ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คนเรามักจะกังวลเกี่ยวกับภาพของรูปแบบร่างกาย “ในอุดมคติ” ที่เกินความจริงและเป็นอันตรายอยู่ตลอด ทำให้มันยากที่จะยอมรับ รัก และรู้สึกมั่นใจในร่างกายของตัวเอง ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญมาก และมันก็สำคัญที่จะเรียนรู้ว่าร่างกายสามารถทำอะไรได้บ้างและใช้ความสามารถเหล่านี้สร้างความสะดวกสบายให้ตัวเองได้ โดยตามที่บารุค สปิโนซ่านักปรัชญาคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ “ไม่รู้ว่าร่างกายทำอะไรได้” ในแง่ว่าที่ไม่มีใครรู้ว่าร่างกายสามารถทำอะไรได้อย่างแท้จริง อย่างน้อยก็ก่อนที่จะทดลองมันดู [1] ซึ่งนักจิตวิทยาบอกว่ามันมีความแตกต่างกันระหว่างวิธีการรับรู้ถึงร่างกายของเรากับวิธืที่ร่างกายของเราแสดงการกระทำ [2] ถ้าเราอยากที่จะยอมรับร่างกายของตัวเราเอง เราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจร่างกายในทั้งสองแง่มุมนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

ชื่นชมร่างกายที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำรายการเหตุการณ์ที่ชื่นชอบที่สุด โดยมีรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ตอนนั้นอยู่กับใคร กำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นต้น สะท้อนให้เห็นว่ามันมีอะไรที่เหมือนกัน ใช่คนที่อยู่ด้วยไหม ปริมาณความตื่นเต้นที่เกิด หรือแค่สถานที่ เช่น อยู่ในธรรมชาติหรืออยู่ในเมืองใหญ่ และเมื่อรู้ถึงเงื่อนไขที่ร่างกายได้รับความพอใจที่สุดในอดีต ก็ให้ลองเพิ่มเวลาที่จะใช้กับสถานการณ์คล้ายๆ กันในอนาคตดู
    • ทุกคนมีร่างกายที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหมายความว่าอาจจะต้องทดลองและคิดว่าอะไรที่ทำให้พอใจ [3] โดยจากงานวิจัยพบว่ามีคนอเมริกันน้อยกว่าครึ่งที่บรรยายถึงตัวเองอย่างมีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่ บางส่วนก็เพราะมันไม่ใช่ทั้งหมดที่ทำให้พวกเขามีความสุข [4] ดังนั้นให้เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการคิดย้อนไปในเวลาที่ทำให้มีความสุข
  2. การมีโครงสร้างและเคมีร่างกายที่เป็นเอกลักษณ์ในบางส่วนก็ทำบางคนทำกิจกรรมบางอย่างได้ดีกว่าคนอื่น ถ้าสูง 157 เซนติเมตร ก็จะไม่ได้เป็นตัวหลักระดับโลกของลีกบาสเกตบอลอาชีพในอเมริกาเหนือ (NBA) แต่อาจจะเป็นนักขี่ม้าแข่งมืออาชีพได้ดีเป็นพิเศษ ซึ่งการเรียนรู้ที่จะยอมรับร่างกายตัวเองก็คือ การเรียนรู้ที่จะยอมรับว่าร่างกายทำอะไรได้ดีเป็นบางอย่าง แต่ก็ตรงข้ามกันในบางอย่าง โดยอาจจะต้องใช้เวลานิดหน่อยที่จะคิดว่ากิจกรรมนั้นคืออะไร
    • ถ้าไม่แน่ใจว่ากิจกรรมไหนที่เหมาะสมกับร่างกาย ก็ให้ใช้เวลาที่จะทดลองกับสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะสนใจมาก่อนหน่อย โดยเข้าคลาสโยคะหรือปั้นหม้อ หรือเข้าเรียนการแสดงที่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ก็เหมือนกับที่สปิโนซ่าพูดไว้ว่า ไม่มีทางที่เราจะรู้ว่าร่างกายทำอะไรได้จนกว่าจะทำมัน
  3. หาสิ่งที่ชอบเกี่ยวกับร่างกายและรูปร่างภายนอก. แม้แต่คนที่มีรูปร่างแย่ๆ ก็สามารถหาบางอย่างในร่างกายให้ชื่นชม ซึ่ง มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะเรียนรู้ที่จะรักและชื่นชมคุณสมบัติที่ดีทั้งหมด ที่รวมไปถึงรูปลักษณ์ของตัวเอง และอย่ายึดติดกับคุณสมบัติที่ทำให้กังวล แต่ให้มองแต่ด้านบวก
    • เช่น อาจจะกำลังไม่มีความสุขกับต้นขา ซึ่งบางทีก็อาจจะคิดว่าตัวเองอวบหรือผอมบางมาก แต่ให้ปักหมุดความคิดแง่บวกเอาไว้ โดยอาจจะหวังว่าจะมีต้นขาที่เรียวขึ้นเล็กน้อย แต่มันให้ขึ้นเขาได้ดี หรืออาจจะคิดว่าตัวเองขาสูงชะลูด แต่ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ใส่กางเกงยีนส์รัดรูปได้
  4. ซึ่งคือการไม่พยายามเปลี่ยนสิ่งตัวเองเป็นหรือสนใจสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ โดยเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับร่างกายตัวเอง วิธีการขยับ รู้สึก และหมุนไปรอบๆ ด้วยการปล่อยสิ่งที่เคยเป็นไป โดยเฉพาะถ้าร่างกายที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร บาดแผล หรือโรคภัยต่างๆ ดังนั้นให้รักในแบบที่ร่างกายเป็นอยู่ตอนนี้ [5]
    • ห้ามควบคุมอาหารด้วยตัวเอง ยกเว้นแต่ว่าหมอแนะนำ โดยให้เรียนรู้ที่จะฟังเสียงร่างกายและกินในปริมาณที่พอดี รวมทั้งห้ามไม่กินอาหารหรือต่อว่าตัวเองว่ากินมากเกินไป [6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

เรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงความคิดแง่ลบเกี่ยวกับร่างกายตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะมันไม่ได้ช่วยปรับให้ภาพลักษณ์ของตัวเองดีขึ้นมาเลย [7] โดยให้ใช้เวลา 1 หรือ 2 วัน ในการดูว่าคิดเกี่ยวกับร่างกายตัวเองบ่อยแค่ไหน คิดหรือพูดเกี่ยวกับร่างกายในแง่ลบแค่ไหน คิดแง่บวกบ่อยแค่ไหน ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ที่จะเป็นอันตรายมากกว่าแง่บวก
    • จดบันทึกตัวเลขลงในบันทึก สมุดพก หรือบนโทรศัพท์ โดยเอาโน้ตบุ๊คไปด้วยถ้าเป็นไปได้และจดความคิดลบๆ ที่ขึ้นมาลงไปเร็วๆ รวมถึงแม้ว่าความคิดนั้นจะเกี่ยวกับวิธีที่มองหรือไม่ก็ตาม โดยเมื่อจบวันแล้วก็จะประหลาดใจว่าตัวเองคิดแง่ลบตลอดวันมากกว่าที่รู้แค่ไหน
  2. แม้มันจะยากในการที่จะเริ่มต้น แต่มันก็เป็นส่วนที่สำคัญของการยอมรับร่างกายตัวเอง โดยทันทีที่รู้สึกว่าตัวเองมีความคิดในแง่ลบ ก็ให้แทนที่ด้วยความคิดแง่บวกเกี่ยวกับตัวเอง [8] ดังนั้นให้เวลาตัวเองในการคุ้นเคยกับนิสัยคิดบวก
    • ลองเริ่มคิดแง่บวกสัก 2 – 3 อย่างทุกวัน โดยเตือนตัวเองเกี่ยวกับความคิดเหล่านี้ตลอดทั้งวัน เมื่อเริ่มรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตนเอง เช่น อาจจะพูดว่า “ฉันชอบความรู้สึกที่มีทรงผมใหม่นี้”
  3. พยายามตัดหรือหยุดยุ่งกับรายการทีวี ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือบล็อกที่แสดงภาพของร่างกายที่เกินจริงหรือในแง่ลบ โดยเตือนใจตัวเองว่าภาพส่วนใหญ่ที่เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตและนิตยสารที่เป็นสมาชิกนั้น ได้ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อทำให้นางแบบดูเป็นไปตามมาตรฐานความสวยงามและเพศ [9]
    • นักจิตวิทยานั้นกังวลเกี่ยวกับกระแสที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20 ปี เช่น รูปที่สร้างตามอุดมคติที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับสิ่งที่ร่างกายควรเป็น [10] และห้ามยึดติดกับภาพล้อที่ไม่มีอะไรมารองรับในโลกแห่งความเป็นจริงเหล่านี้
  4. หานักบำบัดโรคที่ใช้ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (CBT) . ซึ่งมีหลายวิธีที่นักจิตวิทยาใช้ โดยสนใจที่ปัจจุบันและใช้เป้าหมายในการบำบัดแบบระยะสั้น [11] แม้ว่าการพบนักบำบัดโรคในการทำ CBT จะดีที่สุด แต่ก็สามารถเริ่มฝึกฝนได้ด้วยตัวเอง และเมื่อสังเกตเห็นความคิดในแง่ลบเกี่ยวกับภายนอกของตัวเอง ก็ให้หยุดตัวเองแล้วหายใจลึกๆ และพยายามหาหลักฐานให้กับความเชื่อตัวเอง รวมทั้งมีใครเคยบอกไหมว่าลักษณะของร่างกายมีข้อบกพร่อง ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงคนนั้นแค่พยายามจะทำร้ายจิตใจหรืออาจจะล้อเล่นหรือเปล่า
    • นักจิตวิทยาเชื่อว่า ถ้ามีความหวังในแบบที่เป็นที่เกินจริง ก็อาจจะมีภาพร่างกายที่บิดเบี้ยว และในการสังเกตเมื่อความคาดหวังที่ไม่เป็นจริงเหล่านี้แสดงออกมาในกระบวนการคิด แล้วก็สามารถท้าทายอุดมคติเหล่านี้ด้วยข้อมูลที่เป็นรูปธรรมอย่างมีความหวังนั้นสำคัญ [12]
  5. ถ้าได้คิดดีกับตัวเองแล้วและสนใจในมุมมองด้านบวกเกี่ยวกับตัวเอง แต่ก็ยังจำเป็นต้องเข้าถึงคนอื่นในชีวิต เพื่อนหรือครอบครัวได้วิจารณ์เราไหม พวกเขาได้บอกไหมว่าต้องลดน้ำหนัก แต่งตัวให้ไม่เหมือนใคร หรือเปลี่ยนทรงผม ถ้าเป็นอย่างนั้นการหาวิธีจัดการกับอิทธิพลด้านลบเหล่านี้ก็สำคัญ
    • จำไว้ว่าอาจจะตัดเพื่อนสนิทและครอบครัวออกไปไม่ได้หรอก แต่ก็สามารถหยุดซื้อนิตยสาร Vogue หรือดูรายการ America's Next Top Model แต่แม้จะเป็นอย่างนั้นก็ตาม ถ้ามีคนตำหนิร่างกายเรา หรือหยาบคายและวิจารณ์มากเกินไป ก็ต้องพยายามมีความเคารพ และพูดคุยกับพวกเขาอย่างแน่วแน่ว่าคำพูดหรือพฤติกรรมเหล่านั้นทำร้ายเรามากเพียงใด
  6. เมื่อลองกิจกรรมใหม่ๆ ให้พูดกับคนที่อาจจะเพิกเฉยหรือหลบเลี่ยงเป็นปกติ โดยการพูดกับคนแปลกหน้าอาจจะทำให้รู้สึกไม่สบายในตอนแรก แต่ให้จำไว้ว่าการแยกตัวเองออกจากคนอื่นอาจจะแย่กว่าด้วยซ้ำ เพราะจากงานวิจัยบางงานได้พบว่ามันสามารถส่งผลร้ายแรงในระยะยาวเหมือนกับโรคอ้วน [13] ดังนั้นการทำตัวให้ชินกับกับการข้องแวะผู้คนใหม่ๆ แบบสบายๆ นั้นสำคัญ โดยเฉพาะถ้าคนที่อยู่รอบตัวในปัจจุบันไม่ได้ให้การสนับสนุนรูปร่างของคุณหรือไม่มีอิทธิพลความคิดในแง่บวกให้เลย
    • ผลงานวิจัยสมองพบว่าคนที่เรารักจะมีอิทธิพลต่อสารเคมีในสมองสูง ซึ่งหมายความว่าอาจจะไม่ได้ตกหลุมรักกับคนแบบที่จินตนาการให้ตัวเอง [14] และมันก็ยังเป็นเรื่องจริงกับการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดอีกด้วย ดังนั้นการมีคนรอบตัวที่ส่งเสริมและให้กำลังใจในการค้นพบตัวเองนั้นสำคัญ โดยพูดง่ายๆ ว่ามันจะง่ายต่อการยอมรับร่างกายและท้าทายอุดมคติที่เกินจริงของตัวเอง ซึ่งมันอาจได้หากมีคนรอบตัวที่ยอมรับเราและการค้นพบของเรา [15]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

เรียนรู้ที่จะสนใจในแง่บวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีความสุขกับคำชมที่ได้รับดีกว่ามองหาคำวิจารณ์ โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหาของคำชมและจำมันไว้ แล้วเขียนมันลงไปเพื่อเตือนใจตัวเองภายหลัง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในนาทีที่มืดมน
    • แทนที่จะปล่อยคำชมของคนอื่นไปหรือทำให้ตัวเองเชื่อมั่นว่าพวกเขาก็แค่ทำตัวให้สุภาพ ก็ให้เอาคำพูดพวกนั้นมาและทำให้รู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องน่าขำ รวมทั้งให้คิดว่าคนอื่นกำลังให้ประเมินที่จริงใจ ดังนั้นให้รับคำพูดด้านบวกของพวกเขามาอย่างสุภาพ
  2. ทุกครั้งที่เห็นว่าคิดแง่ลบเกี่ยวกับร่างกายหรือมีมุมมองแง่ลบต่อมัน ให้เตือนตัวเองถึงบางสิ่งเกี่ยวกับร่างกายที่ชอบ โดยทำรายการสิ่งที่เป็นด้านบวกเกี่ยวกับตัวเอง และเอาสิ่งที่เกี่ยวกับรูปร่างภายนอกออก รวมทั้งให้เขียนรายการนี้บ่อยๆ
  3. ถ้าใช้เวลาหน้ากระจกมากไป ให้ทำกฎว่าจะไม่สามารถพูดหรือคิดแง่ลบเกี่ยวกับตัวเองเมื่อมองที่มัน แต่ให้ใช้กระจกเพื่อที่จะหาข้อดีที่มองเห็น แต่หากยังยึดติดกับกระจกก็ให้เอามันออกไปซักพัก รวมทั้งงานวิจัยยังพบว่าจะทำให้สนใจในงานหรือความสัมพันธ์มากขึ้น มากกว่ารูปลักษณ์ของตัวเอง [17]
    • ยืนยันกับตัวเองด้วยคำพูดหน้ากระจก โดยพูดบวกกับตัวเองว่า “ฉันสวย” “ฉันน่าอัศจรรย์” เป็นต้น [18] ซึ่งอาจจะรู้สึกฝืนใจและอาจจะไม่เชื่อในสิ่งที่กำลังบอกตัวเองในตอนแรก แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าขั้นตอนนี้คือ การบำบัดด้วยการรับรู้พฤติกรรม ซึ่งได้ผลแน่ๆ เมื่อเวลาผ่านไป
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

ตั้งเป้าหมายและทำการเปลี่ยนแปลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเรียนรู้ที่จะยอมรับและมีความสุขกับร่างกายตัวเองอย่างเต็มที่ โดยอาจจะหมายความว่าได้เปลี่ยนมุมมองต่อมันแล้วในที่สุด เช่น ถ้ามีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ก็หวังที่จะลดน้ำหนัก แต่ให้จำไว้ว่าตัวเลขบนตาชั่งก็แค่มุมมองและตัวบ่งชี้หนึ่งของสุขภาพโดยรวม ดังนั้นให้ทำตารางและตรวจร่างกายแบบที่ได้ “ตัวเลข” ทั้งหมด (น้ำหนัก ความดันเลือด น้ำตาลในเลือด คลอเรสเตอรอล เป็นต้น ) ประจำ ซึ่งมันจะให้ภาพรวมของสุขภาพทั้งหมด และทำให้ได้พูดคุยเป้าหมายสุขภาพกับหมอด้วย
    • อาจจะเป็นไปได้ที่ต้องเพิ่มหรือลดน้ำหนักเพื่อมีสุขภาพดี แต่ควรตั้งเป้าความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และความทนทานด้วย
  2. เน้นแง่บวกดีกว่าเป้าหมายแง่ลบ เช่น ถ้าตัดสินใจที่จะเริ่มการออกกำลังกาย ให้หลีกเลี่ยงการจำกัดกรอบเป้าหมายที่จำนวนน้ำหนักที่อยากลด แต่ให้มีเป้าหมายที่เป็นด้านบวกแทน เช่น “ ฉันจะออกกำลังกายเพื่อจะได้วิ่ง 3 กิโลได้โดยไม่หยุด ” หรือ “ฉันกำลังจะเข้าโปรแกรมการเดินเพื่อที่จะได้แข็งแรงพอที่จะไปเดินป่าที่ Appalachian Trail กับพ่อได้”
    • ถ้าคิดถึงสิ่งที่หวังจะทำให้สำเร็จหรือทำให้ดีขึ้น จะทำให้สำเร็จ (ทั้งทำตามเป้าหมายและเรียนรู้ที่จะรู้สึกดีเกี่ยวกับตัวเอง) ได้ดีกว่า
  3. เลือกกิจกรรมและโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความสนุกและให้ความบันเทิง และห้ามเลือกจากแค่มันช่วยเปลี่ยนร่างกายตัวเองได้ แต่ให้ใช้เวลาลองทำกิจกรรมใหม่ๆ และทำสิ่งที่รู้สึกชอบจริงๆ และรู้สึกตื่นเต้นกับมันได้ เช่น ถ้ารักโยคะก็ให้ทำมัน แม้ว่าจะคิดว่าตอนนี้ยังน้ำหนักมากเกินที่จะทำแล้วดูสง่างาม แต่โปรแกรมออกกำลังกายทุกอย่างสามารถปรับให้เข้ากับขนาดและระดับความแข็งแรงที่แตกต่างกันได้
    • ถ้าประหม่าที่จะออกกำลังกายต่อหน้าคนอื่น ให้เลือกเรียนแบบส่วนตัว ออกกำลังกับเพื่อน หรือที่บ้าน และระวังไม่ให้ความกลัวต่อการถูกคนอื่นตัดสินมาชี้ทางชีวิตของเรา
  4. อย่าเลือกเสื้อผ้า การแต่งหน้าหรือทรงผมตามสิ่งที่คิดว่า “เหมาะ” กับคนที่มีรูปร่างแบบตัวเองหรือนิตยสารแฟชั่นที่บอกว่ามันสวยที่สุด โดยให้ใส่สิ่งที่ต้องการ สิ่งที่ชอบ และรู้สึกสบายกับมัน ดังนั้นให้เลือกเสื้อผ้าที่สะท้อนความเป็นตัวตน สบาย และเข้ากับวิถีชีวิตและกิจกรรมของตัวเอง
    • ลองเสื้อผ้าที่มีรูปแบบหลากหลายและพอดี โดยถ้ารู้สึกมั่นใจและสวยในรูปแบบที่คิดว่า “มันดูดีสำหรับทุกรูปร่าง” และใส่มันแน่นอน แต่ใส่เพราะว่าชอบไม่ใช่เพราะคิดว่าสมควรที่จะใส่มัน [19]
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ทำตามทัศนคติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โลกคงจะเป็นสถานที่ที่น่าเบื่อถ้าทุกอย่างเหมือนกันไปหมด และมันไม่มีจุดที่จะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนดังหรือเพื่อนร่วมห้องที่นั่งข้างๆ ก็ตาม แต่ให้เปรียบเทียบตัวเองกับความก้าวหน้าที่ผ่านมา แล้วก็จะสร้างเป้าหมายที่เป็นจริงของตัวเองได้ เช่น อาจจะคิดเกี่ยวกับตัวเองว่าภายนอกดีขึ้นกว่า 2 – 3 ปีก่อน
    • ห้ามลืมที่จะอดทนและใจดีกับตัวเอง รวมทั้งอย่าทำหรือตัดสินตัวเองมากเกินกว่ากับเพื่อนหรือคนอื่น [20]
  2. จำไว้ว่าภาพร่างกายนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของภาพลักษณ์ที่สุขภาพดีของตนเอง. การเรียนรู้ที่จะยอมรับและรักร่างกายตัวเองอย่างมีความหวังนั้นสำคัญ แต่ก็สำคัญที่จะรู้ถึงคุณค่าของตัวเองว่าไม่ได้จำกัดตามความรู้สึกใดๆ กับรูปลักษณ์ [21]
  3. เข้าใจว่าเกือบทุกคนนั้นจะต้องดิ้นรนที่จะรักษารูปลักษณ์ดีๆ ของตัวเองตลอด และเป็นธรรมดาที่จะมีขึ้นและลง แต่ก็ควรตัดสินใจที่จะพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษา หมอ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพใจอย่างจริงใจ [23] ซึ่งมันมีสัญญาณหลากหลายที่บ่งบอกถึงปัญหาร่างกายรุนแรงและต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ โดยถามตัวเองตามนี้ : [24] [25]
    • ควบคุมความคิดแง่ลบเกี่ยวกับตัวเองไม่ได้ใช่ไหม ใช้เวลาคิดถึงข้อด้อยของตัวเองหลายชั่วโมงไหม
    • การไม่มีความสุขกับรูปลักษณ์ขัดขวางชีวิตไหม เช่น ได้หลีกเลี่ยงที่จะออกไปเที่ยวหรือพูดในที่สาธารณะไหม กลัวที่จะไปทำงานเพราะกลัวใครเห็นและถูกวิจารณ์
    • ได้ใช้เวลามากกว่าปกติที่หน้ากระจกและ / หรือแต่งตัวนานทุกวันไหม
    • ไม่สามารถหยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นได้หรือไม่ ได้หลีกเลี่ยงการถูกถ่ายรูปไหม
      • เข้าใจว่าถ้าต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ ก็อาจจะต้องการความช่วยเหลือเพื่อที่จะยอมรับร่างกายตัวเอง โดยอาจจะเป็นโรคที่เรียกว่า โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (BDD) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วต้องการความช่วยเหลือ และถ้าปล่อยเอาไว้ไม่รักษาก็อาจจะมีความคิดหรือพฤติกรรมเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายได้ [26] แม้ว่าจะไม่ได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ก็รู้ไว้ว่าการขอความช่วยเหลือและคำแนะนำมันไม่น่าอาย และดีกว่าการดิ้นรนด้วยตัวเอง
  4. หาความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญที่ได้ผลกับตัวเอง. โดยจะมีตัวเลือกมากมายเลย ซึ่งสามารถพบนักบำบัดสุขภาพจิตและ / หรือนักให้คำปรึกษาและรับการรักษาแบบตัวต่อตัว หรือถ้าสามารถหากลุ่มผู้สนับสนุนท้องถิ่นสำหรับการสร้างเสริมประสบการณ์อย่างเป็นทางการเล็กน้อย และมันยังมีกลุ่มออนไลน์ที่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นที่ทุกข์ทรมาน จากความคิดแง่ลบเกี่ยวกับร่างกายของตัวเองที่แพร่หลาย
    • สิ่งที่สำคัญตอนนี้คือ การหาการสนับสนุนจากคนอื่นที่ไม่ได้กำลังจะตัดสินการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งพวกเขาอาจจะถึงขึ้นมีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ให้ด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แปะโพสต์อิทที่บอกลักษณะที่ดีของตัวเองบนกระจก โดยทำตัวตามสบายที่จะเขียนโน้ตที่บอกลักษณะภายนอกที่ชื่นชอบ ( เช่น “มีโหนกแก้มที่ยอดเยี่ยม” ) แต่ให้จด
  • ระบบส่งเสริมที่เข้มแข็งนั้นสำคัญ เพราะมันมีประโยชน์ต่อการได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตัวเองจากคนที่เราเชื่อ และสามารถคิดย้อนกลับไปได้เมื่อเกิดความคิดแง่ลบขึ้นมา
  • พูดคุยกับหมอเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะเริ่มการควบคุมอาหาร หรือออกกำลังกายแบบใหม่ และระวังการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงหรือฉับพลัน
  • ทุกคนมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะมีรูปร่างและขนาดแบบไหน บางคนมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกัน รวมทั้งบางคนอายเกี่ยวกับขนในที่ลับของตัวเอง แต่ไม่ต้องกังวลเพราะเกือบทุกคนก็เคยมีมันและบางคนก็คิดว่ามันน่าดึงดูดใจเสียด้วย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Spinoza, B. (1677). Ethics. Everyman Classics, translation by G H R Parkinson, 1989. (Note, Prop. II, Part III)
  2. Gallagher, S. (2005). How the body shapes the mind. Oxford; New York: Clarendon Press.
  3. Kate, H. (2013). Positive Psychology And The Body: The Somatopsychic Side To Flourishing: The somatopsychic side to flourishing. McGraw-Hill Education (UK).
  4. http://www.harrisinteractive.com/NewsRoom/HarrisPolls/tabid/447/ctl/ReadCustom%20Default/mid/1508/ArticleId/1200/Default.aspx
  5. http://psychcentral.com/lib/accepting-your-body/
  6. http://psychcentral.com/lib/accepting-your-body/
  7. https://www.psychologytoday.com/blog/wired-success/201002/how-analyzing-your-problems-may-be-counterproductive
  8. http://www.bulimiahelp.org/articles/22-ways-love-and-accept-your-body-just-way-it
  9. http://www.huffingtonpost.com/vivian-diller-phd/photoshop-body-image_b_891095.html
  1. http://www.westminstercollege.edu/myriad/index.cfm?parent=...&detail=4475&content=4795
  2. http://psychcentral.com/lib/demystifying-treatment-for-body-dysmorphic-disorder/
  3. Veale, D., Gournay, K., Dryden, W., Boocock, A., Shah, F., Willson, R., & Walburn, J., (1996). Body Dysmorphic Disorder: A Cognitive Behavioural Model and Pilot Randomized Controlled Trial. Behaviour Research and Therapy, 34, 717-729
  4. http://www.slate.com/articles/health_and_science/medical_examiner/2013/08/dangers_of_loneliness_social_isolation_is_deadlier_than_obesity.html
  5. Marazziti, D., Akiskal, H. S., Rossi, A., & Cassano, G. B. (1999). Alteration of the platelet serotonin transporter in romantic love. Psychological Medicine, 29(3), 741–745.
  6. http://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ894784.pdf
  7. http://www.nationaleatingdisorders.org/20-ways-love-your-body
  8. http://www.nytimes.com/2012/08/16/fashion/mirror-fasts-help-take-the-focus-off-yourself.html?_r=0
  9. http://www.bulimiahelp.org/articles/22-ways-love-and-accept-your-body-just-way-it
  10. http://www.nationaleatingdisorders.org/20-ways-love-your-body
  11. http://www.bulimiahelp.org/articles/22-ways-love-and-accept-your-body-just-way-it
  12. http://www.bulimiahelp.org/articles/22-ways-love-and-accept-your-body-just-way-it
  13. http://www.nationaleatingdisorders.org/20-ways-love-your-body
  14. http://www.nedc.com.au/body-image
  15. http://www.adaa.org/understanding-anxiety/related-illnesses/other-related-conditions/body-dysmorphic-disorder-bdd
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/body-dysmorphic-disorder/basics/symptoms/con-20029953
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/body-dysmorphic-disorder/basics/symptoms/con-20029953

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,777 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา