ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการคิดถึงบ้าน คือ ความรู้สึกที่เราทุกคนอาจจะเคยได้สัมผัสไม่ครั้งใดก็ครั้งหนึ่งของชีวิต จากการวิจัยพบว่า มีผู้คนประมาณ 70% ที่ในชีวิตตัวเองได้เคยเผชิญกับอาการคิดถึงบ้านมาแล้ว [1] ซึ่งอาการคิดถึงบ้านสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณต้องย้ายไปอยู่ในที่ที่ ไกลจากบ้านเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย หรือเมื่อคุณอยู่ห่างจากบ้านในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างเช่น เมื่อคุณต้องไปเข้าแคมป์ฤดูร้อน นอกจากนี้มันยังสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงระยะเวลานานๆ เช่น ช่วงระหว่างที่คุณกำลังเรียนอยู่ที่ต่างประเทศ ซึ่งจริงๆ ก็มีหลายวิธีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ตัวคุณเองมีอาการคิดถึงบ้านและสามารถปลอบใจตัวเองได้หากต้องเจอกับอาการคิดถึงบ้านในขณะที่คุณอยู่ห่างไกลจากบ้านเดิมของตัวเอง เอาล่ะ เราไปดูวิธีเหล่านั้นกันเถอะ!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

เตรียมตัวที่จะออกจากที่อยู่เดิม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    รับรู้ไว้ว่าอาการคิดถึงบ้านนั้นเป็นเรื่องปกติ. การที่คุณมีความรู้เกี่ยวกับอาการคิดถึงบ้านมากขึ้นกว่าเดิม จะทำให้คุณสามารถเข้าใจได้ว่า มันเป็นเรื่องปกติที่คนเราจะมีความรู้สึกคิดถึงบ้าน [2] และการที่คุณรับรู้ว่านี่คือเรื่องปกติมากๆ จะช่วยทำให้คุณรู้สึกเครียดหรือลำบากใจน้อยลงเกี่ยวกับอาการคิดถึงบ้าน
  2. 2
    ทำตัวให้เคยชินกับสถานที่ที่ คุณกำลังจะไป. มีงานวิจัยงานหนึ่งได้กล่าวว่า เด็กผู้ชายที่เข้าแคมป์ฤดูร้อนสามารถที่จะบรรเทาอาการคิดถึงบ้านได้หากพวกเขาได้เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับสิ่งที่ต้องเจอ และทำตัวให้ชินกับสิ่งรอบๆ ตัวในที่ที่ พวกเขาจะต้องอยู่ [3] และเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการคิดถึงบ้าน มันจะดีมาก หากคุณได้สำรวจแผนที่ รูปภาพ หรือสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ ก่อนที่คุณกำลังจะไปที่นั่น นอกจากนี้ คุณอาจจะถามใครบางคนที่มีความรู้เกี่ยวกับที่ที่ คุณกำลังจะไป เพื่อที่จะขอให้เขาอธิบายการว่าคุณต้องเตรียมตัวเจอกับการใช้ชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมแบบไหนเมื่อคุณไปอยู่ที่นั่นแล้ว
    • ถ้าเป็นไปได้ คุณอาจจะวางแผนเพื่อสำรวจสถานที่นั้นก่อน โดยคุณจะไปที่นั่นกับครอบครัวหรือเพื่อนๆ ก็ได้
  3. 3
    วางแผนไว้สำหรับเมื่อคุณได้เดินทางมาถึงที่อยู่ใหม่ของคุณแล้ว. เมื่อคุณรู้ว่าเวลาที่คุณไปอยู่ที่ใหม่แล้วกิจวัตรหรือกิจกรรมในแต่ละวันของคุณจะเป็นแบบไหน นั่นจะช่วยทำให้คุณรู้สึกสบายใจมากขึ้น รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่คุณพบเจอก็จะดูน่าคุ้นเคยสำหรับตัวคุณมากขึ้นด้วย และนั่นจะทำให้อาการคิดถึงบ้านของคุณบรรเทาลง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยงานหนึ่งพบว่าการออกกำลังกายเยอะๆ และการพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมในขณะที่อยู่ไกลจากบ้าน จะช่วยขจัดความรู้สึกคิดถึงบ้านออกไปได้
    • เมื่อคุณได้มาอยู่ที่ใหม่แล้ว อย่าลืมออกกำลังกายให้เป็นประจำและพยายามหาโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย โดยให้คุณวางแผนว่าจะออกกำลังกายและทำกิจกรรมทางสังคมเมื่อไรและที่ไหน ก่อนที่คุณจะเดินทางมายังที่อยู่ใหม่นี้ [4]
  4. 4
    เอาของบางอย่างจากที่บ้านติดตัวมาด้วย. บางครั้งอาการคิดถึงบ้านก็คาดเดาได้ยาก เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวคุณเมื่อไร หรือคุณจะเห็น ได้ยิน หรือได้กลิ่นบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้คุณคิดถึงบ้านตอนไหน [5] และเพื่อที่จะปลอบใจตัวเองในช่วงเวลานั้น การที่คุณได้เอาของบางอย่างจากที่บ้านติดมือมาด้วยจะช่วยคุณได้มากเลยทีเดียวเลยล่ะ
    • คุณอาจจะเอาหนังสือเล่มโปรด รองเท้าแตะ หรือรูปภาพที่จะช่วยปลอบใจคุณเมื่อคุณคิดถึงบ้านติดตัวมาด้วยก็ได้ เพราะสิ่งของเหล่านี้อาจจะช่วยทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้อยู่ห่างไกลจากบ้านมากนัก
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    เริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ใหม่. มันเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะจัดสมดุลระหว่างการรักษาความสัมพันธ์กับที่บ้านและการสร้างสัมพันธ์กับคนใหม่ๆ ในที่ที่ คุณอยู่ ดังนั้น ให้คุณลองพูดคุยกับคนที่ดูน่าสนใจ โดยอาจจะเป็นใครสักคนที่อยู่หอพักเดียวกับคุณหรือใครบางคนที่เรียนวิชาเดียวกับคุณก็ได้
    • ในวันแรกๆ หรืออาทิตย์แรกๆ ของการเรียนในมหาวิทยาลัย ซัมเมอร์แคมป์ หรือการเรียนในต่างประเทศอาจจะเป็นโอกาสดีในการทำความรู้จักเพื่อนใหม่ ดังนั้น ให้คุณใช้ประโยชน์จากสถานการณ์แบบนี้ เพราะทุกคนที่มาที่นี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเด็กใหม่เหมือนกันทั้งสิ้น
    • หากคุณกำลังเรียนหรือทำงานในประเทอื่น ให้คุณลองไปที่สถานกงสุลที่อยู่ใกล้ๆ หรือไม่ก็ไปหากลุ่มคนที่มาจากต่างประเทศเหมือนกัน หรือกลุ่มคนหลากหลายเชื้อชาติในหมาวิทยาลัยก็ได้ เพื่อที่จะได้หาเพื่อนใหม่ที่จะมาแชร์ประสบการณ์การอยู่ไกลบ้านกับคุณ เพราะการที่คุณได้พูดคุยเกี่ยวกับความไม่สบายใจของคุณกับคนที่คุณกำลังแชร์ประสบการณ์ด้วยนั้น จะช่วยบรรเทาอาการของคุณได้มาก [6]
    • ลองหางานอดิเรกทำสักอย่าง หรือเข้าร่วมชมรมสักชมรมหนึ่ง หรือไม่ก็เป็นอาสาสมัครให้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อยู่ในพื้นที่ดู เพราะนี่จะเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยทำให้คุณได้เจอกับคนที่มีความสนใจเหมือนกันกับคุณ
    • การยึดติดอยู่กับบ้านหรือสถานที่เดิมอาจจะทำให้คุณไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เกี่ยวกับสถานที่ใหม่ได้ หรืออาจจะสร้างความสัมพันธ์หรือมิตรภาพครั้งใหม่ไม่สำเร็จ
  2. 2
    ปรับนิสัยและกิจวัตรประจำวันอันเดิมให้เข้ากับที่ใหม่. บางครั้งเมื่อเราอยู่ไกลจากบ้าน กิจวัตรประจำวันและแม้แต่อุปนิสัยของเราก็อาจจะเปลี่ยนไปได้ [7] ซึ่งการเปลี่ยนแปลงประเภทนี้จะยิ่งทำให้สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวดูแปลกมากขึ้นกว่าเดิม และเพื่อที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ ให้คุณพยายามทำตามบางอุปนิสัยเดิมที่เคยมี แม้ว่าคุณจะอยู่ในที่ใหม่ก็ตาม
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณย้ายออกจากบ้านเพราะต้องมาเรียนในมหาวิทยาลัย และคุณก็คิดถึงช่วงเวลาที่คุณกินเคเอฟซีกับครอบครัวอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน ให้คุณสร้างช่วงเวลาเหล่านั้นขึ้นมาด้วยการชวนรูมเมทหรือเพื่อนกลุ่มใหม่มากินเคเอฟซีด้วยกันแทน หรือถ้าหากคุณไปซัมเมอร์แคมป์และปกติแล้วคุณเป็นคนที่ทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อเตรียมตัวนอนเป็นประจำทุกคืน ให้คุณพยายามทำกิจวัตรนั้นต่อไปแม้ว่าคุณจะไม่ได้อยู่ที่บ้านเดิมก็ตาม เพราะกิจวัตรประเภทนี้มักจะสร้างระเบียบและความคุ้นเคยให้กับคนที่ทำ ดังนั้น ให้คุณพยายามเพิ่มกิจวัตรพวกนี้เข้าไปในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ของคุณด้วย
  3. 3
    ค้นหาสถานที่ใหม่ๆ . ออกไปข้างนอกและพกกล้องหรือสมาร์ทโฟนติดตัวไปด้วย เพราะกล้องถ่ายรูปเป็นเครื่องมือที่ดีอย่างหนึ่งที่จะทำให้คุณได้เห็นสถานที่ใหม่ๆ ในมุมมองที่แตกต่างออกไป ซึ่งการทำให้ความคิดตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาและโฟกัสไปที่สิ่งใหม่ที่อยู่รอบๆ ตัว จะทำให้คุณสามารถลืมอาการคิดถึงบ้านไปได้ และนี่ก็เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการบันทึกประสบการณ์ต่างๆ ของคุณในขณะที่คุณอยู่ไกลบ้าน [8]
  4. 4
    ดื่มด่ำไปกับวัฒนธรรมท้องถิ่น. เพื่อที่จะสร้างประสบการณ์ที่คุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังอยู่ในต่างประเทศ ให้คุณทำลายกรอบเดิมๆ ของคุณและลองทำสิ่งใหม่ๆ ดูบ้าง [9]
    • ตัวอย่างเช่น ลองกินอาหารชนิดใหม่ดู เพราะอาหารมักจะเป็นองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ได้อย่างขัดเจนมากที่สุด การที่คุณได้ลองอาหารท้องถิ่นและได้ค้นหาสิ่งที่คนท้องถิ่นกินกันและคุณก็ชอบกินด้วยนั้น จะทำให้คุณสามารถสร้างความสบายใจให้ตัวเองเมื่ออยู่ในที่ใหม่ๆ ได้
    • ให้คุณลองเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมดู และถึงแม้ว่าคุณจะอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้อยู่ในจังหวัดบ้านเกิด คุณก็ยังสามารถลิ้มลองกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่คุณอาจจะไม่เคยพบเจอเมื่ออยู่ที่บ้านเกิดได้
  5. 5
    หลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบและคัลเจอร์ช็อค (culture shock). คัลเจอร์ช็อค คือ ความรู้สึกสับสน สงสัย หรือกังวลใจที่เกิดมาจากการอยู่ในสถานที่ใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งการหลีกเลี่ยงสิ่งนี้อาจจะยากมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ย้ายไปอยู่ประเทศอื่น แต่จริงๆ สิ่งนี้ก็สามารถเกิดขึ้นกับคนที่ต้องย้ายไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่อยู่ไกลบ้านเกิดได้เหมือนกัน ซึ่งเทคนิคในการหลีกเลี่ยงก็คือ อย่าปล่อยให้สิ่งนี้มีชัยชนะเหนือตัวคุณ [10] โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังอาศัยอยู่ในต่างประเทศ โดยให้คุณลองใช้วิธีการต่อไปนี้ดู เพื่อช่วยให้ตัวเองสามารถเอาชนะคัลเจอร์ช็อคได้
    • เรียนรู้กฎในการใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ พยายามทำความเข้าใจว่าคนท้องถิ่นที่นั่นมีการแสดงออกแบบไหน และทำไมถึงทำแบบนั้น จำไว้ว่า พฤติกรรมและประเพณีของพวกเขาอาจจะแตกต่างจากของคุณ แต่มันก็อาจจะเป็นเรื่องปกติสำหรับที่นั่น
    • ลองใช้เวลาเรียนภาษาของพวกเขาดู เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูดได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และพวกเขาก็จะประทับใจในความพยายามของคุณ ที่พยายามจะสื่อสารโดยใช้ภาษาของพวกเขา แม้ว่ามันจะเป็นเพียงแค่วลีง่ายๆ ไม่กี่วลีก็ตาม ซึ่งนี่จะทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันของคุณเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นเยอะเลยล่ะ
    • เดินเข้าหาประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยทัศนคติเชิงบวกและใจที่เปิดกว้าง ซึ่งการเดินเข้าหาประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เหมือนกับว่าตัวเองกำลังผจญภัยอยู่นั้น จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีกลับคืนมา
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

บรรเทาความรู้สึกคิดถึงบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    คอยติดต่อกับที่บ้านไว้. บางครั้งการได้ยินเสียงหรือได้เห็นใบหน้าที่คุ้นเคยก็มีประโยชน์อย่างมาก และยังช่วยทำให้คุณไม่รู้สึกว่าตัวเองอยู่ห่างจากบ้านมากสักเท่าไร ดังนั้น อย่าลืมหาเวลาโทรหรือสไกป์หาเพื่อนๆ และครอบครัวเมื่อคุณออกมาอยู่ในที่ที่ ไกลจากบ้าน [11] เพราะการที่คุณได้พูดกับเพื่อนๆ และครอบครัวจะช่วยทำให้คุณสามารถติดตามความเคลื่อนไหวว่าที่บ้านมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง คุณจะได้ไม่รู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ที่บ้านคุณดำเนินต่อไปโดยที่ไม่มีคุณ
    • นอกจากนี้ การคอยติดต่อกับที่บ้านไว้จะช่วยบรรเทาความรู้สึกโดดเดี่ยวของคุณ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เมื่อคุณมีอาการคิดถึงบ้าน [12]
  2. 2
    เขียนสิ่งที่เป็นด้านบวกลงไดอารี่. ไดอารี่คือที่ที่ คุณสามารถบันทึกประสบการณ์เชิงบวกต่างๆ ที่คุณพบเจอเมื่ออยู่ในสถานที่ใหม่ๆ ลงไปได้ ซึ่งนี่เป็นวิธีที่ดีในการจัดการกับความหงุดหงิดใจของตัวคุณเอง และการได้คอยบันทึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ทำให้คุณยิ้มได้จะเป็นเครื่องเตือนชั้นดีเกี่ยวกับสิ่งดีๆ ในบ้านหลังใหม่ของคุณ
    • คุณสามารถใช้ไดอารี่มาช่วยในการหาวิธีแทรกสิ่งดีๆ เข้ามาทดแทนอารมณ์เชิงลบของคุณได้ ตัวอย่างเข่น คุณอาจจะพูดกับตัวเองว่า “ฉันจะหาหนทางใหม่ๆ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองรู้สึกว่าเหมาะสมกับที่นี่”
  3. 3
    พูดให้กำลังใจตัวเอง. ให้คุณพูดสิ่งที่เป็นเชิงบวกและมีประโยชน์กับตัวเอง เพื่อที่คุณจะได้ลบความรู้สึกด้านลบของตัวเองออกไป จำไว้ว่า สิ่งที่เราคิดหรือบอกกับตัวเองนั้น มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีที่เรารู้สึก ดังนั้น ลองพูดกับตัวเองว่า “คนอื่นๆ แคร์ฉันนะ” หรือไม่ก็ “ทุกคนล้วนเคยรู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนกันหมด ไม่ครั้งใดก็ครั้งหนึ่ง” [13]
  4. 4
    ทำความเข้าใจว่าการปรับตัวครั้งนี้อาจจะต้องใช้เวลา. คุณควรมองด้วยหลักและเหตุผลเกี่ยวกับระยะเวลาในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการอยู่ไกลจากบ้าน [14] หากคุณต้องย้ายออกจากบ้านเพราะคุณต้องไปเรียนในมหาวิทยาลัย คุณอาจจะต้องใช้เวลาเทอมแรกทั้งเทอมเพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ใหม่ที่จะทำให้คุณคุ้นเคยกับสถานที่ใหม่ที่คุณเพิ่งจะมาอยู่ ดังนั้น ดูให้แน่ใจด้วยว่าคุณให้เวลาตัวเองในการปรับตัวอย่างเพียงพอจริงๆ
    • มันอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ หากคุณเขียนหรือวาดเป้าหมายในการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใหม่ในช่วงเวลาที่แน่นอนลงไปในปฏิทิน เพราะนี่จะช่วยให้คุณได้ตระหนักถึงเวลาที่คุณจะต้องใช้ได้อย่างถี่ถ้วน คุณจะได้ไม่ต้องมีความคาดหวังที่เป็นไปไม่ได้หรือความผิดหวัง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

บรรเทาความเครียด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นที่รู้กันว่าการออกกำลังกายนั้นคือสิ่งที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด เพราะมันจะสั่งให้ร่างกายปล่อยสารสื่อประสาทที่มีประสิทธิภาพและความรู้สึกดีไปยังสมองเพื่อยกระดับอารมณ์และจัดการกับความเครียด [15] ที่เกิดจากอาการคิดถึงบ้าน [16] โดยอาการคิดถึงบ้านนั้นมักจะมาพร้อมกับความเศร้าหรือความรู้สึกโดดเดี่ยว และเพื่อที่จะพัฒนาอารมณ์ของตัวเอง การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยคุณได้
    • นอกจากนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันสามารถช่วยคุณในการจัดการกับตารางชีวิตให้เข้ากับสถานที่ใหม่ได้ และถ้าหากคุณออกกำลังกายที่โรงยิมใกล้ที่พัก หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง นี่จะเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้คุณได้พบกับคนใหม่ๆ
  2. การสร้างความมั่นใจว่าคุณมีเวลาให้กับตัวเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเวลาให้กับสิ่งที่คุณชอบ คือวิธีที่จะช่วยบรรเทาความเครียดได้อีกวิธีหนึ่ง [17] [18]
    • ให้คุณฟังเพลงที่ชอบหรือดูหนังสักเรื่อง หรือไม่ก็ใช้เวลาอ่านหนังสือเล่มโปรด การที่คุณให้เวลาตัวเองได้ผ่อนคลายเป็นสิ่งสำคัญมากหากคุณกำลังรับมือกับความเครียดที่เกิดจากความไม่คุ้นเคยกับสถานที่ใหม่ๆ และกำลังรับมือกับความรู้สึกคิดถึงบ้านอยู่ และนอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่นๆ ในการผ่อนคลายความเครียดให้ตัวเองอีก อย่างเช่น อาบน้ำในอ่างฟองสบู่ ทำเล็บเท้า หรือไม่ก็ไปดูการแข่งขันกีฬา
  3. 3
    ดูแลร่างกายของตัวเอง. การใช้เวลาดูแลร่างกายตัวเองเป็นตัวอย่างหนึ่งในการบรรเทาความเครียด [19] เพราะการที่ร่างกายได้รับสารอาหารและการพักผ่อนที่ไม่เพียงพออาจจะทำให้ร่างกายคุณตึงเครียดได้ การนอนหลับและรับสารอาหารอย่างไม่เพียงพอจะไม่ช่วยอะไรคุณเลยเมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกเครียดเพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการย้ายไปอยู่ในที่ที่ ใหม่
    • ดูให้แน่ใจว่าคุณได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งการนอนพักผ่อนที่ดีก็ต้องประมาณ 8 ชั่วโมงต่อคืน
    • และดูให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนทั้งจากผลไม้ ผัก โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน แม้ว่าบางทีความเครียดจะกระตุ้นให้คุณอยากกินฟาสต์ฟู้ต ของหวาน หรือน้ำโซดา แต่ให้คุณพยายามหลีกเลี่ยงการรับมือกับความเครียดด้วยการกินอาหารประเภทนี้ เพราะมันจะเป็นผลเสียต่อตัวคุณในระยะยาว
  4. 4
    ขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต. อาการคิดถึงบ้านอย่างรุนแรงนั้นสามารถก่อให้เกิดความเครียดได้มากมายจนคุณไม่อยากจะเชื่อเลยล่ะ และแม้แต่ความรู้สึกเศร้าโศกก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้คุณยังอาจจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การร้องไห้บ่อยๆ ความกลัว ความรู้สึกตกใจกลัว และรู้สึกหมดหนทาง [20] หากคุณคิดว่าอาการคิดถึงบ้านของคุณนั้นกลายเป็นสิ่งที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หรือระยะเวลา ความถี่ หรือความหนักหน่วงของอาการนี้มันเลวร้ายลง คุณควรจะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตโดยด่วน [21]
    • ผู้ให้คำปรึกษาจะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับอาการคิดถึงบ้านในลักษณะที่คล้ายกับการรักษาความทุกข์ที่เกิดจากความสูญเสียหรือความเศร้า และเนื่องจากการอยู่ไกลจากบ้านอาจจะสร้างความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองให้กับตัวคุณ อย่างเช่น การตัดสินใจด้วยตัวเองหรือการสร้างและการจัดการตารางชีวิตในแต่ละวันของตัวเอง ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านนี้สามารถช่วยคุณค้นหาวิธีที่จะมาเติมเต็มความต้องการเหล่านั้นให้กับคุณเพื่อช่วยให้คุณเรียนรู้ทักษะต่างๆ ได้ และนั่นจะทำให้คุณเติมเต็มความต้องการต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง [22]
    • คอยสังเกตความรู้สึกของตัวเองอยู่เรื่อยๆ ให้ได้มากกว่า 1 หรือ 2 สัปดาห์ หากคุณพบว่าตัวเองร้องไห้บ่อยหรือมีอาการตื่นตระหนก คุณควรจะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,197 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา