ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความสงสัยสร้างปัญหาให้ใครหลายคน เพราะความสงสัยนำไปสู่ความรู้สึกมากมาย ทั้งความรู้สึกไม่มั่นคง ความภาคภูมิใจในตนเองที่ต่ำลง ความคับข้องใจ ความหดหู่ และความสิ้นหวัง จำไว้ว่าความสงสัยนั้นเป็นเรื่องปกติ และทุกคนต่างก็ต้องผ่านช่วงเวลานี้ ในการที่จะปล่อยวางความสงสัยได้นั้น คุณต้องเข้าใจมันเสียก่อน จากนั้นก็เปลี่ยนความสงสัยให้กลายเป็นความคิดเชิงบวก ชีวิตที่เติมเต็มไม่ใช่ชีวิตที่มีแต่ความสงสัยเข้ามาขัดขวาง แต่การเรียนรู้ที่จะสำรวจความสงสัยและปล่อยมันไปจะนำความสงบภายในที่ยิ่งใหญ่มาสู่ตัวคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เข้าใจความสงสัยของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณไม่มีวันจะเอาชนะอะไรได้ถ้าคุณไม่ตระหนักถึงการมีอยู่ของมันก่อนและไม่รู้ว่ามันมีผลต่อการตัดสินใจของคุณ ความสงสัยที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ดี ไม่ใช่ศัตรูหรือสัญญาณของความรู้สึกด้อยแต่อย่างใด
  2. คุณสงสัยอะไร แล้วความกังวลนั้นมาจากไหน การตั้งคำถามเป็นมุมมองที่สำคัญต่อการทำความเข้าใจการกระทำของตัวเอง เพราะฉะนั้นคุณไม่ควรกลัวที่จะตั้งคำถามแม้แต่กับตัวเอง การครุ่นคิดถึงว่าอะไรที่เหนี่ยวรั้งคุณไว้ช่วยให้คุณได้เห็นว่าความสงสัยข้อไหนที่สำคัญ หลังจากสะกิดต่อมสงสัยนิดหน่อย คุณอาจจะพบว่าความกังวลนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ต้องจริงจังเลย [1]
  3. ตระหนักและท้าทายรูปแบบความคิดที่ไม่เป็นจริง. ไม่มีใครเห็นโลกตามความเป็นจริงตลอดเวลา บางครั้งเราก็ปล่อยให้อารมณ์มาครอบงำการตัดสินของเรา และทำให้เราคิดว่าสิ่งต่างๆ เป็นความจริงทั้งที่มันอาจจะไม่จริงก็ได้ ถามตัวเองว่าคุณมีรูปแบบการคิดอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือเปล่า [2]
    • คิดถึงแต่ด้านลบ หรือการมองข้ามรายละเอียดที่เป็นด้านบวกและสนใจแต่ด้านลบ คุณอาจจะพบว่าตัวเองเอาแต่สนใจรายละเอียดที่ไม่น่าพึงใจ ซึ่งจะทำให้คุณมีมุมมองที่มืดมนต่องานที่อยู่ตรงหน้า อย่ามองข้ามรายละเอียดนั้น แต่ก็ต้องมองให้ครบทุกด้าน หลายสถานการณ์มีมุมมองดีๆ ให้คุณหันมามองเช่นเดียวกัน
    • คิดแบบเหมารวม ซึ่งก็คือการที่เราสรุปข้อมูลทั้งหมดจากหลักฐานเพียงชิ้นเดียว ถ้าเราเห็นว่ามีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง เราก็จะคิดทันทีว่ามันจะต้องเกิดขึ้นอีกแน่ บางครั้งความคิดเหมารวมแบบนี้ก็ทำให้เราด่วนสรุป คิดโดยทันทีว่าจะต้องมีปัญหาที่ใหญ่กว่าเกิดขึ้นจากข้อมูลเล็กๆ นิดเดียว มากกว่าจะพยายามหาข้อมูลให้มากขึ้น อย่ากลัวที่จะค้นหาข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่อาจท้าทายความคิดเหมารวมของคุณ
    • คิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่คือจุดที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งก็คือการที่เราสนใจแต่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น คุณอาจจะพบว่าตัวเองตั้งคำถามว่า "แล้วถ้ามีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นกับฉันล่ะ" การคิดถึงผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้นี้อาจทำให้เราสนใจความผิดพลาดเล็กๆ มากเกินไป หรือสนใจเหตุการณ์ดีๆ ที่อาจมีความสำคัญเช่นเดียวกันน้อยเกินไป เพิ่มความมั่นใจให้ตัวเองด้วยการคิดถึงผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่อาจเกิดขึ้น และคิดว่าตัวเองอยากได้อะไร ผลลัพธ์ทั้งสองแบบที่ว่านี้อาจไม่มีอันไหนเกิดขึ้นจริงเลยก็ได้ แต่การคิดถึงผลลัพธ์ที่ดีที่สุดช่วยลดความสงสัยที่เกิดจากความกลัวสิ่งเลวร้ายที่สุดได้
    • คิดปักใจตามความรู้สึก ซึ่งก็คือการที่เราคิดว่าสิ่งที่เรารู้สึกนั้นคือความจริง คุณอาจจะพบว่าตัวเองกำลังพูดว่า "ถ้าฉันรู้สึกอะไร มันต้องเป็นจริงตามนั้น" จำไว้ว่ามุมมองของคุณนั้นมีจำกัด และความรู้สึกของคุณก็บอกเล่าเรื่องราวได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
  4. แยกแยะความสงสัยที่สมเหตุสมผลกับความสงสัยที่ไม่สมเหตุสมผล. ในการตั้งคำถามกับความสงสัยของตัวเองนั้น คุณอาจจะพบว่ามีความสงสัยหลายอย่างที่ไม่สมเหตุสมผล ความสงสัยที่สมเหตุสมผลจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ที่ว่า คุณกำลังพยายามทำอะไรที่เหนือความสามารถของคุณ [3]
    • ถามตัวเองว่างานนี้เหมือนกับงานที่คุณเคยทำมาก่อนหน้านี้หรือไม่ หรืองานชิ้นล่าสุดนั้นเป็นงานที่บังคับให้คุณต้องเติบโตหรือไม่ ถ้าใช่ คุณก็ไม่ต้องสงสัยในความสามารถของตัวเอง
    • ความสงสัยที่ไม่สมเหตุสมผลนั้นมักจะมาจากรูปแบบความคิดที่ไม่เป็นจริง และถ้าคุณรู้ว่าตัวเองมีรูปแบบการคิดแบบนั้น ก็เป็นไปได้ว่าความสงสัยของคุณอาจจะไม่สมเหตุสมผล
    • คุณอาจจะเขียนความรู้สึกลงไปในบันทึกหรือไดอารีก็ได้ วิธีนี้ช่วยให้คุณได้ติดตามและค้นหาความคิดและอารมณ์ของตัวเอง
  5. ถ้าคุณถามความเห็นของคนอื่นเพื่อยืนยันความคิดเห็นของคุณเองเสมอ ก็เท่ากับว่าคุณไม่เชื่อใจตัวเอง [4] [5]
    • การร้องขอการรับรองจากคนอื่นไม่เหมือนกับการขอคำแนะนำ บางครั้งมุมมองภายนอกก็ช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งที่คุณกังวลได้มากขึ้น ถ้าความสงสัยของคุณเกี่ยวข้องกับทักษะหรือความชำนาญ การพูดคุยกับคนที่ประสบความสำเร็จช่วยให้คุณพบทางสว่างได้ แต่จำไว้ว่าสุดท้ายแล้วคนที่ต้องตัดสินใจก็คือคุณ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ปล่อยวางความสงสัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฝึกเจริญสติ. ตามหลักการของศาสนาพุทธแล้วนั้น การเจริญสติคือการทำสมาธิที่เน้นไปที่การอยู่กับปัจจุบัน สนใจแต่โลกที่อยู่รอบตัวโดยไม่ต้องคิดถึงอนาคต การสนใจแต่ปัจจุบันและสิ่งที่อยู่รอบตัวเราจะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับอนาคตได้ [6] Greater Good Science Center (GGSC) ของมหาวิทยาลัย UC Berkeley แนะนำเทคนิคการฝึกเจริญสติแบบง่ายๆ หลายแบบที่คุณสามารถเริ่มฝึกได้ [7]
    • การฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจ ขณะอยู่ในท่าสบายๆ (นั่ง ยืน หรือนอน) ให้หายใจช้าๆ แบบรู้ตัว หายใจตามปกติและสังเกตว่าร่างกายรู้สึกและตอบสนองขณะที่หายใจอย่างไร ถ้าใจของคุณเริ่มจะวอกแวกและคิดเรื่องอื่น ให้สังเกตและหันความสนใจกลับมาที่ลมหายใจเหมือนเดิม ทำแบบนี้หลายๆ นาที [8]
    • หยุดพักเพื่อฝึกจิตเมตตาต่อตนเอง คิดถึงสถานการณ์ที่ทำให้คุณเครียดหรือสงสัย สังเกตว่าตัวเองรู้สึกได้ถึงความตึงของร่างกายหรือไม่ รับรู้ถึงความเจ็บปวดและความตึงเครียด (GGSC แนะนำให้พูดว่า "นี่คือช่วงเวลาแห่งความทุกข์") บอกตัวเองว่าความทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพื่อเป็นการเตือนตัวเองว่าคนอื่นก็กำลังเผชิญความทุกข์ไม่ต่างกัน สุดท้ายให้คุณวางมือไว้บนหัวใจและพูดยืนยันตัวเองว่า (GGSC แนะนำให้พูดว่า "ขอความเมตตาจงอยู่กับฉัน" หรือ "ขอให้ฉันยอมรับตัวเองในแบบที่เป็น") คุณสามารถปรับเปลี่ยนคำพูดเหล่านี้ให้เข้ากับความสงสัยหรือความกังวลที่คุณมีได้ [9]
    • เดินจงกรม หาที่ๆ คุณสามารถเดินกลับไปกลับมาได้ 10 – 15 ก้าว จะเป็นในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ เดินอย่างตั้งใจ หยุด และหายใจ จากนั้นหมุนแล้วเดินกลับไปใหม่ ขณะที่คุณก้าวขาแต่ละก้าว สังเกตสิ่งต่างๆ ที่ร่างกายของคุณทำขณะก้าว สังเกตประสาทสัมผัสที่คุณรู้สึกขณะที่ร่างกายของคุณเคลื่อนไหว สัมผัสลมหายใจ ความรู้สึกเวลาที่เท้าสัมผัสกับพื้น หรือเสียงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของคุณ [10]
  2. วิธีนี้ช่วยป้องกันไม่ให้คุณสงสัยในความสามารถของตัวเองเพียงเพราะเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะล้มเหลว คุณอาจจะล้มเหลวก็จริง แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องไม่ดีเสมอไป ไม่มีอะไรที่ผ่านฉลุยไปได้ตลอด แทนที่จะมองว่าความล้มเหลวคือการเดินถอยหลัง ให้นิยามความล้มเหลวอีกครั้งว่าเป็น "ประสบการณ์" เป็นคำแนะนำที่บอกคุณว่ายังมีตรงไหนที่คุณต้องปรับปรุง อย่ากลัวที่จะลองใหม่ และในครั้งนี้ก็ให้เน้นไปที่ส่วนที่คุณต้องปรับปรุง [11]
    • เช่น ลองนึกถึงเวลาที่คุณล้มเหลวแม้จะเป็นเรื่องง่ายๆ และสิ่งที่คุณทำเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ อย่างการเรียนทักษะกีฬาพื้นฐานอย่างการขี่จักรยานหรือชู้ตบาส ถ้าครั้งแรกทำไม่ได้ คุณก็จะปรับเปลี่ยนและลองอีกครั้ง
  3. จำไว้ว่าคุณเคยประสบความสำเร็จมาก่อน นึกถึงประสบการณ์ในอดีตที่คุณเคยทำตามเป้าหมายได้ ไม่ว่ามันจะเล็กแค่ไหนก็ตาม ใช้ประสบการณ์นั้นเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเองว่า ถ้าคุณทำสิ่งนั้นได้ ต่อไปคุณจะทำอะไรได้มากกว่านี้อีก ความสำเร็จบางอย่างอาจผลักดันให้คุณมาอยู่ในจุดที่จะเอาชนะความกลัวในปัจจุบันก็ได้ [12]
    • ชีวิตของคุณเต็มไปด้วยความสำเร็จทั้งเรื่องใหญ่ๆ และเรื่องเล็กๆ มันอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ๆ อย่างทำโปรเจ็กต์ที่ทำงานเสร็จหรือลดน้ำหนักตามแผนการลดน้ำหนักครั้งใหม่ หรือบางทีมันอาจจะเป็นเรื่องทั่วไปอย่างการนึกถึงช่วงเวลาที่คุณเป็นเพื่อนที่ดีหรือดีกับคนอื่น
    • การพูดกับตัวเองเหมือนพูดกับเพื่อนเวลาที่เพื่อนตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันก็ช่วยได้ ถ้าพวกเขาอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับคุณ คุณก็จะสนับสนุนและเห็นใจเพื่อน อย่าผูกมัดตัวเองไว้กับมาตรฐานที่สูงส่งโดยไม่จำเป็น [13] [14]
  4. ถ้าคุณไม่ได้แค่มองหาความสำเร็จ แต่มองหาความสมบูรณ์แบบด้วย เป็นไปได้ว่าคุณจะไปไม่ถึงเป้าหมายเลยด้วยซ้ำ เพราะการตั้งเป้าแบบนี้จะทำให้คุณกลัวความล้มเหลวและทำพลาด ตั้งเป้าหมายและคาดหวังตามความเป็นจริง แล้วในไม่ช้าคุณจะพบว่าการไปไม่ถึงเป้าหมายที่ "สมบูรณ์แบบ" นั้นไม่ได้นำความผิดหวังและการไม่ยอมรับมาให้อย่างที่คุณคิด [15] [16]
    • เช่นเดียวกับความสงสัย คุณต้องตระหนักและรับรู้ว่าคุณกำลังแสวงหาความสมบูรณ์แบบ ถ้าคุณมัวแต่ผัดวันประกันพรุ่ง ยอมแพ้ง่ายๆ เพียงเพราะว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไปได้ไม่ดีตั้งแต่แรกหรือโอดครวญกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เป็นไปได้ว่าคุณเป็นพวกแสวงหาความสมบูรณ์แบบ
    • คิดว่าคนอื่นจะมองสถานการณ์ของเราอย่างไร คุณจะคาดหวังให้พวกเขาอุทิศตัวหรือทำให้สำเร็จในระดับเดียวกันไหม บางทีคุณอาจจะเลือกมองสิ่งที่คุณกำลังทำในมุมมองอื่นก็ได้
    • คิดถึงภาพรวม วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้คุณไม่มัวจมจ่อมอยู่กับรายละเอียด ถามตัวเองว่าผลลัพธ์ที่แย่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้คืออะไร คุณจะผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ไหม ในอีก 1 วัน 1 สัปดาห์ หรือ 1 ปีต่อจากนี้มันจะยังสำคัญอยู่ไหม
    • ตัดสินใจว่าความไม่สมบูรณ์แบบระดับไหนที่คุณรับได้ อะลุ้มอล่วยกับตัวเองว่าจริงๆ แล้วมีอะไรบ้างที่ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ การเขียนรายการออกมาว่า สิ่งที่คุณต้องแลกกับประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการตั้งมาตรฐานความสมบูรณ์แบบนั้นมีอะไรบ้างก็อาจช่วยคุณได้
    • เผชิญหน้ากับความกลัวไม่สมบูรณ์แบบ พาตัวเองไปสู่ความไม่สมบูรณ์แบบด้วยการตั้งใจทำผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เช่น ส่งอีเมลโดยไม่ตรวจว่าสะกดถูกไหม หรือตั้งใจปล่อยให้มุมใดมุมหนึ่งของบ้านที่มองเห็นได้รกรุงรัง การพาตัวเองเข้าไปอยู่ในความล้มเหลวแบบนี้ (ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ความล้มเหลว) จะทำให้คุณสบายใจที่จะอยู่กับความไม่สมบูรณ์แบบ
  5. ความสงสัยบางครั้งก็เกิดขึ้นเพราะเราไม่อาจแน่ใจได้ว่า จะเกิดอะไรบ้างในอนาคต ในเมื่อไม่มีใครมองเห็นอนาคต มันย่อมมีความไม่แน่นอนว่าสิ่งต่างๆ จะเป็นอย่างไร การไม่สามารถทนอยู่กับความไม่แน่นอนทำให้บางคนไม่ไปไหน และทำให้พวกเขาไม่สามารถลงมือทำสิ่งดีๆ ในชีวิตได้ [17]
    • เขียนรายการพฤติกรรมเวลาที่คุณสงสัยหรือเผชิญหน้ากับงานบางอย่าง ถ้าคุณรอการรับรอง (ไม่ใช่ขอคำแนะนำ) จากคนอื่นอยู่เสมอ ผัดวันประกันพรุ่ง หรือตรวจงาน 2 – 3 ครั้งเป็นประจำ ให้สังเกตว่างานอะไรที่ทำให้เกิดพฤติกรรมแบบนั้น ถามตัวเองว่าคุณรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันออกมาไม่ได้ดีเท่าที่คุณหวัง คุณอาจจะพบว่าสิ่งที่แย่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้นสุดท้ายก็ไม่ได้เกิดขึ้น และสิ่งที่ผิดพลาดไปก็เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ง่าย
  6. แทนที่จะมองว่างานที่ทำมันใหญ่แค่ไหน ให้มองงานออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ ฉลองกับความก้าวหน้าแทนที่จะกังวลว่ามีอะไรยังไม่เสร็จบ้าง [18]
    • อย่ากลัวที่จะตั้งเวลาที่จะต้องทำงานให้เสร็จ วิธีนี้ทำให้คุณรู้ว่างานไหนสำคัญที่สุดและงานไหนที่ต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษ ในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้คุณใช้เวลากับงานใดงานหนึ่งมากจนเกินไป คุณต้องยึดเวลาตามที่ตั้งไว้ ทำงานตามช่วงเวลาที่แบ่งเอาไว้ [19]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเพิกเฉยต่อสิ่งที่ผิดพลาดบางครั้งก็ช่วยได้เหมือนกัน แต่อย่าเพิกเฉยในสิ่งที่คุณสามารถลงมือแก้ไขเพื่อให้เกิดสิ่งดีๆ ได้ เช่น จ่ายหนี้หรือฟื้นฟูความสัมพันธ์


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,995 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา