ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณกำลังอารมณ์ไม่ดี คุณอาจจะรู้สึกว่าคุณจะกลับมาเป็นปกติไม่ได้อีก แต่โชคยังดีที่ว่าความคิดนั้นสามารถควบคุมอารมณ์ได้หลายวิธี จริงๆ แล้วนั้น ความคิดมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของคุณมากเลยทีเดียว และยังส่งผลกระทบต่อความรู้สึกทางกายโดยตรง [1] สมองของคุณนั้นมีความคิดเกิดขึ้นประมาณ 50,000–60,000 อย่างต่อวัน [2] ดังนั้น ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ในการเปลี่ยนความคิดของตัวเองแล้วกลับมาร่าเริงอีกครั้ง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงจากการหมกมุ่นหรือจมปลักอยู่กับสิ่งที่คุณเผชิญอยู่มากเกินไป เพราะจะยิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกแย่จากการยึดติดอยู่กับความคิดที่ไม่ดีวนไปวนมา [3] การหมกมุ่นจะทำให้คุณไม่สามารถคิดและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย [4] ถ้าคุณพบว่าตัวคุณนั้นจมอยู่กับการคิดซ้ำไปซ้ำมา ลองดึงตัวเองออกมาจากตรงนั้นโดยการทำกิจกรรมอื่นๆ หรือคิดถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวคุณ ณ ขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น มองรอบๆ ตัวคุณและสังเกตแสงสว่าง หรือมองตามตึกรามบ้านช่องในระหว่างทางไปที่ทำงานของคุณ [5]
    • ลองปรับความคิดให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่สามารถเปลี่ยนหรือโน้มน้าวได้ ซึ่งจะช่วยเตือนคุณว่าคุณนั้นสามารถควบคุมสถานการณ์และความสุขของตัวเองได้
  2. การปรับเปลี่ยนนั้นเป็นตัวช่วยให้คุณมองเห็นสถานการณ์ของคุณในมุมมองใหม่ๆ [6] คุณอาจจะลองพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยการจดจำไว้ว่าคุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง หรือการมองหาอะไรตลกๆ ในสถานการณ์ที่ไม่ตลก ถ้าคุณนั้นแค่อยู่ในอารมณ์ขุ่นๆ หรือแค่รู้สึกไม่พอใจเล็กๆ น้อยๆ คุณอาจจะต้องเตือนสติตัวเองว่าความสุขนั้นไม่ได้อยู่กับเราทุกวัน พรุ่งนี้จะต้องดีกว่านี้
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณรู้สึกเศร้าหลังจากที่อกหัก คุณอาจจะเตือนสติตัวเองว่า ถึงแม้จุดจบของความสัมพันธ์นี้จะเจ็บปวด แต่คุณก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองผ่านเหตุการณ์เหล่านั้น
  3. ความกตัญญูเป็นทัศนิคติ เป็นมุมมองด้านศีลธรรม หรือเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนได้ทุกวันเพื่อใช้แสดงความขอบคุณ นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงความชมเชยและการตอบแทนความเมตตาจากคนอื่น ลองทำตัวให้มีความกตัญญูต่อผู้อื่นในวันนั้นโดยการตั้งข้อเตือนใจบนโทรศัพท์ เมื่อมีการแจ้งเตือนขึ้น ให้หาเวลาเป็นคนมีความกตัญญูสักหนึ่งครั้งในวันนั้น หรือมองหาสิ่งที่คุณอยากจะขอบคุณในวันนั้น ซึ่งอาจจะเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ เหมือนกับการหาที่จอดรถใกล้ๆ หรือดูพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม สุดท้ายนั้น เขียนสิ่งที่คุณอยากจะขอบคุณในวันนั้น 3 สิ่ง
    • การเป็นคนมีความกตัญญูช่วยให้คุณมีความเมตตาและมองโลกในแง่ดีได้ มีการศึกษาพบว่ายังสามารถพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีและความสัมพันธ์ส่วนตัวได้อีกด้วย [7]
    • การศึกษาพบว่าความซาบซึ้งใจสามารถทำให้คุณมองอนาคตในแง่ดีมากขึ้น และพัฒนามุมมองของคุณได้ด้วย [8]
  4. แบ่งเวลาเพื่อใช้ในการกอดหรือแสดงความรักแก่สุนัขและแมวของคุณ หรือใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงของคุณโดยการเล่นเกมหากคุณอยากจะมีชีวิตชีวามากกว่าร่าเริง มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสัตว์เลี้ยงและการใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงสามารถบรรเทาอารมณ์ที่ไม่ดีได้ จริงๆ แล้วนั้น การใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงช่วยพัฒนาอารมณ์ได้ดีพอๆ กับการใช้เวลากับคนรักหรือคนที่สำคัญต่อคุณ [9]
    • การกอดสัตว์เลี้ยงไม่เพียงช่วยให้คุณร่าเริง แต่ยังช่วยสร้างความผูกพันระหว่างคุณกับสัตว์เลี้ยงให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สร้างบรรยากาศให้มีชีวิตชีวา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาสิ่งที่ดูมีชีวิตชีวาไว้รอบๆ ตัวคุณไม่ว่าจะเป็นรูปภาพใบโปรด ของที่ระลึก ต้นไม้ หรือหนังสือที่คุณชอบ อย่าลืมปรับแสงให้ดูอบอุ่น เพราะบางคนนั้นหากได้รับแสงแดดไม่เพียงพอก็จะเกิดภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากผลกระทบของฤดูกาลหรือที่เรียกว่า SAD (Seasonal Affective Disorder) ถ้าคุณอยู่ในห้องที่มีแสงน้อย ให้เปิดหน้าต่างเพื่อรับแสงจากธรรมชาติ ถ้าหากคุณใช้แสงจากหลอดไฟ ให้ลองเปลี่ยนใช้ตะเกียงหรือเทียนเพื่อสร้างบรรยากาศ
    • ถ้าคุณอารมณ์ไม่ดีในที่ทำงาน คุณอาจจะต้องลองนำสิ่งที่อยู่ในบ้านติดมาด้วยเพื่อทำให้คุณรู้สึกสบายมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นรูปภาพหรือน้ำหอมปรับอากาศบางชนิด นอกจากนี้ คุณอาจจะนำชามาที่ทำงานเพื่อใช้ตัวแทนของบ้านที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและสบาย
  2. แม้ว่าบ้านของคุณนั้นไม่ได้มีกลิ่นที่แย่ แต่การมีเทียนหอมกลิ่นดีๆ หรือกลิ่นที่คุณชอบมาไว้ในบ้านจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ลองสูดดมหรือทาน้ำมันหอมระเหยเพื่อคลายเครียดและทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น [10] มีการศึกษาพบว่าน้ำมันกลิ่นเลมอนนั้นช่วยพัฒนาจิตใจและทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้อย่างมาก [11] ในขณะที่กลิ่นไม่ดีมักจะทำให้คุณรู้สึกเครียด หม่นหมองและโมโห
    • นักวิจัยยังไม่แน่ใจว่าสิ่งใดที่ทำให้น้ำมันหอมระเหยนั้นสามารถพัฒนาอารมณ์ได้อย่างเห็นผล แต่พวกเขาเชื่อว่าตัวรับกลิ่นบนจมูกของคุณนั้นไปกระตุ้นสมองที่ควบคุมอารมณ์และความทรงจำ [12]
  3. ใช้เวลาในการทำความสะอาดหรือจัดห้องหรือที่ทำงานใหม่ มีงานวิจัยพบว่าห้องหรือที่ทำงานที่รกรุงรังจะทำให้เกิดความเครียดมากขึ้นซึ่งจะทำให้อารมณ์ของคุณเสีย ลองจัดห้องให้เป็นระเบียบ ซึ่งจะช่วยลดระดับความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ [13] นำสิ่งของที่ไม่ได้ใช้หรือใช้ไม่ได้แล้วไปบริจาค ทิ้ง หรือนำกลับมาใช้ใหม่
    • คุณอาจจะพบว่าการจัดระเบียบสิ่งของให้เป็นระเบียบอาจจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้
  4. สีมีผลต่ออารมณ์เป็นอย่างมาก ลองพิจารณาวาดภาพหรือหาของมาตกแต่งในห้องโดยใช้สีที่มีชีวิตชีวาเพื่อทำให้จิตใจคุณเบิกบาน สีเหลืองเป็นสีที่ดีในการทำให้ห้องสว่าง ในขณะที่โทนสีชมพูจะทำให้คุณรู้สึกมีชีวิตชีวา [14] [15] แต่อย่าไปคิดว่าต้องใช้สีให้สว่างๆ เข้าไว้หรือใช้สีที่เข้มมากจนดูล้น เพราะแม้แต่สีเหลืองซีดๆ ก็สามารถทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้
    • ลองสร้างความสมดุลของระดับสีที่ให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะใช้สีเหลืองสลับกับสีส้มเพื่อให้ห้องนั้นดูคึกคักและเป็นมิตร [16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณรู้สึกไม่มีความสุขเพราะติดอยู่กับชีวิตเดิมๆ ลองทำอะไรที่แตกต่างดู บางครั้งนั้นการที่คุณเลิกติดอยู่กับกิจกรรมเดิมๆ นั้นช่วยเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของคุณได้ [17] ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเข้าประชุมติดๆ กันโดยไม่มีเวลาหยุดพักเลยทั้งวัน ลองใข้เวลาช่วงท้ายของวันเปลี่ยนสถานการณ์เครียดๆ นั้นให้เป็นเหมือนภาพยนตร์ตลก การเปลี่ยนสิ่งที่คุณทำอยู่สามารถให้ผลที่น่าทึ่งกับอารมณ์ของคุณเลยล่ะ
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องนั่งอยู่กับโต๊ะหรือบนม้านั่งตลอดทั้งวัน อารมณ์ของคุณอาจจะไม่ดีเพราะร่างกายของคุณต้องการทำกิจกรรมที่ใช้กำลังกาย ลุกขึ้นแล้วออกไปเดินเล่น และมีความสุขกับการก้าวเดินไปข้างหน้า
  2. ถ้าคุณคิดว่าอารมณ์ขุ่นมัวของคุณเกี่ยวข้องกับความเครียด ให้ออกไปข้างนอกเพื่อคลายความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น ลองออกไปเดินในที่สวนสาธารณะ หรือคุณอาจจะไปเดินเล่นในสวนสาธารณะหรือสวนรุกขชาติถ้าคุณอาศัยอยู่ในเมือง การอยู่ข้างนอกนั้นช่วยให้อารมณ์ของคุณดีขึ้นอย่างมาก มีการศึกษาพบว่าการได้มีโอกาสออกไปข้างนอกหรือออกไปเดินเล่นในสวนนั้นจะช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ทิซอล (Cortisol) ซึ่งจะหลั่งออกมาตอนที่คุณเครียดได้ [18]
    • อย่ารอเวลาหรือสภาพอากาศที่เหมาะต่อการออกไปข้างนอก หยิบร่มแล้วออกไปเดินเล่นท่ามกลางสายฝน เพราะแค่อยู่ข้างนอกก็ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้แล้ว
  3. ลองออกกำลังกายด้วยการทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่คุณชื่นชอบ หรือทำกิจวัตรประจำวันด้วยความกระฉับกระเฉง มีการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้โดยจะไปส่งสัญญาณให้ร่างกายหลั่งสารสื่อประสาทที่ทำให้ “รู้สึกดี” ไปยังสมองของคุณ แค่เพียงออกกำลังกายแบบแอโรบิก 5 นาทีก็สามารถช่วยลดความวิตกกังวลได้ [19] การทำกิจกรรมทางกายภาพบางอย่างก็สามารถทำให้คุณร่าเริงได้โดยการได้รับสารสื่อประสาทเหล่านี้
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณพาสุนัขไปเดินเล่น ให้ยืดระยะการเดินเล่นแล้วปล่อยให้ตัวเองมีความสุขกับการอยู่ข้างนอก หรือคุณอาจจะโทรเรียกเพื่อนให้มาเล่นบาสเก็ตบอลด้วยกันก็ได้
  4. การศึกษาพบว่าการยิ้มนั้นช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น [20] แม้ว่าคุณจะอยู่ในอารมณ์ที่ไม่ดีพอที่จะยิ้มได้ก็ตาม แม้ว่าคุณจะไม่ชอบยิ้ม แต่ก็ควรเตือนตัวเองไว้ว่าแค่เพียงทำท่ายิ้มก็สามารถทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ ลองหากิจกรรมที่ทำให้คุณยิ้มได้ เช่น การหารายการทีวีหรือภาพยนตร์ตลกดู หรือไปพูดคุยกับเพื่อนที่มักจะทำให้คุณหัวเราะหรือยิ้มบ่อยๆ
    • ถ้าคุณไม่มีเวลาพอที่จะดูอะไรสักอย่างหรือจะพูดกับใครสักคน ให้หัดยิ้มในยามที่คุณสามารถทำได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทุกๆ คนล้วนเคยอารมณ์เสียในบางครั้ง เตือนตัวเองเสมอว่าทุกอย่างจะต้องดีขึ้นในไม่ช้า
  • ลองเปิดใจรับความช่วยเหลือจากคนอื่น อย่าปฏิเสธการกอดหรือท่าทางที่ช่วยให้คุณสบาย ยกเว้นว่าสิ่งนั้นยิ่งทำให้คุณรู้สึกแย่
  • การเรียนรู้วิธีมองโลกในแง่ดีก็เป็นหนทางที่ดีที่จะทำให้คุณร่าเริงได้ในระยะยาว
  • ระบายความทุกข์ให้กับคนใกล้ตัว
  • หายใจเข้าลึกๆ และใจเย็นๆ
  • คิดถึงความทรงจำดีๆ อยู่เสมอ
โฆษณา

คำเตือน

  • ดูให้ดีว่าสิ่งที่คุณทำเพื่อทำให้รู้สึกดีขึ้นนั้นไม่ได้กลายเป็นการหนีปัญหาหรือการเสพติด
  • ถ้าอารมณ์ของคุณยังคงไม่ดีและยังคิดแต่เรื่องลบๆ เป็นเวลานานๆ ให้ไปพบแพทย์ เพราะอาการแบบนี้เข้าข่ายที่จะมีภาวะซึมเศร้าระดับคลินิก ซึ่งต้องใช้วิธีทางการแพทย์ในการรักษา ถ้าหากไม่ยอมเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที อาการก็จะยิ่งทวีความรุนแรงและอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่แย่สุดๆ ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,869 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา