ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

รูปหลายเหลี่ยมนั้นหมายถึงรูปทรงนูนสองมิติที่มีด้านและมุมวัดได้ขนาดเท่ากัน รูปหลายเหลี่ยมหลายประเภท เช่น รูปสี่เหลี่ยม หรือ รูปสามเหลี่ยม มีสูตรง่ายๆ สำหรับหาพื้นที่ แต่หากคุณต้องเจอโจทย์รูปหลายเหลี่ยมที่มีมากกว่าสี่ด้าน ทางที่ดีคงต้องใช้สูตรซึ่งใช้ระยะแนบในกับเส้นรอบรูปของรูปหลายเหลี่ยมนั้น เพียงใช้ความพยายามเล็กน้อยคุณก็สามารถหาพื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยมได้ภายในไม่กี่นาที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

คำนวณพื้นที่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เส้นรอบรูปเป็นผลรวมความยาวของเส้นรอบนอกของรูปสองมิติใดๆ สำหรับรูปหลายเหลี่ยมปกติ มันสามารถหาได้โดยการคูณความยาวของด้านใดด้านหนึ่งด้วยจำนวนด้าน ( n ) [1]
  2. ระยะแนบในของรูปหลายเหลี่ยมปกติคือระยะที่สั้นที่สุดจากจุดศูนย์กลางไปยังด้านใดด้านหนึ่งทำให้เกิดมุมฉาก การคำนวณจะซับซ้อนกว่าการหาเส้นรอบรูปเล็กน้อย
    • สูตรในการคำนวณความยาวของระยะแนบในคือ: ความยาวของด้าน ( s ) หารด้วย 2 เท่าของแทนเจนต์ (tan) มุม 180 องศาหารด้วยจำนวนด้าน ( n )
  3. พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยมธรรมดาใดๆ หาได้ด้วยสูตร: พื้นที่ = ( a x p )/2 , โดยที่ a คือความยาวของระยะแนบใน และ p คือเส้นรอบรูปของรูปหลายเหลี่ยม
  4. ตัวอย่าง สมมติให้รูป 6 เหลี่ยมมีความยาวด้าน ( s ) เท่ากับ 10
    • เส้นรอบรูปเท่ากับ 6 x 10 ( n x s ) จะได้ 60 (ดังนั้น p = 60)
    • ระยะแนบในนั้นคำนวณด้วยสูตรของมันเอง โดยแทนค่า 6 กับ 10 ใน n กับ s และผลของ 2tan(180/6) คือ 1.1547 จากนั้นหาร 10 ด้วย 1.1547 ได้เท่ากับ 8.66
    • พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยมคือ พื้นที่ = a x p / 2 หรือ 8.66 คูณด้วย 60 หารด้วย 2 ผลคือมีพื้นที่เท่ากับ 259.8 หน่วย
    • โปรดสังเกตให้ดีว่ามันไม่มีวงเล็บในสมการ "พื้นที่" ดังนั้น 8.66 หารด้วย 2 คูณด้วย 60 จะได้ผลลัพธ์เดียวกัน เหมือนที่ 60 หารด้วย 2 คูณด้วย 8.66 ได้ค่าเท่ากัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เข้าใจแนวคิดในรูปแบบต่างออกไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจว่ารูปหลายเหลี่ยมปกติสามารถคิดอีกอย่างว่าเป็นสามเหลี่ยมหลายๆ อันมารวมกัน. แต่ละด้านแทนฐานของสามเหลี่ยมหนึ่งอัน และมีจำนวนสามเหลี่ยมเท่ากับจำนวนด้านของรูปหลายเหลี่ยมนั้นๆ สามเหลี่ยมแต่ละอันจะมีความยาวฐาน ความสูงและพื้นที่เท่ากัน [2]
  2. พื้นที่ของสามเหลี่ยมคือ 1/2 ของความยาวฐาน (ซึ่งในรูปหลายเหลี่ยมนั้นคือความยาวของด้าน) คูณกับความสูง (ซึ่งเป็นอย่างเดียวกับระยะแนบในของรูปหลายเหลี่ยมปกติ) [3]
  3. บอกอีกครั้งว่าสูตรของรูปหลายเหลี่ยมคือ 1/2 ของระยะแนบในคูณด้วยเส้นรอบรูป เส้นรอบรูปนั้นก็คือความยาวของด้านหนึ่งคูณกับจำนวนด้าน ( n ); สำหรับรูปหลายเหลี่ยมปกตินั้น n ยังแทนจำนวนของสามเหลี่ยมที่ประกอบกันเป็นรูปทรงนั้น สูตรจึงไม่ใชช่อะไรเลยนอกจากพื้นที่ของสามเหลี่ยมคูณด้วยจำนวนสามเหลี่ยมในรูปหลายเหลี่ยมนั้น [4]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สำหรับข้อมูลในการหาที่ติดรากที่สอง ให้ดูบทความการคูณรากที่สองและการหารรากที่สองในวิกิฮาว
  • หากวาดรูปแปดเหลี่ยม (หรืออะไรก็ตาม) แยกให้เป็นสามเหลี่ยม และพื้นที่ของสามเหลี่ยมอันหนึ่งถูกบอกมาให้แล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องรู้ระยะแนบใน แค่เอาพื้นที่สามเหลี่ยมที่ว่าคูณกับจำนวนด้านของรูปหลายเหลี่ยมเดิมนั้นได้เลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,470 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา