ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ข้อบกพร่องมีตัวตนอยู่ในสายตาของผู้มองเท่านั้น คุณจึงสามารถยอมรับในทุกสิ่งที่เป็นคุณและรู้สึกดูดีได้ไม่ต่างจากใครอื่น แต่ถ้าคุณคิดว่าตัวเองไม่มีเสน่ห์จริงๆ เราก็ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่ช่วยให้คุณพัฒนาบุคลิกภาพของตัวเองให้ดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการท้าทายความคิดแง่ลบต่างๆ การเสริมสร้างความมั่นใจ หรือแม้แต่การขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น คุณจึงสามารถเรียนรู้ที่จะยอมรับในตัวเองและมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นได้ หากได้ฝึกฝนกลยุทธต่อไปนี้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ท้าทายความคิดแง่ลบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จดจำให้ขึ้นใจว่า คุณค่าของคุณไม่ได้ตัดสินจากรูปลักษณ์ภายนอก. ลองคิดถึงมรดกที่คุณอยากทิ้งไว้ให้ผู้คนจดจำดูสิ "ความสวย/ความหล่อ" เป็นหนึ่งในอันดับท็อปๆ ที่คุณนึกถึงรึเปล่า? หรือเป็นคุณสมบัติอย่างเช่น ความเห็นอกเห็นใจ ความทะเยอทะยาน ความใจดี ความมุ่งมั่น หรือจินตนาการที่มีคุณค่ากับคุณมากกว่า ลองไตร่ตรองดูสิว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณกันแน่ [1]
    • ถ้าเราลองคิดๆ ดู หลากหลายผู้คนที่ยังฝากอิทธิพลไว้บนผืนโลกได้อย่างยาวนาน กลับไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความสวย/หล่อในความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจกัน ลองคิดถึงแม่ชีเทเรซา หญิงผู้อุทิศทั้งชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น [2] หรือสตีเฟน ฮอว์กิง ผู้ใช้ชีวิตเพื่อแก้ปริศนาลับแห่งจักรวาล [3]
  2. สมองของคนเรามักโฟกัสไปที่ประสบการณ์และข้อมูลร้ายๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่าคุณจะพบเจอประสบการณ์ดีๆ มากกว่าประสบการณ์ร้ายๆ ก็ตาม [4] ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีแนวโน้มที่จะเชื่อคำด่าทอในหัวที่พร่ำพูดว่า “ฉันไม่สูงพอ” หรือ “ฉันไม่สวยพอ” หรืออะไรก็ตามที่เสียงนั้นพูดว่าเป็นเรื่องจริง แต่ความจริงแล้ว สมองของคุณอาจกำลังมองข้ามสิ่งดีๆ มากมายเกี่ยวกับตัวคุณ เพียงเพื่อพุ่งเป้าไปที่สิ่งไม่ดีบางอย่าง
    • เลือกบทสวดมนต์หรือประโยคดีๆ ที่ช่วยให้คุณรู้สึกเป็นกลางกับประสบการณ์ที่พบเจอ และช่วยให้คุณรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นได้ พูดประโยคนั้นกับตัวเองซ้ำๆ เมื่อเริ่มได้ยินเสียงแว่วเข้ามาในหัว ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า "ฉันยอมรับในสิ่งที่ฉันเป็น" หรือ "ฉันมีอิสระที่จะเลือกได้ว่าเสน่ห์คืออะไร"
  3. ถ้ารอบตัวคุณห้อมล้อมไปด้วยผู้คนและภาพจากสื่อที่พร่ำบอกว่ารูปร่างหน้าตาของคุณมันไม่เอาไหน คุณอาจจะหลงเชื่อพวกเขาได้ในที่สุดจนเริ่มจับจ้องแต่สิ่งที่คุณไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเอง เรามาลองท้าทายความคิดอันบิดเบี้ยวเหล่านี้ดูหน่อยเป็นไง ด้วยการค้นหาข้อดีในตัวคุณและโฟกัสไปที่สิ่งนั้นแทน
    • พยายามค้นหาข้อดีในตัวคุณทุกครั้งที่จับได้ว่าสมองกำลังคิดถึงข้อเสียเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของคุณเอง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณบังเอิญเดินผ่านกระจกและคิดขึ้นมาว่า "อี๋ ทำไมฟันของฉันถึงเบี้ยวขนาดนี้" ให้ลองหยุดคิดและหาสิ่งดีๆ มาปรับความสมดุล อย่างเช่น "อย่างน้อยๆ รอยยิ้มก็ช่วยบอกเล่าให้คนอื่นรับรู้เมื่อฉันกำลังมีความสุข"
    • ถ้าคุณกำลังอยู่ในโหมดจนปัญญาหามุมสวยของตัวเองไม่เจอ ลองเริ่มต้นด้วยการโฟกัสไปที่สิ่งดีๆ ที่ร่างกายของคุณสามารถ "ทำ" ได้แทนดูสิ เช่น คุณอาจจะเต้นได้ วิ่งได้ หัวเราะร่าได้ หรือหายใจได้? จงเรียนรู้ที่จะมองเห็นคุณค่าในประโยชน์ของร่างกาย แล้วคุณอาจจะค้นพบสิ่งที่คุณชอบในตัวเองได้ง่ายขึ้น [5]
  4. หยุดบอกตัวเองว่าฉัน "ควร" เป็นอย่างนั้นอย่างนี้. ฝรั่งมีคำเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "Shoulding" ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคนเราเริ่มคิดกับตัวเองด้วยประโยค "ควร" เช่น "ฉันควรจะสวยให้ได้อย่างนางแบบ" หรือ "ฉันควรจะมีเอวแค่ 36" หรือ "ฉันควรจะมีผิว/ผม/ดวงตา/ส่วนสูง/น้ำหนัก/อะไรก็ตามต่างไปจากตอนนี้" [6] แต่รู้หรือไม่ว่า การใช้ประโยค "ควร" เหล่านี้กับตัวเองอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความรู้สึกผิดและอาการซึมเศร้า
    • ตัวอย่างเช่น รูปแบบหนึ่งของการทำให้ตัวเองรู้สึกไร้เสน่ห์ คือการเปรียบเทียบตัวเองกับนักแสดงและนายแบบ/นางแบบ แต่คุณต้องไม่ลืมว่าส่วนใหญ่แล้ว แม้แต่นางแบบในโฆษณาหรือนิตยสารเองตัวจริงก็ยังไม่ดูดีได้ขนาดนั้น เพราะภาพเหล่านั้นมักผ่านการตัดต่อแปลงโฉมมาแล้ว [7]
    • ลองนำประโยคข้อเท็จจริงมางัดข้อกับประโยค "ควร" ดูสิ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมักรู้สึกว่าฟันของคุณ "ควร" จะตรงกว่านี้ ลองท้าทายความคิดนี้ด้วยการพูดว่า "ฟันของฉันก็คือฟัน และมันก็ใช้การได้ดีซะด้วย"
  5. ลองคิดดูว่า คุณจะพูดสิ่งเดียวกันนี้กับเพื่อนรึเปล่า. เพราะบางครั้ง คนเราก็ใจร้ายกับตัวเองมากกว่ากับเพื่อนหรือคนที่เรารัก เพราะฉะนั้น เมื่อไรที่จับได้ว่าความคิดที่ว่าฉันไม่สวยเริ่มโผล่เข้ามา ลองไตร่ตรองดูสิว่าคุณจะวิจารณ์เพื่อนในลักษณะเดียวกันนี้รึเปล่า ถ้าคุณไม่มีวันพูดอย่างนั้นกับคนที่คุณรัก แล้วทำไมคุณถึงพูดอย่างนั้นกับตัวเองล่ะ
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นกังวลกับน้ำหนักตัว คุณอาจจะมองไปที่กระจกแล้วคิดขึ้นมาว่า "ฉันทั้งอ้วนแล้วก็น่าเกลียดขนาดนี้ คงไม่มีใครคิดว่าฉันสวยแน่ๆ" แต่คำพูดในทำนองนี้ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะพูดกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวหรอกจริงไหม คุณคงไม่วิจารณ์เรื่องน้ำหนักกับคนที่คุณรัก หรืออาจไม่สังเกตเห็นเสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น จงมอบความเห็นอกเห็นใจให้กับตัวเอง อย่างที่คุณมอบให้กับคนอื่น
  6. ท้าทายความคิดที่ว่าโลกนี้มีแค่ "คนที่มีทั้งหมดกับคนที่ไม่มีเลย". ความคิดที่ว่าโลกนี้มีแค่ "คนที่มีทั้งหมดกับคนที่ไม่มีเลย" จะเกิดขึ้นเมื่อคุณมองสิ่งต่างๆ เป็นสีขาวดำ ซึ่งถือเป็นวิธีการคิดที่บิดเบี้ยว ซึ่งอาจทำให้คุณโยนความคิดที่ว่าคุณเองก็มีเสน่ห์ออกไปจากสมอง เพียงเพราะคุณมีข้อบกพร่องบางอย่าง แต่คุณต้องไม่ลืมว่า ความงามขึ้นอยู่กับสายตาของคนมองเท่านั้น ข้อบกพร่องเองก็เช่นกัน เพราะฉะนั้น ทุกส่วนในร่างกายของคุณล้วนแล้วแต่เป็นสมบัติล้ำค่าได้ ถ้าคุณเลือกที่จะมองอย่างนั้น
    • เคยมีคนบอกให้ซินดี้ ครอว์ฟอร์ด ซูเปอร์โมเดลแห่งยุค 80 ไปกำจัดไฝบนใบหน้าเพราะว่ามัน "น่าเกลียด" แต่ครอว์ฟอร์ดกลับเลือกที่จะเปลี่ยนมันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนทำให้เธอกลายเป็นหนึ่งในซูเปอร์โมเดลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก [8]
    • เมื่อ Aerie หนึ่งในแบรนด์ชุดชั้นในสตรีสัญชาติอเมริกันเลิกตัดต่อภาพของเหล่านางแบบ และเลือกที่จะโชว์พวกเธอพร้อม "จุดบกพร่อง" ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไขมันใต้ชั้นผิวหรือริ้วรอย ฯลฯ ยอดขายของแบรนด์ก็กลับเพิ่มขึ้นในทันตา [9]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เสริมสร้างความมั่นใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะการด่าทอตัวเองรังแต่จะทำให้คุณเห็นคุณค่าของตัวเองน้อยลง นอกจากนี้ การด่าทอตัวเองยังอาจทำให้คุณเกิดภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าได้ [10] เพราะฉะนั้น เรามาตอบโต้คำด่าทอเหล่านี้ ด้วยการเรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจตัวเองกันดีกว่า การเห็นอกเห็นใจตัวเองประกอบไปด้วย 3 สิ่งด้วยกัน [11]
    • "ใจดีกับตัวเอง" คุณไม่ควรใจร้ายกับตัวเอง เหมือนอย่างที่คุณไม่ควรใจร้ายกับเพื่อนนั่นล่ะ คุณต้องยอมรับว่า ความไม่สมบูรณ์แบบขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน และคอยเตือนตัวเองว่ามันไม่มีอยู่จริงหรอก สิ่งที่เรียกว่ามาตรฐานสากลสำหรับความสมบูรณ์แบบน่ะ เพราะฉะนั้น จงอ่อนโยนและใจดีกับตัวเองเข้าไว้
    • "สิ่งที่มีร่วมกันในความเป็นมนุษย์" ความรู้สึกที่ว่า ฉันเป็นคนเดียวที่ต้องทนทุกข์กับเรื่องพวกนี้อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่าย แต่คุณต้องตระหนักให้ได้ว่า ในโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ
    • "มีสติ" การมีสติเป็นวิถีปฏิบัติของชาวพุทธเพื่อรับรู้ในการมีอยู่ของประสบการณ์และห้วงอารมณ์ต่างๆ โดยไม่ไปตัดสินมัน ในระหว่างที่ฝึกสติ คุณจะสามารถอยู่กับปัจจุบัน และตั้งจิตจดจ่อไปที่ประสบการณ์ ณ ขณะปัจจุบันได้
  2. ค้นหาสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกแย่เกี่ยวกับตัวเอง. [12] ลองเขียนสิ่งต่างๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอหรือไม่สวย/ไม่หล่อ พร้อมเขียนลงไปว่าสิ่งเหล่านั้นทำให้คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง แต่ในขณะที่เขียน พยายามอย่าไปตัดสินความรู้สึกของคุณ จงเปิดใจและจริงใจกับตัวเอง [13]
    • ขั้นต่อไป ลองนึกถึงภาพของเพื่อนคนหนึ่งที่ยอมรับและรักในตัวคุณอย่างไม่มีเงื่อนไข ถ้าคุณเชื่อเรื่องศาสนาหรือจิตวิญญาณ คนที่คุณนึกถึงอาจเป็นบุคคลตัวอย่างในศาสนาหรือลัทธิของคุณ แต่ถ้าคุณไม่เชื่อเรื่องศาสนามากนัก ให้ลองจินตนาการว่าคุณรู้จักใครคนหนึ่งที่ยอมรับในตัวคุณอย่างที่คุณเป็นจริงๆ อย่าให้เพื่อนในจินตนาการคนนี้ตัดสินสิ่งใดๆ เป็นอันขาด ให้เขามีแต่ความเป็นห่วงเป็นใย ใจดี และยินดีรับฟัง
    • เขียนจดหมายถึงตัวเองโดยนึกถึงภาพของเพื่อนคนนี้เข้าไว้ ลองจินตนาการว่าเพื่อนที่ยินดีรับฟังคุณคนนี้จะตอบสนองอย่างไรเมื่อได้รู้ถึงความคิดของคุณที่ว่าตัวคุณไม่ดีพอ เขาจะแสดงความเห็นอกเห็นใจยังไงบ้างนะ เขาจะเตือนสติให้คุณนึกถึงข้อดีของตัวเองได้อย่างไร เขาจะคิดว่าสิ่งต่างๆ นานาที่คุณมองเห็น เป็น "ข้อบกพร่อง" หรือ "ไร้เสน่ห์" อย่างที่คุณมองรึเปล่า
    • หยิบจดหมายฉบับนี้ขึ้นมาอ่านเมื่อคุณรู้สึกท้อแท้กับรูปร่างหน้าตาของตัวเอง จงตั้งสติในยามที่ความคิดแง่ลบเหล่านี้ปรากฏกายออกมา วิธีการนี้จะช่วยฝึกให้คุณรู้จักรักตัวเองและยอมรับในตัวตนที่คุณเป็น แทนที่ยอมใช้ชีวิตอย่างไร้ความสุขเพียงเพราะคุณไม่สามารถเป็นไปตามภาพของความสมบูรณ์แบบที่ไม่มีอยู่จริง
  3. วัฒนธรรมตะวันตกประดิษฐ์คำจำกัดความของสิ่งที่เรียกว่า "ความงาม" เอาไว้แคบมากๆ บ่อยครั้งเหลือเกินที่เรามักได้ยินว่าคนสวย/คนหล่อต้องเป็นคนที่ขาว สูง ผอม และยังวัยละอ่อนเท่านั้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจำเป็นต้องยอมรับในคำจำกัดความอะไรทำนองนี้ ความงามเป็นเรื่องส่วนบุคคล เพราะฉะนั้น จงปลดปล่อยตัวคุณออกจากแรงกดดันทางสังคมที่บีบให้คุณต้องเป็นให้ได้อย่างอุดมคติที่วางไว้
    • ลองคิดถึงสิ่งสวยงามที่คุณค้นพบในตัวเพื่อนหรือคนที่คุณรักดูสิ มนุษย์เรามักจะเลือกคบเพื่อนที่เราเชื่อว่ามีบางมุมที่มีเสน่ห์ [14] แล้วคุณล่ะ มองเห็นเสน่ห์อะไรในคนที่คุณรัก คุณจะสังเกตได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ว คำหมายของคำว่าความงามที่คุณใช้มองเพื่อนมักจะกว้างกว่ามาตรฐานที่คุณใช้กับตัวเอง
  4. ลองเขียนสิ่งต่างๆ ที่คุณชอบเกี่ยวกับตัวเอง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรูปร่างหน้าตาของคุณ ลองพิจารณาถึงคุณสมบัติเกี่ยวกับตัวคุณที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุขหรือมั่นใจเมื่อได้นึกถึง [15]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะคิดว่าคุณเป็นคนที่แคร์เพื่อนมากขนาดไหน หรือมีความเป็นศิลปินสูงเพียงใด
    • สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นคุณสมบัติที่ทำให้คุณเหนือกว่าคนทั่วไปหรือกลายเป็นคนวิเศษวิโส เพราะความจริงแล้ว การกดดันให้ตัวเองต้องเป็นคนพิเศษเพื่อที่คุณจะได้นับถือตัวเองรังแต่จะทำร้ายตัวคุณเสียเอง [16] ให้ลองคิดแค่ว่าคุณเป็นคนที่ทำอาหารพอใช้ได้ไหม หรือไปถึงที่ทำงานตรงเวลาเสมอรึเปล่า เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การชื่นชมไม่แพ้สิ่งอื่นใด
  5. การเขียนไดอารี่เป็นอีกหนึ่งวิธีการดีๆ ที่ช่วยให้คุณได้สัมผัสกับความรู้สึกของตัวเอง ในแต่ละวัน ลองจดบันทึกทุกครั้งที่ความรู้สึกไม่สวย/ไม่หล่อปรากฏกายขึ้นมา พยายามเขียนให้ละเอียดที่สุดว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกไร้เสน่ห์? ตอนนั้น คุณกำลังจดจ่ออยู่กับสิ่งใด? ความคิดเหล่านั้นทำให้คุณรู้สึกอย่างไร? และมีอะไรเกิดขึ้นก่อนและหลังจากที่ความรู้สึกนี้ผุดขึ้นมา? [17]
    • พยายามค้นหาว่า "เหตุใด" คุณจึงตัดสินตัวเองเช่นนั้น เพราะบางครั้ง คุณอาจด่าทอรูปร่างหน้าตาของตัวเองเมื่อคุณรู้สึกไม่พอใจในสิ่งอื่นเกี่ยวกับตัวคุณ นอกจากนี้ ความเครียดและความวิตกกังวลก็มีผลต่อวิธีการที่คุณมองตัวเองด้วยเช่นกัน [18]
  6. เรียนรู้ที่จะมองเห็นคุณค่าและขอบคุณในสิ่งต่างๆ. จงพยายามทำให้ความรู้สึกขอบคุณกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เพราะผู้ที่มองเห็นคุณค่าในสิ่งต่างๆ มักจะมีความสุข มองโลกในแง่ดี และรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยกว่าคนอื่นๆ หรือถึงขั้นมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่าได้เลยทีเดียว [19] เพราะถ้าคุณโฟกัสไปที่สิ่งดีๆ และบวกๆ ในชีวิต การมัวแต่คิดถึงสิ่งที่คุณไม่มีก็คงจะยากขึ้นจริงไหม
    • การมองเห็นคุณค่าในสรรพสิ่งนั้นเป็นมากกว่าการรู้สึกขอบคุณ เพราะมันจัดเป็นกระบวนการเชิงรุก ระบบประสาทของคุณถูกวางผังมาให้ยึดติดกับประสบการณ์ร้ายๆ และกำจัดประสบการณ์ดีๆ ทิ้งไป คุณจึงต้องฝึกที่จะต่อต้านมันให้ได้ [20]
    • ลองเปลี่ยน "ข้อเท็จจริง" เชิงบวกเป็น "ประสบการณ์" เชิงบวก ข้อเท็จจริงที่ว่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหญ่โต อาจเป็นแค่เรื่องธรรมดาๆ อย่างการที่คนแปลกหน้ายิ้มให้คุณบนถนน หรือการที่คุณสังเกตเห็นว่าดอกไม้ในสวนกำลังเบ่งบาน คอยมองไปรอบๆ ตัวเพื่อมองหาช่วงเวลาดีๆ เหล่านี้ จงมีสติและเพ่งความสนใจไปที่สิ่งเหล่านี้เมื่อมันเกิดขึ้น
    • ทำให้ประสบการณ์ดีๆ ค้างอยู่ในจิตใจนานขึ้นอีกสักนิด พยายามโฟกัสไปที่ช่วงเวลาดีๆ นั้นให้ได้อย่างน้อยสัก 2 วินาที ยิ่งคุณเพ่งความสนใจไปที่ช่วงเวลาดีๆ นั้นมากเท่าไร คุณก็จะยิ่งจดจำมัน และมีโอกาสที่จะมองเห็นเรื่องราวดีๆ อย่างนี้อีกครั้งได้มากขึ้น เพราะฉะนั้น จง "บันทึกภาพเหล่านั้นไว้ในจิตใจ" หรือพูดกับตัวเองด้วยถ้อยคำที่ไม่เกินจริงมากเกินไป อย่างเช่น "ช่วงเวลานี้ช่างสวยงาม" [21]
    • จงซึมซับช่วงเวลาดีๆ ลองจินตนาการว่าประสบการณ์ดีๆ เหล่านี้กำลังซึมซาบเข้าไปในตัวคุณ ผ่อนคลายร่างกายและตั้งสมาธิจดจ่อไปที่สิ่งที่ประสาทสัมผัสของคุณกำลังรู้สึก ลองนึกถึงความคิดที่ประสบการณ์นี้ทำให้คุณนึกถึง [22]
  7. สิ่งสำคัญที่ต้องเตือนไว้ก่อนคือ คุณไม่ควรใช้การช็อปปิ้งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้อารมณ์ดีขึ้น แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อเราได้สวมใส่เสื้อผ้าที่ชื่นชอบหรือได้ตัดผมเก๋ๆ ทรงใหม่ มันก็อาจทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นได้ [23] และ ความมั่นใจ ก็มีผลต่อบุคลิกภาพและวิธีการที่คุณแสดงออกกับคนอื่นเสียด้วย จึงอาจช่วยยกระดับภาพลักษณ์และทำให้คุณรู้สึกมีเสน่ห์มากขึ้นได้นั่นเอง [24] [25]
    • แต่ก็อย่าเผลอใช้เงินมากเกินไปเชียว เดี๋ยวจะพาลทำให้คุณรู้สึกแย่กับตัวเองทีหลัง และอย่าคิดด้วยว่าคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ยกตู้ แค่เลือกเสื้อผ้าสวยๆ สักชิ้นสองชิ้นที่ทำให้คุณรู้สึกมั่นใจเมื่อได้สวมใส่ เท่านี้ก็เพียงพอแล้วล่ะ
  8. คุณอาจโดนล่อหลอกให้รอจนกว่าจะมีหุ่น "สุดเพอร์เฟค" เสียก่อนจึงค่อยหาซื้อเสื้อผ้าใหม่ หรืออาจพยายามซ่อนรูปร่างของคุณไว้ภายใต้เสื้อผ้า เพราะรู้สึกว่าตัวเองตัวใหญ่หรือเล็กเกินไป แต่รู้หรือไม่ว่า สิ่งเหล่านี้จะทำลายความรู้สึกที่คุณมีต่อตัวเอง เพราะฉะนั้น จงหาซื้อชุดที่เข้ากับรูปร่างของคุณในตอนนี้ ชุดที่จะทำให้คุณรู้สึกดูดีที่สุด [26]
    • วิธีการแต่งตัวมีผลโดยตรงต่อความรู้สึกที่คุณมีต่อตัวเอง [27] อย่างที่นักแสดงมักพูดเสมอว่าการสวม "ชุดแสดง" ช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตัวละครมากขึ้น เพราะฉะนั้น จงแต่งตัวอย่างตัวละครที่คุณ "อยาก" เป็น อย่าแต่งตามที่เสียงในหัวคอยกรอกหูว่าคุณเป็นคนยังไง [28]
    • รู้หรือไม่ว่า เสื้อผ้าสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น ถ้ามีเสื้อผ้าแบบไหนที่เห็นว่าสวยล่ะก็ ใส่มันเลย! เพราะคุณอาจรู้สึกสวยขึ้นตามไปด้วยก็ได้ [29]
    • คอยเตือนตัวเองว่า ฉันควรค่ากับความพยายาม [30] ลองใส่เสื้อผ้าที่คุณชอบ ให้เสื้อผ้าบ่งบอกถึงตัวตนและเซนส์เรื่องแฟชั่นของคุณ [31]
    • เลือกเสื้อผ้าที่พอดีตัว เพราะเสื้อผ้าที่พอดีตัวจะช่วยขับเน้นให้คนอื่นมองเห็นเสน่ห์ของเรือนร่างคุณได้มากยิ่งขึ้น แม้คนที่อยู่ "ใน" เสื้อผ้าจะเป็นคนเดิมก็ตามที [32]
  9. การออกกำลังกายเป็นวิธีการดีๆ ในการทำให้รูปร่างสมส่วน อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารเคมีภายในร่างกายที่ช่วยให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี [33] นอกจากนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและลดความวิตกกังวล เท่านั้นยังไม่พอ การออกกำลังกายในระดับที่พอดีอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลา 10 สัปดาห์ ยังทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มองโลกในแง่ดี และใจเย็นมากขึ้นได้อีกด้วย [34]
    • พยายามอย่าไปฟิตเนสด้วยความคิดที่ว่าอยาก "แก้ไข" ตัวเอง มันจะทำให้คุณโฟกัสไปที่ด้านลบมากกว่าที่จะมองด้านบวกของการออกกำลังกาย และมักลงเอยด้วยการทำร้ายตัวเอง นอกจากนี้ คุณอาจรู้สึกว่าการออกกำลังกายเป็นอะไรที่ยากเย็นขึ้นถ้าคุณโฟกัสเพียงว่าคุณรู้สึกแย่กับตัวเองมากแค่ไหน [35] ลองหันมาโฟกัสว่า คุณกำลังแสดงให้เห็นว่าคุณแคร์ตัวเอง ด้วยการดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงและมีความสุข ไม่ว่ารูปร่างของคุณจะเป็นเช่นไรก็ตาม
  10. เรือนร่างที่ผ่านการตัดต่อและรูปหน้าที่สมส่วนไร้ที่ติตามแบบฉบับความงามที่ได้รับความนิยมในสื่ออาจทำให้คุณรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติเกี่ยวกับตัวคุณ แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ช่วยลด "จุดบกพร่อง" ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครีมขจัดไขมันส่วนเกินหรือครีมลดริ้วรอย ฯลฯ ก็อาจทำให้คุณรู้สึกแย่กับตัวเองมากขึ้น [36]
    • สื่อที่ไม่ดีอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตัวคุณ การเสพภาพของเรือนร่างตามอุดมคติที่ไม่มีอยู่จริงอาจดึงอารมณ์ให้ตกต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังทำให้คุณไม่พอใจในรูปร่างของตัวเองมากยิ่งขึ้น [37]
    • ถ้าอยากเห็นว่าจะมีสัก "กี่ครั้ง" ที่ความงามตามอุดมคติเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาล้วนๆ เพียงเข้าอินเตอร์เน็ตแล้วค้นหาคำว่า "นิตยสาร Photoshop ไม่เนียน" แล้วคุณจะได้รู้ว่า แทบไม่มีภาพไหนในสื่อที่ไม่ผ่านการปรับแต่งเลย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การฝึกร่วมกับผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้คุณจะไม่อยากพึ่งพาคนอื่นเพียงเพื่อยืนยันคุณค่าของตัวคุณเอง แต่บางครั้ง การได้บอกเล่าความรู้สึกของคุณกับเพื่อนก็อาจช่วยได้ เพราะคุณอาจพบว่าเพื่อนมองเห็นเสน่ห์บางอย่างในตัวคุณที่คุณอาจไม่เคยคิดถึงมาก่อน
    • มากอดกันดีกว่า! รู้หรือไม่ว่า การโอบกอดและสัมผัสร่างกายของคนที่คุณรักช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีพลังมหาศาล ทำให้คุณรู้สึกได้รับความรักและสัมผัสได้ถึงความผูกพันกับคนอื่นๆ แถมยังช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นอีกด้วย [38] นอกจากนี้ ความอบอุ่นจากอ้อมกอดยังช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ [39]
  2. ถ้าคุณรู้สึกไม่มั่นใจในรูปร่างหน้าตาของตัวเอง คุณอาจหลีกเลี่ยงการไปปาร์ตี้หรือนัดรวมกลุ่มต่างๆ เพราะกังวลว่าคนอื่นจะมองคุณอย่างไร หรือกลัวว่าตัวเองจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ ใช่! การหมกตัวอยู่บ้านอาจจะง่ายกว่าการฝืนก้าวออกไป แต่มันไม่ได้ช่วยให้คุณหลุดพ้นจากความไม่มั่นใจหรือความหวาดกลัวที่คุณกำลังเผชิญ [40]
    • ลองจัดอันดับสิ่งที่คุณกลัว จากมากที่สุดไปจนถึงระดับพอรับไหว ตัวอย่างเช่น การถูกวิจารณ์แรงๆ ต่อหน้าอาจจะอยู่อันดับ 9 หรือ 10 ในขณะที่การถูกนินทาอาจอยู่อันดับ 7 หรือ 8 และคุณคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าคุณไปงานรวมกลุ่ม? ลองเขียนสิ่งที่คุณคาดว่าจะเกิดขึ้นและสิ่งที่คุณกลัวลงไป
    • ทดสอบความกลัวเหล่านี้ ทางเดียวที่คุณจะพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่คุณคาดคิดเป็นจริงได้มากแค่ไหน นั่นคือการทดสอบ จงมุ่งหน้าไปงานปาร์ตี้ ปรากฏกายด้วยความมั่นอกมั่นใจและความคิดเชิงบวกที่คุณได้เรียนรู้และฝึกฝนมา พยายามอย่าทำ "พฤติกรรมหลีกเลี่ยงความเสี่ยง" ต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นการหลบสายตาหรือซ่อนตัวอยู่ในมุมมืด ฯลฯ [41]
    • ลองสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามีหลักฐานอะไรที่ยืนยันความคาดการณ์ของคุณได้บ้าง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกลัวว่าทุกคนในงานจะคิดว่าคุณ "อ้วนเกินไป" ที่จะใส่เดรสสั้นๆ ลองหาหลักฐานมายืนยันข้อสันนิษฐานของคุณหน่อยซิ คุณรู้ได้อย่างไรว่านั่นคือสิ่งที่พวกเขาคิด? คนอื่นๆ ในงานต้องพบเจอสถานการณ์เดียวกับคุณรึเปล่า? แต่พยายามอย่ามองว่าสิ่งต่างๆ เป็นหายนะไปเสียหมด จงตอบโต้เสียงวิจารณ์รุนแรงที่ดังอยู่ในหัวของคุณ [42]
  3. อยู่ให้ห่างจากคนที่ทำให้คุณมองตัวเองในแง่ลบ. คนอื่นอาจเล่นมุขตลกเจ็บๆ หรือวิพากษ์วิจารณ์รูปร่างหน้าตาของคุณ โดยไม่รู้ว่ามันส่งผลต่อคุณมากแค่ไหน คนอื่นอาจพูดจาทำร้ายความรู้สึกเพราะไม่เคยมีใครบอกพวกเขาว่าการวิจารณ์คนอื่นแรงๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ จงทำให้พวกเขารับรู้ว่าพวกเขากำลังทำร้ายความรู้สึกของคุณ และขอให้พวกเขาหยุดมัน ด้วยวิธีการที่ไม่ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ถ้าพวกเขายังไม่หยุดวิจารณ์แย่ๆ ล่ะก็ การหลีกเลี่ยงไม่ไปข้องแวะกับพวกเขาอาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่า [43]
    • มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และอารมณ์ของเราก็มักจะขึ้นอยู่กับคนที่เราใช้เวลาด้วย ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากคุณห้อมล้อมไปด้วยคนที่โฟกัสแต่เรื่องหน้าตา หรือคนที่ทำให้คุณรู้สึกแย่กับตัวเอง ก็มีโอกาสที่คุณจะสูญเสียความมั่นใจในรูปร่างหน้าตาของตัวเองสูง โชคดีที่กฎนี้ได้ผลถ้าเราทำในทางตรงกันข้ามด้วยเช่นกัน นั่นคือ ถ้าคุณอยู่ท่ามกลางคนที่เปิดกว้าง ยอมรับในตัวตนของผู้อื่น และไม่มองแค่รูปร่างหน้าตา คุณก็จะรู้สึกดีกับตัวเองตามไปด้วย [44]
    • บางครั้ง คำวิจารณ์แย่ๆ เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของคุณอาจเกิดจากการที่อีกฝ่ายเองก็ไม่มั่นใจในรูปร่างหน้าตาของตัวเอง คำวิจารณ์ในลักษณะนี้จึงสื่อถึงสิ่งที่อีกฝ่ายรู้สึกเกี่ยวกับตัวเอง มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่พวกเขามีเกี่ยวกับคุณ
    • ถ้าคุณกำลังตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้ง ความรุนแรง หรือพฤติกรรมดูถูกอื่นๆ คุณไม่จำเป็นต้องยอมรับมัน รีบรายงานพฤติกรรมนี้ให้ผู้ที่มีอำนาจทราบ (ที่ปรึกษาในโรงเรียน ฝ่ายบุคคล ฯลฯ)
  4. บางครั้ง คุณอาจรู้สึกไม่พอใจรูปร่างหน้าตาของตัวเองเอามากๆ จนยอมทำอะไรบางอย่างที่อันตรายอย่างหักโหมเพื่อปรับเปลี่ยนรูปร่าง ถ้าคุณหมกมุ่นกับเรื่องน้ำหนัก รูปร่างหรือขนาดตัว และอาหารที่คุณกิน คุณอาจลงเอยด้วยการทำพฤติกรรมอันตรายที่อาจนำไปสู่ความผิดปกติทางการกินได้ในที่สุด อาการต่อไปนี้ถือเป็นสัญญาณร้ายแรง และต้องรีบพบแพทย์โดยทันที [45]
    • โรคอะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า เกิดขึ้นเมื่อคุณจำกัดปริมาณการกินอย่างหนัก เมื่อไรก็ตามที่คุณกิน คุณจะรู้สึกผิดอย่างรุนแรง จนอาจชดเชยกับสิ่งที่กินเข้าไปด้วยการออกกำลังกายอย่างหักโหมหรือหาวิธีเอาอาหารออกมา [46] สัญญาณของโรคอะนอเร็กเซีย ได้แก่
      • จำกัดปริมาณแคลอรีอย่างรุนแรง
      • หมกมุ่นกับชนิดและปริมาณของอาหารที่คุณกิน
      • ตั้งกฎที่เข้มงวดกับการกินอยู่เสมอ
      • รู้สึก "อ้วน" ทั้งที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา เกิดขึ้นเมื่อเรากินไม่หยุด กินมากเกินไป จนต้องกำจัดของที่กินเข้าไปออกมา เช่น ด้วยการทำให้อาเจียน ใช้ยาถ่าย หรือออกกำลังกายอย่างหักโหม [47] โรคบูลิเมียมักมีความเชื่อมโยงกับความหมกมุ่นเรื่องรูปร่าง น้ำหนัก หรือขนาดตัวมากเกินไปเหมือนในโรคความผิดปกติทางการกินอื่นๆ สัญญาณของโรคบูลิเมีย ได้แก่
      • รู้สึกผิดเกี่ยวกับอาหารการกิน
      • รู้สึกเหมือนตัวเองไม่สามารถควบคุมอาหารและปริมาณที่กินได้
      • รู้สึกว่าตัวเองต้องกินในปริมาณมากๆ
    • โรคกินไม่หยุด เป็นอาการใหม่ที่เพิ่งค้นพบ แต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ในทางการแพทย์ ความแตกต่างระหว่างโรคนี้กับโรคความผิดปกติทางการกินอื่นๆ คือ โรคกินไม่หยุดจะไม่มีพฤติกรรม "ชดเชยความรู้สึกผิด" ร่วมด้วย เช่น พยายามเอาอาหารที่กินเข้าไปออกมาหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม อาการของโรคได้แก่ [48]
      • รู้สึกเหมือนตัวเองไม่สามารถควบคุมอาหารและปริมาณที่กินได้
      • รู้สึกผิดหรือรังเกียจตัวเองในขณะที่กินหรือหลังการกิน
      • กินในขณะที่ไม่รู้สึกหิวหรือแม้กระทั่งเมื่อรู้สึกอิ่มแล้ว
  5. คุณไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเพียงลำพัง เพราะความรู้สึกไม่มั่นคงทางอารมณ์ในระดับอ่อนๆ มักแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม โรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับรูปร่างของคุณถือเป็นอาการที่มีที่มาที่ไปและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ถ้าความรู้สึกว่าตัวเองน่าเกลียดหรือขาดความมั่นใจอยู่ในระดับรุนแรงจนทำให้คุณไม่กล้าทำอะไรที่คุณชอบ หรือคิดว่ามันอาจทำให้คุณทำร้ายตัวเองล่ะก็ รีบขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตให้เร็วที่สุด
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์และพยาบาลเวชปฏิบัติทางจิต ซึ่งมักเป็นผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดียวที่สามารถจ่ายยาได้ และอาจให้การบำบัดแก่คุณ ในขณะที่นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์คลินิกที่มีใบอนุญาต นักบำบัดด้านครอบครัวและชีวิตคู่ที่มีใบอนุญาต และผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาที่มีใบอนุญาตอาจให้การบำบัดแก่คุณได้เช่นเดียวกัน
    • บางคนเชื่อในความคิดผิดๆ ที่ว่าการขอความช่วยเหลือเป็นสัญญาณของความอ่อนแอ คุณอาจคิดว่าคุณ "ควร" จัดการกับความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่อย่าลืมว่า ประโยค “ควร” อาจทำร้ายคุณได้ เพราะโดยแท้จริงแล้ว การขอความช่วยเหลือจัดเป็นการกระทำที่กล้าหาญ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าคุณแคร์ตัวเอง!!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองเขียนสโลแกนดีๆ เกี่ยวกับตัวเองแปะไว้ที่กระจก
  • หาเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัวเพื่อพูดระบายเมื่อรู้สึกคับข้องใจ เพราะอ้อมกอดและคำพูดยืนยันจากปากของคนที่คุณรักนั้นมีความหมายมาก
โฆษณา

คำเตือน

โฆษณา
  1. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/06/27/5-strategies-for-self-compassion/
  2. http://self-compassion.org/the-three-elements-of-self-compassion-2/
  3. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/adult-health/in-depth/self-esteem/art-20045374
  4. http://self-compassion.org/exercise-3-exploring-self-compassion-writing/
  5. http://allpsych.com/psychology101/attribution_attraction/
  6. https://www.nationaleatingdisorders.org/10-steps-positive-body-image
  7. http://self-compassion.org/what-self-compassion-is-not-2/
  8. http://self-compassion.org/exercise-6-self-compassion-journal/
  9. http://www.webmd.com/beauty/style/build-a-better-body-image-no-dieting-required
  10. http://greatergood.berkeley.edu/expandinggratitude
  11. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/taking_in_the_good
  12. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/10_steps_to_savoring_the_good_things_in_life
  13. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/taking_in_the_good
  14. http://business.time.com/2013/04/16/is-retail-therapy-for-real-5-ways-shopping-is-actually-good-for-you/
  15. http://www.scienceofpeople.com/the-psychology-of-attraction/
  16. http://www.thedatereport.com/dating/science/2168-science-explains-why-confidence-scores-you-dates/
  17. http://www.webmd.com/beauty/style/build-a-better-body-image-no-dieting-required
  18. http://www.forbes.com/sites/learnvest/2012/04/03/what-your-clothes-say-about-you/
  19. http://www.forbes.com/sites/learnvest/2012/04/03/what-your-clothes-say-about-you/2/
  20. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0022103112000200
  21. http://www.webmd.com/beauty/style/build-a-better-body-image-no-dieting-required
  22. http://www.apa.org/gradpsych/2012/11/odd-jobs.aspx
  23. http://99u.com/articles/14510/the-smart-creatives-guide-to-dressing-for-work
  24. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/stress-management/in-depth/exercise-and-stress/art-20044469
  25. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20479481
  26. http://www.cam.ac.uk/research/news/feeling-powerless-increases-the-weight-of-the-world-literally#sthash.eHCn2arf.dpuf
  27. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201012/time-body-image-makeover-10-step-guide
  28. http://guilfordjournals.com/doi/abs/10.1521/jscp.23.1.23.26991
  29. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0018506X12000098
  30. http://journal.frontiersin.org/researchtopic/1627
  31. https://www.psychologytoday.com/blog/anxiety-files/201410/how-overcome-your-social-anxiety
  32. https://www.psychologytoday.com/blog/anxiety-files/201410/how-overcome-your-social-anxiety
  33. https://www.psychologytoday.com/blog/anxiety-files/201410/how-overcome-your-social-anxiety
  34. https://www.nationaleatingdisorders.org/10-steps-positive-body-image
  35. https://www.psychologytoday.com/blog/sapient-nature/201303/dealing-negative-people
  36. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eating-disorders/basics/definition/con-20033575
  37. http://www.nedc.com.au/anorexia-nervosa
  38. http://www.nedc.com.au/bulimia-nervosa
  39. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eating-disorders/basics/symptoms/con-20033575
  40. http://www.nami.org/Learn-More/Know-the-Warning-Signs

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,868 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา