ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สาวๆ ควรรู้โทนสีผิวที่แท้จริงของตัวเองไว้ จะได้ เลือกสีลิปสติก สีผม และสีเสื้อผ้าที่จะใส่ได้สวยเป๊ะ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเช็คสีผิวและอันเดอร์โทนให้คุณเอง!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

หาอันเดอร์โทนของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สีผิว (skin tone) หรืออันเดอร์โทน (undertone) ไม่ได้หมายถึงว่าคุณตัวดำขาวหรือยังไง แต่หมายถึง "เฉดสี" ของผิวคุณ ซึ่งกำหนดโดยจำนวนเมลานินหรือพิกเมนต์ (เม็ดสี) ในผิว ถึงจะโดนแดด มีผื่นแพ้ หรือสิวฝ้า ก็ไม่ได้ทำให้เฉดสีนี้เปลี่ยนไป [1] เช่น ถึงคุณจะตัวขาวซีดในช่วงหน้าหนาวเพราะไม่ค่อยโดนแดด แต่ดำคล้ำขึ้นตอนไปทะเลช่วงซัมเมอร์ เฉดสีของผิวคุณก็จะยังคงเดิม
    • โทนสีผิวจะแบ่งออกเป็น cool (โทนเย็นออกชมพู) warm (โทนร้อนออกเหลือง) และ neutral (โทนธรรมชาติ เหลือง-ชมพูผสมกัน) [2]
    • บางทีโทนสีผิวของคุณก็ไม่เหมือนที่ตาเห็น เช่น คุณดูว่าตัวเองผิวออกแดงๆ ชมพูๆ แต่จริงๆ อาจเป็นสีโทนเหลืองก็ได้ [3]
    • ก่อนจะทำขั้นตอนต่อไป ต้องล้างเครื่องสำอางทำความสะอาดผิวก่อน ถ้าเพิ่งล้างหน้าให้รอประมาณ 15 นาทีแล้วค่อยทำขั้นตอนต่อไป เพราะหลังล้างหน้า หน้าจะออกแดงๆ หน่อย ทำให้ดูยากว่าจริงๆ แล้วอันเดอร์โทนของผิวสีอะไร
    • ตอนเช็คสีผิวต้องใช้แสงธรรมชาติ เพราะหลอดไฟแต่ละแบบก็ส่องแล้วสีผิวแตกต่างกันไป บางทีก็ออกเหลืองหรือเขียว ทำให้เช็คโทนสีที่แท้จริงของผิวได้ยาก
  2. นี่คือวิธีเช็คอันเดอร์โทนที่สะดวกรวดเร็วที่สุด [4] แต่ต้องเอาข้อมือไปส่องแดด คือยืนที่หน้าต่างหรือกลางแจ้ง รวมถึงต้องไม่ทาครีมหรืออะไรที่ข้อมือด้วย
    • ถ้าเส้นเลือดที่ข้อมือสีออกฟ้าหรือม่วง แสดงว่าผิวคุณเป็น cool skin tone คือผิวโทนชมพู [5]
    • แต่ถ้าเส้นเลือดที่ข้อมือสีออกเขียว แสดงว่าผิวคุณเป็น warm skin tone คือผิวโทนเหลือง [6]
    • แต่ถ้าดูไม่ออกบอกไม่ถูก ว่าเส้นเลือดที่ข้อมือตัวเองออกเขียวหรือฟ้า แสดงว่าผิวคุณอาจเป็น neutral skin tone คือผิวโทนธรรมชาตินั่นเอง [7]
  3. ดำง่ายไหม? ผิวไหม้หรือตกกระหรือเปล่า? จำนวนเมลานินในผิวจะเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาของผิวเวลาโดนแดด ซึ่งคุณใช้หาโทนสีผิวได้ [8]
  4. แล้วส่องกระจกดูว่าสีผิวคุณเทียบกับกระดาษขาวแล้วเป็นยังไง บางทีก็สีออกเหลือง บางทีก็แดงอมฟ้าหรือแดงอมชมพู แต่บางทีก็ไม่ใช่ทั้งหมด เป็นสีออกเทาๆ แทน
    • ถ้าเทียบกับกระดาษแล้วผิวคุณออกเหลืองหรือซีดๆ แสดงว่าคุณเป็นคนผิวโทนเหลือง
    • ถ้าเทียบกับกระดาษแล้วผิวคุณออกชมพู แดง หรือแดงอมฟ้า แสดงว่าคุณเป็นคนผิวโทนชมพู
    • แต่ถ้าเทียบกับกระดาษแล้วผิวคุณออกเทา แสดงว่าคุณเป็นคนผิวโทนเขียวมะกอกแบบ neutral undertone ถ้าคุณผิวสีเขียวผสมกับอันเดอร์โทนออกเหลือง [12] ให้ทดลองทั้งแบบผิวโทนเหลืองและธรรมชาติ เพราะอยู่กลางๆ ระหว่างสองแบบ [13]
    • ถ้าไม่ออกเหลือง มะกอก หรือชมพูเลย แสดงว่าคุณผิวแบบ neutral คือสีธรรมชาติ เหลือง-ชมพูกลางๆ เรียกว่าใช้รองพื้นและเครื่องสำอางสีอะไรก็สวย ทั้งของผิวโทนเหลืองและชมพู [14]
  5. ถือกระดาษฟอยล์หรือเครื่องประดับทองและเงินเทียบสีผิว. โดยถือเทียบกับหน้า ให้แสงสะท้อนมาที่ผิวคุณ (เริ่มจากสีทองก่อน) แล้วสังเกตว่าหน้าคุณดูเทาหรือซีดลงไหม หรือกลายเป็นขับผิวแทน จากนั้นเปลี่ยนเป็นฟอยล์หรือเครื่องประดับเงินต่อไป
    • ถ้ากระดาษทองขับผิวคุณ แสดงว่าคุณมีผิวโทนเหลือง
    • แต่ถ้าแสงสะท้อนจากกระดาษเงินทำให้ผิวคุณผ่องขึ้น แสดงว่าคุณมีผิวโทนชมพู
    • แต่ถ้าแยกไม่ออก (ทั้งเงินและทองก็ขับผิวทั้งนั้น) แสดงว่าผิวคุณเป็นแบบ neutral คือผสมกันระหว่าง 2 โทน [15]
    • ถ้าไม่มีกระดาษเงิน-ทอง ให้เอาเครื่องประดับเงิน-ทองมาวางเทียบที่ข้อมือแทน แล้วดูว่าอันไหนขับผิวกว่า [16]
  6. ถ้าที่หน้ามีสิวฝ้าผื่นแพ้และอื่นๆ ที่อาจบดบังโทนสีที่แท้จริงของผิวไป ลองให้เพื่อนดูเช็คสีผิวหลังใบหูแทน เพราะจะเป็นบริเวณที่ไม่ค่อยมีผลกระทบอะไร
    • จุดที่ควรสังเกตคือรอยพับหลังใบหู
    • ถ้าผิวบริเวณนั้นสีออกเหลือง แสดงว่าคุณมีผิวโทนเหลือง (warm)
    • ถ้าผิวบริเวณนั้นสีออกแดงๆ ชมพูๆ แสดงว่าคุณมีผิวโทนชมพู (cool)
    • แต่ถ้าตัดสินยาก ให้เพื่อนลองเอากระดาษสีขาวไปเทียบดู จะได้พอรู้ว่าออกโทนเหลืองหรือชมพู
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เลือกเครื่องสำอางให้เข้ากับโทนสีผิว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สีผิวตอนนี้หมายถึง complexion หรือสีผิวที่เราเห็นด้วยตาเปล่า เช่น ดำ ขาว แทน หรืออะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ อย่างหน้าหนาวไม่ค่อยโดนแดด ผิวคุณอาจซีดกว่าตอนหน้าร้อนที่เที่ยวเล่นกลางแจ้งทั้งวัน ให้เช็คสีผิวแถวสันกรามดู [17]
    • ผิวต้องสะอาดปราศจากเครื่องสำอาง เช่น รองพื้น แป้งฝุ่น กระทั่งโลชั่นก็ไม่ได้
    • ถ้าดูแล้วตัวเองผิวขาว ซีด หรือเห็นเส้นเลือด แสดงว่าเป็นคนผิวขาว (fair skin) อาจจะมีกระหรือแดงเรื่อบ้าง และมักไวต่อแสงจนไหม้แดดง่าย [18] ส่วนใหญ่คนที่ผิวขาวจะมีอันเดอร์โทนสีเหลืองหรือชมพู
    • ถ้าคุณผิวขาว ไหม้แดดง่าย แต่จะกลายเป็นผิวแทน แสดงว่าผิวคุณสีอ่อน (light skin) อาจแดงเรื่อบ้าง และแพ้ง่ายปานกลาง [19] อันเดอร์โทนของผิวชนิดนี้จะเป็นโทนเหลืองหรือชมพูก็ได้
    • ถ้าคุณผิวคล้ำง่าย แต่ไม่ค่อยแพ้แดด แสดงว่าเป็นผิว medium skin tone คือไม่ขาวไม่ดำ จะเป็นอันเดอร์โทนเหลืองหรือออกทองๆ ผิวแบบนี้มีเยอะ พบได้ทั่วไป [20]
    • ถ้าผิวคุณสีมะกอกหรือแทนตลอดปี (โดนแดดไม่โดนแดดก็เป็นแบบนี้) แสดงว่าคุณผิวแทน คุณมักไม่เคยมีปัญหาเวลาออกแดด และอันเดอร์โทนจะเป็นโทนเหลืองหรือ neutral คือผสมกัน [21]
    • ถ้าคุณผิวสีออกน้ำตาล เส้นผมก็สีน้ำตาลเข้ม แสดงว่าเป็นคนผิวคล้ำ (warm complexion) ออกแดดแล้วดำง่าย แต่ผิวจะไม่ค่อยไหม้ อันเดอร์โทนจะเป็นโทนเหลืองเสมอ เป็นลักษณะผิวของสาวอินเดียและแอฟริกัน [22]
    • ถ้าคุณผิวคล้ำมากถึงดำสนิท เส้นผมก็สีน้ำตาลเข้มไปจนถึงดำ แสดงว่าคุณเป็นคนผิวดำ (deep complexion) โดยมีอันเดอร์โทนออกเหลืองหรือชมพูก็ได้ แต่ผิวจะไม่ไหม้แดด หรือไหม้ได้น้อยมาก [23]
  2. รู้สีผิวกับอันเดอร์โทนของตัวเองแล้ว ก็เลือกสีเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับตัวเองได้. บอกไว้ก่อนว่าไม่ใช่กฎที่ต้องทำตามเป๊ะๆ เป็นแค่คำแนะนำ ว่าถ้าผิวแบบนี้ใส่สีนี้แล้วจะยิ่งสวย แต่ถ้าไม่ชอบหรืออยากลองอะไรแปลกใหม่ก็ตามใจชอบเลย
    • อันเดอร์โทนเหลือง (warm) ให้พยายามเลือกใส่สีกลางๆ อย่างเบจ ครีม ส้มออกชมพู เหลืองมัสตาร์ด ออฟไวท์ เหลือง ส้ม น้ำตาล แดงอิฐ หรือเขียวอมเหลืองดู [24]
    • อันเดอร์โทนชมพู (cool) ให้พยายามเลือกใส่สีแดงอมฟ้า ฟ้า ม่วง ชมพู เขียว ม่วงพลัม กรมท่า บานเย็น หรือเขียวอมฟ้าดู [25]
    • อันเดอร์โทนเหลือง-ชมพู (neutral) สบายหน่อยเพราะเลือกใส่ได้ทั้ง 2 กลุ่มสี เรียกว่าใส่อะไรก็สวยก็ขึ้น
  3. ใช้สีผิวกับอันเดอร์โทนเลือกสีลิปสติกที่ใช่. ย้ำกันอีกครั้งว่านี่เป็นแค่ไกด์ไลน์หรือคำแนะนำเท่านั้น ถ้าไม่ชอบสีไหนหรืออยากลองอะไรที่แตกต่าง ก็เลือกได้ตามใจชอบ
    • ถ้าคุณผิวขาวหรือสีอ่อน ให้ลองทาลิปสีชมพูอ่อนหรือชมพูอมส้ม สีนู้ด สีเบจ หรือแดงอมม่วง และถ้าอันเดอร์โทนชมพู ให้เลือกสีราสเบอร์รี่ กาแฟ หรือออกนู้ดจะยิ่งสวย ส่วนคนอันเดอร์โทนเหลืองให้ทาสีแดงอมม่วง (ฟันจะดูขาวขึ้น) ส้มอมชมพู ชมพูอ่อน หรือนู้ดออกพีช [26]
    • ถ้าคุณผิวแทนหรือผิวปกติไม่ขาวไม่ดำ ให้เลือกลิปสีแดงเชอร์รี่ แดงกุหลาบ แดงอมม่วง หรือม่วงเบอร์รี่ไปเลย ถ้าไม่ชอบจะไปทางชมพูเข้มหรือชมพูอมส้มก็ไม่ว่ากัน ถ้าอันเดอร์โทนเหลือง ให้เน้นสีส้ม แดงอมส้ม สีทองแดง หรือสีบรอนซ์ [27] แต่ถ้าอันเดอร์โทนชมพู ให้เลือกลิปสีแดงแก่โทนไวน์หรือแครนเบอร์รี่แทน
    • ถ้าคุณผิวเข้มหรือดำ ให้ทาลิปสีน้ำตาล ม่วง คาราเมล ม่วงพลัม หรือสีไวน์ ถ้าอันเดอร์โทนเหลืองให้ทาสีทองแดง บรอนซ์ หรือจะแดงอมฟ้า (ม่วงๆ) ก็ไม่ว่ากัน [28] แต่ถ้าอันเดอร์โทนชมพู ให้เลือกลิปแนวเมทัลลิก คือสีแดงทับทิมหรือแดงไวน์แก่ๆ แบบวาวๆ [29]
    โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2671032/
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2671032/
  3. http://www.paulaschoice.com/expert-advice/makeup-tips/_/makeup-tips-tricks-skin-tone-categories
  4. http://www.paulaschoice.com/expert-advice/makeup-tips/_/makeup-tips-tricks-skin-tone-categories
  5. http://www.paulaschoice.com/expert-advice/makeup-tips/_/makeup-tips-tricks-skin-tone-categories
  6. http://www.ebay.com/gds/Determining-Skin-Tones-Complexions-/10000000006319819/g.html
  7. http://www.prima.co.uk/fashion-and-beauty/make-up/a21653/lipstick-colour/
  8. http://www.ebay.com/gds/Determining-Skin-Tones-Complexions-/10000000006319819/g.html
  9. http://mineralhygienics.com/choose-your-skin-tone-click-on-the-thumbnails
  10. http://mineralhygienics.com/choose-your-skin-tone-click-on-the-thumbnails
  11. http://mineralhygienics.com/choose-your-skin-tone-click-on-the-thumbnails
  12. http://mineralhygienics.com/choose-your-skin-tone-click-on-the-thumbnails
  13. http://mineralhygienics.com/choose-your-skin-tone-click-on-the-thumbnails
  14. http://mineralhygienics.com/choose-your-skin-tone-click-on-the-thumbnails
  15. http://stylecaster.com/cool-warm-skin-undertones/
  16. http://stylecaster.com/cool-warm-skin-undertones/
  17. http://alldaychic.com/find-the-perfect-lip-color-for-your-skin-tone/
  18. http://alldaychic.com/find-the-perfect-lip-color-for-your-skin-tone/
  19. http://www.instyle.com/beauty/go-right-red-find-your-perfect-red-lip#408139
  20. http://alldaychic.com/find-the-perfect-lip-color-for-your-skin-tone/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 92,881 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา