ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ถ้าคุณรักอาหารปิ้งย่างเป็นชีวิตจิตใจ ก็อย่าลืมล้างตะแกรงขจัดเศษอาหารและคราบมันที่สะสมหมักหมมด้วย ถ้าล้างทำความสะอาดตะแกรงทุกครั้งหลังใช้งาน เพิ่มเติมจากการทำความสะอาดครั้งใหญ่ปีละครั้ง ก็จะทำให้อาหารที่ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น ป้องกันแบคทีเรียสะสม และไม่เสี่ยงเกิดไฟไหม้ ถ้าเป็นตะแกรงพอร์ซเลน ต้องดูแลต่างจากตะแกรงเหล็กหล่อและสแตนเลส แต่ถ้าทำความสะอาดครั้งใหญ่ประจำปี ก็ใช้วิธีเดียวกันได้หมดทุกแบบ
ขั้นตอน
-
อ่านคู่มือที่ติดมากับเตา. ตะแกรงเคลือบพอร์ซเลนนั้นบอบบางพังง่าย ยิ่งถ้าขัดหรือขูดบ่อยๆ หรือแรงๆ เพราะงั้นต้องดูแลทำความสะอาดตามขั้นตอนที่บอกไว้ในคู่มืออย่างเคร่งครัด ไม่งั้นประกันขาดแน่นอน [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ขัดด้วยแปรงขนไนล่อนตอนตะแกรงยังร้อนๆ. ห้ามใช้แปรงลวดทองเหลือง เพราะขูดเคลือบผิวจากตะแกรงแน่นอน ให้เลือกแปรงที่โค้งๆ หน่อย จะได้เข้าถึงซี่ตะแกรงครบถ้วน เวลาขัดให้ขูดเบาๆ ในแนวเฉียง เริ่มจากจุดใกล้ตัวแล้วขัดขึ้นไป (ออกจากตัว) ให้ขัดทางเดียว จะได้ไม่เสี่ยงทำเคลือบผิวลอก
- ถ้ามีคราบเหนียวเป็นก้อน เช่น ซอสบาร์บีคิวเก่าๆ ก็ต้องชุบน้ำให้แปรงเปียกก่อนแล้วค่อยเริ่มขัด [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทำความสะอาดใต้ตะแกรงด้วย. พอตะแกรงเย็นลงแล้ว ให้พลิกกลับด้าน จากนั้นขัดและขูดเอาเศษอาหารและคราบเหนียว ก้อนไหม้ดำต่างๆ ออกไป ย้ำว่าขัดเฉียงตามเดิม ข้างใต้จะใช้เวลาขัดนานกว่า เพราะทุกอย่างไหลลงไปเกาะเป็นคราบระหว่างปิ้งย่าง ให้ขัดจนตะแกรงสะอาดดี
- ถ้าตะแกรงมีหลายส่วนประกอบกัน ให้พลิกแล้วทำความสะอาดทีละส่วน [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
-
ใช้แปรงขัดสแตนเลส. เพราะขนแปรงจะนุ่มพอที่จะไม่ขูดตะแกรงเป็นรอย มีให้เลือกทั้งแปรงกลมและแปรงตรงธรรมดา ทั้ง 2 แบบก็ใช้ขัดตะแกรงได้ดีพอๆ กัน แต่ถ้าแปรงกลมจะทำความสะอาดข้างตะแกรงได้ง่ายกว่า [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
อย่ารอจนตะแกรงเย็น. ถ้าตะแกรงยังร้อน คราบมันต่างๆ จะยังไม่ทันแข็ง ขัดออกง่ายกว่า ให้เปิดเตาโดยปรับความร้อนไปที่ “high” ถ้ายังไม่ได้ทำ จากนั้นอุ่นเตาไปแบบนั้น 10 - 15 นาที หรือจนกว่าหน้าปัดวัดอุณหภูมิจะขึ้นว่า 250 - 300°C (500 - 600°F) เสร็จแล้วปิดเตาได้เลย [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ขัดตะแกรง. เวลาขัด ให้ขัดขึ้น-ลงหรือไป-มาไปตามตะแกรงซี่แรก จนตะแกรงซี่นั้นสะอาด ไม่เหลือคราบมันหรือเศษอาหาร เสร็จแล้วก็ทำซ้ำต่อไปจนครบทั้งตะแกรง [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ลงน้ำมันพืชที่ตะแกรง. เอาผ้าชุบน้ำมันในขวดหรือภาชนะ ให้ได้น้ำมันมาประมาณ 1 ช้อนชา (5 มล.) จากนั้นใช้ที่คีบหนีบผ้า เช็ดถูไปมาตามซี่ตะแกรง เพื่อป้องกันไม่ให้ตะแกรงขึ้นสนิม
- ห้ามลงน้ำมันเคลือบตะแกรงเยอะเกิน 1 ช้อนชา เพราะเสี่ยงติดไฟได้ง่ายมาก ถ้าน้ำมันหยดลงไปในเศษอาหารที่กำลังคุกรุ่นใต้ตะแกรง [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
-
แช่ตะแกรงในน้ำส้มสายชูที่ผสมแล้ว. ให้ผสมน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง (ประมาณ 240 กรัม) กับเบคกิ้งโซดา 2 ถ้วยตวง (480 กรัม) จากนั้นเทใส่ถุงดำหรือภาชนะที่ใหญ่พอจะแช่ตะแกรงได้ แช่ตะแกรงในน้ำยาแล้วให้ทิ้งไว้ข้ามคืน เอาฝาปิดภาชนะด้วย ถ้าใช้ถุงดำใส่ขยะ ให้มัดปากด้วยหนังยาง [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
เอาตะแกรงขึ้นมาล้าง. แกะหนังยางแล้วเปิดถุง หรือเอาฝาปิดภาชนะออก จากนั้นยกตะแกรงขึ้นมาจากน้ำยา เอาไปล้างน้ำโดยใช้สายยางรดต้นไม้ฉีด ถึงตอนนี้เศษอาหารและคราบมันต่างๆ ก็จะหลุดออกมาอย่างง่ายดาย [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ขัดคราบเหนียวหรือก้อนไหม้ดำออก ถ้ายังหลงเหลือ. ถ้าเป็นตะแกรงเคลือบพอร์ซเลน ให้ใช้แปรงขนไนล่อน โดยขัดเฉียงเบาๆ ส่วนถ้าเป็นตะแกรงเหล็กหล่อหรือสแตนเลส ก็ขัดด้วยแปรงขัดอลูมิเนียมตามปกติ โดยขัดขึ้นลงเบาๆ [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ล้างน้ำแล้วเช็ดให้แห้ง. เอาสายยางฉีดล้างอีกรอบ จากนั้นใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ซับให้แห้ง แล้วประกอบตะแกรงคืนเตาได้เลย [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
เคล็ดลับ
- ให้ทาน้ำมันหรือหมักวัตถุดิบที่จะปิ้งย่างด้วยน้ำส้มสายชู น้ำผลไม้รสเปรี้ยว หรือซอสถั่วเหลืองที่ผสมแล้วซะก่อน เวลาทำความสะอาดตะแกรงทีหลังจะง่ายขึ้นเยอะ
- ให้เก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดตะแกรงไว้แถวเตาปิ้งย่างนั่นแหละ พอปิ้งย่างเสร็จจะได้ทำความสะอาดต่อจนเป็นนิสัย เพราะไม่ต้องลำบากเตรียม
- ช่วงไม่กี่นาทีก่อนจะคีบอาหารที่ปิ้งย่างเสร็จขึ้นจากเตา ให้ทาซอสบาร์บีคิวที่ผสมมะเขือเทศ จะทำให้ทำความสะอาดตะแกรงตอนหลังได้ง่ายขึ้น
- ถ้าไม่มีแปรงขนไนล่อน ให้ใช้ฟอยล์อลูมิเนียมแทน โดยปั้นเป็นก้อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว (2.5 ซม.) จากนั้นใช้ที่คีบหนีบ เอาไปขัดตะแกรงที่ละซี่ได้เลย [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ทำความสะอาดทุกครั้งหลังปิ้งย่างแล้วอย่าลืมทำความสะอาดครั้งใหญ่ประจำปีด้วย
- เตาแต่ละยี่ห้อก็อาจจะแนะนำวิธีทำความสะอาดแตกต่างกันไป ให้ศึกษาคู่มือว่าต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร แต่ถ้าไม่มีคู่มือ ก็อาจจะศึกษาจากในเน็ตแทน โดยเข้าเว็บของยี่ห้อเตาที่ใช้
โฆษณา
คำเตือน
- เวลาทำความสะอาดตะแกรงต้องระวัง โดยเฉพาะห้ามขัดตะแกรงเหนือถ่านร้อนๆ เพราะอาจจะไฟลุกหรือกระเด็นไหม้ผิวได้
- เศษอาหารและสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ตกค้างตามตะแกรงปิ้งย่าง เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดีเลย พอคุณปิ้งย่างอีกคราวหน้า อาหารก็ปนเปื้อนแน่นอน
- ให้เปลี่ยนแปรงขนไนล่อนถ้าขนเริ่มงอหรือหลุดง่าย เพราะจะไปติดตามตะแกรงได้ ทีนี้ก็ปนผสมไปกับอาหาร อันตรายน่าดู [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- แปรงขนไนล่อนหรือฟอยล์อลูมิเนียม (ใช้กับตะแกรงพอร์ซเลน)
- แปรงขัดสแตนเลส (ใช้กับตะแกรงสแตนเลสและเหล็กหล่อ)
-
น้ำยาทำความสะอาดแบบล้ำลึก:
- น้ำส้มสายชู
- เบคกิ้งโซดา
- สายยาง
- ผ้าไมโครไฟเบอร์
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=DI8wD-bPo1U
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=DI8wD-bPo1U
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=DI8wD-bPo1U
- ↑ https://www.weber.com/US/en/blog/cleaning-your-stainless-steel-grates
- ↑ https://www.weber.com/US/en/blog/cleaning-your-stainless-steel-grates
- ↑ https://www.weber.com/US/en/blog/cleaning-your-stainless-steel-grates
- ↑ http://www.seriouseats.com/2010/04/how-to-clean-your-grill-barbecue-oiling-thegrate-charcoal.html
- ↑ https://www.charbroil.com/community/clean-grill-grates/
- ↑ https://www.charbroil.com/community/clean-grill-grates/
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,296 ครั้ง
โฆษณา