ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การลดน้ำหนักแบบแอตกินส์อ้างว่า การปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ตามแนวทางการรับประทานของแอตกินส์ช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็วและไม่ทำให้น้ำหนักกลับมาอีก โดยลักษณะเด่นของการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์คือ การหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่และแนะนำให้รับประทานโปรตีนและไขมัน คุณสามารถสร้างแผนการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ได้ด้วยการรับประทานเนื้อสัตว์ ชีส ผักที่มีคุณค่าทางอาหาร และอาหารประเภทอื่นๆ ให้หลากหลาย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ศึกษาการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนเริ่มลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพเกี่ยวกับแผนลดน้ำหนักของคุณก่อน เพราะการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ และแพทย์ก็สามารถแนะนำได้ว่า การลดน้ำหนักแบบแอตกินส์นั้นเหมาะกับคุณและสุขภาพโดยรวมของคุณหรือไม่ [1]
    • การลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เช่น หญิงให้นมบุตรและคนที่เป็นโรคไตร้ายแรงไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้
    • การปฏิบัติตามแผนลดน้ำหนักแบบแอตกินส์อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเช่น ปวดหัว คลื่นไส้ หงุดหงิด และลมหายใจเหม็น แพทย์สามารถให้คำแนะนำด้านความเสี่ยงกับคุณได้
  2. เข้าใจหลักการที่อยู่เบื้องหลังการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์. แผนการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์เน้นการลดหรือการเลี่ยงคาร์โบไฮเดรต และสนับสนุนการบริโภคโปรตีนและไขมัน แผนการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ให้เหตุผลว่า การควบคุมอาหารด้วยวิธีนี้จะทำให้น้ำหนักลดและเป็นการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว [2]
    • ในอินเทอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์มากมาย รวมทั้งหนังสือภาษาอังกฤษของ ดร. โรเบิร์ต แอตกินส์ที่ชื่อว่า “Dr. Atkins' New Diet Revolution and Atkins for Life” ด้วย
  3. เข้าใจขั้นตอนของแผนการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์. แผนการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์มีอยู่ 4 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ ระยะเริ่มต้น ระยะสร้างสมดุล ระยะก่อนเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหาร และระยะรักษาการรับประทานอาหารแบบแอตกินส์ตลอดชีวิต หลายคนเริ่มจากขั้นตอนแรกก่อนซึ่งก็คือระยะเริ่มต้นเพื่อให้ลดน้ำหนักให้ได้มากที่สุด แต่คุณจะเริ่มจากขั้นตอนใดก็ได้ใน 3 ขั้นตอนแรก [3]
    • การร่วมมือกับนักโภชนาการหรือแพทย์ในการลดน้ำหนักแบบนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจการลดน้ำหนักแบบนี้ได้อย่างถ่องแท้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ระยะลดอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในระยะเริ่มต้นซึ่งเป็นขั้นตอนแรก คุณจะแทบไม่ได้รับประทานคาร์โบไฮเดรตใดๆ เลย เช่น ไม่ได้รับประทานขนมปัง ขนมอบ ธัญพืช มันฝรั่ง อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ในช่วงแรกมันอาจจะยากสักหน่อย เพราะฉะนั้นเตรียมตัวด้วยการค่อยๆ งดคาร์โบไฮเดรตก่อนถึงวันที่จะเริ่มลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ [4]
    • คุณควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตสุทธิไม่เกิน 20 กรัมต่อวัน และคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่ควรมาจากผัก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อกโคลี และถั่วแขก [5]
    • ผักสลัดใส่ห่อหลวมๆ 2 ถ้วยกับผัก 1 ถ้วยจะเท่ากับคาร์โบไฮเดรตสุทธิจากผักประมาณ 20 กรัม
  2. ในช่วงระยะเริ่มต้น ในแต่ละมื้อคุณก็ควรรับประทานโปรตีนด้วย อาจจะเป็นโปรตีนจากปลา สัตว์ปีก เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมู ไข่ ชีส เป็นต้น [6]
    • คุณสามารถรับประทานโปรตีนเหล่านี้ในสัดส่วนที่มากได้
    • คุณไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำมันและไขมัน
  3. ผักที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำเหล่านี้มีประโยชน์ต่อขั้นตอนแรกของการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์มากเป็นพิเศษ และคุณก็ควรรับประทานผักเหล่านี้ตลอดช่วงขั้นตอนอื่นๆ ด้วย ผักพื้นฐานได้แก่: [7]
    • ผักใบเขียว เช่น ผักกาดหอมและผักปวยเล้ง
    • ผักสีเขียวกรอบ เช่น แตงกวา ขึ้นฉ่าย บร็อกโคลี ซูคินี และถั่วแขก
    • ผักอื่นๆ เช่น ถั่วมีฝัก มะเขือยาว มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ กะหล่ำดอก และพริกไทย
  4. ในช่วงระยะเริ่มต้นของการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ คุณควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว คุณต้องระวังไม่ให้ร่างกายขาดน้ำและไม่ให้ท้องผูก [8]
    • ถ้าไม่ชอบน้ำเปล่า ลองเติมน้ำมะนาว 1-2 ช้อนโต๊ะเพิ่มรสชาติ
  5. ปฏิบัติตามแนวทางในช่วงระยะเริ่มต้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์. ถ้าคุณเริ่มแผนการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ที่ระยะเริ่มต้น คุณต้องปฏิบัติตามแนวทางอย่างน้อย 2 สัปดาห์เพื่อให้เกิดประโยชน์ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้มากที่สุดและเพื่อให้ลดน้ำหนักได้มากที่สุด ถ้าคุณอยากหรือต้องการลดน้ำหนักมากกว่านี้ ให้ปฏิบัติตามแนวทางในระยะนี้นานกว่า 2 สัปดาห์ [9]
    • ผู้ลดน้ำหนักหลายคนเห็นน้ำหนักลดลงไปไวมากในระยะนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพราะการรับประทานแบบมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจะทำให้คุณลดน้ำหนักของน้ำได้อย่างรวดเร็ว [10]
    • เพื่อรีดน้ำหนักออกในช่วงนี้ให้มากที่สุด ลองออกกำลังกายแทบทุกวันในสัปดาห์
  6. การรู้ล่วงหน้าว่าคุณรับประทานอะไรได้และจะรับประทานอะไรในช่วงระยะเริ่มต้นจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ตั้งแต่เริ่ม แผนเมนูอาหารจะทำให้คุณจัดการสิ่งต่างๆ ได้ดี จดจ่ออยู่กับแผนลดน้ำหนัก และทำตามแผนลดน้ำหนักได้จริง เมนูทั่วไปในระยะนี้ได้แก่ :
    • มื้อเช้า : แหล่งโปรตีนดีๆ อย่างไข่คนกับวัตถุดิบอย่างหอมหัวใหญ่และชีสกับไส้กรอกมื้อเช้า 3 ชิ้น กาแฟ ชา น้ำเปล่า หรือไดเอตโค้กเป็นเครื่องดื่มที่คุณสามารถดื่มได้ในช่วงระยะเริ่มต้นและตลอดช่วงการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ [11]
    • มื้อเที่ยง : สลัดกับโปรตีนเช่นไก่ และเครื่องดื่มที่คุณสามารถดื่มได้ อีกทางเลือกหนึ่งก็คือเบคอนชีสเบอร์เกอร์ (ไม่รับประทานขนมปัง) [12]
    • สำหรับมื้อเย็น : แซลมอน หน่อไม้ฝรั่ง และสลัดกับเครื่องดื่มที่คุณสามารถดื่มได้ อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ ค็อกเทลกุ้ง ไก่อบ และสลัดชามเล็กๆ
    • ของขบเคี้ยว (ไม่เกิน 2 ครั้งต่อวัน) : ผลิตภัณฑ์ของแอตกินส์ (เช่น มิลค์เชค แท่งกราโนลา) วุ้นลดความอ้วนโปะด้วยวิปครีมที่ใช้สารให้ความหวาน หรือของขบเคี้ยวที่มีโปรตีนสูงและคาร์โบไฮเดรตต่ำอย่างผักขึ้นฉ่ายและเชดด้าชีส
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ระยะสร้างสมดุล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับระยะที่ 2 ซึ่งก็คือระยะสร้างสมดุล ให้คุณจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อไป ในระยะสร้างสมดุลคุณสามารถรับประทานคาร์โบไฮเดรตสุทธิได้วันละ 25 – 30 กรัม (คาร์โบไฮเดรตอย่างน้อย 12 – 15 กรัมควรมาจากผัก) หากน้ำหนักยังคงลดลง [13]
    • คุณสามารถกลับมารับประทานของหวานๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เบอร์รี่ ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชได้อีกครั้ง
    • แต่คุณควรเลี่ยงอาหารที่เติมน้ำตาลเหมือนเดิม
    • สังเกตว่าอาหารพวกนี้ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร เลิกรับประทานอาหารเหล่านี้ถ้ามันมีผลเสียมากกว่าผลดี
  2. ในระยะที่ 2 คุณควรลองหาปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่คุณสามารถรับประทานได้ต่อวันโดยที่ไม่ทำให้คุณลดน้ำหนักได้ช้า ค่านี้เรียกว่าค่าคาร์โบไฮเดรตระดับวิกฤต (CCLL) การหาค่านี้ในระยะสร้างสมดุลจะช่วยให้คุณรักษาการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ในระยะต่อไปได้ [14]
    • คุณอาจจะต้องทดลองหาค่า CCLL ด้วยการปรับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่คุณรับประทานเข้าไป
    • ค่า CCLL ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ ระดับของกิจกรรม เพศ ความสมดุลของฮอร์โมน และยาที่คุณใช้อยู่
  3. ในระยะสร้างสมดุล คุณยังคงรับประทานอาหารที่อนุญาตให้รับประทานในระยะเริ่มต้นได้ต่อไป และคุณก็สามารถขยายทางเลือกอาหารด้วยการกลับมารับประทานอาหารบางชนิดได้ด้วย เช่น : [15]
    • ลองรับประทานถั่วเปลือกแข็งหลากชนิดเป็นของขบเคี้ยว
    • เพิ่มเบอร์รี่และ/หรือถั่วเปลือกแข็งลงไปในสลัดเพื่อเพิ่มความหลากหลาย
    • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารอย่างถั่วแขกและอะโวคาโดเป็นเครื่องเคียงคู่กับโปรตีนในมื้อกลางวันหรือมื้อเย็น
  4. คุณควรรับประทานอาหารตามแนวทางในระยะสร้างสมดุลต่อไปจนกว่าคุณลดน้ำหนักได้ 4.5 กิโลกรัมจากน้ำหนักที่คุณต้องการจะลด [16] ถ้าน้ำหนักคุณหยุดลด ให้ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ระยะก่อนเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในระยะที่ 3 ซึ่งก็คือระยะก่อนเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหาร (หรือ “ระยะเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย” คุณสามารถกลับมารับประทานผลไม้ ผักที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก (เช่น มันฝรั่ง) และธัญพืชเต็มเมล็ดได้ การไม่รับประทานอาหารให้หลากหลายอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและทำให้คุณไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้อย่างต่อเนื่องในที่สุด [17]
    • ใช้ระยะนี้เป็นโอกาสที่คุณจะได้กลับไปรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่คุณชอบมากเป็นพิเศษ เช่น มันฝรั่ง ธัญพืช เป็นต้น แต่อย่าลืมว่าคุณต้องจำกัดจำนวนอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่คุณรับประทานเข้าไปด้วย
  2. ในระยะก่อนเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหารคุณสามารถเพิ่มคาร์โบไฮเดรตได้สัปดาห์ละ 10 กรัม แต่ถ้าน้ำหนักหยุดลดคุณก็ควรลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต ปฏิบัติตามระยะก่อนเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหารจนกว่าคุณจะลดน้ำหนักตามที่ตั้งเป้าไว้ได้ [18]
    • ขณะที่คุณลดน้ำหนักตามที่ตั้งเป้าไว้ได้และกลับมารับประทานคาร์โบไฮเดรตอีกครั้ง ค่า CCLL ของคุณจะเปลี่ยนไป เมื่อคุณหาค่า CCLL ในระยะนี้ได้แล้ว คุณต้องจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตไว้ที่หรือต่ำกว่าระดับนี้ [19]
  3. เนื่องจากคุณสามารถรับประทานอาหารได้หลากชนิดขึ้นในระยะก่อนเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหาร คุณจึงสามารถเพิ่มทางเลือกในเมนูอาหารได้มากขึ้น เช่น : [20]
    • มื้อกลางวันให้รับประทานเฟรนช์ฟรายด์นิดหน่อยกับเบคอนชีสเบอร์เกอร์ (ไม่รับประทานขนมปัง)
    • มื้อเช้าให้เพิ่มเครื่องเคียงเป็นผลไม้สดที่คุณชื่นชอบ
    • มื้อเย็นให้รับประทานธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้องหรือควินัว 1 หน่วยคู่กับโปรตีนอย่างไก่อบหรือเนื้อสัตว์ย่างชิ้นบางๆ
    • รับประทานผักและพืชตระกูลถั่วที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าเดิมเล็กน้อย ได้แก่ แคร์รอต (3/4 ถ้วย) เอคอร์นสควอช (1/2 ถ้วย) หัวบีต (1 ถ้วย) และมันฝรั่ง (1/4 ถ้วย) แอปเปิล (1/2 ถ้วย) และถั่วแดง (1/3 ถ้วย) พืชแต่ละชนิดในปริมาณที่กำหนดมีคาร์โบไฮเดรตสุทธิประมาณ 10 กรัม [21]
    • จำไว้ว่าต้องรับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่เกินระดับ CCLL ต่อวัน
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ระยะรักษาการรับประทานอาหารแบบแอตกินส์ตลอดชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อลดน้ำหนักได้ตามเป้าแล้ว ให้เริ่มระยะรักษาการรับประทานอาหารตามแบบแอตกินส์ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นระยะที่ 4. ระยะรักษาการรับประทานอาหารตามแบบแอตกินส์ตลอดชีวิตเป็นแผนระยะยาวที่ออกแบบมาเพื่อสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ปฏิบัติตามแนวทางในระยะนี้ตลอดชีวิต [22]
  2. กำหนดแผนเมนูอาหารที่เน้นโปรตีนและผักที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ. เช่นเดียวกับระยะอื่นๆ ของการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ คุณควรรับประทานโปรตีน เช่น เนื้อแดง ปลา หมู สัตว์ปีก นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตสุทธิในแต่ละวันก็ยังควรมาจากผัก “พื้นฐาน” ที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำด้วย [23]
  3. สังเกตปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่คุณรับประทานเข้าไป. คาร์โบไฮเดรตสุทธิที่คุณบริโภคเข้าไปในแต่ละวันก็ไม่ควรเกินระดับ CCLL ที่คุณกำหนดในระยะก่อนเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหาร กฎทั่วไปคือ คุณสามารถบริโภคคาร์โบไฮเดรตสุทธิได้ไม่เกิน 90–120 กรัมต่อวันถ้าคุณออกกำลังกาย แต่คุณจะมีโอกาสรักษาน้ำหนักได้มากกว่าถ้าคุณยังรับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่เกินระดับ CCLL ในระยะก่อนเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหาร [24]
    • คุณอาจจะต้องเพิ่มและลดคาร์โบไฮเดรตตามน้ำหนักและการผันผวนของน้ำหนัก
    โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มลดน้ำหนักเสมอ
  • นอกจากการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องแล้ว ตอนนี้การลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ยังให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวด้วย [25]
  • ยังไม่มีงานวิจัยที่สรุปความเสี่ยงในระยะยาวหรือประโยชน์ของการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ [26] [27] [28]
  • นักโภชนาการและแพทย์ไม่เห็นด้วยกับการลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ : การลดน้ำหนักแบบแอตกินส์อาจจำกัดคาร์โบไฮเดรตแต่ไม่ได้จำกัดแคลอรี (น้ำหนักจึงอาจจะไม่ลด) การสนับสนุนให้รับประทานไขมันอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ข้อจำกัดในด้านอาหารหลายชนิด (เช่นผักและผลไม้) และอาจจะปฏิบัติตามในระยะยาวได้ยาก [29] [30]


โฆษณา
  1. https://go.gale.com/ps/i.do?id=GALE%7CCX2760100033&v=2.1&u=umuser&it=r&p=GVRL&sw=w&asid=264a460165997b08b49f6c9462f59028
  2. http://www.mayoclinic.org/atkins-diet/ART-20048485?p=1
  3. http://www.mayoclinic.org/atkins-diet/ART-20048485?p=1
  4. http://go.galegroup.com/ps/i.do?id=GALE%7CCX2760100033&v=2.1&u=umuser&it=r&p=GVRL&sw=w&asid=264a460165997b08b49f6c9462f59028
  5. https://www.atkins.com/how-it-works/library/articles/how-to-follow-phase-two-part-2
  6. https://sa.atkins.com/static/default/files/documents/pdf/Atkins%20Food%20List.pdf
  7. http://www.mayoclinic.org/atkins-diet/ART-20048485?p=1
  8. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/in-depth/atkins-diet/art-20048485?pg=2
  9. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/in-depth/atkins-diet/art-20048485?pg=2
  10. https://www.atkins.com/how-it-works/atkins-20/phase-3/doing-it-right-atkins-20-phase-3#acceptable
  11. https://sa.atkins.com/static/default/files/documents/pdf/Atkins%20Food%20List.pdf
  12. http://go.galegroup.com/ps/i.do?id=GALE%7CCX2760100033&v=2.1&u=umuser&it=r&p=GVRL&sw=w&asid=264a460165997b08b49f6c9462f59028
  13. http://www.mayoclinic.org/atkins-diet/ART-20048485?p=1
  14. https://sa.atkins.com/static/default/files/documents/pdf/Atkins%20Food%20List.pdf
  15. http://go.galegroup.com/ps/i.do?id=GALE%7CCX2760100033&v=2.1&u=umuser&it=r&p=GVRL&sw=w&asid=264a460165997b08b49f6c9462f59028
  16. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/in-depth/atkins-diet/art-20048485?p=1%3C/ref%3E&reDate=20062015
  17. http://www.mayoclinic.org/atkins-diet/ART-20048485?p=1
  18. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1319349/
  19. http://go.galegroup.com/ps/i.do?id=GALE%7CCX2760100033&v=2.1&u=umuser&it=r&p=GVRL&sw=w&asid=264a460165997b08b49f6c9462f59028
  20. http://efed.aces.uiuc.edu/dieters/popdiet.html
  21. http://go.galegroup.com/ps/i.do?id=GALE%7CCX2760100033&v=2.1&u=umuser&it=r&p=GVRL&sw=w&asid=264a460165997b08b49f6c9462f59028

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,304 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา