ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
บางครั้งเราก็อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องคิดเลขด้วยตนเองโดยไม่มีเครื่องคิดเลขช่วย ถึงแม้เราจะเก่งคณิตศาสตร์ แต่การต้องคิดเลขในใจอาจเป็นอะไรที่ยากลำบากอย่างมาก ถ้าอยากคิดเลขในใจได้ เราต้องเรียนรู้เทคนิคและวิธีการคิดเลขแบบใหม่ซึ่งแตกต่างไปจากที่เรียนในโรงเรียน ถ้าเราศึกษาหลักและใช้เทคนิคการคิดเลขในใจบ่อยๆ เราก็จะเชี่ยวชาญทักษะนี้มากขึ้นและสามารถคำนวณเลขในใจได้อย่างคล่องแคล่ว
ขั้นตอน
-
นึกถึงสมการ. ขั้นตอนแรกของการคิดเลขในใจคือให้นึกถึงโจทย์ปัญหาที่ต้องแก้ก่อน นึกถึงตัวเลขและสมการ ขณะที่เราแก้โจทย์ปัญหาในแต่ละส่วน ก็ให้นึกถึงตัวเลขที่เราต้องนำมาใช้คิดคำนวณ ย้ำตัวเลขต่างๆ ในใจ หรือพูดย้ำตัวเลขเหล่านั้นออกมาเบาๆ ก็ได้ การย้ำจะช่วยให้เราจำเลขนัยสำคัญในสมการนั้นได้มากขึ้น [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
บวกและลบเลขจากซ้ายไปขวา. เรามักจะถูกสอนว่าให้บวกและลบเลขจากขวาไปซ้าย แต่การบวกหรือลบเลขแบบนี้ในใจนั้นทำได้ยากมาก ฉะนั้นให้เราคำนวณตัวเลขทางซ้ายก่อน จากนั้นค่อยลบหรือบวกตัวเลขทางขวา เมื่อคำนวณเสร็จแล้วเราจะได้ตัวเลขทางซ้ายก่อนแล้วค่อยได้ตัวเลขทางขวาที่หลัง [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น 52+43 เราจะต้องนำตัวเลขที่อยู่ทางซ้ายมาบวกกันก่อน 5+4=9 และนำตัวเลขที่อยู่ทางขวามาบวกกัน 2+3=5 เราจะได้ผลบวกทั้งหมดคือ 95
- ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง 93-22 นำตัวเลขที่อยู่ทางซ้ายมาลบกันก่อน 9-2=7 และจากนั้นนำตัวเลขที่อยู่ทางขวามาลบกัน 3-2=1 ผลลัพธ์ที่ได้คือ 71
- ถ้าต้องทดเลข ให้นำตัวเลขที่ต้องทดนั้นไปบวกเพิ่มในผลบวกของตัวเลขทางซ้าย ตัวอย่างเช่น 9+8 ได้ 17 และ 9+7 ได้ 16 ให้นำเลขหนึ่งไปบวกกับผลบวกของตัวเลขทางซ้าย ก็จะได้ 18 ฉะนั้นผลบวกทั้งหมดของเลขข้อนี้คือ 186
-
ตัดศูนย์ออกไปก่อนเวลาบวกหรือลบ หากทั้งสองจำนวนมีศูนย์เท่ากัน. เมื่อเราจะนำจำนวนสองจำนวนมาบวกหรือลบกัน และพบว่าทั้งสองจำนวนนั้นต่างก็มีศูนย์เท่ากัน ให้เอาศูนย์ออกไปก่อน จะได้บวกหรือลบเลขได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น 120-70 เมื่อเราเอาศูนย์ออกไปก่อน ก็จะได้ 12-7=5 จากนั้นค่อยใส่ศูนย์กลับเข้าไปในภายหลัง ก็จะได้เป็น 50 [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง 300+200 เราสามารถเอาศูนย์ทั้งหมดออกไปก่อนได้ ก็จะได้ 3+2=5 จากนั้นนำศูนย์ใส่กลับเข้าไปในผลลัพธ์ ก็จะได้เป็น 500
-
ตัดศูนย์ออกไปก่อนเวลานำจำนวนทั้งสองที่มีศูนย์ตามหลังมาคูณกัน. เมื่อนำจำนวนทั้งสองมาคูณกัน หากจำนวนทั้งสองมีศูนย์ตามหลัง ให้ตัดศูนย์ออกไปก่อนแล้วนำจำนวนทั้งสองนั้นมาคูณกัน ตัวอย่างเช่น 3,000x50 ถ้าเราตัดศูนย์ของทั้งสองจำนวนออกไปก่อน ก็จะได้เป็น 3x5=15 จากนั้นนำศูนย์ทั้งหมดมาใส่กลับเข้าไปในผลลัพธ์ ก็จะได้เป็น 150,000 [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง 70x60 เมื่อเราตัดศูนย์ออกไปก่อน ก็จะได้เป็น 7x6=42 จากนั้นค่อยเติมศูนย์ทั้งหมดกลับเข้าไป ผลคูณที่เราต้องได้ในข้อนี้คือ 4,200
-
ปัดตัวเลขขึ้น พอบวกกันเสร็จแล้วค่อยนำค่าที่เพิ่มเข้ามาลบออก. เราสามารถปัดตัวเลขขึ้นให้เป็นจำนวนที่สามารถนำมาบวกได้ง่ายขึ้น พอนำจำนวนทั้งสองมาบวกกันเสร็จแล้ว ค่อยนำค่าที่เพิ่มเข้ามาลบออกเพื่อให้สามารถบวกเลขที่มีค่ามากกว่า 100 ได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น จงหาผลบวกของ 596+380 ก่อนอื่นเราจะนำ 4 ไปบวก 596 เราก็จะได้สมการใหม่เป็น 600+380=980 ซึ่งจะทำให้เราคิดเลขในใจได้ง่ายกว่า จากนั้นนำ 4 ลบออกจากผลบวกนั้น ก็จะได้ 976 ซึ่งเป็นผลบวกของ 596+380 [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง 558+305 ให้ปัด 558 ขึ้นเป็น 560 เราจะได้สมการใหม่เป็น 560+305 = 865 จากนั้นนำ 2 ลบออกจาก 865 ก็จะเหลือ 863
-
แปลงตัวเลขที่ซับซ้อนให้เป็นตัวเลขง่ายๆ ก่อนจะนำไปคูณ. เราควรแปลงตัวเลขที่ซับซ้อนให้เป็นตัวเลขง่ายๆ ก่อนที่จะคำนวณ เพราะถ้าตัวเลขนั้นซับซ้อนหรือมีค่ามากจะทำให้คิดเลขในใจได้ยากลำบาก ตัวอย่างเช่น 12x36 เราสามารถแปลงตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งให้เป็นตัวเลขง่ายๆ ในใจได้ ลด 12 ให้เหลือ 10 เราก็จะได้เป็น 10x36 ผลคูณคือ 360 จากนั้นเราค่อยนำ 2 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ได้นำมาคำนวณมาคูณกับ 36 ผลคูณคือ 72 สุดท้ายนำ 360+72 ก็จะได้ผลบวกคือ 432 ใช้วิธีนี้ง่ายกว่าใช้วิธีคูณยาวในใจ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
แบ่งการคำนวณร้อยละออกเป็นส่วนๆ. แบ่งการคำนวณร้อยละออกเป็นส่วนๆ ถ้าทำได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องคำนวณหา 15% ของ 40 ให้เราคำนวณหา 10% ของ 40 ออกมาก่อน คำตอบที่ได้ในการคำนวณส่วนแรกคือ 4 ส่วน 5 % ที่เหลืออยู่เป็นครึ่งหนึ่งของ 10% ฉะนั้น 5% ของ 40 คือ 2 นำผลลัพธ์ทั้งสองมาบวกกัน 4+2 = 6 ซึ่งเป็น 15% ของ 40 [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ประมาณจำนวนที่ซับซ้อนให้เป็นจำนวนเต็ม. การประมาณคำตอบนั้นง่ายกว่าการคำนวณตัวเลขให้ออกมาถูกต้องแม่นยำ พยายามประมาณจำนวนที่ซับซ้อนให้เป็นจำนวนเต็ม จากนั้นค่อยแก้สมการ ถ้าเห็นว่าตอนนั้นไม่จำเป็นต้องคำนวณตัวเลขให้ออกมาถูกต้องแม่นยำ หรือมีเวลาแก้สมการจำกัด ให้ประมาณเป็นค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มแทน [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น 7.07+8.95+10.09 เราสามารถประมาณคำตอบให้เป็นจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุดและค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับคำตอบของข้อนี้มากที่สุดคือ 26
-
นำสมการมาโยงกับเรื่องเงินเพื่อแก้สมการ. ถ้าเรารู้ว่า 100 เซนต์เท่ากับ 1 ดอลลาร์ เราสามารถใช้ความรู้นี้มาแก้สมการคณิตศาสตร์ได้ ตัวอย่างเช่น ในตอนแรกเราอาจคิดไม่ออกในทันทีว่า 100-25 เป็นเท่าไหร่ แต่เรารู้ว่าจะเหลือเงินเท่าไหร่ ถ้าเอาเงินออกไปหนึ่งส่วนจากสี่ส่วน เราจะแก้สมการด้วยการนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องเงินก็ได้ ถ้าเห็นว่าสามารถนำมาปรับใช้ได้โฆษณา
-
จำตารางสูตรคูณให้ได้. ถ้าเราจำตารางสูตรคูณได้ เราจะสามารถแก้โจทย์ปัญหาการคูณอย่างง่ายๆ ได้ทันที การจำตารางสูตรคูณได้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการคำนวณตัวเลขในแต่ละส่วนของโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ถ้าเห็นว่าตนเองท่องสูตรคูณไม่คล่อง ให้หมั่นฝึกท่องจนสามารถนำมาใช้ในการคูณได้คล่อง [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
จำกำลังสองของเลข 20 ตัวแรกให้ได้. ตารางแสดงกำลังสองจะแสดงผลคูณที่เกิดจาก 1-20 คูณกับตัวของมันเอง ถ้าเราจำตารางนี้ได้ เราจะสามารถแก้สมการกำลังสองในใจได้ง่าย เราสามารถใช้ตารางแสดงกำลังสองมาช่วยในการประมาณ เวลาพบโจทย์ปัญหาการคูณที่ซับซ้อน [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น จงหาผลคูณของ 18x19 เราสามารถปรับสมการเป็น 19² ได้ จากนั้นค่อยนำ 19 มาลบออกจากผลคูณ
-
ใช้บัตรคำ. ถ้าเรากำลังพยายามจดจำตารางสูตรคูณหรือตารางสูตรหาร การใช้บัตรคำเป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถจดจำตารางเหล่านี้ได้ กำหนดก่อนว่าเราจะจำตารางสูตรคูณหรือตารางสูตรหาร แล้วเขียนสมการลงไปในด้านหนึ่งของบัตรคำ อีกด้านหนึ่งเขียนคำตอบของสมการนั้น นำบัตรคำนั้นไปใช้ในการฝึกจดจำตารางสูตรคูณหรือตารางสูตรหารกับเพื่อน ในที่สุดเราจะสามารถจดจำตารางสูตรคูณหรือตารางสูตรหารได้ทั้งหมด [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ฝึกคิดเลขในใจทุกวัน. พยายามแก้สมการที่ซับซ้อนวันละสองสามข้อโดยใช้วิธีคิดเลขในใจ การฝึกแบบนี้ทุกวันจะช่วยทำให้เราคิดเลขในใจได้เร็วขึ้นและพัฒนาทักษะการคิดเลขในใจได้มากทีเดียว พยายามหาโอกาสต่างๆ ในการคิดเลขในใจเพื่อฝึกทักษะนี้ให้เชี่ยวชาญ หลังจากผ่านไปหนึ่งเดือนเราจะรู้สึกว่าตนเองคิดเลขในใจได้คล่องมากขึ้น [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทำแบบฝึกคิดเลขในใจทางอินเตอร์เน็ต. มีแอปและเว็บไซต์ที่ช่วยในการฝึกทักษะคิดเลขในใจ เราสามารถหาแอปและเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงได้ทางอินเตอร์เน็ตและใช้ช่วยฝึกทักษะการคิดเลขในใจได้
- ลองเข้าชมเว็บไซต์ฝึกคิดเลขในใจซึ่งได้รับความนิยมอย่างเช่น http://preplounge.com และ http://flexmath.ck12.org/
- แอปฝึกคิดเลขในใจซึ่งได้รับความนิยมได้แก่ Elevate, Luminosity และ Mathemagics
โฆษณา
-
บวกและลบเลขอย่างง่ายๆ เพื่อคำนวณค่าใช้จ่าย. ลองบวกราคาสิ่งของที่เราจะซื้อก่อนที่จะให้พนักงานคิดเงิน นำราคาสิ่งของแต่ละชิ้นมาบวกกันและหมั่นคำนวณจำนวนเงินทั้งหมดที่เราต้องจ่าย พอได้ใบเสร็จมา ลองนำตัวเลขที่เราคำนวณไว้มาเปรียบเทียบกับตัวเลขในใบเสร็จนั้น [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น ธัญพืชมีราคา 132 บาท และสบู่มีราคา 314 บาท จำนวนเงินทั้งหมดที่เราต้องจ่ายคือ 446 บาท
-
ใช้การคูณมาคำนวณหาค่าน้ำมัน. รอจนน้ำมันเกือบหมดถัง จากนั้นนำราคาน้ำมันมาคูณกับขนาดของถัง ตัวอย่างเช่น ถ้าถังน้ำมันของเรามีขนาด 12 แกลลอนและน้ำมันราคาแกลลอนละ 116 บาท เราก็ต้องเสียค่าน้ำมันทั้งหมด 12 x 116 = 1,392 บาท ก่อนจะมองราคาที่ปรากฏขึ้นบนจอตู้จ่ายน้ำมัน ลองคำนวณค่าน้ำมันทั้งหมดในใจดู [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เราสามารถใช้การคูณมาคำนวณจำนวนเงินที่ต้องจ่าย เมื่อซื้อของแบบเดียวกันเกินหนึ่งชิ้น
- ตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อขนมหวานเวเฟอร์แบบแท่งเคลือบช็อกโกแลตมา 4 ชิ้น ชิ้นละ 66 บาท แสดงว่าเราต้องจ่ายเงิน 4x66 = 264 บาท
- เราสามารถใช้การคูณมาคำนวณจำนวนเงินที่ต้องจ่าย เมื่อซื้อของแบบเดียวกันเกินหนึ่งชิ้น
-
นำราคาและส่วนลดมาคำนวณในใจเพื่อจะได้รู้ว่าสินค้านั้นลดลงไปกี่บาท. ประมาณราคาสินค้าให้เป็นราคาที่ใกล้เคียงที่สุดและคำนวณสิว่าสินค้าชิ้นนั้นลดราคาลงไปกี่บาท ตัวอย่างเช่น สินค้าชิ้นหนึ่งราคา 319 บาท แต่มีการลด 7% เราอาจปัดราคาลงให้เหลือ 300 บาท 7% ของ 300 คือ 21 ฉะนั้นเราจะประหยัดเงินไปได้ประมาณ 21 บาท [15] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เจ็ดเปอร์เซ็นต์ของ 319 คือ 22.33
- ถ้าเราซื้อน้ำหนึ่งแพ็คซึ่งมีราคา 165 บาท แต่น้ำแพ็คนั้นลดราคา 25% ฉะนั้นเราจะประหยัดเงินไปได้ 41.25 บาท
-
ใช้การหารในใจมาแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย. ถ้ามีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ต้องช่วยกันจ่าย ให้นำค่าใช้จ่ายนั้นมาหารกับจำนวนคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายเพื่อจะได้รู้ว่าแต่ละคนต้องออกค่าใช้จ่ายคนละเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องจ่ายค่าไฟ 4,146 บาท เรามีเพื่อนร่วมห้องอีก 3 คน เราจะต้องนำ 4,146 มาหาร 4 ก็จะรู้ว่าต้องช่วยกันจ่ายค่าไฟคนละ 1,036.5 บาท [16] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าเราอยากทำให้การหารนี้ง่ายขึ้น ให้นำตัวเลขในหลักพันมาคำนวณก่อน แล้วจากนั้นค่อยนำตัวเลขในหลักที่เหลือมาคำนวณ
- เมื่อต้องจ่ายค่าไฟทั้งหมด 4,146 บาท ให้เราเอา 4,000 มาคิดก่อน เพราะสามารถหารด้วย 4 ได้ลงตัว 4,000/4= 1,000 จากนั้น 146/4 ก็จะได้จำนวนที่เหลือ นำจำนวนที่เหลือซึ่งก็คือ 36.5 มาบวกกับ 1,000 ก็จะได้ 1,036.5
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.momonix.com/calc/#sayit
- ↑ http://gizmodo.com/10-tips-to-improve-your-mental-math-ability-1792597814
- ↑ http://www.plpsd.mb.ca/division/Rubrics/Mental%20Math%20Strategies.pdf
- ↑ http://www.plpsd.mb.ca/division/Rubrics/Mental%20Math%20Strategies.pdf
- ↑ http://gizmodo.com/10-tips-to-improve-your-mental-math-ability-1792597814
- ↑ http://www.momonix.com/calc/
- ↑ http://www.wired.co.uk/article/master-mental-maths
- ↑ https://www.eduweb.vic.gov.au/edulibrary/public/teachlearn/student/mathscontinuum/readmentalcompest.pdf
- ↑ http://gizmodo.com/10-tips-to-improve-your-mental-math-ability-1792597814
- ↑ http://gizmodo.com/10-tips-to-improve-your-mental-math-ability-1792597814
- ↑ https://www.brainscape.com/blog/2011/04/reasons-why-flashcards-are-so-effective/
- ↑ https://www.manhattanprep.com/gmat/blog/2012/05/09/everyday-ways-to-improve-your-mental-math-skills/
- ↑ https://www.manhattanprep.com/gmat/blog/2012/05/09/everyday-ways-to-improve-your-mental-math-skills/
- ↑ https://www.manhattanprep.com/gmat/blog/2012/05/09/everyday-ways-to-improve-your-mental-math-skills/
- ↑ https://www.manhattanprep.com/gmat/blog/2012/05/09/everyday-ways-to-improve-your-mental-math-skills/
- ↑ https://blog.elevateapp.com/5-mental-math-tricks-that-make-life-easier-53ef6194ec46
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,774 ครั้ง
โฆษณา