ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่มีใครอยากทำสิ่งนี้ แต่วันใดวันหนึ่งเราทุกคนต่างต้องเป็นกำลังใจให้ใครสักคนที่ต้องพลัดพรากจากคนที่ตัวเองรัก คุณอาจสงสัยว่าในสถานการณ์ที่น่าเศร้านี้คุณควรพูดปลอบใจเขาอย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วคำพูดที่งดงามหรือ “ถูกต้อง” นั้นไม่มีอยู่จริง แต่คุณสามารถให้กำลังใจคนที่กำลังเศร้าโศกได้ด้วยการแสดงความเห็นอกเห็นใจ ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ และแบ่งปันความทรงจำในระหว่างที่เขากำลังทำใจเรื่องการสูญเสีย ในบทความนี้เราได้รวบรวมคำพูดสำหรับสถานการณ์ที่มีใครบางคนจากไป เพื่อให้คนที่คุณห่วงใยรู้สึกดีขึ้นในช่วงที่กำลังโศกเศร้า หากคุณพร้อมจะติดต่อเขาแล้ว อ่านต่อด้านล่างได้เลย

1

“ฉันเสียใจด้วยนะ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แสดงความห่วงใยอย่างจริงใจผ่านคำพูดแสดงความเสียใจที่เรียบง่าย. มันอาจจะฟังดูเป็นคำพูดทั่วไป แต่มันทำให้คนที่กำลังโศกเศร้ารู้ว่าคุณเข้าใจว่าเขากำลังเผชิญกับอะไร กล่าวแสดงความเสียใจอย่างเรียบง่ายหากเป็นคนรู้จัก แต่ถ้าเป็นคนสนิทให้กล่าวคำพูดให้กำลังใจที่แสดงความเอื้ออาทรมากกว่านั้น [1]
    • “ฉันเสียใจมากเลยเมื่อรู้ข่าว”
    • “ฉันเสียใจมากที่ได้ยินข่าวร้าย”
    • “ฉันเศร้ามากเลยเมื่อรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ฉันเป็นห่วงเธอนะ”
    โฆษณา
2

“ฉันนึกไม่ออกเลยว่าตอนนี้เธอจะรู้สึกยังไง”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แสดงความเห็นอกเห็นใจโดยไม่เปรียบเทียบความรู้สึกของอีกฝ่ายกับประสบการณ์ของคุณเอง. คำพูดที่ว่า “ฉันเข้าใจว่าเธอรู้สึกยังไง” อาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณไม่เข้าใจเขาหรือยิ่งอ้างว้างกว่าเดิม เพราะแต่ละคนก้าวผ่านความโศกเศร้าไม่เหมือนกัน และแม้ว่าคุณจะเคยสูญเสียมาแล้ว สถานการณ์และเรื่องราวของคนที่กำลังโศกเศร้าก็ไม่เหมือนของคุณอยู่ดี [2]
    • “ฉันนึกไม่ออกเลยว่าเธอจะผ่านความเจ็บปวดนี้ไปได้ยังไง”
    • “ฉันจะไม่พูดหรอกนะว่าฉันเข้าใจว่าเธอรู้สึกยังไง แต่ฉันอยู่ตรงนี้เสมอถ้าเธออยากเล่าอะไรให้ฟัง”
    • “ฉันจินตนาการไม่ออกด้วยซ้ำว่าเธอจะเจ็บปวดขนาดไหน ฉันเสียใจด้วยนะที่เธอต้องมาเจอเรื่องแบบนี้”
3

“ผมเสียใจด้วยนะที่คุณลุงของคุณตาย”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้คำว่า “ตาย” เพื่อบอกเขาว่าคุณสบายใจที่จะพูดเรื่องความตาย. หลายคนรู้สึกว่าจะต้องพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแบบอ้อมค้อมเพื่อไม่ให้ฟังดูหยาบกระด้าง แต่คุณควรจะพูดออกมาตรงๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณเปิดใจพูดเรื่องความตายและการตาย เป็นไปได้ว่าคนที่กำลังโศกเศร้าอาจจะเปิดใจคุยกับคุณมากขึ้นเมื่อเห็นว่าคุณสะดวกใจจะพูดเรื่องนี้ [3]
    • “ผมเสียใจด้วยนะที่พี่ชายของคุณตาย”
    • “ผมเสียใจด้วยนะที่คุณนลินทิพย์ตายเมื่อวานนี้ ผมเป็นห่วงคุณนะครับ!”
    • “ผมได้ยินข่าวว่าคุณป้าของคุณตาย ผมเสียใจด้วยนะ”
    โฆษณา
4

“เป็นข่าวที่น่าเศร้ามากเลยครับ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รับรู้ถึงความร้ายแรงของการสูญเสียโดยไม่เสนอมุมมอง “แง่บวก”. คำพูดเชิงบวก เช่น “อย่างน้อยเขาก็ไม่เจ็บปวดแล้วนะ” หรือ “ชีวิตของคุณยังมีอะไรดีๆ ที่รอให้คุณเห็นคุณค่านะครับ” อาจฟังดูเหมือนเป็นคำปลอบใจ แต่จริงๆ แล้วมันแทบไม่ให้กำลังใจคนที่โศกเศร้าที่อยากเห็นคนที่เขารักกลับมาอยู่ด้วยกันเหมือนเดิมเลย [4]
    • “เป็นข่าวเศร้าจริงๆ ครับ! คุณยังมีผมนะ”
    • “คุณต้องเจ็บปวดมากแน่ๆ ผมเสียใจด้วยนะครับ”
    • “ผมไม่อยากจะเชื่อเลยตอนได้ยินข่าวร้าย ผมเป็นห่วงคุณนะครับ”
5

“วันนี้เป็นไงบ้าง”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถามว่าเขารู้สึกอย่างไรเพื่อให้รู้สารทุกข์สุกดิบและประเมินว่าจะคุยอย่างไรต่อ. ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะพูดอะไร คุณก็สามารถทักทายตามปกติได้ แต่ให้สังเกตท่าทีของเขา เพราะเขาอาจจะอยากคุยเรื่องเบาสมองเพื่อเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น หรือเขาอาจจะพร้อมบอกคุณแล้วก็ได้ว่า จริงๆ แล้วเขาเป็นอย่างไรบ้าง [5]
    • “วันนี้สถานการณ์เป็นยังไงบ้าง”
    • “รู้สึกยังไงบ้าง”
    • “หวังว่าวันนี้เธอจะสบายดีนะ”
    โฆษณา
6

“ผมคิดถึงคุณ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บอกให้คนที่สูญเสียรู้ว่าคุณคิดถึงเขาในช่วงที่เขากำลังโศกเศร้า. หลายคนที่กำลังโศกเศร้าอาจจะไม่มีกำลังใจที่จะติดต่อคนอื่นและคนอื่นต้องเป็นฝ่ายพยายามเข้าหาก่อน เมื่อได้ยินข่าวร้ายให้บอกเขาว่าคุณคิดถึงเขา และบอกอีกครั้งหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ในระหว่างที่เขากำลังปรับตัวให้อยู่กับชีวิตที่ไม่มีคนที่เขารักต่อไปให้ได้ [6]
    • “ผมคิดถึงคุณและครอบครัวนะ”
    • “ผมเป็นห่วงคุณเสมอในระหว่างที่คุณพยายามผ่านมันไปให้ได้”
    • “ผมเพิ่งรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เสียใจด้วยนะครับ ผมคิดถึงและเป็นห่วงคุณนะ”
7

“ผมจะคอยอธิษฐานให้คุณนะ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณนับถือศาสนา ปลอบใจคนที่กำลังโศกเศร้าด้วยการให้กำลังใจทางจิตวิญญาณ. ศรัทธาในศาสนาของคนๆ หนึ่งอาจเป็นเสมือนเสาหลักแห่งกำลังใจให้พวกเขาในช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างการสูญเสียคนที่ตัวเองรัก บอกให้เขารู้ว่าคุณคอยอธิษฐานให้เขา หรือพระเจ้าจะช่วยให้เขาผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ [7]
    • “ผมจะอธิษฐานให้คุณและคนที่คุณรักนะครับ”
    • “ขอให้พระเจ้าสถิตอยู่กับคุณในช่วงเวลาที่แสนโศกเศร้านะครับ”
    • “พวกเราจะอธิษฐานขอให้คุณพบหนทางที่จะผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้นะครับ”
    โฆษณา
8

“มีอะไรเล่าให้ฟังได้นะ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้กำลังใจคนที่กำลังโศกเศร้าด้วยการรับฟังเรื่องราวและความรู้สึกของเขา. คนที่รับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจช่วยทำให้คนที่กำลังโศกเศร้ารู้สึกดีขึ้นได้ เพราะหลายคนอยากพูดคุยหรือระบายออกมาดังๆ ให้ใครสักคนฟังเพื่อบรรเทาความเศร้า บอกให้เขารู้ว่าคุณคือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเขา และตั้งใจฟังโดยไม่ตัดสิน [8]
    • “ฉันอยู่ตรงนี้นะ ไม่ว่าเธอจะต้องการไหล่ให้ซบหรืออยากคุยกับใครสักคน”
    • “เธอทักมาคุยกับฉันได้เสมอนะ ติดต่อมาได้เลย”
    • “ฉันยินดีรับฟังเธอทุกเมื่อนะ อยากคุยเมื่อไหร่ก็บอกได้เลย”
    • คุณควรเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองจะไม่พูดอะไรที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ดี และเป็นการบอกให้เขารู้ด้วยว่า คุณอยากจะช่วยให้เขาข้ามผ่านกระบวนการโศกเศร้านี้ไปให้ได้
9

“วันนี้ผมเอามื้อเย็นไปฝากนะ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสนอว่าจะช่วยเหลือหรือทำธุระแทนคนที่กำลังโศกเศร้า. การถามว่า “มีอะไรให้ช่วยมั้ย” อาจฟังดูเป็นคำถามที่แสดงว่าคุณอยากจะช่วยเหลือ แต่บางครั้งมันก็ทำให้คนที่สูญเสียรู้สึกกดดันที่จะต้องนึกให้ออกว่าเขาอยากให้คุณช่วยอะไรทั้งที่เขาไม่แน่ใจ บอกเขาว่าคุณอยากช่วยอะไรเขาหรือเสนอความช่วยเหลือและถามเขาว่าเขาอยากให้คุณช่วยเรื่องนี้ไหม [9]
    • “วันนี้ผมทำต้มยำปลา เดี๋ยวผมเอาไปฝากนะ”
    • “ผมกะว่าเสาร์อาทิตย์นี้จะไปตัดหญ้าหน้าบ้านให้คุณ ให้ผมทำได้มั้ย”
    • “สัปดาห์นี้เดี๋ยวผมเป็นคนไปส่งเด็กๆ ที่โรงเรียนเอง ผมยินดีช่วยเท่าที่ช่วยได้!”
    โฆษณา
10

“ผมมีความทรงจำดีๆ เกี่ยวกับเขาเยอะเลย”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แบ่งปันความทรงจำที่อบอุ่นเกี่ยวกับผู้ตายเพื่อให้คนที่กำลังโศกเศร้ารู้สึกดีขึ้น. เขาจะรู้สึกอบอุ่นเมื่อรู้ว่าคนอื่นก็คิดถึงคนที่เขารักเหมือนกัน และเป็นไปได้ว่าการที่คุณช่วยให้เขานึกถึงช่วงเวลาดีๆ ที่คุณมีร่วมกับผู้ตายจะทำให้เขามีความสุข นึกถึงความทรงจำที่เด่นชัดที่สุด หรือจะคิดถึงความรู้สึกหรือความนึกคิดที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำเหล่านั้นก็ได้
    • “ความทรงจำเกี่ยวกับคุณปู่ของคุณที่ผมชอบมากคือตอนที่ท่านชอบพาเราไปตกปลาตอนเราเด็กๆ”
    • “ฉันจำได้ว่ามีอยู่ครั้งนึงที่เราแอบหนีออกไปข้างนอก แล้วโดนแม่นายจับได้ตอนกลับมา ไม่มีอะไรรอดพ้นสายตาแม่นายได้เลย!”
    • “ฉันจะไม่มีวันลืมเลยว่าโจ๊กคอยช่วยเหลือฉันมากแค่ไหนตอนที่ฉันกำลังพักฟื้นหลังผ่าตัดเมื่อ 2-3 ปีก่อน เขาเป็นคนมีน้ำใจมาก”
11

“เขามีอิทธิพลกับพวกเรามาก”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระลึกถึงผู้ตายและเล่าเรื่องราวว่าชีวิตของเขาส่งผลต่อชีวิตของคนอื่นอย่างไร. การเล่าเรื่องราวว่าคนที่เขารักเป็นแรงบันดาลใจ ช่วยเหลือ หรือมีอิทธิพลต่อบุคคลหรือชุมชนอย่างไรนั้นทำให้คนที่กำลังโศกเศร้ารู้สึกดีขึ้น เพราะมันทำให้คนที่สูญเสียรู้ว่า ไม่ได้มีแค่เขาที่ระลึกถึงและศรัทธาในตัวคนที่จากไป [10]
    • “ไม่มีใครอุทิศตัวให้ลูกศิษย์มากเท่าอาจารย์ไอรดาอีกแล้ว พวกเราโชคดีมากที่เคยเรียนกับท่าน”
    • “ดร.อามีนาเป็นเหมือนเสาหลักของเมืองนี้ ทุกปีมีแต่คนรอดูว่าขบวนพาเหรดบุญสารทเดือนสิบเธอจะแต่งตัวยังไง”
    • “พี่ชายของคุณมีน้ำใจกับทุกคน เขาสอนให้ผมรู้ว่าการคืนกำไรสู่สังคมคืออะไร”
    โฆษณา
12

“ผมจะคิดถึงสู่ขวัญ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดชื่อผู้ตายเพื่อให้ความทรงจำเกี่ยวกับเขามีชีวิต. การเรียกชื่อผู้ตายเป็นการย้ำให้คนที่กำลังโศกเศร้ามั่นใจว่า คนที่เขารักจะไม่ถูกลบออกจากบทสนทนาทั้งหมด และยังช่วยปลอบใจเขาด้วยว่าไม่ได้มีแต่เขาที่คิดถึงคนที่จากไป [11]
    • “ผมคิดถึงโดมนะ เขาเป็นคนใจดี”
    • “ไม่มีใครเหมือนหวาย ผมคงจะคิดถึงเธอ”
    • “ผมยังคิดถึงอาจารย์วรินทร์ลดาอยู่เลย อาจารย์เป็นครูที่ดีที่สุดของผม”
13

“เขาเป็นคนพิเศษ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดถึงสิ่งดีๆ เกี่ยวกับผู้ตายเพื่อเล่าให้อีกฝ่ายรู้ว่า ผู้ตายเป็นพลังบวกในชีวิตของคุณ. ถ้าคุณไม่ได้รู้จักผู้ตายมากนัก คุณก็ไม่จำเป็นต้องพูดอะไรเจาะจง พูดถึงความมีเมตตา อารมณ์ขัน หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำให้ความทรงจำเกี่ยวกับเขากลับมามีชีวิตอีกครั้ง เพราะมันจะช่วยทำให้คนที่รักเขาดีใจที่ได้ยินว่า คนที่รู้จักเขาต่างก็ชื่นชมเขา [12]
    • “ไม่มีใครทำให้ฉันขำกลิ้งในงานปาร์ตี้ได้เท่าไอซ์แล้ว”
    • “คุณยายของเธอเป็นคนที่ฉลาดที่สุดที่ฉันเคยเจอคนนึงเลย”
    • “ตอนเด็กๆ ฉันชอบมาเล่นที่บ้านเธอ เพราะพ่อเธอต้อนรับฉันเสมอ”
    โฆษณา
14

“เธอจะเศร้านานแค่ไหนก็ได้นะ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ย้ำให้คนที่สูญเสียมั่นใจว่า ระยะเวลาในการโศกเศร้านั้นไม่มีกำหนด. แต่ละคนทำใจเรื่องการสูญเสียแตกต่างกัน แต่หลายคนรู้สึกกดดันว่าจะต้อง “หายเศร้า” ได้เร็วๆ ทำให้เขามีความหวังและแสดงความเข้าอกเข้าใจด้วยการบอกเขาว่า เขาจะรู้สึกถึงความรู้สึกต่างๆ นานแค่ไหนก็ได้ เขาจะไปต่อได้เองเมื่อเขาพร้อม [13]
    • “ไม่ต้องรีบร้อน วันนึงเธอจะผ่านเรื่องนี้ไปได้เอง”
    • “ไม่มีใครคาดหวังว่าเธอจะต้องรู้สึกดีขึ้นเร็วๆ นี้นะ เธอจะใช้เวลาทำใจนานแค่ไหนก็ได้”
    • “เธอจะใช้เวลาแค่ไหนก็ได้ ไม่มีกฎเกณฑ์ว่าเธอจะต้องผ่านมันไปได้เมื่อไหร่”
15

“เธอมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกแบบนั้น”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บอกให้คนที่โศกเศร้ารู้ว่า คุณไม่ได้ตัดสินเขาจากความรู้สึกของเขา. เขาอาจจะรู้สึกเศร้าซึม โกรธ ตกใจ ไม่ยอมรับความจริง ขมขื่น หรือหลายๆ อารมณ์ที่ว่ามานี้ปนกันและอารมณ์อื่นๆ อีกมากมาย และเขาอาจจะเกิดความรู้สึกนี้กับผู้ตายโดยตรง อย่าบอกให้เขาปล่อยวาง แต่ปล่อยให้เขารู้สึกถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น [14]
    • “ช่วงเวลาแบบนี้ไม่มีความรู้สึกไหนผิดหรือถูกหรอกนะ”
    • “ไม่ว่าตอนนี้เธอจะรู้สึกอะไร เธอมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกแบบนั้นนะ”
    • “ถึงจะรู้สึกแบบนั้นก็ไม่เป็นไรหรอก ไม่มีใครคาดหวังให้เธอทำตัวแบบนั้นแบบนี้ในช่วงเวลานี้หรอก”
    โฆษณา
16

“ถ้าอยากร้องก็ร้องออกมาเถอะ”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บอกให้คนที่กำลังโศกเศร้ารู้ว่า เขาสามารถแสดงความรู้สึกต่อหน้าคุณได้อย่างปลอดภัย. หลายคนรู้สึกกดดันว่าจะต้องกลั้นน้ำตาหรือแสดงออกว่าตัวเอง “เข้มแข็ง” เมื่อเผชิญความสูญเสีย ยอมรับความรู้สึกของเขาและบอกเขาว่า เขาสามารถร้องไห้ต่อหน้าคุณได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสินหรือวิจารณ์ [15]
    • “ร้องออกมาให้หมด ผมอยู่กับคุณเสมอ”
    • “ร้องออกมาให้หมดเลยนะ!”
    • “ไม่ต้องอายถ้าอยากจะร้องไห้ เพราะคุณกำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบากจริงๆ”
17

“ผมไม่รู้จะพูดยังไง”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร! เพราะสิ่งสำคัญอยู่ที่ความจริงใจและความพร้อมที่จะพูดคุยกับคนที่กำลังโศกเศร้า จำไว้ว่าไม่มีคำพูดไหน “ถูกต้อง” [16]
    • “ผมไม่รู้จะพูดยังไง ผมเสียใจด้วยนะครับ”
    • “ผมพูดไม่ออกเลย”
    • “ผมไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ผมพูดเหมาะสมมั้ย แต่ผมอยู่ตรงนี้เสมอถ้าคุณต้องการ”
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พูดกับเขาอย่างจริงใจ คนที่กำลังโศกเศร้าจะสัมผัสได้ เขาจะรู้ว่าคุณห่วงใยเขา และคุณเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่เขาสามารถเข้าหาได้เมื่อจำเป็น
  • ถ้าคุณไม่แน่ใจจริงๆ ว่าจะพูดอะไร หรือคุณรู้จักคนๆ นั้นเป็นอย่างดี/สบายใจเวลาอยู่กับเขาและเขาก็สบายใจเวลาอยู่กับคุณ ถามเขาว่าขอกอดหน่อยได้ไหม การให้เขาได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของคุณตรงหน้านั้นมีความหมายกับเขามาก แม้ว่าคุณสองคนจะไม่สามารถหาคำพูดได้ในตอนนี้ก็ตาม
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าให้คำแนะนำยกเว้นว่าเขาจะขอ เพราะการให้คำแนะนำและพยายามจะแก้ไขความโศกเศร้าของอีกฝ่ายนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่มันรังแต่จะทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลงไปกว่าเดิมสำหรับคนที่กำลังโศกเศร้า
  • อย่าดึงความสนใจมาที่ตัวเอง เพราะการทำอย่างนั้นจะทำให้เขาสับสนหรืออาจจะถึงขั้นไม่พอใจ และที่แน่ๆ คือมันไม่ได้ช่วยปลอบใจคนที่กำลังเสียใจได้เลย
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

โน้มน้าวให้พ่อแม่ซื้อโทรศัพท์มือถือให้
ทำให้แฟนหนุ่มที่คบกันมานานขอคุณแต่งงาน
ทำโทษด้วยการตีก้น
รู้ว่าสามีกำลังนอกใจคุณอยู่หรือเปล่า
ทำให้ภรรยาของคุณตกหลุมรักคุณอีกครั้ง
ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น
รับมือกับการสูญเสียและความเจ็บปวด
วิธีการทำให้แฟนหนุ่มรู้สึกผิดที่นอกใจ
ดำเนินชีวิตแบบนักเปลือยกาย
เป็นภรรยาที่ดี
ทำให้สามีมีความสุข
ดำเนินชีวิตแบบเปลือยกายในครอบครัว
รับมือกับพ่อแม่จอมปั่นหัว
เลิกรากับสามีที่นอกใจทั้งที่ยังรัก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 71,070 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา