ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทัศนคติในเชิงบวกเป็นส่วนประกอบสำคัญ หากคุณต้องการมีชีวิตที่อิ่มเอมไปด้วยความสุข การเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกจะช่วยให้คุณระลึกและสามารถตรึกตรองถึงช่วงเวลาที่คุณมีอารมณ์สร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ คุณยังจะเริ่มรู้วิธีปรับเปลี่ยนอารมณ์เชิงลบเสียใหม่ได้ทันท่วงทีทุกครั้งที่มันเกิดขึ้น ทั้งนี้ การให้เวลากับตนเองและพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกเช่นกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ตระหนักถึงความสำคัญของทัศนคติเชิงบวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตระหนักว่า ทัศนคติเชิงบวกสามารถช่วยให้อารมณ์เชิงลบน้อยลงได้. การมีทัศนคติเชิงบวกจะช่วยให้คุณสัมผัสกับอารมณ์เชิงบวกได้มากมาย มันเป็นช่วงเวลาที่คุณไม่ถูกกักขังไว้ในอารมณ์เชิงลบต่างๆ ทัศนคติเชิงบวกจะช่วยให้ค้นพบความสุขสมบูรณ์ในชีวิตมากขึ้น และยังช่วยให้คุณหลุดออกจากวังวนของอารมณ์ในเชิงลบต่างๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย
  2. ตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างอารมณ์ในเชิงบวกกับสุขภาพทางกาย. ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ความเครียดและอารมณ์ในเชิงลบต่างๆ สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจได้ [1] [2] การทดแทอารมณ์ในเชิงลบต่างๆ ด้วยอารมณ์ในเชิงบวกย่อมสามารถช่วยพัฒนาสุขภาพกายทั่วไปของคุณให้ดีขึ้นได้
    • อารมณ์ในเชิงบวกยังสามารถช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคต่างๆ น้อยลงด้วย เพราะอารมณ์ในเชิงบวกจะช่วยลดระยะเวลาของการกระตุ้นอารมณ์ในเชิงลบต่างๆ [3]
  3. ตระหนักในความเชื่อมโยงระหว่างความคิดแง่บวก ความความคิดสร้างสรรค์ และสมาธิจดจ่อ. ทัศนคติเชิงบวกจะช่วยเสริมสร้าง “ทักษะในการประมวลผลข้อมูลอันซับซ้อนและจัดระเบียบกระบวนการคิดของคนเราให้ยืดหยุ่นมากขึ้น” [4] ซึ่งปฏิกิริยาเหล่านี้ยังเชื่อมโยงกับการเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนโดปามีนในระบบประสาทด้วย [5] อันจะช่วยให้คุณมีสมาธิจดจ่อ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการเรียนรู้มากขึ้นตามลำดับ อารมณ์ในเชิงบวกยังสามารถช่วยเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาอันยากลำบากให้เราด้วย [6] [7] [8]
  4. ช่วยในการฟื้นฟูตัวเองจากเหตุการณ์เชิงลบได้เร็วขึ้น. การเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกและรักษามันไว้ สามารถช่วยให้คุณมีความมั่นคงในใจ ในยามที่เกิดเหตุการณ์เชิงลบขึ้นกับคุณ เช่น ความเจ็บปวดทางใจ หรือความสูญเสียบางอย่าง
    • คนที่มีอารมณ์ในเชิงบวกได้ในระหว่างประสบกับความสูญเสียในชีวิต มักจะสามารถวางแผนรับมือสถานการณ์ในระยะยาวได้อย่างสร้างสรรค์มากกว่า ซึ่งการมีเป้าหมายและแผนการดังกล่าวย่อมทำให้คนๆ นั้นมีคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้น หลังจากหนึ่งปีนับจากที่เหตุการณ์ความสูญเสียได้เกิดขึ้น [9]
    • ในการทดลองเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงทางอารมณ์และการตอบสนองต่อความเครียด ผู้ร่วมการทดลองแต่ละคนได้รับมอบหมายให้จัดการงานที่ตึงเครียด ผลปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมทดลองทุกคนต่างก็ประสบความเครียดด้วยกันทุกคน แม้ว่าบางคนอาจจะมีอารมณ์ที่มั่นคงมากเพียงใดตาม อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง จะสามารถกลับสู่สภาวะอารมณ์อันสงบลงได้เร็วกว่าผู้ที่ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ในสภาวะปกติ [10]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

หาเวลาสำหรับการทบทวนตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามนึกถึงการเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวก ให้เป็นเหมือนกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อหรือความฟิตของร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่อง
  2. การพยายามใส่ใจในข้อดีของตนเอง จะช่วยเสริมสร้างอารมณ์ในเชิงบวก ซึ่งจะส่งผลให้คุณสามารถรับมือกับปัญหาชีวิตได้ง่ายขึ้น
    • จดบันทึกรายการสิ่งที่คุณชอบทำหรือทำได้ดี และพยายามหาเวลาทำกิจกรรมเหล่านั้นเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยสั่งสมทัศนคติเชิงบวกให้คุณได้เรื่อยๆ
  3. ผลการศึกษาพบว่า การทบทวนตนเองเป็นเครื่องมือเสริมสร้างการสอนและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในชีวิตการทำงานและการศึกษา [11] [12] นอกจากนี้ การทบทวนตนเองยังสามารถช่วยในการเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกด้วย การเขียนบันทึกความคิดและความรู้สึก จะช่วยให้คุณเห็นพฤติกรรมและวิธีการตอบสนองของตนเอง
    • ในช่วงแรกๆ การเขียนทบทวนตนเองอาจดูแปลกๆ และน่าอึดอัด แต่เมื่อฝึกฝนไปเรื่อยๆ สักพัก คุณจะเริ่มสังเกตเห็นรูปแบบอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองในบันทึกดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาของตนเองที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายได้
  4. บันทึกเกี่ยวกับเหตุการณ์เชิงบวกที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน. ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และพยายามหาเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงเรื่องที่ทำให้คุณมีความสุข ภาคภูมิใจ ตะลึง ซาบซึ้ง สงบสุข พึงพอใจ ปลาบปลื้ม หรืออารมณ์ในเชิงบวกอื่นๆ
    • ตัวอย่างเช่น ระลึกถึงเหตุการณ์ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีบางเหตุการณ์ที่ทำให้คุณรู้สึกสงบและเป็นสุข เช่น ตอนที่คุณนั่งมองทิวทัศน์อันสวยงามในบริเวณที่พักของคุณ หรือความรื่นรมย์จากการจิบกาแฟในตอนเช้า รวมถึงการพูดคุยอย่างสนุกสนานกับใครบางคน
    • ใช้เวลามากหน่อย ในการใคร่ครวญถึงเหตุการณ์ที่ทำให้คุณภูมิใจในตนเอง หรือเหตุการณ์ที่ประทับใจในตัวผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ อย่างเช่น ความซึ้งใจในตัวคนรักของคุณที่ช่วยจัดเตียงให้ หรือคุณอาจรู้สึกภาคภูมิใจในการทำเรื่องบางเรื่องที่ท้าทายตนเองได้สำเร็จลงด้วยดี
    • คุณอาจจะรู้สึกดีหากเริ่มด้วยการทบทวนเหตุการณ์เชิงบวกของวันนั้นๆ การเอาตัวเองเข้าไปสัมผัสกับอารมณ์ในเชิงบวกอีกครั้ง สามารถช่วยให้คุณมีมุมมองต่อคำวิจารณ์เชิงลบต่างออกไป
  5. บันทึกเกี่ยวกับช่วงเวลที่คุณมีอารมณ์ในเชิงลบต่างๆ. ระบุถึงช่วงเวลาในแต่ละวันที่คุณประสบกับอารมณ์ในเชิงลบต่างๆ ซึ่งอาจรวมถึงความรู้สึกผิก ละอายใจ อับอาย คับข้องใจ ผิดหวัง หวาดกลัว หรือความไม่ชอบใจบางอย่างก็ได้ สังเกตดูว่าอารมณ์เหล่านั้นมันสุดโต่งเกินไปหรือไม่ คุณอาจจะรู้สึกตระหนกตกใจตอนที่เผลอทำกาแฟหกใส่หัวหน้า คุณคิดว่าคุณจะถูกไล่ออกจากเหตุการณ์ดังกล่าวและตกงานไปตลอดชีวิตหรือเปล่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างสุดโต่งในเหตุการณ์ทั่วไปลักษณะนี้ ย่อมส่งผลให้ความคิดเชิงบวกอันสร้างสรรค์กลายเป็นหมันได้
  6. ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาเชิงลบให้กลายเป็นเชิงบวก. ลองอ่านทบทวนเหตุการณ์เชิงลบต่างๆ ที่คุณเขียนออกมา พยายามใช้เวลาในกรปรับเปลี่ยนเหตุการณ์ดังกล่าว ในลักษณะที่ทำให้คุณสามารถรู้สึกถึงอารมณ์ในเชิงบวกจากมันได้ (หรืออย่างน้อยรู้สึกวางเฉยได้ก็ยังดี)
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณเกิดการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างทางขับรถกลับบ้าน ลองนึกเสียใหม่ว่า คนขับรถคู่กรณีอาจจะทำผิดโดยไม่ตั้งใจก็ได้ หรือหากคุณมีเหตุการณ์น่าอับอายเกิดขึ้นระหว่างวัน ลองนึกดูใหม่ว่ามันน่าหัวเราะหรือตลกเพียงใด ส่วนเรื่องที่คุณทำกาแฟหกใส่หัวหน้า มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้นี่นา ใครจะไปรู้ว่า หัวหน้าของคุณอาจเห็นมันเป็นเพียงเรื่องขำๆ ก็ได้
    • หากคุณเลิกทำเหตุการณ์เล็กๆ ให้เป็นเรื่องราวใหญ่โตถึงขนาดเปลี่ยนชีวิต คุณก็จะสามารถรับมือแต่ละสถานการณ์ได้ดีขึ้น เช่น กรณีที่คุณทำกาแฟหกใส่หัวหน้างาน คุณก็สามารถขออภัยพวกเขาอย่างจริงใจตรงไปตรงมาว่า คุณให้ความสำคัญกับเขาหรือเธอมากเพียงใด และแสดงความโล่งใจว่าเขาไม่ได้รับอันตรายใดๆ ก็พอแล้ว นอกจากนี้ คุณยังสามารถเสนอที่จะซื้อเสื้อตัวใหม่ หรือนำตัวที่เลอะกาแฟไปช่วยส่งซักให้อย่างดีได้อีกด้วย
  7. ทักษะการแก้ไขปัญหาที่เพิ่มขึ้น ย่อมทำให้อารมณ์ในเชิงบวกมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป [13] ผลดีของการสัมผัสกับอารมณ์ในเชิงบวกนั้น ยั่งยืนยาวนาน ต่อเนื่องไปจากช่วงเวลาที่คุณสัมผัสประสบการณ์เชิงบวกเหล่านั้นจริงๆ ด้วยซ้ำ ซึ่งคุณสามารถหวนกลับมาสัมผัส “แหล่งสะสมความสุข” เหล่านี้ได้ในเวลาต่อมา หรือเวลาที่อยู่ในสภาวะอารมณ์อื่นๆ
    • อย่ากังวลใจไปหากคุณไม่สามารถสั่งสมประสบการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์ในเชิงบวกได้ เพราะคุณสามารถใช้ความทรงจำเดิมในอดีต นำมาสร้าง “แหล่งสะสมความสุข” ได้ด้วย
  8. จำไว้ว่า เราทุกคนต่างต้องประสบปัญหาชีวิตด้วยกันทั้งนั้น. มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะตระหนักว่า ทุกคนต่างต้องเผชิญปัญหาใหญ่น้อยของชีวิตกันทุกคน การปรับเปลี่ยนวิธีตอบสนองแบบสุดโต่งให้ได้นั้น ย่อมต้องใช้เวลาและการฝึกฝนเพื่อยอมรับและปรับตัว เมื่อฝึกจนชำนาญแล้ว คุณจะสามารถปล่อยวางเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ได้ และยังสามารถมองปัญหาใหญ่ๆ ในมุมที่ต่างออกไป รวมถึงหาโอกาสเรียนรู้จากมันได้ด้วย
  9. เสียงวิจารณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มักขัดขวางความก้าวหน้าในการเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกของคุณ [14]
    • ตัวอย่างเช่น นักวิจารณ์คนนั้นอาจจะเรียกคุณว่าเจ้าโง่ ตอนที่คุณทำกาแฟหกใส่หัวหน้า เห็นไหมว่านักวิจารณ์คนนี้ชอบทำให้คุณรู้สึกแย่และรังแกคุณอยู่เสมอ พยายามทบทวนแต่ละครั้งที่คุณได้ยินเสียงวิจารณ์ในลักษณะนี้ แล้วคุณจะเริ่มมองเห็นรูปแบบพฤติกรรมและช่วงเวลาซ้ำๆ ที่เกิดเสียงวิจารณ์ดังกล่าวขึ้น
    • นอกจากนี้ คุณจะเริ่มรู้จักท้าทายเสียงวิจารณ์และความคิดทางลบที่เกิดขึ้นในหัว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวก
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

หาเวลาส่วนตัวบ้าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามหาเวลาส่วนตัวเพื่อทำในสิ่งที่ตนเองชอบและมีความสุข [15] การจัดสรรเวลาให้ตัวเองอาจจะเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นคนที่ชอบเห็นคนอื่นมาก่อนเสมอ และจะยิ่งยากขึ้นด้วย หากคุณอยู่ในช่วงชีวิตที่กำลังต้องเลี้ยงดูคนป่วยในบ้าน หรือมีลูกหลานเล็กๆ ต้องคอยดูแล แต่จงจำไว้ว่า “คุณต้องสวมหน้ากากอ๊อกซิเจนให้ตัวเองก่อนที่จะสวมให้คนอื่น” คุณจะดูแลคนอื่นได้ดีที่สุด เมื่อคุณเป็นตัวของตนเองได้อย่างสมบูรณ์เสียก่อน
    • หากดนตรีทำให้คุณมีความสุข ก็เปิดฟังเสีย หากหนังสือทำให้คุณมีความสุข ก็หาเวลาเงียบๆ ไปอ่านคนเดียวในมุมสงบ เดินดูวิวทิวทัศน์ ไปเยี่ยมชมนิทรรศการต่างๆ หรือจะดูภาพยนตร์เรื่องโปรดก็ตามใจ
    • พยายามทำในสิ่งที่คุณรู้สึกรื่นรมย์ให้มากเข้าไว้ มันเป็นวิธีที่ดีในการโฟกัสอยู่กับอารมณ์ในเชิงบวก
  2. ไม่มีใครมาสอดส่องหรือตัดสินเวลาที่คุณกำลังทบทวนเรื่องราวกับตัวเองหรอก ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องกลัวใครจะหาว่าคุณหลงตัวเอง คุณไม่จำเป็นต้องทำอะไรได้ดีหรือทำเพื่อเอาใจคนอื่น ในการที่จะมีความสุขกับเรื่องนั้นๆ
    • หากคุณทำอาหารเก่ง ก็ยอมรับกับตัวเองเถอะว่าคุณเป็นพ่อครัว/แม่ครัวมือทอง เช่นเดียวกัน คุณไม่จำเป็นต้องร้องเพลงกล่อมนางฟ้าหรือเทพยดาที่ไหนให้ได้ ก่อนที่จะยอมรับว่าตนเองเสียงดีหรอก
    • การสำรวจช่วงเวลาที่คุณรู้สึกพึงพอใจ ภาคภูมิใจ และเป็นสุข รวมถึงกิจกรรมที่ทำให้คุณเกิดความรู้สึกดังกล่าว สามารถช่วยให้คุณมั่นใจในการทำสิ่งนั้นอีกในอนาคต
  3. คุณย่อมแตกต่างจากคนอื่น ดังนั้น มันจึงไร้เหตุผลที่จะตัดสินตนเองจากมาตรฐานของคนอื่น คุณอาจจะมีความสุขในการทำสิ่งที่คนอื่นไม่มีความสุขที่จะทำ แต่คุณก็มีสิทธิเต็มที่ในการกำหนดมาตรฐานความสำเร็จในแบบฉบับตนเอง [16]
  4. มุมมองที่คุณมีต่อตนเองย่อมแตกต่างจากมุมมองที่คุณมีต่อคนอื่น เหมือนกับการที่คุณมองงานศิลปะภาพวาดชิ้นหนึ่งใกล้ๆ ก็ย่อมเห็นอะไรที่แตกต่างจากเวลามองมันในระยะไกลออกไปเช่นเดียวกัน จำไว้ว่า ภาพลักษณ์ของบางคนที่คุณเห็น อาจจะเป็นภาพลักษณ์ที่พวกเขาปั้นแต่งขึ้นมาให้คุณเห็นเช่นนั้นก็ได้ ซึ่งมันมักจะเป็นความจริงแค่ส่วนเดียวเสมอ ดังนั้น จงเลิกเอาตนเองเปรียบเทียบกับคนอื่น และเลิกเอาคุณค่าในตนเองไปผูกติดกับความเห็นของคนอื่นเสียที ซึ่งจะช่วยให้คุณอ้างอิงรสนิยมส่วนตัวของตนเองกับวิถีชีวิตของคนอื่นน้อยลงด้วย
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณไปด้วยกันไม่ค่อยได้กับคนรู้จักบางคน ก็อย่าไปสันนิษฐานว่าเขาหรือเธอไม่ชอบคุณ แต่มันอาจเป็นไปได้ว่าการสื่อสารบางอย่างระหว่างคุณทั้งคู่อาจจะผิดพลาดก็ได้ หรือคนๆ นั้นอาจจะกำลังคับข้องใจในเรื่องอื่นๆ อยู่
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

บ่มเพาะความสัมพันธ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความสัมพันธ์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในชีวิตคนเรา แม้ว่าคุณอาจจะจัดตนเองเป็นคนประเภท “รักสันโดษ” หรือเป็นคนที่รู้สึกสดชื่นเมื่อได้อยู่กับตัวเองมากกว่า จึงไม่เห็นความจำเป็นในการเข้าสังคมก็ตาม ทั้งนี้ มิตรภาพและความสัมพันธ์ถือเป็นแหล่งทรัพยากรของกำลังใจชั้นยอด และยังเป็นขุมพลังและการสนับสนุนสำหรับคนทุกเพศทุกแบบ จงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวเอาไว้เถิด
    • ผลการศึกษาพบว่า อารมณ์ของคนเราจะดีขึ้นทันทีที่ได้พูดคุยกับคนที่เราแคร์และได้รับการให้กำลังใจจากพวกเขา [17]
  2. ระหว่างการพบปะผู้คนในแต่ละวัน ลองมองหาใครสักคนที่คุณคิดว่ารู้สึกดีที่ได้อยู่ใกล้ๆ และพยายามสานสัมพันธ์กับคนๆ นั้น พวกเขาสามารถเป็นกำลังใจให้คุณได้ยามประสบปัญหา และยังช่วยให้คุณในการเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกด้วย
  3. หากคุณมีปัญหาในการเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกและอารมณ์ในเชิงบวกด้วยตนเอง ลองขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ดู คุณไม่ควรต้องเก็บกดอารมณ์ในเชิงลบต่างๆ เอาไว้คนเดียว การระบายให้เพื่อนๆ ฟัง จะช่วยให้คุณจัดการอารมณ์ในเชิงลบต่างๆ ได้ และมีที่ว่างสำหรับอารมณ์ในเชิงบวกด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

รับมือสถานการณ์ตึงเครียด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การปรับแต่งสถานการณ์ตึงเครียดให้สร้างสรรค์ คือ การรับผิดชอบต่อสถานการณ์นั้น และใส่มุมมองที่เป็นบวกเข้าไปแทนที่ [18]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณมีรายการเรื่องที่ต้องทำมากมายจนหวั่นใจ แทนที่จะดูรายการเหล่านั้นและพูดว่า “ฉันไม่มีทางทำได้หมดทุกเรื่องหรอก” ลองเปลี่ยนใหม่เป็น “ฉันสามารถจัดการได้เกือบทุกเรื่อง”
  2. การแก้ไขสถานการณ์โดยเน้นที่ตัวปัญหา เป็นการโฟกัสไปที่สาเหตุที่ทำให้คุณเกิดความเครียดในปัญหานั้น และมุ่งสะสางมันโดยตรง พยายามแตกย่อยขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวออกมาให้คุณปฏิบัติได้สำเร็จง่ายขึ้น ระบุอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นและหาวิธีรับมือกับมันไว้ล่วงหน้า เผื่อว่ามันอาจเกิดขึ้น
    • สมมุติว่า คุณประสบปัญหาในการชักจูงให้ลูกน้องทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น ลองนั่งลงและวิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าวดู จัดประเภทของปัญหาดูว่ามันเป็นเรื่องอะไร จากนั้น ก็ระดมสมองและเขียนหนทางต่างๆ ที่สามารถแก้ไขสถานการณ์นี้ได้ลงบนกระดาษ
    • ตัวอย่างเช่น วิเชียรไม่ชอบหน้าสมศรี และนายจ้างคุณก็ไม่มีนโยบายส่งเสริมการทำงานเป็นทีมด้วย แต่กลับให้รางวัลแก่คนที่แสดงความสามารถเฉพาะตัวมากกว่า เมื่อคุณนำวิธีแก้ไขสถานการณ์โดยเน้นที่ตัวปัญหามาใช้ คุณก็ควรเน้นย้ำว่า แม้วิเชียรและสมศรีจะไม่ค่อยกินเส้นกัน แต่มันก็เป็นสิ่งจำเป็นในการยึดมั่นแนวทางการทำงานตามมาตรฐานของมืออาชีพ และต้องนำแนวทางดังกล่าวมาใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ จากนั้น คุณก็อาจจะให้สมาชิกในทีมแต่ละคนทำกิจกรรมกลุ่ม โดยให้พวกเขาพูดเกี่ยวกับข้อดีสามประการในตัวกันและกัน เพื่อปรับทัศนคติก่อนเริ่มปฏิบัติงานต่อไป
    • ด้วยการแสดงให้สมาชิกในทีมเห็นว่าพวกเขาบรรลุผลสำเร็จจากการทำโครงงานให้สำเร็จลงได้อยู่เนืองๆ มันจะช่วยกระตุ้นวัฒนธรรมองค์กรในเชิงบวกให้แก่บริษัทหรือองค์กรของคุณได้ด้วย
  3. มองหาความหมายเชิงบวกให้เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน. อีกวิธีหนึ่งที่เราจะสามารถประคองอารมณ์ในเชิงบวกเมื่อเกิดสถานการณ์เชิงลบขึ้นได้นั้น ก็ด้วยการค้นหาความหมายเชิงบวกให้กับเหตุการณ์ทั่วๆ ไปและสถานการณ์ที่ยากลำบาก [19] [20]
    • จำไว้ว่า เวลาที่คุณรู้จักเอามุมมองเชิงบวกมาจับกับสถานการณ์เชิงลบเมื่อใด คุณจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวได้ง่ายดายและเป็นธรรมชาติมากขึ้น และในทางกลับกัน มันก็ง่ายขึ้นที่จะหามุมมองเชิงบวกมาเพิ่มเข้าไปในสถานการณ์ดังกล่าวอีกทอด ส่งผลให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วย
    โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Blascovich, J. J., & Katkin, E. S. (1993). Cardiovascular reactivity to psychological stress & disease. American Psychological Association.
  2. Fredrickson, B. L., Maynard, K. E., Helms, M. J., Haney, T. L., Siegler, I. C., & Barefoot, J. C. (2000). Hostility predicts magnitude and duration of blood pressure response to anger. Journal of Behavioral Medicine, 23(3), 229-243.
  3. Fredrickson, B.L., & Levenson, R. W. (1998). Positive emotions speed recovery from the cardiovascular sequelae of negative emotions. Cognition & Emotion, 12(2), 191-220.
  4. Isen, A. M. (1990). The influence of positive and negative effect on cognitive organization: Some implications for development. Psychological and biological approaches to emotion, p. 89.
  5. Ashby, F.G., Isen, A.M. & Turken, A.U. (1999). A neuropsychological theory of positive affect and its influence on cognition. Psychological Review, 106, 529–550.
  6. Aspinwall, L. G. (1998). Rethinking the role of positive affect in self-regulation.Motivation and Emotion, 22(1), 1-32.
  7. Aspinwall, L. G. (2004). Dealing with Adversity: Self-regulation, Coping, Adaptation, and Health.
  8. Isen, A. M. (1990). The influence of positive and negative effect on cognitive organization: Some implications for development. Psychological and biological approaches to emotion, 75-94.
  9. Stein, N., Folkman, S., Trabasso, T., & Richards, T. A. (1997). Appraisal and goal processes as predictors of psychological well-being in bereaved caregivers. Journal of personality and social psychology, 72(4), 872.
  1. Fredrickson, B. L. (2001). The Role of Positive Emotions in Positive Psychology: The Broaden-and-Build Theory of Positive Emotions. The American Psychologist, 56(3), 218–226.
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1636988/pdf/ajpe84.pdf
  3. http://intercom.stc.org/2014/01/understanding-yourself-and-increasing-your-professional-value-through-self-reflection/
  4. Fredrickson, B. L., & Joiner, T. (2002). Positive emotions trigger upward spirals toward emotional well-being. Psychological science, 13(2), 172-175.
  5. http://www.psychologicalselfhelp.org/Chapter14.pdf
  6. http://www.ferris.edu/colleges/university/eccc/positive-mindset.htm
  7. http://www.psychologicalselfhelp.org/Chapter14.pdf
  8. Collins, N.L., & Ford, M. (2010). Responding to the needs of others: The interplay of the attachment and caregiving systems in adult intimate relationships. Journal of Social and Personal Relationships, 27(2), 235-244.
  9. Folkman, S., & Moskowitz, J. T. (2000). Positive affect and the other side of coping. American psychologist, 55(6), 647.
  10. Affleck, G., & Tennen, H. (1996). Construing benefits from adversity: Adaptational significance and dispositional underpinnings. Journal of personality, 64(4), 899-922.
  11. Folkman, S., & Moskowitz, J. T. (2000). Positive affect and the other side of coping. American psychologist, 55(6), 647.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,247 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา