ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ภาคผนวกก็เหมือนกับไส้ติ่งของมนุษย์ กล่าวคือ เป็นส่วนช่วยเติมเต็มแต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมี ภาคผนวกอาจจะเขียนถึงส่วนอ้างอิงสำหรับผู้อ่าน เนื้อหาโดยย่อหรือรายละเอียดเพิ่มเติมที่กล่าวถึงวิธีการที่อยู่เบื้องหลังการทำงาน คุณอาจจะต้องเขียนภาคผนวกในโรงเรียนหรืออาจจะตัดสินใจเขียนภาคผนวกสำหรับโครงงานที่คุณกำลังทำอยู่ คุณควรเริ่มจากการเก็บรวบรวมเนื้อหาในการเขียนภาคผนวกและวางองค์ประกอบของภาคผนวกได้อย่างเหมาะสม คุณจึงจะสามารถปรับปรุงภาคผนวกเพื่อให้มีเนื้อหาที่เข้าถึงได้ง่าย มีประโยชน์ และทำให้ผู้อ่านประทับใจ (บทความนี้เน้นการเขียนภาคผนวกเป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถประยุกต์ใช้กับการเขียนภาคผนวกภาษาไทยได้)

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รวบรวมเนื้อหาสำหรับเขียนภาคผนวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ภาคผนวกควรเป็นส่วนที่คุณสามารถเขียนข้อมูลดิบที่รวบรวมระหว่างการวิจัยเพื่อเขียนงานวิจัยหรือรายงาน ในการเขียนภาคผนวกนั้น คุณควรจะเขียนข้อมูลดิบที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยเฉพาะข้อมูลที่สนับสนุนผลการวิจัยของคุณ ให้เขียนข้อมูลดิบที่กล่าวถึงหรืออภิปรายในงานวิจัยของคุณเท่านั้น เพราะคุณต้องยืนยันว่าข้อมูลนั้นมีความเกี่ยวข้องกับผู้อ่านของคุณ [1]
    • ข้อมูลดิบอาจจะกล่าวถึงตัวอย่างการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในงานวิจัย และข้อมูลชี้เฉพาะที่ช่วยขยายความข้อมูลดิบหรือข้อมูลที่ใช้อภิปรายในงานวิจัย นอกจากนี้ ข้อมูลดิบเชิงสถิติก็สามารถเขียนในภาคผนวกได้เช่นกัน
    • คุณอาจจะเขียนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่จะช่วยสนับสนุนผลการวิจัยในรายงานวิจัยของคุณ ดูให้ดีว่าคุณได้อ้างอิงข้อมูลที่คุณนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เสมอ
  2. ภาคผนวกควรจะแนบข้อมูลที่เป็นรูปภาพ เช่น กราฟ แผนภูมิ รูปภาพ แผนที่ ภาพวาด หรือภาพถ่าย เพียงแค่แนบรูปภาพที่สนับสนุนผลการวิจัยของคุณ ก็สามารถเขียนในภาคผนวกได้ [2]
    • คุณอาจจะแนบกราฟและแผนภูมิที่คุณทำด้วยตัวเอง หรือนำกราฟหรือแผนภูมิจากแหล่งข้อมูลอื่น อย่างไรก็ตาม ดูให้ดีว่าคุณได้อ้างอิงภาพทั้งหมดที่ไม่ใช่ของคุณเองในภาคผนวกด้วย
  3. คุณควรจะดูให้ดีว่าได้เขียนอุปกรณ์ที่คุณใช้ในการทำวิจัย ซึ่งอาจจะเป็นกล้องวีดิโอ เครื่องอัดเสียง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลของคุณ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจวิธีใช้อุปกรณ์ในการทำวิจัยของคุณ [3]
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเขียนในภาคผนวกว่า: “All interviews and surveys were conducted in person in a private setting and were recorded with a tape recorder.”
  4. ภาคผนวกควรจะแนบบทสัมภาษณ์หรือผลสำรวจที่คุณทำเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย ดูให้ดีว่าบทสัมภาษณ์ที่คุณเขียนนั้นครอบคลุมตลอดการสัมภาษณ์ รวมไปถึงคำถามและคำตอบระหว่างการสัมภาษณ์ หรือคุณอาจจะแนบสำเนาของแบบสำรวจที่เขียนด้วยมือหรือแบบทดสอบที่ทำบนอินเทอร์เน็ต [4]
    • คุณควรจะแนบจดหมายที่กล่าวถึงงานวิจัยของคุณ เช่น สำเนาอีเมล์ จดหมาย หรือบันทึกที่เขียนถึงหรือเขียนจากงานวิจัยของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

จัดวางรูปแบบภาคผนวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ภาคผนวกควรจะเขียนชื่อให้ชัดเจนที่ด้านบนสุดของหน้า ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เช่น “APPENDIX” หรือตัวพิมพ์ใหญ่ต้นคำ เช่น “Appendix” คุณสามารถใช้รูปแบบอักษรและขนาดเดียวกันกับที่ใช้เขียนหัวข้อบทในงานวิจัยหรือรายงานของคุณ (หากเป็นภาษาไทยให้เขียนว่า “ภาคผนวก” เท่านั้น) [5]
    • ถ้าคุณมีภาคผนวกภาคกว่าหนึ่ง ให้จัดเรียงตามตัวอักษรหรือตัวเลข และใช้รูปแบบดังกล่าวเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้ตัวอักษร ก็ให้ใช้ตัวอักษรเสมอ “Appendix A” “Appendix B” หรืออื่นๆ ถ้าคุณใช้ตัวเลข ก็ให้ใช้ตัวเลขเสมอ เช่น “Appendix 1” “Appendix 2” และอื่นๆ (ในการภาษาไทยส่วนใหญ่จะใช้ “ภาคผนวก 1” “ภาคผนวก 2” หรือ “ภาคผนวก ก” “ภาคผนวก ข”)
    • ถ้าคุณมีภาคผนวกมากกว่าหนึ่ง ดูให้ดีว่าภาคผนวกแต่ละภาคต้องขึ้นหน้าใหม่เสมอ เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสนว่าภาคผนวกที่อ่านอยู่จบหรือยัง และภาคผนวกใหม่เริ่มหรือยัง
  2. คุณควรจะลำดับเนื้อหาในภาคผนวกโดยอิงพื้นฐานจากลำดับการปรากฎของเนื้อหาในรายงานวิจัย ซึ่งจะช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลในภาคผนวกนั้นง่ายและสะดวกมากขึ้น [6]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าข้อมูลดิบกล่าวถึงในรายงานบรรทัดแรก ให้นำข้อมูลดิบนั้นเป็นภาคผนวกอันดับแรก หรือถ้าคุณกล่าวถึงคำถามสัมภาษณ์ในตอนท้ายของงานวิจัย ดูให้ดีว่าได้เขียนภาคผนวกเกี่ยวกับคำถามสัมภาษณ์ไว้ส่วนท้ายสุด
  3. ภาคผนวกควรจะปรากฏอยู่หลังบรรณานุกรมหรือรายการแหล่งข้อมูล อย่างไรก็ตาม ถ้าอาจารย์ต้องการให้ภาคผนวกอยู่ส่วนอื่นของงานวิจัย เช่น ก่อนหน้าบรรณานุกรม ก็ให้ทำตามที่อาจารย์แนะนำ [7]
    • คุณควรจะตรวจสอบรายการภาคผนวกที่สารบัญงานวิจัย ถ้าคุณมี คุณสามารถเขียนรายการหัวข้อภาคผนวกได้ เช่น “Appendix” หรือ “Appendix A” ถ้าคุณมีภาคผนวกมากกว่าหนึ่ง
  4. ภาคผนวกควรมีหมายเลขหน้าอยู่บริเวณด้านล่างของหน้ากระดาษ อาจจะอยู่บริเวณมุมขวาหรือตรงกลางก็ได้ และให้ใช้รูปแบบการวางหมายเลขหน้าให้เหมือนกันทั้งงานวิจัย การใช้หมายเลขหน้าที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่เนื้อหาไปจนถึงภาคผนวกจะทำให้เนื้อหาแต่ละส่วนมีความเป็นเนื้อเดียวกัน [8]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเนื้อหาจบที่หน้า 17 ก็ให้เขียนหมายเลขหน้าของภาคผนวกต่อจากหน้า 17
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปรับปรุงภาคผนวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจทานแก้ไขภาคผนวกเพื่อความชัดเจนและความสอดคล้องกัน. การเขียนภาคผนวกไม่ได้กำหนดจำนวนคำหรือจำนวนหน้า แต่ก็ไม่ควรจะยาวเกินความจำเป็น ลองกลับไปดูภาคผนวกที่เขียนไว้และดูว่าข้อมูลที่แนบมานั้นเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือไม่ และตัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือให้อธิบายด้วยวิธีอื่น การเขียนภาคผนวกที่ยาวเกินไปจะทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพและทำให้งานวิจัยของคุณดูไม่เป็นระเบียบ [9]
    • คุณอาจจะพบว่าการให้คนอื่นตรวจทานภาคผนวกของคุณก็เป็นวิธีประโยชน์ เช่น เพื่อนหรืออาจารย์ ลองถามดูว่าอ่านแล้วรู้สึกว่าข้อมูลทั้งหมดนั้นเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในงานวิจัยหรือไม่ และตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไป
  2. คุณควรจะตรวจทานภาคผนวกเพื่อดูว่าไม่มีข้อผิดพลาดด้านตัวสะกด ไวยากรณ์ หรือเครื่องหมายวรรคตอน ใช้โปรแกรมตรวจสอบสะกดคำบนคอมพิวเตอร์ และลองตรวจทานภาคผนวกด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง [10]
    • อ่านภาคผนวกย้อนกลับเพื่อดูว่าไม่มีการสะกดคำผิด คุณต้องเขียนภาคผนวกให้ดูเป็นมืออาชีพมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  3. เมื่อคุณทำภาคผนวกเสร็จแล้ว คุณควรจะกลับไปอ่านงานวิจัยและอ้างอิงข้อมูลในภาคผนวกโดยใช้ชื่อหัวข้อ การทำแบบนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเห็นว่าภาคผนวกมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคุณ และยังช่วยให้ผู้ให้ใช้เข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อพวกเขาอ่านเนื้อหาของคุณ [11]
    • ยกตัวอย่าง คุณอาจจะแนบภาคผนวกในเนื้อหาด้วยประโยค: “My research produced the same results in both cases (see Appendix for raw data)” หรือ “I feel my research was conclusive (see Appendix A for interview notes).”
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 278,277 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา