ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณตั้งความหวังอยากหาใครมาเป็นสปอนเซอร์หรือผู้สนับสนุนงานอีเวนท์หรืออย่างอื่นที่คุณกำลังทำอยู่ คุณควรเขียนจดหมายขอความสนับสนุน จดหมายของคุณควรย้ำให้ผู้สนับสนุนมั่นใจว่ามันคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปและระบุอย่างชัดเจนว่าเขาจะได้ผลประโยชน์ตอบกลับมาในลักษณะใด การเขียนจดหมายขอผู้สนับสนุนที่ถูกต้องเป็นกิจลักษณะสามารถทำให้เกิดข้อแตกต่างระหว่างการมีผู้สนับสนุนกับการถูกมองข้ามได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมการหาผู้สนับสนุน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระบุไปเลยว่าคุณต้องการได้รับการสนับสนุนอย่างไร? คุณต้องการให้ธุรกิจที่จะมาสนับสนุนทำอะไร? คุณจะใช้เงินสนับสนุนนั้นทำอะไรบ้างและเพราะเหตุใดมันถึงมีความสำคัญ? ก่อนจะเขียนจดหมายขอผู้สนับสนุน คุณควรจะตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้เสียก่อน
    • จดหมายขอผู้สนับสนุนควรที่จะระบุเจาะจงและตรงประเด็น ถ้าหากมันพล่ามพร่ำเพรื่อหรือคุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังมองหาอะไรและทำไม มันไม่มีทางได้ผลหรอก
    • เข้าใจว่าเหตุใดคุณถึงอยากทำได้ตามเป้าที่วางไว้นั้น. การขอผู้สนับสนุนจะประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นถ้าหากมันแสดงออกถึงการตั้งใจบรรลุเป้าหมายหรือความหมายมั่น ทำให้ผู้คนเชื่อมั่นว่าเหตุใดจึงคุ้มที่จะเสียเวลาและเงินทองเพื่อการนี้ บางทีอาจเป็นการเล่าเรื่องว่ามันจะช่วยเหลือผู้คนหรือชุมชนนั้นได้อย่างไร [1]
  2. ใครกันที่อาจจะมีแรงจูงใจช่วยเหลือโครงการของคุณ? บางทีอาจจะมีเจ้าของธุรกิจที่มีเหตุผลส่วนตัวอยากจะสนับสนุนเป้าหมายของคุณ หรืออาจมีองค์กรการกุศลที่สนับสนุนภารกิจแบบเดียวกัน ใครคือผู้ที่เคยให้การสนับสนุนอีเวนท์ทำนองเดียวกันนี้? คุณจำต้องหาข้อมูลในเรื่องเหล่านี้
    • ให้แน่ใจว่าได้รวมบรรดาธุรกิจหรือผู้คนที่คุณหรือทีมงานมีความรู้จักกันส่วนตัวรวมอยู่ในรายชื่อด้วย อย่าประเมินค่าความสัมพันธ์ส่วนตัวให้ต่ำไป [2]
    • อย่ามองข้ามธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้าน พวกเขาอาจมีความตั้งใจอยากสนับสนุนก็ได้ จำไว้ว่าคุณสามารถเล่นในแง่ “การทำเพื่อชุมชน” ได้ ธุรกิจแบบบ้านๆ มักเห็นประโยชน์ของการมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อกับผู้คนในชุมชน
    • ถ้าคุณทำงานเป็นทีม แจกจ่ายรายชื่อธุรกิจให้กับสมาชิกในทีมแต่ละคนใช้ติดต่อ เพื่อที่แต่ละคนจะได้มีเป้าหมายติดต่อ
  3. การสนับสนุนนั้นมีหลายรูปแบบ ก่อนลงมือเขียนจดหมาย ต้องกำหนดล่วงหน้าว่าอยากร้องขออะไร
    • กำหนดว่าคุณกำลังมองหาอะไร. การสนับสนุนนั้นมีหลายรูปแบบ ก่อนลงมือเขียนจดหมาย ต้องกำหนดล่วงหน้าว่าอยากร้องขออะไร
    • บางทีคุณอาจอยากได้อาสาสมัครเข้าทำงานแทนที่จะเป็นตัวผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะแบบไหน คุณจำต้องชี้ให้ชัดในจดหมาย
  4. ปกติจดหมายขอความสนับสนุนมักจะเปิดโอกาสให้เลือกระดับการเข้าร่วมสนับสนุน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถช่วยเหลือได้แม้ไม่มีเงินทุนสนับสนุนเท่าบริษัทยักษ์ใหญ่
    • กำหนดระดับผู้ให้การสนับสนุน คุณควรระบุให้ชัดเจนไปเลยว่าผลประโยชน์ที่ผู้ให้การสนับสนุนแต่ละระดับจะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง รายที่ให้มากกว่าก็สมควรได้คืนมากกว่า
    • ป้ายผ้าโฆษณา การป่าวประกาศชื่อบริษัทหรือผู้ให้การสนับสนุน การมีโลโก้ของบริษัทปรากฏอยู่บนเว็บไซต์หรือในชิ้นงานโปรโมทหรือในโปรแกรม ล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างผลประโยชน์ที่คุณควรนำเสนอ
  5. กำหนดรายชื่อบุคคลเจาะจงไปเลยว่าใครสมควรเป็นผู้รับจดหมาย. อย่าเขียนจดหมายโดยขึ้นต้นแบบไม่ระบุชื่อใครอย่าง “ถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง” เป็นอันขาด มันดูเหมือนการหว่านไปทั่ว
    • โดยทั่วไปแล้ว บุคคลผู้นั้นมักจะเป็นคนที่ดูแลฝ่ายทรัพยากรบุคคลของทางบริษัทหรือไม่งั้นก็เป็นประธานฝ่ายบริหารงาน คุณควรโทรศัพท์สอบถามทางบริษัทหรือดูในเว็บไซต์ว่าใครรับผิดชอบส่วนนี้ อย่าเดาไปเอง ถ้าจะให้จดหมายได้ผล คุณก็ต้องจ่าหน้าจดหมายให้ถูกตัว สะกดชื่อและตำแหน่งของเขาให้ถูกต้องด้วยล่ะ [3]
    • คุณควรค้นหาให้ได้ว่าทางหน่วยงานมีนโยบายส่งเสริมสังคมอย่างไร เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและสามารถปรับสิ่งที่ต้องการเข้ากับนโยบายนั้นได้ [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำความเข้าใจรูปแบบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถค้นหาตัวอย่างจดหมายนี้ตามอินเทอร์เน็ต บางที่อาจต้องเสียเงิน แต่หลายที่ก็ฟรี คุณควรอ่านจดหมายเหล่านี้จนเข้าใจในรูปแบบและเนื้อหา [5]
    • อย่าลอกเนื้อความในจดหมายให้เหมือนจนเกินไป คุณจะต้องปรับประยุกต์เนื้อหาให้เข้ากับบริษัทที่จะติดต่อบ้าง ให้มันดูเป็นการใส่ใจและไม่สำเร็จรูปจนเกินไป [6]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณทราบมาว่าประธานบริษัทนี้มีเบื้องหลังส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับโครงงานของคุณ คุณสามารถเขียนจดหมายเป็นการส่วนตัวถึงบุคคลผู้นั้นได้ คุณควรรู้ปูมหลังของบุคคลหรือบริษัทที่คุณจะติดต่อ และคุณควรปรับจดหมายให้พวกเขารู้สึกว่าเขียนถึงตนโดยเฉพาะ
  2. น้ำเสียงในจดหมายขึ้นอยู่กับผู้อ่าน อย่างไรก็ดี คุณควรเป็นมืออาชีพและไม่พรรณนาพร่ำเพ้อในจดหมายขอความสนับสนุนจนเกินไป
    • เขียนจดหมายบนกระดาษอย่างเป็นทางการที่มีโลโก้และชื่อองค์กรปรากฏอยู่ด้วย จะทำให้การร้องขอของคุณดูเป็นมืออาชีพขึ้น ถ้าหากคุณขอความสนับสนุนส่วนตน คุณก็ยังควรที่จะทำหัวจดหมายแบบมืออาชีพที่มีชื่อของคุณเองในฟอนต์ที่เหมาะสมอยู่บนข้างบนนั้น
    • ถ้าหากคุณเขียนจดหมายถึงบริษัทหรือหน่วยงาน ยิ่งเป็นทางการได้ก็ยิ่งดี ถ้าหากเขียนถึงเครือญาติหรือเพื่อนฝูง ก็อาจลดความเป็นทางการลงได้ แต่ก็ยังไม่ควรเป็นเล่นเสียจนฟังดูไม่น่าเคารพ การส่งอีเมลที่เขียนแบบไม่เป็นทางการนั้นยากนักที่จะได้ผลบวกกลับมา [7]
  3. จดหมายขอผู้ให้ความสนับสนุนโดยทั่วไปจะใช้รูปแบบเหมือนกับจดหมายติดต่อธุรกิจ คุณควรใช้โครงสร้างจดหมายที่ถูกต้องมิฉะนั้นจะดูไม่เป็นมืออาชีพ
    • ขึ้นต้นจดหมายด้วยวันที่ ตามด้วยชื่อผู้สนับสนุนและที่อยู่
    • จากนั้น หลังเว้นช่องไฟ ให้ใส่คำยกย่อง: (ชื่อบุคคล) ที่เคารพ และตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค
    • เขียนให้กระชับ. ให้เนื้อหาจดหมายอยู่ภายในหนึ่งหน้ากระดาษ น้อยนักที่ผู้คนจะมีเวลาอ่านมากกว่านั้น ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาอ่านจดหมายคุณเพียงหนึ่งนาที ดังนั้น นอกจากให้เนื้อหาจดหมายอยู่ภายในหนึ่งหน้ากระดาษแล้ว ภาษายังต้องกระชับชัดเจน [8]
    • ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ การส่งอีเมลนั้นทำให้ดูเหมือนคุณไม่ได้ไยดีจะส่งมันนัก
  4. ในตอนท้ายของจดหมายขอความสนับสนุน คุณควรขอบคุณการพิจารณาของพวกเขา ให้แน่ใจว่าได้เว้นช่องไฟระหว่างแต่ละย่อหน้า และได้เว้นพื้นที่สำหรับลงลายเซ็นของคุณเอง
    • ลงท้ายด้วยคำยกย่องที่เป็นมืออาชีพและให้ความเคารพ อย่างเช่น: ขอแสดงความนับถือ จากนั้นตามด้วยชื่อและตำแหน่งของคุณ ลงลายเซ็นด้วยตัวคุณเอง
    • แนบข้อมูลเพิ่มเติม คุณอาจต้องการส่งแผ่นพับที่ให้ข้อมูลที่มาของอีเวนท์หรือบริษัทแนบไปกับจดหมายด้วย มันจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและอาจทำให้ทางบริษัทรู้สึกสะดวกใจที่จะให้การสนับสนุนคุณ
    • เช่นเดียวกัน หากองค์กรของคุณได้รับการนำเสนอในข่าว คุณก็ควรส่งตัวอย่างข่าวเพื่อเป็นแรงสนับสนุนในสิ่งที่คุณได้ทำลงไป
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำเนื้อหาให้สมบูรณ์แบบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในย่อหน้าแรกของจดหมาย คุณควรกล่าวแนะนำตัวเองหรือองค์กรของคุณและวัตถุประสงค์ของคุณในทันที อย่ามัวแต่พรรณนาโน่นนี่ ผู้คนจำต้องอ่านแล้วรู้ว่าคืออะไรตั้งแต่ต้น
    • อย่าสันนิษฐานเอาเองว่าคนอื่นรู้จักคุณหรือองค์กรของคุณเป็นอย่างดี อธิบายให้กระจ่างจะดีกว่า เริ่มด้วยการเล่าเรื่องหน่วยงาน (ถ้าหากเป็นจดหมายในนามบริษัท) หรือตัวคุณเอง (ถ้าเป็นการขอความสนับสนุนส่วนบุคคล) เช่น บริษัทดังกล่าวนี้เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานในด้านการดูแลผู้ติดยา...เป็นต้น
    • เน้นความสำเร็จที่ผ่านมาในทันทีเพื่อแสดงให้ผู้สนับสนุนเห็นอย่างชัดเจนว่าการสนับสนุนคุณนั้นไม่ใช่เรื่องเสี่ยงดวง แจกแจงอย่างละเอียดว่าเงินที่ได้จะใช้ไปทำอะไรบ้าง
    • ย่อหน้าที่สองหรืออาจจะตั้งแต่ในย่อหน้าแรก คุณจะต้องเอ่ยขอความสนับสนุนโดยตรงและอธิบายว่าเหตุใดคุณถึงจำเป็นต้องการมัน
  2. เพื่อจะให้การสนับสนุนคุณ บริษัทหรือบุคคลผู้นั้นต้องมั่นใจเสียก่อนว่าเขาจะได้ผลประโยชน์จากการทำเช่นนั้น ฉะนั้นในย่อหน้ากลางของจดหมาย ให้บอกผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับ ไม่ใช่ในด้านของคุณ
    • ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ให้การสนับสนุนจะได้รับการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ให้อธิบายว่าเป็นโดยลักษณะใด ให้ระบุอย่างเจาะจงไปเลย: อีเวนท์นี้มีถ่ายทอดทางโทรทัศน์หรือไม่? จะมีผู้เข้าร่วมกี่คน? มีบุคคลระดับวีไอพีด้วยหรือไม่? ถ้าหากมีบริษัทอื่นหรือบริษัทที่อาจเป็นคู่แข่งให้การสนับสนุนอีเวนท์ของคุณ คุณอาจต้องบอกไว้ในนี้ด้วย
    • ให้ผู้สนับสนุนมีทางเลือก พวกเขาจะชอบที่สามารถเลือกให้ตรงกับความต้องการหรืองบประมาณของตนได้มากกว่า
  3. นั่นหมายถึงตัวเลขต่างๆ เช่น จำนวนผู้เข้าชม หรือลักษณะทางกายภาพของคนที่เข้าร่วม
    • แล้วอย่าลืมที่จะใส่แง่มุมด้านอารมณ์ อย่างเรื่องราวส่วนตัวของใครสักคนที่จะได้รับการช่วยเหลือ ซึ่งถ้ากล่าวไว้สั้นๆ (สักสองสามประโยค) จะกระตุ้นอารมณ์ได้ดีมาก
    • อธิบายว่าคุณจะทำให้ชื่อผู้ให้การสนับสนุนเป็นที่จดจำได้ด้วยวิธีไหน บางทีอาจให้พื้นที่ตั้งบูธฟรีภายในงานเพื่อแลกกับเงินสนับสนุน [9]
    • เตรียมรายละเอียดของสัญญาข้อตกลงให้การสนับสนุนที่พวกเขาจะใช้ประกอบการตัดสินใจ อย่าลืมที่จะแนบข้อมูลของสัญญา คุณอาจจำเป็นต้องใช้จดหมายที่จ่าหน้าซองติดแสตมป์ถึงตัวคุณเองเพื่อให้พวกเขาสามารถตอบกลับคุณได้ง่ายขึ้น อย่าลืมที่จะใส่วันที่ซึ่งคุณต้องการให้มีการตอบรับกลับด้วย
    • ถามผู้ให้การสนับสนุนว่าพวกเขาอยากให้คนจดจำได้ในลักษณะไหน อย่างเช่น ต้องการให้ขึ้นชื่อแบบไหนหรืออยากให้จดจำแบบใด? เสนอทางเลือกให้พวกเขาตัดสินใจและเอ่ยถาม อย่าทึกทักเดาเอาเอง
  4. คุณควรให้รายละเอียดที่มาที่ไปในจดหมายเพื่อสนับสนุนองค์กรหรืออีเวนท์ของคุณ
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณกำลังเขียนจดหมายสำหรับงานการกุศล คุณควรอธิบายที่มาของงานการกุศลนี้ เช่นว่า มันก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่ ใครเป็นคนดำเนินการ ใครเป็นฝ่ายได้รับการช่วยเหลือ และเคยได้รับรางวัลหรือความสำเร็จใดๆ หรือไม่
    • นำเสนอโดยไม่ต้องคุยโอ่ ไม่ต้องบอกเราว่าองค์กรหรืออีเวนท์นี้ดีหรือคุ้มค่า แต่ทำให้เราเชื่อมั่นผ่านทางการแสดงรายละเอียด เช่น หลักฐานที่มาสนับสนุนว่าเหตุใดองค์กรหรืออีเวนท์นี้ถึงดีและคุ้มค่า หลักฐานนั้นเป็นแรงจูงใจชั้นดีมากกว่าคำคุยโอ้อวด [10]
  5. แค่การส่งจดหมายไปยังบริษัทไม่ได้เป็นหนทางพัฒนาความสัมพันธ์ส่วนตัวใดๆ เลย แม้จดหมายขอการสนับสนุนจะเป็นความคิดที่ดี แต่การติดตามผลด้วยตัวเองเป็นมารยาทส่วนตัวยิ่งกว่า
    • คุณสามารถโทรศัพท์หรือแวะเข้าไปสอบถามได้ถ้ายังไม่ได้รับผลตอบรับใน 10 วัน พึงระลึกไว้ว่าประธานบริษัทส่วนมากมักยุ่งและอาจหงุดหงิด คุณจึงควรทำหมายนัดหรือโทรศัพท์ไปหาก่อน
    • ให้แน่ใจว่าคุณตื่นเต้นกับโครงงานนี้ หลีกเลี่ยงการแสดงอะไรก็ตามในเชิงลบ คุณคงไม่ต้องการจะฟังดูเหมือนกำลังอ้อนวอนขอร้องหรือพยายามทำให้พวกเขารู้สึกผิดถ้าไม่ได้บริจาคเงิน
    • ถ้าหากคำตอบออกมาเป็น “ยังไม่แน่” จงอย่ารู้สึกแย่กับการติดตามผล เพียงแต่อย่าทำในทันทีหรือทำบ่อยไปจนกระทั่งคุณกลายเป็นตัวรำคาญ
    • อย่าตั้งความหวังไว้สูงเกิน อย่าคิดเอาเองว่าพวกเขาจะให้การสนับสนุนคุณ แค่กล่าวขอบคุณพวกเขาที่เสียสละเวลาพิจารณาถึงเรื่องนี้ [11]
    • อย่าลืมส่งจดหมายแสดงความขอบคุณถ้าคุณได้รับการสนับสนุน
  6. คุณอาจทำลายความหวังของการได้รับเงินสนับสนุนเสียยับเยินเลยก็ได้ถ้าลืมตรวจพิสูจน์คำผิดในจดหมาย จดหมายที่เต็มไปด้วยคำผิดนั้นดูไม่เป็นมืออาชีพเอาเสียเลย แล้วฉะนั้นใครเล่าจะอยากให้ชื่อของตนเองมาเกี่ยวดองกับงานที่ไม่เป็นมืออาชีพแบบนี้?
    • ตรวจเครื่องหมายวรรคตอน. มีหลายคนไม่รู้วิธีการใช้เครื่องหมายจุลภาคอย่างถูกต้อง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้มีความสำคัญมากตรงนี้
    • พิมพ์จดหมายฉบับนั้น และนำมาอ่านตรวจสอบดูในสองสามชั่วโมงให้หลัง บางทีสายตาเราก็อ่อนล้ากับการเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เสียจนเราอาจพลาดคำผิดถ้าหากอ่านเอาจากหน้าจอ
    • ให้แน่ใจว่าคุณได้ส่งด้วยซองจดหมายเชิงธุรกิจที่ดูเป็นมืออาชีพพร้อมติดแสตมป์เรียบร้อย [12]
  7. หัวกระดาษจดหมายของคุณ (ถ้ามี)

    วันที่:____
    ที่อยู่: _________





    เรียน คุณ_______
    เมื่อเร็วๆ นี้ ทางวงดนตรีของผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประกวดวงดนตรีระดับภูมิภาค ซึ่งทางวงอาจมีโอกาสได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าไปแข่งขันในการประกวดวงดนตรีระดับประเทศ

    ผมคงรู้สึกขอบคุณถ้าหากท่านจะช่วยให้การสนับสนุนวงดนตรีของผมในการประกวดเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับชัยชนะ การประกวดครั้งนี้จะมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันประมาณ 12-15 วง และได้รับการแพร่ภาพทางสถานีเคเบิลทีวีท้องถิ่นโดยมีผู้ชมประมาณ 10,000 -20,000 คน โดยมีการประกาศรายชื่อผู้สนับสนุนในงานประกวดและในเว็บไซต์ของทางวงในอนาคต

    จำนวนเงินสำหรับให้การสนับสนุนนั้นยืดหยุ่นได้ ท่านสามารถช่วยสนับสนุนผมตามตัวเลือกข้างล่างนี้ครับ

    $____ – ป้ายชื่อ คำอธิบาย และโลโก้

    $____ – ป้ายชื่อและคำอธิบาย

    $____ – ป้ายชื่อและโลโก้

    $____ – ป้ายชื่อ

    ถ้าหากท่านยินดีที่จะให้การสนับสนุนผม กรุณาติดต่อผมกลับได้ที่ ___________________.ขอขอบคุณที่เสียสละเวลาอันมีค่า.


    ด้วยความเคารพ, ลายเซ็น

    พิมพ์ชื่อ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเรียกร้องจนเกินไป ให้เอ่ยขออย่างสุภาพ
  • หา “บุคคลผู้รับผิดชอบโดยตรง” แทนที่จะผ่านทางเลขาหรือบุคคลที่สาม
  • พิมพ์จดหมาย เว้นเสียแต่ว่าคุณมีลายมือที่สวยงามอย่างยิ่ง จะทำให้มันดูเป็นมืออาชีพ
  • พิมพ์ลงบนกระดาษคุณภาพสูงเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
  • บริษัทห้างร้านถูกร้องขอการสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นให้แน่ใจว่าได้ใส่คำอธิบายว่าเพราะเหตุใดบริษัทนี้ถึงเหมาะสมต่อการสนับสนุนอีเวนท์ของคุณ
  • มีแบบฟอร์มการขอสนับสนุนเพื่อคนในบริษัทได้กรอกแบบง่ายๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 121,038 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา