ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาบอกว่า ทุกปีจะมีคนราว 735,000 คนในสหรัฐที่จะเกิดหัวใจวาย และ 525,000 คนจากจำนวนนั้นเป็นคนที่เกิดหัวใจวายเป็นครั้งแรก [1] โรคหัวใจนั้นเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั้งในชายและหญิง แต่การตระหนักในสัญญาณและอาการบ่งชี้ล่วงหน้าของการหัวใจวายเป็นกุญแจสำคัญที่จะป้องกันการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้ประมาณกันว่าการเสียชีวิตจากหัวใจวายนั้นราว 47% จะเกิดนอกโรงพยาบาล ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหลายคนอาจเพิกเฉยต่อสัญญาณเริ่มแรกที่ร่างกายเตือนให้เห็น [2] การที่สามารถตระหนักถึงอาการหัวใจวาย แล้วโทรศัพท์หาหน่วยฉุกเฉินได้ทันท่วงที สามารถช่วยป้องกันเหตุการณ์ขั้นรุนแรงกว่านั้นและมีทางช่วยชีวิตคุณไว้ได้ด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ระบุอาการทั่วไปของการเกิดหัวใจวาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จากการสำรวจที่จัดทำโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคนั้น ผู้คนจำนวนถึง 92% ที่ตระหนักดีว่าอาการเจ็บหน้าอกเป็นอาการของหัวใจวาย แต่มีเพียง 27% เท่านั้นที่รู้อาการทั้งหมดและรู้ว่าเมื่อไหร่ต้องโทรศัพท์เรียกรถฉุกเฉิน [3] ถึงแม้ว่าอาการเจ็บหน้าอกจะเป็นอาการโดยทั่วไปและรู้กันดี ตอนแรกคุณก็ยังอาจเข้าใจไปเองว่าคุณแค่เจ็บลิ้นปี่หรือเป็นโรคกรดไหลย้อน
    • อาการเจ็บหน้าอกจากการหัวใจวายนั้นรู้สึกเหมือนมีใครสักคนมาบีบหน้าอกหรือมีช้างมานั่งทับทรวงอก ทานยาลดกรดก็ไม่ช่วยบรรเทาอะไร
    • อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาโดยวารสารแห่งสมาคมเวชกรรมอเมริกา ผู้วิจัยพบว่าผู้ชาย 31% และผู้หญิง 42% ไม่เคยประสบกับอาการเจ็บหน้าอกที่มักนำไปเกี่ยวโยงกับโรคหัวใจวายมาก่อน [4] ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักจะเสี่ยงเจออาการที่ว่านี้น้อยกว่า
  2. อาการเจ็บจากหัวใจวายสามารถกระจายไปเกินบริเวณทรวงอกไปยังบ่าด้านบน แขน หลัง ต้นคอ ฟันและกราม จริงๆ แล้วคุณอาจไม่เจออาการเจ็บที่หน้าอกเลยก็เป็นได้ [5] อาการปวดฟันเรื้อรังหรือปวดหลังส่วนบนอาจเป็นสัญญาณเริ่มแรกของหัวใจวายก็ได้
  3. หัวใจวายโดยมากจะเริ่มจากอาการตามที่อธิบายไว้ด้านล่างอย่างเบาๆ อย่างไรก็ดี อย่าคิดที่จะ “อดทนเอา” ถ้าอาการมันไม่หายไปภายในห้านาที ให้โทรแจ้งรถฉุกเฉินเพื่อรับการรักษาโดยด่วน [6]
  4. ประเมินว่าอาการเจ็บนี้เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ ถ้าหากใครคนนั้นที่อาจหัวใจวายเคยมีประวัติเช่นว่านี้มาก่อน. เจ้าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ว่าหายไปทันทีหลังรับการรักษาหรือเปล่า บางคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดการตีบ หรือเจ็บหน้าอกจากการออกแรงหนักเกินไป นี่เกิดขึ้นได้เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนมาช่วยทำงานอย่างเพียงพอ คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอาจมียาที่ช่วยขยายหลอดเลือดในหัวใจและทำให้อาการเจ็บหายไป ถ้าอาการหลอดเลือดหัวใจตีบนี้ไม่ได้หายไปในทันทีที่ได้พักหรือใช้ยา มันอาจเป็นสัญญาณลางๆ ของการเกิดหัวใจวายได้ [7]
  5. อาการเจ็บจากหัวใจวายสามารถเกิดในท้องได้ มันอาจรู้สึกคล้ายกรดไหลย้อนแต่ทานยาลดกรดก็ไม่หาย คุณยังอาจรู้สึกคลื่นไส้และอาเจียนโดยปราศจากการเจ็บหน้าอกหรืออาการอื่นๆ ของโรคหวัดใหญ่ลงกระเพาะ [8]
  6. โทรแจ้งสายด่วนฉุกเฉินถ้าคุณสงสัยว่าจะเกิดหัวใจวาย. อย่าพยายามลองทำอย่างอื่นก่อน อย่าเลื่อนความช่วยเหลือทางการแพทย์ออกไป โอกาสดีที่สุดของคุณในการฟื้นตัวโดยที่กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหายน้อยที่สุดนั้นคือการได้รับการช่วยเหลือทางแพทย์ภายในหนึ่งชั่วโมงนับแต่เกิดอาการ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

มองหาอาการหัวใจวายแบบที่พบไม่บ่อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองหาอาการแบบที่พบไม่บ่อยถ้าผู้ป่วยเป็นผู้หญิง. [10] ผู้หญิงมักเจอสัญญาณหัวใจวายที่พบเห็นไม่บ่อยได้บ่อยกว่าผู้ชาย อาการเหล่านี้รวมไปถึง:
    • อ่อนแรงโดยฉับพลัน
    • ปวดร่างกาย
    • รู้สึกเหมือนไม่สบายมีไข้แบบที่บางครั้งจะอธิบายว่าเป็น “หวัด”
    • มีสภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติ
  2. รับรู้ถึงอาการหายใจติดขัดขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึง. อาการหายใจติดขัดเป็นอาการหัวใจวายที่สามารถเกิดขึ้นก่อนรู้สึกเจ็บหน้าอก คุณจะรู้สึกราวกับไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้เพียงพอ หรือราวกับว่าเพิ่งจะวิ่งสุดกำลังเข้าเส้นชัย [11]
  3. เฝ้าดูอาการหน้ามืด กระสับกระส่าย และเหงื่อออก. อาการหัวใจวายอาจรวมไปถึงการรู้สึกกระสับกระส่ายโดยไม่มีเหตุผล คุณอาจรู้สึกหน้ามืดหรือมีเหงื่อเย็นโดยไม่รู้สึกเจ็บหน้าอกหรือมีอาการอื่นเลยก็ได้ [12]
  4. หัวใจกำลังเต้นตูมตามในอกหรือเปล่า ถ้าหัวใจคุณรู้สึกราวกำลังจะระเบิดในอก หรือราวกับมันกำลังวิ่งแข่งหรือคุณรู้สึกใจสั่น หรือรู้สึกราวกับจังหวะการเต้นผิดแปลกออกไป นี่เป็นสัญญาณอาการหัวใจวายแบบที่พบเห็นไม่บ่อย [13]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ประเมินปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหัวใจวาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจว่ามีปัจจัยเสี่ยงของหัวใจวายที่มีความแตกต่างกัน. มันมีปัจจัยที่คุณสามารถเปลี่ยนแปลงโดยการเปลี่ยนวิถีชีวิตและมีปัจจัยที่คุณทำอะไรกับมันไม่ได้เลย เวลาที่คุณได้รับรู้ถึงทางเลือกที่จะเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหัวใจวายนั้น คุณสามารถเลือกทางที่ดีกว่าได้
  2. เข้าใจปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจที่คุณไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้. พวกนี้จะเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและควรนำมาพิจารณาเวลาประเมินความเสี่ยงโดยรวมของการเกิดหัวใจวายของคุณ ปัจจัยเสี่ยงที่คุณไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ก็เช่น: [14]
    • อายุ: ผู้ชายที่อายุเกิน 45 ปีและผู้หญิงที่อายุเกิน 55 ปีมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจวายสูงกว่า
    • ประวัติคนในครอบครัว: ถ้าญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดมีประวัติหัวใจวายแต่เนิ่น คุณก็มีความเสี่ยงสูงกว่า
    • ประวัติของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง: หากคุณมีประวัติของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองอย่างเช่น โรคไขข้ออักเสบหรือโรคพุ่มพวง คุณก็มีความเสี่ยงสูงที่จะหัวใจวาย
    • ภาวะครรภ์เป็นพิษ: เป็นสภาวะตอนตั้งครรภ์
  3. เข้าใจปัจจัยเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคหัวใจซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้. ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้สามารถทำให้ลดน้อยลงได้โดยการเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น โดยการกำจัดพฤติกรรมด้านลบหรือสร้างพฤติกรรมด้านบวก ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็เช่น: [15]
    • การสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันอยู่แล้ว การสูบบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันอีกด้วย
    • ความดันโลหิตสูง
    • การไม่ออกกำลังกาย
    • โรคเบาหวาน
    • ความอ้วน
    • มีคอเลสเตอรอลสูง
    • มีความเครียดและใช้ยาเสพติด [16]
  4. ทำตัวให้กระฉับกระเฉงทุกวัน ออกไปเดินช่วงสั้นๆ สัก 15 นาทีหลังมื้อเที่ยงและมื้อเย็น รับประทานอาหารถูกสุขภาพที่มีเกลือ ไขมันทรานส์ และคาร์โบไฮเดรตต่ำ และรับประทานโปรตีนกับไขมันไม่อิ่มตัวให้มาก
    • เลิกบุหรี่
    • เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์ในเรื่องการรักษาและการใช้ยาถ้าคุณเสี่ยงจะเกิดหัวใจวาย หรือถ้าคุณเพิ่งพักฟื้นมาจากการเกิดมัน
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เข้าใจว่าหัวใจวายจะได้รับการรักษาทางแพทย์อย่างไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หัวใจวายนั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ตอบสนองเป็นอย่างดีต่อการได้รับการรักษาทันท่วงที หากคุณหรือเพื่อนอยู่ในห้องฉุกเฉินด้วยอาการที่ส่อเค้าว่าหัวใจวาย คุณจะถูกตรวจทันที
  2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) เป็นการตรวจสอบเพื่อวัดกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ มันจะแสดงให้แพทย์ได้ทราบว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจมากแค่ไหนที่มีความเสียหายหรือคุณกำลังตกอยู่ในภาวะหัวใจวายหรือไม่ กล้ามเนื้อที่บาดเจ็บจะไม่นำไฟฟ้าในแบบเดียวกับที่กล้ามเนื้อปกติเป็น กิจกรรมทางไฟฟ้าจากหัวใจจะส่งผ่านทางขั้วไฟฟ้าที่วางแนบหน้าอกและถูกพิมพ์ลงบนกระดาษสำหรับการวินิจฉัย [17]
  3. เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดบาดเจ็บในระหว่างหัวใจวายนั้น มันจะหลั่งสารเคมีจำพวกหนึ่งออกมาสู่กระแสเลือด โทรโปนิน (Troponin) เป็นหนึ่งในสารเคมีเหล่านั้นที่จะยังค้างอยู่ในเลือดได้นานถึงสองสัปดาห์ ทำให้แพทย์สามารถวัดได้ว่าคุณเพิ่งมีอาการหัวใจวายซึ่งอาจไม่ได้รับการตรวจมาก่อนหรือไม่ [18]
  4. เตรียมตัวสำหรับการตรวจสวนหัวใจหรือการฉีดสี. แพทย์อาจทำการตรวจสวนหัวใจ (cardiac catheterization) เพื่อหารายละเอียดของสภาวะหัวใจเพิ่มเติม ระหว่างกระบวนการนี้จะมีการใช้สายสวนขนาดเล็กใส่เข้าไปตามหลอดเลือดไปยังหัวใจ [19] มันมักจะถูกใส่เข้าไปทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ [20] และเป็นกระบวนการที่แทบไม่เสี่ยงต่ออันตราย [21] ในระหว่างการตรวจสวนหัวใจนี้ แพทย์อาจจะ: [22]
    • เอกซเรย์หัวใจโดยใช้การฉีดสี นี่จะช่วยให้แพทย์ได้เห็นว่ามีหลอดเลือดที่เกิดตีบหรืออุดตันหรือไม่
    • วัดความดันภายในห้องหัวใจ
    • เก็บตัวอย่างเลือด ซึ่งสามารถนำมาใช้วัดปริมาณออกซิเจนในห้องหัวใจได้
    • ทำการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจ
    • ตรวจสอบสภาวะการทำงานของหัวใจว่ายังสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
  5. คาดว่าจะมีการทดสอบความหนักหน่วงหลังจากจบการรักษา. ภายในไม่กี่สัปดาห์หลังเกิดหัวใจวาย คุณอาจต้องรับการทดสอบความหนักหน่วงเพื่อดูว่าหลอดเลือดในหัวใจตอบสนองต่อการออกกำลังกายดีแค่ไหน คุณจะต้องขึ้นไปบนลู่วิ่งไฟฟ้าพร้อมติดเครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวัดกิจกรรมทางไฟฟ้าในหัวใจ นี่จะช่วยให้แพทย์ลงความเห็นการรักษาคุณในระยะยาวได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้ความรู้กับเพื่อนฝูงและครอบครัวถึงอาการหัวใจวายชนิดที่พบไม่บ่อยเพื่อป้องกันการเกิดหัวใจวายโดยไม่ได้ไปหาหมอ
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณพบอาการเหล่านี้หรืออาการอื่นๆ ที่คุณไม่คุ้นเคย อย่ารอหรือพยายามจะอดทน ให้โทรเรียกหน่วยฉุกเฉินเพื่อรับการรักษาในทันที ยิ่งรักษาเร็วแค่ไหนยิ่งส่งผลดีแค่นั้น
  • อย่าขยับหรือออกแรงถ้าคุณเชื่อว่ากำลังเกิดหัวใจวาย มันจะทำให้หัวใจเกิดความเสียหายยิ่งขึ้น ขอให้คนข้างๆ โทรเรียกหน่วยฉุกเฉิน
โฆษณา
  1. https://womenheart.site-ym.com/?page=Support_Symptoms
  2. http://www.cdc.gov/dhdsp/data_statistics/fact_sheets/fs_heartattack.htm
  3. http://www.cdc.gov/dhdsp/data_statistics/fact_sheets/fs_heartattack.htm
  4. http://www.secondscount.org/heart-condition-centers/info-detail?cid=673a03b4-eb6c-46a1-aa79-806bf55e1f56#.VXMopc9Viko
  5. https://womenheart.site-ym.com/?page=Support_Symptoms
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/basics/risk-factors/con-20019520
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/basics/tests-diagnosis/con-20019520
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/basics/risk-factors/con-20019520
  9. http://www.secondscount.org/tests/test-detail?cid=f292d9ed-c32a-4e4d-b1ee-94cfe53f3990#.VXM5-s9Viko
  10. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HeartAttack/SymptomsDiagnosisofHeartAttack/Cardiac-Catheterization_UCM_451486_Article.jsp#.VwV5_hMrJE4
  11. http://watchlearnlive.heart.org/CVML_Player.php?moduleSelect=cocath
  12. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HeartAttack/SymptomsDiagnosisofHeartAttack/Cardiac-Catheterization_UCM_451486_Article.jsp#.VwV5_hMrJE4
  13. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HeartAttack/SymptomsDiagnosisofHeartAttack/Cardiac-Catheterization_UCM_451486_Article.jsp#.VwV5_hMrJE4
  14. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/heartattack/signs.html
  15. http://www.mayoclinic.com/health/heart-attack-symptoms/HB00054
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0001246/
  17. http://www.cdc.gov/dhdsp/data_statistics/fact_sheets/fs_heartattack.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,250 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา