

  1. สารดูดความชื้นเป็นสารที่ดึงความชื้นออกจากวัตถุ สารที่เหมาะจะใช้กับสมุนไพรได้แก่ แป้งคอร์นมีล (Cornmeal) ทราย รากไม้ออร์ริส (Orris Root) สารบอแรกซ์ ซิลิก้าเจล หรือแม้แต่ทรายแมว (Kitty Litter)
    • ซิลิก้าเจลได้รับความนิยมเพราะมันมีน้ำหนักเบาและไม่กดทับสมุนไพร สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์ทำงานฝีมือ อย่างไรก็ตาม หากจะใช้ให้ใส่หน้ากากเพื่อป้องกันตัวเองจากกลิ่นของมันด้วย
  2. เลือกเก็บเวลาที่จะไม่มีความชื้นรบกวนสมุนไพรหรือดอก
  3. โรยสารดูดความชื้นเป็นชั้นหนา 2.5 เซนติเมตร/ 1/2 นิ้วบนภาชนะแก้วหรือพลาสติก. แก้วและพลาสติกจะไม่สร้างความชื้น
  4. แยกดอกให้ห่างกัน (ไม่สัมผัสกัน) ส่วนใบและกลีบดอกที่อยู่ชิดกันก็ต้องดึงแยกออกจากกันก่อนเพื่อให้สารดูดความชื้นเข้าไปในช่องว่างและช่วยทำให้สมุนไพรแห้งอย่างทั่วถึง
    • ถ้าหากคุณต้องการรักษารูปทรงของกลีบดอกหรือใบสมุนไพร ให้ตรวจดูก่อนว่ามีส่วนไหนที่รูปร่างบิดเบี้ยวไหม และวางใหม่จนได้รูปร่างตามที่ต้องการระหว่างจัดสารดูดความชื้น
    • คุณจะเรียงสารดูดความชื้นกับสมุนไพรเป็นหลายๆ ชั้นก็ได้ แต่คำนึงไว้ด้วยนะว่ายิ่งมีน้ำหนักด้านบนมากเท่าไหร่ สมุนไพรด้านล่างก็เสี่ยงต่อการถูกทับจนบี้แบนมากเท่านั้น
  5. นำสมุนไพรออกจากสารดูดความชื้นทันทีที่แห้งแล้ว. ใช้เวลาแค่ไม่กี่วันก็เสร็จ สารดูดความชื้นจะทำให้ใบและดอกของสมุนไพรแห้งสนิท ดังนั้นจะค่อนข้างเปราะ วิธีกำจัดสารดูดความชื้นคือให้ใช้แปรงเล็กๆ หรือเครื่องสูบลมสำหรับทำความสะอาดกล้องเพื่อปัด/เป่าสารดูดความชื้นออกจากสมุนไพรโดยที่ไม่ทำให้สมุนไพรเสียหาย ต้องหยิบจับสมุนไพรอย่างระมัดระวัง
    • พยายามอย่าตากสมุนไพรนานมากๆ ไม่อย่างนั้นมันอาจจะแหลกสลายไปเลยก็ได้เมื่อหยิบขึ้นมา
  6. สมุนไพรนี้นำไปบริโภคไม่ได้
    โฆษณา
วิธีการ 8
วิธีการ 8 ของ 9:

ตากแห้งอยู่กับที่

ดาวน์โหลดบทความ

สมุนไพรบางชนิดจะแห้งได้ง่ายเมื่อวางไว้กับที่ อย่างเช่นในการจัดดอกไม้ หรือเป็นส่วนหนึ่งของงานประดิษฐ์

  1. ไม่ใช่สมุนไพรทุกชนิดที่จะเหมาะกับการตากแห้งแบบนี้ แต่ใบและดอกบางประเภทก็ใช้วิธีนี้ได้ดี เช่น ยาร์โรว (Yarrow) ผักชีล้อม และโรสแมรี่
  2. นำสมุนไพรไปใส่ไว้ในจุดที่คุณอยากจะให้มันแห้ง. ยกตัวอย่างเช่น ในแจกัน/ช่อดอกไม้ที่มีพืชอื่นจัดอยู่ด้วย หรือเติมไปในงานประดิษฐ์ อย่างพวงมาลัยหรืองานสาน
  3. ปล่อยให้แห้ง แต่ก็ต้องคอยกลับมาเช็คบ่อยๆ ถ้าคุณเห็นว่ามีโรคราน้ำค้างหรืออย่างอื่นที่ดูไม่ปกติ ก็ให้เอาสมุนไพรออกซะ
    โฆษณา
วิธีการ 9
วิธีการ 9 ของ 9:

ตากแห้งโดยการทับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการทับพืช ให้อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ. สมุนไพรทับสามารถนำมาใช้ตกแต่งงานประดิษฐ์อย่างเช่น สแครปบุ๊ค ภาพใส่กรอบ ที่คั่นหนังสือ และภาพตัดปะได้
  2. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สมุนไพรมีเมล็ดเหมาะกับการตากอากศมากที่สุด เมล็ดจะได้ตกในถุงกระดาษที่เตรียมไว้ จากนั้นให้เก็บในภาชนะสุญญากาศ
  • สมุนไพรที่เหมาะจะนำมาตากแห้งมากได้แก่ ลาเวนเดอร์ (จะสวยต่อไปอีกเป็น ปี ) โรสแมรี่ (เก็บได้เป็นปีเหมือนกัน) ใบกระวาน ฮ็อพ ออริกาโนสีเทาอ่อน และมาร์จอรัมเฉดชมพู
  • สมุนไพรป่นหรือบดทุกชนิดควรเก็บไว้ในภาชนะสุญญากาศให้ห่างจากแสงโดยตรง เวลาใช้สำหรับทำอาหาร ถ้าอยากให้ได้รสชาติดีที่สุดควรใช้ภายใน 6 เดือนหลังจากตากแห้ง
  • สามารถทำราวตากสมุนไพรง่ายๆ เองได้โดยใช้ก้อนไม้ (ทรงสวยๆ ก็ได้ถ้าต้องการ) ที่มีหมุดไม้ติดอยู่รอบๆ ห่างๆ กัน หาอะไรมาติดเพื่อแขวนข้างหลังและทาสีคำว่า “สมุนไพร” หรือไม่ก็วาดรูปใบไม้ซักหน่อยจะได้จำได้ว่าเอาไว้ใช้ทำอะไร จากนั้นก็เอาราวไปแขวนผนัง เอาสมุนไพรมาแขวนหมุด ไม่ให้มันสัมผัสกันเอง สมุนไพรที่เหมาะจะใช้กับราวนี้ได้แก่ โรสแมรี่ ไธม์ ออริกาโน เสจ มาร์จอรัม และดอกไม้ตูม
  • วิธีตากแห้งสมุนไพรอีกวิธีหนึ่งก็คือการนำมันไปแช่แข็ง เหมาะถ้าจะนำสมุนไพรไปทำอาหาร เพราะเป็นกรณีที่รสชาติสำคัญกว่าหน้าตา
โฆษณา

คำเตือน

  • หลีกเลี่ยงการตากสมุนไพรในที่ที่มีความชื้นสูง อย่างเช่นในห้องน้ำหรือห้องครัว แต่ถ้าหากคุณสามารถทำให้ห้องครัวอบอุ่นและไม่ชื้นได้ ห้องครัวของคุณก็ถือว่าเป็นข้อยกเว้น
  • สมุนไพรหลายชนิดจะเหี่ยวและกลายเป็นสีน้ำตาลดูหมดสภาพเมื่อตากแห้งเสร็จ การตากแห้งสมุนไพรส่วนมากเป็นศิลปะที่คุณจะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทดลองและผิดพลาดไปกับสมุนไพรจากสวนของคุณ บางครั้งคุณยังจะต้องเลือกระหว่างกลิ่น รส หรือหน้าตาของสมุนไพร และเลือกสิ่งที่คุณรู้สึกว่าสำคัญที่สุดด้วย เพราะคุณจะไม่สามารถรักษาทั้ง 3 อย่างไว้ได้จากการตากแห้ง
  • อุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำลายสมุนไพร ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนมากเกินไปขณะตากแห้ง
  • สมุนไพรที่ชื้นจะเหม็นอับและขึ้นรา หากเป็นเช่นนี้ให้ทิ้งไปซะ
  • ใช้หนังยางดีกว่าเชือกเวลาจะตากสมุนไพร เหตุผลนั้นง่ายแสนง่าย หนังยางจะยังรัดก้านสมุนไพรแน่นเมื่อมันหดตัวขณะแห้งไงล่ะ เชือกไม่ยืดหยุ่น ซึ่งแปลว่าสมุนไพรอาจหลุดจากช่อและตกพื้นขณะที่แขวนไว้ให้แห้งได้
  • ซิลิก้าเจลเป็นพิษ ต้องเก็บให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง ระวังอย่าสูดกลิ่นเข้าไปด้วย (ใส่หน้ากากซะ) และอย่าบริโภคสมุนไพรใดก็ตามที่ผ่านการตากแห้งโดยใช้ซิลิก้าเจลมา
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • สมุนไพร
  • เครื่องมือสำหรับใช้ตากแห้ง
  • ถุงกระดาษ (ไม่จำเป็น ให้ใช้เมื่อสามารถใช้ได้)
  • ภาชนะสุญญากาศ



ข้อมูลอ้างอิง

  1. Nerys Purchon, Herbcraft , (1993), ISBN 0-340-51639-9 – แหล่งค้นคว้า
  2. Elizabeth Walker, Making Things With Herbs , (1977), ISBN 0-87983-156-1 – แหล่งค้นคว้า
  3. Nora Blose and Dawn Cusick, Herb Drying Handbook , (1993), ISBN 0-8069-0281-7 – แหล่งค้นคว้า (หนังสือเล่มนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีเยี่ยมสำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการตากแห้งสมุนไพรชนิดต่าง ๆ)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 54,550 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา