ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อพ่อหรือแม่ปั่นหัวคุณด้วยการพยายามปฏิเสธ บั่นทอน และควบคุมการรับรู้ความจริงของคุณ คุณก็คงนึกไม่ออกว่าจะต้องทำอย่างไร [1] ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ พฤติกรรมควบคุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพ่อหรือแม่นั้นอาจสร้างความเจ็บปวดและทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่ยอมรับ แต่โชคดีที่คุณสามารถทำอะไรบางอย่างเพื่อปกป้องจิตใจของตัวเองและอยู่ให้ห่างจากคนที่ปั่นหัวคุณได้ พร้อมกับปรับเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่ในครอบครัวให้ดีขึ้นและเสริมสร้างพลังในตนเองไปพร้อมกัน

1

อย่ายอมรับคำโกหกของจอมปั่นหัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้สัญชาตญาณและเชื่อความทรงจำของคุณว่ามันเกิดอะไรขึ้น. มันเป็นอะไรที่น่าหงุดหงิดและสับสนมากๆ เวลาที่จอมปั่นหัวพยายามจะบอกคุณว่า “แม่ไม่ได้พูด/ทำแบบนั้นสักหน่อย” หรือ “เรื่องมันไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย” เพื่อเอาตัวรอดจากพฤติกรรมแย่ๆ พวกเขาอาจจะถึงขั้นพยายามเปลี่ยนกฎหรือความคาดหวังที่มีต่อคุณหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว เช่น ถ้าพ่อ/แม่บอกว่าคุณต้องกลับบ้านไม่เกิน 4 ทุ่ม แต่พอคุณมาถึงบ้านตรงเวลา พ่อ/แม่จอมปั่นหัวกลับอ้างว่าเขาบอกให้คุณกลับถึงบ้านภายใน 3 ทุ่ม [2]
    • ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณสามารถเผชิญหน้ากับจอมปั่นหัวได้อย่างปลอดภัย ให้ตอบกลับโดยการพูดว่า “ไม่ใช่ค่ะ หนูรู้ว่าเรื่องมันเป็นยังไง เรื่องมันเป็นแบบนี้…”
    • ถ้าคุณไม่อยากเถียงกับจอมปั่นหัว ให้บอกว่า "หนูไม่ยอมให้มันเป็นแบบนี้หรอกนะคะ" แล้วเดินหนี ถ้าเดินหนีไม่ได้ ทำไม่รู้ไม่ชี้ใส่จอมปั่นหัวให้ได้มากที่สุด [3]
    • แม้จอมปั่นหัวจะพยายามโกหกเพื่อให้คุณขอโทษหรือรู้สึกแย่ คุณต้องเข้มแข็ง อย่าขอโทษหรือพูดอะไรที่เป็นการตำหนิตัวเอง ประสบการณ์และความจริงของคุณเป็นสิ่งสำคัญ!
    โฆษณา
2

เผชิญหน้ากับคำดูถูกหรือการกล่าวโทษในตอนนั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ารู้สึกว่าปลอดภัย กำหนดขอบเขตให้ชัดเจนเพื่อปกป้องตัวเอง. เมื่อใครสักคนใช้ภาษาหยาบคายที่เป็นการล้ำเส้นขอบเขตทางอารมณ์ของคุณ คุณอาจจะรู้สึกเจ็บปวด โกรธ หรือไม่พอใจมาก รับฟังว่าร่างกายตอบสนองอย่างไรและรู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกแบบนั้น จากนั้นก็ตอบโต้จอมปั่นหัวด้วยการบอกเขาว่าคุณรู้สึกอย่างไร และบอกให้เขารู้ว่าคุณจะไม่พูดกับเขาถ้าเขาทำแบบนี้กับคุณ ถ้าไม่สนใจขอบเขตทางอารมณ์ของคุณ พยายามเดินออกจากห้องหรือสถานการณ์ตรงนั้น [4]
    • บอกเขาว่า “หนูอยากให้แม่พูดกับหนูดีๆ กว่านี้”
    • ตอบโต้การกล่าวอ้างหรือน้ำเสียงของจอมปั่นหัวที่สื่อถึงความเจ็บปวดด้วยการพูดประมาณว่า “หนูไม่รู้จะคุยกับแม่ยังไงเวลาแม่เรียกหนูเสียๆ หายๆ อย่างเช่น ‘ไอ้โง่’”
    • ตอบโต้การกล่าวโทษอย่าง “ลูกใช้แต่อารมณ์” หรือ “ก็ถ้าลูกไม่ทำแบบนั้น แม่ก็คงไม่ทำโทษลูก” ด้วยการพูดว่า “หนูเข้าใจว่าทำไมแม่ถึงรู้สึกแบบนั้น แต่หนูไม่ได้รู้สึกแบบเดียวกับแม่ หนูเลยคิดว่าเรื่องนี้มันไม่ยุติธรรมเลย” [5]
3

กำหนดขอบเขตทางกายภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เวลานอกบ้าน ย้ายออก หรือหากุญแจมาล็อกประตู. ถ้าคุณยังอาศัยอยู่ที่บ้านและยังเรียนหนังสืออยู่ ให้เข้าชมรมหรือเข้าร่วมโปรแกรมหลังเลิกเรียนเพื่อที่จะได้ไม่ต้องอยู่บ้านมากนัก ถ้าคุณไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ให้ตั้งกฎว่าคุณจะติดต่อพ่อแม่บ่อยแค่ไหน ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองสามารถพูดเรื่องนี้กับพ่อแม่ได้อย่างปลอดภัย ให้พูดคุยเรื่องขอบเขตกับพ่อแม่ [6]
    • “ผมอยากให้พ่อมากินข้าวเย็นที่อะพาร์ตเมนต์ผมอย่างเดียว แต่ไม่ต้องค้างคืนวันเสาร์อาทิตย์”
    • “ผมจะไปติวหนังสือที่บ้านเพื่อนทุกวันนะครับ จะกลับหลังมื้อค่ำ”
    • “ผมจะรับโทรศัพท์แม่ทุกวันเสาร์ แต่ช่วงที่ผมทำงานผมจะไม่รับโทรศัพท์แม่นะครับ”
    โฆษณา
4

เขียนหรือบันทึกคำพูดยืนยันตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้วิธีนี้ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถเผชิญหน้ากับจอมปั่นหัวได้. คุณเป็นคนที่น่าทึ่งที่สามารถทำอะไรต่างๆ ได้มากมาย แต่คุณคงจำสิ่งนี้ไม่ได้เวลาที่ต้องรับมือกับจอมปั่นหัว แย้งคำพูดเชิงลบที่จอมปั่นหัวพูดเกี่ยวกับคุณและบอกตัวเองว่าคุณมีค่าด้วยการพูดเชิงบวกซ้ำๆ กับตัวเองไม่ว่าจะเป็นการพูดออกมาดังๆ หรือเขียนในสมุดบันทึกส่วนตัวก็ตาม [7]
    • “ความรู้สึกของฉันสำคัญ” [8]
    • “ฉันสมควรได้รับการเอาใจใส่และความรัก”
    • “เวลาที่ฉันพูดความต้องการออกไปตรงๆ นั่นหมายความว่าฉันกำลังรับผิดชอบ ไม่ใช่ว่าฉันเห็นแก่ตัว”
    • ให้กำลังใจตัวเองในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ด้วยการพูดประมาณว่า “วันนี้ฉันเล่นฟุตบอลได้ดีมากเลย” [9]
5

สร้างความภาคภูมิใจในตนเองขึ้นมาอีกครั้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำกิจกรรมต่างๆ และใช้เวลากับคนที่ส่งเสริมคุณ. คุณสมควรได้รับความรักและการยืนยันจากคนรอบข้าง เพราะฉะนั้นโอบกอดความสัมพันธ์ในชีวิตที่นำพาความสุขมาให้ ลองทำงานอาสาสมัคร งานอดิเรกใหม่ๆ หรือออกกำลังกายแบบใหม่กับเพื่อนๆ หรือตามลำพังเพื่อให้ตัวเองเห็นว่าคุณทำอะไรได้บ้าง! [10] ถ้าคุณไม่สามารถเชื่อมโยงกับความเป็นตัวเองได้ คุณก็สามารถพูดคุยกับนักให้คำปรึกษาที่ยินดีช่วยคุณเสริมสร้างความมั่นใจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น [11]
    โฆษณา
6

รวบรวมหลักฐานเพื่อยืนยันความจริงที่คุณรับรู้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บันทึกพฤติกรรมปั่นหัวผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลหรือหาพยานมายืนยันพฤติกรรมนั้น. เมื่อคุณมีหลักฐานมาพิสูจน์คำโกหกของจอมปั่นหัวที่ไม่ตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง คุณก็สามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่คุณรู้เป็นความจริง ยิ่งไปกว่านั้นหากคุณถูกทำร้ายหนักขึ้น คุณก็สามารถนำหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ดูได้ด้วย [13]
    • คุณสามารถบันทึกเสียงหรือวิดีโอไว้ในโทรศัพท์เพื่อจับจอมปั่นหัวให้ได้ว่า เขากำลังทำร้ายคุณด้วยคำพูดหรือคำโกหก
    • ถ้าคุณมีเพื่อนที่ไว้ใจหรือรู้จักผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ให้โทรหาเขาและขอให้เขาถือสายไว้เมื่อคุณทะเลาะกับพ่อ/แม่จอมปั่นหัว คุณจะได้มีพยาน
    • ระมัดระวังเรื่องการเก็บหลักฐานไว้ในที่ที่จอมปั่นหัวสามารถเข้าถึงได้ให้มากๆ อัปโหลดบันทึกเสียงดิจิทัล ภาพถ่าย และวิดีโอไว้ในคลาวน์เพื่อสำรองไว้ด้วย
7

อย่ารอให้เขาขอโทษหรือเปลี่ยนนิสัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปลดปล่อยพลังทางอารมณ์ด้วยการปล่อยความสัมพันธ์นั้นไป. การละทิ้งความสัมพันธ์กับใครสักคนอาจเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ก็เป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้คุณได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ที่เต็มไปด้วยความสัมพันธ์ที่ดี จอมปั่นหัวมักเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งหรือหลงตัวเองโดยที่เขาเองอาจจะไม่เคยตระหนัก ไม่เคยขอโทษอย่างจริงใจ หรือรู้สึกผิดที่ทำกับคุณแบบนั้น คุณสมควรได้รับสิ่งที่ดีกว่านี้! เมื่อคุณเลือกที่จะก้าวออกมาแทนที่จะรอคำขอโทษ ก็เท่ากับว่าคุณเปิดประตูให้ความสัมพันธ์ที่มีความหมายและมีคุณค่ากับคนอื่นๆ ได้เข้ามาในชีวิตของคุณ [14]
    • ขยายเครือข่ายช่วยเหลือด้วยการใช้เวลากับเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัวคนอื่นๆ ที่ยืนยันอารมณ์และประสบการณ์ของคุณ [15]
    โฆษณา
8

ถ้าคุณเป็นผู้ใหญ่แล้ว ให้ลดการติดต่อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกว่าจะโทรหา ส่งข้อความ และไปเยี่ยมพ่อแม่เมื่อไหร่. จอมปั่นหัวอาจจะคาดคั้นให้คุณอธิบายและพยายามทะเลาะกับคุณเรื่องที่คุณอยากลดการติดต่อ ตอบกลับให้ชัดเจนและหนักแน่นด้วยการบอกเขาว่าคุณยินดีที่จะติดต่อกับเขามากน้อยแค่ไหน การเลือกลดการติดต่อคือการที่คุณให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ดีที่ของตัวเองมากกว่าความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ [16]
    • “หนูยินดีที่จะกลับมาอยู่บ้านสองวันในช่วงวันหยุด แต่ระหว่างนั้นหนูไม่มานะคะ”
    • “หนูสบายใจที่จะคุยกับพ่อก็ต่อเมื่อมีคนอื่นเช่นแม่หรือน้องสาวอยู่ด้วยเท่านั้น”
    • ถ้าพ่อ/แม่จอมปั่นหัวพยายามติดต่อคุณผ่านทางเพื่อนของครอบครัวหรือญาติ ให้บอกว่า “หนูอยากเก็บความสัมพันธ์ของเราไว้เป็นเรื่องส่วนตัวค่ะ หนูไม่อยากพูดถึงแม่/พ่อ/พ่อแม่”
    • เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนผู้ผ่านการถูกปั่นหัวหรือรอดพ้นจากการถูกคนหลงตัวเองทำร้าย
9

เข้ารับการบำบัดครอบครัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าสู่การเยียวยาและประนีประนอมกับจอมปั่นหัว. เวลาที่คุณเข้ารับการบำบัดครอบครัว คุณทุกคนจะต้องเข้าไปคุยกับนักจิตบำบัดด้วยกันเพื่อระบุความขัดแย้งในครอบครัวและแก้ไขปัญหา [17] ถ้าคุณมีปัญหากับการที่คนในบ้านไม่รับฟังคุณ นักจิตบำบัดสามารถช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณจะต้องได้พูดมุมมองของตัวเอง อย่างไรก็ตามจำไว้ว่าการจะทำให้จอมปั่นหัวเข้ารับการบำบัดนั้นเป็นเรื่องยากมากๆ และพวกเขาก็มักจะไม่ยอมรับว่าตัวเองกำลังสร้างปัญหา [18]
    • ในการค้นหานักจิตบำบัดนั้น คุณสามารถขอให้แพทย์ประจำตัวแนะนำนักจิตบำบัดให้คุณหรือค้นหาทางออนไลน์ นอกจากนี้คุณก็อาจจะขอให้คนใกล้ชิด องค์กรสุขภาพจิต หรือโปรแกรมช่วยเหลือพนักงานแนะนำนักจิตบำบัดให้คุณก็ได้
    โฆษณา
10

พูดคุยกับนักให้คำปรึกษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสริมสร้างความมั่นใจขึ้นมาอีกครั้งและทำความเข้าใจสถานการณ์ที่ยากลำบากในระหว่างการบำบัด. ระหว่างหรือหลังจากเผชิญกับการถูกปั่นหัว ไม่ใช่คุณคนเดียวที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อและประสบการณ์ของตัวเอง และอาจถึงขั้นรู้สึกสิ้นหวังหรือซึมเศร้าเลยก็ได้ คุณสามารถค้นหานักให้คำปรึกษาหรือนักจิตบำบัดเพื่อช่วยเหลือเส้นทางการเยียวยาของคุณผ่านศูนย์สุขภาพจิตของโรงเรียนหรือที่ทำงาน แพทย์ประจำตัว หรือองค์กรสุขภาพจิตใกล้บ้าน ค้นหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่มีใบอนุญาตเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้พูดคุยกับนักให้คำปรึกษาที่มีความสามารถ [19]
    • ถ้าคุณไม่มีใบขับขี่ ให้ลองเข้ารับการปรึกษาผ่านทางออนไลน์
    • ถ้าคุณไม่สามารถจ่ายค่าบำบัดได้ คุณก็สามารถสร้างเครือข่ายสนับสนุนที่ทรงพลังได้ด้วยการเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนผู้ที่เคยผ่านการถูกทำร้ายจิตใจที่อยู่ใกล้บ้านหรือทางออนไลน์ [20]
    • หากคุณเป็นนักศึกษา อีกทางเลือกหนึ่งในการเข้ารับคำปรึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายคือ สอบถามศูนย์ดูแลสุขภาพนักศึกษาหรือองค์กรสุขภาพจิตในชุมชนที่เปิดให้คำปรึกษาฟรี [21]
11

รายงานการถูกทำร้ายหากคุณเป็นเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การดูถูก ปฏิเสธ และด่าทออย่างต่อเนื่องเป็นสัญญาณของการทำร้ายจิตใจ. [22] ถ้าพ่อ/แม่ไม่เคารพขอบเขตของคุณและคุณต้องประสบกับการถูกปั่นหัวเป็นประจำหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน ให้ขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิ์มาทำกับคุณแบบนี้! คุณสามารถรายงานการถูกทำร้ายจิตใจได้ด้วยการเล่าให้ผู้ใหญ่ที่คุณไว้ใจฟัง เช่น หมอ โค้ช ผู้ดูแล หรือครู
    • ครู ผู้ดูแล และโค้ชที่โรงเรียนสามารถรายงานให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (ซึ่งได้แก่ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและตำรวจ) รับทราบได้หากสงสัยว่าเด็กถูกทำร้าย
    • คุณสามารถโทรศัพท์ไปที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก (02-412-1196) หรือศูนย์ช่วยเหลือสังคม (1300) เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งเหตุเด็กถูกทำร้ายและการส่งเรื่องต่อไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง [23]
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

วิธีการปลอบใจสำหรับคนที่เผชิญความสูญเสีย
โน้มน้าวให้พ่อแม่ซื้อโทรศัพท์มือถือให้
ทำให้แฟนหนุ่มที่คบกันมานานขอคุณแต่งงาน
ทำโทษด้วยการตีก้น
รู้ว่าสามีกำลังนอกใจคุณอยู่หรือเปล่า
ทำให้ภรรยาของคุณตกหลุมรักคุณอีกครั้ง
รับมือกับการสูญเสียและความเจ็บปวด
ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น
วิธีการทำให้แฟนหนุ่มรู้สึกผิดที่นอกใจ
ทำให้สามีมีความสุข
ดำเนินชีวิตแบบนักเปลือยกาย
เป็นภรรยาที่ดี
ดำเนินชีวิตแบบเปลือยกายในครอบครัว
เลิกรากับสามีที่นอกใจทั้งที่ยังรัก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,178 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา