PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ฐานข้อมูล SQL Server เป็นหนึ่งในฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสร้างและดูแลง่ายเหลือเกิน ยิ่งมีโปรแกรม GUI (graphical user interface) ฟรีอย่าง SQL Server Management ยิ่งไม่ต้องกลัวงงกับคำสั่งภาษาต่างดาว บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการสร้างและป้อนข้อมูลลงฐานข้อมูล SQL Server ให้คุณเอง

  1. โปรแกรมนี้ดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บของ Microsoft ใช้เชื่อมต่อและจัดการ SQL server ได้ด้วยเมนูที่มีหน้าตาชัดเจนใช้ง่าย ไม่ต้องป้อนคำสั่งใน command line
    • จะเชื่อมต่อกับ remote instance ของ SQL server ได้ ต้องใช้โปรแกรมนี้หรือโปรแกรมอื่นที่ใกล้เคียง
    • ถ้าใช้ Mac ก็ใช้โปรแกรม open-source อย่าง DbVisualizer หรือ SQuirreL SQL ได้เลย interface หรือเมนูอาจต่างกันบ้าง แต่หลักการใช้งานก็คล้ายๆ กัน [1]
    • ลองหาวิธีสร้างฐานข้อมูลด้วย command line tool อ่านเพิ่มเติมในเน็ตดู
  2. ถ้าเปิดครั้งแรก โปรแกรมจะถามว่าจะเชื่อมต่อกับ server ไหน ถ้ามี server ที่ใช้งานได้อยู่แล้ว และมีสิทธิ์เชื่อมต่อ ก็ใส่ address กับข้อมูลล็อกอินของ server นั้นได้เลย แต่ถ้าจะสร้าง local database ให้ตั้ง Database Name เป็น . และเลือก authentication type เป็น "Windows Authentication"
    • คลิก Connect เพื่อไปต่อ
  3. พอเชื่อมต่อ server แล้ว ไม่ว่าจะแบบ local หรือ remote ก็ตาม จะมีหน้าต่าง Object Explorer เปิดขึ้นมาทางซ้ายของหน้าจอ ที่ด้านบนสุดของโครงสร้าง Object Explorer จะเห็น server ที่คุณเชื่อมต่ออยู่ ถ้าโครงสร้างไม่ขยายออกมา ให้คลิกไอคอน "+" ข้างๆ แล้วหาโฟลเดอร์ Databases [2]
  4. คลิกขวาโฟลเดอร์ Databases แล้วเลือก "New Database..." หน้าต่างใหม่จะโผล่ขึ้นมา ใช้ปรับแต่งฐานข้อมูลก่อนสร้าง ให้คุณตั้งชื่อฐานข้อมูลให้จำง่าย ถ้าเป็นผู้ใช้ทั่วไปก็ปล่อย settings ต่างๆ ไว้ตามค่า default ได้เลย [3]
    • ระหว่างพิมพ์ชื่อฐานข้อมูล จะมีอีก 2 ไฟล์ถูกสร้างอัตโนมัติ คือไฟล์ Data กับไฟล์ Log ตัว data file เอาไว้เก็บข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูล ส่วน log file จะคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในฐานข้อมูล
    • คลิก OK เพื่อสร้างฐานข้อมูล ฐานข้อมูลใหม่จะโผล่มาในโฟลเดอร์ Databases ที่ขยายแล้ว โดยไอคอนจะเป็นทรงกระบอก
  5. ฐานข้อมูลจะเก็บข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อคุณสร้างโครงสร้างข้อมูลซะก่อน ตารางจะเป็นส่วนที่เก็บข้อมูลทั้งหมดที่คุณกรอกไปในฐานข้อมูล คุณต้องสร้างตารางก่อนถึงจะไปต่อได้ ให้ขยายฐานข้อมูลใหม่ในโฟลเดอร์ Databases แล้วคลิกขวาโฟลเดอร์ Tables จากนั้นเลือก "New Table..."
    • จะมีหน้าต่างโผล่มาในหน้าจอส่วนที่เหลือ ใช้ปรับเปลี่ยนตารางใหม่ได้เลย
  6. แนะนำแกมบังคับว่าต้องสร้าง Primary Key เป็นคอลัมน์แรกในตาราง เพื่อใช้เป็น ID number หรือ record number (หมายเลขบันทึก) จะได้เรียกใช้ entries พวกนี้ง่ายๆ ทีหลัง เวลาสร้างให้พิมพ์ "ID" ในช่อง Column Name พิมพ์ int ในช่อง Data Type แล้วเอาติ๊กออกจากช่อง "Allow Nulls" สุดท้ายคลิกไอคอนรูปกุญแจในแถบเครื่องมือ เพื่อกำหนดคอลัมน์นี้เป็น Primary Key
    • ที่ไม่ให้อนุญาตการใช้งานค่า null เพราะข้อมูลของแต่ละ entry ต้องเริ่มจาก "1" ถ้าให้ใช้ null ได้ entry แรกจะกลายเป็น "0" แทน
    • ในหน้าต่าง Column Properties ให้เลื่อนลงไปจนเจอตัวเลือก Identity Specification จากนั้นขยาย แล้วกำหนด "(ls Identity)" เป็น "Yes" เพื่อเพิ่มค่าของคอลัมน์ ID ของแต่ละ entry แล้วเรียงลำดับ entry ไปเรื่อยๆ โดยอัตโนมัติ
  7. ตารางประกอบด้วยช่องหรือคอลัมน์ต่างๆ แต่ละคอลัมน์จะแทน 1 ประเภทของข้อมูลในฐานข้อมูล เช่น ถ้าจะสร้างฐานข้อมูลพนักงาน ก็ต้องมีคอลัมน์ "FirstName", "LastName", "Address" และ "PhoneNumber"
  8. พอกรอกข้อมูลในช่องต่างๆ ของ Primary Key แล้ว จะเห็นช่องใหม่โผล่มาข้างล่าง เอาไว้ใส่คอลัมน์ถัดไปนั่นเอง ให้คุณกรอกข้อมูลในช่องตามต้องการ แต่ให้เลือกชนิดข้อมูลที่จะกรอกในคอลัมน์ให้ถูกต้อง
    • nchar(#) - นี่คือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความ เช่น ชื่อ ที่อยู่ และอื่นๆ ตัวเลขในวงเล็บ คือจำนวนตัวอักษรสูงสุดที่กรอกได้ในช่องนี้ ที่ต้องมีจำกัดก็เพื่อควบคุมขนาดฐานข้อมูล เบอร์โทรศัพท์ก็ควรจัดเก็บเป็นฟอร์แมตนี้ เพราะไม่ต้องเอาไปคำนวณอะไร
    • int - สำหรับเลขจำนวนเต็ม ปกติใช้กับช่อง ID
    • decimal(x,y) - ใช้จัดเก็บตัวเลขในรูปของทศนิยม ตัวเลขที่เห็นในวงเล็บคือจำนวนตัวเลขทั้งหมด และจำนวนเลขที่ตามหลังจุดทศนิยมตามลำดับ เช่น decimal(6,2) ก็จะเป็น 0000.00
  9. พอสร้างคอลัมน์เสร็จแล้ว ให้เซฟตารางก่อนป้อนข้อมูล โดยคลิกไอคอน Save ในแถบเครื่องมือ แล้วตั้งชื่อตารางให้จำง่าย ว่าเนื้อหาในนั้นคืออะไร ถือว่าสำคัญมาก โดยเฉพาะถ้าฐานข้อมูลนั้นค่อนข้างใหญ่ มีหลายตาราง
  10. พอเซฟตารางแล้ว ก็เริ่มป้อนข้อมูลได้เลย ให้ขยายโฟลเดอร์ Tables ในหน้าต่าง Object Explorer ถ้าไม่มีตารางใหม่ ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์ Tables แล้วเลือก Refresh จากนั้นคลิกขวาที่ตาราง แล้วเลือก "Edit Top 200 Rows" [4]
    • หน้าต่างกลางจะแสดงช่องต่างๆ สำหรับใส่ข้อมูล ข้อมูลจะกรอกในช่อง ID อัตโนมัติ ก็ไม่ต้องสนใจ ให้กรอกข้อมูลในช่องที่เหลือ พอคลิกแถวถัดไป ก็จะเห็นข้อมูลโผล่มาในช่อง ID ที่แถวแรกอัตโนมัติ
    • ทำซ้ำตามขั้นตอนจนกรอกข้อมูลครบตามต้องการ
  11. พอกรอกข้อมูลเสร็จ ให้คลิกปุ่ม Execute SQL ในแถบเครื่องมือ เพื่อเซฟลงตาราง SQL server จะเริ่มทำงานในเบื้องหลัง แล้วกระจายข้อมูลทั้งหมดตามคอลัมน์ที่สร้างไว้ ปุ่มนี้จะเป็นเครื่องหมายตกใจสีแดง หรือจะกด Ctrl + R เพื่อ execute ก็ได้
    • ถ้ามี error ตรงไหน จะมีบอกว่า entries ไหนกรอกข้อมูลผิด ก่อนจะ execute ตาราง
  12. ถึงตอนนี้ คุณก็สร้างฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ฐานข้อมูลเดียวจะสร้างกี่ตารางก็ได้ (จริงๆ ก็มีเพดานกำหนดไว้ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะต้องเป็นระดับฐานข้อมูลองค์กร ถึงจะใกล้เต็ม) ถึงเวลา query ข้อมูลเพื่อใช้รายงานผล หรือใช้ในงานอื่นของแอดมิน ถ้าอยากรู้วิธี query ข้อมูลเพิ่มเติม ให้หาอ่านในเน็ตดู
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 38,026 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา