ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความประทับใจครั้งแรกพบ เป็นสิ่งที่มีผลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ของคุณในสายตาของผู้อื่น ดังนั้นการแนะนำตัวให้ผู้อื่นรู้จัก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายคนเปรียบการพูดแนะนำตัว เสมือนการพูดเพื่อขายสินค้าให้สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากควรใช้เวลาสั้นๆ พูดให้สั้นกระชับพอที่จะสื่อให้รู้ว่าเป้าหมายและความสนใจของคุณคืออะไร [1] เปรียบเสมือนการทำลายกำแพงน้ำแข็ง ให้คนอื่นเข้าใจและรู้ถึงตัวตนของคุณ [2] เพราะฉะนั้นควรระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำเมื่อต้องเขียนลงไปในบทพูด เพราะการพูดออกไปนั้นส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของคุณได้ทั้งแง่บวกและลบเลยล่ะนะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เตรียมบทพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มจากการเขียนโครงร่างจุดเน้นสำคัญ โดยเขียนร่างคำพูดที่ต้องการจะเล่าออกมาแล้วตัดสินใจเลือกจุดสำคัญที่สุดมาพูด โดยเรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง [3] นี่ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการวางเรื่องพูดเชียวล่ะ
    • แนะนำชื่อเป็นอย่างแรกของการพูด [4] หรืออาจจะใช้คำทักทายตรงๆ อย่างเช่น: “สวัสดียามบ่าย/อรุณสวัสดิ์ ผมชื่อสมชาย เป็นนักศึกษาสาขาพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
    • หากมีการแนะนำตัวที่พูดถึงตำแหน่งหน้าที่การงาน ควรพูดถึงความสนใจและจุดมุ่งหมายในอาชีพรวมไปในประโยคเดียวกัน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและช่วยให้เห็นเป้าหมายของคุณมากขึ้น [5] อย่างเช่น “ผมทำงานเกี่ยวกับแอปพลิเคชันที่ให้ลูกค้าสั่งพิซซ่าผ่านแอพทวิตเตอร์”
    • ในบางสถานการณ์ ที่คุณต้องการพูดถึงประวัติการศึกษาหรือประวัติการฝึกงาน ประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม เช่น [6] “นี่คือแอปพลิเคชันตัวที่ 5 ที่ผมออกแบบด้วยตนเอง ส่วนแอปพลิเคชันที่ 2 นั้น เป็นแอปพลิเคชันสำหรับช่วยผู้ที่ต้องการเลี้ยงสุนัข สามารถรับสุนัขมาเลี้ยงได้ ซึ่งได้รับรางวัลจากมหาวิทยาลัยด้วยครับ”
  2. ขึ้นกับสถานการณ์ หากต้องการกล่าวถึงควรกล่าวถึงในกรณีที่เกี่ยวข้อง โดยการกล่าวถึงความสนใจและงานอดิเรกนั้นจะช่วยให้เห็นภาพรวมของคุณ หรือสัมผัสได้ถึงบางอย่าง ขึ้นจุดประสงค์ที่ต้องการจะกล่าว
    • หากคุณต้องการพูดถึงความชอบหรือเป้าหมายและวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ จำเป็นที่จะต้องเล่าภูมิหลังของตัวคุณเองออกมาด้วย [7] อย่างเช่นหากคุณเตรียมเขียนบทพูดสำหรับการพูดหน้าชั้นเรียนที่วิทยาลัย คุณอาจจะต้องเล่าไปถึงภูมิหลังว่าคุณเริ่มใช้คอมพิวเตอร์เป็นได้อย่างไรตั้งแต่ตอนเด็ก และทำไมคอมพิวเตอร์ถึงสำคัญกับคุณถึงขั้นเป็นอาชีพในฝัน
    • หากคุณต้องพูดแนะนำตัวกับลูกค้าทางธุรกิจระหว่างมื้อกลางวัน พวกเขาอาจจะไม่ได้สนใจเรื่องงานอดิเรกของคุณเลยแม้แต่น้อย แต่ต้องการแค่จะทราบว่าคุณกำลังทำงานอะไรอยู่และมีทักษะพิเศษด้านใดบ้าง
    • ลองเขียนฉบับร่างเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านต่างๆ หรืองานอดิเรก ทั้งแบบรวมกันและแยกกันอย่างละฉบับ แล้วลองพูดให้คนอื่นฟังทั้งสองแบบเพื่อให้พวกเขาแสดงความคิดเห็นและติชมว่าเป็นอย่างไรบ้างก่อนจะไปพูดจริง [8]
  3. หากคุณต้องการใฟ้ผู้ฟังเกิดความประทับใจและรู้สึกชื่นชมตั้งแต่แรกพบ สิ่งสำคัญคือการพูดนั้นจะต้องสื่อให้เห็นความสามารถและทักษะในตัวคุณ โดยคุณสามารถพูดได้โดยไม่ให้ดูเหมือนยกยอตนเอง เช่น การพูดถึงความสำเร็จในอดีต และเป้าหมายที่แน่วแน่ในอนาคตซึ่งอาศัยประสบการณ์จากในอดีต [9]
    • เน้นจุดเด่น ทักษะพิเศษ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับผู้ฟังและกาลเทศะมากที่สุด เช่น “จากประสบการณ์ในการเขียนแอปพลิเคชันและการขยายเครือข่ายอย่างกว้างขวางสำหรับเน็ตเวิร์คของผม ทำให้ผมสามารถจับทางได้ว่าปัจจุบันนี้วัยรุ่นกำลังต้องการอะไร ทำให้แอปพลิเคชันของผมสามารถอำนวยความสะดวกและสร้างความพึงพอใจให้แก่วัยรุ่นเหล่านั้นได้อย่างแน่นอนครับ”
    • นำเสนอตนเองให้ดูเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เก่งและน่าประทับใจมากที่สุด
    • หากต้องการพูดนำเสนอตนเองต่อหน้าเพื่อนร่วมงานใหม่ อาจไม่จำเป็นต้องพูดเกี่ยวกับชีวิตครอบครัว หรือเรื่องอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเรื่องงาน [10]
  4. นำเสนอตนเองแบบตรงไปตรงมา แต่ต้องพูดให้เห็นจุดเด่น เช่น การมีบทบาทสำคัญในโครงการใหญ่ๆ โดยเล่าถึงบทบาทนั้นและบอกว่าได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากประสบการณ์นั้น รวมทั้งพูดถึงไอเดียในการพัฒนาโครงการนั้นๆ หากมีโอกาสได้ทำอีกครั้ง
    • หรืออาจจะแสดงทักษะและประสบการณ์ให้ผู้ฟังเห็น โดยนำเสนอให้ผู้ฟังรู้สึกว่าคุณเป็นคนมุ่งมั่น พร้อมจะเรียนรู้และพัฒนาตลอดเวลา [11] อย่างเช่นคุณอาจจะพูดว่า“ผมใช้ระยะเวลานานในการร่วมประชุมหารือกับทางแอปพลิเคชันดังกล่าว ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร ซึ่งผมก็คิดว่าผมเหมาะที่จะเป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชันที่ทันสมัยคนหนึ่ง”
    • พยายามพูดรวมในส่วนของเป้าหมายในอาชีพกับการพัฒนาตนเองให้ไปในทางเดียวกัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ทบทวนและฝึกพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับบางงานจะมีข้อกำหนดไว้ว่าให้คุณพูดแนะนำตัวเพียงแค่ 2-3 ประโยค [12] หรืออาจจะกำหนดเวลาให้เพียง 5-8 นาที [13] หากคุณคิดว่าไม่มีทางพูดได้ทันเวลา หรือเนื้อหาที่ต้องการจะพูดนั้นมากเกินกว่าที่กำหนด ให้ลองเขียนสิ่งที่จะพูดลงในกระดาษอย่างสั้นกระชับ และมีข้อมูลครบถ้วนที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
    • ศึกษาข้อกำหนดหรือคำสั่งให้ละเอียด หากมีแจ้งไว้แล้ว
    • หากกำหนดไว้ว่าต้องพูดภายใน 3-5 นาที การพูดยาวถึง 7 นาที และสั้นเพียง 2 นาทีนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
    • หากต้องพูดแนะนำตัวในการสัมภาษณ์ ต้องไม่พูดให้เกินเวลาที่กำหนดให้
  2. พึงระลึกไว้ว่าการที่คุณพูดออกไป ไม่มีผู้ฟังคนไหนจะมาทบทวนหรือนึกย้อนในส่วนที่สงสัยหรือคุณพูดไม่เข้าใจ การพูดนั้นจะต้องเลือกพูดในสิ่งที่คิดว่าจะไม่มีคนสงสัยว่าคุณกำลังจะสื่อถึงอะไร [14]
    • หลีกเลี่ยงการพูดไปเรื่อยเปื่อยไม่มีแก่นสาร ควรพูดให้ตรงประเด็นและสั้นกระชับเท่าที่จะทำได้
    • คิดเรียบเรียงประโยคให้รอบคอบก่อนพูด การพูดออกเสียงจะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าประโยคที่พูดนั้นยาวเกินไปหรือไม่ หากยาวเกินไปต้องกลับไปเรียบเรียงประโยคใหม่
  3. ควรฝึกพูดออกเสียงตั้งแต่ต้นจนจบก่อนต้องไปพูดจริง โดยการฝึกพูดให้ใส่น้ำเสียงสูงต่ำและทดลองจังหวะการเดินไปมาระหว่างพูด เริ่มแรกอาจจะฝึกอ่านอย่างเดียวเพียงอย่างเดียวก่อน แล้วให้คนรอบข้างแสดงความคิดเห็นโดยพูดต่อหน้า เพื่อน สมาชิกในครอบครัว หรือ เพื่อนร่วมงาน
    • ฝึกพูดต่อหน้าคนอื่นๆ เพื่อฝึกประเมินตนเองขณะพูดและการแสดงความสนใจผู้ฟังขณะพูด
    • ประเมินตนเองว่าส่วนไหนของการพูดที่ประสบความสำเร็จและส่วนไหนที่ยังต้องปรับปรุง
    • เมื่อพูดเสร็จให้ลองถามความคิดเห็นของผู้ที่ฟัง ทั้งประเด็นที่เฉพาะเจาะจงและภาพรวม [15]
    • อย่างเช่น “คุณรู้สึกอย่างไรกับการพูดของฉัน?” โดยถามเฉพาะเจาะจงถึงข้อที่ดีที่สุดและข้อที่ต้องปรับปรุงมากที่สุด
    • ทดสอบว่าสิ่งที่คุณพูดไปผู้ฟังเข้าใจมากแค่ไหน โดยการถามผู้ฟังว่าได้อะไรจากการฟังบ้าง
  4. ต้องรู้ว่าคุณกำลังจะพูดอะไรและจะพูดอย่างไรให้ดูดี แม้ในบางกรณีจะสามารถซ้อมโดยอ่านจากกระดาษที่เขียนบทพูดไว้ได้ แต่ทางที่ดีควรจะจำในสิ่งที่พูดให้ได้แล้วอ่านเพียงนิดหน่อยเท่านั้น เนื่องจากการนำเสนอโดยไม่ต้องอ่านบทพูดนั้นจะช่วยดึงดูดความสนใจ ดูมีความรู้และน่าเชื่อถือ และทำให้ผู้ฟังให้ความสนใจมากขึ้น
    • หากคุณจ้องมองบทพูดตลอดเวลา ผู้ฟังจะต้องใช้ความพยายามที่จะตั้งใจฟังว่าคุณต้องการจะพูดอะไร
    • แต่อย่างไรก็ตาม คุณสามารถพกกระดาษเล็กๆ ที่เขียนแต่หัวข้อหรือจุดสำคัญที่จะพูดไว้แอบดูขณะพูดในกรณีที่อาจจะตื่นเต้นจนพูดไม่ออก แต่ต้องไม่เขียนทุกสิ่งที่จะพูดลงในกระดาษเล็กๆ นั้น เขียนแค่จุดสำคัญที่คิดว่าจะพูดถึง
    • กระดาษเล็กๆ ที่ต้องพกนั้นจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่เตรียมพูด มากกว่าเป็นประเด็นสำรอง [16]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

วางแผนเกี่ยวกับการพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณต้องการจะเขียนบทพูดอย่างผู้พูดที่ชำนาญ ควรเลือกใช้ระดับคำพูด ระดับภาษา ให้แตกต่างและเหมาะสมกับผู้ฟัง [17] ก่อนเริ่มวางแผนที่จะพูด ควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้:
    • ผู้ฟังที่ต้องให้ความสนใจคือใคร?
    • จุดประสงค์ของการพูดของคุณคืออะไร? [18]
    • สิ่งที่ผู้ฟังคาดหวังจากคุณคืออะไร [19]
  2. หากคุณมีเวลาเหลือเฟือ ก็อาจจะพูดทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวคุณได้ แต่กุญแจของการประสบความสำเร็จในการพูดแนะนำตนเองนั้นคือการพูดให้สั้นกระชับและตรงประเด็นสำคัญ ซึ่งหมายความว่าคุณต้องตัดสินใจว่าสิ่งไหนสำคัญที่สุดที่ผู้ฟังควรจะรู้ และต้องจะพูดให้กินเวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ [20]
    • เลือกหนึ่งหรือสองประเด็นสำคัญที่ต้องการสื่อเกี่ยวกับตัวคุณ และอาจเพิ่มเติมได้เสมอหากมีเวลาเพียงพอ [21]
    • ประเมินผู้ฟังและสิ่งที่ควรโฟกัสเกี่ยวกับสิ่งที่จะพูด ไม่ควรประเมินแคบเกินไป อย่างเช่นถ้าต้องพูดในกลุ่มนักลุงทุน คุณควรมุ่งเน้นการพูดเพื่อให้พวกเขาเชื่อถือในตัวคุณ หากต้องพูดในกลุ่มผู้ฟังทั่วไป พูดหน้าชั้นเรียน ก็ควรพิจารณาพูดครอบคลุมให้ทุกคนเข้าใจ
    • หากผู้ในกลุ่มผู้ฟังทั่วๆ ไป ต้องพูดนำเสนอให้น่าสนใจและทั่วถึงสำหรับทุกคน [22]
    • แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรพูดถึงแต่ประเด็นเดิมซ้ำๆ เช่น คุณชอบเล่นเบสบอลเพียงอย่างเดียวเมื่อต้องพูดแนะนำตัวในกรณีที่ต้องการแสดงให้เห็นความสามารถพิเศษในด้านนั้นๆ
  3. คำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการพูดรวมทั้งน้ำเสียง. เมื่อคุณวางแผนที่จะพูด ควรชัดเจนก่อนว่าจุดประสงค์และผลลัพธ์ของการพูดคืออะไร รวมทั้งถามตนเองก่อนว่าอยากสื่ออะไรให้กับผู้ฟัง การแนะนำตัวของคุณจะสื่อสารออกไปนั้นจำเป็นต้องเป็นทางการมากๆ หรือว่าเพียงแค่กับผู้ฟังทั่วไป (เช่นแนะนำตัวกับเพื่อนใหม่)
    • คุณคาดหวังให้ผู้ฟังบรรลุจุดประสงค์จากการพูดของคุณครั้งนี้ หรือต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้เขายอมทำงานหนักให้คุณซึ่งเป็นหัวหน้าหรือไม่?
    • การคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดจะมีผลต่อสิ่งที่จะพูดให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่คุณต้องการ [23]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เตรียมตัวพูดจริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษก่อนพูด ควรใช้เทคนิคผ่อนคลายสักครู่ก่อนเริ่มพูด โดยหาสถานที่เงียบๆ แล้วใช้เวลาเตรียมตัวสัก 2-3 นาที หายใจเข้าลึกๆ เพ่งไปที่ลมหายใจ แล้วนับเลขตามลมหายใจช้าๆ แล้วหายใจออกช้าๆ [24]
    • อาจใช้เทคนิคจินตนาการเพื่อช่วยคลายความกังวลและช่วยให้สร้างความมั่นใจขณะพูด
    • จินตนาการว่าเมื่อคุณพูดจบแล้วมีทั้งรอยยิ้มและเสียงปรบมือจากผู้ฟังมอบให้คุณ จะช่วยสร้างความมั่นใจที่จะพูดได้อีกทาง [25]
  2. อาจจะดูเหมือนเป็นจุดที่ไม่สำคัญนัก แต่ท่าทางที่ดูห่อเหี่ยวจะทำให้ความน่าเชื่อถือน้อยลงและดูไม่เป็นมืออาชีพ ทำให้ผู้ฟังให้ความสนใจน้อยลง. [26] การยืนตัวตรงและมีบุคลิกที่โดดเด่นโดยการยืดอกแขม่วท้องเล็กน้อยจะช่วยให้หลังตรงขึ้น แต่ควรทำให้ดูเป็นธรรมชาติ ไม่มากจนเกินไป [27]
    • หลีกเลี่ยงการกอดอกหรือกุมมือสองข้างไว้ด้วยกัน [28]
    • หลีกเหลี่ยงการจ้องไปที่พื้น โต๊ะ หรือบทพูดข้างหน้า
    • สบตาผู้ฟังให้ทั่วทั้งห้องด้วยสายตาที่สนใจและคุมให้เขาสนใจคุณให้ได้ หลีกเลี่ยงการจ้องมองไปที่คนใดคนหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะกลอกตามองไปมาให้ครบทุกคนอย่างรวดเร็ว
    • พยายามมองสบตาไปที่ผู้ฟังทางด้านซ้ายและขวาของห้องด้วย โดยมองไปยังมุมต่างๆ ของห้องเพื่อดึงดูดให้ได้รับความสนใจด้วยสายตาที่เป็นธรรมชาติและผ่อนคลาย [29]
  3. คุณไม่จำเป็นจะต้องพูดให้ยืดเยื้อ แต่ก็ต้องไม่พูดตะกุกตะกักหรืออ่านอย่างรวดเร็วโดยไม่มีใครเข้าใจสิ่งที่พูด พยายามหาจุดที่พอดี ความเร็วที่เหมาะสม โดยอาจจะพูดให้ช้าลงหน่อยให้ผู้ฟังตามทันและเข้าใจ แต่ไม่ควรช้าจนเอื่อยเฉื่อย
    • เพื่อให้รู้สึกสบายๆ พูดได้ลื่นไหลเป็นลำดับขั้นตอน [30]
    • ฝึกพูดต่อหน้าผู้อื่น หรืออาจจะบันทึกเสียงไว้แล้วกลับมาฟัง ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้รู้ว่าจังหวะในการพูดนั้นเหมาะสมหรือยัง
  4. หากเกิดข้อผิดพลาดในการพูด อย่าเพิ่งตกใจ ให้ขอโทษอย่างจริงใจแล้วอธิบายให้เข้าใจถูกต้อง หรือหากต้องการแก้ไขสถานการณ์นั้น อาจใช้ความอารมณ์ขันเข้ามาช่วยเพื่อเปลี่ยนประเด็น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่ตึงเครียดและเสริมสร้างความมั่นใจของผู้พูด [31]
    • ทำให้ผู้ฟังรู้สึกขำขันในความโก๊ะในตัวคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณดูเข้าถึงง่ายและเป็นที่ชื่นชอบ อย่างเช่นในกรณีที่คุณเผลอพูดข้ามประเด็นหนึ่งไปและต้องการย้อนกลับมาพูด คุณอาจจะพูดว่า “และในตอนนี้ ดิฉันต้องการกลับวนกลับไปพูดในสิ่งเมื่อสักครู่ลืมพูดไป หากต้องการรู้จักตัวตนที่แท้จริงของฉัน คุณก็จะได้รู้ ณ บัดนี้!” [32]
    • ใช้การพูดขำขันเพื่อขอโทษกับข้อผิดพลาดแล้วผ่านไปโดยเร็ว อย่างเช่นในกรณีที่คุณตื่นเต้นในช่วงแรก สามารถพูดได้ว่า “ขอโทษนะคะ พอดีดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมากที่ต้องมาพูด ณ ที่นี้ ทำให้พูดปนกันไปหมด ขอโอกาสให้ดิฉันลองพูดใหม่อีกครั้งนะคะ”
    • ระวังอย่าแสดงความโก๊ะมากเกินไป เนื่องจากคุณต้องการที่จะให้ผู้ฟังเห็นถึงจุดเด่นของคุณและความสามารถที่แท้จริงของคุณ เพราะฉะนั้นจึงควรเล่นเพียงเล็กน้อยแล้วข้ามไปประเด็นที่สำคัญ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากการพูดแนะนำตัวนั้นยาวเกินไป จะทำให้ผู้ฟังไม่สนใจ การพูดแนะนำตัวที่ดีควรสั้นและตรงประเด็น
  • อย่ากลัวที่จะทำให้ตนเองดูดีที่สุด เพราะนี่คือการแนะนำตัวซึ่งจะเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจตั้งแต่แรกพบได้เลยทีเดียว
  • อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องพูดโม้โอ้อวด เพราะจะทำให้ผู้ฟังไม่สนใจสาระสำคัญที่คุณจะพูด
  • พยายามสบตาผู้ฟังให้เหมาะสม แสดงความมุ่งมั่นและมั่นใจขณะพูด
โฆษณา
  1. http://www.forbes.com/sites/susannahbreslin/2012/06/08/how-to-sell-yourself/
  2. http://www.forbes.com/sites/susannahbreslin/2012/06/08/how-to-sell-yourself/3/
  3. http://as.cornell.edu/academics/careers/networking/your-self-introduction.cfm
  4. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/keep-it-short/
  5. http://writingcenter.unc.edu/handouts/speeches/
  6. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/practice-beforehand/
  7. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/dont-read-your-speech/
  8. http://www.forbes.com/sites/jeffschmitt/2013/07/16/10-keys-to-writing-a-speech/
  9. http://www.forbes.com/sites/jeffschmitt/2013/07/16/10-keys-to-writing-a-speech/
  10. http://www.forbes.com/sites/jeffschmitt/2013/07/16/10-keys-to-writing-a-speech/
  11. http://as.cornell.edu/academics/careers/networking/your-self-introduction.cfm
  12. http://www.unl.edu/gradstudies/current/development/sell-yourself-elevator-speech
  13. https://courses.p2pu.org/en/groups/public-speaking-2/content/icebreaker-introduce-yourself/
  14. http://pac.org/content/speechwriting-101-writing-effective-speech
  15. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/prepare-with-relaxation-/
  16. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/prepare-with-relaxation-/
  17. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/use-body-language-that-m/
  18. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/stand-up-straight/
  19. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/use-body-language-that-m/
  20. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/work-the-room/
  21. http://www.forbes.com/pictures/eeeg45fjil/slow-down/
  22. http://sixminutes.dlugan.com/toastmasters-speech-1-ice-breaker-icebreaker/
  23. http://christopherwitt.com/recovering-after-making-a-mistake-during-a-speech/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 107,646 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา