ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าใครต่างก็ต้องเคยเศร้ากันบ้าง ในหลายกรณีที่ความเศร้าเป็นปฏิกิริยาปกติของมนุษย์ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์ในชีวิต ข่าวดีก็คือทุกคนต่างมีความสามารถในการที่จะมีความสุข และมีสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อปลดล็อกความสามารถนั้นเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ค้นหาความสุขภายใน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองซื้อสมุดบันทึกที่คุณสามารถเอาไว้เขียนความคิดและความรู้สึกของคุณได้โดยเฉพาะ หลายครั้งที่การเขียนถึงความรู้สึกโศกเศร้าเพื่อให้เราเข้าใจมันมากขึ้นนั้นเป็นวิธีการที่ดี วิธีนี้ช่วยให้คุณได้ "ปรับตัว" เข้าหาตัวเองและเข้าใจตนเองได้ในระดับที่ลึกขึ้น [1]
    • การเขียนบันทึก แม้จะเขียนแค่วันละ 20 นาที ก็ช่วยทำให้ความคิดของคุณกระจ่างและได้จัดระเบียบความคิดของคุณที่มีต่อความเศร้า ซึ่งช่วยให้คุณสามารถระบุได้ว่า ทำไมคุณถึงรู้สึกเศร้า นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณได้ติดตามรูปแบบพฤติกรรมและอารมณ์ของตัวเองอีกด้วย งานวิจัยพบว่า การเขียนบันทึกทำให้สุขภาพกายของคุณดีขึ้น และเพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกันเพราะช่วยลดความเครียด [2]
    • ขณะเขียนให้สนใจสิ่งที่คุณกำลังเขียน ไม่ต้องสนใจว่าจะเขียนอย่างไร พูดอีกอย่างก็คือ ไม่ต้องสนใจเรื่องความสละสลวยหรือการสะกด ตัวอย่างเรื่องที่คุณเขียนในบันทึกอาจจะเป็น : " วันนี้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ความเศร้าเรื่องการหย่ายังคงตามหลอกหลอนฉัน บางทีฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฉันควรเศร้ากับมันหรือเปล่า เพราะถึงจะเพิ่งหย่าเมื่อปีที่แล้ว แต่ชีวิตแต่งงานของเราก็จบลงไปนานก่อนหน้านั้น ฉันรู้ดี แต่ฉันก็กังวลว่าตัวเองกำลังติดอยู่กับอดีต ลูกๆ เองก็ทุกข์ใจ ฉันก็โกรธตัวเองเหมือนกันที่ปล่อยวางความเศร้าไม่ได้สักที คนอื่นเขาก็หย่ากันตั้งเยอะตั้งแยะ ทำไมฉันถึงต้องมาทุกข์ใจขนาดนี้นะ ตอนที่มีวันแย่ๆ ครั้งที่แล้วฉันคุยกับน้องสาว เดี๋ยวโทรหาน้องดีกว่า ฉันรู้ดีว่าพรุ่งนี้ทุกอย่างก็จะยังดำเนินต่อไป
  2. งานวิจัยพบว่า การยิ้มทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น [3] นอกจากนี้การหัวเราะยังหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นด้วย [4]
    • แม้ว่าคุณจะไม่ค่อยอยากยิ้มหรือหัวเราะเท่าไหร่ แต่การใช้กล้ามเนื้อเล็กๆ ที่ช่วยในการหัวเราะและยิ้มเหล่านั้นก็ทำให้คุณมีความสุขขึ้นได้จริงๆ เพราะฉะนั้นลองแกล้งยิ้มดูสิ มันอาจจะรู้สึกฝืนๆ ในช่วงแรก แต่การหัวเราะหรือยิ้มกระตุ้นความทรงจำที่สนุกๆ หรือมีความสุขได้ และทำให้คุณหัวเราะหรือยิ้มออกมาได้จริงๆ ด้วย [5]
    • ถ้าคุณไม่อยากลองฝืนยิ้มหรือหัวเราะ ให้ลองดูหนังตลก อ่านหนังสือตลกๆ หรือใช้เวลากับเพื่อนที่คุณรู้ดีว่าจะทำให้คุณยิ้มได้
  3. ถึงคุณจะไม่อยากร้องไห้เพราะคุณกำลังพยายามทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นและกลับมามีความสุขอีกครั้ง แต่บางครั้งการร้องไห้ก็ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้ ถ้าคุณรู้สึกอยากร้องไห้ ก็อย่ากลั้นไว้และปล่อยให้น้ำตาไหลออกมา การร้องไห้อาจทำให้คุณรู้สึกดีและโล่งมากยิ่งขึ้น เพราะการปล่อยให้น้ำตาไหลออกมาช่วยสร้างความรู้สึกที่ว่า คุณได้ระบายความเศร้า " ออกจากอก" แล้ว
    • งานวิจัยชี้ว่า คนส่วนใหญ่รู้สึกดีขึ้นหลังร้องไห้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า การร้องไห้เป็นหนึ่งในวิธีกำจัดฮอร์โมนความเครียดออกจากร่างกายตามธรรมชาติ [6] [7]
    • แต่ถึงการร้องไห้จะมีประโยชน์ในการลดความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น แต่คุณก็ต้องรู้ว่าการไม่สามารถควบคุมน้ำตาได้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาด้านอารมณ์หรือฮอร์โมนที่ร้ายแรงกว่า [8] ถ้าคุณพบว่าตัวเองไม่สามารถหยุดร้องไห้ได้ คุณควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอย่างแพทย์หรือนักบำบัด
  4. สิ่งอื่นๆ ในชีวิตที่ควรค่าแก่การมีชีวิตอยู่คืออะไร พยายามนึกถึงทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตที่คุณให้คุณค่า เช่น เพื่อนๆ ครอบครัว และสุขภาพ แล้วคุณอาจจะเห็นว่าคุณมีเรื่องให้สุขใจและขอบคุณมากมาย แม้ว่าช่วงเวลานั้นคุณจะไม่รู้สึกมีความสุขหรือรู้สึกขอบคุณสักเท่าไหร่ก็ตาม งานวิจัยมากมายพบว่า ความรู้สึกขอบคุณเชื่อมโยงกับความสุขอย่างลึกซึ้ง [9]
    • นึกถึงความทรงจำดีๆ [10] ถ้าคุณเคยผ่านช่วงเวลาดีๆ มาแล้ว นั่นหมายความว่าช่วงเวลาดีๆ ย่อมเกิดกับคุณได้อีก และสิ่งนี้เองที่เป็นความงดงามของความทรงจำ แค่เพราะตอนนี้คุณรู้สึกแย่ก็ไม่ได้แปลว่าว่าพรุ่งนี้คุณจะยังรู้สึกแบบนี้อยู่
    • ในกรณีที่ความเศร้านั้นเกิดจากเหตุการณ์เล็กๆ ในชีวิต เช่น ได้คะแนนการบ้านไม่ดี ก็ให้ปรับมุมมองและคิดว่าอีก 10 ปีข้างหน้าคุณจะยังเศร้าเรื่องนี้อยู่ไหม และถึงตอนนั้นเหตุการณ์นี้จะยังสำคัญอยู่หรือเปล่า ลองพิจารณาคำพูดโบราณๆ อย่าง "อย่าไปเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่อง" ดูบ้าง [11]
    • พยายามหาสิ่งที่ทำให้คุณสุขใจให้ได้วันละ 1 อย่าง มีคำท้ามากมายในเว็บไซต์โซเชียลมีเดียทั้ง Facebook Twitter และ Instagram ที่มีแฮชแท็กอย่าง "100happydays" หรือ "findthelight" เพื่อกระตุ้นให้คนมองหาช่วงเวลาแห่งความสุขและความรู้สึกขอบคุณเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน [12]
    • แม้แต่ความเศร้าที่มาจากเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดในชีวิตอย่างการสูญเสียสามี/ภรรยา การทบทวนชีวิตในมุมกว้างก็อาจช่วยคุณได้ เช่น คุณอาจจะพบความสุขใจจากการได้นึกถึงความทรงจำดีๆ ที่มีร่วมกับคนรักที่เสียชีวิตไปแล้ว และได้สัมผัสถึงความสุขและการรู้สึกขอบคุณที่คุณได้มีเขาอยู่ในชีวิต แม้ว่าคุณจะเศร้าที่เขาจากคุณเร็วเกินไปก็ตาม
  5. บางครั้งเวลาที่เราเศร้า มันก็ยากที่จะคิดเรื่องอื่น แต่การจมอยู่กับความเศร้าอาจเป็นอันตรายมากกว่ามีประโยชน์ และทำให้คุณรู้สึกสิ้นหวังและไร้พลังมากยิ่งขึ้น [13] การเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่เรื่องดีๆ สามารถช่วยให้คุณจดจ่ออยู่กับเรื่องอื่นๆ นอกจากความเศร้าได้ และยังช่วยลดความเครียดอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "การลื่นไหล" คุณไม่ได้หนีปัญหา แต่คุณจดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่ทำให้คุณลืมเวลาและสถานที่ต่างหาก [14] วิธีที่ช่วยให้คุณเบี่ยงเบนความสนใจได้ก็เช่น :
    • ฟังเพลง พยายามอย่าฟังเพลงเศร้า ลองฟังเพลงที่ทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แสดงถึงความกังวล บอกเล่าความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง หรือฟังเพลงจังหวะสนุกๆ ควบคู่ไปกับเพลงที่สร้างแรงบันดาลใจหรือเตือนให้คุณนึกถึงช่วงเวลาดีๆ เพลงเป็นเครื่องมือที่ช่วยบำบัดจิตใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ [15]
    • ดูรูปตอนเด็กๆ หรือรูปถ่ายตอนไปเที่ยว ตอนเรียนจบ และภาพเหตุการณ์สำคัญในชีวิต ถ้ามีรูปตลกๆ โผล่ขึ้นมาก็อย่าข้ามไป จ้องมองนานๆ เพราะมันช่วยเตือนให้คุณรู้ว่า ชีวิตในแต่ละวันผ่านไปอย่างรวดเร็ว และคุณก็มีช่วงเวลาที่มีความสุข (และตลกๆ!) มากมายควบคู่ไปกับช่วงเวลาที่โศกเศร้าในชีวิต
  6. ปล่อยให้ตัวเองหลงอยู่ในอีกโลกหนึ่งหรือโลกในอดีต บ่อยครั้งที่หนังสือพาเราไปยังที่ๆ เราไม่เคยไป และที่เหล่านั้นก็มีเรื่องราวน่าตื่นตาตื่นใจและโรแมนติกกว่าที่ๆ เราอยู่ตอนนี้ ไม่ว่าคุณจะอ่านนิยายอิงประวัติศาสตร์หรือนิยายรักสุดเร่าร้อน การดื่มด่ำไปกับโลกอีกใบหนึ่งช่วยให้ใจของคุณได้ผ่อนคลายและทำให้คุณได้จดจ่อกับสิ่งอื่น การอ่านหนังสือแค่ 6 นาทีก็ช่วยลดระดับความเครียดได้ถึง 2 ใน 3 [16]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ประเมินความเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเศร้าเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ความทุกข์ที่ใหญ่กว่า ความเศร้าเป็นอารมณ์เจ็บปวดที่มักเกิดขึ้นชั่วคราวและปกติแล้วมักมาจากปัจจัยภายนอก เช่น การเลิกรา การทะเลาะหรือเห็นไม่ตรงกับเพื่อนสนิท การอยู่ห่างจากครอบครัว หรือการสูญเสียคนที่รัก ความเศร้าเป็นอารมณ์ปกติที่คนส่วนใหญ่รู้สึกในหลายช่วงของชีวิต [17]
    • ความเศร้าที่มาจากปฏิกิริยาความทุกข์อาจมีผลต่อสมาธิ ความอยากอาหาร และการนอนของคุณ [18]
  2. รู้ความแตกต่างระหว่างความเศร้ากับโรคซึมเศร้า. คุณต้องรู้ความแตกต่างระหว่างความเศร้ากับโรคซึมเศร้า เพราะการรักษานั้นแตกต่างกันออกไป โรคซึมเศร้าไม่เหมือนความเศร้าตรงที่โรคซึมเศร้ามักไม่สามารถระบุสาเหตุภายนอกได้อย่างชัดเจน เราแค่รู้สึกไปอย่างนั้น เมื่อเทียบกันแล้วโรคซึมเศร้านั้นร้ายแรงกว่าเพราะมันทำให้อารมณ์ไม่ดี นอนน้อยเกินไปหรือเยอะเกินไป น้ำหนักลดหรือน้ำหนักขึ้น อยากอาหารมากขึ้นหรืออยากอาหารน้อยลง พลังงานน้อย ไม่สนใจโลกรอบข้าง หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม สมาธิสั้น และรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า [19]
    • หนึ่งในข้อแตกต่างหลักๆ ระหว่างโรคซึมเศร้ากับความเศร้าก็คือ ความสามารถในการรู้สึกถึงความพอใจ ความรัก และความหวัง คนเราเวลาเศร้า เรามักจะรับรู้ถึงช่วงเวลาของความสุขหรือความพอใจได้อยู่ แต่ในกรณีของโรคซึมเศร้า คนที่เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถรับรู้ถึงความพอใจ ความหวัง หรือความรู้สึกใดๆ ได้เลย และกลายเป็นไม่รับรู้ถึงอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้นสำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ความเศร้าของพวกเขาเป็นเหมือนเมฆบนหัวที่พวกเขาไม่สามารถหลีกหนีไปได้เลย พวกเขามีแนวโน้มที่จะเอาแต่คิดวกไปวนมาและจมอยู่กับความเศร้า และไม่รู้สึกว่าตัวเองจะ "มีความสุข" ได้เลย [20]
    • นอกจากนี้โรคซึมเศร้ายังคงอยู่เป็นเวลานาน และอาจเป็นสิ่งที่หลายคนต้องต่อสู้อยู่เป็นเดือนๆ เป็นปีๆ หรือตลอดชีวิต ในขณะที่ความเศร้ามักจะเกิดขึ้นประเดี๋ยวประด๋าวชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ถ้าคุณพบว่าตัวเองไม่สามารถรับมือกับความเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความเศร้าส่งผลที่ไม่ดีต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสงสัยว่าจริงๆ แล้วตัวเองอาจเป็นโรคซึมเศร้า ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต การรักษาโรคซึมเศร้าสามารถทำได้ด้วยการเข้ารับจิตบำบัดและการใช้ยา เพราะฉะนั้นคุณต้องประเมินว่าความรู้สึกของคุณมันเรื้อรังหรือเป็นแค่ความเศร้าแค่ชั่วครั้งชั่วคราว เพื่อที่คุณจะได้เข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
  3. เพิ่งมีเหตุการณ์อะไรในชีวิตที่ช่วยอธิบายสิ่งที่คุณกำลังรู้สึกอยู่ตอนนี้ได้หรือเปล่า เช่น คุณเพิ่งเลิกราหรือสูญเสียคนในครอบครัวไปหรือเปล่า การระบุสาเหตุของความเศร้าจะช่วยให้คุณเข้าใจและข้ามผ่านมันไปได้ การทบทวนปัจจัยภายนอกยังช่วยยืนยันได้ว่า สิ่งที่คุณเผชิญอยู่นั้นเป็นปฏิกิริยาความเศร้าปกติที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่โรคซึมเศร้าเรื้อรัง
    • นอกจากนี้การได้รู้ว่าอะไรทำให้คุณเศร้ายังช่วยให้คุณรู้วิธีที่จะบรรเทาความเศร้าอย่างเหมาะสมได้อีกด้วย เช่น ความเศร้าที่คุณรู้สึกหลังจากเลิกรากับแฟนหนุ่มที่คบกันมาได้ 3 เดือนนั้นต่างจากความเศร้าหลังจากสามีที่แต่งงานกันมา 10 ปีเพิ่งเสียชีวิต
    • ถ้าคุณเป็นทุกข์จากการสูญเสียครั้งใหญ่หรือเหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำทางจิตใจ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่สามารถช่วยคุณวางแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความเศร้าและความทุกข์ได้อาจเป็นประโยชน์กับคุณ ระดับความเครียดในชีวิต Holmes-Rahe ระบุว่า เหตุการณ์ตึงเครียดที่มีผลต่อความเป็นอยู่ด้านจิตใจและร่างกายมากที่สุดก็คือ การตายของสามี/ภรรยา การหย่าร้าง การแยกกันอยู่กับสามี/ภรรยา และการตายของสมาชิกในครอบครัวที่สนิท ในกรณีที่ความเศร้าดูท่าจะรุนแรงแบบนี้ เทคนิคด้านล่างควบคู่ไปกับการบำบัดอาจช่วยคุณได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ทำกิจกรรมสนุกๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ออกไปเดินเล่น วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือขี่จักรยาน เล่นกีฬาเป็นทีม ทำอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณได้ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหว การออกกำลังกายทำให้ร่างกายของคุณหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินส์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ "ทำให้รู้สึกดี" ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นและยับยั้งการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย [21] [22]
    • การออกกำลังกายหรือกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบใดก็ได้ที่ทำให้คุณต้องใช้พลังงานมากขึ้นและทำให้กล้ามเนื้อหดตัวจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ที่มีประโยชน์แก่คุณ เพราะฉะนั้นถึงคุณจะไม่มีอารมณ์ไปคลาสปั่นจักรยานหรือวิ่ง 5 กิโลเมตร แค่ทำความสะอาดบ้านหรือออกไปเดินเล่นสัก 15 – 20 นาทีก็ช่วยให้ร่างกายของคุณเริ่มหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ที่คุณต้องการเพื่อให้มีความสุขมากขึ้นได้แล้ว [23]
  2. นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า สิ่งที่คุณกินและช่วงเวลาที่คุณกินมีผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของคุณ ถ้าคุณกำลังเศร้า ลองกินของขบเคี้ยวที่มีไขมันต่ำ โปรตีนต่ำ แต่คาร์โบไฮเดรตสูง เช่น อิงลิชมัฟฟินปิ้งกับแยม การที่เรารับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่าโปรตีนหรือไขมันจะทำให้เกิดการหลั่งกรดอะมิโนที่ชื่อว่าทริปโตเฟนเข้าไปในสมอง จากนั้นทริปโตเฟนก็จะกลายเป็นเซอโรโทนิน สารส่งผ่านประสาทที่ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้ภายใน 30 นาที [24]
    • นอกจากนี้คุณอาจจะกินอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตอย่างป๊อปคอร์นถุงหรือขนมปังโฮลวีตสักแผ่นก็ได้ แต่คุณต้องไม่กินอาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างชีสและสัตว์ปีก อาหารเหล่านี้จะไปยับยั้งเซอโรโทนินเพราะกรดอะมิโนทั้งหมดในอาหารเหล่านี้จะแข่งกับเซอโรโทนิน และสุดท้ายก็จะกันไม่ให้ทริปโตเฟนหลั่งเข้าไปในสมอง [25]
  3. บางครั้งกิจวัตรที่เหมือนเดิมและน่าเบื่อก็ทำให้คุณรู้สึกแย่ได้ [26] อยู่ๆ นึกอยากจะทำอะไรก็ทำเลย (แต่ต้องไม่ใช่การตัดสินใจแบบหุนหันพลันแล่นนะ!) ไปเยี่ยมเพื่อนหรือไปพิพิธภัณฑ์ ทำอาหารกลางวันให้แม่ประหลาดใจ หรือไปเที่ยวเมืองหรือจังหวัดอื่นในวันหยุดสุดสัปดาห์ การผสมนั่นนิดนี่หน่อยอาจช่วยให้คุณได้ค้นพบความปรารถนาในชีวิตอีกครั้งก็ได้
    • คุณอาจจะเปลี่ยนแปลงกิจวัตรด้วยการเพิ่ม "สิ่งกวนใจ" เล็กๆ น้อยๆ เข้าไปในตารางประจำวันของคุณ เช่น ตอนเช้าก็อาจจะทำอะไรสลับกันจากที่เคยทำ เช่น ชงกาแฟหลังอาบน้ำ ไปทำงานเช้ากว่าปกติ แค่พักจากกิจวัตรประจำวันสักหน่อยและดูว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร บางครั้งกิจวัตรที่เราคุ้นเคย แม้จะทำให้เราสบายใจในช่วงแรกๆ ก็อาจกลายเป็นกับดักได้ [27]
  4. แสดงอารมณ์เชิงลบหรืออารมณ์ที่หนักหนาผ่านกิจกรรมอื่น ทำกิจกรรมที่คุณชอบและช่วยให้คุณผ่อนคลาย เช่น ระบายสี ถ่ายภาพ เขียนบทกวี หรือปั้นเซรามิกส์ หาอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณรู้สึกสงบและช่วยย้ายคุณ "ออกจาก" การต่อสู้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณจะ "หลบหนี" จากความเศร้าได้ แต่หมายความว่าคุณสามารถรับมือได้ดีขึ้นด้วยการหาเวลาทำในสิ่งที่คุณชอบ
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถทำกิจกรรมใหม่ๆ ได้ด้วย คุณอาจจะอยากลองเล่นโยคะมาตลอดแต่ไม่มีโอกาสสักที กระโดดเข้าไปทำอะไรใหม่ๆ เพื่อให้ชีวิตกลับมากระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง การลองทำกิจกรรมใหม่ๆ หรืองานอดิเรกใหม่ๆ เป็นอีกวิธีที่ยอดเยี่ยมที่จะทำให้คุณได้พบคนอื่นๆ ที่มีความชอบเหมือนกัน
  5. อาบน้ำฝักบัว หรือแช่อ่างอาบน้ำ. แล้วคุณจะต้องประหลาดใจว่าการอาบน้ำฝักบัวทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้แค่ไหน ลองอาบน้ำเย็นกว่าปกติ เพราะน้ำเย็นมีประโยชน์และช่วยเยียวยาได้ งานวิจัยพบว่า น้ำเย็นช่วยทำให้การไหลเวียนเลือดและการไหลของเลือดดีขึ้น ลดความเครียดและความตึง และทำให้อารมณ์ดี ความเย็นทำให้เกิดการหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์เข้าไปในกระแสเลือดและสมอง ทำให้คุณรู้สึกเหมือนได้เติมพลังและรู้สึกถึงพลังเชิงบวกมากยิ่งขึ้น [28]
    • ถ้าคุณอยากแช่อ่างอาบน้ำมากกว่า ลองใส่เกลือยิบซอม (สัก 1 – 2 ถ้วย) ลงไปในอ่างอาบน้ำ เพราะนอกจากจะช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและลดความตึงแล้ว ยังมีรายงานว่าเกลือยิบซอมกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ ซึ่งช่วยลดความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น [29]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เข้าสังคม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปัจจัยหลักของความสุขคือ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม [30] การพูดคุยกับเพื่อนเรื่องความเศร้าหรือสถานการณ์ที่ทำให้คุณเศร้าช่วยลดความเจ็บปวดได้ เพราะคุณจะรู้ว่ามีคนห่วงใยคุณและความรู้สึกของคุณ การพูดออกมาดังๆ ยังช่วยให้คุณได้ "ปลดปล่อย" อารมณ์และอธิบายความรู้สึกของคุณได้อย่างชัดเจนด้วย เพราะมันบังคับให้คุณต้องแสดงความรู้สึกเหล่านั้นออกมาเป็นคำพูด ความเศร้าของคุณจะไม่เป็นนามธรรมอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เป็นสิ่งที่คุณสามารถตั้งชื่อและพูดคุยเกี่ยวกับมันได้ผ่านการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด [31]
    • งานวิจัยพบว่า คนที่เผชิญกับความเครียดจากเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต เช่น การสูญเสียคนรักหรือตกงานสามารถข้ามผ่านความยากลำบากได้ง่ายขึ้นถ้าเขามีกลุ่มเพื่อนและครอบครัวที่เขาสามารถเข้าหาและพึ่งพิงได้ [32]
    • นอกจากนี้คุณอาจจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากการคุยกับเพื่อนด้วย เช่น บางทีเพื่อนอาจจะเคยเผชิญความรู้สึกเดียวกันหรือสถานการณ์เดียวกันมาก่อนและสามารถสนับสนุนพร้อมกับให้คำแนะนำคุณได้ หรือเพื่อนอาจจะช่วยให้คุณได้มองสถานการณ์จากมุมมองที่แตกต่างและอาจจะแนะนำวิธีรับมือกับสถานการณ์ในแบบที่คุณนึกไม่ถึงมาก่อน เช่น ถ้าคุณเลิกกับแฟน เพื่อนอาจจะเตือนคุณถึงทุกช่วงเวลาที่คุณโทรศัพท์มาบ่นว่าแฟนไม่สนใจและเห็นแก่ตัวแค่ไหน ในแง่นี้เพื่อนอาจช่วยเตือนคุณอีกครั้งว่า ทำไม คุณถึงเลิกกับแฟนในเวลาที่คุณยังคงติดกับดักความเศร้าที่ต้องเลิกกันอยู่
    • นอกจากนี้เพื่อนๆ ยังช่วยให้คุณรู้สึกว่ามีคนคอยสนับสนุนคุณและบรรเทาความรู้สึกที่เหมือนอยู่ตัวคนเดียว เพื่อนๆ รับฟังและมอบความเข้าใจให้แก่คุณ และแค่การคุยกับเพื่อนๆ ยังอาจะช่วยให้อารมณ์ของคุณดีขึ้นด้วย เพราะคุณจะต้องยิ้มและหัวเราะบ้างล่ะน่า!
  2. ออกไปดูหนัง ไปกินข้าวเย็นนอกบ้าน หรือออกไปปั่นจักรยานกับเพื่อนๆ หรือครอบครัว การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนอกบ้านควบคู่ไปกับการเบี่ยงเบนความสนใจจะช่วยให้คุณลืมเรื่องเศร้าไปได้ 2–3 ชั่วโมง แค่การคุยเรื่อยเปื่อยกับคนอื่นแม้แต่การพูดหยอกล้อธรรมดาๆ และการเปลี่ยนบรรยากาศรอบข้างก็ช่วยให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้แล้ว [33]
    • ถ้าธรรมชาติของคุณคือชอบอยู่คนเดียว คุณก็ไม่ควรเข้าสังคมมากเกินไปเพราะอาจทำให้คุณเครียดและประหม่ามากกว่าเดิม พยายามมีปฏิสัมพันธ์แต่น้อยในระดับที่จำกัด เช่น ไปทำธุระ ไปซื้อของใช้เข้าบ้าน หรือไปทำเล็บเท้ากับเพื่อน แทนที่จะเข้าผับโน้นออกบาร์นี้กับเพื่อนๆ ในค่ำคืนที่แสนยาวนาน [34]
  3. ถ้าคุณไม่อยากเข้าสังคมกับมนุษย์ด้วยกัน ลองใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงน่าฟัดของคุณก็ได้! การกอดหรือสัมผัสสัตว์ตัวโปรดอย่างเอ็นดูช่วยให้อารมณ์เศร้าของคุณดีขึ้นด้วยการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์อย่างการเชื่อมโยงและความใกล้ชิด [35] งานวิจัยพบว่าการใช้เวลากับสุนัขเพิ่มความเข้มข้นของเอนดอร์ฟินส์ สารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับหน่วยรับความรู้สึกในสมองที่กระตุ้นความรู้สึกเชิงบวกและทำให้อารมณ์ของคุณดีขึ้น [36]
  4. การให้เวลาและพลังงานในการช่วยเหลือผู้อื่นไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณยุ่งตลอดเวลาเท่านั้น แต่ยังทำให้คุณรู้สึกถึงการได้รับรางวัลและเป้าหมาย ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองและสถานการณ์มากขึ้น [38]
    • หากิจกรรมอาสาสมัครที่คุณสนใจเป็นพิเศษ เช่น ช่วยงานที่ศูนย์พึ่งพิงคนไร้บ้านหรือโรงทาน ดูแลหรือพาสุนัขเร่ร่อนไปเดินเล่น หรือเป็นอาสาสมัครที่บ้านพักคนชรา [39]
    • แม้แต่การทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ให้คนอื่นอย่างการให้คนอื่นต่อคิวที่ซูเปอร์มาร์เก็ตก่อนก็ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ การแสดงความเมตตาทำให้เรารู้สึกถึงความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น เพราะมันเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่เราสามารถลงมือทำได้ ไม่ใช่แค่คิดอย่างเดียว [40]
    โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามซ่อนความรู้สึกจากคนอื่นเพราะมันไม่ได้ทำให้คุณหรือสถานการณ์ของคุณดีขึ้น เล่าให้เพื่อนที่คุณไว้ใจหรือคนในครอบครัวฟังว่าคุณรู้สึกอย่างไร และพวกเขาก็อาจจะให้กำลังใจคุณ แต่ถ้าคุณต้องการกำลังใจเพิ่ม ลองปรึกษานักบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอื่นๆ อย่างน้อยที่สุดพวกเขาก็สามารถพัฒนากลยุทธ์ที่ช่วยให้คุณรับมือกับความเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โฆษณา
  1. http://www.barriedavenport.com/2013/04/28/10-ways-to-snap-out-of-apathy/
  2. http://www.cnn.com/2014/01/13/living/sweat-small-stuff-real-simple/
  3. http://100happydays.com/
  4. http://cpx.sagepub.com/content/3/1/15
  5. http://www.huffingtonpost.com/2014/04/03/feel-happier-today_n_5022621.html
  6. http://www.childrenshospitaloakland.org/child_life/music_therapy.asp
  7. http://www.telegraph.co.uk/news/health/news/5070874/Reading-can-help-reduce-stress.html
  8. https://www.neumann.edu/life/counseling/mental_health/depression/sadness_depression.htm
  9. https://www.neumann.edu/life/counseling/mental_health/depression/sadness_depression.htm
  10. https://www.neumann.edu/life/counseling/mental_health/depression/sadness_depression.htm
  11. https://www.neumann.edu/life/counseling/mental_health/depression/sadness_depression.htm
  12. http://www.webmd.com/depression/guide/exercise-depression
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6091217
  14. http://www.huffingtonpost.com/2014/04/03/feel-happier-today_n_5022621.html
  15. http://www.prevention.com/food/healthy-eating-tips/food-and-mood-best-foods-make-you-feel-better
  16. http://www.prevention.com/food/healthy-eating-tips/food-and-mood-best-foods-make-you-feel-better
  17. http://www.barriedavenport.com/2013/04/28/10-ways-to-snap-out-of-apathy/
  18. http://www.barriedavenport.com/2013/04/28/10-ways-to-snap-out-of-apathy/
  19. http://thehealthylivinglounge.com/2010/02/15/12-essential-reasons-to-take-cold-showers/
  20. http://healthylilybee.com/2015/05/15/top-tips-to-alleviate-stress/
  21. http://www.huffingtonpost.com/2014/04/03/feel-happier-today_n_5022621.html
  22. http://www.apa.org/helpcenter/manage-stress.aspx
  23. Billings, A. G., & Moos, R. H. (1985) “Life stressors and social resources affect posttreatment outcomes among depressed patients.”Journal of Abnormal Psychology, 94, 140-153.
  24. http://www.prevention.com/mind-body/emotional-health/how-do-you-cope-sadness
  25. http://www.prevention.com/mind-body/emotional-health/how-do-you-cope-sadness
  26. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12672376
  27. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12672376
  28. http://www.helpguide.org/articles/emotional-health/the-health-benefits-of-pets.htm
  29. http://www.prevention.com/mind-body/emotional-health/how-do-you-cope-sadness
  30. http://www.prevention.com/mind-body/emotional-health/how-do-you-cope-sadness
  31. http://www.huffingtonpost.com/2014/04/03/feel-happier-today_n_5022621.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,353 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา