ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เรื่องของเรื่องคือคุณอยากเปลี่ยนเสียงหัวเราะ อาจจะแค่เพราะว่าคุณไม่ชอบเสียงหัวเราะของตัวเอง หรือมีคนบอกว่าเขาไม่ชอบเสียงหัวเราะของคุณ พยายามระบุให้ได้ว่าเสียงหัวเราะของคุณ "ผิดปกติ" อย่างไร มันดังเกินไป คิกคักเกินไป หรือน่าขนลุกเกินไป ลองฟังเสียงหัวเราะที่เข้ากับคุณ และพยายามเลียนแบบสไตล์ที่คุณชอบ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกเสียงหัวเราะใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณไม่มีสไตล์ที่ชอบอยู่ในใจ ให้ตั้งเป้าค้นหาเสียงหัวเราะที่คุณชอบ มองหาแรงบันดาลใจในทุกๆ ที่ที่มีคนหัวเราะ ฟังเสียงหัวเราะของคนที่คุณพบเจอ ตัวละครในภาพยนตร์ และเหล่าคนดังในโทรทัศน์ ฟังเสียงหัวเราะของคนที่คุณรักและคนแปลกหน้า และคอยสอดส่องหาเสียงหัวเราะเพราะๆ เสมอ
    • YouTube และอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมบันทึกเสียงมนุษย์เอาไว้มากมาย
    • ลองคิดว่าทำไมคุณถึงชอบเสียงหัวเราะแบบนั้น บางทีคุณอาจจะชอบเพราะว่ามันทุ้มและฟังดูร่าเริง หรือเพราะว่าพอให้ยินแล้วคุณเองก็อยากจะหัวเราะเหมือนกัน
  2. เวลาได้ยินเสียงหัวเราะที่คุณประทับใจ พยายามจำหรืออัดเสียงเอาไว้ เวลาอยู่คนเดียวก็ให้หากระจกและพยายามเลียนแบบเสียงหัวเราะที่คุณได้ยิน การเลียนแบบอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติถ้าคุณอยู่ท่ามกลางคนที่หัวเราะในแบบที่คุณชอบ แต่คุณก็สามารถตั้งใจเลียนแบบได้ด้วยการเลือกเสียงหัวเราะที่คุณอยากจะเลียนแบบ [1]
    • ระวังว่าถ้าคุณเลียนเสียงหัวเราะอันโด่งดังจากโทรทัศน์หรือภาพยนตร์มาโต้งๆ คนก็อาจจะสังเกตได้ เพราะฉะนั้นตัดสินใจก่อนว่าคุณต้องการแบบนี้หรือเปล่า
  3. ลองคิดว่าทำไมคุณถึงอยากเปลี่ยนเสียงหัวเราะ. ไม่แน่ว่ามันอาจจะมีอะไรบางอย่างที่คุณไม่ชอบเกี่ยวกับเสียงหัวเราะในปัจจุบันก็ได้ เช่น มันอาจจะดังเกินไป คิกคักเกินไป หรือน่าขนลุกเกินไป พยายามหัวเราะในแบบที่จงใจเลี่ยงคุณสมบัติที่คุณไม่ชอบ ใช้การวิเคราะห์ตัวเองเปลี่ยนเสียงหัวเราะในบางแง่มุม แล้วคุณอาจจะพบว่าคุณแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ [2]
    • ถ้าคุณหัวเราะเสียงดัง พยายามหัวเราะให้เบาลง ถ้าเสียงหัวเราะของคุณมันคิกคัก แหลม และรัวเกินไป คุณก็อาจจะหัวเราะให้ช้าลงด้วยเสียงที่ทุ้มขึ้น
  4. ทบทวนว่ามีอะไรที่คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนจริงๆ ไหม. คนเรามักจะไม่รู้ว่าการหายใจของเราเปลี่ยนไปเวลาที่หัวเราะ เช่น หลายคนอาจจะมีเสียงออกมาทางจมูกเนื่องจากร่างกายปรับตัวเพื่อรับออกซิเจนมากขึ้นระหว่างหัวเราะ ลองถามคนสนิทว่าเสียงหัวเราะของคุณเป็นอย่างไร วิธีนี้จะทำให้คุณตาสว่าง เพราะถ้าเสียงหัวเราะของคุณมันน่ารำคาญหรือกวนใจเขา เขาก็น่าจะบอกคุณนะ!
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนเสียงหัวเราะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เครื่องบันทึกเสียงทบทวนเสียงหัวเราะของตัวเอง. อัดเสียงหัวเราะของตัวเองหรือขอให้คนอื่นอัดเสียงให้ จากนั้นก็เล่นย้อนกลับไปฟังว่าทำไมเสียงหัวเราะของคุณถึงเป็นเอกลักษณ์หรือไม่น่าฟัง บางทีคุณอาจจะมีเสียงดังออกมาทางจมูกอยู่บ่อยๆ หรือคุณอาจจะคิกคักมากไปจนคุณไม่ชอบ ขณะที่คุณพยายามเปลี่ยนเสียงหัวเราะ ให้อัดเสียงหัวเราะและอัดซ้ำเพื่อวิเคราะห์พัฒนาการและปรับเปลี่ยนสไตล์
    • ถ้าคุณมีเสียงหัวเราะแบบใหม่อยู่ในใจ ลองเปิดเสียงหัวเราะเดิมของคุณพร้อมกับเสียงหัวเราะที่คุณอยากจะเลียนแบบ วิธีนี้อาจช่วยให้คุณได้ยินความแตกต่างที่ซ่อนอยู่ระหว่างเสียงหัวเราะทั้งสองแบบ
  2. ลองหัวเราะในรถ ในที่ที่ห่างไกลจากคนอื่น หรือหน้ากระจก เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองพร้อมแล้ว ให้เริ่มหัวเราะในแบบที่คุณอยากจะหัวเราะ พยายามฝึกหัวเราะและหมั่นปรับเสียงหัวเราะของตัวเองอยู่เสมอ
  3. ลองคิดถึงเรื่องตลกๆ ให้เพื่อนเล่าเรื่องตลกให้ฟัง หรือไม่ก็ดูอะไรตลกๆ พยายามหัวเราะออกมาอย่างจริงใจเพื่อให้ตรงกับเสียงหัวเราะในชีวิตจริงของคุณมากขึ้น ถ้าคุณหาเรื่องให้ตัวเองหัวเราะไม่ได้ ก็แค่หัวเราะให้กับความประหลาดของสิ่งที่คุณกำลังทำ จ้องมองในกระจกและตั้งใจหัวเราะออกมา
  4. ถ้าคุณหัวเราะออกทางจมูกมากเกินไป ให้สังเกตเวลาที่ตัวเองย่นจมูกขณะหัวเราะ และพยายามเปล่งเสียงหัวเราะผ่านกะบังลม ซึ่งเป็นช่องลมที่อยู่ใกล้กับอวัยวะภายในใต้ปอด ถ้าคุณหัวเราะดังเกินไป พยายามหัวเราะให้เบาลงอีกนิด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ฝึกหัวเราะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตว่าเสียงตัวเองเป็นแบบไหนเวลาที่หัวเราะและพูด ในช่วงแรกคุณอาจจะต้องระวังระวังมากเป็นพิเศษเพื่อหัวเราะในสไตล์ที่คุณเลือกอย่างตั้งใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปคุณอาจจะเริ่มรู้สึกว่าคุณหัวเราะได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น
    • ถ้าคุณจับได้ว่าตัวเองเผลอกลับไปหัวเราะแบบเดิม ไม่ต้องหงุดหงิด เสียงหัวเราะเดิมของคุณเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ที่สนุกสนานกับผู้คน มันจึงเป็นสิ่งที่เลิกได้ยาก
    • สิ่งสำคัญก็คือการที่คุณตั้งใจฟังเสียงหัวเราะของตัวเอง ถ้าคุณตั้งใจฟังว่าเสียงหัวเราะของคุณเป็นอย่างไร คุณก็อาจจะตั้งใจเปลี่ยนเสียงหัวเราะได้ง่ายขึ้น
  2. ทุกครั้งที่อยู่คนเดียว พยายามหัวเราะแบบใหม่ ทำให้ตัวเองหัวเราะและหัวเราะจนกว่าจะได้เสียงหัวเราะที่คุณพอใจ คุณจะฝึกหัวเราะในรถ ในสวนสาธารณะ หรือหน้ากระจกก็ได้ แต่ก็ให้ดูสถานการณ์ด้วย เพราะคนอื่นอาจจะรู้สึกแปลกๆ ถ้าคุณฝึกหัวเราะเวลาอยู่กับเขาทั้งที่เขาไม่ได้พูดอะไรตลกเลย
  3. ถ้าคุณเลือกที่จะหัวเราะแบบใดแบบหนึ่ง คุณก็ต้องจำไว้ว่าการฝึกฝนอาจทำให้ความตั้งใจเดิมเปลี่ยนไปได้ เสียงหัวเราะตามธรรมชาติของคุณได้รับการหล่อหลอมจากสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นคนที่คุณมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ตัวละครในภาพยนตร์ที่คุณชื่นชอบ เสียงหัวเราะที่คุณชอบและพยายามเลียนแบบโดยไม่รู้ด้วย เสียงหัวเราะแบบใหม่ก็ได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ใหม่ๆ เช่นกัน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ชอบเสียงหัวเราะของตัวเอง แต่หมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องจู้จี้จุกจิกกับเสียงหัวเราะของตัวเองมากนักตราบใดที่คุณยังชอบเสียงหัวเราะแบบนี้อยู่
  4. ไม่ใช่ว่าจู่ๆ ก็หัวเราะแบบนั้นต่อหน้าทุกคนเลย แต่ค่อยๆ หัวเราะแบบนั้นให้บ่อยขึ้น หัวเราะแบบนั้นให้ชินก่อน และสุดท้ายคุณอาจจะไม่ต้องคิดถึงมันเลยก็ได้ เพราะสมองของคุณจะค่อยๆ ปรับและจำน้ำเสียงได้เอง [3]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าพยายามเปลี่ยนเสียงหัวเราะของตัวเองมากจนเกินไป ไม่อย่างนั้นมันจะดูปลอม และคนก็จะสงสัยเสียงหัวเราะของคุณ
  • เลือกเสียงหัวเราะที่เป็นธรรมชาติและหัวเราะออกมาตามปกติ
  • ให้คนอื่นคอยช่วยตัดสินเสียงหัวเราะ ถ้าเขาคิดว่ามันน่ารำคาญพอๆ กันหรือมากกว่าเสียงหัวเราะแบบแรก ให้เปลี่ยนเสียงหัวเราะใหม่อีกครั้ง
  • ลองหัวเราะหลายๆ แบบและหาแบบที่คุณและคนอื่นชอบ อย่าหรือพยายามอย่าทำให้มันดูปลอม หาเสียงหัวเราะธรรมชาติที่ไพเราะของตัวเอง
โฆษณา

คำเตือน

  • เลือกเสียงหัวเราะให้ดี เพราะถ้าเสียงหัวเราะของคุณมันตลกเกินไป คนอื่นก็อาจจะหัวเราะคุณได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กระจก
  • คนตัดสินเสียงหัวเราะของคุณ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,583 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา