ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเป็นคนขี้อายอาจจะทำให้การเอ็นจอยกับชีวิตตัวเองเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และอาจจะทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยวหรือรู้สึกว่าตัวเองถูกปิดกั้นก็ได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว โอกาสที่เราจะเอาชนะความขี้อายย่อมเป็นไปได้เสมอ และจำไว้ว่าคนบางคนนั้นเกิดมาเป็นคนขี้อายโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ควรปล่อยให้ความขี้อายมาเป็นอุปสรรคในชีวิตเราเอง ดังนั้น ลองทำตามวิธีการด้านล่างนี้เพื่อเอาชนะความขี้อายของตัวเองดู ไม่แน่สิ่งนี้อาจจะทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองเริ่มที่จะเข้าสังคมได้มากขึ้นก็เป็นได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รับรู้ลักษณะความขี้อายของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แต่ละคนย่อมแสดงความขี้อายในรูปแบบที่แตกต่างกัน และความขี้อายของคุณก็อาจจะมีหลายลักษณะก็ได้ ซึ่งการพิจารณาถึงลักษณะความขี้อายของตัวเองนั้น จะช่วยทำให้คุณโฟกัสอยู่กับความพยายามที่จะเอาชนะความขี้อายของตัวเองได้ และถ้าหากคุณไม่ใช่แพทย์มืออาชีพที่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะวินิจฉัยสภาวะทางจิตใจของตัวเองได้ คุณก็ต้องไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้รู้ว่าอาการขี้อายของคุณมันตรงกับลักษณะไหนในด้านล่างนี้
    • ความอายที่มาพร้อมกับความกังวลไม่ได้เป็นเพียงแค่อาการวิตกกังวลทางสังคมเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงโรคกลัวสังคมด้วย [1] ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถจัดการได้ด้วยการใช้ความช่วยเหลือจากนักบำบัด จิตแพทย์ หรือบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง
    • อาการชอบเก็บเนื้อเก็บตัวนั้นมักจะเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงในเคสของคนขี้อายอยู่บ่อยๆ การที่ความขี้อายถูกเชื่อมโยงกับอาการชอบเก็บเนื้อเก็บตัวจึงเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ และอาจจะเป็นอาการที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของประชากรมีอยู่ในตัวในระดับหนึ่งด้วย ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นลักษณะบุคลิกภาพอย่างหนึ่ง และสามารถจัดการได้ด้วยการฝึกปรับใช้บุคลิกแบบเปิดเผย (สร้างทักษะและนิสัยการเข้าสังคม)
  2. จดบันทึกประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากความขี้อายของตัวเอง รวมถึงจดบันทึกความพยายามที่จะเข้าสังคมของตัวเองเอาไว้ด้วย เขียนถึงความรู้สึกของตัวเองและรายละเอียดต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะนึกได้ คุณจะได้สามารถกลับมาดูที่สมุดบันทึกของคุณได้ทีหลัง เวลาที่คุณอยากจะรู้ว่าทักษะการเข้าสังคมของตัวเองพัฒนาไปถึงไหนแล้ว
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้คุณทำสิ่งนี้จนเป็นนิสัย รวมสิ่งนี้เข้าไปในกิจวัตรประจำวันของตัวเอง และให้รางวัลกับตัวเองหากคุณเขียนบันทึกในแต่ละวันได้สำเร็จ เพื่อทำให้การเขียนบันทึกเข้ามาอยู่รวมกับสิ่งต่างๆ ที่คุณทำในชีวิตประจำวัน
    • คุณต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง เพราะถ้าหากคุณพยายามที่จะหาเหตุผลหรือข้ออ้างให้กับสิ่งที่ตัวเองกำลังจะสื่อออกมา เป็นไปได้ว่านั่นอาจจะทำให้คุณขุดลึกลงไปเกินกว่าความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่คุณกำลังพยายามจะสื่อออกมาอยู่ ดังนั้น ให้คุณพยายามสื่อออกมาในแบบที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แทนจะดีกว่า
    • ใส่ใจที่ความรู้สึกของตัวเองให้เป็นพิเศษ และจดบันทึกอารมณ์ต่างๆ ของตัวเองเมื่อคุณรู้สึกถึงอารมณ์เหล่านั้น วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถควบคุมความรู้สึกต่างๆ ของตัวเองได้
  3. คอยจับตาดูนิสัยชอบเก็บเนื้อเก็บตัวของตัวเองเอาไว้. สิ่งที่คุณเลือกทำนั้นอาจจะมีผลกระทบอย่างมากต่อความมากน้อยของปฏิสัมพันธ์ที่คุณมีกับคนอื่น ซึ่งการที่คุณเลือกอยู่บ้านแทนที่จะออกไปข้างนอกนั้นก็หมายถึงว่า โอกาสในการเข้าสังคมของคุณก็จะมีน้อยลงไปด้วย และถ้าคุณเป็นแบบนี้อยู่ตลอดเวลาล่ะก็ คุณอาจจะเคยชินกับการทำแบบนี้ไปตลอดเลยก็ได้
    • ไม่ต้องเล่นโทรศัพท์ [2] วางมันไว้ที่บ้านเมื่อคุณออกไปข้างนอก เก็บไว้ในช่องฟรีซหรือไมโครเวฟ (แบบที่ยังไม่เสียบปลั๊กเปิดเครื่อง) สักสองสามชั่วโมงก็ได้ จนคุณลืมว่ามีโทรศัพท์อยู่ นี่จะเพิ่มโอกาสให้คุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมากขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ทำลายกำแพงของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณต้องตระหนักไว้ว่าไม่มีใครที่จะมาคิดจับผิดคุณมากเท่ากับที่คุณคิดจับผิดตัวเองหรอก การที่คุณตระหนักได้ว่าไม่มีใครที่จะมายึดติดอยู่กับความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณทำ จะทำให้คุณรู้สึกถึงความเป็นอิสระได้ เพราะว่าคนอื่นๆ ต่างก็คิดถึงแต่ตัวเองและความผิดพลาดของตัวเองเหมือนกันทั้งนั้น ดังนั้น ให้จำสิ่งนี้เอาไว้ในใจ เพราะมันอาจจะช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นได้ [3]
  2. เข้าไปอยู่ในสถานที่ที่จำเป็นต้องใช้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม. หากคุณกำลังพยายามที่จะเป็นคนที่เข้าสังคมได้มากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะยืนยันถึงความสำเร็จในการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ก็คือการที่คุณออกไปข้างนอกและพาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกันเพื่อเพิ่มโอกาสให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ มากขึ้น ดังนั้น ให้คุณพาตัวเองออกไปอยู่ตรงนั้นซะ ออกไปงานหรือสถานที่ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้คุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
    • เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับสมาคมสักสมาคมหนึ่ง คุณจะค้นหาสมาคมในอินเทอร์เน็ตหรือว่าจะโทรสอบถามที่ศาลาประชาคมในท้องถิ่นคุณก็ได้ การที่คุณได้ใช้เวลาร่วมกับคนอื่นๆ ที่มีความสนใจแบบเดียวกับคุณ จะทำให้คุณมีเรื่องที่จะเอาไปพูดคุยกับพวกเขา
    • เลือกทำงานอดิเรกสักหนึ่งอย่าง จะเป็นศิลปะการป้องกันตัวหรือกีฬาที่เล่นเป็นทีมก็ได้ แม้ว่ากิจกรรมทางกายภาพที่ทำกันเป็นกลุ่มนั้นจะไม่ได้อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอะไรมากมายเหมือนกับกิจกรรมอื่นๆ แต่ว่าจริงๆ ก็ต้องใช้บ้างบางส่วน ซึ่งสิ่งนี้สามารถเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของคุณได้โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรมากมายเลย
  3. [4] อย่ากดดันว่าตัวเองจะต้องกลายเป็นคนที่ชอบเข้าสังคมให้ได้เลยในทันที แต่ให้คุณมีความสุขไปกับชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ ที่ตัวเองทำสำเร็จแทนจะดีกว่า ดังนั้น ให้คุณค่อยๆ ปรับตัวกับการเข้าสังคมไปทีละนิดก่อน เมื่อใดที่คุณเริ่มรู้สึกสบายใจที่จะอยู่ในสังคมมากขึ้นแล้ว ให้คุณเพิ่มระดับการเข้าสังคมให้มากขึ้นต่อไปอีก
    • คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการพูดคำว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ” กับใครก็ได้ที่คุณไม่รู้จัก หรือไม่ก็บอกกับใครสักคนไปว่าคุณชอบแฟชั่นของเขา คิดไว้ล่วงหน้าถึงสิ่งที่คุณอยากจะลองทำ และฝึกฝนเล็กน้อยที่หน้ากระจกหรือฝึกฝนกับเพื่อนที่ไว้ใจได้ หรือว่าจะฝึกกับคนในครอบครัวหรือนักบำบัดก็ได้ ซึ่งนี่จะช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นเวลาที่โอกาสในการเข้าสังคมของคุณมาถึง และนั่นจะทำให้คุณรู้สึกสบายใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
    • ลองนัดใครสักคนออกไปเที่ยวด้วยกันหรือว่าจะชวนพวกเขามาทานมื้อเย็นก็ได้ หากคุณไม่สามารถชวนพวกเขาด้วยตัวเองได้ ให้คุณเขียนโน้ตไปหาหรือไม่ก็ส่งข้อความไปหาก็ได้
  4. เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ การเข้าสังคมก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นเอง ฉะนั้นคุณต้องสู้และพยายามต่อไปเรื่อยๆ [5] และเมื่อใดที่คุณรู้สึกสนุกกับงานปาร์ตี้ กับการออกไปเที่ยวกับใครสักคน หรือการออกไปข้างนอกกับเพื่อนๆ ให้คุณพยายามทำสิ่งเหล่านั้นอีก วิธีนี้จะช่วยคุณเพิ่มความรู้สึกดีๆ ขึ้นมาได้ แต่ถ้าหากคุณรู้สึกว่ามันยังดูเป็นวิธีที่ยากเกินความสามารถของตัวเองอยู่ ให้คุณลองนึกถึงกิจกรรมที่จะช่วยทำให้คุณไม่รู้สึกอึดอัดเวลาที่จะขอใครสักคนออกไปเที่ยวด้วยกันดู เช่น ออกไปดื่มกาแฟ หรือหาอะไรสนุกๆ ทำอย่างเช่น เล่นโรลเลอร์สเกต และดูให้แน่ใจด้วยว่าคุณเลือกกิจกรรมที่ตัวเองรู้สึกสบายใจที่จะทำแล้วจริงๆ
  5. ให้คุณออกไปยังสถานที่สาธารณะและท้าตัวเองให้ไปขอความช่วยเหลือหรือขอข้อมูลจากใครสักคนก็ได้ โดยคุณอาจจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์กับการทำสิ่งนี้สักหน่อย ไม่ว่าในตอนนั้นคุณจะอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ ให้คุณลองสร้างหัวข้อที่จะใช้พูดคุยหรือสร้างคำถามขึ้นมาสักคำถามหนึ่งดู อย่างเช่น
    • ถามความคิดเห็นจากใครสักคนที่อยู่ในร้านขายของเกี่ยวกับวัตถุดิบอาหารที่ขายอยู่ในร้าน
    • ถามทางใครสักคนดู แม้ว่าคุณอาจจะรู้เส้นทางที่คุณกำลังจะไปก็ตาม
    • ขอร้องให้ใครสักคนมาช่วยคุณถือของบางอย่าง แม้ว่าคุณอาจจะสามารถจัดการกับของเหล่านั้นได้ด้วยตัวเองก็ตาม
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ค่อยๆ ทำไปทีละขั้นตอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเสริมแรงให้ความสำเร็จต่างๆ ที่คุณทำ คือส่วนสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างอุปนิสัยใหม่ๆ ได้ ดังนั้น ให้คุณบอกกับตัวเองว่าคุณจะให้รางวัลตัวเองได้ก็ต่อเมื่อคุณได้พูดคุยกับคนๆ หนึ่งที่คุณเจาะจงเอาไว้ หรือเมื่อคุณได้สนทนาอย่างสนุกสนานกับคนที่คุณไม่เคยรู้จักมาก่อน
  2. บางครั้งการเข้าสังคมมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป แต่ว่าเพื่อนของคุณอาจจะช่วยเรื่องนี้ได้ ซึ่งเพื่อนที่เข้าสังคมได้ดีกว่าหรือแม้กระทั้งคนในครอบครัวก็สามารถช่วยคุณได้เหมือนกัน ดังนั้น ลองขอร้องให้พวกเขาช่วยสนับสนุนคุณในการทำสิ่งนี้ดู และก็อย่าลืมขอร้องให้พวกเขาช่วยคุณหาวิธีที่จะทำให้ตัวคุณเองเป็นคนที่เข้าสังคมได้ดีขึ้นด้วย
  3. นึกถึงสิ่งต่างๆ ที่คุณรู้สึกสบายใจที่จะลงมือทำและเป็นสิ่งที่คุณสามารถทำได้. ให้คุณลองนึกภาพว่าตัวเองกำลังพยายามทำไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอยู่ และจากนั้นก็ฝึกฝนการมีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ กับคนที่คุณไว้ใจดู อาจจะเริ่มจากการมีปฏิสัมพันธ์แบบง่ายๆ อย่างการพูดคำว่า “สวัสดี” กับคนที่คุณรู้จัก จากนั้นก็ลองพัฒนาระดับขึ้นไปอีกด้วยการพูดคำว่า “สวัสดี” กับคนแปลกหน้าดู หลังจากที่ทักทายแล้ว คุณอาจจะชวนอีกฝ่ายพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องสภาพอากาศ หรือพูดชมอีกฝ่าย หรือว่าถามถึงเวลาก็ได้ โดยให้คุณใช้ภาษากายเพื่อแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณนั้นพร้อมที่จะคุยต่อ และดูด้วยว่าปฏิกิริยาในระหว่างที่คุณสนทนากันอยู่นั้นพัฒนาไปทางไหน [6]
  4. บางทีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นในบางสถานการณ์ และจริงๆ ก็มีหลายคนที่จะช่วยคุณได้ ซึ่งบางทีคุณอาจจะต้องใช้ความช่วยเหลือมากกว่าหนึ่งความช่วยเหลือ ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นคนขี้อายแบบไหน [7]
    • นักบำบัด คือคนที่สามารถช่วยให้คุณมองเห็นรูปแบบพฤติกรรมของตัวเองได้ ซึ่งการบำบัดความคิด (Cognitive therapy) คือสิ่งที่จะช่วยประเมินความขี้อายของคุณได้ [8]
    • ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านความสัมพันธ์ มีความเชี่ยวชาญในการช่วยคนให้แสดงความสัมพันธ์ที่สนิทสนมของตัวเองออกมาได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บางครั้ง การที่จะมีเพื่อนหรือคนที่คุณเชื่อใจมาช่วยพาตัวคุณออกไปจากความเคยชินเดิมๆ ของตัวเอง ก็ต้องใช้แรงกระตุ้นบ้างเล็กน้อย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,934 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา