ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ขณะที่คุณกำลังอายจนทำอะไรไม่ถูก คุณอาจรู้สึกราวกับว่าบนโลกนี้มีคุณเพียงคนเดียว กระนั้น ความอับอายเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งที่ใครๆ ต่างก็เคยรู้สึกกัน มนุษย์ทั่วโลกต่างก็เคยมีอารมณ์แบบนี้ด้วยกันทั้งนั้น และแม้แต่สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นก็ยังเป็นกันได้ [1] ขณะที่เราอาจมองว่าความอับอายเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ดีเพราะความรู้สึกที่เกิดมันบอกเราแบบนั้น ที่จริงแล้ว ความอับอายเองก็มีหน้าที่ทางสังคมที่สำคัญด้วยในเวลาที่เราจะตัดสินว่าใครที่ไว้ใจได้และใครที่เราควรจะสานสัมพันธ์ด้วย [2] พยายามอย่าหัวเสียกับเรื่องน่าอาย แทนที่ความอับอายที่คุณประสบจะดึงคุณให้ออกห่างจากคนรอบข้าง มันกลับเป็นด้านหนึ่งของคุณที่เชื่อมโยงคุณเข้ากับผู้อื่นได้มากที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ตอบสนองต่อเหตุการณ์น่าอาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้เผยว่า โดยทั่วไปแล้ว การหัวเราะและอารมณ์ขันต่างเป็นองค์ประกอบสำคัญของสุขภาพที่ดี [3] วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะหยุดความวิตกกังวลที่เกิดจากเหตุการณ์น่าละอายก็คือ แค่หัวเราะตัวเองและหัวเราะสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น สำหรับคนอื่นๆ มันง่ายกว่าสำหรับพวกเขาที่จะหัวเราะไปกับด้วยกันคุณไม่ใช่หัวเราะเยาะคุณ
    • ความจริงที่ว่าคุณรู้สึกอายเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้คุณและคนอื่นๆ มีความเชื่อมโยงกัน เพราะมันเป็นสิ่งที่ใครๆ ต่างก็น่าจะเคยรู้สึกไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่งของชีวิต [4] หากคุณโอเคที่จะหัวเราะตัวเอง เรื่องน่าอายนั้นอาจเป็นเหตุการณ์จุดประกายให้เกิดบทสนทนาที่น่าสนใจหรือทำให้คุณได้เพื่อนใหม่ๆ ก็ได้
    • คุณอาจลองทำสถานการณ์นั้นให้เป็นเรื่องขำ หากคุณรับมือกับสถานการณ์นั้นด้วยอารมณ์ขัน มันก็จะน่าอายน้อยลงและดูเหมือนเป็นมุขตลกเบาๆ ซะมากกว่า ตัวอย่างเช่น หากคุณตกเก้าอี้ คุณอาจพูดว่า "ผมเล่นจริงเจ็บจริงไม่ใช้สตั๊นท์!”
  2. เมื่อมีเรื่องน่าอายเกิดขึ้น ทางที่ดีที่สุดคือยอมรับมัน คุณไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้ งั้นจะมีประโยชน์อะไรที่จะปฏิเสธสิ่งที่เกิดขึ้นล่ะ ยอมรับกับตัวเอง – และกับผู้อื่นด้วยถ้าทำได้ – ว่าเรื่องน่าอายนั้นเกิดขึ้นกับคุณ นี่เป็นวิธีที่ดีมากที่จะเริ่มต้นบทสนทนากับผู้คน ขณะเดียวกัน พวกเขาเองก็น่าจะมีเหตุการณ์น่าอายของตัวเองมาแบ่งปันกับคุณเช่นกัน [5]
  3. อาจมีสถานการณ์ที่ทำให้เกิดเรื่องน่าอายขึ้นกับคุณ ซึ่งเป็นอะไรที่เข้าใจได้และอธิบายได้ ตัวอย่างเช่น คุณอาจเรียกชื่อใครสักคนผิดตลอดวัน แต่พอคุณนึกย้อนกลับไปกลับพบว่าเป็นเพราะคุณมัวแต่นึกถึงใครอีกคนอยู่ [6]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจพูดว่า "ขอโทษด้วย ฉันเรียกคุณว่าชอว์น ฉันมัวคิดถึงเพื่อนที่ดีของฉันคนนั้น เขากำลังตกที่นั่งลำบาก แล้วฉันเองก็สนใจเรื่องเพื่อนมาไปหน่อย"
  4. บางทีคุณอาจทำกาแฟหกใส่เอกสารสำคัญระหว่างประชุม หรือคุณดันสะดุดและทำกองหนังสือหล่นใส่เท้าครูใหญ่ ให้คุณเรียกอีกคนมาช่วยเก็บของขึ้นเสีย นี่จะเป็นการหันเหความสนใจจากเรื่องน่าอายไปยังสิ่งที่กำลังทำอยู่ [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ทำให้ปัญหาเล็กลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากที่มีเรื่องหน้าอายเกิดขึ้น สำหรับคนส่วนมาก ความวิตกกังวลอาจจะพุ่งปรี๊ด หน้าแดงก่ำ อัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือดสูงขึ้น หายใจถี่ และหลายส่วนของร่างกายเริ่มมีเหงื่อออกมาก [8] เพื่อเป็นการสงบสติอารมณ์ หายใจลึกๆ สักหน่อย และประเมินสถานการณ์อีกครั้ง การทำเช่นนี้จะช่วยคุมการตอบสนองทางร่างกายใดๆ ที่คุณประสบอยู่ (เช่น อาการหน้าแดง) ช่วยให้คุณเลี่ยงคำพูดหรือการกระทำใดๆ ที่อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้อายมากขึ้นอีก ใช้เวลาสักนิดสงบสติอารมณ์ และเดินหน้าต่อ
  2. สิ่งที่แย่ที่สุดคือเมื่อเกิดเหตุการณ์น่าอายขึ้นแล้วทำให้เป็นเรื่องใหญ่โต เวลามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น พยายามอย่ากรี๊ด ตะโกน วิ่งหนีน้ำตาคลอเบ้า หรือร้องสะอื้นต่อหน้าสาธารณชน ยิ่งคุณทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่ มันจะยิ่งทำให้คนจำเหตุการณ์นี้ได้ฝังใจ ระลึกไว้ว่ามันเป็นแค่สิ่งที่เกิดชั่วขณะหนึ่ง เดี๋ยวก็ผ่านไป หากคุณไม่ออกอาการมากจนเกินไปก็มีแนวโน้มว่าผู้คนคงจะลืมสิ่งที่เคยเกิดขึ้น
  3. คุณต้องเผชิญกับความจริงที่ว่าเรื่องแย่ๆ เพิ่งจะเกิดขึ้นกับคุณ แต่จำไว้ว่า มันจะน่าอายก็เพราะคุณบอกตัวเองว่ามันน่าอาย หากคุณก้ามข้ามมันเสียและบอกตัวเองว่ามันไม่ได้น่าอาย คุณก็จะไม่รู้สึกอาย
    • เป็นไปได้ว่าตัวคุณเองนั่นแหละที่คิดมากเรื่องตัวเองมากกว่าที่คนอื่นๆ คิด. นักจิตวิทยาพบว่า ในกรณีของความวิตกกังวลหรือความอับอายนั้น คนเรามักจะหมกมุ่นกับตัวเองมากไปจนคิดไปเองว่าคนอื่นๆ จะสนใจเรามากมายทั้งที่จริงๆ ก็ไม่ขนาดนั้น [9]
    • เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เวลาที่มีเรื่องให้ต้องอาย ก็อาจเป็นไปได้ว่าคนรอบข้างคุณ เค้าก็อาจจะกำลังมัวแต่วุ่นเรื่องตัวเองมากกว่านึกถึงคุณ
  4. หลังเรื่องน่าอายนั้นผ่านไปแล้วให้ทำสิ่งที่จะช่วยให้คุณไม่คิดถึงเหตุการณ์นั้นอีก ลองอ่านหนังสือ เล่นกับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง ฯลฯ หันเหความสนใจไปที่กิจกรรมที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องไปใส่ใจกับเรื่องน่าอายนั้น
  5. เอาล่ะ เรื่องน่าอายนั้นเกิดกับคุณไปแล้ว ให้คิดเสียว่ามันเป็นบทเรียนและจงเรียนรู้จากเหตุการณ์นั้น คุณไปสะดุดล้มต่อหน้าคนที่แอบปิ๊งอยู่รึเปล่า? งั้นก็เลี่ยงการใส่ส้นสูงเสีย คุณเป็นลมเป็นแล้งไประหว่างกำลังพูดต่อหน้าผู้คน? งั้นคุณก็จงศึกษาวิธีสงบจิตสงบใจก่อนที่จะออกไปนำเสนองาน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

หาปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองกลับไปไตร่ตรองอารมณ์ต่างๆ ของคุณที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้. จำไว้ว่าคุณสามารถรู้จักตัวเองได้จากสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกอาย คิดถึงสถานการณ์ที่คุณเผชิญ ณ ตอนนั้น ถามตัวเองว่า “อะไรกันนะที่ทำให้ฉันรู้สึกอาย” มันอาจไม่ได้เป็นเพราะผู้คนที่อยู่ในเหตุการณ์เสมอไป [10]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณรู้สึกอายอย่างมากหลังจากที่คุณพลาดท่าในสิ่งที่ปกติคุณทำได้ดี คุณอาจตั้งความหวังกับตัวเองไว้สูงมากเกินไป ในทุกขณะที่คุณรู้สึกอาย นึกตรองดูว่าอารมณ์ของคุณสามารถบอกอะไรเกี่ยวกับความคาดหวังที่คุณมีต่อตัวเองและผู้อื่นโดยทั่วๆ ไปดู
  2. แม้ว่าชื่อบทความนี้คือ วิธีลืมเรื่องน่าอาย คนบางคนก็อาจมีเรื่องให้ได้อายอยู่เรื่อยๆ หากมันเกิดขึ้นกับคุณบ่อยครั้งโดยที่คุณเองก็ควบคุมไม่ได้ มันอาจจะเป็นเพราะคุณเป็นโรคกลัวสังคม ซึ่งที่จริงก็คือโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับความรู้สึกอายที่เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ทำให้มันยากเอามากๆ ที่อยู่ๆ จะให้ลืมเรื่องน่าอายที่เกิดขึ้น [11]
    • หากคุณไม่สามารถสลัดเรื่องหน้าอายที่เกิดขึ้นออกไปได้ และยังนึกถึงมันอยู่เรื่อยๆ อีกให้ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อรักษาอาการวิตกกังวลให้ดีขึ้น
  3. หากคุณรู้สึกว่ามันมีอะไรบางอย่างอยู่เบื้องหลัง ซึ่งทำให้ความรู้สึกอายของคุณหนักกว่าปกติ การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญอาจช่วยได้ ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยให้คุณรู้เท่าทันอารมณ์และเข้าใจว่าทำไมคุณถึงรู้สึกเช่นนั้น และยังสามารถสอนกลวิธีในการลดความรู้สึกอายให้คุณได้ด้วย
  4. หากคุณไม่สามารถหยุดคิดถึงเรื่องน่าอายได้ ลองฝึกสติดู จำไว้ว่าเรื่องน่าอายนั้นเป็นเรื่องในอดีต พยายามอยู่กับปัจจุบัน การฝึกสติเป็นเทคนิคที่ช่วยให้คุณรู้ตัวและไม่ตัดสินความคิดและอารมณ์ของคุณว่าถูกหรือผิด การพยายามไม่ให้เหตุการณ์น่าอายมาครอบงำความคิดของคุณก็ช่วยได้เช่นกัน [12] , [13]
    • นั่งเงียบๆ สัก 10-15 นาที หายใจลึกๆ ให้ความสนใจกับลมหายใจ
    • ยอมรับแต่ละความคิดที่ผ่านเข้ามาในจิตของคุณ ระบุอารมณ์ที่เกิดขึ้น บอกกับตัวเอง "ฉันรู้สึกอายจัง"
    • ยอมรับอารมณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดกับคุณ บอกกับตัวเองว่า "ฉันรับความอายนี้ได้"
    • ยอมรับว่ามันเป็นเพียงความรู้สึกที่ผ่านมาและผ่านไป บอกกับตัวเองว่า "ฉันรู้ว่าเดี๋ยวความรู้สึกนี้ก็ผ่านไป มันจะหายไป สิ่งไหนกันล่ะที่ฉันต้องการในตอนนี้" ให้พื้นที่และการยอมรับความรู้สึกของคุณ แต่ควรรู้ด้วยว่าความคิดและการตอบสนองต่างๆ ของคุณอาจบิดเบือนความเป็นจริงได้เช่นกัน
    • ดึงความสนใจและความรับรู้กลับไปที่ลมหายใจ ในขณะที่ความคิดที่ผุดขึ้นมาผ่านจิตของคุณ ให้คุณทำตามขั้นตอนเดิมอีกครั้งเพื่อเป็นการยอมรับและปลดปล่อยความคิดนั้นไปเสีย
    • คุณยังสามารถค้นหาวิธีฝึกสติทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
    โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Waal, F. de. (2010). The Age of Empathy: Nature’s Lessons for a Kinder Society (1 edition). New York: Broadway Books.
  2. http://www.apa.org/monitor/2012/11/embarrassment.aspx
  3. Bennett, M. P., & Lengacher, C. (2008). Humor and Laughter May Influence Health: III. Laughter and Health Outcomes. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 5(1), 37–40. http://doi.org/10.1093/ecam/nem041
  4. Stocks, E. L., Lishner, D. A., Waits, B. L., & Downum, E. M. (2011). I’m Embarrassed for You: The Effect of Valuing and Perspective Taking on Empathic Embarrassment and Empathic Concern. Journal of Applied Social Psychology, 41(1), 1–26.
  5. http://www.pbs.org/thisemotionallife/blogs/10-real-ways-overcome-embarrassment
  6. http://westsidetoastmasters.com/article_reference/embarrassed_yourself.html
  7. http://westsidetoastmasters.com/article_reference/embarrassed_yourself.html
  8. Hofmann, S. G., Moscovitch, D. A., & Kim, H.-J. (2006). Autonomic correlates of social anxiety and embarrassment in shy and non-shy individuals. International Journal of Psychophysiology, 61(2), 134–142. http://doi.org/10.1016/j.ijpsycho.2005.09.003
  9. Mellings, T. M. B., & Alden, L. E. (2000). Cognitive processes in social anxiety: the effects of self-focus, rumination and anticipatory processing. Behaviour Research and Therapy, 38(3), 243–257. http://doi.org/10.1016/S0005-7967(99)00040-6
  1. Muris, P., & Meesters, C. (2013). Small or Big in the Eyes of the Other: On the Developmental Psychopathology of Self-Conscious Emotions as Shame, Guilt, and Pride. Clinical Child and Family Psychology Review, 17(1), 19–40. http://doi.org/10.1007/s10567-013-0137-z
  2. Gerlach, A. L., Wilhelm, F. H., & Roth, W. T. (2003). Embarrassment and social phobia: the role of parasympathetic activation. Journal of Anxiety Disorders, 17(2), 197–210. http://doi.org/10.1016/S0887-6185(02)00197-4
  3. Siegel, R. D. (2010). The Mindfulness Solution: Everyday Practices for Everyday Problems (1 edition). New York: The Guilford Press.
  4. http://mrsmindfulness.com/mindfulness-for-negative-emotions/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,755 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา