ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เกือบทุกคนจะต้องเคยมีการไหม้จากแดดในชีวิตกันทั้งนั้น โดยมักจะทำให้เกิดความไม่สบายมากกว่าอย่างอื่นทั้งหมด คือ ผิวระคายเคืองซึ่งจะทำให้ผิวลอกได้ มีสีแดง และตัวการที่ทำร้ายจนเกิดผิวไหม้แดดก็คือ รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่สามารถมาได้จากหลากหลายแหล่ง เช่น การรับแสง การทำผิวสีแทน และอื่นๆ ซึ่งรังสีนี้จะทำลาย DNA โดยตรงจนทำให้เกิดการอักเสบและตายของเซลล์ผิวหนัง [1] แม้การรับแสงที่มีความเข้มข้นลดลงในระยะเวลาสั้นๆ จะทำให้ได้ผิวสีแทนที่ยอดเยี่ยม (เพิ่มการสร้างเม็ดสีของผิว เพื่อปกป้องตัวเองจากรังสียูวี) แต่รังสียูวีในทุกรูปแบบก็เป็นอันตรายต่อทุกสีผิว และก็ควรหลีกเลี่ยงการรับแสงที่มากเกินไป เพื่อป้องกันความเสียหายที่รุนแรงที่รวมไปถึงมะเร็งผิวหนังด้วย [2] ซึ่งแผลพุพองจากการไหม้แดดนั้นบ่งบอกได้ว่าผิวถูกทำลาย และการรักษาที่เหมาะสมนั้นสำคัญสำหรับแผลแบบนี้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

รักษาอาการไหม้แดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ต้องทำร้ายผิวที่แสนบอบบางมากไปกว่านี้แล้ว ดังนั้นถ้าต้องออกไปเจอแสงแดด ให้ทาครีมกันแดดที่มี SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ลงบนผิวหนัง แต่รังสียูวีก็ยังสามารถผ่านทะลุเสื้อผ้าเข้าไปได้ในระดับหนึ่ง [3]
    • ทาครีมกันแดดต่อหลังจากรักษาแผลพุพองแล้ว
    • อย่าถูกอากาศหนาวหรือเมฆครึ้มหลอก เพราะรังสียูวียังคงมีมากในเมฆครึ้มๆ และในหิมะยังสามารถสะท้อนได้ถึง 80% ของรังสีของพระอาทิตย์ โดยเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น รังสียูวีก็อยู่ตรงนั้น
  2. ห้ามบีบแผลพุพอง เพราะมันอาจจะแตกเอง แต่ต้องปกป้องมันให้มากที่สุดที่ทำได้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดความเสียหาย ให้ผิวเรียบขึ้น โดยถ้ามันแตกเองให้ปิดด้วยผ้าก๊อซเพื่อกันติดเชื้อ แต่หากคิดว่าติดเชื้อแล้ว ก็ให้ไปหาหมอผิวหนังโดยด่วน ซึ่งสัญญาณบางอย่างที่จะบอกว่าผิวติดเชื้อแล้ว คือ อาการแดง บวม ปวด และรู้สึกแสบร้อน [4] [5]
    • ห้ามดึงแผล แม้จะเกิดสะเก็ดแผลรอบๆ แผลไหม้แดดก็ตาม และจำไว้ว่าผิวส่วนนี้จะบอบบางและติดเชื้อและเกิดความเสียหายมากขึ้นได้ ดังนั้นปล่อยมันไว้เฉยๆ
  3. ว่านหางจระเข้จะเป็นตัวรักษาทางธรรมชาติที่ได้ผลกับแผลไหม้เล็กๆ เช่น แผลพุพองจากแดด โดยมันเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้แผลไหม้เย็นลงได้ และเชื่อกันว่ามันลดความเจ็บปวด คืนความชุ่มชื้นให้กับแผล และช่วยในกระบวนการรักษา ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามันช่วยรักษาแผลไหม้ได้เร็วกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ (9 วัน) [6] [7]
    • ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ไม่มีวัตถุเจือปนใดๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ซึ่งเจลว่านหางจระเข้ที่ไม่มีสารกันบูดก็ขายได้มากที่สุดในร้านขายยาเลย โดยถ้ามีกาบว่านหางจระเข้อยู่ ก็สามารถใช้เนื้อข้างในจากการหักใบออกมาครึ่งหนึ่งแล้ว ปล่อยให้เจลซึมเข้าผิว ทาซ้ำให้บ่อยเท่าที่ทำได้
    • ลองใช้น้ำแข็งก้อนว่านหางจระเข้ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดและยังรักษาผิวได้
    • ไม่ควรใช้ว่านหางจระเข้กับแผลเปิด
  4. เช่น มอยเจอร์ไรเซอร์นั้นปลอดภัยที่จะใช้กับแผลพุพอง เพราะมันจะทำให้การลอกและเป็นเกล็ดลดลง และช่วยบรรเทาผิว โดยหลีกเลี่ยงการใช้มอยเจอร์ไรเซอร์หรือปิโตรเลียมเจล เพราะมันจะทำให้ผิวไม่ได้ “หายใจ” หรือปล่อยความร้อนออกมา [8] [9]
    • มอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีถั่วเหลืองเป็นหลักก็ตัวเลือกที่ดี โดยให้หาส่วนผสมบนฉลากที่เป็นออร์แกนิคและมาจากธรรมชาติ เพราะถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีความสามารถในการให้ความชุ่มชื้นแบบธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้ผิวที่ถูกทำลายมีความชุ่มชื้นและได้รับการเยียวยา [10]
    • ห้ามทาอะไรลงบนแผลเปิดหรือแผลพุพองที่แตก
    • ติดผ้าก๊อซบนแผลพุพองได้ถ้าต้องการ จนกว่าจะรักษาเสร็จ
  5. ขอใบสั่งยารักษาแผลติดเชื้อ ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีนครีม 1%. ซึ่งมันมีสารที่ฆ่าแบคทีเรียได้ดีที่ใช้รักษาบาดแผลไฟไหม้ลึกระดับ 2 และ 3 และโดยทั่วไปแล้วจะทาครีมนี้วันละ 2 ครั้ง รวมทั้งห้ามหยุดใช้จนกว่าหมอจะบอก [11]
    • ครีมนี้อาจทำให้มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง แต่ก็เป็นไปได้น้อยมาก โดยอาการข้างเคียงก็มีปวด คันหรือไหม้ตรงผิวที่ทายา ซึ่งผิวและเยื่อเมือก (เช่น เหงือก) สามารถกลายเป็นสีมัวหรือเทา และสอบถามผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับแพทย์ แล้วหยุดใช้ทันที รวมทั้งให้หาหมอถ้ามันเกิดขึ้น [12]
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือสเปรย์ระงับปวดเฉพาะที่. เพราะมันอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  7. เพราะการไหม้แดดจะทำให้น้ำออกมาเหนือผิวและออกไปจากทุกส่วนของร่างกาย ดังนั้นต้องพยายามดื่มน้ำเยอะๆ (อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (แก้วละ 8 ออนซ์)) รวมทั้งสามารถดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มสปอร์ตได้ด้วย โดยเฝ้าระวังสัญญาณของการขาดน้ำที่มีการปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง ปวดหัว และเวียนหัว [15] [16]
  8. รักษาการกินที่มีสารอาหารที่ดีเพื่อเสริมการรักษา. แผลไหม้ เช่น แผลไหม้พุพองจากแดดนั้นสามารถเยียวยา และรักษาจนหายได้เร็วขึ้นด้วยโภชนาการที่ดี โดยเฉพาะการเพิ่มการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ซึ่งการเพิ่มโปรตีนนี้จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ และจำเป็นต่อการรักษาผิว และอาการอักเสบและลดการเกิดแผลเป็น
    • อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีสูง เช่น ไก่ ไก่งวง ปลา ผลิตภัณฑ์จากนม และไข่
    • ปริมาณที่ควรบริโภคของโปรตีนในแต่ละวัน คือ 0.8 – 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 0.5 กิโลกรัม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ใช้ของในครัวเรือน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซึ่งมันจะช่วยด้วยการดูดซับความร้อนจากผิว และคลายความรู้สึกร้อนและปวด โดยกรดอะแซติกและมาลิคในน้ำส้มสายชูจะลบล้างการไหม้แดด และทำให้บริเวณผิวที่เป็นแผลมีระดับค่า pH กลับคืนสู่ค่าปกติ จึงเป็นการยับยั้งการติดเชื้อด้วยการทำให้ไม่รับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ให้เข้ามาในผิว [17]
    • ใช้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล โดยการผสมกับน้ำเย็นและใช้ผ้าเปียกนุ่มแช่ลงในส่วนผสมที่ได้ แล้วเช็ดหรือห่อผิวที่เป็นแผลไว้ รวมทั้งยังสามารถฉีดแบบสเปรย์ลงไปบนแผลได้โดยตรง
    • แนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูเฉพาะกับผิวที่ไม่มีรอยขีดข่วน เปิดออกหรือฉีกออก เพราะมันอาจจะทำให้ผิวไหม้และระคายเคืองได้
  2. ขมิ้นมีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติในการทําลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และแบคทีเรีย ซึ่งมันอาจจะช่วยให้อาการปวดและอักเสบที่เกิดจากการไหม้แดดและพุพองดีขึ้น โดยนี่เป็นเคล็ดลับบางอย่างในการใช้ผงขมิ้น : [18]
    • ผสมผงขมิ้นกับน้ำหรือนมเพื่อทำยาป้าย จากนั้นให้ทาลงบนแผลพุพองประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกเบาๆ
    • ผสมผงขมิ้นกับบาร์เลย์ และโยเกิร์ตเพื่อทำยาป้ายที่ข้น และทาทับแผล ปล่อยไว้ประมาณ 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น
  3. น้ำมะเขือเทศนั้นสามารถทำให้อาการแสบไหม้บรรเทาลง ลดความแดงของแผล และช่วยรักษาการไหม้แดดให้ดีขึ้น
    • ผสมเนื้อหรือน้ำมะเขือเทศกับบัตเตอร์มิลค์ แล้วทาลงบนผิวที่ไหม้ประมาณ ครึ่งชั่วโมง และล้างเบาๆ ด้วยน้ำเย็น
    • เติมน้ำมะเขือเทศ 2 ถ้วยลงในน้ำที่ใช้อาบ แล้วอาบลงบนผิวประมาณ 10 ถึง 15 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก
    • ทามะเขือเทศดิบบดที่ผสมกับน้ำแข็งบดลงบนแผล เพื่อการคลายความเจ็บปวดแบบรวดเร็ว
    • สามารถทำได้แม้กระทั่งกินมะเขือเทศให้มากขึ้น โดยจากการศึกษาพบว่าคนที่กินเนื้อมะเขือเทศที่มีไลโคปีนสูง 5 ช้อนโต๊ะ เป็นเวลา 3 เดือน จะมีการป้องกันการไหม้แดดได้ดีกว่าถึง 25% [19]
  4. เพราะมันฝรั่งดิบจะช่วยให้ความร้อนออกมาจากผิวที่ไหม้ และทิ้งความเย็นไว้ จึงทำให้เจ็บน้อยลงและรักษาได้หายเร็วขึ้น [20]
    • ปั่นมันฝรั่งที่ล้างสะอาดและหั่นแล้วเพื่อทำผงป้าย ทาลงบนผิวตรงๆ แล้วปล่อยไว้ให้มันแห้ง และล้างออกด้วยน้ำเย็น
    • การรักษาแบบนี้สามารถทำซ้ำได้ทุกวันจนกว่าแผลพุพองจะหายไป และเริ่มหายขาด
  5. ผลิตภัณฑ์จากนมนั้นจะสร้างฟิล์มเคลือบที่มีโปรตีนที่ช่วยทำให้อาการแสบร้อนเบาลง แล้วทำให้มันเย็น และผ่อนคลาย รวมทั้งรู้สึกสบาย [21] [22]
    • แช่ผ้านุ่มลงในน้ำเย็นที่มีนมขาดมันเนย และห่อลงบนผิวที่มีแผลไหม้ประมาณ 2 นาทีขึ้นไป
    • ดูว่านมเย็นไม่ใช่แข็ง โดยเอาออกจากตู้เย็นก่อนใช้ประมาณ 10 นาที
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

คลายความปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจว่าการรักษาส่วนใหญ่นั้นเป็นไปตามอาการ. การดูแลนั้นมีเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดมากขึ้น และคลายความเจ็บปวด แต่ไม่สามารถเร่งการหายขาดได้มากนัก
  2. การใช้น้ำเย็นหรือลูกประคบเย็นจะสามารถลดอาการอักเสบ โดยการทำให้หลอดเลือดหดตัว และลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณที่เป็นแผล [23]
    • อุณหภูมิเย็นจะช่วยทำให้ระบบประสาทชา ด้วยการคลายความเจ็บปวดในความรู้สึกแสบไหม้ จากแผลไหม้พุพองจากแดดทันที
    • สามารถใช้สารละลายของเบอร์โรว (สารละลายอะลูมิเนียมแอซิเตทในน้ำ) โดยการแช่น้ำหรือประคบ ซึ่งสารละลายนี้สามารถพบได้ในร้านขายยาทั่วไป
  3. เมื่ออาบน้ำให้ใช้น้ำเย็นและผ่อนคลายประมาณ 10 – 20 นาที ซึ่งสามารถช่วยคลายความเจ็บปวดจากการไหม้แดด โดยทำซ้ำได้บ่อยเท่าที่ต้องการหลายๆ วัน
    • ถ้าใช้ผ้าขนหนูเช็ดหน้าแช่ลงในน้ำเย็น และเช็ดลงบนผิวที่เป็นแผล
    • ไม่แนะนำให้อาบน้ำอุ่นและใช้สบู่หรือน้ำมันอาบน้ำ เพราะสามารถระคายเคืองผิวและทำให้ไม่สบายมากขึ้น
  4. ดูว่าอุณหภูมิของน้ำอุ่นและการไหลของน้ำเบาพอที่จะไม่ทำร้ายผิวและทำให้เจ็บแผล [24]
    • โดยทั่วไปแล้ว ถ้าหลีกเลี่ยงการใช้ฝักบัวได้ก็ควรทำ เพราะแรงดันจากฝักบัวจะทำให้แผลพุพองจากแดดแตกก่อนเวลาอันควรได้ จนทำให้เกิดความเจ็บปวด ติดเชื้อ และแผลเป็น
    • หลังการอาบน้ำด้วยฝักบัว ให้เช็ดตัวเบาๆ จนแห้ง โดยห้ามขัดหรือเช็ดตัวด้วยผ้าขนหนูที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
  5. ถ้าอาการเจ็บปวดจากการไหม้แดดรบกวนก็สามารถกินยาแก้ปวด เช่น ไอบูโปรเฟน นาพรอกเซน และแอสไพริน [25]
    • ไอบูโปรเฟน (เอดวิล) นั้นเป็นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ซึ่งทำงานด้วยการลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการอักเสบและเจ็บปวดในร่างกาย รวมทั้งยังลดฮอร์โมนที่กระตุ้นไข้ด้วย
    • แอสไพริน (กรดอะซีทัลซาลิซิลิก) เป็นยาที่แก้ปวด คลายความเจ็บด้วยการยับยั้งสัญญาณความเจ็บปวดในสมอง และยังเป็นยาลดไข้อีกด้วย
    • อะเซตามิโนเฟน (ไทลินอล) จะปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีแผลไหม้แดดกว่าแอสไพริน และมันมีผลข้างเคียงเหมือนๆ กัน
    • ปรึกษาเรื่องนี้กับหมอ ถ้าสงสัยเกี่ยวกับการใช้และดูว่ายาเหมาะกับตัวเองไหม
  6. ซึ่งมันมีปริมาณสเตียรอยด์เล็กน้อย ที่จะช่วยลดอาการอักเสบจากการไหม้แดด โดยการกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน [26]
    • ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็ก ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทางเลือกเพิ่มเติม
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

เข้าใจความอันตรายและอาการไหม้แดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซึ่งอาจจะแยกเป็น 3 รูปแบบ คือ UVA UVB และ UVC โดย UVA และ UVB เป็นรังสี 2 แบบที่สามารถทำร้ายผิวได้ และ UVA จะเป็นส่วนประกอบถึง 95% ของรังสียูวีทั้งหมด จึงทำให้เกิดการไหม้แดดและแผลพุพอง แต่รังสี UVB ก็ทำให้เกิดการเป็นผื่นแดงของผิวหนังเนื่องจากมีไข้และติดเชื้อ หรืออาการแดงจากหลอดเลือดบวม ตัวอย่างของผื่นแดง คือ ความแดงจากการไหม้แดด การติดเชื้อ การอักเสบ หรือแม้กระทั่งหน้าแดงก็ด้วย [27]
  2. มันจะไม่แตกทันทีหลังจากโดนแดด แต่จะใช้เวลา 2 – 3 วันในการขยายตัว โดยแผลพุพองจากแดดไหม้จะก่อตัวเมื่อหลอดเลือดถูกทำลาย รวมทั้งพลาสมาและของเหลวอื่นๆ รั่วซึมเข้าไปในชั้นผิวต่างๆ แล้วสร้างที่เก็บของเหลวนั้น ดังนั้นห้ามคิดว่าแผลพุพองไม่เกี่ยวกับการโดนแดดเผาไหม้ แค่เพราะว่ามันเกิดขึ้นมาหลังจากนั้น ซึ่งรังสียูวีที่เป็นอันตรายจะมีผลมากกับคนผิวขาวมากกว่าผิวเข้ม จึงอาจจะทำให้มีโอกาสเป็นแผลพุพองจากการไหม้แดดมากกว่าหรือน้อยกว่าคนอื่น ขึ้นอยู่กับลักษณะผิว [28]
    • แผลไหม้ระดับแรกทำให้เกิดผื่นแดง และหลอดเลือดจะขยาย จะทำผิวขึ้นมาและกลายเป็นสีแดง โดยแผลไหม้ระดับแรกจะไหม้เฉพาะผิวชั้นนอกสุด แต่เซลล์ที่ถูกทำลายจะสร้างสารเคมีที่จะระคายเคืองต่อผิว และทำลายเซลล์ที่เสียหายอื่นๆ ได้มากขึ้น
    • ในกรณีที่เป็นแผลไหม้ระดับที่สอง จะผลต่อผิวชั้นในและหลอดเลือดด้วย ดังนั้นแผลพุพองจะเป็นสัญญาณของแผลไหม้ระดับนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่แผลแบบนี้ถือเป็นอาการที่ร้ายแรงมากกว่าแผลไหม้แดดทั่วไป
  3. ร่างกายอาจจะได้รับผลรุนแรง เพราะการโดนแดดนาน จนทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น การขาดน้ำ หรือการเพลียแดด ดังนั้นให้ระวังอาการเหล่านี้และรับการช่วยเหลือฉุกเฉินทันที : [29] [30]
    • มึนงงหรือเป็นลม
    • ชีพจรและหายใจเร็ว
    • คลื่นไส้ หนาวสั่นหรือเป็นไข้
    • กระหายรุนแรง
    • อ่อนไวต่อแสง
    • มีแผลพุพองคลุม 20% ขึ้นไปของร่างกาย
  4. ปรึกษาแพทย์ถ้ามีโรคแพ้แสงแดด โรคภูมิแพ้ตนเอง โรคเริม หรือโรคแพ้ผื่นคัน เพราะแสงแดดสามารถทำให้อาการเหล่านี้แย่ลงได้ รวมทั้งการไหม้แดดยังทำให้กระจกตาอักเสบ ซึ่งก็คือการอักเสบของตาดำอีกด้วย [31]
  5. ถ้าเคยมีอาการจากการไหม้แดดมาก่อน ให้ทำทุกวิธีให้ออกห่างจากแสงแดดทันที เพื่อป้องกันแผลพุพอง ซึ่งมีอาการดังนี้ : [32]
    • ผิวสีแดงที่อ่อนแอและจับแล้วอุ่น รังสียูวีจากดวงอาทิตย์จะฆ่าเซลล์ของชั้นหนังกำพร้า (ผิวชั้นนอกของผิวหนัง) ที่มีชีวิต โดยเมื่อร่างกายรู้สึกถึงเซลล์ที่ตายแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันก็จะเริ่มตอบรับด้วยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่เป็นแผล และเปิดผนังหลอดเลือดฝอยเพื่อที่เซลล์เม็ดเลือดขาวจะเข้าไปและกำจัดเซลล์ที่ถูกทำลายได้ ซึ่งการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจะทำให้ผิวอุ่นและแดง
    • การเจ็บแบบหนามแทงบริเวณที่เป็นแผล เกิดจากผิวที่ถูกทำลายบริเวณแผลนั้นตอบรับกับอาการเจ็บปวด ด้วยการปล่อยสารเคมีและส่งสัญญาณไปที่สมอง จึงทำให้รู้สึกเจ็บ
  6. ซึ่งแผลพุพองเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายชั่วโมง หรือหลายวันหลังจากการโดนแสง โดยชั้นกำพร้าที่มีใยประสาทพิเศษที่ช่วยบรรเทาความรู้สึกคัน ดังนั้นเมื่อชั้นกำพร้าถูกทำลายเพราะโดนแสงแดดเป็นเวลานาน แล้วใยประสาทเหล่านี้จะทำงานและมีความรู้สึกคันที่บริเวณแผลนั้น [33]
    • ร่างกายจะส่งของเหลวเพื่อเติมเต็มช่องว่าง และรอยฉีกในผิวที่ถูกทำลายเพื่อปกป้องมัน จึงออกมาในรูปแบบของการเป็นแผลพุพอง
  7. เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรู้สึกถึงเซลล์ที่ตายแล้วและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ คือ ไพโรเจน (สารที่ทำให้เกิดไข้) ที่ถูกปล่อยและเคลื่อนไปที่ไฮโพทาลามัส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย โดยไพโรเจนจะโยงกับหน่วยรับความรู้สึกในไฮโพทาลามัส และอุณหภูมิในร่างกายก็จะเริ่มสูงขึ้น [34]
    • ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์มอมิเตอร์ธรรมดาที่มีอยู่ทั่วไปทุกๆ ร้านขายยา
  8. เซลล์ที่ตายแล้วในบริเวณที่โดนแดดไหม้จะลอกออก เพื่อที่ร่างกายจะได้แทนที่ด้วยเซลล์ผิวใหม่ [35]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ป้องกันการไหม้แดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การป้องกันนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำกับการเจ็บปวดทุกอย่าง และการหลีกเลี่ยงการไหม้แดดตั้งแต่แรกก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาให้ผิวมีสุขภาพดีได้ [36]
    • หลีกเลี่ยงการรับแสงโดยตรงเป็นเวลานาน โดยพยายามอยู่ในพื้นที่ที่มีร่มเงา เช่น ใต้ระเบียงที่ยื่นออกมา ร่ม หรือต้นไม้
  2. สถาบันผิวหนังของอเมริกาแนะนำว่าให้ใช้ครีมกันแดดที่ออกฤทธิ์กว้างที่มี SPF อย่างน้อย 30 ขึ้นไป โดยจะปกป้องรังสี UVA และ UVB ซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ และแพทย์ส่วนใหญ่ก็แนะนำวิธีนี้ให้กับคนไข้ รวมทั้งให้จำไว้ว่าเด็กทารกนั้นมีผิวที่บอบบาง และต้องทาครีมกันแดดให้ทั่วตัว (เฉพาะเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป) นอกจากนี้ก็สามารถซื้อครีมกันแดดได้ทั้งแบบของเด็กทารก และแบบเป็นมิตรกับเด็กด้วย [37]
    • ต้องทาครีมกันแดดก่อนออกไปข้างนอก 30 นาที ไม่ใช่ตอนจะออกไปทันที และทาซ้ำบ่อยๆ ซึ่งหลักการทั่วไป คือให้ทาครีม 30 มิลลิลิตร ทั่วร่างกายทุกๆ 3 ชั่วโมง หรือหลังจากกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้ผิวเปียก (เช่น หลังจากออกจากสระว่ายน้ำ) [38]
    • อย่าโดนอากาศเย็นหลอก เพราะรังสียูวียังคงสามารถทะลุผ่านเมฆได้ รวมทั้งหิมะก็สะท้อน 80% ของมัน
    • ถ้าอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรหรือที่ที่ละติจูดสูงก็ให้ระวังเป็นพิเศษ เพราะรังสียูวีในพื้นที่เหล่านี้จะรุนแรงจากการขาดโอโซน
  3. น้ำไม่ได้มีผลต่อครีมทากันแดดเท่านั้น แต่ผิวที่เปียกก็ยังทำให้เกิดการทำลายจาก UV ได้มากกว่าผิวแห้งอีกด้วย ดังนั้นให้ใช้ครีมกันแดดกันน้ำได้เมื่อไปชายหาดหรือสระว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายหนักๆ ข้างนอก [39]
    • ถ้าว่ายน้ำหรือเหงื่อออกมากๆ ก็ควรทาครีมกันแดดให้บ่อยกว่าปกติ
  4. สวมหมวก กะบังหมวก แว่นตากันแดดและทุกสิ่งที่กันผิวจากรังสีของแสงแดด รวมทั้งสามารถซื้อแม้กระทั่งเสื้อกันรังสี UV ก็ได้ด้วย [40]
  5. พยายามออกห่างจากดวงอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่สูงสุดบนท้องฟ้า และแสงแดดส่องลงมาตรงที่สุด และรังสียูวีจะมีการทำลายได้มากกว่า [41]
    • ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงดวงอาทิตย์ได้ตลอด ให้แบ่งเวลาเท่าที่ทำได้
  6. การดื่มน้ำนั้นสำคัญต่อการเติมเต็มของเหลว และยังสู้กับการขาดน้ำ อาการร้ายแรงอื่นๆ และอาการทั่วไปที่จะเกิดขึ้นจากการรับแสงแดดเป็นเวลานาน [42]
    • ทำให้ตัวไม่ขาดน้ำและดื่มน้ำบ่อยๆ เมื่อออกไปข้างนอกที่มีความร้อนสูงและมีแสงแดดส่อง
    • ห้ามดื่มน้ำแค่เฉพาะตอนที่กระหาย แต่ให้สารอาหารและแหล่งอาหารที่ร่างกายต้องการ เพื่อรักษาสุขภาพที่ดีก่อนจะเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น
    โฆษณา

คำเตือน

  • เมื่อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการป้องกันหรือรักษาแผลไหม้แดด ให้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งมันดีกว่าที่จะปลอดภัยไว้ก่อนเสมอ และหมอจะสามารถช่วยในการหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็น เพื่อตรวจจับอาการที่เป็นอันตราย เช่น เพลียแดด
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Matsumura Y, Ananthaswamy HN. Toxic effects of ultraviolet radiation on the skin. Toxicol Appl Pharmacol. 2004 Mar 15. 195(3):298-308.
  2. Narbutt J, Lesiak A, Sysa-Jedrzejowska A, Boncela J, Wozniacka A, Norval M. Repeated exposures of humans to low doses of solar simulated radiation lead to limited photoadaptation and photoprotection against UVB-induced erythema and cytokine mRNA up-regulation. J Dermatol Sci. 2007 Mar. 45(3):210-2.
  3. http://kidshealth.org/teen/safety/first_aid/sunburn.html
  4. http://kidshealth.org/teen/safety/first_aid/sunburn.html
  5. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  6. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/aloe
  7. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  8. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  9. http://kidshealth.org/teen/safety/first_aid/sunburn.html
  1. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  2. http://www.clinicaladvisor.com/advisor-forum/silvadene-cream-for-sunburn/article/117108/
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19349889
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sunburn/basics/lifestyle-home-remedies/con-20031065
  5. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  6. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  7. http://www.clinicaladvisor.com/advisor-forum/silvadene-cream-for-sunburn/article/117108/
  8. http://everydayroots.com/sunburn-remedies
  9. http://www.turmericforhealth.com/turmeric-benefits/turmeric-benefits-for-burns
  10. http://www.prevention.com/beauty/skin-care/13-sunburn-remedies-are-natural
  11. http://everydayroots.com/sunburn-remedies
  12. http://everydayroots.com/sunburn-remedies
  13. http://www.prevention.com/beauty/skin-care/13-sunburn-remedies-are-natural/fat-free-milk
  14. http://kidshealth.org/teen/safety/first_aid/sunburn.html
  15. http://sunburntreatmenthq.com/how-to-simply-treat-a-sunburn-through-effective-sunburn-treatment/
  16. http://kidshealth.org/teen/safety/first_aid/sunburn.html
  17. http://sunburntreatmenthq.com/how-to-simply-treat-a-sunburn-through-effective-sunburn-treatment/
  18. http://www.skincancer.org/prevention/uva-and-uvb/understanding-uva-and-uvb
  19. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003227.htm
  20. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003227.htm
  21. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  22. http://emedicine.medscape.com/article/799025-overview
  23. http://emedicine.medscape.com/article/773203-clinical
  24. http://emedicine.medscape.com/article/773203-clinical
  25. http://emedicine.medscape.com/article/773203-clinical
  26. http://emedicine.medscape.com/article/773203-clinical
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sunburn/basics/prevention/con-20031065
  28. http://how2med.com/wild-weekend-planned-how-to-prevent-and-treat-a-scalding-summer-sunburn/
  29. http://kidshealth.org/teen/safety/first_aid/sunburn.html
  30. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  31. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  32. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sunburn/basics/prevention/con-20031065
  33. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,920 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา