ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยากใส่รูปในหน้าเว็บ ที่คุณต้องการก็คือ HTML แต่ถ้าอยากตั้งรูปเป็นพื้นหลังของหน้าเว็บนั้น ก็ต้องใช้ทั้ง HTML และ CSS โดย HTML นั้นย่อมาจาก Hypertext Markup Language เป็นโค้ดที่ใช้บอกเบราว์เซอร์ว่าต้องแสดงอะไรในหน้าเว็บนั้นบ้าง [1] ส่วน CSS ย่อมาจาก Cascading Style Sheets ใช้แปลงโฉมหน้าตาเว็บที่คุณเห็น [2] ถ้าเลือกรูปพื้นหลังที่ต้องการได้แล้ว ก็เลื่อนไปอ่านวิธีการข้างล่างกันเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

เตรียมไฟล์รูป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สร้างโฟลเดอร์ไว้ใส่ไฟล์ HTML กับไฟล์รูปพื้นหลัง. ให้สร้างโฟลเดอร์ในคอม แล้วตั้งชื่อให้หาง่ายๆ
    • จะตั้งชื่ออะไรก็ได้ แต่เวลาใช้ HTML ขอให้ฝึกเป็นนิสัย ว่าต้องตั้งชื่อไฟล์กับโฟลเดอร์แบบสั้นกระชับได้ใจความ คำสองคำได้ยิ่งดี
  2. ใส่รูปที่จะใช้ทำพื้นหลังในโฟลเดอร์ HTML
    • ถ้าไม่ห่วงเรื่องเว็บจะเปิดในอุปกรณ์เก่าๆ เน็ตอืดๆ ไม่ได้ ก็ใช้รูปพื้นหลังแบบชัดๆ resolution สูงๆ ไปเลย ให้เลือกรูปสะอาดๆ สว่างๆ หรือเป็นแพทเทิร์นซ้ำๆ นี่แหละดีที่สุด เพราะข้อความด้านบนจะได้อ่านง่าย
    • ถ้าไม่มีรูป ก็ลองไปดาวน์โหลดฟรีจากในเน็ต เสร็จแล้วเอามาใส่ในโฟลเดอร์ HTML เลย
  3. เปิดโปรแกรม text editor ที่ถนัด แล้วสร้างไฟล์ใหม่ จากนั้นเซฟไฟล์เป็น index.html
    • จะใช้โปรแกรม text editor ไหนก็ได้ กระทั่งโปรแกรมที่มีมาในเครื่อง Windows อยู่แล้วอย่าง Notepad หรือ TextEdit ของ Mac OS X
    • ถ้าอยากใช้ text editor สำหรับ HTML โดยเฉพาะ ให้ คลิกที่นี่ เลย เพื่อดาวน์โหลด Atom โปรแกรม text editor ที่ใช้ได้ทั้งใน Windows, Mac OS X และ Linux
    • ถ้าคุณใช้ TextEdit ก่อนเขียนไฟล์ HTML ให้คลิกเมนู Format ก่อน แล้วคลิก Make Plain Text จะได้แน่ใจว่าไฟล์ HTML นั้นเปิดในเบราว์เซอร์ได้
    • โปรแกรม Word processor อย่าง Microsoft Word ไม่ค่อยเหมาะใช้เขียน HTML เพราะจะมีอักขระพิเศษที่มองไม่เห็นโผล่มา ถ้าไปแปลงฟอร์แมต ไฟล์ HTML จะเจ๊งได้ ทำให้ไม่ขึ้นในเบราว์เซอร์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

เขียนไฟล์ HTML

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกแล้ว copy โค้ด HTML ต่อไปนี้ แล้วเอาไป paste ในไฟล์ index.html ที่เปิดอยู่
     <!DOCTYPE html> 
     < 
     html 
     > 
     < 
     head 
     > 
     < 
     title 
     > 
    Page Title </ 
     title 
     > 
     < 
     style 
     > 
     body 
     { 
     background-image 
     : 
     url 
     ( 
     " " 
     ); 
     } 
     </ 
     style 
     > 
     </ 
     head 
     > 
     < 
     body 
     > 
     </ 
     body 
     > 
     </ 
     html 
     > 
    
  2. ในไฟล์ index.html ให้หาบรรทัดที่เขียนว่า background-image: url(" "); จากนั้นคลิกเคอร์เซอร์ที่กลางวงเล็บ แล้วพิมพ์ชื่อไฟล์รูปพื้นหลัง อย่าลืมพ่วงนามสกุลไฟล์ไปด้วย
    โฆษณา
    ถ้าพิมพ์ถูก จะหน้าตาประมาณนี้
    background-image: url("background.png");
    เวลาคุณพิมพ์ชื่อไฟล์โดยไม่มี path หรือ URL ของไฟล์ เบราว์เซอร์จะไปตามหารูปที่ชื่อนี้ในโฟลเดอร์ของหน้าเว็บแทน แต่ถ้าไฟล์อยู่ในโฟลเดอร์อื่นของระบบไฟล์ ก็ต้องใส่ path เต็มๆ ของไฟล์นั้นแทน [3]
  • เซฟไฟล์ HTML.
  • ส่วน 3
    ส่วน 3 ของ 5:

    ตรวจทานไฟล์ HTML

    ดาวน์โหลดบทความ
    1. คลิกขวาไฟล์ index.html แล้วเปิดในเบราว์เซอร์ที่ต้องการ
      • พอเปิดเบราว์เซอร์แล้ว ถ้าไม่เจอรูป ให้เช็คว่าสะกดชื่อไฟล์รูปในหน้าต่าง text editor ของ index.html ถูกต้องแล้วหรือยัง
      • พอเปิดเบราว์เซอร์แล้ว ถ้าเห็นเป็นโค้ด HTML แทนรูปพื้นหลัง แสดงว่าไฟล์ index.html ถูกเซฟเป็น rich text document ให้กลับไปแก้ไฟล์ HTML ในโปรแกรม text editor อื่นแทน
    2. ในหน้าต่าง text editor ให้คลิกเคอร์เซอร์ตรงกลางระหว่างแท็ก <body> </body> แล้วพิมพ์ Hello world! จากนั้นรีเฟรชเบราว์เซอร์เพื่อดูว่าข้อความขึ้นทับรูปพื้นหลังไหม
      โฆษณา
    ส่วน 4
    ส่วน 4 ของ 5:

    รู้จักโค้ด HTML

    ดาวน์โหลดบทความ
    1. โค้ด HTML นั้นประกอบด้วยแท็กเปิด (open tag) กับแท็กปิด (closed tag) แท็ก <body> คือแท็กเปิดของเนื้อหา (open body tag) ส่วย </body> คือแท็กปิดของเนื้อหา (closed body tag) ใส่แท็กเปิดตรงจุดไหนของหน้า HTML แล้วต้องใส่แท็กปิดด้วย ถึงจะแสดงผลได้
    2. โค้ด HTML ที่ถูกต้อง ต้องเริ่มด้วย <!DOCTYPE html> เพื่อบอกเบราว์เซอร์ว่าไฟล์ HTML นี้คือไฟล์ HTML
    3. ในหน้าต่าง text editor ให้คลิกเคอร์เซอร์ตรงกลางระหว่างแท็ก <body> </body> แล้วพิมพ์ Hello world! จากนั้นรีเฟรชเบราว์เซอร์เพื่อดูว่าข้อความขึ้นทับรูปพื้นหลังไหม
    4. โค้ด HTML นั้นประกอบด้วยแท็กเปิด (open tag) กับแท็กปิด (closed tag) แท็ก <body> คือแท็กเปิดของเนื้อหา (open body tag) ส่วย </body> คือแท็กปิดของเนื้อหา (closed body tag) ใส่แท็กเปิดตรงจุดไหนของหน้า HTML แล้วต้องใส่แท็กปิดด้วย ถึงจะแสดงผลได้
    5. แท็ก <title> คือข้อความที่จะขึ้นในแถบชื่อ (title) ของหน้าต่างเบราว์เซอร์ รวมถึงใน tab ของเบราว์เซอร์ด้วย
    6. แท็ก <style> ใช้ระบุเนื้อหาที่เป็น CSS ทุกอย่างที่อยู่ตรงกลางระหว่างแท็ก <style> คือโค้ด CSS
    7. ข้อความไหนก็ตามที่อยู่ระหว่างแท็ก <body> จะเป็นเนื้อหาตามที่คุณพิมพ์ เว้นแต่เป็นโค้ด HTML หรือ CSS
    8. ในหน้าต่าง text editor ให้คลิกเคอร์เซอร์ตรงกลางระหว่างแท็ก <body> </body> แล้วพิมพ์ "Hello world!" จากนั้นรีเฟรชเบราว์เซอร์เพื่อดูว่าข้อความขึ้นทับรูปพื้นหลังไหม
      โฆษณา
    ส่วน 5
    ส่วน 5 ของ 5:

    รู้จักโค้ด CSS

    ดาวน์โหลดบทความ
    1. ในโค้ด index.html โค้ด CSS ที่อยู่ตรงกลางระหว่างแท็ก <style> จะบอกเบราว์เซอร์ให้ใส่รูปพื้นหลังที่คุณกำหนดในแท็ก <body> ตอนโหลดหน้าเว็บ
    2. 3
        body 
       
       { 
       background-image 
       : 
       url 
       ( 
       "background.png" 
       ); 
       } 
      
    3. CSS styles นั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ selector กับ declaration [4]
        ในตัวอย่างของเรา body คือ selector ส่วน
        background-image: url("background.png") คือ declaration
        selector จะเป็นแท็ก HTML ไหนก็ได้
        declaration จะอยู่ระหว่างปีกกา { } เสมอ
    4. CSS declaration ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ property กับ value ส่วน
      background-image กลางปีกกา คือ property และ url("background.png") คือ value [5]
        property ใช้อธิบายว่าส่วนไหนถูกกำหนดสไตล์บ้าง ส่วน value จะบอกว่า property ถูกกำหนดยังไง
        property กับ value จะแยกกันด้วย colon :
        CSS declaration ต้องปิดท้ายด้วย semicolons ; เสมอ
      โฆษณา

    เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

    มีการเข้าถึงหน้านี้ 67,060 ครั้ง

    บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

    โฆษณา