ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการสติแตก (หรือ ช่วงเวลาที่มีความเจ็บป่วยทางจิต) คือสภาวะอาการทางจิตที่มีความรุนแรงชั่วคราวเมื่อต้องรับมือกับความเครียดและทำให้มีการทำงานปกติลดถอยลง อาการสติแตกสามารถก่ออาการที่เหมือนกับโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า [1] เราจำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าคำว่าอาการสติแตกนั้นไม่ใช่ศัพท์ทางการแพทย์หรือทางจิตวิทยา และไม่ได้บ่งชี้ถึงความผิดปกติใดๆ โดยเฉพาะ [2] การจัดการความเครียดและการแลตนเองเป็นสองกุญแจสำคัญในการคลายความเครียดและป้องกันการเกิดปฏิกิริยารุนแรงต่อความเครียดนั้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาสุขภาพจิตให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จดจำสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมในชีวิตของคุณ. พยายามแยกแยะสิ่งที่สามารถควบคุมได้กับที่เหนือการควบคุมออกมา การรู้สึกราวกับว่าคุณไม่สามารถบงการชีวิตได้นั้นเป็นความเครียด ฉะนั้นพยายามเรียนรู้ว่าอะไรที่คุณไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงมันได้ และหันมาเน้นในสิ่งที่คุณเปลี่ยนได้แทน การทำเช่นนี้จะทำให้คุณรู้สึกควบคุมทุกอย่างได้ และจะรับมือกับความเครียดได้ง่ายขึ้น [3]
    • ลองตั้งคำถามกับตัวเองสักสองสามข้อ: สถานการณ์นี้มันหลีกเลี่ยงได้ไหม มีด้านไหนของสถานการณ์นี้ที่ฉันสามารถควบคุมได้บ้าง แล้วมีด้านไหนที่ฉันจำต้องยอมรับมันเพราะไม่สามารถควบคุมมันได้ แผนที่ฉันจะเข้าไปควบคุมสถานการณ์ด้านที่ฉันจะทำได้มีวิธีไหนบ้าง
    • พยายามมองภาพรวมแล้วถามตนเองว่าเรื่องนี้มันจะยังสำคัญอีกไหมเมื่อผ่านไปสักปีหรือห้าปี แล้วเรื่องนี้มันจะมีผลต่อเรื่องอื่นๆ ในชีวิตไหม การควบคุมสถานการณ์ของเรื่องนี้นั้นมันสำคัญแค่ไหน
  2. ให้ความสนใจกับอารมณ์ ความกังวลใจ และปฏิกิริยาของคุณแล้วแชร์มันกับคนอื่นๆ. จับตาดูว่าคุณมีปฏิกิริยาอย่างไรและคุณแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาแบบใด อารมณ์ความรู้สึกของคุณนั้นต้องการช่องทางการระบายออกมาอย่างปลอดภัย เราทุกคนล้วนมีช่วงเวลาที่อารมณ์พลุ่งพล่านทั้งนั้น โดยเฉพาะเมื่อต้องเจอเรื่องเครียด แต่มันจำเป็นที่ต้องตระหนักได้ว่าการเพิกเฉยอารมณ์เหล่านี้ต่างหากจะยิ่งเพิ่มความเครียดไปใหญ่
    • ลองเขียนบันทึกว่าความเครียดนั้นส่งผลกับอารมณ์ของคุณอย่างไรบ้าง การเขียนบันทึกมีประโยชน์หลายด้านรวมไปถึงการทำให้อยากมีสภาพจิตที่ดี พัฒนาความนับถือตนเอง และลดความเครียด [4] เขียนในสิ่งที่คุณได้แสดงอารมณ์ออกมาตลอดทั้งวันและใช้บันทึกนี้เป็นเสมือนการระบายความเครียดทางอารมณ์ด้วย
    • พูดคุยกับใครที่คุณเชื่อใจที่จะรับฟังและพร้อมให้กำลังใจ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะมันช่วยทำให้คุณรู้สึกว่าเป็นที่รักซึ่งช่วยคลายเครียดได้ [5]
  3. การยึดติดอยู่กับความสมบูรณ์แบบอาจทำให้สติแตกได้ คุณโหดกับตัวเองหรือผลักดันตัวเองเกินกว่าที่จะจัดการไหวหรือเปล่า คนบางคนนั้นเข้มงวดกับตนเองเพราะเขารู้สึกว่าทุกอย่างของตนต้องสมบูรณ์แบบไปหมด
    • พยายามฝึกการมีเมตตาต่อตนเองและยอมให้ตัวเองรู้สึกพอหรือได้ทำทุกอย่างพอแล้วในหนึ่งวัน ถึงแม้คุณอาจไม่ได้ทำหมดทุกอย่างตามแผนเรื่องที่ต้องทำ [6]
    • จดจำไว้ว่าไม่ว่าคุณจะทำอะไรหรือทำอย่างไร มันยังมีทางทำให้ดีขึ้นได้เสมอ
  4. ด้วยความใส่ใจมากจนเกินไปทำให้เรามีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นไม่พอใจโดยการไม่ยอมบอกว่า "ไม่" ซึ่งอาจผลักดันเราให้เข้าใกล้อาการสติแตกได้ การพูดว่า ‘ได้’ โดยไม่ตระหนักถึงข้อจำกัดของตนเองหรือปราศจากการกำหนดขอบเขตสามารถก่อหายนะในชีวิตได้ มันยังสามารถทำลายผลิตผลของเราโดยการทำให้เรายากจะเพ่งสมาธิในกิจกรรม การงาน หรือความรับผิดชอบเบื้องต้นได้ การเรียนรู้ที่จะพูดว่า "ไม่" เป็นบันไดขั้นแรกสู่การป้องกันเรื่องร้ายจากตนเอง การทำงานและสติสัมปชัญญะของคุณ
    • จำไว้ว่าการพูดว่าไม่ ไม่ได้หมายถึงการเห็นแก่ตัว มันแค่หมายความว่าคุณใส่ใจในสภาวะของตนเองเพียงพอในการรักษาให้มันอยู่ในสภาพแข็งแรง การพูดว่าไม่ยังหมายถึงคุณใส่ใจในผู้อื่นและต้องการความมั่นใจว่าคุณจะมีพลังกับสภาพจิตที่ดีพอสำหรับทำภาระอื่นๆ [7]
    • ตอบไปง่ายๆ ตรงๆ คุณไม่จำเป็นต้องหาข้ออ้างมาแก้ตัว บอกไปง่ายๆ แค่ “ไม่ล่ะ – ขอโทษด้วยนะ แต่ฉันมีเรื่องต้องทำมากทั้งสัปดาห์เลย คงต้องเอาไว้คราวหน้าละกัน” ก็ใช้ได้แล้ว [8]
  5. ทำงานอดิเรกที่เคยชอบหรือหาที่ถูกใจใหม่ งานอดิเรกเป็นได้ทั้งการวาดภาพ การทำสวน อาสาสมัคร ดนตรี เต้นรำ งานอดิเรกจะทำให้คุณหายเครียดจากชีวิตประจำวัน และเบนความสนใจของคุณออกจากกิจกรรมหรืองานที่ก่อความเครียด แม้จะแค่ช่วงสั้นๆ ก็ตาม ช่วงเวลาสั้นๆ นี่แหละที่จะเกื้อหนุนแรงใจให้คุณ
    • การทำงานอดิเรกหรือมีกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจช่วยลดความเครียดได้โดยให้คุณได้พักจากความเครียดในชีวิตประจำวัน เป็นหนทางสู่การผ่อนคลาย และทำหน้าที่เป็นตัวกันชนหรือเครื่องมือปกป้องจากผลกระทบของความเครียด [9]
  6. ดูรายการหรือหนังตลกเรื่องที่ชอบ ไปดูคอนเสิร์ต การหัวเราะจะยิ่งดีขึ้นไปใหญ่เมื่อได้อยู่ท่ามกลางคนที่เรารัก
  7. ให้แน่ใจว่าคุณได้นับสิ่งดีๆ ที่คุณมี ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่แสนวิเศษ เพื่อนฝูงที่คอยให้การสนับสนุน งานที่คุณรัก ความแตกต่างที่คุณได้ทำให้ชีวิตผู้อื่น เป็นต้น จากการวิจัยพบว่าความรู้สึกขอบคุณนั้นจะช่วยเพิ่มความนับถือตนเอง ลดความเครียดโดยการเพิ่มความยืดหยุ่นของจิตใจ และช่วยให้เกิดความสุข [13] เตือนตนเองอยู่เสมอว่าคุณสำนึกขอบคุณอะไรบ้างจะคลายเครียดและป้องกันการก่อตัวเพิ่มของมันได้อีกด้วย
    • พยายามเขียนบันทึกขอบคุณเพื่อเตือนตัวเองถึงสิ่งที่คุณสำนึกขอบคุณในทุกๆ วัน
  8. การฝึกจิตเช่น การทำสมาธิ สามารถคลายความเครียดออกไปจากตัว มันยังช่วยเพิ่มพูนความมั่นใจในตนเองและความรู้สึกว่าตนเองมีค่า [14] การทำสมาธินั้นทำให้สมองได้พักจากการต้องประมวลความคิดมาทั้งวัน ซึ่งจะลดความเครียด พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และช่วยคุณปรับโฟกัสใหม่ได้ [15]
    • ลองเข้าร่วมคลาสกลุ่มที่สอนพื้นฐานการทำสมาธิ หรือหาข้อมูลฟรีออนไลน์เช่น บันทึกเสียงคำสอนการนั่งสมาธิแบบมีอาจารย์นำสอน นอกจากนี้ยังมีแอพทำสมาธิที่แนะนำการทำสมาธิตามคำสอนโดยมีหัวข้อจำเพาะและระยะเวลาที่จะทำให้เลือก
  9. มองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต. หาโอกาสนัดนักจิตวิทยา นักจิตเวช หรือนักบำบัด มืออาชีพเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนมาเพื่อช่วยคนที่รู้สึกว่าใกล้จะสติแตกอยู่แล้ว พวกเขาจะช่วยให้คุณรู้สึกดีก่อนจะหลุดไปกับอารมณ์ [16]
    • การบำบัดรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าความคิดและพฤติกรรมบำบัด (cognitive behavioral therapy) สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยหยุดรูปแบบการคิดในแง่ลบและช่วยให้คุณรู้สึกควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น [17]
    • ในบางกรณี การใช้ยาอาจช่วยได้ ให้ปรึกษานักจิตเวชว่าการใช้ยาคลายประสาทหรือยาแก้โรคซึมเศร้าเหมาะที่จะใช้กับคุณหรือไม่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาสุขภาพกายให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ออกกำลังกายเพื่อช่วยร่างกายสร้างสารเอ็นดอร์ฟินส์คลายเครียด. เวลาที่ใครใกล้จะสติแตก จำนวนเซลล์ในสมองส่วนที่เรียกว่าฮิปโปแคมปัส (hippocampus) จะลดจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกาย จำนวนเซลล์ในฮิปโปแคมปัสจะเพิ่มขึ้น ยิ่งกว่านั้น ระดับของเอ็นดอร์ฟินส์ (ฮอร์โมนที่ทำให้อารมณ์ดี) ก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน [18]
    • การออกกำลังกายสร้างเอ็นดอร์ฟินส์และจำกัดการหลั่งฮอร์โมนเครียดเช่นคอร์ติซอลกับอะดรีนาลินซึ่งมักมีส่วนกับอาการสติแตก
    • เวลาที่คุณทำกิจกรรมทางร่างกาย ความมุ่งคิดมักจะเบี่ยงออกจากงานหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในตัว ซึ่งจะทำให้จิตใจมีเวลาได้ฟื้นตัวจากความเครียด
  2. เวลาที่คุณอยู่ในสภาพเครียดมากๆ คุณอาจประสบปัญหาด้านการนอน เช่นนอนไม่หลับ การนอนไม่เต็มอิ่มจะยิ่งทำให้อาการเครียดหนักขึ้นและอาจทำให้สติแตกได้ [19]
    • พยายามนอนยาวให้ได้อย่างน้อย 7 ชั่วโมงทุกคืน เวลาการนอนนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน คุณจึงอาจต้องนอนมากหรือน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับระดับการทำกิจกรรม อายุ และปัจจัยอื่นๆ
  3. เข้าตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ขาดสารอาหารชนิดใด. บางคราวความเครียดนั้นอาจกำเริบจากสภาวะทางการแพทย์ เช่น การขาดวิตามิน การขาดวิตามินพื้นฐานเช่น วิตามินดี, บี 6, และบี12 การได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอสมารถทำให้เครียดขึ้นและนำไปสู่การเกิดสติแตก [20] [21] [22]
    • หากคุณไม่ได้นัดพบแพทย์มาสักระยะแล้ว ให้ทำการนัดตรวจร่างกายประจำปีเพื่อความแน่ใจว่าคุณมีสุขภาพดีและได้รับสารอาหารตามที่ต้องการเพื่อคงความแข็งแรงนั้นครบถ้วน
  4. กรดอะมิโนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมอาการที่เกิดจากความเครียดและความซึมเศร้า ดังนั้นจึงป้องกันการพัฒนาไปสู่การเกิดสติแตกได้ กรดอะมิโนมีส่วนสร้างสารสื่อประสาทในสมอง มันจึงจำเป็นต่อสุขภาพจิต โครงสร้างพื้นฐานของโปรตีนประกอบขึ้นจากกรดอะมิโน [23]
    • ถ้าอยากได้รับประโยชน์จากกรดอะมิโน ให้ทำตามแผนควบคุมอาหารที่เน้นโปรตีน เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ เนื้อสัตว์ปีก เนื้อวัว ถั่วลันเตา ถั่วฝัก ถั่วเมล็ด และธัญพืช
    • โดพามีน (Dopamine) เป็นสารประกอบที่เกิดจากกรดอะมิโนที่ชื่อไทโรซีน (tyrosine) ส่วนเซราโทนิน (serotonin) เป็นสารประกอบที่เกิดจากทริปโทฟาน (tryptophan) การมีสารสื่อประสาทไม่เพียงพอในสมองทำให้เกิดอารมณ์ร้ายและอารมณ์เหวี่ยงไปมา มันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นถ้าหากสารสื่อประสาทนั้นคือโดพามีนกับเซราโทนิน
  5. เฝ้าระวังปริมาณการบริโภคน้ำตาลกับอาหารแปรรูป. การบริโภคน้ำตาลมากจะทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายซึ่งกระทบต่อการทำงานเป็นปกติของสมอง อาหารแปรรูปเช่น ลูกอม คุกกี้ น้ำอัดลม และอื่นๆ มักจะมีน้ำตาลผสมอยู่มากที่สุด ให้หลีกห่างจากอาหารประเภทนี้เท่าที่จะทำได้เพื่อลดการอักเสบ [24]
    • การบริโภคน้ำตาลกับคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกายมากสามารถทำให้เกิดการหลั่งอินซูลินออกมามากเกินไป ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนี้จะส่งผลให้สมองหลั่งกลูตาเมทในสมองในระดับที่น่าตกใจและอาจทำให้เกิดอาการที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าสติแตกเช่น กระสับกระส่าย ซึมเศร้า ตื่นตระหนก ได้
  6. คาร์โบไฮเดรตทั้งสองรูปแบบล้วนเพิ่มระดับของเซราโทนิน (ฮอร์โมนที่ช่วยให้สมองสงบลงและอารมณ์ดีขึ้น) แต่กับคาร์บเชิงซ้อน (ขนมปังโฮลเกรน ซีเรียล) นั้น กระบวนการจะค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่องเพราะพวกมันจะถูกย่อยช้าๆ ส่วนคาร์บเชิงเดี่ยว (ลูกอม น้ำอัดลม) นั้นมีน้ำตาลสูงและย่อยง่าย ส่งผลให้มีเซราโทนินสูงในระยะแรกและดิ่งหายตามมา [25]
    • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดอาหารเช่น อาหารแปรรูปและอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาลกับกลูเตน พวกมันเป็นอันตรายต่อร่างกายที่เครียดอยู่แล้ว และอาจเร่งสู่การสติแตกได้
  7. การขาดกรดโฟลิกอาจมีส่วนต่อการตอบสนองความเครียด แต่พึงรับทราบก่อนว่ามีแต่แพทย์เท่านั้นที่จะวินิจฉัยการขาดกรดโฟลิกได้ และการทานอาหารเสริมใดๆ ควรอยู่ในการแนะนำของแพทย์ การขาดกรดโฟลิกอาจนำไปสู่ปัญหาทางประสาทวิทยา เช่น โรคซึมเศร้า การมีปริมาณกรดโฟลิกในร่างกายเพียงพอยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยากล่อมประสาท [26]
    • หากต้องการได้รับกรดโฟลิกจากอาหารเพิ่มขึ้น ให้ทานผักโขมกับผลไม้ตระกูลซิตรัส เช่น ส้ม
  8. อาหารที่มีวิตามินบีจะช่วยเป็นเกราะกำลังคุณจากอาการซึมเศร้าและสติแตก วิตามินบีรวมและโดยเฉพาะวิตามิน บี1, บี2 และบี6 แสดงผลว่าทำให้อามณ์ดีขึ้น อาหารที่อุดมด้วยวิตามินบีได้แก่: [27]
    • ผักใบเขียวเข้ม
    • เนื้อแดง
    • โฮลเกรน จมูกข้าว
    • ถั่วลันเตา
    • ถั่วเปลือกแข็ง เช่น พีแคนกับอัลมอนด์
    • นม โยเกิร์ต ชีส
    • เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่
    • ถั่ว ถั่วลิสง
    • อาหารทะเล
    • กล้วย
    • มันฝรั่ง
  9. มีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นว่าระดับของซิงค์หรือสังกะสีนั้นจะต่ำในคนที่แสดงอาการเครียด ซึมเศร้า หรือคนที่ใกล้สติแตก การได้รับซิงค์อย่างเพียงพอไม่ว่าจะทางอาหารหรืออาหารเสริมเป็นเม็ด ล้วนเพิ่มประสิทธิภาพของยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการซึมเศร้าหรือปัญหาทางจิตอื่นๆ อาหารที่อุดมด้วยซิงค์ได้แก่: [28]
    • อาหารทะเล
    • ถั่วเปลือกแข็ง
    • จมูกข้าว
    • เมล็ดฟักทอง
    • ผักโขม
    • เห็ด
    • ถั่วเป็นฝัก
    • เนื้อ
  10. ทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ไอโอดีน กับโครเมียม. ไอโอดีน เหล็กกับโครเมียมนั้นมีบทบาทสำคัญในการป้องกันอาการสติแตก การขาดแร่ธาตุจำเป็นเหล่านี้ส่งผลให้เกิดเหนื่อยล้า ซึมเศร้า และอารมณ์เหวี่ยงไปมา [29] [30] [31]
    • อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก: เนื้อแดง ผักใบเขียวเข้ม ไข่แดง ผลไม้แห้ง (ลูกเกด พรุน) เนื้อเป็ดไก่ ถั่วเป็นฝัก ถั่ว แอนติโชค
    • อาหารที่อุดมไอโอดีน: นมวัว โยเกิร์ต สตรอเบอร์รี่ สาหร่ายทะเล ไข่ นมถั่วเหลือง ปลาน้ำเค็ม และชีส
    • อาหารที่อุดมโครเมียม: โฮลเกรน เนื้อวัว ข้าวกล้อง อาหารทะเล บร็อคโคลี เห็ด ถั่วเป็นฝัก ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ชีส น้ำนม เนื้อเป็ดไก่ ข้าวโพด มันฝรั่ง ปลา มะเขือเทศ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต สมุนไพร
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฝึกการผ่อนคลายแบบหายใจลึก การหายใจลึกช่วยขยายกะบังลมและกระตุ้นอาการตอบสนองของร่างกายที่สงบลง ส่วนหนึ่งของการตอบสนองดังว่าก็คือระดับความดันโลหิตกับระดับคอร์ติซอลจะลดลง [32]
  2. การฝึกมีสติรู้ตัวเป็นเทคนิคของการอยู่กับปัจจุบันขณะและเบี่ยงเบนความสนใจไปจากความเศร้าเสียใจในอดีตกับความหวั่นกลัวในอนาคต การมีสติสามารถประยุกต์เข้ากับทุกด้านของชีวิตประจำวัน คุณสามารถฝึกการมีสติได้ในระหว่างออกกำลังกาย ทานอาหาร ทำงาน สนทนา หรืออ่านหนังสือ การวิจัยเรื่องการมีสตินั้นได้แสดงให้เห็นว่าการฝึกเช่นนี้ลดความเครียดลงได้โดยลดการครุ่นคิดลง [34] การมีสติยังช่วยพัฒนาความจำ การมีสมาธิ และความพึงพอใจในความสัมพันธ์ [35]
    • การฝึกการมีสตินั้น ให้เพ่งไปที่อายตนะของตนและปล่อยให้ความกังวลหรือความคิดในภาระต่างๆ ล่องลอยออกไปจากประสาทการรับรู้ อย่าดึงดันติดในความคิดใด พยายามสังเกตมันและปล่อยมันผ่านไป
  3. การฝึกโยคะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในร่างกายและกระตุ้นร่างกายให้เกิดปฏิกิริยาผ่อนคลายตามธรรมชาติได้ [36] โยคะกระตุ้นภาวะการผ่อนคลายเชิงชีวเคมีในร่างกายซึ่งหมายถึงการมีออกซิเจนอย่างมากมายในร่างกาย และระดับการเต้นของหัวใจกับระดับความดันโลหิตก็อยู่ในระดับปกติ [37] นอกเหนือจากประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว โยคะยังช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายด้วย [38] เทคนิคการฝึกหายใจแบบโยคะนั้นยังส่งผลอย่างชัดเจนต่อทั้งการมีสุขภาพกายกับสุขภาพจิตดี พวกมันช่วยล้างระบบเพื่อฟื้นฟูความสมดุลในความคิดและอารมณ์ของเรา [39]
    • ลองเข้าคลาสโยคะสำหรับผู้เริ่มต้นตามสถานสอนโยคะใกล้บ้าน หรือหาซื้อดีวีดีเพื่อฝึกโยคะเองที่บ้าน
  4. น้ำมันสกัดหอมระเหยมีประโยชน์ในการปรับอารมณ์ซึ่งช่วยลดความเครียดได้ [40] สำหรับเพื่อผ่อนคลายแล้ว ให้สูดกลิ่นของลาเวนเดอร์ วาเลอเรียน ซิตรัส เจอเรเนียม กานพลู การบูร และพอปลาร์ เพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับที่เชื่อมโยงกับอาการสติแตก
    • น้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มินต์สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะที่เกิดจากความเครียด และมันยังช่วยอาการคลื่นเหียนอาเจียนที่เชื่อมโยงกับความเครียดด้วย [41] ผสมน้ำมันเปปเปอร์มินต์สักสองสามหยดกับน้ำมันตัวนำเช่น น้ำมันอัลมอนด์ แล้วถูเข้าที่ขมับกับหน้าผาก สูดหายใจลึกๆ ในขณะถูน้ำมันจะช่วยให้คุณผ่อนคลาย
    • จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ น้ำมันหอมระเหยอย่างน้ำมันลาเวนเดอร์และน้ำมันเลม่อนได้แสดงให้เห็นว่าสามารถทำให้อารมณ์ดีขึ้น [42]
    โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณคิดว่ากำลังใกล้สติแตก ให้คุยกับคนที่สามารถช่วยเหลือคุณได้ เช่น พ่อแม่ คุณครู ผู้ให้คำปรึกษา หรือแพทย์
โฆษณา
  1. http://www.helpguide.org/articles/emotional-health/laughter-is-the-best-medicine.htm
  2. http://www.helpguide.org/articles/emotional-health/laughter-is-the-best-medicine.htm
  3. http://www.helpguide.org/articles/emotional-health/laughter-is-the-best-medicine.htm
  4. https://www.psychologytoday.com/blog/what-mentally-strong-people-dont-do/201504/7-scientifically-proven-benefits-gratitude
  5. http://transformationalchange.pbworks.com/f/School-based%20Meditation%20Practices%20for%20Adolescents.pdf
  6. http://www.scientificamerican.com/article/mental-downtime/
  7. http://psychcentral.com/blog/archives/2009/10/19/what-is-a-nervous-breakdown/
  8. http://www.nhs.uk/conditions/Cognitive-behavioural-therapy/Pages/How-does-it-work.aspx
  9. http://www.health.harvard.edu/press_releases/benefits-of-exercisereduces-stress-anxiety-and-helps-fight-depression
  10. http://www.nhlbi.nih.gov/files/docs/public/sleep/healthy_sleep.pdf
  11. http://bodyecology.com/articles/vitamin-d-deficiency-are-stress-and-high-cortisol-depleting-you
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/expert-answers/vitamin-b12-and-depression/faq-20058077
  13. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/expert-answers/vitamin-b12-and-depression/faq-20058077
  14. http://www.cnn.com/2013/11/26/health/upwave-food-mood/
  15. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/nutrition-and-healthy-eating/expert-blog/food-and-mood/bgp-20056183
  16. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/nutrition-and-healthy-eating/expert-blog/food-and-mood/bgp-20056183
  17. http://www.prevention.com/mind-body/natural-remedies/multivitamins-enhance-mood-reduce-stress
  18. http://www.prevention.com/mind-body/natural-remedies/multivitamins-enhance-mood-reduce-stress
  19. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21056285
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18543064
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11106971
  22. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Chromium-HealthProfessional/
  23. http://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/relaxation-techniques-breath-control-helps-quell-errant-stress-response
  24. http://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/relaxation-techniques-breath-control-helps-quell-errant-stress-response
  25. http://www.apa.org/monitor/2012/07-08/ce-corner.aspx
  26. http://www.apa.org/monitor/2012/07-08/ce-corner.aspx
  27. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22502620
  28. https://www.yogaalliance.org/LearnAboutYoga/AboutYoga/Benefitsofyoga
  29. http://life.gaiam.com/article/yoga-detox
  30. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/yoga/art-20044733
  31. http://www.bashaar.org.il/files/%D7%91%D7%99%D7%95%D7%97%D7%A7%D7%A8%20-%20%D7%94%D7%A0%D7%9E%D7%9C%D7%94%202.pdf
  32. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/705.html
  33. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2278291/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,382 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา