ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเปลี่ยนแปลงในชีวิตสามารถทำให้คุณเคว้งคว้างและรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะทำอะไรต่อไปดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาวะทางการเงิน การรับมือกับข่าวความตาย หรือพยายามรักษาแผลใจจากการเลิกรา มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบอกได้ว่าก้าวต่อไปของคุณควรเป็นอย่างไร แต่กระนั้น ยังมีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเครียดแม้เมื่อในเวลาที่ชีวิตเดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ปรับสภาพจิตใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจอยากที่จะเพิกเฉยความรู้สึกเจ็บปวดที่เหตุการณ์นั้นนำมาให้ หรืออยากจะแสร้งทำเป็นว่าคุณไม่รู้สึกอะไร พึงตระหนักว่าการผลักความรู้สึกนั้นออกไปเท่ากับคุณได้สร้างอารมณ์ในด้านลบขึ้นมาเพิ่ม ทางที่ดีควรยอมรับในอารมณ์นั้นและหาทางรับมือมัน อย่าพยายามหาเหตุผลในสิ่งที่คุณรู้สึก วิธีเดียวที่จะก้าวข้ามอารมณ์ของคุณเองก็คือรู้สึกถึงอารมณ์นั้น
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเพิ่งตกงาน ก็ไม่เป็นไรหรอกที่จะยอมรับว่าคุณรู้สึกโกรธ เสียใจ หวั่นกลัว และคิดแค้น
    • หาเวลาสัก 15 นาทีในแต่ละวันมารู้สึกตามอารมณ์ความรู้สึกของคุณ อย่าให้จิตใจเข้ามารบกวน แค่นั่งแล้วรู้สึกตามแต่ที่ตนเองรู้สึก [1]
    • คุณสามารถจดบันทึกความคิดกับความรู้สึกของตนเองได้
    • อย่ากลัวที่จะร้องไห้ การร้องไห้ปลดปล่อยสารเคมีด้านลบออกไปจากตัว และยังช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และช่วยให้รับมือกับสถานการณ์ที่เจ็บปวดได้ [2]
  2. พยายามมองสถานการณ์ว่าเป็นโอกาสที่จะเติบโตและพัฒนาตนเอง [3] เช่น ลองเตือนตนเองว่าคุณนั้นแข็งแกร่งและฟื้นกลับมาได้ดีแค่ไหนในระหว่างช่วงเวลาอันยากลำบาก เวลามองอะไรจากแง่มุมแบบนี้ มันจะช่วยเสริมสร้างแรงใจได้มาก
    • หากคุณสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่อยากจะเข้าไม่ติด โลกไม่ได้สิ้นสุดเลยเสียหน่อยและคุณยังไม่ได้สูญเสียโอกาสการได้งานเสียด้วยซ้ำ จำไว้ว่าคุณมีทางเลือก และสิ่งดีๆ ยังมีสิทธิจะเกิดขึ้นจากสถานการณ์แบบนี้
    • พยายามมองความกังวลของตนในภาพรวมด้วยเหตุผล ลองถามตัวเอง “ไอ้ที่เราห่วงอยู่นี่เอาเข้าจริงมันแย่มากเลยเหรอเมื่อเทียบกับชีวิตทั้งชีวิต” ถ้าคุณห่วงกับเรื่องในอนาคต ถามตัวเองว่า “มันมีสิทธิจะเกิดขึ้นจริงสักแค่ไหนเชียว”
    • ถ้าคุณพบว่าตัวเองนั้นเป็นกังวลไม่รู้จักหยุดจักหย่อน ลองเลือกมี “ช่วงให้กังวล” ในตอนเช้าของแต่ละวัน หาเวลาพักสัก 15 นาทีล่วงหน้าที่คุณสามารถกังวลกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ไปเลย หากความคิดถึงปัญหาเหล่านี้พยายามจะแทรกซึมรบกวนในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ “ช่วงให้กังวล” ที่กำหนดเอาไว้ ก็เตือนตัวเองว่ามันยังไม่ถึงเวลา “ให้กังวล” สักหน่อย
  3. โดยมากชีวิตมักจะมีหนึ่งทางเลือกมาให้ในเวลาที่คุณต้องการทางเลือกเป็นแบบอื่นโดยสิ้นเชิง ยิ่งสิ่งที่คุณมีกับสิ่งที่คุณต้องการจะมีห่างกันไกลแค่ไหน คุณก็จะยิ่งรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นเท่านั้น [4] ตระหนักให้ได้ว่าความเป็นจริงอย่างที่คุณปรารถนานั้นมันไม่ได้เป็นจริง และตอนนี้คุณจะต้องอยู่กับความเป็นจริงที่แตกต่างออกไป
    • แทนที่จะมานั่งเสียใจกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ จงเรียนรู้ว่าคุณจะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น หากคุณขาดแหล่งสนับสนุนทางการเงิน อย่าใช้จ่ายเงินเหมือนที่เคยเป็น ให้ตระหนักว่านิสัยการใช้เงินมือเติบของคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
  4. คุณไม่สามารถควบคุมบงการหลายสิ่งในชีวิต ตั้งแต่สภาพการจราจรไปจนถึงเจ้านายจู้จี้ในที่ทำงาน แทนที่จะรู้สึกเจ็บใจและหงุดหงิดกับสถานการณ์เหล่านี้ ให้หายใจลึกๆ และฝึกการยอมรับในสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม ถึงแม้คุณจะควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ แต่คุณสามารถควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองของตนเองได้
    • คุณสามารถฝึกการยอมรับผ่านทางการทำสมาธิ เขียนรายชื่อของสิ่งต่างๆ ที่อยู่เหนือการควบคุมของคุณ จากนั้นหลับตาลงและค่อยๆ ผ่อนลมหายใจช้าๆ จนกระทั่งตัวคุณเข้าสู่สมาธิ ลองนึกภาพตัวคุณกำลังยื่นรายชื่อสิ่งเหล่านั้นทูลให้แก่อำนาจที่เหนือกว่าและปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกไป [5]
  5. แม้แต่ในช่วงที่สถานการณ์กำลังเลวร้ายจนถึงที่สุด การมีทัศนคติสำนึกรู้คุณสามารถให้มุมมองที่จำเป็นซึ่งจะช่วยขยายการมองให้มากกว่าแค่ความรู้สึกเจ็บปวดในขณะนั้น [6] ถึงคุณจะรู้สึกว่าตนเองสูญเสียสิ่งต่างๆ ไปมากมาย ให้ใช้เวลาสักครู่ทบทวนสิ่งที่คุณยังมีเหลือ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างเช่น มิตรภาพ ความสามารถทางกายภาพ หรืออากาศที่กำลังดี
    • หาเวลาในแต่ละวันใช้ทบทวนสิ่งที่คุณรู้สึกสำนึกขอบคุณ คุณอาจขอบคุณสุนัขที่เลี้ยง ลูกๆ ยามพระอาทิตย์ลับฟ้าที่สวยงาม การได้เดินเล่นอย่างสบายอารมณ์ หรือการได้คุยโทรศัพท์กับพี่สาว ใช้เวลาสักเล็กน้อยแสดงความรู้สึกขอบคุณสิ่งเหล่านี้
    • นึกถึงช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิต แล้วก็นึกถึงว่าคุณได้มาอยู่ที่นี่เวลานี้ โดยผ่านสถานการณ์เหล่านั้นและช่วงเวลาที่มืดหม่นมาได้อย่างสำเร็จ คุณสามารถรับมือมันได้มาก่อน และคุณจะรับมือกับครั้งนี้ได้เช่นเดียวกัน
  6. ความยืดหยุ่นคือการรู้จักปรับตัวเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเพียงชั่วคราว ยืนยาวชั่วชีวิต หรือในสถานการณ์วิกฤติ มองภาพรวมภาพใหญ่เอาไว้ และไม่เห็นอุปสรรคเป็นสิ่งที่จะเกิดไม่มีวันสิ้นสุด พวกมันจะหมดไปและคุณจะผ่านมันมาได้ในที่สุด [7]
    • การยืดหยุ่นฟื้นตัวกลับมาได้ไม่ได้เกิดขึ้นในยามที่ชีวิตไม่รู้สึกเครียด มันเกิดขึ้นในยามที่คุณเผชิญกับความเครียด และมีเวลากับอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ฟื้นตัวกลับมา [8]
    • เช่น คุณอาจขาหักและไม่สามารถเดินเหินสักระยะหนึ่ง การยืดหยุ่นฟื้นตัวหมายถึงการหาทางที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ นั่นคือ ฝึกกายภาพบำบัดจนชำนาญเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง หรือใช้วีลแชร์หรือไม้ค้ำยันจนคล่องแคล่ว การรับรู้ตัวคุณในฐานะบุคคลคนหนึ่งจะยังคงอยู่ แม้ว่าความสามารถของคุณจะเปลี่ยนไปก็ตาม
    • ย้อนนึกความยากลำบากในอดีตและสิ่งที่คุณได้รับจากพวกมัน บางคนรายงานว่ารู้สึกมีความมั่นใจในความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้น หรือมีความพึงพอใจในชีวิตมากขึ้น [9] จงรู้ว่ามีบทเรียนบางอย่างให้คุณได้เรียนรู้เสมอในประสบการณ์ความยากลำบากแต่ละครั้ง
  7. มีคนหลายคนที่พบว่าเรื่องจิตและวิญญาณสามารถช่วยรับมือกับเหตุการณ์ยากลำบากได้ [10] วิธีรับมือในเชิงจิตและวิญญาณที่ได้ผลในเชิงบวกก็อาทิเช่น การขอความช่วยเหลือจากพลังอำนาจที่เหนือกว่า การขออภัยทางจิตวิญญาณ การตีกรอบสถานการณ์เสียใหม่โดยใช้หลักการตีกรอบด้วยความเมตตา และการทำสมาธิคำนึงแต่สิ่งที่ดี [11]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ลงมือทำเรื่องในเชิงบวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในขณะที่ปัญหาหลายๆ เรื่องต้องการเวลาและการฟื้นฟู บางปัญหาก็สามารถแก้ไขได้เลยโดยใช้เพียงความพยายามเพียงเล็กน้อยกับการพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ลองคิดถึงปัญหาที่คุณกำลังเผชิญที่อาจมีทางแก้ไข อาจเป็นได้ทั้งเรื่องงาน การเงิน ครอบครัว มิตรภาพ ความสัมพันธ์กับคนรัก และความเครียดในการเล่าเรียน เขียนวิธีแก้ไขปัญหาเท่าที่คุณจะนึกออกในปัญหาแต่ละเรื่อง ไม่สำคัญว่าวิธีแก้นั้นจะยืนบนหลักของความเป็นจริงหรือไม่ แค่เขียนออกมาก็พอ [12] มันจะเป็นเรื่องอัศจรรย์ใจว่าวิธีไหนจะแก้ปัญหาได้จริงๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่มองข้ามวิธีไหนๆ ในการระดมสมองเบื้องต้น
    • เช่น หากคุณกับคนรักชอบคุยเรื่องเงินเรื่องทองก่อนเข้านอน และลงเอยด้วยการเข้านอนด้วยอารมณ์โมโห ให้เริ่มย้ายการพูดคุยนี้มาเป็นตอนเช้าและจะได้มีเวลามากพอในการถกเถียงจนคลี่คลายประเด็นต่างๆ
    • พอคุณทราบว่าวิธีแก้ไขคือวิธีใด ให้แน่ใจว่าได้สร้างแผนการลงมือทำที่จะทำมันได้ คุณอาจต้องกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและขั้นตอนการลงมือทำที่จะพาคุณไปสู่จุดหมาย
    • อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการทำให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ที่บทความ การตั้งเป้าหมายและบรรลุถึงเป้าหมายนั้น ในวิกิฮาว
  2. อย่ากลัวที่จะร้องขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำ ถ้าคุณกำลังฟูมฟายหรือไม่รู้ว่าจะจัดการเรื่องๆ หนึ่งอย่างไรดี ยังมีคนอีกมากมายที่เต็มใจจะเข้ามาช่วย ไม่ว่าคุณจะพูดคุยปัญหากับครอบครัว เพื่อนฝูง หรือนักบำบัด ถือเป็นการได้ระบายปัญหาที่เกิดขึ้นออกมากับใครสักคน [13] อย่าพยายามจะทำทุกอย่างตัวคนเดียว การพยายามจะใช้ชีวิตตัวคนเดียวโดยปราศจากแรงสนับสนุนมีแต่จะยิ่งต้องดิ้นรนและทำให้รู้สึกแย่กับชีวิตมากกว่าเดิม
    • อย่าปล่อยให้ศักดิ์ศรีเข้ามาขวางหนทางการขอความช่วยเหลือ ไม่มีใครที่รู้ดีไปหมดเสียทุกเรื่องและคุณยังสามารถหาทางตอบแทนเขาได้ในภายหลัง
    • การบอกปัญหาของคุณออกมายังช่วยให้คนอื่นได้ให้มุมมองที่คุณอาจไม่ทันได้ฉุกคิด
    • เวลาพูดคุยกับคนอื่น ให้เขาทราบในสิ่งที่คุณต้องการ ถ้าคุณต้องการคำเสนอแนะกลับมา ถามเขาว่าคิดหรือรู้สึกอย่างไรกับเรื่องของคุณ หากต้องการแค่ให้เขารับฟัง ก็บอกออกไปให้ชัดเจน บางครั้งคนที่มีเจตนาดีอาจพยายามช่วยเสนอความคิดเห็นหรือหาทางแก้ปัญหาทั้งๆ ที่คุณอาจต้องการแค่ระบายความในใจ
  3. ถึงจะประสบความยากลำบาก แต่ชีวิตก็ยังจำต้องดำเนินต่อไป ทั้งการดูแลลูกหรือการทุ่มเทเวลา 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่องาน ในระหว่างรับมือกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก ให้แน่ใจว่าคุณยังดูแลเอาใจใส่ร่างกายและอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง [14] มันเป็นเรื่องง่ายที่จะยืดตัวเองทำตามความต้องการของคนอื่นๆ แต่ให้เวลาที่จะได้ทำตามความปรารถนาของคุณเองด้วย ให้แน่ใจว่าคุณได้ทานอาหารเพื่อสุขภาพ ได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และได้สร้างความสุขให้แก่ชีวิต หาสิ่งที่คุณมีความสุขที่ได้ทำมันและทำมันซะ
    • ไปนวดผ่อนคลายร่างกาย
    • หาเวลาจดบันทึกและถ่ายทอดความคิดกับอารมณ์ความรู้สึกของคุณออกมา
    • หาเวลาสักวันละ 20 นาทีทำสมาธิหรืองีบหลับเรียกพลัง
    • ออกไปเดินเล่นหรือเดินทางไกลถ้าคุณไม่มีเวลาหรือพลังงานพอจะเข้ายิม
    • หัวเราะคลายเครียด. [15] ดูวิดีโอตลกๆ เพื่อเรียกเสียงหัวเราะ
    • การคงทัศนคติมองโลกในเชิงบวกก็ช่วยได้ มองหาสิ่งดีๆ ที่ซ่อนอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่เสมอ [16]
  4. ถ้าคุณรู้สึกสถานการณ์ถาโถมจนเกินรับไหว หยุดพักซะ การพักทำได้หลายรูปแบบ อาจเป็นการลาพักร้อน การพักผ่อนช่วงวันหยุด หรือแม้แต่การเดินเล่นไกลๆ การหยุดพักยังอาจเป็นการทำอะไรที่ดึงดูดความสนใจไปได้ เช่นการอ่านหนังสือ ดูหนัง หรือไปยิม [17]
    • หาดูว่าสิ่งที่ดึงดูดความสนใจแบบใดถึงจะช่วยให้คุณรับมือ (ไม่ใช่หลีกหนี) กับปัญหา หากิจกรรมที่คุณชอบแล้วลงมือทำเลย! ไม่ว่าจะเป็นการเดินไกล ขี่ม้า หรือเขียนบันทึก
  5. บางครั้งการไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตในเวลาต้องรับมือกับความยากลำบากอาจมีประโยชน์ที่สุดก็ได้ นักบำบัดเป็นผู้ที่จะคอยให้การสนับสนุนและสอบถามเพื่อช่วยคุณมองเห็นมุมมองที่ต่างกันออกไป นักบำบัดสามารถช่วยคุณค้นพบรากฐานของปัญหา รับมือกับความขัดแย้งทางอารมณ์ และช่วยให้ชีวิตเกิดความเปลี่ยนแปลงในแง่บวกได้ [18]
    • การบำบัดจะช่วยให้คุณค้นพบตัวเองกับสถานการณ์ที่เกิดในแบบที่จะกระตุ้นให้คุณเติบโตขึ้น
    • นักบำบัดสามารถช่วยได้ในหลายสถานการณ์ หากคุณพบความเครียดเรื่องงาน ปัญหาความสัมพันธ์ หรือการรับมือความยากลำบาก นักบำบัดสามารถช่วยได้
  6. เวลาเจอเรื่องวิกฤติ ความสนใจส่วนใหญ่ของคุณจะหมกมุ่นอยู่กับตัวเองและสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งจะเหือดแห้งไปในที่สุด หาเวลาสักช่วงเพื่ออาสาช่วยผู้อื่นเพื่อย้ายโฟกัสไปอยู่ที่คนอื่นแทน คุณสามารถเพิ่มพูนความสุขของตนได้โดยการยื่นมือช่วยผู้อื่น [19]
    • ยื่นมือเข้าช่วยเพื่อนที่มีธุระยุ่ง
    • อาสาทำงานในสถานพักฟื้นสัตว์และช่วยเหลือสัตว์กำพร้า
    • อาสาสมัครช่วยเหลือดูแลเด็กหรือผู้สูงอายุสัปดาห์ละครั้ง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณพบว่าตนกำลังเริ่มมีพฤติกรรมทำลายตัวเองหรือพฤติกรรมเสี่ยงหลังจากเจอเรื่องโศกเศร้า คุณควรจะไปพบจิตแพทย์ในทันที พฤติกรรมเช่นนั้นอาจได้แก่ การดื่มจนเกินพอดี การใช้ยา ใช้อาวุธ ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่ายจนไม่เหลือเก็บ ทำงานหนักไม่ลืมหูลืมตา และพฤติกรรมกระตุ้นที่ไม่เกิดอะไรในเชิงสร้างสรรค์ [21]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,711 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา