ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ใครไม่เคยเรียนภาษาอังกฤษมาก่อน หรือเพิ่งเริ่มเรียนสดๆ ร้อนๆ คงมองว่าพยัญชนะ 26 ตัวในภาษาอังกฤษดูเขียนยากจัง แต่ถ้าอยากเขียนภาษาอังกฤษให้ได้เชี่ยวชาญ ก็ต้องเริ่มจากหัดเขียนพยัญชนะ เพื่อให้เขียนคำ ไปจนถึงแต่งประโยคได้ ไม่ว่าจะฝึกเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษเองหรือสอนลูกๆ จุดสำคัญคือต้องค่อยเป็นค่อยไป ฝึกเขียนไปทีละตัวอักษรจนคล่องมือ หมายเหตุ: ถ้าเขียนเฉพาะพยัญชนะ เวลาจบแต่ละตัวอย่าใส่จุด (period ".") หรือลูกน้ำ (comma ",")

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ตัวพิมพ์ใหญ่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเขียนในกระดาษแบบมีเส้นบรรทัด แต่ละตัวอักษรจะออกมาเสมอ ไม่เอียง ตัวใหญ่-เล็กเท่ากัน แถมทำให้เห็นขนาดที่แตกต่างกันชัดเจน ระหว่างตัวพิมพ์เล็ก (lowercase) กับตัวพิมพ์ใหญ่ (uppercase)
    • ถ้าจะสอนเด็กเขียนพยัญชนะภาษาอังกฤษ ต้องคอยพูดแนะนำไประหว่างเด็กหัดเขียนแต่ละตัว เช่น พอเขียนตัว “A” และตัว “B” เสร็จ ก็ให้ถามความแตกต่างระหว่างแต่ละตัวอักษร จะช่วยให้เด็กจดจำพยัญชนะแต่ละตัวได้ และสังเกตเห็นรูปร่างที่แตกต่างกันไปของแต่ละพยัญชนะ [1]
  2. ลากเส้นเฉียงขึ้นไปทางขวา "/" หยุดแล้วลากต่อให้เส้นเฉียงลงทางขวา "\" ปลายของทั้ง 2 เส้นจะจรดกันทำมุมด้านบน "/\" ลากเส้นนอนตรงกลางระหว่าง 2 เส้นเฉียง "A" เท่านี้ก็จะได้ตัว A [2]
  3. ลากเส้นตรงแนวตั้ง "|" แล้ววาดครึ่งวงกลม 2 รูปทางขวา ลงมาตามเส้นตรง "B" เท่านี้ก็จะได้ตัว B
  4. วาดรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ให้ด้านที่เปิดอยู่ทางขวา "C" เท่านี้ก็ได้ตัว C
  5. ลากเส้นตรงแนวตั้ง "|" แล้วเขียนตัว C กลับด้าน (ขั้นตอนที่ 3) โดยเริ่มจากจุดขวาบน "D" เท่านี้ก็ได้ตัว D
  6. ลากเส้นตรงแนวตั้ง "|" แล้วลากเส้นนอน 3 เส้นทางด้านขวา แต่ละเส้นให้สั้น 1/3 ของเส้นตั้ง (แต่เส้นกลางต้อง สั้นกว่า เส้นบนและล่าง) ให้ลากเส้นหนึ่งที่ด้านบน อีกเส้นตรงกลาง และเส้นสุดท้ายที่ด้านล่าง "E" เท่านี้ก็จะได้ตัว E
  7. เขียนตัว E (ตามขั้นตอนที่ 5) แต่ไม่ต้องขีดเส้นที่ 3 ด้านล่าง "F" เท่านี้ก็ได้ตัว F
  8. เขียนตัว C (ตามขั้นตอนที่ 3) แล้วลากเส้นนอน โดยเริ่มจากปลายเส้นด้านล่าง ลากเข้าไปข้างในครึ่งทาง "G" เท่านี้ก็ได้ตัว G
  9. ลากเส้นตั้ง 2 เส้น ขนานกัน "| |" แล้วลากเส้นนอนตรงกลาง เชื่อม 2 เส้นเข้าด้วยกัน "H" เท่านี้ก็ได้ตัว H
  10. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น "|" จะลากเส้นนอน เส้นสั้นๆ 2 เส้น ที่ด้านบนและด้านล่างของเส้นตั้งด้วยก็ได้ โดยที่เส้นตั้งเชื่อมต่อกับเส้นนอน 2 เส้นตรงกลาง เท่านี้ก็ได้ตัว I
  11. วาดตะขอของเบ็ดตกปลาแบบกลับด้าน "J" เท่านี้ก็ได้ตัว J
  12. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น "|" แล้วลากเส้นเฉียง 2 เส้น โดยเริ่มจากตรงกลางของเส้นตั้ง เฉียงออกไปทางขวา เส้นหนึ่งเฉียงขึ้น อีกเส้นเฉียงลง "K" เท่านี้ก็ได้ตัว K
  13. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น "|" แล้วลากเส้นนอนสั้นๆ จากด้านล่าง ไปทางขวา "L" เท่านี้จะได้ตัว L
  14. ลากเส้นตั้ง 2 เส้น ขนานกัน "| |" แล้วลากเส้นเฉียง 2 เส้นจากด้านบนของเส้นตั้งทั้งสอง ลงมาจรดกันตรงกลาง "M" เท่านี้ก็ได้ตัว M
  15. ลากเส้นตั้ง 2 เส้น ขนานกัน "| |" แล้วลากเส้นเฉียงจากด้านบนของเส้นตั้งทางซ้าย ลงมาจรดด้านล่างของเส้นตั้งทางขวา "N" เท่านี้ก็ได้ตัว N
  16. วาดพระจันทร์เต็มดวง "O" เท่านี้ก็ได้ตัว O
  17. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น "|" แล้ววาดครึ่งวงกลมทางขวา ด้านบนของเส้นตั้ง โดยลากจากปลายบนลงมาจรดกลางเส้น "P" เท่านี้ก็ได้ตัว P
  18. วาดพระจันทร์เต็มดวง "O" จากนั้นตรงมุมขวาล่าง ให้ลากเส้นสั้นๆ เฉียงไปทางขวา ตัดเข้าไปในเส้นของตัว O นิดหน่อย "Q" เท่านี้ก็ได้ตัว Q
  19. เขียนตัว P (ตามขั้นตอนที่ 16) แล้วลากเส้นสั้นๆ จากจุดที่ครึ่งวงกลมบรรจบกับกลางเส้นตั้ง ให้เฉียงลงมาทางขวา "R" เท่านี้ก็ได้ตัว R
  20. ลากเส้นโค้งไปทางซ้าย แล้วโค้งไปทางขวา จากนั้นโค้งมาทางซ้ายอีกที (เหมือนเขียนเลข 8 แค่ครึ่งเดียว) ทั้งหมดนี้ให้ลากเส้นในครั้งเดียว "S" เท่านี้ก็ได้ตัว S
  21. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น "|" แล้วลากเส้นนอนเส้นสั้นๆ ที่ด้านบน "T" เท่านี้ก็ได้ตัว T
  22. วาดรูปเกือกม้า ให้ด้านเปิดอยู่ข้างบน "U" เท่านี้ก็ได้ตัว U
  23. ลากเส้นเฉียง 2 เส้นมาบรรจบกัน โดยที่เส้นแรกลากจากซ้ายบนลงมาที่ขวาล่าง และเส้นที่ 2 จากขวาบนเฉียงลงมาที่ซ้ายล่าง "V" เท่านี้ก็ได้ V
  24. เขียนตัว V (ตามขั้นตอนที่ 22) สองตัวติดกัน "W" เท่านี้ก็ได้ตัว W
  25. ลากเส้นเฉียงขึ้นไปทางขวาบน แล้ววาดเส้นเฉียงอีกเส้นตัดผ่านไปทางซ้ายบน "X" เท่านี้ก็ได้ตัว X
  26. เขียนตัว V (ตามขั้นตอนที่ 22) แล้วลากเส้นตรงลงมา จากมุมแหลม "Y" เท่านี้ก็ได้ตัว Y
  27. ลากเส้นนอน ตามด้วยเส้นเฉียงลงไปทางซ้ายล่าง สุดท้ายลากเส้นนอนไปทางขวาอีกที ทั้งหมดนี้ในการลากครั้งเดียว "Z" เท่านี้ก็จะได้ตัว Z
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ตัวพิมพ์เล็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเขียนในกระดาษแบบมีเส้นบรรทัด แต่ละตัวอักษรจะออกมาเสมอ ไม่เอียง ตัวใหญ่-เล็กเท่ากัน แถมทำให้เห็นขนาดที่แตกต่างกันชัดเจน ระหว่างตัวพิมพ์เล็ก (lowercase) กับตัวพิมพ์ใหญ่ (uppercase)
    • ถ้าจะสอนเด็กเขียนพยัญชนะภาษาอังกฤษ ต้องคอยพูดแนะนำไประหว่างเด็กหัดเขียนแต่ละตัว เช่น พอเขียนตัว “A” และตัว “B” เสร็จ ก็ให้ถามความแตกต่างระหว่างแต่ละตัวอักษร เช่น "หนูว่า 2 ตัวอักษรนี้ต่างกันยังไงคะ?" จะช่วยให้เด็กจดจำพยัญชนะแต่ละตัวได้ และสังเกตเห็นรูปร่างที่แตกต่างกันไปของแต่ละพยัญชนะ [3]
  2. เริ่มจากวาดวงกลม พอลากกลับมาถึงจุดเริ่มต้นแล้ว ให้ลากเส้นตั้งต่อไป "|" ก็จะได้ตัว a [4]
  3. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น "|" แล้วเขียนตัว c เล็กกลับด้าน ให้บรรจบกับเส้นตั้ง เท่านี้ก็ได้ตัว b
  4. ตัว c จะเขียนเหมือนกัน ทั้งตัวพิมพ์ใหญ่ (uppercase) และตัวพิมพ์เล็ก (lowercase) แต่ถ้าจะเขียนตัวพิมพ์เล็ก ก็ต้องเขียนให้ตัว c เล็กกว่าตัว C ใหญ่เท่านั้นเอง เพื่อให้มีขนาดเท่ากับพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กอื่นๆ เท่านี้ก็ได้ตัว c
  5. ตัว d เล็กนั้นเขียนเหมือนตัว b เล็ก (ขั้นตอนที่ 2 ของหัวข้อตัวพิมพ์เล็ก) แต่กลับด้าน ให้เริ่มจากลากเส้นตั้ง 1 เส้น แล้วเขียนตัว c เล็กทางด้านซ้ายล่างของเส้นตั้ง เท่านี้ก็ได้ตัว d
  6. ตัว e เล็กเขียนง่าย แค่โค้งไปโค้งมานิดเดียว ขั้นแรกให้ลากเส้นนอนสั้นๆ จากนั้นลากเส้นโค้งขึ้นไปแล้วโค้งกลับมาจนได้ตัว c ทีมีขีดนอนตรงกลาง นี่แหละตัว e
  7. ลากเส้นโค้ง แล้วลากเส้นตั้งยาวลงมา สุดท้ายขีดเส้นนอนสั้นๆ ตัดกลางเส้นตั้ง ค่อนไปทางด้านบน เท่านี้ก็ได้ตัว f
  8. เขียนตัว c แล้วประกบด้วยตัว f เล็กกลับหัว (ขั้นตอนที่ 6 ในหัวข้อตัวพิมพ์เล็ก แต่ไม่ต้องขีดเส้นนอนตรงกลาง) ห้อยยาวลงมา เท่านี้ก็ได้ตัว g
  9. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น แล้วลากเส้นโค้งไปทางขวา จากจุดประมาณกลางเส้นตั้ง ตามด้วยลากเส้นยาวลงมาเป็นเส้นตั้งอีกเส้น นี่คือตัว h
  10. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น แล้วเติมจุดที่ด้านบน เท่านี้ก็ได้ตัว i
  11. เขียนเหมือนตัว J ใหญ่ แต่ให้ห้อยต่ำลงไปจากเส้นบรรทัด แล้วเติมจุดที่ด้านบน เท่านี้ก็ได้ตัว j
  12. เขียนเหมือนตัว K ใหญ่ แต่เส้นทางขวาที่เฉียงขึ้นและลงจะไม่ยาวถึงด้านบน นี่แหละตัว k
  13. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น จริงๆ แค่นี้ก็เสร็จแล้ว แต่จะลากเส้นนอนสั้นๆ รองข้างใต้ (ให้เส้นตั้งบรรจบตรงกลางของเส้นนอน) กับลากเส้นนอนสั้นๆ อีกเส้นจากด้านบนของเส้นตั้ง ไปทางซ้าย ด้วยก็ได้ เท่านี้ก็ได้ตัว l
  14. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น จากนั้นลากเส้นโค้งจากแถวๆ ด้านบนของเส้นตั้งขึ้นไปทางขวา ("ชามคว่ำ" ไม่ใช่ "ชามหงาย") แล้วลากกลับลงมาเป็นเส้นตั้งอีกเส้น ต่อมาลากเส้นตั้งย้อนขึ้นไปตามเดิม ตามด้วยเส้นโค้งที่ลากยาวลงมา (ได้เส้นตั้ง 3 เส้น เส้นโค้ง 2 เส้นระหว่างกลาง) นี่แหละตัว m
  15. เขียนเหมือนตัว m เล็ก (ขั้นตอนที่ 13 ในหัวข้อตัวพิมพ์เล็ก) แต่ลากเส้นโค้งแค่ครั้งเดียว นี่แหละตัว n
  16. เขียนเหมือนตัว O ใหญ่ แค่ย่อขนาดลงมาให้เท่ากับพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กอื่นๆ เท่านี้ก็ได้ตัว o
  17. เขียนเหมือนตัว P ใหญ่ แต่ห้อยต่ำลงมาล่างบรรทัด ก็จะได้ตัว p
  18. เขียนเหมือนตัว p เล็กกลับด้าน (ขั้นตอนที่ 16 ในหัวข้อตัวพิมพ์เล็ก) เท่านี้ก็ได้ตัว q
  19. ลากเส้นตั้ง 1 เส้น แล้วลากเส้นโค้งเล็กๆ แถวๆ ด้านบนของเส้นตั้ง ไปทางขวา ให้ได้ "ชามคว่ำ" เท่านี้ก็ได้ตัว r
  20. เขียนเหมือนตัว S ใหญ่ แค่ย่อขนาดลงมาให้เท่ากับพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กอื่นๆ เท่านี้ก็ได้ตัว s
  21. เขียนเหมือนตัว T ใหญ่ แต่จะมีเส้นนอนตัดเส้นตั้ง ถัดลงมาจากด้านบนนิดหน่อย ไม่ได้บรรจบด้านบนเหมือนตัวพิมพ์ใหญ่ จะตวัดหางของเส้นตั้งให้โค้งขึ้นมานิดๆ ("ชามหงาย") ทางขวาก็ได้ นี่แหละตัว t
  22. เขียนเหมือนตัว U ใหญ่ แค่ย่อขนาดลงมาให้เท่ากับพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กอื่นๆ รวมถึงเติมเส้นตรงยาวลงมาจากมุมขวาล่าง เป็น "หาง" เล็กๆ ด้วย เท่านี้ก็ได้ตัว u
  23. เขียนเหมือนตัว V ใหญ่ แค่ย่อขนาดลงมาให้เท่ากับพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กอื่นๆ นี่แหละตัว v
  24. เขียนได้ 2 วิธีด้วยกัน คือเขียนเหมือนตัว W ใหญ่ แค่ย่อขนาดลงมาให้เท่ากับพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กอื่นๆ หรือเขียนเหมือนตัว U ใหญ่ 2 ตัวติดกัน โดยย่อขนาดลงมาให้เท่ากับพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กอื่นๆ ให้สมกับที่เรียกว่า "double u" เท่านี้ก็ได้ตัว w
  25. เขียนเหมือนตัว X ใหญ่ แค่ย่อขนาดลงมาให้เท่ากับพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กอื่นๆ เท่านี้ก็ได้ตัว x
  26. เขียนตัว v เล็ก (ขั้นตอนที่ 22 ในหัวข้อตัวพิมพ์เล็ก) แต่พอ 2 เส้นมาบรรจบกันเป็นมุมแหลมแล้ว ให้ลากเส้นขวายาวลงมา เท่านี้ก็ได้ตัว y
  27. เขียนเหมือนตัว Z ใหญ่ แค่ย่อขนาดลงมาให้เท่ากับพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กอื่นๆ เท่านี้ก็ได้ตัว z
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ตัวเขียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเขียนในกระดาษแบบมีเส้นบรรทัด แต่ละตัวอักษรจะออกมาเสมอ ไม่เอียง ตัวใหญ่-เล็กเท่ากัน แถมทำให้เห็นขนาดที่แตกต่างกันชัดเจน ระหว่างตัวพิมพ์เล็ก (lowercase) กับตัวพิมพ์ใหญ่ (uppercase) [5]
    • ถ้าจะหัดเขียนพยัญชนะแบบตัวเขียน ใช้กระดาษแบบมีเส้นบรรทัดจะดีที่สุด เพราะเวลาลากเส้นม้วนเส้นตวัดแล้วไม่มีเส้นบรรทัดเป็นแนวทางจะกะระยะยากหน่อย
    • เวลาหัดเขียนพยัญชนะแบบตัวเขียน ให้เริ่มหัดจากตัวพิมพ์เล็กก่อน แล้วค่อยหัดเขียนตัวพิมพ์ใหญ่ เพราะตัวพิมพ์เล็กจะเขียนง่ายกว่า จนกว่าจะจับทางได้ว่าตัวเขียนมันเป็นแบบนี้นี่เอง
  2. เริ่มจากลากเส้นโค้งลาดลงมา ให้ได้ตัว O เล็กแบบเฉียงๆ ทางด้านซ้ายบนของตัว O ให้ลากเส้นโค้งลงมาแล้วตวัดปลายขึ้น เท่านี้ก็ได้ตัว a
  3. ลากเส้นโค้งขึ้นไป แล้วโค้งลงตัดกันเป็นห่วง จากนั้นลากเส้นโค้งต่อไปเป็นตัว U เล็ก แล้วตวัดหางตัว U เป็นเส้นโค้งสั้นๆ ทางขวา เท่านี้ก็ได้ตัว b
  4. เริ่มจากเส้นโค้งตรงกลางหน้า โค้งลงเป็นวงกลม แล้วตวัดปลายยาวๆ ขึ้นไปทางขวาของกระดาษ จะยาวเลยโค้งบนขึ้นไปก็ได้ เท่านี้ก็จะได้ตัว c
  5. ลากเส้นโค้งเหมือนเขียนตัว O เล็กเฉียงๆ แล้วลากเส้นตรงยาวลงมาจากด้านบนของกระดาษ ชิดไปกับด้านขวาของตัว O เสร็จแล้วโค้งทางด้านล่าง ตวัดปลายขึ้นไปด้านบน ทางขวาของกระดาษ เท่านี้ก็ได้ตัว d
  6. ลากเส้นโค้งขึ้นไปที่บรรทัดกลางของหน้ากระดาษ ลากโค้งเป็นห่วงแล้วตวัดปลายขึ้นไปยาวๆ ทางขวาของกระดาษ เท่านี้ก็ได้ตัว e
  7. เป็นตัวที่เขียนยากหน่อย เพราะงั้นต้องฝึกเขียนเยอะๆ เริ่มจากลากเส้นเฉียงขึ้นไปยาวๆ เหมือนตอนเขียนตัว b เล็ก ลากม้วนให้เป็นห่วงลงมา ให้ได้อีกห่วงด้านล่าง ใต้บรรทัดเส้นล่างสุด แล้วตวัดปลายจากห่วงด้านล่างขึ้นไปทางขวาของกระดาษ เท่านี้ก็ได้ตัว f
  8. เริ่มจากเขียนตัว O เฉียงๆ ที่มุมขวาล่างของตัว O ให้ลากเส้นเฉียงลงมาใต้บรรทัดล่างของกระดาษ แล้วม้วนกลับขึ้นไป เท่านี้ก็ได้ตัว g
  9. ลากเส้นเฉียงขึ้นไปเหมือนตอนเริ่มเขียนตัว b เล็ก แล้วม้วนเป็นห่วงลงมายาวๆ ที่ปลายเส้นตั้งด้านล่าง ให้ลากเส้นโค้งเป็นตัว u เล็กคว่ำ เท่านี้ก็ได้ตัว h
  10. ลากเส้นเฉียงขึ้นไปที่บรรทัดกลางของกระดาษ แล้วลากเส้นโค้งจากตรงกลางลงมาที่ด้านขวาล่างของกระดาษ อย่าลืมเติมจุดตรงกลางด้านบน ตรงที่ 2 เส้นบรรจบกัน เท่านี้ก็ได้ตัว i
  11. ลากเส้นเฉียงขึ้นไปที่บรรทัดกลางของกระดาษ แล้วลากเส้นกลับลงมายาวๆ เลยบรรทัดล่างของกระดาษไป จากนั้นม้วนเป็นห่วงที่ด้านล่าง แล้วลากเส้นเฉียงกลับขึ้นมา ทางขวาของกระดาษ เท่านี้ก็ได้ตัว j
  12. ลากเส้นเฉียงขึ้นไปเหมือนตอนเริ่มเขียนตัว b เล็ก ม้วนเป็นห่วง แล้วลากเส้นกลับลงมายาวๆ ที่ปลายเส้นตั้งด้านล่าง ให้โค้งกลับขึ้นไปเหมือนตัว O เล็กเฉียงๆ แล้วตวัดปลายตัว O โค้งลงแล้วขึ้นไปทางขวาของกระดาษ เท่านี้ก็ได้ตัว k
  13. ลากเส้นเฉียงขึ้นไป ม้วนเป็นห่วง แล้วลากกลับลงมายาวๆ สุดท้ายตวัดปลายโค้งกลับขึ้นไปทางขวาของกระดาษ เท่านี้ก็ได้ตัว l
  14. เขียนตัว u คว่ำ เล็กๆ แคบๆ เสร็จแล้วลากโค้งกลับขึ้นไปจากด้านล่าง ให้ได้ตัว u คว่ำอีกตัว ตามด้วยตัว u คว่ำเป็นตัวที่ 3 เท่านี้ก็ได้ตัว m
  15. เขียนตัว u คว่ำ เล็กๆ แคบๆ เสร็จแล้วลากโค้งกลับขึ้นไปจากด้านล่าง ให้ได้ตัว u คว่ำอีกตัว เท่านี้ก็ได้ตัว n
  16. วาดวงกลมเฉียงๆ แล้วตวัดเส้นโค้งสั้นๆ ขึ้นไปทางขวาของกระดาษ ที่ด้านบนของวงกลม เท่านี้ก็ได้ตัว o
  17. เริ่มจากบรรทัดล่างของหน้ากระดาษ ลากเส้นเฉียงขึ้นไปสั้นๆ แล้วลากกลับลงมา ตวัดเป็นห่วง ใต้บรรทัดล่างของหน้า จากนั้นลากเส้นกลับขึ้นมา แล้วเขียนเป็นตัว O เล็กเฉียงๆ ปิดท้ายโดยตวัดปลายตัว O เฉียงขึ้นด้านบน ทางขวาของกระดาษ เท่านี้ก็ได้ตัว p
  18. เขียนตัว O กลมๆ เฉียงๆ เหมือนตอนจะเริ่มเขียนตัว a เล็กแบบตัวเขียน ทางขวาของตัว O ให้ลากเส้นลงมา ตวัดเป็นห่วงใต้บรรทัดล่างของหน้า แล้วลากเส้นจากด้านบนของห่วงไปยังบรรทัดกลางของหน้า เท่านี้ก็ได้ตัว q
  19. เริ่มจากลากเส้นเฉียงขึ้นไปบรรทัดกลางของหน้า ลากเส้นเฉียงสั้นๆ ไปทางขวา จากด้านบนของเส้นโค้งขึ้น ลากโค้งลงจากตรงปลาย ไปถึงบรรทัดล่าง เท่านี้ก็ได้ตัว r
  20. ลากเส้นโค้งขึ้นด้านบน ไปถึงกลางหน้ากระดาษ ที่ด้านบนของเส้นโค้ง ให้ลากเส้นโค้งลงมาจนบรรจบกับด้านล่างของเส้นแรก สุดท้ายตวัดขึ้นไป เท่านี้ก็ได้ตัว s
  21. ลากเส้นตั้งขึ้นไป แล้วลากกลับลงมาตรงๆ ตามเส้นเดิม จากนั้นตวัดโค้งขึ้นไปทางขวาของหน้า สุดท้ายลากเส้นนอนสั้นๆ ตัดกลางเส้นตั้ง เท่านี้ก็ได้ตัว t
  22. เริ่มจากลากเส้นเฉียงขึ้นไปจากบรรทัดล่างถึงบรรทัดกลาง แล้วลากโค้งลงมา สุดท้ายตวัดกลับขึ้นไป เท่านี้ก็ได้ตัว u
  23. เริ่มจากลากเส้นเฉียงขึ้นไปจากบรรทัดล่างถึงบรรทัดกลาง แล้วลากโค้งลงมาให้ได้ตัว u แคบๆ สุดท้ายตวัดปลายขึ้นไปทางขวาของหน้า เท่านี้ก็ได้ตัว v
  24. เขียนตัว u 2 ตัวติดกัน ให้โค้งขึ้นจากบรรทัดล่างถึงบรรทัดกลาง แล้วโค้งลง จากนั้นตวัดขึ้น ทำซ้ำแล้วปิดท้ายโดยตวัดเฉียงไปทางขวาของหน้า เท่านี้ก็ได้ตัว w
  25. เขียนตัว n กว้างๆ ลากเส้นโค้งจากบรรทัดล่างถึงบรรทัดกลาง แล้วลากขึ้นไปที่บรรทัดกลางอีกครั้ง ปิดท้ายโดยลากเส้นเฉียงจากด้านขวาไปทางซ้ายของหน้า ตัดกลางตัว n เท่านี้ก็ได้ตัว x
  26. เริ่มจากลากเส้นเฉียงขึ้นไปจากบรรทัดล่างถึงบรรทัดกลาง แล้วโค้งกลับลงมาให้ได้ตัว n กว้างๆ ที่ปลายตัว n ให้ลากเส้นโค้งลง ม้วนเป็นห่วงข้างใต้บรรทัดล่างของหน้า สุดท้ายลากเส้นที่ปลายห่วงกลับขึ้นไปทางขวาของหน้า เท่านี้ก็ได้ตัว y
  27. ตัว z แบบตัวเขียนจะแตกต่างจากตัว z แบบตัวพิมพ์มาก ให้เริ่มจากลากเส้นเฉียงจากบรรทัดล่างไปที่บรรทัดกลาง เป็นเส้นโค้งเฉียงไปทางขวา ที่ปลายให้ตวัดโค้งกลับขึ้นมา แล้วเฉียงลง ใต้บรรทัดล่างของหน้า ม้วนเป็นห่วงใต้บรรทัดล่าง แล้วลากกลับขึ้นมาทางขวาของหน้า เท่านี้ก็ได้ตัว z
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ฝึกเขียนเข้าไว้ แล้วจะเขียนคล่อง ลายมือสวย แน่นอน !
  • พอเขียนแต่ละตัวอักษรคล่องแคล่วขึ้นใจแล้ว ให้จับมาผสมคำต่างๆ ดู เช่น ขั้นตอนที่ 20, 8 และ 5 รวมกันได้คำว่า THE ส่วนขั้นตอนที่ 3, 1 และ 20 รวมกันได้คำว่า CAT และขั้นตอนที่ 1, 20 และ 5 รวมกันได้คำว่า ATE พอเราจับ 3 คำนี้มารวมกันอีกที ก็จะได้เป็นประโยคว่า THE CAT ATE
  • ถ้าอยากเขียนให้ได้คล่องๆ ในเวลาอันรวดเร็ว ก็ต้องหาเวลาฝึกฝนทุกวันอย่าให้ขาด ใครจะเข้าคอร์สคัดลายมือ หรือถึงขั้น calligraphy เลยก็ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 78,329 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา