ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนที่มาจากต่างวัฒนธรรมนั้น คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับเขาทั้งทางวาจาและภาษาท่าทาง และคุณยังสามารถทำให้การพูดคุยราบรื่นขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเขาและฝึกยอมรับความแตกต่าง เมื่อคุณรู้วิธีที่จะสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว คุณก็จะสามารถเรียนรู้จากผู้คนที่มาจากต่างวัฒนธรรม และสามารถแบ่งปันวัฒนธรรมของคุณให้คนอื่นเรียนรู้ได้ด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สร้างทัศนคติที่ยืดหยุ่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [1] ความรู้แม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นประโยชน์อย่างมาก ถ้าคุณมีเวลาก่อนออกเดินทางหรือพบปะผู้คนจากวัฒนธรรมอื่น พยายามหาเวลาเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งพื้นฐานที่ “ควรและไม่ควรทำ” ในวัฒนธรรมนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถหาข้อมูลเรื่องนี้ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต [2]
  2. วัฒนธรรมต่างๆ จะพูดด้วยระดับความดังที่ต่างกัน แสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมาไม่เท่ากัน และอาจจะคุ้นเคยกับการ “ชวนคุยเล่น” หรือไม่ก็ได้ รวมถึงแสดงความแตกต่างด้านอื่นๆ ในการสื่อสาร [3] เวลาสื่อสารกับคนที่มาจากวัฒนธรรมอื่น เตรียมใจให้พร้อมที่จะเจอกับความแตกต่างในลักษณะนี้ รวมถึงความแตกต่างอื่นๆ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนด้วย
  3. เวลาที่สื่อสารกับคนที่มาจากต่างวัฒนธรรม มันอาจจะมีกฎที่รู้กันเกี่ยวกับชนชั้นทางสังคมที่คุณไม่คุ้นเคย [4] [5] เช่น คุณอาจจะมาจากวัฒนธรรมที่ผู้ชายและผู้หญิงสามารถพูดคุยกันได้อย่างเท่าเทียม แต่คุณอาจจะเจอะเจอคนที่มาจากวัฒนธรรมที่ผู้ชายมักเป็นฝ่ายพูดมากกว่าผู้หญิงเมื่ออยู่รวมกัน ในทำนองเดียวกันคุณอาจจะต้องพูดคุยกับคนที่คิดว่าผู้น้อยควรให้ผู้ใหญ่เป็นฝ่ายพูดมากกว่า ในขณะที่คุณอาจจะมองว่าคนทุกวัยมีสิทธิ์ที่จะพูดได้เท่าๆ กัน
  4. บอกสิ่งที่ไม่เข้าใจระหว่างสื่อสารออกไปตรงๆ. ถ้าคุณไม่เข้าใจอีกฝ่ายหรือคิดว่าเขาหรือเธอไม่เข้าใจคุณ อย่าปล่อยผ่าน อย่าหยาบคายหรือทำให้เขาไม่พอใจ แต่ค่อยๆ อธิบายปัญหา การพูดออกไปตรงๆ นั้นดีกว่าการปล่อยให้ปัญหาในการสื่อสารผ่านเลยไป เพราะมันอาจจะกลายเป็นปัญหาลุกลามในภายหลัง
    • ถ้าคุณคิดว่าตัวเองไม่เข้าใจว่าอีกฝ่ายหมายความว่าอะไร ลองพูดประมาณว่า “ฉันว่าฉันไม่ค่อยเข้าใจคุณเท่าไหร่ เราย้อนกลับไปคุยเรื่องนั้นกันอีกทีได้ไหมคะ”
    • ถ้าคุณคิดว่าเขาไม่เข้าใจคุณ ลองพูดประมาณว่า “เดี๋ยวเราย้อนกลับไปคุยเรื่องนั้นกันอีกทีเพื่อให้แน่ใจว่าเราเข้าใจตรงกันนะคะ” และคุณก็อาจจะเปิดช่องให้เขาถามคำถามด้วย
  5. แต่ละวัฒนธรรมก็มีชุดค่านิยมหลัก ความเชื่อ และอคติในแบบของตัวเอง สัญญาณเหล่านี้อาจปรากฏขึ้นระหว่างที่คุณสื่อสารกับคนที่มาจากวัฒนธรรมอื่น แต่ในระหว่างการสื่อสารโดยทั่วไปนั้นไม่ใช่เวลาที่จะมาตัดสินคนอื่นจากความแตกต่างเหล่านี้ แต่คุณควรให้เกียรติพวกเขาอย่างที่เขาเป็น และยอมรับในความแตกต่าง [6] ไม่แน่ว่าคุณเองก็อาจจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ด้วยก็ได้
    • แม้ว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาจจะปรากฏขึ้นมาอย่างเด่นชัดในระหว่างการสนทนา แต่ก็ให้ยอมรับและเปิดใจแทนที่จะโต้เถียง เช่น ถ้าคุณเป็นคนไทยและมีคนพูดว่าคนไทยไม่ค่อยกระตือรือร้นเวลาทำงาน ให้พูดประมาณว่า “ก็จริงอยู่ครับที่คนไทยหลายคนทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ซึ่งจริงๆ ก็มีหลายเหตุผลที่ทำให้พวกเขาเป็นแบบนั้น คุณเล่าให้ผมฟังหน่อยได้ไหมครับว่า วัฒนธรรมของคุณมีมุมมองต่อการทำงานยังไงบ้าง”
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    "จำไว้ว่า: นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และสติปัญญานั้น ไม่ขึ้นอยู่กับอายุ ไม่ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับสีผิว และ ไม่ขึ้นอยู่กับเพศ "

    Maureen Taylor

    ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารสาธารณะ
    มอรีน เทย์เลอร์เป็น CEO และผู้ก่อตั้ง SNP Communications บริษัทสื่อสารองค์กรในซานฟรานซิสโก เธอได้ช่วยผู้นำ ผู้ก่อตั้ง และผู้คิดค้นนวัตกรรมจากทุกวงการได้ส่งมอบสารที่อยากจะสื่อออกไปยังสาธารณชนมากว่า 25 ปี
    Maureen Taylor
    ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารสาธารณะ
  6. การสื่อสารกับคนที่มาจากวัฒนธรรมอื่นอาจเป็นประสบการณ์ที่ทั้งเปิดโลกและมีคุณค่า แต่ก็มีความยากลำบากอยู่เช่นกัน อย่าไปคาดหวังว่าทุกอย่างจะต้องฟังดูเป็นเหตุเป็นผลหรือเข้าใจได้ทั้งหมด อดทนกับผู้อื่น และขอให้พวกเขาอดทนกับคุณด้วยเช่นกัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สื่อสารด้วยวาจา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าไม่จำเป็นอย่าตะโกนหรือปฏิบัติกับคนอื่นเหมือนว่าเขาไม่เข้าใจ [7] การขึ้นเสียงไม่ได้ช่วยให้เขาเข้าใจคุณได้ง่ายขึ้น แถมยังดูหยาบคายอีกด้วย ในทำนองเดียวกันแม้ว่าการสื่อสารกับคนที่มาจากต่างวัฒนธรรมจะมีความยากลำบากอยู่บ้าง แต่ก็อย่าทำเหมือนว่าเขาโง่ ปัญหาในการสื่อสารเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม ไม่ได้เป็นเรื่องของสติปัญญา
  2. สุภาพและใช้รูปแบบการเรียกคู่สนทนาแบบเป็นทางการจนกว่าอีกฝ่ายจะบอกชัดเจนว่าไม่ต้องเป็นทางการมากนัก (เช่น คู่สนทนาทางธุรกิจบอกให้คุณเรียกชื่อเขาแทนการเรียกนามสกุล) [8] ซึ่งในแต่ละวัฒนธรรมก็จะมีวิธีการเรียกผู้อื่นที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้:
    • เรียกชื่อและนามสกุล
    • เรียกนามสกุลอย่างเดียว
    • เรียกคำนำหน้า เช่น “มิสเตอร์” หรือ “เซอร์”
    • ใช้คำสรรพนามที่เป็นทางการหากมีอยู่ในภาษาที่ใช้สื่อสาร
  3. ถ้าคุณจะต้องสื่อสารกับคนที่พูดคนละภาษา พยายามเรียนรู้วลีพื้นฐานสักเล็กน้อยล่วงหน้า สถานการณ์ของคุณอาจจะไม่จำเป็นต้องพูดภาษานั้นหรือคุณอาจจะไม่สามารถพูดภาษานั้นได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ก็ให้พยายามเรียนรู้สักหน่อย
    • ฝึกคำพูดพื้นฐาน ได้แก่ “สวัสดี” “กรุณา” “ขอบคุณ” “สบายดีไหม” และอื่นๆ
    • พกหนังสือรวมวลีหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยให้คุณสามารถหาวลีที่คุณอยากจะพูดแต่ไม่รู้ได้
    • อดทนเวลาที่คนอื่นพยายามพูดภาษาของคุณ
  4. พยายามใช้ภาษาหลักของเขาหากคุณอยู่ท่ามกลางชนกลุ่มน้อยทางภาษา. ถ้าคุณต้องสื่อสารกับคนที่พูดคนละภาษา พยายามใช้ภาษาของเขาก่อนหรือมากเท่าที่จะพูดได้ ถึงคุณจะพูดได้แค่ “สวัสดี” กับ “สบายดีไหม” แต่ท่าทีของคุณจะทำให้พวกเขาประทับใจ
  5. ข้อนี้สำคัญมาก ยกเว้นว่าคุณจะมั่นใจจริงๆ ว่าคำนั้นใช้อย่างไรในวัฒนธรรมนั้นๆ การใช้ภาษาที่ไม่ใช่มาตรฐานหรือหยาบคายอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้คนอื่นฟังคุณไม่เข้าใจ และอาจทำให้พวกเขาไม่พอใจคุณได้ เนื่องจากภาษาสแลงและคำพูดดูหมิ่นนั้นซับซ้อนและขึ้นอยู่กับบริบทเสียเป็นส่วนใหญ่ การเลี่ยงไม่ใช้ภาษาเหล่านี้จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ยกเว้นว่าคุณจะมั่นใจจริงๆ ว่าคุณสามารถใช้ภาษาเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

สื่อสารด้วยภาษาท่าทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในบางวัฒนธรรม การใช้นิ้วชี้ ทำสัญลักษณ์ “โอเค” และทำท่าทางอื่นๆ อาจสร้างความไม่พอใจได้ [9] และเนื่องจากว่าคุณไม่รู้ว่าการทำมือแบบไหนที่อาจสร้างความเข้าใจผิดในลักษณะนี้ได้ ให้ใช้วิธี “ผายมือ” แทน [10] เช่น พยายามใช้ทั้งมือเวลาที่ต้องชี้ไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  2. [11] เท้าสองข้างอยู่บนพื้น นั่งหลังตรง อย่าโบกไม้โบกมือมากเกินไป หรือไม่เช่นนั้นก็รักษาท่าทีที่ดูระมัดระวัง เพราะกิริยาท่าทางบางอย่างก็อาจทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่ดีได้ เช่น ในบางวัฒนธรรมการโผล่เท้าออกมาอาจถือว่าเป็นกิริยาที่หยาบคาย เพราะฉะนั้นคุณต้องไม่นั่งไขว่ห้างจนส้นเท้าโผล่ออกมา [12]
    • ถ้าสถานการณ์บ่งบอกชัดเจนว่าคุณสามารถลดระดับความเป็นทางการลงได้ ก็ค่อยปฏิบัติตามนั้น
  3. บางวัฒนธรรมอาจจะคุ้นเคยกับการสัมผัสทางกายระหว่างบุคคลเวลาที่สื่อสารกันมากกว่าวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น บางวัฒนธรรมอาจจะเขย่าหรือจับมือแรงกว่าวัฒนธรรมอื่นๆ [13]
    • อย่าถือสาถ้าคนจากอีกวัฒนธรรมหนึ่งเขาคุ้นเคยกับการสัมผัสระหว่างสื่อสารมากหรือน้อยกว่าคุณ ยกเว้นว่าคุณคิดว่าตัวเองน่าจะถูกคุกคามหรือล่วงละเมิด ถ้าคุณรู้สึกอึดอัด ก็บอกให้อีกฝ่ายรู้
    • กฎทั่วไปคือเวลาสื่อสารกับคนที่มาจากวัฒนธรรมอื่น ให้ระมัดระวังเวลาแตะเนื้อต้องตัวเขา แต่ถ้าพวกเขาดูเหมือนจะมีการแตะเนื้อต้องตัวกันมากกว่า ก็ให้หลิ่วตาตามถ้าคุณสบายใจ
  4. ในบางวัฒนธรรม การมองเข้าไปในดวงตาอีกฝ่ายขณะพูดคุยถือเป็นสัญญาณของความซื่อสัตย์และความสนใจ แต่ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการไม่ให้ความเคารพ ชวนปะทะ หรือเป็นสัญญาณของความสนใจทางเพศ ในทางกลับกันบางวัฒนธรรมก็มองว่า การไม่สบตาผู้ใหญ่ขณะสื่อสารถือเป็นสัญญาณของการให้เกียรติ [14]
  5. [15] เป็นเรื่องธรรมดาที่คนจากต่างวัฒนธรรมจะแสดงสีหน้าต่างกัน เช่น คนไทยอาจจะยิ้มอยู่บ่อยๆ แต่วัฒนธรรมอื่นก็อาจจะมองว่าการยิ้มบ่อยเกินไปเป็นสัญลักษณ์ของความตื้นเขิน เวลาที่สื่อสารกับคนที่มาจากวัฒนธรรมอื่น คุณอาจจะสังเกตได้ว่าเขาแสดงออกทางสีหน้า ว่ามีความสุข เศร้า คับข้องใจ และอื่นๆ) มากกว่าที่คุณคุ้นเคย หรือคุณอาจจะสังเกตได้ว่าพวกเขาแทบไม่แสดงออกทางสีหน้าเลย
    • การสื่อสารส่วนใหญ่แล้วเป็นการสื่อสารด้วยภาษาท่าทางไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมไหนก็ตาม แต่คุณก็สามารถเน้นไปที่เนื้อหาของสิ่งที่กำลังพูดถึง และถามคำถามเพื่อความกระจ่างได้ถ้าจำเป็น เช่น ถ้าคนที่คุณสื่อสารด้วยจู่ๆ ก็ยิ้มออกมาหรือหัวเราะ คุณก็อาจจะต้องพูดออกไปว่า “จริงๆ แล้วฉันจริงจังนะคะ”
  6. เคารพระยะห่างระหว่างบุคคลตามสถานการณ์นั้นๆ. บางวัฒนธรรมอาจจะเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลมากกว่าวัฒนธรรมอื่นๆ ถ้าคุณกำลังสื่อสารกับคนที่มาจากอีกวัฒนธรรมหนึ่ง และคุณรู้สึกว่าเขาเข้าใกล้คุณหรือเว้นระยะห่างจากคุณมากกว่าที่คุณคุ้นเคย ก็ไม่ได้หมายความว่าเขากำลังรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวหรือพยายามที่จะหลบเลี่ยงคุณ แค่พยายามทำตามบทบาทในเรื่องของพื้นที่ระหว่างบุคคลและสื่อสารให้ดีที่สุด
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,912 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา