ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการริมฝีปากแห้งแตกนั้นยากที่จะเลี่ยงได้ และไม่สามารถแก้ได้ในทันที สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การป้องกันไม่ให้ปากแห้งตั้งแต่ต้นเป็นทางแก้ที่ดีที่สุด แต่บางคนก็ไม่สามารถป้องกันไม่ให้ริมฝีปากแห้งได้ เพราะมันเป็นอาการและผลข้างเคียงระยะยาวที่ต้องรับมือไปตลอดชีวิต ปกติอาการปากแห้งสามารถรักษา (และป้องกัน!) ได้ด้วยน้ำและลิปมัน แต่สำหรับริมฝีปากที่แห้งแตกรุนแรงระยะยาว คุณควรไปพบแพทย์มากกว่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รักษาริมฝีปากที่แห้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกใช้ลิปมันขี้ผึ้งธรรมดา หรือลิปมันที่มีสารกันแดด [1] ลิปมันจะช่วยปกป้องริมฝีปากของคุณจากสภาพอากาศ ฉะนั้นอย่าลืมทาลิปมันในวันที่อากาศแห้ง แดดแรง หรือลมแรง ลิปมันยังช่วยสมานรอยแตกบนริมฝีปาก ทำให้ไม่เกิดการติดเชื้ออีกด้วย ให้ทาลิปมันก่อนออกไปข้างนอก หลังกินอาหารหรือดื่มน้ำ หรือเมื่อไหร่ก็ตามที่สังเกตว่าลิปมันหายไปแล้ว
    • หลีกเลี่ยงลิปมันที่มีรสชาติถ้าคุณติดนิสัยชอบเลียปาก เลือกลิปมันที่รสชาติห่วยแตกแต่มีสารกันแดดดีกว่า
    • หลีกเลี่ยงลิปมันที่อยู่ในกระปุก เพราะการใช้นิ้วจิ้มลิปมันไปเรื่อยๆ อาจเป็นการเพาะเชื้อแบคทีเรียที่จะเข้าไปในริมฝีปากที่แตกได้ [2]
    • ใช้ผ้าพันคอหรือหมวกฮู้ดปิดปากในวันที่ลมแรง อย่าไปยุ่งกับริมฝีปากระหว่างที่มันกำลังรักษาตัวเองอยู่
  2. คุณอาจจะคันไม้คันมืออยากเกา แกะหนังริมฝีปาก หรือกัดปากที่แห้งแตก แต่มันไม่ดีต่อริมฝีปากขณะที่กำลังรักษาตัวเองเลย การแกะปากที่แห้งอาจทำให้มันระคายเคืองและเลือดออก ซึ่งจะทำให้ปากหายแตกช้าลง และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อด้วย รวมถึงอาจทำให้เป็นเริมหากคุณมีเชื้ออยู่แล้ว [3]
    • อย่าขัดริมฝีปากที่แห้งเชียวนะ! คุณควรดูแลปากอย่างนุ่มนวลขณะที่มันกำลังรักษาตัวเองอยู่ และการขัดปากก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  3. ภาวะขาดน้ำเป็นหนึ่งในสาเหตุทั่วไปที่ทำให้ปากแห้ง ดื่มน้ำให้มากๆ และทาครีมและลิปมัน คุณสามารถแก้อาการปากแห้งแบบไม่รุนแรงได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงโดยการดื่มน้ำ ถ้าปากแห้งหนักมากก็จะใช้เวลานานขึ้น คุณควรดื่มน้ำพร้อมอาหารทุกมื้อ ก่อนและหลังออกกำลัง และเมื่อไหร่ก็ตามที่กระหายน้ำ [4]
    • ภาวะขาดน้ำเป็นกันมากในช่วงฤดูหนาว หลีกเลี่ยงการสร้างความอุ่นให้บ้านโดยใช้ความร้อนที่แห้ง หรือไม่ก็ซื้อเครื่องทำความชื้นมาใช้
  4. หากริมฝีปากเกิดอาการแดง เจ็บ และดูบวม คุณอาจเป็นปากนกกระจอก ซึ่งเกิดจากการอักเสบหรือติดเชื้อ หากริมฝีปากคุณแห้งจนแตก เชื้อแบคทีเรียก็อาจจะเข้าไปได้ ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก แพทย์อาจจะสั่งยาปฏิชีวนะหรือครีมฆ่าเชื้อราให้คุณมาทาจนอาการของโรคปากนกกระจอกหายไป [5] การเลียริมฝีปากเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดปากนกกระจอก โดยเฉพาะในเด็ก
    • ปากนกกระจอกอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคผื่นแพ้สัมผัส หากคุณมักเป็นผื่นง่าย ให้ปรึกษาแพทย์ว่าจะวินิจฉัยว่าคุณเป็นผื่นแพ้สัมผัสได้หรือไม่
    • โรคปากนกกระจอกอาจจะเกิดอย่างรุนแรงและต่อเนื่องได้
    • ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นปากนกกระจอก หลักๆ คือเรตินอยด์ (retinoids) รองลงมาก็มีลิเธียม (lithium) วิตามินเอในปริมาณสูง ดี-เพนนิซิลลามีน (d-penicillamine) ไอโซไนอาซิด (isoniazid) ฟีโนไทอาซีน (phenothiazine) และสารสำหรับทำเคมีบำบัดอย่างเช่นบูซัลแฟน (busulfan) และแอคติโนมัยซิน (actinomycin) [6]
    • ริมฝีปากแห้งอาจเป็นอาการของโรคหลายโรค รวมถึงโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (อย่างเช่นโรค LSE และโรคโครห์น) โรคไทรอยด์ และโรคสะเก็ดเงิน [7]
    • คนที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมมักปากแห้งแตก
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ป้องกันไม่ให้ปากแห้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะลืมตัวและเลียปากเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นเมื่อเริ่มรู้สึกปากแห้ง แต่อันที่จริงแล้วการเลียปากนั้นส่งผลตรงกันข้าม เพราะมันเป็นการกำจัดน้ำมันธรรมชาติบนปากคุณออกไป ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและปากแห้ง ถ้าคุณรู้ตัวว่ากำลังเลียปาก ก็ให้ทาลิปมันแทน ถ้าคุณติดนิสัยเลียปากแบบเลิกไม่ได้ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อให้แนะนำนักบำบัดให้ การเลียปาก กัดปาก หรือเคี้ยวริมฝีปากอย่างหยุดไม่ได้อาจเป็นอาการของโรคหลายชนิด อย่างเช่นโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) หรือเป็นพฤติกรรมซ้ำๆ ของร่างกายที่มุ่งเน้น (BFRB)
    • ทาลิปมันบ่อยๆ เพื่อเตือนตัวเองไม่ให้เลีย กัด หรือเคี้ยวริมฝีปาก เลือกลิปมันที่รสชาติไม่อร่อยและมีสารกันแดด
    • เด็กอายุระหว่าง 7-15 ปีเสี่ยงต่อการเป็นโรคปากนกกระจอกจากการเลียปาก
  2. การหายใจทางปากอาจทำให้ปากแห้งได้ ถ้าคุณติดหายใจทางปาก ให้พยายามฝึกหายใจทางจมูกจนติดเป็นนิสัย นั่งลงหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปากทุกวัน วันละ 2-3 นาที และลองใช้ที่ขยายโพรงจมูก (nasal dilator strip) เวลานอนเพื่อเปิดโพรงจมูกให้กว้างขึ้น [8]
  3. อย่าให้สารก่อภูมิแพ้และสีย้อมมาโดนปาก แม้แต่อาการแพ้อาหารเพียงอ่อนๆ ก็สามารถทำให้ปากแห้งได้ หากคุณไม่ได้เป็นภูมิแพ้แต่มีอาการอื่น เช่น ปัญหาการย่อยหรือผื่น ซึ่งเกิดพร้อมกับอาการปากแห้ง ก็ควรปรึกษาแพทย์ ลองให้แพทย์แนะนำผู้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิแพ้หากอาการของคุณวินิจฉัยยาก [9]
    • ตรวจสอบส่วนผสมในลิปมัน หลีกเลี่ยงส่วนผสมที่คุณอาจจะแพ้ อย่างเช่นสีย้อมสีแดง
    • คนบางคนแพ้กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก (para-aminobenzoic acid) ซึ่งมีอยู่ในลิปมันจำนวนมากที่มีสารกันแดด หากคุณเกิดอาการคอบวมและหายใจไม่ออก ให้เลิกใช้ลิปมันและโทรเรียก 191 [10]
  4. วิธีป้องกันไม่ให้ปากแห้งที่ดีที่สุดน่ะเหรอ? ก็คือให้ทำตัวเหมือนปากแห้งอยู่แล้วไงล่ะ ดื่มน้ำพร้อมอาหารทุกมื้อ และวางน้ำไว้ใกล้ตัวเผื่อกระหาย ทาลิปมันเวลาจะออกไปข้างนอกหรือเวลาเปิดฮีตเตอร์ หาอะไรมาคลุมหน้าในวันที่อากาศหนาวและลมแรง และใช้ลิปมันที่มีสารกันแดดในวันที่แดดแรง
    • ถ้าหากคุณไม่ได้พยายามฝึกตัวเองไม่ให้เลียปากอยู่ คุณก็ไม่น่าจำเป็นต้องทาลิปมันทุกวัน ให้ทาในวันที่ลมหรือแดดแรงถ้าไม่อยากทาลิปมันตลอดเวลา
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณสังเกตว่าริมฝีปากเลือดออกหรือติดเชื้อ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,839 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา