ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มันยากที่คนเราจะหยุดเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น ด้วยเหตุที่ชีวิตในยุคใหม่ มักทำให้เราใฝ่หาความสมบูรณ์แบบ ทันทีที่เราเริ่มตั้งคำถามกับความสำเร็จและเกียรติประวัติของตัวเอง เราก็มักจะขยับเพิ่มมาตรฐานให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเปรียบเทียบกับผู้อื่น หรือแม้กระทั่งอิจฉาพวกเขา แต่เมื่อคุณหมกมุ่นอยู่กับจุดบกพร่องของตนเอง แทนที่จะโฟกัสที่จุดแข็ง แสดงว่าคุณกำลังมองไปผิดที่แล้ว ซึ่งมีแต่ทำให้รู้สึกท้อแท้ แถมยังทำให้คุณละเลยต่อชีวิตในหลายๆ ด้านของตนเอง การเอาแต่เปรียบเทียบกับผู้อื่น จะทำให้ความนับถือตนเองลดน้อยลง และยังส่งผลให้คุณรู้สึกแย่กับตนเองด้วย คุณต้องพยายามยับยั้งใจ ไม่ให้เปรียบเทียบกับผู้อื่น ด้วยการรู้จักหันมามองตนเอง ตั้งเป้าหมายให้ตนเองเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และปรับพฤติกรรมเสียใหม่เพื่อให้รู้สึกกับตัวเองในทางที่ดีขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

ค้นหารากเหง้าของนิสัยชอบเปรียบเทียบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก้าวแรกของการเปลี่ยนมุมมองที่คุณมีต่อตนเอง ก็คือการตระหนักในความคิดที่คุณมีต่อตนเอง หากปราศจากความตระหนักในจุดนี้แล้ว คุณจะไม่มีทางรู้สาเหตุของปัญหาได้เลย ทั้งนี้ เมื่อคุณตัดสินใจที่จะปรับปรุงรูปแบบพฤติกรรมของตัวเองแล้ว ควรจะหาใครสักคนมาช่วยคุณด้วย อย่างไรก็ตาม ขอแค่คุณมีความตระหนักและรู้ทันพฤติกรรมของตนเอง คุณก็จะสามารถวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวให้ง่ายขึ้นได้
  2. ระดับความนับถือตนเองนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของการประเมินตนเองทั้งในแง่บวกและลบ คนเราต่างก็มีวันที่ดีและไม่ดี และความรู้สึกที่เรามีต่อตนเอง มักจะเปลี่ยนตามไปด้วย และสะท้อนเหตุการณ์ในแต่ละวัน ดังนั้น ระดับความนับถือตนเองของคุณ จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นเหมือนบุคลิกภาพถาวรของคุณ อันเป็นผลรวมทางจิต ซึ่งตนเองสะสมมาตลอดทั้งชีวิต [1]
    • คุณค่อนข้างมองตัวเองในแง่บวกหรือเปล่า? คุณปล่อยให้คนอื่นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกที่คุณมีต่อตนเองหรือไม่? หากคุณมักมองออกไปที่ผู้อื่นเพื่อใช้อ้างอิงความนับถือตนเองล่ะก็ นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณต้องพัฒนาตนเองเพื่อที่จะมีความสุขให้ได้แล้ว
  3. พฤติกรรมชอบเปรียบเทียบ เป็นพฤติกรรมที่คุณชอบเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น ไม่ว่าพวกเขาจะต่ำต้อยหรือสูงกว่าคุณก็ตาม แต่โดยรวมแล้ว คุณมักจะนำข้อดีและข้อเสียของพวกเขามาเปรียบกับตัวเอง ซึ่งในบางกรณี มันอาจจะมีประโยชน์ทางสังคมอยู่บ้าง แต่การเปรียบเทียบในเชิงลบ อาจเป็นการทำลายระดับความนับถือตนเองของคุณลง [2]
    • ตัวอย่างของการเปรียบเทียบเชิงบวก เช่น หากคุณเปรียบเทียบกับใครสักคนที่มีคุณลักษณะอันน่ายกย่อง คุณจะไม่เพียงแต่อิจฉาพวกเขาเท่านั้น (เช่น พวกเขาอาจมีเมตตามากกว่าคุณ) แต่คุณยังจะพยายามทำให้ได้ดีกว่าพวกเขาด้วย
    • ตัวอย่างของการเปรียบเทียบเชิงลบ เช่น การที่คุณเปรียบเทียบกับคนที่มีสิ่งที่คุณขาดไป อาจจะเป็นรถคันใหม่ หรือบ้านหลังใหม่ เป็นต้น
  4. เขียนความคิดและความรู้สึกออกมา ทันทีที่เกิดการเปรียบเทียบ. เขียนสภาวะจิตใจและทัศนคติของคุณที่เกิดขึ้น ขณะที่คุณกำลังเปรียบเทียบกับใครบางคน หากเป็นไปได้ ให้เขียนทันทีที่ความคิดดังกล่าวเกิดขึ้นหรือเมื่อนึกออก ซึ่งจะช่วยให้คุณลงรายละเอียดได้มากขึ้น เพราะมันยังมีความแจ่มชัดอยู่ในใจคุณ
    • ไตร่ตรองว่าการเปรียบเทียบดังกล่าว ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร เขียนบรรยายความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งหมด เช่น คุณรู้สึกเศร้าหมองที่เห็นคนอื่นขับรถใหม่ ในขณะที่ตนเองขับรถเก่ารุ่นคุณปู่ [3]
  5. พยายามสืบสาวไปตั้งแต่ช่วงวัยที่คุณยังไม่มีพฤติกรรมชอบเปรียบเทียบ และเริ่มจดบันทึกจากเรื่องราวตั้งแต่ช่วงนั้นมา ซึ่งอาจจะช่วยให้คุณค้นพบต้นตอว่า พฤติกรรมชอบเปรียบเทียบมันเกิดขึ้นเมื่อไร
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะนึกย้อนไปถึงวัยเด็ก ซึ่งเป็นช่วงที่คุณเริ่มมีพฤติกรรมชอบเปรียบเทียบกับญาติพี่น้องตัวเอง และยังอาจนึกได้ด้วยว่า ที่คุณเปรียบเทียบไปเพราะตัวเองรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง นั่นจะทำให้คุณเริ่มรู้รากเหง้าของพฤติกรรมชอบเปรียบเทียบของตนเองได้
    • สิ่งที่ยากที่สุดอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับพฤติกรรมชอบเปรียบเทียบก็คือ การตระหนักว่ามันส่งผลเสียต่อตัวคุณเอง ซึ่งการติดตามสำรวจตนเองในลักษณะดังกล่าว จะช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงลบเช่นนี้ได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

ซาบซึ้งกับสิ่งที่คุณมี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากที่คุณตระหนักแล้วว่า การเปรียบเทียบกับคนอื่น ไม่ได้ทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น คุณก็จะเริ่มหามาตรวัดอื่นๆ มาวัดความสำเร็จของตัวเอง เมื่อคุณเริ่มรู้สึกและแสดงออกถึงความซาบซึ้งในสิ่งที่คุณมี คุณก็จะดึงความสนใจที่เคยให้คนอื่น กลับมาที่ตัวคุณเองได้
    • พยายามใช้เวลาครุ่นคำนึงถึงสิ่งดีๆ ในแง่บวกของตัวคุณเองให้มากขึ้น เมื่อนั้นคุณอาจจะเริ่มรู้ได้ว่า คุณมีสิ่งดีๆ อีกเยอะ หลังจากที่คุณเลิกเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่คนอื่นมี
  2. สมุดบันทึกสิ่งที่คุณซาบซึ้งใจจะช่วยให้คุณคอยเตือนตัวเองถึงสิ่งที่ตนมีอยู่เสมอ ซึ่งอาจจะช่วยให้คุณเห็นค่าสิ่งที่คุณเคยมองข้าม และรู้จักซาบซึ้งกับมัน พยามนึกถึงเรื่องราวหลายๆ อย่างในความทรงจำ เช่น สิ่งที่เคยทำ สถานที่ๆ เคยไป เพื่อนๆ ที่คุณเคยเที่ยวเล่นด้วย อะไรก็ตามที่ทำให้คุณมีความสุข และจงจดจ่ออยู่กับสิ่งเหล่านั้น [4]
    • หากมีสมุดบันทึกสิ่งที่ตนเองซาบซึ้งใจติดตัวไว้ โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จก็มีมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณบันทึกแบบไร้อารมณ์หรือทำแบบขอไปที มันก็จะไม่ได้อะไร [5] คุณต้องพยายามใคร่ครวญถึงสิ่งที่ตนเคยมองข้าม และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับมันอย่างจริงจัง พยายามตั้งใจเข้าถึงความซาบซึ้งดังกล่าวและมุ่งมั่นในการพัฒนาชีวิตตนเอง
    • พยายามลงรายละเอียดลึกๆ แทนที่จะเขียนแบบสั้นๆ ขอไปที คุณควรเน้นลงรายละเอียดแค่ไม่กี่สิ่ง ที่ทำให้คุณซาบซึ้งใจจริงๆ
    • คุณอาจเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์อันน่าประหลาดใจหรือไม่คาดคิดมาก่อน ซึ่งจะช่วยให้คุณได้เก็บเกี่ยวความรู้สึกดีๆ จากประสบการณ์ที่เคยผ่านพบมา
    • ไม่จำเป็นต้องเขียนทุกวันก็ได้ ที่จริงแล้ว การเขียนไม่กี่ครั้งต่อสัปดาห์ อาจจะเป็นประโยชน์มากกว่าเขียนทุกวันด้วยซ้ำ
  3. การมีเมตตาต่อตนเองมากขึ้น และลงโทษตัวเองน้อยลง จะช่วยกระตุ้นให้คุณทำบางอย่างให้ดีขึ้น และพยายามมากขึ้น
  4. การยั้งใจไม่ให้ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น อาจจะยากสักหน่อย แต่สุดท้ายแล้ว ก็มีแต่ตัวคุณเองที่จะควบคุมชีวิตตนเองได้ การตัดสินใจของคุณย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และการตัดสินใจให้ดีที่สุด ก็เป็นไปเพื่อตัวคุณเอง ไม่ใช่ใครอื่น [6]
    • มันไม่สำคัญว่าผู้อื่นทำหรือมีสิ่งใด คนๆ เดียวที่มีความหมายต่อชีวิตคุณ ก็คือตัวคุณเอง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

การกำจัดหรือแทนที่ความคิดเปรียบเทียบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตระหนักในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิด. โมเดลปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Transtheoretical Model of Change) [7] กล่าวว่า เราจำเป็นต้องก้าวผ่านหลายสภาวะการณ์ เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์หนึ่งๆ ได้อย่างถ่องแท้ และการที่คนเราจะยอมรับในพฤติกรรมใหม่ของตนเองได้นั้น จำเป็นต้องผ่านไปทีละขั้นตอนไปจนกว่าจะจบกระบวนการ ดังนี้:
    • ก่อนฉุกคิด : ในขั้นตอนนี้ เรายังไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และอ่อนประสบการณ์ในสถานการณ์ที่ตนกำลังเผชิญอยู่
    • เริ่มฉุกคิด : ขั้นตอนนี้ เราเริ่มที่จะคิดปรับเปลี่ยนตนเองแล้ว ซึ่งเกิดจากการชั่งน้ำหนักข้อดีมากขึ้น แม้ว่าจะตระหนักถึงข้อเสียของการเปลี่ยนแปลงด้วยก็ตาม
    • ระยะเตรียมตัว : ในขั้นตอนนี้ เราได้ผ่านการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงมาแล้ว และเริ่มวางแผนในการลงมือทำ
    • ลงมือทำ : ขั้นตอนนี้ เป็นช่วงที่เรากำลังพยายามและตั้งใจเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เช่น อาจจะเริ่มลดละบางเรื่อง ในขณะที่ทำบางเรื่องเพิ่มขึ้น เป็นต้น
    • รักษาความสม่ำเสมอ : ในขั้นตอนนี้ ก็เหลือเพียงแค่พยายามรักษาระดับความพยายามให้คงที่ เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะมีความยั่งยืนต่อไป
    • จบงาน : ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ พฤติกรรมได้ปรับเปลี่ยนไปโดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งจะไม่มีการกลับไปทำพฤติกรรมเดิมอีก แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ยั่วยุ หรือกดดัน หรือมีอารมณ์ในทางลบกระตุ้นเพียงใดก็ตาม
  2. ตระหนักว่า การอยากเป็นเหมือนผู้อื่น มันเป็นไปไม่ได้. คนเรามักจะโฟกัสไปที่คุณลักษณะบางอย่างในตัวผู้อื่น ที่สมองของเราสร้างภาพขึ้นมาให้ดูโอเว่อร์เกินจริง นอกจากนี้ เรายังมักมองแต่คุณสมบัติด้านบวกของคนๆ นั้นที่เราอยากจะมีบ้าง โดยจงใจลืมด้านลบที่เราไม่ต้องการ
  3. เมื่อคุณมีพฤติกรรมชอบเปรียบเทียบ คุณก็มักจะมองเห็นแต่แง่ลบของตัวเอง ซึ่งในกรณีดังกล่าว คุณควรบอกตัวเองให้แทนที่ความคิดลบนั้น ด้วยการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณเห็นใครสักคนที่มีทักษะการเขียนดีกว่าคุณ แทนที่จะไปใส่ใจพรสวรรค์ดังกล่าวของคนๆ นั้น คุณควรคิดถึงพรสวรรค์ของตนเอง ด้วยการบอกตัวเองว่า “แม้ว่าฉันจะเขียนไม่เก่ง แต่ฉันวาดรูปได้ดีขั้นเทพเลย และถ้าฉันคิดจะเขียนขั้นเทพด้วยล่ะก็ ฉันก็สามารถพยายามฝึกหัดเอาได้ แทนที่จะมานั่งอิจฉาเขา”
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

การบรรลุเป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทำเป้าหมายให้บรรลุ จะช่วยให้คุณกำหนดชีวิตตนเอง รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่ไม่อ้างอิงกับใคร โดยคุณสามารถเริ่มด้วยการกำหนดเป้าหมายก่อน
    • หากคุณต้องการลงแข่งวิ่งมาราธอน ก็ให้ระบุเป้าหมายดังกล่าวไว้ ซึ่งจะช่วยให้คุณประเมินได้ว่า กำลังยืนอยู่ในจุดไหนแล้ว (เช่น ตระหนักว่าคุณวิ่งได้ไกลเท่าไรแล้ว นับจากวันที่ยังไม่ได้เริ่มฝึก)
  2. เวลาที่คุณตั้งเป้าหมายของตัวเองไว้ พยายามติดตามความคืบหน้าด้วย เพื่อที่จะได้รู้ว่าตนเองใกล้เป้าหมายเพียงใดแล้ว ซึ่งจะช่วยให้คุณโฟกัสอยู่กับชีวิตตนเอง ไม่ไปใส่ใจกับใครอีก
    • เดินตามทางของตัวเอง พยายามมองภาพรวมอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เวลาที่จะติดตามความคืบหน้าด้วย เช่น หากคุณกำลังใช้เวลาเรียนนานกว่าคนอื่น ในการคว้าปริญญามาครอบครอง ก็พยายามตระหนักว่า ตัวคุณเองอาจต้องทำงานไปเรียนไป หรือต้องส่งเสียน้องๆ หรือดูแลคนชราในครอบครัวตนเองด้วย เราแต่ละคนย่อมมีบริบทต่างกันออกไป ซึ่งย่อมส่งผลต่อพัฒนาการกว่าที่จะบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น อย่าลืมคำนึงในจุดนี้เวลาบันทึกพัฒนาการของตนเองด้วย
    • หากคุณกำลังฝึกฝนเพื่อลงแข่งมาราธอน คุณอาจจะบันทึกความคืบหน้าของตนเองทุกสัปดาห์ และวิ่งให้ได้ไกลขึ้นๆ ในแต่ละสัปดาห์ จนกว่าจะแตะระยะทางที่ 50 กิโลเมตร ซึ่งนอกจากวิ่งได้ไกลขึ้นแล้ว คุณยังอาจวิ่งเร็วขึ้นด้วย การบันทึกพัฒนาการในลักษณะนี้ ทำให้คุณสามารถเห็นได้ว่าตนเองมาไกลแค่ไหนแล้ว และยังเหลือระยะทางอีกไกลเท่าไรที่ต้องไปให้ถึง
  3. หากมีด้านใดที่คุณต้องการพัฒนาตนเอง พยายามไปลงคอร์สเรียน เวิร์คช้อป หรือเข้าอบรมใดๆ ก็ตาม เพื่อฝึกฝนทักษะนั้นๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวคุณเอง และตระหนักในเส้นทาง รวมถึงคุณค่าของตนเองด้วย
    • เรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ การตระหนักว่าการใฝ่หาความสมบูรณ์แบบนั้น เป็นแนวคิดที่มักส่งผลเสีย ในแง่ที่ว่าอาจทำให้คุณตั้งเป้าหมายหรือมาตรฐานความสำเร็จ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริง จงตระหนักว่าสถานการณ์ชีวิตของแต่ละคนนั้นต่างกัน คุณก็ควรพัฒนาความสามารถในแบบของตนเองไป เพื่อใช้ชีวิตตนเองให้มีความสุข
  4. นักแสดงและนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงหลายท่าน มักพูดเสมอว่า พวกเขาชอบแข่งกับตัวเอง พวกเขามักพยายามไปให้ถึงขีดสุดของตนเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มระดับความนับถือตนเองของคุณ ด้วยการตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้นๆ เหมือนเวลาที่นักกีฬาต้องการเป็นที่หนึ่ง พวกเขาก็มักจะตั้งเป้าหมายส่วนตัว ผลักดันตนเองให้ก้าวไปข้างหน้าเร็วกว่าคนอื่น และทำการขัดเกลาทักษะของตนเองไปด้วย [8]
  5. เมื่อคุณรู้จักใช้มาตรฐานส่วนตัวในการประเมินตนเองแล้ว คุณจะเริ่มหยุดพฤติกรรมชอบเปรียบเทียบไปเอง การฝึกตนเช่นนี้ จะช่วยให้คุณหยุดแข่งขันกับผู้อื่น ด้วยความรู้สึกที่ว่า มาตรฐานของคนอื่นนั้นไม่ใช่ของคุณ เมื่อคุณเริ่มตระหนักในความสามารถที่จะสร้างชีวิตในแบบที่ตนเองปรารถนาเพื่อตนเองเท่านั้น คุณก็จะรู้ว่า เราสามารถควบคุมผลลัพธ์ได้ด้วยตนเอง แต่จงพยายามตัดสินตนเองด้วยมาตรฐานส่วนตัว ไม่ใช่มาตรฐานของใครๆ
  6. พยายามตรึกตรองถึงประโยชนที่คุณจะได้รับจากข้อดีของผู้อื่น เช่น หากคุณมีเพื่อนผู้ประสบความสำเร็จอย่างสูง แทนที่จะอิจฉาพวกเขา ลองคิดดูสิว่า พวกเขาอาจจะแนะนำเครือข่ายทางสังคม ซึ่งจะชักนำให้ชีวิตคุณประสบความสำเร็จร่วมไปกับพวกเขาด้วยก็ได้ แทนที่จะอิจฉาความสำเร็จพวกเขา จงเอามันมาใช้ให้เป็นประโยชน์
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะมองดูภาพของนักกีฬาที่มีหุ่นฟิตเฟิร์ม ซึ่งแทนที่จะรู้สึกต่ำต้อยหรืออิจฉา คุณก็สามารถเอาภาพดังกล่าวมาเป็นแรงจูงใจ ในการปรับปรุงตัวเองได้ เช่น หันมาทานอาหารที่เป็นประโยชน์ หรือออกกำลังกายมากขึ้น ซึ่งเป็นการใช้สถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ แทนที่จะเป็นไปในทางลบ
  7. เมื่อคุณคุ้นเคยกับการตัดสินตนเองด้วยมาตรฐานส่วนตัวแล้ว คุณจะเริ่มรู้สึกมีอิสระในการลองเสี่ยงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ดูบ้าง ซึ่งจะส่งผลให้คุณขยับเป้าหมายให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย เพราะว่าคนส่วนใหญ่มักไม่กล้าพยายามไปให้ถึงขีดสุดแห่งศักยภาพตนเอง เพียงเพราะไม่อยากจะเสี่ยง หรือตกอยู่ในความกลัวที่คอยกีดขวางไม่ให้พวกเขาบรรลุผลสำเร็จ ไปเกินกว่าความคาดหวังของผู้อื่น
    • พยายามเริ่มด้วยก้าวเล็กๆ จะช่วยให้คุณสั่งสมความมั่นใจเพิ่มขึ้นทีละนิด
  8. เมื่อคุณรู้จักห้อมล้อมตนเองด้วยบรรดาคนที่คอยให้กำลังใจ คุณก็จะเริ่มมีทัศนคติต่อตนเองในทางที่ดีขึ้น
  9. การโค้ชที่ดีมีหลายรูปแบบ มีทั้งโค้ชแบบที่ตะโกนและแกล้งสบประมาทลูกทีม และก็มีโค้ชแบบที่ยึดมั่นในความเป็นเลิศ คอยกระตุ้นให้นักกีฬาวิ่งเร็วขึ้น กระโดดให้สูงขึ้น และว่ายน้ำให้ได้นานขึ้น โดยคอยสนับสนุนและให้ความรักแก่พวกเขาควบคู่ไปด้วยเสมอ ซึ่งโค้ชที่สอนด้วยความรักนี่แหละ ที่จะสามารถสร้างบุคคลให้มีจิตใจอันสมดุลที่สุดขึ้นมาได้
    • คิดเสียว่าตนเองเป็นโค้ชให้กับตนเอง และพยายามช่วยผลักดันตัวเองไปสู่ความเป็นเลิศ โดยคอยมอบความรักและมักซาบซึ้งในความพยายามของคุณเสมอ เมื่อนั้น คุณจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ จากการที่มีระดับความนับถือตนเองเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ถูกทำลายให้ลดลง
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ใช้สื่ออย่างมีสำนึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลดการใช้งานโซเชียลมีเดีย หรือการเสพสื่อบางประเภท. หากคุณรู้สึกว่า ภาพลักษณ์ของคนทั่วไปที่ถูกปั้นแต่งขึ้นมาจากสื่อเหล่านั้น มันทำให้คุณเกิดความรู้สึกแย่ และระดับความนับถือตนเองของคุณลดน้อยลง ก็อาจถึงเวลาต้องลดการเสพสื่อเหล่านั้นด้วยแล้ว พยายามจำกัดเวลาใช้งานโซเชียลมีเดียให้น้อยลง หรือเลิกเล่นไปเลยก็ได้ โดยทำการลบบัญชีการใช้งานของตัวเองทิ้งไปเลย
    • หากคุณไม่ต้องการลบบัญชีเฟสบุ๊ค ทวีตเตอร์ หรืออินสตาแกรม ก็ควรจะลดจำนวนชั่วโมงการใช้งานในแต่ะวัน หรือแต่ละสัปดาห์ลง เช่น ลดการใช้งานเหลือเพียง 10 นาทีต่อวัน หรือ 30 นาทีต่อสัปดาห์ แต่กระนั้นก็ควรระวังไว้ว่า การใช้งานเพียงชั่วครู่ ก็ยังอาจมีภาพบางอย่างที่คุณดูแล้ว เกิดพฤติกรรมชอบเปรียบเทียบในทางลบขึ้นมาได้อีกเหมือนเคย [9]
  2. พยายามจำกัดการเสพสื่อประเภทแฟชั่น เรียลิตี้โชว์ หนัง ละคร หรือมิวสิควิดีโอต่างๆ ฯลฯ เช่น หากคุณรู้สึกว่า ตนเองมักชอบเผลอมีพฤติกรรมชอบเปรียบเทียบกับพวกนักกีฬาหุ่นดีๆ ก็พยายามงดเสพนิตยสาร หรือรายการต่างๆ ที่มีภาพเหล่านั้นอยู่
    • การรับเอาสื่อที่มีภาพในอุดมคติแม้เพียงชั่วครู่ ก็ยังมีผลสำรวจพบว่า ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของตนเอง และทำให้ระดับความนับถือตนเองของคุณลดน้อยลงได้ [10] ซึ่งอาจทำให้คุณมีอาการจิตตกและเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายๆ ด้วย [11]
  3. มันเป็นไปได้ยากที่จะหลีกเลี่ยงการเสพสื่อต่างๆ ดังนั้น คุณควรรู้จักแก้ไขพฤติกรรมชอบเปรียบเทียบของตนเองด้วย โดยคุณอาจจะฝึกให้ตนเองคิดหรือมองภาพความเป็นจริง ออกมาจากภาพในอุดมคติที่เห็น
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังอิจฉาความสัมพันธ์ในแบบที่เพื่อนของคุณมีกับคู่หมั้น ก็พยายามนึกดูว่า กว่าที่เธอจะหาคู่หมั้นดีๆ แบบนี้ได้ อาจต้องผ่านมรสุมอะไรมามากมายหลายอย่างเหมือนกัน จะเห็นได้ว่า ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นยาต้านความอิจฉาขนานดี
    • หากคุณเห็นใครบางคนมีรูปร่าง มีรถ หรือมีชีวิตในแบบที่คุณต้องการ พยายามคิดถึงสิ่งที่คุณสามารถลงมือทำได้ เพื่อที่จะได้ขยับใกล้เป้าหมายดังกล่าวบ้าง และเขียนบันทึกลงไปในแผนการ
  4. พยายามหาวิธีใช้งานสื่อดังกล่าวให้เป็นประโยชน์กับชีวิตตนเอง กดติดตามเพจเกี่ยวกับการศึกษา ข้อมูล หรือแรงบันดาลใจต่างๆ เสียบ้าง หากคุณต้องการความสำเร็จ ก็กดติดตามเพจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ หากคุณต้องการมีรูปร่างและสุขภาพที่ดีขึ้น ก็ไปกดติดตามเพจด้านโภชนาการและฟิตเนส หากคุณต้องการมีบุคลิกภาพและจิตใจสมบูรณ์ ก็กดติดตามเพจด้านจิตวิทยาต่างๆ ได้เช่นกัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่ากลัวที่จะเอาเป้าหมายของตนเองมาก่อนใคร หากคุณมีแนวโน้มในการหลีกทางให้ผู้อื่นอยู่บ่อยๆ ก็ลองเข้าไปอ่านบทความเรื่อง เลิกนิสัยชอบเอาใจคนอื่น
  • พฤติกรรมชอบเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น เป็นนิสัยเสียที่หลายๆ คนมักเป็นกัน ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับปรุงแก้ไข อย่าเพิ่งถอดใจล่ะ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าปล่อยให้คนอื่นเอาคุณไปเปรียบเทียบกับใครๆ เช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการทำเรื่องเครียดๆ หรือเรื่องที่ให้กังวลใจเกินไป เพราะมันกระทบต่อระดับความนับถือตนเองของคุณด้วย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Vogel, E., Rose, J., Roberts, L., & Eckles, K. (2014). Social comparison, social media, and self-esteem. Psychology of Popular Media Culture, 3(4), 206-222.
  2. Vogel, E., Rose, J., Roberts, L., & Eckles, K. (2014). Social comparison, social media, and self-esteem. Psychology of Popular Media Culture, 3(4), 206-222.
  3. http://journaltherapy.com/journaltherapy/journal-cafe-3/journal-course
  4. http://www.oprah.com/spirit/Martha-Beck-Whos-on-Top
  5. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/tips_for_keeping_a_gratitude_journal
  6. http://jamesclear.com/quality-comparison
  7. http://www.prochange.com/transtheoretical-model-of-behavior-change
  8. https://www.sportpsych.org/nine-mental-skills-overview
  9. Turner, S., Hamilton, H., Jacobs, M., Angood, L., & Hovde Dwyer, D. (1997). The influence of fashion magazines on the body image satisfaction of college women: An exploratory analysis. Adolescence, 32(127), 603-614.
  1. Turner, S., Hamilton, H., Jacobs, M., Angood, L., & Hovde Dwyer, D. (1997). The influence of fashion magazines on the body image satisfaction of college women: An exploratory analysis. Adolescence, 32(127), 603-614.
  2. Feinstein, B., Hershenberg, R., Bhatia, V., Latack, J., Meuwly, N., & Davila, J. (2013). Negative social comparison on Facebook and depressive symptoms: Rumination as a mechanism. Psychology of Popular Media Culture, 2(3), 161-170.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,888 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา