ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คนส่วนใหญ่มักจะมองความเศร้าว่าเป็นปัญหาหรืออารมณ์ด้านลบอย่างหนึ่ง บ่อยครั้ง คนที่มีความเศร้าก็พยายามที่จะไม่สนใจความเศร้าหรือพยายามที่จะปกปิดความเศร้าของตัวเองเอาไว้ ซึ่งจริงๆ แล้วความรู้สึกเศร้านั้นคือการตอบสนองทางอารมณ์แบบปกติต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากในชีวิต [1] และถึงแม้ว่ามันจะเป็นความรู้สึกที่ปกติตามธรรมชาติของคนเรา คุณก็ควรเรียนรู้ที่จะปลดปล่อยความเศร้าของตัวเองด้วย เพราะมันจะช่วยทำให้คุณสามารถจัดการกับสิ่งที่คุณกำลังเจอและใช้ชีวิตต่อไปข้างหน้าได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ระบายความเศร้าของตัวเองออกมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้คุณปล่อยความเศร้า ความร้อนใจ และความทุกข์ที่อยู่ข้างในตัวเองออกมา เพราะก็มีบางคนที่รู้สึกว่าพวกเขาได้ประโยชน์จากการได้ร้องไห้ออกมาเหมือนกัน ซึ่งก็เป็นเพราะว่าการร้องไห้คือทางระบายทางกายภาพที่ทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตผ่านช่วงเวลาที่เกิดอารมณ์เหล่านั้นได้ และนอกจากนี้มันยังเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คุณผ่อนคลายอีกด้วย มีงานวิจัยชี้ว่าฮอร์โมนความเครียดนั้นจะถูกระบายออกมาผ่านทางน้ำตา [2] ดังนั้น หลังจากที่คุณร้องไห้เสร็จแล้ว ให้คุณนอนหงายลงไปบนเตียงของตัวเองและใช้เวลาคิดทบทวนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวคุณดู
    • หากการมองสะท้อนในสิ่งที่เกิดขึ้นมันทำให้คุณรู้สึกแย่ ให้คุณปล่อยตัวเองให้ร้องไห้ออกมา เพราะไม่มีใครเห็นคุณร้องไห้แน่ๆ เวลาที่คุณอยู่คนเดียว ดังนั้น ไม่ต้องอาย แค่ปล่อยให้ตัวเองได้ระบายอารมณ์ออกมาก็พอ
  2. ไปอยู่ในที่เงียบๆ ที่คุณสามารถนั่งนิ่งๆ พร้อมกับความคิดต่างๆ ที่อยู่ในหัวได้ จากนั้นบรรยายความรู้สึกของตัวเองลงไปในไดอารี่ ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และคุณรู้สึกแย่ยังไง โดยให้ลงรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และดูให้แน่ใจด้วยว่าคุณเขียนเกี่ยวกับความรู้สึกทางกายลงไปแล้วหรือยัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้คุณสามารถเข้าใจความรู้สึกพื้นฐานของความเศร้าได้ นอกจากนี้ คุณอาจจะต้องลองเขียนจดหมายถึงความเจ็บปวดของตัวเองหากคุณกำลังมีปัญหาในการเขียนความรู้สึกของตัวเองให้ออกมาแบบง่ายๆ ไม่ได้ [3]
    • หากคุณปลดปล่อยความรู้สึกของตัวเองออกมาแล้วแต่ว่ายังรู้สึกเศร้าอยู่ นั่นอาจจะมีเหตุบางอย่าง คุณอาจจะต้องจัดการกับความขัดแย้งของสถานการณ์และความขัดแย้งที่อยู่ภายในตัวเอง ซึ่งการเขียนไดอารี่นั้นจะช่วยทำให้คุณสามารถสร้างความชัดเจนให้กับความคิดและความรู้สึกของตัวเองได้ [4]
  3. ปัจจุบันมีงานวิจัยพบว่าการเต้นนั้นสามารถทำให้อาการทางสุขภาพจิตดีขึ้นได้ อย่างเช่น ความเศร้า ความเหนื่อยใจ ความกังวล และอาการต่างๆ ทางร่างกาย โดยคุณอาจจะเต้นแบบจริงจังในสตูดิโอหรือแค่เต้นไปพร้อมๆ กับเพลงที่เปิดในบ้านของคุณก็ได้ [5] นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าการฟังเพลงเศร้าอาจจะช่วยคุณได้เมื่อคุณกำลังรู้สึกเศร้า [6] [7] เพราะเพลงเศร้าจะสร้างความเชื่อมโยงไปยังความรู้สึกที่คุณมี ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างทางระบายให้กับความรู้สึกของคุณ
    • หากคุณยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับความรู้สึกของตัวเอง ดนตรีเป็นสิ่งที่สามารถดึงความสนใจของคุณออกมาจากความรู้สึกพวกนั้นได้ จนกว่าคุณจะรู้สึกว่าตัวเองพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความเศร้าแล้ว
  4. การทำอะไรบางอย่างที่เป็นศิลปะ คือวิธีในการแสดงความคิดสร้างสรรค์และระบายความเศร้าของตัวเองผ่านสี รูปทรง รูปร่าง และบางครั้งก็ผ่านพื้นผิวแบบต่างๆ ซึ่งศิลปะจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณได้ปลดปล่อยความเศร้าออกมาโดยที่ไม่ต้องใช้คำพูดใดๆ โดยคุณอาจจะลองสร้างงานศิลปะด้วยวิธีดังต่อไปนี้ [8]
    • จินตภาพภายใต้การชี้นำ (Guided imagery): เริ่มด้วยการนึกภาพความรู้สึกต่างๆ ของตัวเองขึ้นมาในใจ หลับตาทั้งสองข้างและจินตนาการว่าความรู้สึกเหล่านั้นมีลักษณะยังไง เป็นสีอะไร มีรูปร่างแบบไหน ฯลฯ จากนั้นก็ลืมตาขึ้นมาแล้ววาดภาพลงไปบนกระดาษ มันไม่สำคัญว่าจะต้องวาดออกมาเป็นยังไง ขอแค่ให้คุณได้ปล่อยความรู้สึกของตัวเองลงบนกระดาษก็พอ
    • มันดาลา (Mandala): คือวงกลมสลับซับซ้อนกันไปมาที่คุณสามารถแต้มสีหรือระบายลงไปเพื่อหาที่ปลดปล่อยอารมณ์ โดยให้คุณเสิร์ชภาพมันดาลาในอินเทอร์เน็ต แล้วปรินต์มันออกมา ซึ่งก็มีคนบางคนที่เลือกใช้ศิลปะรูปแบบนี้เพื่อจัดการกับจิตใต้สำนึกของตัวเอง
    โฆษณา


ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รับมือกับความเศร้าของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความคิดด้านลบมักจะเป็นความคิดแบบไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง หรือต่อตัวคุณเอง หรือต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในอนาคตข้างหน้า ซึ่งความคิดเหล่านี้สามารถครอบงำความคิดด้านบวกของคุณและสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงมุมมองที่คุณมีต่อตัวเองได้ และถ้าหากคุณไม่คอยจับตาดูความคิดลบๆ พวกนั้นเอาไว้ คุณก็จะไม่สามารถใช้ทักษะในการรับมือที่ดีได้ [9] นอกจากนี้การมีมุมมองด้านลบยังสามารถนำพาคุณไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย [10]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเศร้าเพราะคุณเพิ่งจะเลิกกับคู่ครองของตัวเองไป ซึ่งหลังจากการเลิกกันนั้น คนส่วนใหญ่ก็มักจะมีความคิดลบๆ อย่างเช่น “ฉันคงจะเป็นคู่ครองที่ไม่ดีแน่ๆ เลย” หรือ “ฉันต้องอยู่เหงาๆ คนเดียวแบบนี้ไปตลอดแน่ๆ ”
    • หากคุณเริ่มที่จะเชื่อในความคิดลบๆ พวกนั้น การกระทำต่างๆ ของคุณก็จะเป็นไปในแนวนั้นด้วย ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะหยุดออกเดทกับคนอื่นไปเลยเพราะว่าคุณคิดว่าตัวเองจะต้องโดดเดี่ยวไปตลอดชีวิต [11]
  2. ให้คุณลองคิดถึงความกังวลต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ความคิดด้านลบของคุณ ตัวอย่าง หากคุณคิดว่าคุณจะต้องอยู่คนเดียวตลอดไป ความกังวลพื้นฐานของคุณก็อาจจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการขาดความมั่นใจในตัวเองเมื่อคุณได้พบเจอกับคนใหม่ๆ และแม้ว่าการที่คุณเริ่มตระหนักถึงความรู้สึกต่างๆ นั้นอาจจะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ แต่มันก็จำเป็นที่คุณควรจะทำความเข้าใจในสิ่งที่ก่อให้เกิดความคิดด้านลบในตัวคุณ [12]
    • คุณอาจจะลองจดบันทึกความคิดของตัวเองโดยการเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่คุณหวังจะให้เกิดในรูปแบบที่แตกต่างออกไปหรือเหตุการณ์ที่คุณน่าจะสามารถรับมือได้ดีกว่านี้ และให้คุณคอยจับตาดูความรู้สึกของความเศร้าหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ความรู้สึกพวกนั้นด้วย [13]
    • ตัวอย่างเช่น ความคิดด้านลบของคุณในตอนแรกอาจจะเป็น “ฉันมันคนไม่เอาไหน เพราะว่าฉันไม่สามารถเดทกับใครได้เลย” สาเหตุพื้นฐานของความคิดนี้อาจจะมาจากการที่คุณรู้สึกเศร้าใจกับการเลิกรากันและคุณก็รู้สึกโดดเดี่ยวตั้งแต่ที่คุณวางแผนที่จะออกเดทแล้ว
  3. ให้ถามตัวเองง่ายๆ ว่าความคิดพวกนี้มันเป็นความจริงหรือไม่ เพราะนี่จะทำให้คุณตระหนักว่าความคิดลบๆ ส่วนใหญ่ของคุณนั้นมันก็ไม่ใช่ความจริงสักเท่าไร และจริงๆ มันเป็นแค่เพียงปฏิกิริยาตอบโต้ของคุณเท่านั้น [14] [15] นอกจากนี้ คุณอาจจะถามตัวเองด้วยคำถามด้านล่างนี้เพื่อท้าทายและปลดปล่อยความคิดด้านลบต่างๆ ออกไป ซึ่งคำถามต่างๆ มีดังนี้
    • ทำไมคุณถึงคิดว่าความคิดพวกนั้นเป็นความจริง? อะไรที่มาสนับสนุนว่าความคิดพวกนั้นเป็นความจริง? “ฉันไม่แม้แต่จะรู้วิธีการในการขอใครบางคนออกเดทเลยด้วยซ้ำ ฉันไม่ได้ฝึกทำอะไรแบบนั้นเลย”
    • ปฏิกิริยาของคุณต่อความคิดด้านลบนั้นเป็นแบบไหน (การกระทำ ความรู้สึก และอารมณ์อื่นๆ)? “ฉันไม่กล้าที่จะขอใครสักคนออกเดทกับฉันเลย”
    • การที่คุณตัดความคิดด้านลบแบบนั้นออกไปน่าจะเปลี่ยนแปลงการกระทำและพฤติกรรมของคุณยังไงบ้าง? ฉันไม่ควรจะกลัว ฉันควรจะขอใครสักคนออกเดทเมื่อฉันพร้อมแล้ว”
  4. คุณสามารปล่อยให้ตัวเองเศร้าได้ ดังนั้นอย่าพยายามปิดกั้นความรู้สึกของตัวเอง เพราะการยอมรับอารมณ์ของตัวเองคือขั้นตอนแรกของการระบายความเศร้า คุณเศร้าเพราะเหตุผลบางอย่างและมันก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณที่จะรับรู้ความเศร้าและความเจ็บปวดของตัวเอง และด้วยวิธีนี้ คุณก็จะสามารถเริ่มต้นปล่อยความรู้สึกพวกนั้นออกไปได้ [16] ถ้าหากคุณมีปัญหาในการเข้าใจความรู้สึกของตัวเอง ให้คุณลองเขียนหรือพูดออกมาดังๆ ว่า
    • “ฉันเศร้าเวลาที่............................แต่นั่นก็ไม่เป็นไรหรอกนะ”
    • “ฉันอนุญาตให้ตัวเองเศร้ากับเรื่อง................................ได้”
  5. อย่าปล่อยให้คนอื่นมาดูถูกความรู้สึกของตัวคุณเอง. บ่อยครั้งที่ครอบครัวและเพื่อนๆ ของคุณพยายามปลอบคุณและแสดงเจตนาดีกับคุณด้วยการพูดว่า เดี๋ยวความเศร้าก็จะผ่านไปหรือในสถานการณ์ที่คุณเจอนั้นมันก็ยังมีข้อดีอยู่ และแม้ว่าพวกเขาจะมีความตั้งใจดี แต่สิ่งที่พวกเขาทำก็อาจจะไปลดทอนความรู้สึกเศร้าที่แท้จริงในตัวคุณ [17] [18] ดังนั้น บอกให้พวกเขารู้ว่าคุณเข้าใจว่าพวกเขาหวังดีกับคุณ แต่ว่าตอนนี้คุณรู้สึกเศร้าและต้องการเวลาให้ตัวเองได้เศร้าสักพัก
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณเพิ่งจะเลิกกับแฟนแล้วเพื่อนของคุณบอกคุณว่าตอนนี้คุณจะได้มีเวลาที่เป็นอิสระมากขึ้นกว่าเดิม คุณอาจจะบอกเพื่อนของคุณไปว่าคุณต้องการเวลาเพื่อจัดการกับอารมณ์ของตัวเองสักพัก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เอาชนะความเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้คุณเตือนตัวเองด้วยความสำเร็จต่างๆ ที่เคยได้ทำและสิ่งต่างๆ ที่คุณรู้สึกชอบเกี่ยวกับตัวเอง หรือไม่ก็พูดเตือนตัวเองด้วยคำพูดในเชิงบวกที่มีความหมายบางอย่างสำหรับตัวคุณอย่างเช่น คำพูดเชิงบวกต่างๆ [19] โดยคุณอาจจะเขียนออกมาเป็นลิสต์และเก็บไว้ใกล้ๆ ตัวเผื่อเวลาที่คุณรู้สึกเศร้าคุณจะได้หยิบมันขึ้นมาดู มีงานวิจัยพบว่าเราสามารถที่จะเก็บรักษาและปกป้องความคิดในแง่บวกไว้กับตัวเองได้ด้วยการเก็บเครื่องเตือนที่เป็นลิสต์แบบนี้ไว้กับตัวเอง [20] [21] [22]
    • เพื่อที่จะเก็บคำพูดในเชิงบวกไว้ใกล้ๆ ตัวเอง ให้คุณเขียนคำพูดเหล่านั้นลงบนบัตรกระดาษที่คุณสามารถพกไว้ในกระเป๋าสตางค์ของคุณได้ หรือไม่ก็เก็บไว้ในโทรศัพท์ หรือไม่ก็ตั้งเป็นภาพในโหมดพักหน้าจอ (screen saver) ของคอมพิวเตอร์ก็ได้
  2. ให้คุณล้อมรอบตัวเองด้วยเพื่อนๆ หรือครอบครัวที่สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกของคุณได้ อธิบายไปว่าคุณกำลังรู้สึกยังไงและดูว่าการทำแบบนี้จะช่วยคุณได้หรือเปล่า ซึ่งสิ่งที่น่าจะตามมาก็คือ พวกเขาจะพยายามยกระดับจิตใจของคุณ นอกจากนี้ มันก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไรหากคุณจะบอกกับพวกเขาว่าคุณเศร้าและต้องการเวลาให้ตัวเองได้เศร้าสักพัก [23]
    • ลองพูดคุยกับใครสักคนที่มีความฉลาดสุขุมหรืออายุเยอะกว่าคุณ และเป็นคนที่คุณไว้วางใจ เพราะคนๆ นี้อาจจะผ่านประสบการณ์ชีวิตมาเยอะกว่าคุณ และประสบการณ์ของเขาอาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คุณสามารถจัดการกับความเศร้าของตัวเองได้
  3. ดึงความสนใจของตัวเองด้วยการทำในสิ่งที่เป็นด้านบวก. มันง่ายมากที่เราจะเผลอไปโฟกัสกับสิ่งที่เป็นด้านลบและมองข้ามอารมณ์ที่เป็นด้านบวกไป เช่น การมีความสุข ผ่อนคลาย ตื่นตาตื่นใจ เบิกบาน หรือจรรโลงใจ ดังนั้น ให้คุณใช้เวลาช่วงหนึ่งเพื่อเขียนความทรงจำต่างๆ ที่เป็นความสุขและผ่อนคลายสำหรับตัวคุณลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องเตือนความจำนี้จะทำให้คุณกลับมารู้สึกในแง่บวกอีกครั้ง [24] นอกจากนี้ คุณอาจจะดึงความสนใจของตัวเองออกจากอารมณ์ด้านลบ ด้วยการทำบางสิ่งบางอย่างที่สนุกและเป็นไปในทางบวก เช่น [25]
    • ทำสีผม
    • ชงชา
    • นับ 1 ถึง 500 หรือ 1,000
    • เล่นเกมปริศนาหรือเกมฝึกสมอง
    • ออกไปข้างนอกและสังเกตวิถีชีวิตของผู้คนที่เดินผ่านไปมา
    • เล่นเครื่องดนตรีสักชิ้น
    • ดูทีวีหรือดูหนัง
    • ทาเล็บ
    • จัดระเบียบของบางอย่างเช่น หนังสือ ตู้เสื้อผ้า ฯลฯ
    • พับกระดาษโอะริงะมิ (origami) เพื่อควบคุมมือของตัวเอง
    • ทำตัวเองให้ตื่นตัวเข้าไว้ โดยการเล่นกีฬา เดินเล่น หรือออกกำลังกลาย
  4. รู้ว่าเมื่อไรคุณจะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ. หากความเศร้าอยู่กับตัวคุณนานเป็นเดือนๆ นั่นอาจจะหมายถึงว่าคุณมีภาวะซึมเศร้าและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำปรึกษาทางด้านนี้ ซึ่งลักษณะอาการของภาวะซึมเศร้านั้นรุนแรงกว่าความเศร้าธรรมดาเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียความสนใจในสิ่งที่ตัวเองเคยชอบทำไปอย่างสิ้นเชิง ขี้หงุดหงิด ร้อนรน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่มีสมาธิ นอนไม่เป็นเวลา และรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา [26] นอกจากนี้ ถ้าหากคุณรับรู้ถึงสัญญาณรุนแรงที่บ่งบอกถึงความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ให้คุณขอความช่วยเหลือทันที โดยให้คุณไปที่ห้องฉุกเฉิน หรือโทร 191 หรือโทรหาสายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตายสะมาริตันส์ 02-713-6793 เพื่อขอความช่วยเหลือ [27] ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงความคิดที่จะฆ่าตัวตายมีดังนี้ [28]
    • ขู่หรือพูดว่าจะฆ่าตัวตายรวมทั้งค้นหาวิธีฆ่าตัวตายในโลกออนไลน์
    • พูดเป็นนัยๆ ว่าคุณไม่แคร์อะไรหรือจะไม่เกี่ยวข้องกับอะไรแล้วทั้งนั้น
    • พูดเหมือนว่าตัวเองกำลังเป็นภาระสำหรับคนอื่นอยู่
    • รู้สึกหมดหนทาง
    • รู้สึกถึงความเจ็บปวดที่ตัวเองไม่สามารถควบคุมได้
    • บริจาคข้าวของของตัวเอง ทำพินัยกรรมหรือเตรียมจัดงานศพ
    • ซื้อปืนหรืออาวุธอื่นๆ
    • อยู่ดีๆ ก็รู้สึกร่าเริงหรือรู้สึกสงบอย่างหาเหตุผลไม่ได้หลังจากช่วงเวลาของภาวะซึมเศร้าผ่านไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • โทรหาใครสักคนที่สามารถแนะนำแนวทางบางอย่างให้กับคุณได้ หากไม่มีคนรอบตัวคุณที่คุณสามารถพึ่งพาได้จริงๆ จำไว้ว่ายังมีสายด่วนที่คุณสามารถโทรเพื่อขอความช่วยเหลือได้
  • หากคุณเจอกับปัญหาที่เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเรื่องส่วนตัว ให้คุณไปในที่ที่คุณอยู่คนเดียวได้ และหาตุ๊กตาสัตว์ยัดนุ่นมากอดสักตัว
  • สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรักในสิ่งที่ตัวเองเป็น


โฆษณา
  1. https://www.mentalhelp.net/articles/cognitive-theory-and-addiction-thoughts-beliefs-expectations/
  2. http://psychcentral.com/lib/how-to-beat-negative-thinking/?all=1
  3. http://psychcentral.com/lib/becoming-aware-of-your-depressive-thoughts/
  4. http://www.cognitivetherapyguide.org/thought-records.htm
  5. http://www.cognitivetherapyguide.org/thought-records.htm
  6. http://blogs.psychcentral.com/mindfulness/2011/08/the-four-questions-to-rid-automatic-negative-thoughts/
  7. https://www.psychologytoday.com/blog/insight-is-2020/201103/psychological-purposemeaning-sadness-depression-coping
  8. http://blogs.psychcentral.com/weightless/2012/06/10-ways-to-cope-with-sadness/
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/broken-hearts/200910/why-won-t-anyone-let-me-feel-sad
  10. http://www.cognitivetherapyguide.org/thought-records.htm
  11. https://www.psychologytoday.com/blog/ulterior-motives/201005/say-it-loud-i-m-creating-distinctive-memory
  12. http://blogs.psychcentral.com/anger/2015/03/negative-thoughts-and-positive-alternatives/
  13. http://psychcentral.com/news/2012/11/27/want-to-get-rid-of-negative-thoughts-throw-them-away/48160.html
  14. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/12/12/4-ways-to-reach-out-when-depressed/
  15. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/05/02/4-journaling-exercises-to-help-you-manage-your-emotions/
  16. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/10/16/helping-your-child-reduce-self-harming-behavior/
  17. American Psychiatric Association (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  18. https://www.psychologytoday.com/blog/ulterior-motives/201005/say-it-loud-i-m-creating-distinctive-memory
  19. https://www.afsp.org/preventing-suicide/suicide-warning-signs

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,969 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา