PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คนหลายคนรู้สึกว่าตนเองขาดพรสวรรค์ในการเรียนคณิตศาสตร์และไม่สามารถจะเก่งวิชานี้ขึ้นได้ นี้เป็นเรื่องที่ไม่จริงเลย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเก่งคณิตศาสตร์ต้องอาศัยความมานะพยายามมากกว่าพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด [1] การทุ่มเทศึกษาฝึกฝนจะทำให้เราเริ่มเก่งคณิตศาสตร์ได้ ฉะนั้นจงใช้เวลาในแต่ละวันฝึกฝนแก้โจทย์คณิตศาสตร์จนกว่าจะเริ่มแก้ได้ถูกต้องและเร็วขึ้น ลองขอความช่วยเหลือก็ได้ ถ้าจำเป็น ติวเตอร์ คุณครู หรือแม้แต่เพื่อนๆ ที่เก่งเลขก็สามารถช่วยให้เราเก่งคณิตขึ้นได้ นอกจากนี้เราก็ควรมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ด้วย ใครหลายคนมีทัศนคติที่แย่ต่อวิชานี้และเอาแต่คิดว่า “ฉันเป็นคนที่อ่อนเลข ฉะนั้นฉันก็คงไม่มีทางเก่งวิชานี้ได้” การอ่อนเลขไม่ใช่ปัญหา เพราะคนส่วนใหญ่สามารถเก่งเลขได้ด้วยความมานะพยายามและการฝึกฝน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ฝึกแก้โจทย์คณิตศาสตร์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทบทวนบทเรียนในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากสิ่งรบกวน. ถ้าเราอ่อนเลขมาก เราก็ต้องนั่งทบทวนวิชานี้ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เราจดจ่อกับการทบทวนบทเรียนได้ หาสถานที่ซึ่งปราศจากสิ่งรบกวนเพื่อนั่งฝึกแก้โจทย์เลข [2]
    • ค้นหาสถานที่ซึ่งไม่มีเสียงรบกวนหรือไม่มีคนพลุกพล่าน จะนั่งฝึกแก้โจทย์คณิตศาสตร์ที่ร้านกาแฟอันสงบเงียบ หรือที่โต๊ะเขียนหนังสือในห้องนอนตนเองก็ได้
    • ลดสิ่งรบกวนรอบตัวให้น้อยที่สุด อย่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและอย่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ข้างตัว
    • ถ้าเราชอบฟังเพลงขณะที่ทบทวนบทเรียน ขอแนะนำให้ฟังเพลงบรรเลง เพราะเพลงที่มีเสียงคนร้องหรือเพลงที่เปิดเสียงดังอาจทำให้เราเสียสมาธิง่ายขณะฝึกแก้โจทย์เลข
  2. การเก่งคณิตศาสตร์นั้นไม่มีเคล็ดลับอะไรเป็นพิเศษ ความเก่งกาจในวิชานี้มาจากความทุ่มเทฝึกฝนล้วนๆ ถ้าอยากให้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ดีขึ้น การหมั่นฝึกแก้โจทย์เป็นกุญแจสำคัญ เราจะต้องฝึกแก้โจทย์คณิตศาสตร์ทุกวันจนกว่าเราจะเข้าใจสูตรและแนวคิดพื้นฐาน รวมทั้งสามารถแก้โจทย์ได้คล่องและถูกต้อง [3]
    • ทำตามตารางเวลา ดูสิว่าในวันหนึ่งเราสามารถทบทวนและฝึกแก้โจทย์คณิตศาสตร์เวลาไหนได้บ้าง ถ้าเราว่างช่วงหัวค่ำเป็นประจำ ก็ให้วางแผนที่จะทบทวนและฝึกแก้โจทย์คณิตศาสตร์ตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 1 ทุ่มทุกวันหลังกินอาหารเย็น
    • พยายามอย่าใช้เวลาทบทวนและฝึกแก้โจทย์เลขนานติดต่อกันหลายชั่วโมง เพราะอาจทำให้เราเครียดได้ ใช้เวลาวันละหนึ่งชั่วโมงก็พอ
  3. เรียนรู้ตรรกศาสตร์และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการแก้โจทย์. การแก้โจทย์คณิตศาสตร์ต้องทำไปตามลำดับขั้นตอน หลายคนรู้สึกว่าตนเองต้องจำแนวคิดและสูตรหรือร่างคำตอบไว้ในหัวก่อนที่จะเริ่มลงมือแก้โจทย์ การทำแบบนี้ไม่ทำให้เราแก้โจทย์เลขได้ พยายามทำความเข้าใจแนวคิดอันเป็นพื้นฐาน ถ้าเราเข้าใจหลักการแก้สมการและรู้ว่าทำไมถึงต้องใช้วิธีแก้แบบนี้ เราก็จะสามารถจดจำได้อย่างรวดเร็ว [4]
    • ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์อาจดูเข้าใจยาก แต่ถ้าเรามานะพยายามสักหน่อย เราก็จะเริ่มเข้าใจทฤษฎีขึ้นมาได้บ้าง ในการเรียนคณิตศาสตร์ อย่าลังเลที่จะถามว่าทำไม ทำไมทฤษฎีบทพีทาโกรัสถึงนำมาใช้ได้ผล สมการกำลังสองนำมาใช้ในระดับตรรกะอย่างไร
    • การเข้าใจแนวคิดพื้นฐานมีประโยชน์มากกว่าการจำแต่เพียงอย่างเดียว ถ้าเราเข้าใจอะไรสักอย่างลึกซึ้ง เราก็จะแก้โจทย์ได้ง่ายขึ้นและใช้เวลาน้อยลง ตัวอย่างเช่น เราจะตรวจค่าของตัวแปรว่าทำให้สมการเป็นจริงหรือไม่ ถ้าเราเข้าใจหลักของสมการว่าจำนวนที่อยู่ด้านซ้ายของสมการต้องเท่ากับจำนวนที่ด้านขวาของสมการ
  4. เมื่อต้องแก้โจทย์เลข เราต้องการรู้ว่าตนเองจะไปถึงคำตอบได้อย่างไร แทนที่จะกำหนดวิธีหาคำตอบไว้ล่วงหน้า ให้แก้โจทย์ไปทีละขั้น อย่าคิดไปล่วงหน้า เพราะการทำไปทีละขั้นตอนจะทำให้เรารู้ว่าตนเองได้คำตอบมาอย่างไร [5]
    • ถ้าเราต้องหารก่อน ก็ให้จดจ่อกับการหาร ถ้าเราต้องบวกในขั้นตอนต่อไป ก็ให้จดจ่อกับการบวก
    • พอแก้โจทย์จนได้คำตอบแล้ว ลองตรวจสอบและดูกระบวนการคิด พยายามทำความเข้าใจสิว่าเพราะอะไรถึงได้คำตอบนี้และกว่าจะได้คำตอบนี้เรามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
  5. ตรวจสอบอย่างละเอียดเมื่อคำตอบที่ได้ไม่ถูกต้อง. เราสามารถเรียนรู้ได้มากเมื่อพบความผิดพลาดเวลาแก้โจทย์ ถ้าพบว่าคำตอบไม่ถูกต้อง ลองกลับไปดูกระบวนการคิด เราทำผิดที่ขั้นตอนไหนและทำผิดอย่างไร พยายามแก้โจทย์อีกครั้งเพื่อจะได้รู้ว่าทำอย่างไรถึงจะได้คำตอบที่ถูกต้อง [6]
    • เมื่อต้องแก้โจทย์คณิตศาสตร์ การเขียนขั้นตอนการคิดนั้นสำคัญ ใช้ปากกาเขียนขั้นตอนการแก้โจทย์ของเราทีละบรรทัด เมื่อเราทำผิดพลาด เราจะได้ย้อนกลับมาดูสิ่งที่เขียนและเห็นข้อผิดพลาดได้ง่ายขึ้น
  6. ตรวจสอบขั้นตอนการคิดหลังจากได้คำตอบแล้ว ตรวจอย่างละเอียดว่าเราคำนวณตัวเลขทุกอย่างทุกต้องและใช้วิธีคิดถูกต้อง ขณะตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบ เราน่าจะรู้อย่างชัดเจนมากขึ้น ถ้าเราตรวจคำตอบอย่างละเอียด การหมั่นตรวจคำตอบจะช่วยสร้างนิสัยละเอียดรอบคอบซึ่งมีผลดีต่อการเรียนและสอบคณิตศาสตร์ [7]
    • การตรวจคำตอบยังช่วยให้เราเข้าใจทฤษฎีสำคัญต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในโจทย์ข้อนั้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ขอความช่วยเหลือและคำแนะนำ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ารู้จักใครสักคนที่เก่งคณิตศาสตร์ ขอให้เขาช่วยตรวจคำตอบเมื่อเราแก้โจทย์เสร็จแล้ว อาจขอให้คุณพ่อคุณแม่ ติวเตอร์ เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวที่เชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ตรวจให้ [8] [9]
    • ถ้าเราเป็นคนที่อ่อนคณิตศาสตร์อย่างมาก ให้เลือกผู้สอนที่มีความอดทนและอธิบายเก่ง สมมติว่าลูกพี่ลูกน้องเราเชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ แต่เป็นคนใจร้อนและชอบตัดสินคนอื่น เขาอาจตะคอกใส่เราที่ไม่เข้าใจสิ่งที่เขาอธิบายเสียที ฉะนั้นเวลาเลือกคนสอน ควรเลือกคนที่ใจเย็นจะดีกว่า เราจะได้ไม่รู้สึกแย่
    • อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น กว่าจะเก่งคณิตศาสตร์ได้ อาจต้องใช้เวลานานและอาศัยคนเก่งช่วยเหลือ
  2. ถ้าพยายามหาแหล่งเรียนคณิตศาสตร์นอกเหนือจากในห้องเรียน เราอาจลองเรียนทางอินเตอร์เน็ต มีเว็บไซต์สำหรับเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากมายทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและฟรี เราสามารถเรียนจากที่บ้านได้ [10]
    • บางเว็บไซต์อาจสอนคณิตศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ กันไป เช่น สอนแบบนำเสนอเป็นสไลด์หรือแบบวีดีโอบรรยายโดยที่เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
    • มีโรงเรียนกวดวิชาที่สามารถลงเรียนคณิตศาสตร์ได้ แต่ถ้าเราไม่มีกำลงทรัพย์พอ ลองหาเว็บที่ติวคณิตศาสตร์ให้ฟรีก็ได้
  3. ถ้าที่โรงเรียนของเรามีชมรมคณิตศาสตร์ ให้เข้าร่วม เมื่อได้เข้าชมรมคณิตศาสตร์แล้ว เราจะได้โอกาสฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์ อาจได้ติวเลขตัวต่อตัว ลองดูสิว่าโรงเรียนของเรามีชมรมคณิตศาสตร์ไหม ถ้ามี ให้เข้าร่วมเสีย [11]
    • ถ้าที่โรงเรียนไม่มีชมรมคณิตศาสตร์หรือเราไม่ได้เข้าชมรมคณิตศาสตร์มาตั้งแต่ต้น ลองหาศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ทางอินเตอร์เน็ตและเข้าชมดูก็ได้
    • ถ้ามีการเรียนเสริมหรือติวเข้มคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ให้เข้าร่วม ถ้าเรามีเนื้อหาตรงส่วนไหนไม่เข้าใจ การเข้าร่วมเรียนเสริมหรือติวเข้มอาจช่วยให้เรามีโอกาสถาม เรียนรู้ และเข้าใจเนื้อส่วนนั้นมากขึ้น
  4. บางครั้งการอธิบายวิธีแก้โจทย์คณิตศาสตร์ให้ผู้อื่นฟังอาจช่วยเราให้เข้าใจเนื้อหาวิชานี้มากขึ้น สมมติว่าเราลงเรียนวิชาแคลคูลัสและมีเพื่อนกำลังประสบปัญหาการเรียนวิชานี้อยู่ เราก็พยายามช่วยเหลือเพื่อนด้วยการติวให้ อาจตั้งกลุ่มติวขึ้นมาเลยก็ได้ การได้รู้ปัญหาการเรียนของเพื่อน จะทำให้เราเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้นและให้ความช่วยเหลือเขาได้ [12]
    • เมื่อเข้าไปช่วยติวให้เพื่อน ควรอธิบายให้ชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากอธิบายกระบวนการแล้ว ให้อธิบายว่าทำไมถึงคิดแบบนี้
    • ถ้าเริ่มรู้สึกว่าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเราดีขึ้นมาก เราอาจช่วยติวคนที่อ่อนกว่า การสอนคณิตศาสตร์คนอื่นช่วยพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเราได้
  5. คุณครูโดยส่วนใหญ่อยากจะสอนเด็กที่ตั้งใจเรียนอยู่แล้ว ถ้าเราอยากเก่งคณิตศาสตร์ จงกล้าที่จะไปขอความช่วยเหลือจากคุณครู คุณครูอาจช่วยติวตัวต่อตัวให้หรืออธิบายเนื้อหาที่เราไม่เข้าใจหลังจากหมดชั่วโมงเรียน [13]
    • อย่ารู้สึกแย่ที่ต้องไปขอความช่วยเหลือ มีใครหลายคนอ่อนคณิตศาสตร์เหมือนเรา คุณครูเองก็คงอยากช่วยแก้ปัญหานี้ให้กับนักเรียนเช่นกัน ท่านอยากเห็นเราเก่งขึ้น
    • เมื่อไปขอให้คุณครูช่วย ให้พูดตรงๆ และอธิบายปัญหาของตนให้ชัดเจน อย่าพูดแค่ว่า “ผมไม่เข้าใจเลย” ให้พูดว่า “ผมไม่เข้าใจเนื้อหาบทที่สาม ผมยังงงเรื่องพหูนามอยู่”
  6. ถ้าเรารู้สึกอยากเรียนตัวต่อตัวมากกว่า ให้จ้างติวเตอร์มาสอน ติวเตอร์สามารถมาสอนคณิตศาสตร์เราได้หลายครั้งในหนึ่งสัปดาห์และติวเข้มส่วนที่เราไม่เข้าใจได้ ติวเตอร์ที่มีคุณภาพจะช่วยให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับเรามากขึ้น ทำให้เราเข้าใจคณิตศาสตร์ดีขึ้น
    • ถ้าเรามีความบกพร่องทางการเรียนรู้ซึ่งมีผลต่อความสามารถด้านการคำนวณ เช่น ความบกพร่องทางการอ่าน เราอาจต้องหาครูการศึกษาพิเศษมาสอน ถ้าทางโรงเรียนทราบปัญหา อาจจัดหาครูการศึกษาพิเศษมาให้เรา ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับครูการศึกษาพิเศษทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ [14]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนหลายคนทำลายโอกาสที่จะเก่งคณิตศาสตร์ของตนไปด้วยการเชื่อว่าตนเองไม่มีทางเก่งวิชานี้ได้ ถ้าเราเรียนเลขที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย และเรียนจนมาถึงในส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยากเกินจะเข้าใจ เราก็จะคิดว่าตนเองไม่ถนัดคณิตศาสตร์และไม่มีทางเก่งวิชานี้ได้ ทัศนคติที่ดีจะช่วยให้เรายังคงมีแรงบันดาลใจและมีกำลังใจเมื่อเราพยายามที่จะฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์ [15]
    • ถ้ามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชานี้ เราก็จะท้อแท้ง่าย ถ้าคิดว่าตนเองอ่อนเลข พอลงมือแก้โจทย์แล้วได้คำตอบที่ผิด ก็จะเชื่อว่าตนเองนั้นอ่อนเลขอย่างที่คิดจริงๆ เราก็จะเริ่มท้อใจจนคิดว่า “ฉันไม่เก่งคณิตจริงๆ ด้วย เรียนไปแล้วจะมีประโยชน์อะไร”
    • นำทัศนคติที่ดีมาแทนที่ทัศนคติที่แย่ ถ้าตอนนี้เราเรียนคณิตศาสตร์แล้วไม่รู้เรื่อง อย่าคิดว่า “ฉันอ่อนเลข” ให้คิดว่า “ฉันทบทวนและฝึกแก้โจทย์ไม่มากพอ ฉะนั้นฉันต้องฝึกให้มากกว่านี้ ฉันต้องเก่งคณิตศาสตร์ขึ้นแน่นอน ถ้าขยันและตั้งใจ”
  2. อย่าคิดว่าการเก่งคณิตศาสตร์เป็นเรื่องของพรสวรรค์. หลายคนเชื่อว่าการเก่งคณิตศาสตร์เป็นเรื่องของพรสวรรค์ การคิดแบบนี้จะทำให้เราไม่ยอมพยายามพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของตนเองให้ดีขึ้น อีกทั้งนี้เป็นแค่ความเชื่อที่ผู้คนมีต่อคณิตศาสตร์เท่านั้น เพราะมีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทุกคนสามารถเก่งคณิตศาสตร์ ถ้าหมั่นฝึกฝน [16] [17]
    • บางคนก็มีพรสรรค์ทางคณิตศาสตร์มาตั้งแต่เกิด พรสวรรค์ทำให้คนเหล่านั้นได้เปรียบในช่วงแรกและอาจเรียนรู้เร็วกว่าในช่วงประถม อย่างไรก็ตามผลการศึกษาส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าการหมั่นฝึกฝนอาจช่วยพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ให้เก่งเท่ากับคนที่มีพรสวรรค์ ในความเป็นจริงการหมั่นฝึกฝนน่าจะเป็นผลดีในระยะยาวมากกว่าพรสวรรค์ที่ติดตัวมา
    • ความบกพร่องทางการเรียนรู้ เช่น ความบกพร่องการเรียนรู้ด้านการคำนวณ อาจมีผลต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้ อย่างไรก็ตามเราก็สามารถพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ด้วยฝึกและใช้วิธีเรียนรู้ที่เหมาะสม อย่าท้อแท้ เราไม่ได้อ่อนเลขเหรอก เพียงแต่ต้องฝึกฝนเพิ่มขึ้นเท่านั้น
  3. อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้คนมีปัญหากับการเรียนคณิตศาสตร์คือไม่ตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง อาจคิดว่าตนเองอ่อนเลข ก็ไม่เห็นเป็นไร เลยปล่อยปัญหาให้คงอยู่อย่างนั้น อย่ารู้สึกแย่ที่เรียนเลขแล้วไม่เข้าใจ ให้พยายามตั้งใจเรียนอย่างจริงจังต่อไป [18]
    • ทักษะการใช้เหตุผลสามารถนำมาใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์ได้และการคิดเลขในใจจะทำให้เราแก้โจทย์คณิตศาสตร์ได้เร็วขึ้น
    • พยายามตั้งใจเรียนและหมั่นฝึกฝนดีกว่าเพิกเฉย ไม่ใส่ใจ การเก่งคณิตศาสตร์นั้นอาจเป็นประโยชน์กับเราในอนาคตก็ได้
  4. การฝึกฝนเป็นหนทางเดียวที่จะพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ในระยะยาวได้ ไม่มีกลเม็ดเคล็ดลับอะไรที่จะช่วยพัฒนาทักษะของเราในชั่วข้ามคืนได้ เราจึงต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเองอยู่เสมอ หมั่นศึกษาและฝึกฝนรวมทั้งขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น เมื่อทุ่มเทเวลาฝึกฝน เราก็จะสามารถกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคณิตศาสตร์ได้ในที่สุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • กล้าถามเมื่อไม่เข้าใจ อย่าเก็บความสงสัยไว้ ถามเลย
  • รีบศึกษาและฝึกฝนคณิตศาสตร์ก่อนสอบล่วงหน้า ค่อยๆ ศึกษาและฝึกฝนไปทีละนิด
  • การแก้โจทย์ปัญหาบางครั้งก็ต้องใช้เวลากว่าจะถึงคำตอบสุดท้าย
  • เขียนขั้นตอนลงกระดาษ เมื่อเราย้อนกลับมาดูอีกครั้ง เราจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เข้าใจหลักในการคิดด้วย
  • หาเวลาทบทวนและฝึกแก้โจทย์คณิตศาสตร์สักวันละ 1 ชั่วโมง เราจะได้มีโอกาสพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ให้ดีขึ้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,198 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา