ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การหาความสงบภายในใจไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป แรกๆ การหาความสงบภายในใจอาจเป็นเรื่องยาก แต่คุณสามารถฝึกเทคนิคที่ช่วยให้คุณได้สร้างความสงบที่คุณกำลังตามหาอยู่ได้ ถ้าคุณกำลังต่อสู้กับสุขภาพจิต ลองปรึกษานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์ คนเหล่านี้อาจช่วยคุณได้ถ้าคุณไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สร้างความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตวิญญาณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลายทฤษฎีที่เน้นความสำคัญของสมดุลในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชีวิต หนึ่งในแง่มุมของทฤษฎีนั้นก็คือความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตวิญญาณ ความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตวิญญาณเสริมสร้างความสงบและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในใจและในชีวิตของคุณ ทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตใจอีกด้วย [1] แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องหันมานับถือศาสนาถ้าปกติคุณไม่ได้มีศาสนาอยู่แล้ว แต่คือการที่คุณต้องหาบางสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเองเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับมัน [2]
    • ลองเชื่อมโยงกับความน่าเกรงขามของธรรมชาติหรืออวกาศ หรือในความผูกพันที่คนสร้างขึ้นเพื่อกันและกัน การมองหาสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากตัวคุณเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับมันจะช่วยนำความสงบมาสู่จิตใจ
  2. นอกจากนี้ความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตวิญญาณยังช่วยสร้างความเข้าใจที่มีต่อเหตุผลของการอยู่บนโลกใบนี้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้คุณหาความหมายของชีวิตในแต่ละวันได้ [3] ถ้าคุณรู้สึกอิ่มใจกับสิ่งที่คุณมอบให้โลกใบนี้ จิตใจของคุณก็จะสงบสุขมากยิ่งขึ้น
    • การกระทำที่ช่วยสร้างความเข้าใจให้แก่คุณได้แก่ การเชื่อมโยงกับคนอื่นผ่านการเป็นอาสาสมัครหรือการหาวิธีช่วยและรับใช้ผู้คนในแบบอื่นๆ [4]
    • นอกจากนี้คุณอาจจะหาความหมายในกิจกรรมอื่นๆ ด้วย เช่น ดูแลครอบครัวหรือคนที่คุณรัก หรือการทำงานตามตำแหน่งที่เขาจ้างคุณให้ดีที่สุด
  3. วิธีสร้างความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตวิญญาณอีกวิธีหนึ่งก็คือ การทำในสิ่งที่สอดคล้องกับค่านิยมและความเชื่อของคุณ ในการที่จะตรวจสอบว่าการกระทำสอดคล้องกับค่านิยมและความเชื่อของคุณไหม ให้หยุดและทบทวนกิจกรรมที่คุณทำอยู่และถามตัวเองว่า กิจกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับสิ่งที่คุณให้คุณค่าหรือเปล่า ถามตัวเองว่าสิ่งที่คุณทำนำความสุขและความหมายมาสู่ชีวิตของคุณหรือไม่ [5] การฝึกฝนบางอย่างที่ช่วยให้คุณได้ตรึกตรองค่านิยมและเป้าหมายของคุณก็คือ การทำสมาธิและการสวดมนต์ เริ่มเรียนรู้และฝึก การทำสมาธิ จากการฝึกแบบกลุ่ม หนังสือ แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ หรือเทปบันทึกสอนการทำสมาธิ [6]
    • ในการลองทำสมาธิแบบง่ายๆ ให้นั่งหรือนอนในที่สบายๆ และนึกภาพสิ่งที่สุขุม เต็มไปด้วยความรักและความเอาใจใส่ที่อยู่รอบตัวคุณ กำหนดจิตไว้ที่ความรู้สึกของการเป็นที่รักใคร่และเชื่อใจสิ่งที่ปรากฏอย่างไม่มีข้อสงสัย [7]
    • ถ้าคุณสวดมนต์ ให้ลองนึกภาพอำนาจที่เหนือกว่ารอบตัวคุณและสื่อความรู้สึกเชื่อใจ ความรัก และความห่วงใยออกไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ดีในการเริ่มหยุดและคิดถึงสถานการณ์ในปัจจุบันและหาความสงบภายในใจก็คือ การเริ่มเขียนบันทึก การเขียนบันทึกเป็นวิธีที่ช่วยชี้แนะแนวทางผ่านการทบทวนตัวเอง และหาว่าอะไรที่ทำให้เราไม่พบเจอความสงบภายในใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เวลาที่คุณเขียนบันทึก ให้คุณใส่ความคิดและความรู้สึกที่คุณมีต่อชีวิตประจำวันลงไป เพื่อให้คุณพบเจอความสงบ ลองนึกว่าอะไรที่มีความหมายกับคุณมากที่สุด อะไรที่ทำให้คุณอยู่กับปัจจุบันและมีความสุขในตอนนี้ เช่น สติปัญญาหรือความคิดสร้างสรรค์ [8]
    • เพื่อช่วยให้คุณรู้ว่าอะไรสำคัญกับคุณและนำตัวเองไปสู่ความสงบภายในใจ ให้ตั้งหัวข้อในการเขียนบันทึก เช่น ความรู้สึกขอบคุณ เจตนา หรือความหมาย [9]
  2. การเจริญสติสามารถนำความสงบภายในใจมาสู่คุณได้ด้วยการทำให้คุณตระหนักถึงปัจจุบัน ความสงบภายในใจอาจถูกความกังวลเกี่ยวกับอนาคตขัดขวาง หรืออาจถูกทำลายและติดอยู่กับอดีต การเจริญสติคือการตระหนักถึงความคิด สภาพแวดล้อม และความรู้สึกในปัจจุบันโดยไม่ตัดสินมัน [10] นอกจากนี้การเจริญสติยังช่วยลดระดับความเครียดและความดันโลหิต ซึ่งช่วยสร้างความรู้สึกสงบทั่วทั้งร่างกายของคุณ [11] การฝึกเจริญสติยังช่วยให้คุณจัดการอารมณ์และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือยากลำบากได้ด้วย
    • การฝึกเจริญสติทำให้คุณได้สร้างการเชื่อมโยงแบบใหม่ที่เป็นกลางและเปลี่ยนโครงสร้างทางกายของสมอง ซึ่งช่วยให้คุณได้ปรับวิธีคิดเพื่อเสริมสร้างความสงบภายในใจได้ [12]
    • ในการฝึกเจริญสติ ให้นั่งในท่าสบายๆ และกำหนดจิตไปที่ลมหายใจ ขณะที่คุณหายใจ ให้คุณหยุดและนึกถึงสิ่งที่คุณสัมผัสผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ใจของคุณอาจจะล่องลอย แต่พยายามค่อยๆ ดึงสติกลับมาอยู่กับปัจจุบันและสิ่งที่อยู่รอบข้างคุณ [13]
  3. เยียวยาบาดแผลในอดีต . การเข้าถึงความสงบภายในใจอาจเป็นเรื่องยากหากคุณยังคงเจ็บปวดกับเหตุการณ์ในอดีต เหตุการณ์ในอดีตที่สร้างความบอบช้ำในจิตใจที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอารมณ์จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนว่าคุณจะไม่มีทางสงบใจได้เลย เหตุการณ์ในอดีตอาจเป็นการถูกทำร้ายทางอารมณ์ ร่างกาย หรือทางเพศ เหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในบ้านที่ไม่เห็นความสำคัญหรือไม่ใส่ใจ เหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้อาจทำให้คุณรู้สึกผิด ละอายใจ กลัว หรือหดหู่ [14] [15]
    • สำหรับเหตุการณ์ที่ร้ายแรงในอดีตเหล่านี้ ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอย่างนักบำบัดที่สามารถแนะแนวทางการเข้าถึงประสบการณ์ของคุณได้อย่างปลอดภัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเหล่านี้ได้รับการอบรมให้สามารถแนะแนวทางที่จะช่วยเยียวยาและเสริมสร้างการให้อภัยและเมตตาให้แก่คุณได้ [16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ปล่อยใจเป็นอิสระ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในการหาความสงบภายในใจนั้น คุณต้องฝึกตามหาการขอบคุณ จุดนี้คือจุดที่คุณมองหาและระลึกถึงสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณและสิ่งดีๆ ที่คุณเห็นในชีวิตของคุณ [17] เวลาที่คุณเอาตัวออกจากสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าสักพักและปล่อยให้ตัวเองได้ทบทวนถึงสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกขอบคุณ คุณได้มอบความนิ่งและความสงบภายในใจให้กับตัวเอง และเสริมสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงกับคนที่อยู่รอบตัวคุณ
    • การขอบคุณยังนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีด้านจิตวิญญาณและช่วยให้คุณได้เชื่อมโยงกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเองอีกด้วย [18]
    • คุณสามารถฝึกการขอบคุณสั้นๆ ประจำวันได้ เช่น การนึกถึง 5 สิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณในใจ หรือคุณจะเขียนรายการไว้ในโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือกระดาษก็ได้ถ้าคุณอยากได้สิ่งเตือนใจไว้ดู สิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณอาจเป็นสิ่งเล็กๆ หรือเรื่องธรรมดาๆ อย่างวันที่แดดจ้าหรือพายุฝนที่ทำให้ชุ่มฉ่ำ
    • งานวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างการฝึกขอบคุณกับความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองที่สูงขึ้น การแสดงความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น และแนวโน้มที่จะซึมเศร้าและก้าวร้าวลดลง [19]
  2. รูปแบบความกังวลทั่วไปที่ทำให้คนหลงอยู่กับอดีตหรือทำให้หงุดหงิดก็คือ การจมจ่อมกับความคิด การจมจ่อมกับความคิดก็คือการที่ใจของคุณติดอยู่ในวังวนของความกังวล ฉายภาพความคิดและความกังวลเดิมซ้ำไปซ้ำมาในใจ [20] รูปแบบแบบนี้เป็นสิ่งที่ตึงเครียดมากและทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย ทั้งยังทำให้คุณห่างไกลจากสภาวะทางจิตใจที่สงบมากขึ้นไปอีก
    • ถ้าพบว่าตัวเองกำลังจมจ่อมกับความคิดอยู่ ให้สู้กับนิสัยนี้ด้วยการพูดว่า "ฉันกำลังจมจ่อมกับความคิด และการจมจ่อมกับความคิดก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมา มีแต่จะทำให้ฉันไม่สบายใจ ดูซิว่าฉันจะทำให้ตัวเองยุ่ง/จดจ่ออยู่กับสิ่งดีๆ/ทำอะไรที่ผ่อนคลายได้หรือเปล่า" จากนั้นก็ให้ทำตามแผนด้วยการหากิจกรรมที่ทำให้ตัวเองไม่ว่าง จดจ่ออยู่กับอะไรสักอย่าง หรือผ่อนคลาย
  3. ในการหาความสงบในจิตใจนั้น คุณต้องหาเวลาผ่อนคลาย เพราะจำเป็นต่อการสร้างและรักษาสมดุลในชีวิตของคุณ เวลาผ่อนคลายคือเวลาที่คุณได้คลายความตึงเครียดและไม่นึกถึงความกังวลเกี่ยวกับตารางเวลา ภาระหน้าที่ หรือความกังวลใดๆ หาว่าอะไรทำให้คุณผ่อนคลายได้มากที่สุด สิ่งที่ช่วยให้คุณผ่อนคลายเป็นเรื่องเฉพาะตัวและอาจแตกต่างจากวิธีผ่อนคลายของเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัว
    • เทคนิคการผ่อนคลายมีหลายรูปแบบ สำหรับบางคนการออกกำลังกายเช่นการวิ่งหรือเล่นโยคะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลาย นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยรักษาสุขภาพกายโดยรวม และเพิ่มเอนดอร์ฟินส์ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดีที่ช่วยทำให้อารมณ์ของคุณดีขึ้นและเพิ่มพลังงานให้แก่คุณ [21]
    • นอกจากนี้บางคนก็ชอบทำสมาธิ ออกไปสังสรรค์ข้างนอกกับเพื่อนๆ อ่านหนังสือดีๆ หรือนอนแช่อ่างอาบน้ำที่เต็มไปด้วยฟองสบู่ การเล่นกีฬาหรือการใช้เวลากับเพื่อนๆ เกี่ยวข้องกับความรู้สึกสุขใจและความพึงพอใจในชีวิตโดยรวม [22]
    • หากิจกรรมที่ทำให้คุณได้ผ่อนคลายจริงๆ และทำกิจกรรมเหล่านี้อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อช่วยให้คุณพบความสงบภายในใจ
  4. สิ่งหนึ่งที่มีผลต่อความสงบในจิตใจที่คุณอาจไม่รู้ก็คือ อิทธิพลจากคนอื่น ลองนึกถึงผู้คนในชีวิตของคุณและพยายามนึกถึงอิทธิพลที่พวกเขามีต่อสภาวะจิตใจของคุณ ทุกคนต่างเคยผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากและบ่นเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ถ้ามีใครในชีวิตของคุณที่ทำแบบนี้เป็นรูปแบบปกติ เขาหรือเธออาจดูดพลังหรือมีอิทธิพลเชิงลบต่ออารมณ์ของคุณ [23]
    • ถ้ามีใครในชีวิตของคุณที่เป็นแบบนี้ คุณอาจจะต้องระวังในเรื่องของระยะเวลาที่จะใช้ร่วมกับคนพวกนี้ ถ้าคุณไม่สามารถเลี่ยงคนพวกนี้ได้ (พวกเขาอาจจะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน) ให้พยายามคิดบวกเอาไว้ บอกตัวเองว่า "ฉันจะคิดบวกและทำให้วันนี้เป็นวันที่ดีแม้จะอยู่ท่ามกลางคนเหล่านี้" [24]
    • พยายามใช้เวลากับคนที่ทำให้ใจคุณเบิกบานและเพิ่มความสงบในจิตใจให้มากขึ้น ถ้าไม่ได้ คุณก็เสี่ยงที่จะตกหลุมพรางรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะทำให้คุณได้รับหรือรักษาความสงบภายในใจได้ยาก [25]
    โฆษณา
  1. https://www.psychologytoday.com/articles/200810/the-art-now-six-steps-living-in-the-moment
  2. https://www.psychologytoday.com/articles/200810/the-art-now-six-steps-living-in-the-moment
  3. http://www.traumacenter.org/products/pdf_files/Benefits_of_Mindfulness.pdf
  4. https://www.psychologytoday.com/articles/200810/the-art-now-six-steps-living-in-the-moment
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18602762
  6. http://www.ejpt.net/index.php/ejpt/article/view/25863
  7. http://www.asca.org.au/Health-Professionals/Practice/Trauma-Based-Approach.aspx
  8. http://il.nami.org/M&G%20Final%2010.11.13.pdf
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/what-mentally-strong-people-dont-do/201504/7-scientifically-proven-benefits-gratitude
  10. https://www.psychologytoday.com/blog/what-mentally-strong-people-dont-do/201504/7-scientifically-proven-benefits-gratitude
  11. https://www.psychologytoday.com/blog/overcoming-self-sabotage/201002/rumination-problem-solving-gone-wrong
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/in-depth/exercise/art-20048389
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4110381/
  14. https://www.psychologytoday.com/blog/what-mentally-strong-people-dont-do/201502/5-ways-stop-giving-negative-people-too-much-power
  15. https://www.psychologytoday.com/blog/what-mentally-strong-people-dont-do/201502/5-ways-stop-giving-negative-people-too-much-power
  16. https://www.psychologytoday.com/blog/what-mentally-strong-people-dont-do/201502/5-ways-stop-giving-negative-people-too-much-power

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,437 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา