ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการสร้างเว็บไซต์สไตล์ wiki ให้คุณเอง โดยใช้เว็บสร้าง wiki ฟรี อย่าง Wikia หรือ Wikidot หรือจะโฮสต์เว็บ wiki เองก็ได้ ถ้าเคยมีประสบการณ์โฮสต์เว็บไซต์มาก่อน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

สร้างด้วย Wikia

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยพิมพ์ http://fandom.wikia.com/ ในเบราว์เซอร์ของคอม เป็นเว็บใช้สร้าง wiki ฟรี ที่โฮสต์โดย Wikia
  2. เลือกไอคอนโปรไฟล์รูปคน ที่ด้านขวาบนของหน้า คลิก REGISTER' ในเมนูที่ขยายลงมา แล้วกรอกข้อมูลต่อไปนี้
    • Email — พิมพ์อีเมลที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
    • Username — ตั้ง username ที่จะใช้กับเว็บนี้ เช่น BluDoggy
    • Password — ตั้งรหัสผ่านที่จะใช้เวลาล็อกอิน พยายามเลือกรหัสผ่านที่เดายากแต่จำง่าย เช่น Yahoo
    • Birthdate — กรอกวันเดือนปีเกิด
  3. ที่เป็นปุ่มสีฟ้า ด้านล่างของหน้าต่าง เพื่อสร้างบัญชีใหม่
  4. ก่อนจะสร้าง wiki ได้ ต้องยืนยันตัวตนผ่านอีเมลก่อน โดยเข้า inbox ของอีเมลที่ใช้ คลิกอีเมลหัวข้อ "Confirm your email" ที่ได้จาก "FANDOM" แล้วคลิกปุ่ม CONFIRM NOW สีฟ้าในอีเมล เพื่อกลับไปยังหน้าโปรไฟล์ของคุณ
  5. ที่เป็นปุ่มสีฟ้า ด้านขวาบนของหน้า
  6. ในช่องพิมพ์ทางด้านบนของหน้า ให้พิมพ์ชื่อ wiki ที่ต้องการ
  7. ปกติใส่ชื่อ wiki แล้วจะได้ address เว็บ wiki ของคุณออกมาอัตโนมัติ ในช่อง "Give your wiki an address" แต่จะแก้ไข address นี้เองก็ได้
    • address ต้องไม่เหมือนใคร ถ้าพยายามสร้าง wiki ให้ใช้ address ของเว็บที่มีอยู่แล้ว จะขึ้นข้อความ error
    • ปกติ Wikia ให้บริการโฮสต์เว็บฟรี เพราะงั้น address เว็บ wiki ของคุณจะเป็น "www.[ชื่อ].wikia.com"
  8. คลิกช่อง "Language of your wiki" ให้ขยายลงมา แล้วคลิกเลือกภาษาที่ต้องการจากในช่อง
  9. มุมขวาล่างของหน้า
  10. พิมพ์อธิบายว่าคุณสร้าง wiki นี้เพื่ออะไร ในช่องด้านบนสุดของหน้า
  11. คลิกช่อง "Choose a Hub" ให้ขยายลงมา แล้วคลิกเลือกหมวดหมู่ wiki ที่ต้องการ
    • จะติ๊กเลือกหมวดหมู่ย่อยเพิ่มเติม หลังเลือกหมวดหมู่หลักด้วยก็ได้
  12. จะเจอปุ่มสีฟ้านี้ที่มุมขวาล่างของหน้า
  13. ถึงจะสร้าง wiki ด้วย Wikia แต่ก็คลิกเลือกธีมที่ต้องการได้
  14. เพื่อไปยังหน้า wiki ของคุณ ถึงตอนนี้ก็สร้างและเผยแพร่ wiki ในแบบของคุณเองเรียบร้อย!
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

สร้างด้วย WikiDot

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยพิมพ์ http://www.wikidot.com/ ในเบราว์เซอร์ของคอม เป็นเว็บใช้สร้าง wiki ฟรี ที่โฮสต์โดย Wikidot
  2. ในหัวข้อ "Create account" ของหน้านั้น ให้กรอกข้อมูลต่อไปนี้ตามช่องที่เกี่ยวข้อง
    • username — ตั้ง username ที่จะใช้เวลาล็อกอิน
    • email address — ใส่อีเมลที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
    • password — ตั้งรหัสผ่านที่ใช้เวลาล็อกอินเข้า Wikidot
  3. ที่เป็นปุ่มสีแดง ล่างส่วนสร้างบัญชี
  4. 4
    ยืนยันอีเมล. ก่อนจะสร้าง wiki ได้ ต้องยืนยันตัวตนผ่านอีเมลก่อน โดยเข้า inbox ของอีเมลที่ใช้ คลิกอีเมลหัวข้อ "New account information" ที่ได้จาก "Wikidot.com" แล้วคลิกลิงค์ Activate my account now สีแดงกลางอีเมล เพื่อไปยังหน้าบัญชีของคุณ
  5. 5
    คลิก tab Sites . ทางด้านบนของหน้า
  6. 6
    คลิก Create site . ที่เป็นปุ่มสีฟ้า มุมซ้ายล่างของหน้า
  7. 7
    ตั้งชื่อ wiki และ tagline. ทางขวาของหน้า ให้พิมพ์ชื่อ wiki ที่ต้องการในช่อง "Title" แล้วพิมพ์สโลแกนของเว็บในช่อง "Tagline"
  8. 8
    กำหนด address. ในช่อง "Web address" ให้พิมพ์ address ที่จะใช้กับ wiki ของคุณ
    • ในที่นี้ wiki ฟรีของคุณโฮสต์โดย Wikidot เพราะฉะนั้นชื่อเว็บที่ได้จะมี ".wikidot.com" ต่อท้าย (ไม่ใช่แค่ ".com")
  9. 9
    เลือกภาษา. คลิกช่อง "Language" ให้ขยายลงมา แล้วคลิกเลือกภาษาที่ต้องการจะใช้ใน wiki
  10. 10
    เลือกเทมเพลต. เลื่อนไปตามเทมเพลตที่มี แล้วเลือกเทมเพลตที่จะใช้โดยติ๊กช่องมุมขวาบน
  11. 11
    เลือกระดับการใช้งาน. ในหัวข้อ "Access policy" ให้ติ๊กหนึ่งในช่องต่อไปนี้
    • Open — ทุกคนสามารถเข้า wiki ของคุณ และสมัครสมาชิกได้
    • Closed — ทุกคนสามารถเข้า wiki ของคุณได้
    • Private — เฉพาะคุณและคนที่คุณอนุญาตเท่านั้น ที่จะเข้า wiki ของคุณได้
  12. 12
    สร้าง wiki ของคุณ. ติ๊กช่อง "Please confirm" แล้วคลิก Get my Wikidot site เพื่อสร้าง wiki และกลับไปยังหน้า home เท่านี้คุณก็มีเว็บ wiki ของตัวเองแล้ว!
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

โฮสต์เว็บ Wiki เอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลักๆ แล้วมีโปรแกรม Wiki Farm ที่คนนิยมอยู่ 2 โปรแกรมด้วยกัน
    • MediaWiki — เป็นโปรแกรม wiki ที่ดังที่สุดในโลกออนไลน์ อย่างเว็บ wikiHow, Wikipedia และเว็บ wiki อื่นๆ ก็ใช้โปรแกรมนี้ กระทั่ง wiki farm ดังๆ ส่วนใหญ่ก็ใช้ MediaWiki เช่นกัน [1]
    • TikiWiki — เป็นโปรแกรม wiki ที่ดังรองลงมา ใช้โฮสต์ทั้ง wiki และ wiki farm มากมาย TikiWiki มีจุดแข็งคือการสนับสนุนด้าน plugin คุณสามารถเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ อย่างเว็บบอร์ด (forum) แกลอรี่รูป ปฏิทิน และอื่นๆ ได้
  2. ถ้าตัดสินใจจะโฮสต์เว็บ wiki เอง ก็ต้องอัพโหลดโปรแกรม wiki เข้าเซิร์ฟเวอร์ซะก่อน บางโฮสต์ก็มาพร้อมโปรแกรม wiki ในตัว แต่อาจจะไม่ใช่โปรแกรมที่ตรงใจคุณ (เช่น มี TikiWiki เบื้องต้นมาให้ แต่คุณอยากใช้ MediaWiki มากกว่า) ต่อไปนี้คือขั้นตอนเบื้องต้นในการติดตั้ง MediaWiki
    • ถ้าอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตั้ง MediaWiki และ TikiWiki ให้ลองไปค้นหาเพิ่มเติมในเน็ตดู
    • โปรแกรม wiki จะมาในรูปของไฟล์บีบอัด (compressed file) ต้อง แตกไฟล์ (extract) นี้ลงคอมก่อน หรือแตกไฟล์ไว้ในเซิร์ฟเวอร์
    • ใส่โฟลเดอร์โปรแกรม wiki ที่แตกแล้ว ใน "web" directory ของเซิร์ฟเวอร์
    • เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ที่อัพโหลด เป็น URL ที่ต้องการจะใช้ เช่น ถ้าเว็บชื่อ www.example.com ให้เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์เป็น "w" ก็จะได้ homepage ของ wiki เป็น www.example.com/w/index.php
  3. MediaWiki นั้นรองรับ MySQL และ SQLite ถ้าคุณใช้ SQLite ก็แค่ตั้งชื่อฐานข้อมูล แล้วจะติดตั้งเองอัตโนมัติ แต่ถ้าใช้ MySQL ต้องดาวน์โหลดก่อน ถ้าเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ติดตั้งไว้ แล้วสร้างฐานข้อมูลใหม่ด้วยคำสั่งต่อไปนี้

    create database wikidb;

    grant index, create, select, insert, update, delete, alter, lock tables on wikidb.* to 'username'@'localhost' identified by 'password';
    • เปลี่ยน username กับ password เป็น username กับรหัสผ่านที่จะใช้ ในฐานะเจ้าของ wiki
    • localhost ก็ปล่อยเป็น "localhost" ไว้ เว้นแต่ฐานข้อมูลของคุณจะอยู่ในเซิร์ฟเวอร์อื่น ไม่ใช่เซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้ง wiki แบบนี้ให้เปลี่ยน localhost เป็น address เซิร์ฟเวอร์ของฐานข้อมูล
    • ให้อ่าน บทความวิกิฮาวนี้ ถ้าอยากรู้วิธีสร้างฐานข้อมูล MySQL
  4. พออัพโหลดไฟล์ MediaWiki และสร้างฐานข้อมูลแล้ว ให้ไปที่หน้า index.php ของเซิร์ฟเวอร์ ในเบราว์เซอร์ เพื่อ run script ติดตั้งอัตโนมัติ พอ Mediawiki ทดสอบ configuration แล้ว จะมีให้กรอกข้อมูล wiki ของคุณในแบบฟอร์ม [2]
    • Wiki name — ชื่อ wiki ที่จะแสดงใน metadata เว็บ wiki ของคุณ และใช้ทั่วทั้งเว็บ
    • Contact e-mail — อีเมลแอดมินหลัก จะแสดงในอีเมลแจ้งเตือนทั้งหมด และในบางหน้า error
    • Language — เลือกภาษาที่จะใช้กับ wiki ได้ในเมนูที่ขยายลงมา
    • Copyright and Licenses — ระบุข้อมูล license อย่าง GNU Free Documentation License ก็เป็น license ที่ Wikipedia ใช้
    • Admin username and password — บัญชีแอดมินหลัก ใช้บล็อกผู้ใช้ไม่ให้แก้ไข ปกติผู้ใช้จะไม่มีสิทธิ์แอดมิน แต่คุณเพิ่มแอดมินได้ในภายหลัง
    • Database host — ตำแหน่งของฐานข้อมูล ถ้าอยู่ในเซิร์ฟเวอร์เดียวกันกับโปรแกรม wiki ให้ตั้งเป็น localhost
    • Database name — ชื่อฐานข้อมูล
    • Database username/password — username กับรหัสผ่านที่ใช้เข้าฐานข้อมูล [3]
  5. พอได้ฐานข้อมูลเบื้องต้นแล้ว ก็ปรับแต่งหน้าตาของเว็บโดยใช้สกินของผู้ใช้ด้วยกัน หรือลองผิดลองถูกกับโค้ด CSS ก็ได้
    • อย่าลืมเปลี่ยน โลโก้ ของ wiki ให้ตรงตามจุดประสงค์ด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

สร้างเว็บ Wiki ยังไงให้ปัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ารู้จุดประสงค์ของ wiki ชัดเจน ก็จะเลือกโปรแกรมและเว็บโฮสต์ได้ตรงจุดที่สุด Wiki มีทั้งแบบส่วนตัว เป็นชุมชนใหญ่ หรือผสมกัน คุณจะใช้ wiki ไว้วางแผนเป้าหมายชีวิต เป็นคู่มือผลิตภัณฑ์ขององค์กร สื่อสารกับเพื่อนร่วมโปรเจ็คต์ ทำจดหมายเวียนในหมู่บ้าน หรือชมรมคนคอเดียวกัน ก็ตามต้องการ
    • Wiki เหมาะกับการรวบรวมข้อมูลหลากหลาย ให้นักเขียนและบรรณาธิการผู้ทรงความรู้ได้มาแบ่งปันความรู้กันเยอะๆ ถ้าอยากให้ wiki ตัวเองดังๆ สมาชิกคึกคัก ก็ต้องเน้นการสนทนากันแบบปลายเปิด หรือหัวข้อกว้างๆ ให้ต่อยอดความเห็นและความรู้กันได้เรื่อยๆ
    • เช่น จะดีกว่าถ้าสร้าง wiki เกี่ยวกับค่ายเกม แล้วพูดถึงเกมทั้งหมดในค่าย ไม่ใช่แค่เกมเดียวจบ
  2. จะไม่ได้ประโยชน์เลย ถ้าสร้าง wiki ซ้ำกับเว็บเก่าที่มี เพราะจุดประสงค์ของ wiki คือการแชร์ความรู้ความเชี่ยวชาญกัน ไม่ได้ต่างคนต่างสร้าง
    • สำรวจ wiki เว็บอื่นๆ นอกเหนือจากเว็บที่คุณเลือกใช้ด้วย เช่น ถ้าสร้าง wiki ใน Wikia ก็ให้เช็คด้วยว่าใน Wikia และ Wikidot มี wiki เดียวกันหรือเปล่า
  3. wiki ที่ดีต้องมีแรงบันดาลใจและคำปรึกษา เพราะงั้นให้ประชุมงานกันกับคนอื่นๆ ให้เข้าใจตรงกัน คนส่วนใหญ่จะทำเต็มที่กว่า ถ้าได้รับการติดต่อแต่เนิ่นๆ เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ร่วมก่อตั้งหรือเป็นทีมบุกเบิก
  4. ปกติ wiki จะมาพร้อม default permissions เป็นการอนุญาตสิทธิ์ที่ตรงตามการใช้งานของคุณ แต่ส่วนใหญ่ผู้สร้าง wiki มักปรับเปลี่ยนในภายหลัง ว่าใครเข้าถึงข้อมูลไหน และแก้ไขอะไรได้บ้าง เรื่องนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะในองค์กรธุรกิจ ที่หลายคนต้องมาประสานงานกันในหน้าผลิตภัณฑ์เดียวกัน คงไม่มีใครอยากให้งานป่วนเพราะผู้ใช้นิรนามแน่นอน
    • คุณใช้หน้า settings ของ wiki ตั้งกฎเกณฑ์ได้ ว่าใครโพสต์หรือแก้ไขเนื้อหาได้บ้าง โดยกำหนดได้ว่าจะใช้สิทธิ์เดียวกันทั้ง wiki หรือเฉพาะโพสต์
  5. ทันทีที่สร้าง wiki เสร็จ ก็ถึงเวลาสร้างสรรค์เนื้อหาหรือบทความในเว็บต่อไป! ตอนแรกที่ wiki ของคุณถือกำเนิดเกิดขึ้น จะยังไม่มีหน้าต่างๆ ไม่มีผู้เขียนคนไหน คุณต้องเริ่มจากการสร้างเนื้อหาแรกขึ้นมาซะก่อน ถ้าเนื้อหาดีพอ คนก็จะแห่กันมาที่ wiki ของคุณ พอคนมากเข้า ผู้เยี่ยมชมก็จะกลายเป็นผู้สร้างสรรค์บทความของตัวเองขึ้นมา และแก้ไขบทความต่างๆ ใน wiki ของคุณ เรื่องนี้ต้องใช้เวลา แต่รู้ตัวอีกทีคุณก็ได้สร้างชุมชนขึ้นมาแล้ว!
    • ข้อสำคัญคือ "คุณ" คือคนกำหนดทุกอย่าง ว่าจะสร้างสรรค์เนื้อหาแรกขึ้นมาแบบไหน คนถึงจะหลั่งไหลมาสู่ wiki ของคุณ ทางที่ดีคุณควรรู้ลึกรู้จริงในเรื่องนั้น จะได้มีบทความอื่นๆ ที่ครอบคลุม และต่อยอดตามมา
  6. หน้าของหมวดหมู่ต่างๆ จะมีรายชื่อหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นอกจากหมวดหมู่ของเนื้อหาหลักแล้ว ให้สร้างหน้าของหมวดหมู่ "Organization" สำหรับหน้าอื่นๆ ในเว็บด้วย เช่น หน้าแรก รวมถึงสร้างหน้าหมวดหมู่ "Help" ไว้รวมบทความช่วยเหลือต่างๆ ในเว็บ ปกติคุณสามารถแบ่งหมวดหมู่ออกเป็นหมวดหมู่ย่อยได้ด้วย โดยจัดประเภทหน้าหมวดหมู่
  7. policy guide ก็คือกฎการใช้งานทั่วไป ว่าจะเขียนเนื้อหาใน wiki เรื่องอะไรได้บ้าง นโยบายแนวทางนี้ จะทำให้ผู้เขียนคนอื่นๆ ใน wiki รู้ว่าควรนำเสนอข้อมูลให้ผู้อ่านยังไง ไม่จำเป็นต้องเคร่งกฎระเบียบมาก ยืดหยุ่นเข้าไว้ เพราะจะไปจำกัดความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนคนอื่นๆ จนอาจไม่ได้ผลงานดีๆ
    • แนะนำให้กำหนดมาตรฐานว่าจะเชื่อมโยงลิงค์ต่างๆ ยังไง และมาตรฐานความน่าสนใจของบทความ
    • แน่นอนว่าไม่ใช่ผู้เขียนทุกคน ที่จะเขียนบทความตามแนวทางสไตล์การเขียนที่แนะนำไว้ แต่อย่างน้อยก็ใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบและแก้ไขบทความได้
    • การแย้งกันด้วยกฎเกณฑ์หรือแนวทางที่เป็นลายลักษณ์อักษร จะเห็นผลกว่าตำหนิต่อว่ากันด้วยคำพูด เพราะคนจะมีอคติต่อความเห็นของคนกันเอง มากกว่าข้อความที่เป็นแนวทางแนะนำ
  8. ถ้าพอรู้ syntax เบื้องต้นของ wiki จะทำให้สร้างบทความได้ดีมีประสิทธิภาพกว่า คุณสามารถแก้ไขหน้าต่างๆ ได้โดยตรง ไม่ต้องรอบรรณาธิการตรวจสอบ สามารถปรับเปลี่ยนผังและสไตล์ตามต้องการ
  9. ในที่นี้ไม่ใช่การขโมยไอเดียหรือรูปแบบของ wiki อื่นมาใช้ แต่เป็นการเรียนรู้และปรับใช้จากสไตล์และเทมเพลตของ wiki อื่นๆ เทมเพลตคือหน้าที่เป็นแนวทางให้หน้าอื่นๆ ได้ วิธีใช้เทมเพลตก็เช่น เสนอบทความที่ควรลบ ทำเครื่องหมายบทความไม่อัพเดท หรือเขียนโน้ตง่ายๆ
  10. ถึง wiki จะดีตรงที่ใครก็เข้ามาอ่านและแก้ไขหรือสร้างสรรค์บทความได้ แต่ก็นับเป็นข้อเสียที่ใหญ่พอๆ กัน เพราะยิ่งคนเข้ามาใช้งาน wiki เยอะ ก็ยิ่งเสี่ยงโดนก่อกวนมากขึ้นเท่านั้น โชคดีที่โปรแกรม wiki ส่วนใหญ่ ให้คุณย้อนเวอร์ชั่นบทความได้รวดเร็วทันใจ
    • อย่าฟิวส์ขาดง่าย ถ้าบทความทั้งเวอร์ชั่นเก่าและเวอร์ชั่นใหม่ เนื้อหาถูกต้องทั้งคู่ ให้เก็บเวอร์ชั่นของผู้เขียนอื่นไว้ เท่ากับคงเสน่ห์ของ wiki ไว้ ทำให้ผู้เขียนอื่นๆ มีกำลังใจจะสร้างสรรค์ผลงาน
  11. ถ้า wiki ของคุณน่าสนใจ จะพบว่ามีผู้เขียนที่หมั่นสร้างสรรค์ผลงานดีๆ เป็นประจำ ถ้ารู้ว่ามีใครขยันสร้างสรรค์ผลงานให้ wiki ของคุณ ก็ลองอนุญาตสิทธิ์พิเศษเพิ่มเติมให้เขาดู เป็นกำลังใจและ ให้เกียรติ บรรณาธิการของเว็บหน่อย สำคัญว่าทุกคนมีแนวทางคำแนะนำให้อุ่นใจ ได้รับความช่วยเหลือในยามจำเป็น และมีแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ใน wiki
    • ถ้าดึงใครในสมาชิกขึ้นมาเป็นแอดมิน เท่ากับแบ่งเบาภาระการตรวจสอบและแก้ไขบทความให้ตัวคุณเองด้วย
    • สร้างเว็บบอร์ดและหน้าพูดคุยไว้ให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เรื่องกฎเกณฑ์และสไตล์การเขียนใน wiki
    • ให้ทีมแอดมินของคุณโหวตกันทุกครั้งที่จะเปลี่ยนแปลงแนวทางและสไตล์การเขียน
    • จัดงานรวมตัว ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น แข่งกันปรับแก้บทความ เพื่อให้แฟนพันธุ์แท้ wiki ของคุณได้สนุกสนาน มีสีสัน
  12. ทำทุกวิถีทางให้คนรู้จัก wiki ของคุณในวงกว้างที่สุด
    • ใส่คำอธิบายใน WikiIndex (wikiindex.org) ว่า wiki ของคุณเกี่ยวกับอะไร
    • ค้นหา wiki รายย่อย แล้วเสนอให้มา collab (collaboration) หรือสร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน
    • อย่าลังเลที่จะถามหรือปรึกษา wiki รายอื่นๆ
    • โฆษณา wiki ตัวเองผ่าน social media
  13. พอ wiki ของคุณสร้างชื่อขึ้นเรื่อยๆ ให้พยายามเพิ่มเติมฟีเจอร์เจ๋งๆ ใหม่ๆ ที่ดีต่อเว็บเข้าไป เช่น เว็บบอร์ด (forums) ห้องแชท โพลล์ ปฏิทิน และอื่นๆ พวกนี้ทำให้ wiki ของคุณสารพัดประโยชน์ขึ้น ความคิดสร้างสรรค์ นี่ล่ะ ที่จะพาคุณก้าวไกล!
    • อย่าพลาดทุกอัพเดทใหม่ของโปรแกรม wiki ที่ใช้ จะได้มีฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดพร้อมใช้ และมั่นใจว่าระบบปลอดภัย ไม่มีช่องโหว่
  14. สุดท้ายแล้ว wiki ควรจะเน้นการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีมีประโยชน์ คุณควรสนุกกับสมาชิกและ wiki ที่สร้าง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าจะพัฒนา wiki ให้ดีขึ้นไปได้ยังไง อย่าลืมว่าอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องการสื่อสารระหว่างกัน และ wiki เองก็เป็นหนึ่งในตัวกลาง สำหรับรวบรวมและแบ่งปันข้อมูลกันอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ เรายินดีด้วยสำหรับ wiki ของคุณ และขอให้สนุกกับการสร้างสรรค์!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หัดเขียนโค้ด HTML , CSS และ Javascript แล้วจะสามารถปรับแต่งหน้าของ wiki ได้ตามใจชอบ ไม่มีกฎเกณฑ์มาจำกัด
  • หัวใจสำคัญของ wiki อยู่ที่การเป็นชุมชน จริงๆ แล้วคุณเหมือนจะหมดหน้าที่ไปกลายๆ ทันทีที่สร้าง wiki เสร็จ เพราะหลังจากนั้นสมาชิกทั้งหลายจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของเนื้อหาและรูปแบบของ wiki ภายในกฎเกณฑ์ที่เห็นพ้องต้องกันอีกที
โฆษณา

คำเตือน

  • ยิ่งคนเยอะ ก็ยิ่งเสี่ยงที่บางคนจะมาแกล้งลบหรือป่วนเนื้อหาใน wiki ของคุณ ซึ่งก็แก้ได้โดยย้อนกลับไปเวอร์ชั่นเก่าของบทความ แต่แนะนำให้ backup ข้อมูลแยกไว้นอกระบบอีกที ถ้า wiki ของคุณใช้ MediaWiki หรือ FANDOM ให้ใช้ฟังก์ชั่น “Protect” ป้องกันคนไม่ได้รับอนุญาต มาแก้ไขหน้าดังกล่าว หรือใช้ “blocks” ป้องกันไม่ให้บาง IP address หรือบางผู้ใช้มาแก้ไขหน้านั้นๆ ไม่ว่าจะป้องกันแน่นหนาแค่ไหนก็ตาม
  • ถ้าไม่ทำตามเงื่อนไขการใช้งานของเว็บ wiki ที่เลือก ระวัง wiki ของคุณจะถูกลบหายไป
  • ถ้ามีเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์โผล่มาใน wiki ของคุณ นอกจากถูกลบ wiki แล้ว อาจโดนดำเนินคดีด้วยอีกทาง โดยเฉพาะถ้าเนื้อหานั้นเป็นสาธารณะ
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
หา URL ของเว็บไซต์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,913 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา