ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาจมีหลายครั้งที่เราต้องประมาณทศนิยมหลายตำแหน่งให้เป็นทศนิยมตำแหน่งเดียวเพื่อที่จะสามารถนำตัวเลขนั้นไปใช้งานได้ง่ายขึ้น ถ้าเราเข้าใจวิธีหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมหนึ่งตำแหน่งและสองตำแหน่งแล้ว เราก็จะหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มได้เช่นกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเพิ่งสนใจทศนิยมสักชั่วครูและหาค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบก่อน วาดเส้นจำนวนและใส่ตัวเลขตั้งแต่ 10 ถึง 20 ลงไป ตัวเลขฝั่งซ้ายมือของเส้นจำนวน (อย่างเช่น13 หรือ 11 ) อยู่ใกล้ 10 ฉะนั้นค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของตัวเลขเหล่านี้จะเป็น 10 ส่วนตัวเลขฝั่งขวามือของเส้นจำนวน (อย่างเช่น 16 หรือ 17) อยู่ใกล้ 20 ฉะนั้นค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของตัวเลขเหล่านี้ก็จะเป็น 20 การประมาณทศนิยมอาจดูเหมือนยุ่งยาก แต่ก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ เราอาจใส่จำนวนใหม่เป็น "0.10, 0.11, 0.12, ..., 0.19, 0.2" และลองหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมหนึ่งตำแหน่งดู
  2. จะมีตัวเลขหลังจุดทศนิยมกี่ตัวก็ได้
    • ตัวอย่างที่ 1: จงหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมหนึ่งตำแหน่งของ 7.86
    • ตัวอย่างที่ 2: จงหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมหนึ่งตำแหน่งของ 247.137
  3. ทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งอยู่ทางขวาของจุดทศนิยม หลังจากหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมหนึ่งตำแหน่งแล้ว เราจะใส่ตัวเลขซึ่งจะเป็นคำตอบสุดท้ายของเราในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง แต่ตอนนี้ขีดเส้นใต้ตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งก่อน
    • ตัวอย่างที่ 1: เมื่อพิจารณา 7.86 จะเห็นว่า 8 อยู่ในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง
    • ตัวอย่างที่ 2: เมื่อพิจารณา 247.137 จะเห็นว่า 1 อยู่ในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง
  4. ทศนิยมตำแหน่งที่สองก็อยู่ทางขวาของจุดทศนิยมเหมือนกัน ตัวเลขในตำแหน่งนี้จะบอกเราว่าควรปัดตัวเลขขึ้นหรือลง
    • ตัวอย่างที่ 1: เมื่อพิจารณา 7.86 จะเห็นว่า 6 อยู่ในทศนิยมตำแหน่งที่สอง
    • ตัวอย่างที่ 2: เมื่อพิจารณา 247.137 จะเห็นว่า 3 อยู่ในทศนิยมตำแหน่งที่สอง
    • เมื่อจะหาค่าใกล้เคียงทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง ไม่ต้องสนใจตัวเลขที่อยู่ทางขวาของทศนิยมตำแหน่งที่สอง มันเป็นตัวเลขที่ "เพิ่มเข้ามา" เท่านั้น ไม่มีผลอะไรเท่าไหร่
  5. ปัดตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งขึ้น ถ้าตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่สองมีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไป. ตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่สองคือ 5, 6, 7, 8 หรือ 9 ใช่ไหม ถ้าใช่ "ปัดขึ้น" ด้วยการนำ 1 มาบวกกับตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง เอาตัวเลขที่อยู่หลังทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งทั้งหมดออกไป ก็จะได้คำตอบ
    • ตัวอย่างที่ 1: 7.86 มีเลข 6 อยู่ในทศนิยมตำแหน่งที่สอง ปัดขึ้นด้วยการนำ 1 มาบวกกับตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง ก็จะได้ 7.9 พร้อมกับเอาตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่สองออก
  6. ปัดลง ถ้าตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่สองมีค่าเท่ากับ 4 หรือน้อยกว่า. ตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่สองคือ 4, 3, 2, 1, หรือ 0 ใช่ไหม ถ้าใช่ "ให้ปัดลง" ด้วยการปล่อยตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งไว้คงเดิม แค่เอาตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่สองและตัวเลขอื่นๆ ที่อยู่ถัดจากตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่สองออกไป
    • ตัวอย่างที่ 2: 247.137 มี 3 ในทศนิยมตำแหน่งที่สอง ปัดลงด้วยการเอาตัวเลขหลังทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งออกให้หมด ก็จะได้ 247.1
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การประมาณค่าในกรณีพิเศษ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปัดตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งให้เป็นศูนย์. ถ้าตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งเป็นศูนย์และเราปัดลง ให้ใส่ศูนย์ไว้ในคำตอบด้วย ตัวอย่างเช่น 4.03 สามารถหาค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมหนึ่งตำแหน่งได้เป็น 4.0 การคงศูนย์ไว้จะทำให้ค่าที่ได้มีความแม่นยำมากกว่า จะเขียนแค่ "4" ก็ไม่ผิด แต่จะทำให้เราลืมไปว่าจำนวนนี้มีทศนิยมอยู่
  2. การประมาณจำนวนลบก็เหมือนการประมาณจำนวนบวก ทำตามขั้นตอนการประมาณตามที่กล่าวไว้ข้างต้นและคงเครื่องหมายลบไว้ในคำตอบ ตัวอย่างเช่น -12.56 สามารถประมาณได้เป็น -12.6 และ -400.333 สามารถประมาณได้เป็น -400.3
    • ระวังความหมายของการ "ปัดลง"และ "ปัดขึ้น" ถ้าเรามองหาจำนวนที่ยกตัวอย่างมาบนเส้นจำนวน ก็จะเห็นว่าการประมาณ -12.56 เป็น -12.6 ทำให้จำนวนนี้เคลื่อนที่ไปทางซ้าย ฉะนั้นนี้จึงเป็น "การปัดลง" ถึงแม้เราจะนำ 1 ไปบวกกับตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งก็ตาม
  3. อย่าสับสน เมื่อเจอจำนวนที่มีทศนิยมหลายตำแหน่ง เรายังใช้วิธีประมาณค่าแบบเดิม ดูตัวเลขที่อยู่ในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งและตัดสินว่าจะปัดขึ้นหรือลง หลังจากประมาณเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัวเลขทั้งหมดที่อยู่ทาง ซ้ายมือ ของตัวเลขที่อยู่ในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งจะยังคงเหมือนเดิม และตัวเลขทั้งหมดที่อยู่ทาง ขวามือ ของตัวเลขทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งจะหายไป จะขอยกตัวอย่างมาสักสามตัวอย่าง
    • 7192403242401.29 ประมาณเป็น 7192403242401.3
    • 5.0620138424107 ประมาณเป็น 5.1
    • 9000.30001 ประมาณเป็น 9000.3
  4. ปล่อยจำนวนที่ไม่มีตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่สองไว้เหมือนเดิม. ถ้าเห็นจำนวนนั้นมีตัวเลขในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งเท่านั้น ไม่มีตัวเลขหลังจากตัวเลขนั้นอีก แสดงว่าจำนวนนั้นได้ถูกประมาณค่าใกล้เคียงให้อยู่ในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่งเรียบร้อยแล้ว เราก็ไม่ต้องทำอะไรอีก แบบฝึกหัดข้อนี้อาจหลอกเราให้หาค่าประมาณทั้งที่ไม่จำเป็นก็ได้
    • ตัวอย่างเช่น 1509.2 เป็นจำนวนที่ถูกประมาณเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณครูหรือตำราบางเล่มอาจบอกให้ ปัดลง ถึงแม้ทศนิยมตำแหน่งที่สองมีค่าเท่ากับ 5 วิธีนี้อาจไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ก็ไม่ใช่การประมาณที่ผิดแต่อย่างใด เพราะ 5 นั้นเป็นตัวเลขที่อยู่ตรงกลางระหว่างจำนวนสองจำนวน ไม่ว่าประมาณอย่างไร ก็ได้ค่าที่แม่นยำเช่นกัน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 62,879 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา