ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปกติในคอมจะมีเครื่องคิดเลขติดมาอยู่แล้ว จะแก้โจทย์คณิตศาสตร์ไหนก็สบายมาก แต่จริงๆ คุณก็สร้างเครื่องคิดเลขเองได้ แค่เขียนโค้ด HTML อย่างง่าย บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการสร้างเครื่องคิดเลขด้วยโค้ด HTML ที่ต้องรู้คือภาษา HTML พื้นฐาน จากนั้นก็ copy โค้ดที่จำเป็นไปแปะในโปรแกรม text editor แล้วเซฟเป็นไฟล์ HTML ซะเลย เท่านี้คุณก็มีเครื่องคิดเลขส่วนตัวใช้ แค่เปิดไฟล์ HTML ในเบราว์เซอร์ที่ต้องการ วิธีนี้นอกจากคุณจะคิดเลขในเบราว์เซอร์ได้แล้ว ยังได้เรียนรู้พื้นฐานการเขียนโค้ดอีกด้วย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

รู้จักโค้ดที่จำเป็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โค้ดที่จะใช้สร้างเครื่องคิดเลข จะประกอบด้วย syntax หลายๆ ส่วนที่ทำงานร่วมกัน แบ่งแยกองค์ประกอบต่างๆ ของไฟล์โค้ด ให้อ่าน บทความวิกิฮาวนี้ จะได้รู้วิธีการเขียนโค้ด HTML เบื้องต้น หรืออ่านต่อไปว่าแต่ละบรรทัดข้อความมีหน้าที่อะไรในโค้ดที่จะใช้สร้างเครื่องคิดเลข
    • html : เป็น syntax ที่ใช้บอกทั้งไฟล์ว่าจะเขียนโค้ดด้วยภาษาอะไร มีภาษาสำหรับเขียนโค้ดหลายภาษาด้วยกัน ซึ่งพอพิมพ์ <html> จะเป็นการกำหนดแต่แรก ว่าไฟล์โค้ดนี้จะเขียนด้วยภาษา HTML ตรงไปตรงมาแบบนี้เลย! [1]
    • head : ถ้าโผล่มาเมื่อไหร่ ทุกอย่างต่อจากนั้นจะเป็นข้อมูลของข้อมูลอีกที หรือที่เรียกว่า "metadata" ปกติคำสั่ง <head> ใช้กำหนดสไตล์ของไฟล์ เช่น title, heading และอื่นๆ ให้นึกภาพว่าเป็นเหมือนร่มที่กางคลุมโค้ดที่เหลืออยู่ [2]
    • title : นี่คือชื่อไฟล์ เป็น attribute ที่ใช้กำหนดชื่อของไฟล์ที่จะเปิดในเบราว์เซอร์ html
    • body bgcolor= "#" : attribute นี้จะกำหนดสีของพื้นหลังและเนื้อหาของโค้ด หมายเลขที่ตามหลัง # อยู่ในเครื่องหมายคำพูด จะเป็น โค้ดของสีที่จะใช้
    • text= "" : ข้อความในเครื่องหมายคำพูดจะกำหนดสีของข้อความในโค้ด
    • form name="" : attribute นี้ใช้กำหนดชื่อของ form ที่ใช้กำหนดโครงสร้างของอะไรที่ตามมา แล้วแต่ความหมายของ form ที่ Javascript รู้ เช่น form name ที่เราจะใช้ในที่นี้คือ calculator หรือเครื่องคิดเลข ซึ่งจะสร้างโครงสร้างเฉพาะให้โค้ดนี้ [3]
    • input type="" : ใช้กำหนดว่าจะให้ทำอะไร attribute "input type" ใช้บอกโค้ดว่า ค่า (values) ในวงเล็บที่เหลือ เป็นข้อความประเภทไหน เช่น เป็น text หรือข้อความ, เป็นรหัสผ่าน, ปุ่มกด (ของเครื่องคิดเลข) และอื่นๆ [4]
    • value="" : คำสั่งนี้ใช้บอกโค้ดว่า อะไรจะอยู่ใน input type ที่กำหนดไว้ด้านบน อย่างถ้าของเครื่องคิดเลข ก็ใช้แสดงตัวเลข (1 - 9) และเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ต่างๆ (+, -, *, /, =) [5]
    • onClick="" : syntax นี้ใช้อธิบาย event หรือเหตุการณ์ ที่จะบอกโค้ดว่าต้องมีอะไรเกิดขึ้นหลังกดปุ่ม ถ้าเป็นเครื่องคิดเลข ก็คือให้แสดงข้อความในแต่ละปุ่ม ผู้ใช้จะได้เข้าใจ เพราะงั้นถ้าเป็นปุ่ม "6" ก็ต้องพิมพ์ document.calculator.ans.value+='6' ในเครื่องหมายคำพูด [6]
    • br : แท็กนี้ใช้เริ่ม line break ในโค้ด ให้ทุกอย่างที่ตามมาต้องขึ้นบรรทัดใหม่ข้างล่าง [7]
    • /form, /body, and /html : เป็นคำสั่งใช้บอกโค้ดว่าคำสั่งที่กำหนดให้มีผลไป (ตามขั้นตอนข้างบน) ได้จบลงแล้ว [8]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

โค้ด HTML พื้นฐานสำหรับสร้างเครื่องคิดเลข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้คุณลากคลุมข้อความในกรอบด้านล่าง โดยคลิกเคอร์เซอร์ค้างไว้ที่มุมซ้ายบนของกรอบ แล้วลากยาวไปที่มุมขวาล่างของกรอบ จนข้อความทั้งหมดกลายเป็นสีฟ้า จากนั้นกด "Command + C" ถ้าใช้ Mac หรือกด "Ctrl + C" ถ้าใช้ PC เพื่อ copy โค้ดลง clipboard
 < 
 html 
 > 
 < 
 head 
 > 
 < 
 title 
 > 
HTML Calculator </ 
 title 
 > 
 </ 
 head 
 > 
 < 
 body 
 bgcolor 
 = 
 "#000000" 
 text 
 = 
 "gold" 
 > 
 < 
 form 
 name 
 = 
 "calculator" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "1" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='1'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "2" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='2'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "3" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='3'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "4" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='4'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "5" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='5'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "6" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='6'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "7" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='7'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "8" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='8'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "9" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='9'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "-" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='-'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "+" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='+'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "*" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='*'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "/" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='/'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "0" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value+='0'" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "reset" 
 value 
 = 
 "Reset" 
 > 
 < 
 input 
 type 
 = 
 "button" 
 value 
 = 
 "=" 
 onClick 
 = 
 "document.calculator.ans.value=eval(document.calculator.ans.value)" 
 > 
 < 
 br 
 > 
Solution is < 
 input 
 type 
 = 
 "textfield" 
 name 
 = 
 "ans" 
 value 
 = 
 "" 
 > 
 </ 
 form 
 > 
 </ 
 body 
 > 
 </ 
 html 
 > 
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

สร้างเครื่องคิดเลข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลายโปรแกรมให้เลือกใช้ แต่ถ้าจะให้สะดวกและดี แนะนำ TextEdit หรือ Notepad [9] [10]
    • ถ้าใช้ Mac ให้คลิกไอคอนรูปแว่นขยายที่มุมขวาบนของหน้าจอ เพื่อเปิด Spotlight จากนั้นพิมพ์ TextEdit แล้วคลิกที่โปรแกรม (จะถูกเน้นด้วยแถบสีฟ้า)
    • ถ้าใช้ PC ให้เปิดเมนู Start ที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอ ในแถบค้นหาให้พิมพ์ Notepad แล้วคลิกที่โปรแกรม (จะโผล่มาในแถบผลการค้นหาทางขวา)
    • ถ้าใช้ Mac ให้คลิกที่เนื้อหาของเอกสาร แล้วกด "Command+V" จากนั้นคลิก "Format" ทางด้านบนของหน้าจอ แล้วคลิก "Make Plain Text" หลัง paste โค้ดแล้ว [11]
    • ถ้าใช้ PC ให้คลิกที่เนื้อหาของเอกสาร แล้วกด "Ctrl+V"
  2. โดยคลิกปุ่ม "File" ทางด้านซ้ายบนของหน้าต่าง แล้วคลิก "Save As..." ถ้าใช้ PC หรือคลิก "Save..." ถ้าใช้ Mac ในเมนูที่ขยายลงมา
  3. ในเมนู "Save As..." ให้พิมพ์ชื่อไฟล์ ตามด้วย ".html" แล้วคลิก "Save" เช่น ถ้าอยากให้ไฟล์ชื่อ my first calculator ก็ให้เซฟไฟล์ว่า "MyFirstCalculator.html"
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ใช้เครื่องคิดเลข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้พิมพ์ชื่อไฟล์ใน Spotlight หรือในแถบค้นหาของเมนู Start ตามที่อธิบายไปในขั้นตอนก่อนหน้า โดยไม่ต้องพิมพ์ extension "html"
  2. เบราว์เซอร์ตามค่า default จะเปิดเครื่องคิดเลขขึ้นมาเป็นหน้าเว็บใหม่
  3. ผลลัพธ์ที่ได้จะโผล่มาในแถบที่กำหนด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณ embed เครื่องคิดเลขนี้ไว้ในหน้าเว็บได้ ถ้าต้องการ
  • คุณใช้ฟังก์ชั่นสไตล์ของ HTML ปรับแต่งหน้าตาของเครื่องคิดเลขได้ตามต้องการ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,936 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา